21.4 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
21.3 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]

ความคิดเห็นที่ 8-29
ฐานาฐานะ, 20 สิงหาคม เวลา 00:24 น.

GravityOfLove, วันศุกร์ เวลา 18:03 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๘. นฬกปานสูตร เรื่องกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3667&Z=3864&bgc=seashell&pagebreak=0
...
6:02 PM 8/16/2013

             ย่อความได้ดี มีข้อติงดังนี้ :-
             ทรงพยากรณ์สาวกที่ล่วงลับต่อความอยู่สำราญของภิกษุ/ภิกษุณี/อุบาสก/อุบาสิกา
ควรแก้ไขเป็น
             ทรงพยากรณ์สาวกที่ล่วงลับเพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ/ภิกษุณี/อุบาสก/อุบาสิกา

             สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้
เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้
             เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความสรรเสริญ
ก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้

             ควรให้เนื้อความต่อเนื่องดังนี้ :-
             สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้
เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะ
และความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้

             ท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง (ธรรมที่เป็นหลักใจในการดำเนินชีวิต)
             คำว่า วิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่, ธรรมประจำใจ,
ธรรมที่เป็นหลักใจในการดำเนินชีวิต
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิหารธรรม

ความคิดเห็นที่ 8-30
ฐานาฐานะ, 20 สิงหาคม เวลา 00:31 น.

             คำถามในนฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3667&Z=3864

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ขอให้เทียบธรรมลามก 7 ประการและอันตรายเป็นอันมาก
ที่นารทดาบสกล่าวแก่พระมหาชนก ในมหาชนกชาดก ข้อ 463
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=2871&Z=3200
             ว่า ข้อใดเหมือน ข้อใดแตกต่าง.

ความคิดเห็นที่ 8-31
GravityOfLove, 20 สิงหาคม เวลา 05:58 น.

ขอบพระคุณค่ะ

             ตอบคำถามในนฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3667&Z=3864

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
            ๑. กิจของกุลบุตรที่บวชแล้วพึงทำคือ เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้น
             เมื่อปฏิบัติได้ดังนั้นแล้ว แม้ธรรมลามก ๗ อย่าง มีอภิชฌาเป็นต้น
ย่อมไม่สามารถครอบงำจิตของบุคคลนั้นได้   
             ๒. พระตถาคตละแล้วซึ่งอาสวะที่นำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่
             ดังนั้นพระตถาคตจึงทรงพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง
พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง
พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง
             ๓. พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ตายไปแล้วว่า
เกิดที่ไหน ก็เพื่อให้ผู้ที่เคยได้เห็นได้ยิน เรื่องของสาวกเหล่านั้น จะน้อมจิตไปเพื่อ
ความเป็นอย่างนั้นบ้าง เพื่อความอยู่สําราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
เหล่านั้น
             ๔. ปาฏิหาริยกัปมี ๔ อย่างคือ
                   ภาพกระต่ายบนดวงจันทร์
                   การที่ไฟดับในที่ทำสัจกิริยาในวัฏฏกชาดก
                   การที่ฝนไม่ตกในที่อยู่ของมารดาบิดาของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ
                   ความที่ไม้อ้อบนฝั่งสระโบกขรณีนั้นมีช่องเดียวตลอด
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             2. ขอให้เทียบธรรมลามก 7 ประการและอันตรายเป็นอันมาก
ที่นารทดาบสกล่าวแก่พระมหาชนก ในมหาชนกชาดก ข้อ 463
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=2871&Z=3200
             ว่า ข้อใดเหมือน ข้อใดแตกต่าง.
             มหาชนกชาดก
             [๔๖๓]    อันตรายเป็นอันมากแล คือ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความง่วง-
             เหงา ความไม่ยินดี ความเมาอาหาร ตั้งอยู่ในสรีระของพระองค์.
             ความหลับ - (ไม่ตรง)
             ความเกียจคร้าน - ความเกียจคร้าน
             ความง่วงเหงา - ถีนมิทธะ
             ความไม่ยินดี - อรติ
             ความเมาอาหาร - (ไม่ตรง)

ความคิดเห็นที่ 8-32
ฐานาฐานะ, 20 สิงหาคม เวลา 14:29 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในนฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3667&Z=3864
...
5:57 AM 8/20/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ข้อ 2 น่าจะนำธรรมลามก 7 ประการ มาแสดงด้วยดังนี้ :-
             อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา
             อุทธัจจกุกกุจจะ อรติ ความเป็นผู้เกียจคร้าน

             ที่ยกคำถามนี้มา ก็เพื่อให้เห็นว่า
             1. แม้บวชแล้ว ก็ต้องระวังธรรมลามก 7 ประการนี้
             2. ธรรมลามก 7 ประการหรืออันตรายเป็นอันมากเหล่านี้
บางข้ออาจดูว่า มีโทษไม่มาก แต่ควรเห็นว่า มีโทษ เพราะทำให้
การฝึกฝนตนเองระงับหรือชักช้าอยู่ เช่น ความง่วงเหงาหาวนอน
อาจดูเหมือนว่า ง่วงก็นอนก็ได้ แต่สำหรับผู้ฝึกฝนแล้ว การหลับ
เป็นหยุดการฝึกฝนเป็นต้นของผู้ฝีกตน.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่าเป็นโทษ
ไร้ผล เป็นความโง่เขลา ของบุคคลผู้เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึง
ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ บุคคลไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นโทษอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของบุคคลผู้เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=18&A=4669&w=เรากล่าวความหลับว่าเป็นโทษ

ความคิดเห็นที่ 8-33
ฐานาฐานะ, 20 สิงหาคม เวลา 14:42 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า นฬกปานสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864

              พระสูตรหลักถัดไป คือโคลิสสานิสูตร [พระสูตรที่ 19].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              โคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=203

              กีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

ความคิดเห็นที่ 8-34
GravityOfLove, 20 สิงหาคม เวลา 14:48 น.

             คำถามอรรถกถาโคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980

             บทว่า อภิธมฺเม อภิวินเย ควรทำความเพียรในอภิธรรมในอภิวินัยคือ
ควรทำความเพียรในอภิธรรมปิฎก และในวินัยปิฎกด้วยบาลีและด้วยอรรถกถา
             ทำไมไม่ตรัสหรือกล่าวถึงพระสุตตันตปิฎกคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-35
ฐานาฐานะ, 20 สิงหาคม เวลา 15:21 น.

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
             คำถามอรรถกถาโคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980

             บทว่า อภิธมฺเม อภิวินเย ควรทำความเพียรในอภิธรรมในอภิวินัยคือ
ควรทำความเพียรในอภิธรรมปิฎก และในวินัยปิฎกด้วยบาลีและด้วยอรรถกถา
             ทำไมไม่ตรัสหรือกล่าวถึงพระสุตตันตปิฎกคะ
             ขอบพระคุณค่ะ
2:47 PM 8/20/2013

              [๒๑๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียร
ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทาน
อรัญญิกธุดงค์มีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว
จะให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม
ในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า
แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.

              ตอบว่า ในเนื้อความที่ยกมานั้น น่าจะหมายถึง พระภิกษุนั้นควรทำความเพียร
ให้ยิ่งขึ้นในธรรมและในวินัย ก็คือ พระภิกษุนั้นก็มีสุตตะของตนเองอยู่แล้ว ควรทำความเพียร
โดยนัยว่า รู้ลึกยิ่งขึ้น หรืออีกนัยก็คือ ทำมรรคผลให้เกิดขึ้น.
              ในพระวินัยนั้น พระภิกษุนั้นก็เล่าเรียนพระวินัยตามปกติ อาจควบคุมกายวาจาแล้ว
ควรทำความเพียรในวินัยยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นัยนี้อาจจะหมายถึง ไม่เพียงรู้วินัยเท่านั้น
แต่สามารถเรียนคำถามคำตอบในขันธกบริวาร (เล่ม 8) ได้ด้วย.
              เมื่อได้ศึกษาพระวินัย เรื่องอุภโตวิภังค์ (เล่ม 1,2,3) จัดว่า รู้วินัยแล้ว
แต่เมื่อได้ศึกษาเล่ม 8 จะทำให้รู้ลึกยิ่งขึ้น กล่าวคือ อาจจะทำให้รู้ตัวว่า
ที่ศึกษามานั้น ยังรู้ไม่ลึกซึ้งพอเป็นต้นว่า เนื้อความในเล่ม 8 ไม่อาจตอบได้บ้าง
ตอบได้แต่ไม่มั่นใจบ้าง.
              สรุปก็คือ พระภิกษุนั้นรู้ธรรมและวินัยอยู่แล้ว ควรทำความเพียรให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก.

              อรรถกถาสังคีติสูตร
              ในหมวดสองแห่งบทนี้ว่า อภิธมฺเม อภิวินเย บัณฑิตพึงทราบหมวดสี่แห่งคำว่า
ธมฺโม อภิธมฺโม วินโย อภิวินโย ดังนี้.
              บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ พระสุตตันปิฎก.
              บทว่า อภิธมฺโม ได้แก่ สัตตัปปกรณ์ (ปกรณ์ ๗).
              บทว่า วินโย ได้แก่ อุภโตวิภังค์. บทว่า อภิวินโย ได้แก่ ขันธกบริวาร.
              อีกอย่างหนึ่ง แม้พระสุตตันตปิฎก คือพระธรรมนั่นเอง มรรคและผลทั้งหลาย
คือพระอภิธรรม พระวินัยปิฎกทั้งสิ้น คือพระวินัย การกระทำการเข้าไประงับกิเลส คืออภิวินัย.
บัณฑิตพึงทราบอธิบายในธรรม อภิธรรม วินัยและอภิวินัย นี้แม้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=8

ความคิดเห็นที่ 8-36
GravityOfLove, 20 สิงหาคม เวลา 15:27 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-37
GravityOfLove, 20 สิงหาคม เวลา 15:33 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๙. โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3865&Z=3980&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
เขตพระนครราชคฤห์
             สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ (เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร)
มีมารยาทหยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อารัญญิกังคะ&detail=on

             ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรปรารภโคลิสสานิภิกษุ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
             อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์
             ๑. ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
             มิฉะนั้น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า
             ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้เคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเลย
จะมีประโยชน์อะไรในการอยู่เสรีในป่า ในการสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียว
             ๒.  ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ มิฉะนั้น ...
             ๓. ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก
(อภิสมาจาริกํปิ ธมฺมํ - อภิสมาจาริกธรรม) มิฉะนั้น ...
             ๔. ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต
ในเวลาหลังภัต มิฉะนั้น จะมีผู้กล่าวได้ว่า การเที่ยวไปในเวลาวิกาล
ภิกษุนี้ทำไว้มากเป็นแน่ ทั้งจะมีผู้กล่าวทักท้วงภิกษุนี้ต่อภิกษุสงฆ์ได้
             ๕. ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา มิฉะนั้น จะมีผู้กล่าวได้ว่า ...
             ๖. ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น
             มิฉะนั้น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า
             ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์อะไร
ในการอยู่เสรีในป่า ในการสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียว
             ๗. ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร มิฉะนั้น ...
             ๘. ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (สำรวมอินทรีย์) มิฉะนั้น ...
             ๙. ควรเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ (รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร) มิฉะนั้น ...
             ๑๐. ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ (ไม่เห็นแก่นอน) มิฉะนั้น ...
             ๑๑. ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร มิฉะนั้น ...
             ๑๒. ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น (ไม่เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน) มิฉะนั้น ...
             ๑๓. ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มิฉะนั้น ...
             ๑๔. ควรเป็นผู้มีปัญญา มิฉะนั้น ...
             ๑๕. ควรทำความเพียรในอภิธรรม ในอภิวินัย
             เพื่อจะให้ความประสงค์ของผู้ถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยสำเร็จได้ มิฉะนั้น ...
             (อภิธมฺเม อภิวินเย - ควรทำความเพียรในอภิธรรม ในอภิวินัย
คือควรทำความเพียรในอภิธรรมปิฎก และในวินัยปิฎกด้วยบาลีและด้วยอรรถกถา)
             ๑๖. ควรทำความเพียรในวิโมกข์อันละเอียด (สันตวิโมกข์)
คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ
             เพื่อจะให้ความประสงค์ของผู้ถามปัญหาในวิโมกข์อันละเอียด คือ
อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติแล้วสำเร็จได้ มิฉะนั้น ...
             (สันตวิโมกข์ หมายถึง อรูปฌานที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง
เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกกล่าวคือ นิวรณ์ ๕ ประการ
และเพราะไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙/๓๒๐))
             ๑๗. ควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม (ธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์)
             เพื่อจะให้ความประสงค์ของผู้ถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมสำเร็จได้
             มิฉะนั้น จะมีคนว่าได้ว่า ท่านผู้นี้บวชเพื่อประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันใด
ไม่รู้จักประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า
แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า
             (อุตตริมนุสสธรรม หมายถึงฌาน วิปัสสนา มรรคและผล
มหัคคตโลกุตตรปัญญาที่สามารถกำจัดกิเลสได้ เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
กล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
             แต่ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน))
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิสมาจาร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุตตริมนุสสธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โลกุตตรธรรม_9

             เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า
             เฉพาะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เท่านั้นหรือที่ควรสมาทานธรรม
เหล่านี้ประพฤติ หรือแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน ก็ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ?
             ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
             แม้ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ยังควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ
จะกล่าวไปไยถึงภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านเล่า (ก็ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ)

[แก้ไขตาม #8-38]

ความคิดเห็นที่ 8-38
ฐานาฐานะ, 21 สิงหาคม เวลา 01:45 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๙. โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3865&Z=3980&bgc=seashell&pagebreak=0
...
3:33 PM 8/20/2013

             ย่อความได้ดี มีข้อติงดังนี้ :-
             ๔. ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต
ในเวลาหลังภัต มิฉะนั้น ...
             ควรแก้ไขตามเนื้อความเต็ม
             ๔. ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต
ในเวลาหลังภัต มิฉะนั้น จะมีผู้กล่าวได้ว่า การเที่ยวไปในเวลาวิกาล
ภิกษุนี้ทำไว้มากเป็นแน่ ทั้งจะมีผู้กล่าวทักท้วงภิกษุนี้ต่อภิกษุสงฆ์ได้.

             ๕. ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา มิฉะนั้น ...
             ควรแก้ไขตามเนื้อความเต็ม ด้วยการละตามข้อ ๔
             ๕. ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา มิฉะนั้น จะมีผู้กล่าวได้ว่า ...

             ๖. ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น มิฉะนั้น ...
             ควรแก้ไขตามเนื้อความเต็ม ตามข้อ [๒๐๙] ดังนี้ว่า
             ๖. ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น
             มิฉะนั้น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า
             ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์อะไร
ในการอยู่เสรีในป่า ในการสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียว

//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิสมาจาริกวัตร
             เพื่อให้เห็นความหมายของคำใกล้เคียงด้วย ควรแก้ไขลิงค์เป็น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิสมาจาร

ความคิดเห็นที่ 8-39
ฐานาฐานะ, 21 สิงหาคม เวลา 01:46 น.

             คำถามในโคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3865&Z=3980

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 8-40
GravityOfLove, 21 สิงหาคม เวลา 10:22 น.

ขอบพระคุณค่ะ
            ตอบคำถามในโคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3865&Z=3980

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระสารีบุตรได้ปรารภถึงโคลิสสานิภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์
ซึ่งมีมารยาทหยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ แล้ว พระเถระได้แสดง
ข้อปฏิบัติอันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ พึงประพฤติเมื่อเข้าไปสู่สงฆ์อยู่ใน
สงฆ์ ๑๗ ประการ
             ๒. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
             แม้ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ยังควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ
ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านก็ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติด้วย
             ๓. ท่านพระสารีบุตรเถระยังโคลิสสานิภิกษุให้บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ
             ๔.  อภิสมาจาริกธรรม หมายถึง อภิสมาจาริกศีล คือ ศีลที่บัญญัติว่าด้วยเรื่องวัตรอันเป็นระเบียบปฏิบัติ
ขนบธรรมเนียมชั้นสูง ได้แก่
             ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔ เช่น เจติยังคณวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่ลาน พระเจดีย์)
             โพธิยังคณวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่ลานต้นโพธิ์)
             อุปัชฌายวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์)
             อาจริยวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่อันเตวาสิกพึงปฏิบัติต่อพระอาจารย์)
             ชันตาฆรวัตร(ระเบียบปฏิบัติที่เรือนไฟ)
             อุโปสถาคารวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่โรงอุโบสถ)
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖, วิ.อ.๑/๑๖๕/๔๕๓) และดู วิ.จู. (แปล) ๖/๕๑/๙๖, ๗๕-๘๒/๑๕๗-๑๖๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๖-๓๘๒/๒๒๒-๒๖๒
ตามนัย สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๖๕/๒๔๑-๒๔๒
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd13-2.htm

ย้ายไปที่



Create Date : 12 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:53:46 น.
Counter : 535 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
12 ธันวาคม 2556
All Blog