20.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
20.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 5-12
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 01:19 น.

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 5-13
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 13:34 น.

             คำถามชุดที่ 2 ในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540

             1. ขอให้อธิบายอุปมานี้ ให้ชัดเจนมากขึ้น
             ชื่อว่าหนามย่อมแหลมตั้งแต่เกิด. แม้ท่านพระราหุลนี้ก็เหมือนอย่างนั้น
เจริญปวิเวกอยู่ ณ ที่นั้น ครั้งเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125

             2. ในการชำระกรรมทั้ง 3 อย่างในพระสูตรนี้
และจากการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่างๆ
             มีเรื่องราวของผู้ใดในพระสูตรใดที่คุณ GravityOfLove
เลื่อมใสหรือประทับการชำระกรรมของผู้นั้นบ้าง.
(ขอให้ยกมาแสดงอย่างน้อย 1 พระสูตรหรือชาดก)

ความคิดเห็นที่ 5-14
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม เวลา 18:13 น.

             ตอบคำถามชุดที่ 2 ในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540

             1. ขอให้อธิบายอุปมานี้ ให้ชัดเจนมากขึ้น
             ชื่อว่าหนามย่อมแหลมตั้งแต่เกิด. แม้ท่านพระราหุลนี้ก็เหมือนอย่างนั้น
เจริญปวิเวกอยู่ ณ ที่นั้น ครั้งเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125

             หนามย่อมแหลมตั้งแต่เกิด น่าจะหมายความว่า มีความเพียร ฉลาดตั้งแต่เด็ก
             ท่านพระราหุลบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ ๗ พรรษา คือบวชตั้งแต่เด็ก
เมื่อบวชก็เป็นผู้ว่านอนสอนง่ายอย่างมาก และเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างมาก
             อุปนิสัยนี้เป็นปัจจัยต่อการบรรลุมรรคผล

ได้รับยกย่องเป็นผู้ใคร่การศึกษา
             พระราหุล เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย
             ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลาเช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์
แล้วตั้งความปรารถนาว่า
             “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา
สำนักพระอุปัชฌาย์และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทราย
ในกำมือของข้าพเจ้านี้”
             ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา
ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา
เป็นต้นบัญญัติ ห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
             ในขณะเมื่อท่านยังเป็นสามเณรเล็ก ๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ภิกษุทั้งหลาย
             ด้วยว่า ครั้งนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระ
ผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของ
ตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณรรวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้เพราะค่ำ
มือจึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น
             เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู
             รุ่งเช้า อุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค
พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท
             “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบัน
(อนุปสัมบัน คือ ผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”
//84000.org/one/1/index.shtml
             พระอนุบัญญัติ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=7196&Z=7249&pagebreak=0
-------------------------------
             2. ในการชำระกรรมทั้ง 3 อย่างในพระสูตรนี้
และจากการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่างๆ
             มีเรื่องราวของผู้ใดในพระสูตรใดที่คุณ GravityOfLove
เลื่อมใสหรือประทับการชำระกรรมของผู้นั้นบ้าง.
(ขอให้ยกมาแสดงอย่างน้อย 1 พระสูตรหรือชาดก)
             ประทับใจการชำระกรรมของพระโพธิสัตว์ในสังกัปปราคชาดก
             พระโพธิสัตว์เป็นพระดาบสสำเร็จอภิญญาและสมาบัติในป่าหิมพานต์
             วันหนึ่งออกจากป่าจาริกเข้าไปในเมือง พระราชาเกิดเห็นเข้าก็เลื่อมใส
จึงนิมนต์ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน ไม่ให้พระดาบสลำบากด้วยปัจจัย ๔
             พระโพธิสัตว์อยู่ในพระราชอุทยานนั้นเป็นเวลา ๑๒ ปี
             อยู่มาวันหนึ่ง ...
ฝ่ายพระโพธิสัตว์กำหนดว่าได้เวลาแล้ว ก็ถือภิกขาภาชนะเหาะมาจนถึงช่องพระแกลใหญ่.
             พระเทวีได้ทรงสดับเสียงผ้าเปลือกไม้กรองของพระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นโดยพลัน
พระภูษาเนื้อเกลี้ยงที่ทรงนุ่งนั้นก็หลุดลุ่ยลงทันที
             พระโพธิสัตว์ได้เห็นวิสภาคารมณ์มิได้สำรวมอินทรีย์ ตะลึงแลดูด้วยสามารถแห่งความงาม.
             ลำดับนั้น กิเลสของพระโพธิสัตว์ซึ่งสงบนิ่งด้วยกำลังฌานก็กำเริบขึ้น
เหมือนอสรพิษที่ถูกขังอยู่ในข้อง พอออกจากข้องได้ก็แผ่พังพานขึ้นฉะนั้น.
             พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้มีอาการเหมือนเวลาที่ต้นยางถูกกรีดด้วยมีดฉะนั้น.
องค์ฌานทั้งหลายเสื่อมไปพร้อมกับระยะที่กิเลสเกิดขึ้น. อินทรีย์ทั้งหลายก็มิได้บริบูรณ์
ตนเองได้มีสภาพเหมือนกาปีกขาดฉะนั้น.
             พระโพธิสัตว์นั้นมิอาจที่จะนั่งกระทำภัตตกิจเหมือนแต่ก่อนได้
แม้พระเทวีจะตรัสบอกให้นั่งก็ไม่นั่ง.

             ปกติเมื่อทำภัตตกิจแล้ว พระดาบสจะเหาะออกไปทางหน้าต่าง
แต่ว่าคราวนี้เนื่องจากฌานเสื่อม จึงเดินลงทางบันไดใหญ่กลับไปยังพระราชอุทยาน
             เมื่อกลับมาก็ไม่บริโภคภัตตาหารเลย ได้แต่เพ้อ รำพึงรำพันถึงความงาม
ของพระเทวีอยู่ ๗ วัน
             พระราชาเห็นผิดปกติ จึงเสด็จไปหาแล้วตรัสถามพระดาบสว่า ไม่สบายหรือ
             พระดาบสทูลตอบว่า
อาตมภาพถูกแทงที่หัวใจด้วยลูกศรคือกิเลสนั้น อันสามารถทำให้อวัยวะทั้งปวงเร่าร้อน
             ตั้งแต่เวลาที่อาตมภาพถูกลูกศรนั้นแทงแล้ว อวัยวะทุกส่วนของอาตมภาพเร่าร้อน
             เหมือนไฟติดไปทั่วฉะนั้น

             แล้วทำกสิณบริกรรมทำฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้น ออกจากบรรณศาลา
เหาะขึ้นไปนั่งอยู่กลางอากาศ โอวาทพระราชาเสร็จแล้วทูลว่า จะกลับไปอยู่ป่าหิมพานต์ตามเดิม             
             สังกัปปราคชาดก ว่าด้วย ลูกศรคือกิเลส
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=352

             พระโพธิสัตว์ได้ทำมโนกรรมแล้ว หลังจากนั้นพิจารณาว่า
             มโนกรรมนั้นเป็นอกุศล จึงเลิกทำและข่มราคะได้สำเร็จ (เพราะได้ฌานกลับมาเหมือนเดิม)  
             แล้วสำรวมโดยการกลับไปป่าตามเดิม

ความคิดเห็นที่ 5-15
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม เวลา 18:17 น.

เรียนถามคุณฐานาฐานะด้วยค่ะ ข้อ ๒ (เป็นพระสูตรหรือชาดกที่ยังไม่เคยสอนก็ได้)
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-16
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 20:32 น.

GravityOfLove, 19 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามชุดที่ 2 ในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540

             1. ขอให้อธิบายอุปมานี้ ให้ชัดเจนมากขึ้น
             ...
             ตอบคำถามได้ดีครับ แต่คำว่า เป็นต้นบัญญัตินั้น
ขอให้เปลี่ยนเป็นต้นอนุบัญญัติ.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
             มหาวิภังค์ ภาค ๒
             ๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕
                 เรื่องพระนวกะ
                 เรื่องสามเณรราหุล
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=7166&Z=7249

             2. ในการชำระกรรมทั้ง 3 อย่างในพระสูตรนี้
และจากการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่างๆ
             มีเรื่องราวของผู้ใดในพระสูตรใดที่คุณ GravityOfLove
เลื่อมใสหรือประทับการชำระกรรมของผู้นั้นบ้าง.
(ขอให้ยกมาแสดงอย่างน้อย 1 พระสูตรหรือชาดก)
             ประทับใจการชำระกรรมของพระโพธิสัตว์ในสังกัปปราคชาดก
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=352
             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 5-17
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 20:38 น.

GravityOfLove, 15 นาทีที่แล้ว
เรียนถามคุณฐานาฐานะด้วยค่ะ ข้อ ๒ (เป็นพระสูตรหรือชาดกที่ยังไม่เคยสอนก็ได้)
ขอบพระคุณค่ะ
6:17 PM 7/28/2013

             ตอบว่า ผมตอบไปแล้วเมื่อ 1:26 27/7/2556
             เหตุที่เลื่อมใส เพราะเหตุว่า เป็นชำระกายกรรมอันเป็นปกติ
ในชีวิตประจำวัน ทำให้เห็นว่า เมื่อทำการชำระกรรมทั้ง 3
โดยความเป็นกิจวัตรต่อเนื่อง ย่อมเป็นการขจัดอกุศลกรรมทั้ง 3
ได้ในชีวิตประจำวัน แม้จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม.

             หมายเหตุ :-
             ผมเลื่อมใสการชำระกายกรรมของพระปัจเจกโพธิสัตว์
ที่ว่า ได้ขโมยน้ำในกระติกของเพื่อนในเวลากลางวัน
พอตกค่ำ ก็พิจารณากรรมต่างๆ ที่ตนได้กำลังมาทั้งวัน
ได้เห็นกรรมนี้แล้ว เกิดความสังเวช แล้วบำเพ็ญสมณธรรม
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ.
             ผมเลื่อมใสตรงที่ว่า มีการพิจารณากรรมของตนเองที่กระทำมา
แล้วทำการชำระกรรมในบริสุทธิ์.

ผลการค้นหาคำว่า “ ขโมยน้ำ ” :-
พบในอรรถกถาเพื่ออธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก ดังนี้ :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

              อรรถกถา ปานียชาดก
              ว่าด้วย การทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1542&p=1
              เห็นการที่ขโมยน้ำของเพื่อนกันดื่ม
              เราจักข่มกิเลสอันนี้เสียให้ได้ กระทำการขโมยน้ำของเพื่อนกันดื่มนั้นให้เป็นอารมณ์

ความคิดเห็นที่ 5-18
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม เวลา 20:46 น.

ขอบพระคุณค่ะ
เรื่องพระราหุลกำทรายขึ้นมา ไม่ทราบมีลิงค์ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 5-19
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 21:01 น.

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
เรื่องพระราหุลกำทรายขึ้นมา ไม่ทราบมีลิงค์ไหมคะ
8:46 PM 7/28/2013
             มีครับ.
             อรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร [บางส่วน]
             จริงอยู่ ท่านพระราหุลนี้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เกลี่ยทรายประมาณบาตรหนึ่ง
ในบริเวณพระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่ด้วยคิดว่า วันนี้เราจะได้รับโอวาทประมาณเท่านี้
ได้การตักเตือนประมาณเท่านี้จากสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากสำนัก
ของพระอุปัชฌาย์.
             แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงตั้งพระราหุลไว้ในเอตทัคคะ จึงทรงตั้งให้
เป็นผู้เลิศในการศึกษาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา
ราหุลเป็นผู้เลิศของภิกษุเหล่านั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133&p=1

             ประวัติพระราหุลเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=148&p=1

ความคิดเห็นที่ 5-20
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม เวลา 21:05 น.

ขอบพระคุณค่ะ อยู่ในอรรถกถาพระสูตรหลักถัดไปนี่เอง

ความคิดเห็นที่ 5-21
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 21:17 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬราหุโลวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2383&Z=2540

              พระสูตรหลักถัดไป คือมหาราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 12].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              มหาราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2541&Z=2681
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133

              จูฬมาลุงโกยวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2682&Z=2813
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=147

              มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=153

              ภัททาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160

ความคิดเห็นที่ 5-22
GravityOfLove, 27 กรกฎาคม เวลา 11:55 น.

             คำถามนอกพระสูตรหลัก
             นิโรธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4466&Z=4543
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
             ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจักวางเฉย (ดูดาย) ภิกษุผู้เถระซึ่งถูก
เบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความการุณจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาดซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ...
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้
             พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยัง
พระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไป
หาท่านพระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า
             ดูกรท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่าอื่นในพระศาสนานี้ ย่อมเบียดเบียนภิกษุ
ทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
จากที่พักผ่อนในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้นยกขึ้นแสดง เหมือนดังที่จะพึงตรัสกะ
ท่านอุปวาณะโดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้นไม่เป็นของอัศจรรย์
บัดนี้ ความน้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา

ความคิดเห็นที่ 5-23
ฐานาฐานะ, 27 กรกฎาคม เวลา 15:22 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             นิโรธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4466&Z=4543
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
             ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจักวางเฉย (ดูดาย) ภิกษุผู้เถระซึ่งถูก
เบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความการุณจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาดซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่
             น่าจะหมายถึงว่า การดูดายในเมื่อภิกษุผู้เถระถูกเบียดเบียนอยู่
เป็นเพราะว่า ไม่มีความกรุณาต่อภิกษุผู้เถระที่ถูกเบียดเบียนอยู่.
- - - - - - - - - - - - - - - -

             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ...
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้
             น่าจะแสดงว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมย้ำว่า
ที่ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้ เป็นจริง.
- - - - - - - - - - - - - - - -
             พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยัง
พระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไป
หาท่านพระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า
             ดูกรท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่าอื่นในพระศาสนานี้ ย่อมเบียดเบียนภิกษุ
ทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
จากที่พักผ่อนในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้นยกขึ้นแสดง เหมือนดังที่จะพึงตรัสกะ
ท่านอุปวาณะโดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้นไม่เป็นของอัศจรรย์
บัดนี้ ความน้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา
11:54 AM 7/27/2013
             สันนิษฐานว่า เมื่อภิกษุที่เบียดเบียนพระเถระ แล้วพวกเราไม่เข้าไปห้ามปราม
เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคทรงยกเหตุนั้นขึ้นแสดง เหมือนที่จะตรัสท่านอุปวาณะ
ข้อนั้นไม่แปลก (คาดหมายได้) แต่ความเสียใจเกิดขึ้นแก่พวกเรา.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
             ฉบับมหาจุฬาฯ (เพื่อเทียบสำนวน)
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
“อานนท์ เป็นไปได้หรือที่เธอทั้งหลายเพิกเฉยต่อภิกษุเถระผู้กำลังถูกเบียดเบียนอยู่
เธอทั้งหลายคงจะไม่มีความกรุณาในภิกษุเถระผู้ฉลาดซึ่งกำลังถูกเบียดเบียนอยู่”

เหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสในเชิงตำหนิท่านพระอานนท์อย่างนี้  ก็เพราะท่านพระอานนท์
เป็นสหายรักของท่านพระสารีบุตรเถระและท่านเป็นธัมมภัณฑาคาริก  (ขุนคลังพระธรรม)
การห้ามปรามภิกษุผู้รุกรานภิกษุเถระอย่างนี้  เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก
(ตามนัย  องฺ.ปญฺจก.อ.  ๓/๑๖๖/๖๔)

             ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระอานนท์  ได้เข้าไปหาท่าน
พระอุปวานะถึงที่อยู่แล้วกล่าวดังนี้ว่า    “ท่านอุปวานะ  ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้
เบียดเบียนพระเถระ    พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น    การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น    จะปรารภเหตุนั้นนั่นแลแล้วยกขึ้นแสดงเหมือนที่จะ
พึงตรัสกับท่านอุปวานะโดยเฉพาะในเหตุนั้น  นั้นไม่น่าอัศจรรย์  บัดนี้  ความน้อยใจ
ได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา”

ความคิดเห็นที่ 5-24
GravityOfLove, 27 กรกฎาคม เวลา 18:05 น.

ขอบพระคุณค่ะ
ตรงนี้ยังไม่เข้าใจค่ะ และทำไมถึงเป็นท่านอุปาวานะค่ะ มีนัยพิเศษอะไรคะ
- - - -
             ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระอานนท์  ได้เข้าไปหาท่าน
พระอุปวานะถึงที่อยู่แล้วกล่าวดังนี้ว่า    “ท่านอุปวานะ  ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้
เบียดเบียนพระเถระ    พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น    การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น    จะปรารภเหตุนั้นนั่นแลแล้วยกขึ้นแสดงเหมือนที่จะ
พึงตรัสกับท่านอุปวานะโดยเฉพาะในเหตุนั้น  นั้นไม่น่าอัศจรรย์  บัดนี้  ความน้อยใจ
ได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา”

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:50:02 น.
Counter : 514 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog