22.2 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.1 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-9
GravityOfLove, 5 กันยายน เวลา 06:32 น.

             ตอบคำถามในสันทกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=5062&Z=5497

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ประการ
             พรหมจรรย์อันเว้นความยินดี ๔ ประการ
             ๒. พรหมจรรย์ที่วิญญูชนพึงอยู่โดยส่วนเดียว (อย่างจริงจัง)
และเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้คือ ฌาน ๔ จนถึงวิชชา ๓
             ๓. พระอรหันต์จะไม่บริโภคกาม เป็นผู้ไม่สามารถประพฤติล่วงฐานะทั้ง ๕
             ๔. เป็นพระอรหันต์ ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใด  อาสวะทั้งหลายก็เป็นอันสิ้นไปเสมอเป็นนิจ
             ส่วนความรู้ความเห็นว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ก็ไม่ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป
จะปรากฎต่อเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเหตุนั้นอยู่จึงรู้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว

             เชิงอรรถ ฉบับมหาจุฬา :
             ๑. ตามทัศนะของครูมักขลิ โคศาล กรรม ๕ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
             กรรม ๓ หมายถึง กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
             กรรม ๑ หมายถึง กายกรรมกับวจีกรรมรวมกัน
             กรรมกึ่ง หมายถึงมโนกรรม (ม.ม.อ. ๒/๒๒๘/๑๖๙, ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๗)
             ๒. ปุริสภูมิ หมายถึงขั้นตอนแห่งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบุคคล
นับตั้งแต่คลอดไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แบ่ง เป็น ๘ ขั้น คือ
             มันทภูมิ (ระยะไร้เดียงสา) ขิฑฑาภูมิ (ระยะรู้เดียงสา) ปทวีมังสภูมิ (ระยะตั้งไข่)
             อุชุคตภูมิ (ระยะเดินตรง) เสขภูมิ (ระยะศึกษา) สมณภูมิ (ระยะสงบ)
             ชินภูมิ (ระยะมีความรอบรู้) ปันนภูมิ (ระยะแก่หง่อม)
(ม.ม.อ. ๒/๒๒๘/๑๖๙-๑๗๐, ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๗-๑๔๘)
             ๓. รโชธาตุ (ฝุ่นละออง) ในที่นี้หมายถึงที่ที่ฝุ่นจับเกาะ เช่น หลังฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นต้น
(ม.ม.อ. ๒/๒๒๘/๑๗๐, ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๘)
             ๔. นิคัณฐีครรภ์ หมายถึงที่งอกซึ่งอยู่ที่ข้อหรือตา เช่น อ้อย ไม้ไผ่ และไม้อ้อ เป็นต้น
(ม.ม.อ. ๒/๒๒๘/๑๗๐,ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๘)
             ๕. กำหนดระยะเวลา ๑ มหากัป ยาวนานมาก อรรถกถาเปรียบว่า
             มีสระน้ำใหญ่แห่งหนึ่งเต็มด้วยน้ำ บุคคลเอาปลายใบหญ้าคาจุ่มลงไปนำหยดน้ำออกมา
๑๐๐ ปีต่อ ๑ ครั้ง จนน้ำในสระนั้นแห้ง กระทำเช่นนี้ไปจนครบ ๗ ครั้ง นั่นคือระยะเวลา ๑ มหากัป
(ม.ม.อ. ๒/๒๒๘/๑๗๐, ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๘, ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๘-๑๓๑/๒๑๙-๒๒๒)
             ๖. นักตรรกะ (ตกฺกี) ผู้ที่ใช้เหตุผลตามแนวของตรรกศาสตร์ (Logic) มี ๔ จำพวก คือ
             อนุสสติกะ อนุมานจากข้อมูลที่เป็นประสบการณ์
             ชาติสสระ อนุมานโดยการระลึกชาติ
             ลาภิตักกิกะ อนุมานจากประสบการณ์ภายในของตน
             สุทธิตักกิกะ อนุมานโดยใช้เหตุผลล้วน ๆ (ที.สี.อ. ๑/๓๔/๙๘-๙๙)
             ๗. นักอภิปรัชญา (วีมํสี) ผู้ที่ใช้เหตุผลโดยการคาดคะเนความจริงเอาจากการ
เทียบเคียงจนพอใจถูกใจแล้วยึดถือเป็นทฤษฎี เช่น คาดคะเนในเรื่องที่เกี่ยวกับปฐมเหตุ
ของโลกและจักรวาล (ที.สี.อ. ๑/๓๔/๙๙)
-----------------------------------------------------------
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้ สันทกปริพาชกได้อะไรบ้าง?
             น่าจะถึงไตรสรณะ แต่ไม่แข็งแกร่งค่ะ เพราะยังติดกับลาภยศ

ความคิดเห็นที่ 3-10
ฐานาฐานะ, 5 กันยายน เวลา 20:48 น.

             คำถามในสันทกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=5062&Z=5497

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้ สันทกปริพาชกได้อะไรบ้าง?
5:37 5/9/2556

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             สำหรับข้อ 2 นั้น ผมเห็นว่า สันทกปริพาชกยังไม่ได้ไตรสรณคมน์
ได้เพียงความเสื่อมใสในพระรัตนตรัยเท่านั้น หรือหากจะได้ไตรสรณคมน์
ก็ได้โดยไม่แข็งแกร่งเลย.

ความคิดเห็นที่ 3-11
ฐานาฐานะ, 5 กันยายน เวลา 20:51 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สันทกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5062&Z=5497

              พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสกุลุทายิสูตร [พระสูตรที่ 27].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              มหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5498&Z=6022
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=314

              สมณมุณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=356

              จูฬสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6175&Z=6463
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=367

              เวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6464&Z=6595
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=389

ความคิดเห็นที่ 3-12
GravityOfLove, 6 กันยายน เวลา 12:57 น.

             คำถามมหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5498&Z=6022

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. อธิศีล และ ศีล ต่างกันอย่างไรคะ และได้แก่อะไรคะ
             ๒. เนื้อความในอรรถกถาตั้งแต่
             บทว่า อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา
             ถึง
             สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับย่อมเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-13
ฐานาฐานะ, 6 กันยายน เวลา 14:35 น.

GravityOfLove, 50 นาทีที่แล้ว
              คำถามมหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5498&Z=6022

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. อธิศีล และ ศีล ต่างกันอย่างไรคะ และได้แก่อะไรคะ
อธิบายว่า โดยนัยแล้ว ทั้งสองคำนี้ก็คือศีล
              ที่ต่างกันก็คือ อธิศีล ประเสริฐกว่า เพราะขัดเกลายิ่งๆ
              อรรถกถาอธิบายว่า ศีลปกติเป็นศีล
              ปาฏิโมกขศีลนั้นเป็นศีลที่ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาโลกิยศีลทั้งหมด
              ศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าศีลที่ยิ่ง แม้กว่าปาฏิโมกขสังวร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=25&p=1#อรรถาธิบายอธิศีล_อธิจิต_อธิปัญญา

              ๒. เนื้อความในอรรถกถาตั้งแต่
              บทว่า อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา
              ถึง
              สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับย่อมเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์.
              ขอบพระคุณค่ะ
12:57 PM 9/6/2013

อธิบายว่า เนื้อความในอรรถกถาส่วนนี้ น่าจะเป็นการอธิบายในข้อ 334
//84000.org/tipitaka/read/?13/334
เนื้อความอรรถกถา
              อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า อกุศลอันลามก ได้แก่โลภะเป็นต้น.
              บทว่า อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ได้แก่สมถวิปัสสนาและมรรคเท่านั้น.
สมถวิปัสสนาชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว. ส่วนมรรคเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ไม่ชื่อว่าเป็นไปเพื่อความพินาศ
เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผลแล้ว จึงดับ.
              หรือแม้ในบทก่อนท่านกล่าวว่า พึงถือเอาสมถะและวิปัสสนา แต่ข้อนั้นไม่ถูก.
สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วในกุศลธรรมนั้น เมื่อดับไปย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ.
อธิบายว่า
              กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ได้แก่สมถวิปัสสนาและมรรคเท่านั้น. คือ ปุถุชนที่ยังไม่เคยบำเพ็ญ
ให้สมถวิปัสสนาและมรรคเกิดขึ้นเลย
- - - - - - - - - - -
              สมถวิปัสสนาชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว คือ สมถวิปัสสนาของปุถุชนที่เคยบำเพ็ญให้เกิดขึ้นบ้างแล้ว
- - - - - - - - - - -
              ส่วนมรรคเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ไม่ชื่อว่าเป็นไปเพื่อความพินาศ
เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผลแล้ว จึงดับ.
              ข้อว่า มรรคเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ก็คือมรรคจิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะแล้วดับไป
แล้วเป็นปัจจัยแก่ผลจิตต่อไป ในข้อนี้แม้มรรคจิตจะเกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ไม่ถือว่า
เป็นไปเพื่อความพินาศเลย (เพราะเป็นไปตามธรรมดาอย่างนั้น น่าจะเรียกว่า จิตนิยาม)
- - - - - - - - - - -
              หรือแม้ในบทก่อนท่านกล่าวว่า พึงถือเอาสมถะและวิปัสสนา แต่ข้อนั้นไม่ถูก.
สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วในกุศลธรรมนั้น เมื่อดับไปย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ.
              ข้อนี้ ไม่ทราบเหมือนกันว่า ในบทก่อน คือบรรทัดใด?
              แต่ความสำคัญในส่วนนี้ทั้งหมด กล่าวถึงการดับไปของกุศลธรรมนั้น
เป็นการเสื่อมของกุศลธรรม เช่น เคยบำเพ็ญสมถวิปัสสนา แล้วภายหลังเกียจคร้านบ้าง
มนสิการอารมณ์อื่นๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศลธรรมบ้าง เช่น ไปเพ่งวิสภาคารมณ์
ทำให้สมถวิปัสสนาที่เคยเกิดขึ้นบ้างแล้ว ก็เสื่อมไป.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
              เพื่อความแจ่มแจ้งของเนื้อความ จะนำเรื่องมาเล่าดังต่อไปนี้.
              ได้ยินว่า พระเถระผู้เป็นขีณาสพรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไหว้พระมหาเจดีย์และพระมหาโพธิ
...
              สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับย่อมเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์.
              เป็นตัวอย่างของกุศลธรรมที่ดับไป (เสื่อมไป) ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ
โดยสามเณรรูปนั้นบรรลุสมถะและมีอิทธิวิธญาณอันเป็นของปุถุชน ภายหลังเสื่อมไป
เพราะกำหนัดในกาม (เสียงของสตรี).
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13.0&i=314&p=1

ความคิดเห็นที่ 3-14
GravityOfLove, 6 กันยายน เวลา 15:25 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-15
GravityOfLove, 6 กันยายน เวลา 15:55 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
              ๗. มหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=5498&Z=6022&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
เขตพระนครราชคฤห์
             สมัยนั้น ปริพาชกที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คืออันนภารปริพาชก วรตรปริพาชก
สกุลุทายิปริพาชก และปริพาชกเหล่าอื่นอีก ล้วนมีชื่อเสียง อาศัยอยู่ในปริพาชการาม
อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง
             ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
แต่ได้ทรงพระดำริว่า ยังเช้าเกินไป ควรเข้าไปหาสกุลุทายิปริพาชก ยังปริพาชการามก่อน
             สกุลุทายิปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ซึ่งกำลังพูดถึง
ติรัจฉานกถาหลายอย่าง ด้วยเสียงอื้ออึงอึกทึก คือ พูดถึงเรื่องพระราชา เรื่องโจร เป็นต้น
             สกุลุทายิปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล
จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบเสียง กล่าวว่า
             พระองค์ท่านโปรดเสียงเบา และทรงกล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา
บางทีพระองค์ท่านทรงทราบว่าบริษัทเสียงเบา พึงทรงสำคัญจะเข้ามาก็ได้
             สกุลุทายิปริพาชกได้ทูลเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง
ส่วนสกุลุทายิปริพาชกถือเอาอาสนะต่ำอันหนึ่งนั่ง
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เมื่อกี้นี้ประชุมสนทนาอะไรกันค้างไว้
             สกุลุทายิปริพาชกทูลว่า เรื่องที่พวกตนสนทนากันค้างไว้ งดไว้ก่อน แล้วทูลเล่าว่า
             วันก่อนๆ หลายวันมาแล้ว พวกสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ ประชุมกัน
ในโรงแพร่ข่าว (กุตูหลสาลา/โกตูหลสาลา) สนทนากันว่า
             เป็นลาภ (การได้ฟังธรรมกถา) ของชนชาวอังคะและมคธ ชาวอังคะและชาวมคธได้ดีแล้ว
ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ
ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี เข้าไปจำพรรษายังกรุงราชคฤห์แล้ว คือ
             ครูมักขลิโคสาล ครูอชิตเกสกัมพล ครูปกุทธกัจจายนะ ครูสญชัยเวลัฏฐบุตร
และครูนิครนถ์นาฏบุตร
             แม้พระสมณโคดมผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ
เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี ก็เสด็จเข้าจำพรรษายังกรุงราชคฤห์
             บรรดาท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครเล่าหนอที่สาวกทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือบูชา ก็และใครเล่าที่สาวกทั้งหลายสักการะเคารพอาศัยอยู่

เรื่องศิษย์ไม่เคารพครูทั้ง ๖
             ในที่ประชุมนั้น สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า
             ครูปูรณกัสสปนี้ ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ฯลฯ
             แต่สาวกทั้งหลายไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชา และไม่สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
             เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณกัสสปแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย
             ในบริษัทนั้น สาวกคนหนึ่งของครูปูรณกัสสปได้ส่งเสียงขึ้นว่า
             ท่านทั้งหลาย อย่าถามเนื้อความนี้กับครูปูรณกัสสปเลย ครูปูรณกัสสปนี้ไม่รู้
เนื้อความนี้ พวกเรารู้เนื้อความนี้ ท่านทั้งหลายจงถามพวกเราเถิด พวกเราจักพยากรณ์ให้ท่าน
             ครูปูรณกัสสปจะยกแขนทั้งสองขึ้นห้ามปรามก็ทำไม่ได้
             สาวกของท่านครูปูรณกัสสปเป็นอันมาก พากันยก (กล่าว) โทษว่า
             - ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
             - ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก
             - ถ้อยคำของเราเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์
             - คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าว
ภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
             - ข้อที่ท่านเคยช่ำชอง มาผันแปรไปแล้ว (เพราะวาทะเรา) เราจับผิดวาทะของ
ท่านได้แล้ว เราข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ
             แล้วพากันหลีกไป
             พวกสาวกไม่สักการะเคารพ นับถือ บูชาครูปูรณกัสสป และไม่สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
ครูปูรณกัสสปก็ถูกติเตียนด้วยคำติเตียนโดยธรรม (โดยความเป็นจริง)
             ครูอีก ๕ คน ก็ทำนองเดียวกัน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติรัจฉานกถา
             ประวัติครูทั้ง ๖
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=1

ความเคารพในพระพุทธเจ้า
             สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า
             พระสมณโคดมพระองค์นี้ทรงเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ทรงเป็นคณาจารย์
มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี
             สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์ และสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
             เรื่องเคยมีมาแล้ว พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย
             ในบริษัทนั้น สาวกของพระสมณโคดมองค์ใดองค์หนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจรรย์
องค์ใดองค์หนึ่งจะเตือนให้เงียบเสียง บอกว่า พระผู้มีพระภาคกำลังทรงแสดงธรรมอยู่
             ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย จะไม่มีเสียง
ของสาวกจามหรือไอเลย
             หมู่มหาชนมีแต่คอยหวังตั้งหน้าจะฟังพระธรรม
             สาวกแม้บาดหมางกับเพื่อนพรหมจรรย์ แล้วลาสิกขาสึกไป แม้สาวกเหล่านั้น
ก็ยังกล่าวสรรเสริญคุณพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์
             มีแต่ติเตียนตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นว่า
             เราได้มาบวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้
แต่ก็ไม่อาจจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ ให้บริบูรณ์จนตลอดชีวิตได้
เป็นคนไม่มีบุญ มีบุญน้อยเสียแล้ว
             สาวกของพระสมณโคดมเหล่านั้น จะเป็นอารามิกก็ดี (คนทำงานวัด)
เป็นอุบาสกก็ดี ก็ยังประพฤติมั่นอยู่ในสิกขาบท ๕ (ศีล ๕)
             สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสมณโคดม ด้วยประการดังนี้
และสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ศีล_5

ธรรมเป็นเครื่องทำความเคารพ
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
             เขาพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายกี่อย่างในพระองค์ อันเป็นเหตุให้สาวก
ของพระองค์ สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่
             สกุลุทายิปริพาชกทูลตอบว่า
             ตนพิจารณาเห็นธรรม ๕ อย่างในพระองค์ คือ
             ๑. ทรงมีพระอาหารน้อย และทรงสรรเสริญคุณในความเป็นผู้มีอาหารน้อย
             ๒. ทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญ
ความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้
             ๓. ทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญ
ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
             ๔. ทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญ
ความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
             ๕. ทรงเป็นผู้สงัด (วิเวก) และทรงสรรเสริญความสงัด
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สันโดษ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิเวก#find1 #find1

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์ แล้วพึ่งพระองค์อยู่
ด้วยเหตุ ๕ ประการนั้นไซร้ หากบางครั้งพระองค์เสวยมาก เสวยอาหารประณีต เป็นต้น
บรรดาสาวกที่ฉันน้อย ฉันอาหารไม่ประณีต ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์
โดยธรรมนี้ แล้วพึ่งพระองค์อยู่ ฯลฯ

ธรรมเป็นเครื่องทำความเคารพประการอื่นๆ
             มีธรรม ๕ ประการอย่างอื่นอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของพระองค์
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์ แล้วพึ่งพระองค์อยู่ คือ
             ๑. สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญในเพราะอธิศีล (ศีลอันยิ่ง) ว่า
             พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง
             ๒. สาวกทั้งหลายย่อมสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริง
(ญาณทัสสนะอันยอดเยี่ยม) ว่า
             พระสมณโคดม เมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า รู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่า เห็น
             ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง
             ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่แสดงไม่มีเหตุ
             ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์
             ๓. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญในเพราะปัญญาอันยิ่ง (อธิปัญญา) ว่า
             พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันยิ่ง
             เป็นไปไม่ได้ที่พระสมณโคดมจะไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำอันยังไม่มาถึง
หรือจะไม่ทรงข่มคำโต้เถียงของฝ่ายอื่น ให้เป็นการข่มได้ด้วยดีพร้อมทั้งเหตุผลดี
             พระองค์จะทรงหวังการพร่ำสอนในสาวกทั้งหลายก็หาไม่
             สาวกทั้งหลายย่อมหวังคำพร่ำสอนของพระองค์โดยแท้
             (อธิปัญญา หมายถึงปัญญาในมรรค ๔ และผล ๔ ดูเทียบ อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๗๗๐/๕๐๕
อีกนัยหนึ่ง หมายถึงวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา (อภิ.วิ.อ. ๗๗๐/๔๔๓))
             ๔. สาวกทั้งหลายผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว เข้ามาหาพระองค์แล้วถามถึง
ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
             พระองค์เมื่อทรงพยากรณ์ (ตอบ) ก็ทำให้จิตของเธอเหล่านั้นยินดี
ด้วยการพยากรณ์ปัญหา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4

             ๕. ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๕     
             ๕.๑ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
             ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่พระองค์ตรัสบอก
แล้วเจริญสติปัฏฐาน ๔ สาวกเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
             (ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผลอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
และมีอภิญญาเป็นบารมี (ม.ม.อ. ๒/๒๔๗/๑๗๗))
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4

             ๕.๒ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสัมมัปปธาน ๔ โดยมีความพอใจ (ฉันทะ)  
ความพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ มุ่งมั่น
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปธาน_4

             ๕.๓ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอิทธิบาท ๔ ที่ประกอบด้วยปธานสังขาร
(ความเพียรที่มุ่งมั่น)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อิทธิบาท_4

             ๕.๔ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_5&detail=on#find3 #find3

             ๕.๕ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญพละ ๕ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5#find1 #find1

             ๕.๖ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์_7

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 3-16
[ต่อ]

             ๕.๗ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8

             ๕.๘ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญวิโมกข์ ๘ (ธรรมเครื่องหลุดพ้น)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิโมกข์_8

             ๕.๙ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอภิภายตนะ (เหตุเครื่องครอบงำธรรม
อันเป็นข้าศึกและอารมณ์) ๘ ประการ คือ
             (๑) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน (มีรูปสัญญาภายใน)
             เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดีหรือทราม
             ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ (สัญญา) อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
             (มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน
ที่ยังไม่ถึงอัปปนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗))
             (๒) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่  
ซึ่งมีผิวพรรณดีหรือทราม
             ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
             (๓) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน (อรูปสัญญาภายใน)
             เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณดีหรือทราม
             ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
             (มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากการบริกรรมในรูปภายใน
เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น (อง.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๙)
             (๔) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่
ซึ่งมีผิวพรรณดีหรือทราม
             ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
             (๕) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว ฯลฯ แม้ฉันใด
             ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกัน
             ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
             (๖) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง ...
             (๗) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง ...
             (๘) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว ฯลฯ แม้ฉันใด
             ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกัน
             ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
             (อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌาน
ที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และอารมณ์ทั้งหลาย
             คำนี้มาจาก อภิภู+อายตนะ
             ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์
             และชื่อว่า อายตนะเพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย
เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒,
ที.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๖๔, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗))

             ๕.๑๐ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ
             ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณ (ดิน) อาโปกสิณ (น้ำ) เตโชกสิณ (ไฟ) วาโยกสิณ (ลม)
             นีลกสิณ (เขียว) ปิตกสิณ (เหลือง) โลหิตกสิณ (แดง) โอทาตกสิณ (ขาว)
             อากาสกสิณ (ว่างเปล่า) วิญญาณกสิณ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
             (กสิณายตนะ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดย
บริกรรมกสิณเป็นอารมณ์
             คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิทั้งหมดหรือสิ้นเชิง
กล่าวคือวัตถุสำหรับแผ่ไปไม่เหลือ ให้ปักใจอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานเพียงอารมณ์เดียว
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๕/๓๓๓, องฺ.ทสก.ฏีกา ๒/๒๕/๓๙๕))

             ๕.๑๑ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญฌาน ๔
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

             ๕.๑๒ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
             กายของเรานี้มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่บิดามารดา
เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอัน
ทำลายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
             และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ (วิปัสสนาญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูตรูป_4

             ๕.๑๓ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง (มโนมยิทธิญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

             ๕.๑๔ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ (อิทธิวิธญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

             ๕.๑๕ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่
ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ (ทิพพโสตญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

             ๕.๑๖ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น (เจโตปริยญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

             ๕.๑๗ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
ฯลฯ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

             ๕.๑๘ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
ฯลฯ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ (ทิพพจักขุญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลาย ... อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

             ๕.๑๙ พระองค์ได้ตรัสบอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
ทั้งหลายปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ (อาสวักขยญาณ)
             ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่พระองค์ตรัสบอกแล้ว
ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ ...
             สาวกเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_8#find2 #find2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             สกุลุทายิปริพาชกยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #3-17]

ย้ายไปที่



Create Date : 13 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:23:33 น.
Counter : 476 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog