20.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
20.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 5-63
GravityOfLove, 1 สิงหาคม เวลา 22:12 น.

              ๑. อธิบายว่า แปลว่า ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้
              ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ
              คือฟังขณะนั้นด้วย หรือฟังต่อมาจากผู้นั้น?
              พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์เป็นอย่างไร
              ท่านพระมาลุงกยบุตรทูลตอบตามนั้น
              พระผู้ีมีพระภาคตรัสถามว่า ฟังมาจากไหน (เราไม่ได้สอนแบบนี้)
(เพราะตื้นๆ ไม่เห็นมีเรื่องอนุสัยด้วยเลย ถ้าเป็นดังนั้นพวกเดียรถีย์ก็แย้งได้ิสิว่า ทารกบริสุทธิ์)
              ท่านพระอานนท์จึงทูลขอให้ทรงอธิบาย
              ถูกต้องไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 5-64
ฐานาฐานะ, 1 สิงหาคม เวลา 22:22 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
...
10:12 PM 8/1/2013

             ตอบว่า ถูกต้องครับ ใจความก็ประมาณนี้.

ความคิดเห็นที่ 5-65
GravityOfLove, 1 สิงหาคม เวลา 22:43 น.

             มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ทำไมมีถึงอรูปฌาน ๓ เท่านั้นคะ

ความคิดเห็นที่ 5-66
ฐานาฐานะ, 1 สิงหาคม เวลา 22:57 น.

GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว
              มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ทำไมมีถึงอรูปฌาน ๓ เท่านั้นคะ
10:43 PM 8/1/2013
              ตอบว่า ไม่ทราบครับ สันนิษฐานว่า อาจเป็นเพราะเหตุว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ละเอียดเกินไป มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อาจจะไม่เหมาะแก่การพิจารณาอรูปขันธ์.

              นัยจากอรรถกถาฌานสูตรที่ ๕
              ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะเล่า.
              ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม.
              จริงอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา.
              สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺญาปฏิเวโธ.
              ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า สจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต
ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่งประมาณเท่านั้น เขาย่อมเข้าถึงพระอรหัต แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ท่านไม่กล่าวว่าเป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความเป็นของสุขุม.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=240

ความคิดเห็นที่ 5-67
GravityOfLove, 1 สิงหาคม เวลา 23:01 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-68
GravityOfLove, 1 สิงหาคม เวลา 23:01 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร (มหามาลุงกยโอวาทสูตร)
             ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2814&Z=2961&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
             ยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระองค์ทรงแสดงแล้วได้หรือไม่
             ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ตนยังจำได้
             ตรัสถามว่า
             จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อย่างไร
             ท่านพระมาลุงกยบุตรทูลตอบว่า
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ
             ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
             ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
             ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
             ๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
             ๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอรัมภาคิยสังโยชน์_5&detail=on

             ตรัสถามว่า
             จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่พระองค์ทรงแสดงแล้วอย่างนี้
แก่ (มาจาก) ใคร
             นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จะโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ว่า
             ๑. แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่
แล้วสักกายทิฏฐิจะเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร
             (แท้จริงแล้ว) สักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัย (กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน)  
ย่อมนอนตามในเด็กนั้น
             ๒. แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่
แล้วความสงสัยในธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร
             วิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัย ย่อมนอนตามในเด็กนั้น
             ๓. แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่
แล้วสีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลายจะเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร
             สีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัย ย่อมนอนตามในเด็กนั้น
             ๔. แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่
แล้วกามฉันทะในกามทั้งหลายจะเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร
             กามราคะอันเป็นอนุสัย ย่อมนอนตามในเด็กนั้น
             ๕. แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่
แล้วความพยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจะเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร
             พยาบาทอันเป็นอนุสัย ย่อมนอนตามในเด็กนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุสัย

             ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             เวลานี้เป็นกาลสมควร ที่จะทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อได้ฟังแล้ว จะทรงจำไว้
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
             ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
             มีจิตอันโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ กลุ้มรุมแล้ว ครอบงำแล้วอยู่
             และเมื่อสังโยชน์นี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้
ตามความเป็นจริง สังโยชน์นั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
             ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ฯลฯ ตรัสตรงกันข้าม
             เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลจะไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจะรู้ จะเห็น หรือจะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้
             เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลจะไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น
มีแก่น แล้วจะถากแก่นนั้นได้ ฉันใด
             เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจะรู้ จะเห็น หรือจะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ก็ฉันนั้น
             ในทางตรงกันข้าม ตรัสทำนองเดียวกัน
             เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง บุรุษผู้มีกำลังน้อย
ย่อมไม่อาจว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันใด
             เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน
             บุรุษผู้มีกำัลังย่อมสามารถว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้
ไปให้ถึงโดยสวัสดี ฉันใด
             เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน

มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
             คือ รูปฌาน ๔ ถึงอรูปฌานที่ ๓
             ๑. สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (นิวรณ์) เพราะอุปธิวิเวก
(ในที่นี้หมายถึงความสงัดจากกามคุณ ๕) เพราะละอกุศลธรรมได้
เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
             พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย (เห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า) คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้
(เป็นโรค) เป็นอื่น (ไม่ใช่ของตน) เป็นของทรุดโทรม (สลายไป) เป็นของสูญ
เป็นของมิใช่ตัวตน
             (เป็นไตรลักษณ์)
             ย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น (ย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น)
             ครั้นเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า
             ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง
เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้
             ตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย (เจริญมรรค ๔ โดยลำดับแล้วจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์)
             ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมจะเป็นโอปปาติกะ
จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ด้วยความยินดี ความเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น (ยินดีในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา) และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
(บรรลุเป็นพระอนาคามี)
             ๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
             ๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
             ๔. อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
             พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ... เพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
             ๕. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง
             ย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง
มีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน
             ให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว
(เปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น) ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่า
             นั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา
ปราศจากราคะ ดับสนิท นิพพาน
             ตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
             ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมจะเป็นโอปปาติกะ
จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ด้วยความยินดี ความเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
             ๖. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่
             พิจารณาธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น  
... เพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
             ๗. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่
             พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน
             ให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
(ย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น) แล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า
             นั่นมีอยู่ นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง
ตัณหักขยะ ( ความสิ้นไปแห่งตัณหา) วิราคะ (ความคลายกำหนัด) นิโรธ (ความดับ)
นิพพาน ดังนี้
             ตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ
             ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมจะเป็นโอปปาติกะ
จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ด้วยความยินดี ความเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปธิวิเวก&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ไตรลักษณ์

             ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า
             ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
             เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             เพราะความต่างกันแห่งอินทรีย์ของภิกษุเหล่านั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #5-69]

ความคิดเห็นที่ 5-69
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม เวลา 05:13 น.

GravityOfLove, 17 นาทีที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
              ๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร (มหามาลุงกยโอวาทสูตร)
              ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2814&Z=2961&bgc=seashell&pagebreak=0
11:01 PM 8/1/2013

              ย่อความได้ดี มีข้อติงดังนี้ :-
              ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แก้ไขเป็น
              ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

              ๕. ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด
แก้ไขเป็น
              ๕. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด

              ให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เรั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น
แก้ไขเป็น
              ให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น

ความคิดเห็นที่ 5-70
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม เวลา 05:15 น.

หมายเหตุในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา ฯ
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๓ (อภยราชกุมารสูตร) หน้า ๘๔ ในเล่มนี้
๑ อุปธิวิเวก ในที่นี้หมายถึงความสงัดจากกามคุณ ๕ ประการ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) (ม.ม.อ. ๒/๑๓๓/๑๐๘)
๒ พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๔ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๖/๕๐๘-๕๐๙
๑ หมายความว่า บรรดาภิกษุผู้ดำเนินไปด้วยสมถกัมมัฏฐาน ภิกษุพวกหนึ่งมีจิตเตกัคคตา(ความที่จิตมี
   อารมณ์เดียว)เป็นหลัก จึงชื่อว่าเป็นเจโตวิมุต(หลุดพ้นด้วยสมาธิ) (ม.ม.อ. ๒/๑๓๓/๑๑๐)
๒ หมายความว่า บรรดาภิกษุผู้ดำเนินไปด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน ภิกษุพวกหนึ่งมีปัญญาเป็นหลัก จึงชื่อว่า
   เป็นปัญญาวิมุต(หลุดพ้นด้วยปัญญา) (ม.ม.อ.  ๒/๑๓๓/๑๑๐)
๓ มีอินทรีย์ต่างกัน หมายความว่า มีหลักปฏิบัติต่างกัน เช่น ท่านพระอานนท์ บำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วยัง
   ไม่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เหตุนั้นพระสัพพัญญุตญาณจึงไม่ปรากฏแก่ท่าน แต่พระตถาคตแทงตลอดแล้ว
   เหตุนั้นพระสัพพัญญุตญาณจึงปรากฏแก่พระองค์ ทั้งนี้เป็นเพราะอินทรีย์ต่างกัน หรือในเวลาบำเพ็ญ
   สมถกัมมัฏฐานภิกษุรูปหนึ่งมุ่งความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นหลักก็จะหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ ภิกษุอีกรูป
   หนึ่งมุ่งปัญญาเป็นหลัก ก็จะหลุดพ้นด้วยปัญญาวิมุตติ (ม.ม.อ. ๒/๑๓๓/๑๐๙)

ความคิดเห็นที่ 5-71
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม เวลา 05:18 น.

             คำถามในมหามาลุงโกฺยวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 5-72
GravityOfLove, 2 สิงหาคม เวลา 12:34 น.

             ตอบคำถามในมหามาลุงโกฺยวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
             ๒. เด็กทารกแม้ยังไม่ปรากฎสังโยชน์ให้เห็น จะถือว่าละสังโยชน์นั้นๆ ไม่ได้
เพราะมีส่วนที่เป็นอนุสัยอยู่
             ๓. ปุถุชนที่ไม่ได้สดับในธรรมของพระอริยะ มีสังโยชน์ ๕ ครอบงำ
             เมื่อสังโยชน์นี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
             ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ฯลฯ ตรัสตรงกันข้าม
             ๔. มรรคปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕  คือ รูปฌาน ๔ ถึงอรูปฌานที่ ๓
             ถ้าละได้จะเป็นพระอนาคามี ถ้าเจริญวิปัสสนาต่อไปจนสิ้นอาสวะทั้งหลาย จะเป็นพระอรหันต์
             ๕. เหตุที่ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ เป็นเจโตวิมุติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุติ
เพราะความต่างกันแห่งอินทรีย์ของภิกษุเหล่านั้น
             ๖. พึงเห็นว่าสมาบัติดุจการถากเปลือก พึงเห็นวิปัสสนาดุจการถากกระพี้
พึงเห็นมรรคดุจการถากแก่น
             ๗. พระธรรมเสนาบดี (ท่านพระสารีบุตร) เป็นปัญญาวิมุต พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นเจโตวิมุต

ความคิดเห็นที่ 5-73
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม เวลา 18:57 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในมหามาลุงโกฺยวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961
...
12:34 PM 8/2/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 5-74
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม เวลา 19:02 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหามาลุงโกฺยวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961

              พระสูตรหลักถัดไป คือภัททาลิสูตร [พระสูตรที่ 15].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              ภัททาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160

              ลฑุกิโกปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3253&Z=3507
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=175

              จาตุมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3508&Z=3666
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=186

              นฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=195

              โคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=203

              กีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:38:51 น.
Counter : 426 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog