20.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.14 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 10-144
ฐานาฐานะ, 25 กรกฎาคม เวลา 23:54 น.
             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อปัณณกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1833&Z=2382

              พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              จูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2383&Z=2540
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125

              มหาราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2541&Z=2681
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133

              จูฬมาลุงโกยวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2682&Z=2813
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=147

              มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2814&Z=2961
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=153

              ภัททาลิสูตร  
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160

ความคิดเห็นที่ 5-1
GravityOfLove, 26 กรกฎาคม เวลา 15:24 น.

             คำถามจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2383&Z=2540

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. กรุณาอธิบายข้อ ๑๒๗ ค่ะ ที่เป็นอุปมาเกี่ยวกับช้าง
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๑๒๗
             ๒. ก็ในฐานะอย่างไรเล่าจึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม ในฐานะอย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125&bgc=seashell
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-2
ฐานาฐานะ, 27 กรกฎาคม เวลา 01:25 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
              คำถามจูฬราหุโลวาทสูตร
              กรุณาอธิบายข้อ ๑๒๗ ค่ะ ที่เป็นอุปมาเกี่ยวกับช้าง
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๑๒๗
              ขอบพระคุณค่ะ
3:24 PM 7/26/2013

อธิบายว่า
              ช้างศึก ถ้าหากยังรักษางวงอยู่ ควาญช้างก็จะรู้ว่า
ยังมีเยื่อใยในชีวิตอยู่ ยังไม่อาจสละชีวิตเพื่อการศึกได้
              หากไม่รักษางวงแล้ว ควาญช้างก็จะรู้ว่า
ช้างนี้ยอมทำการศึก โดยไม่คำนึงถึงชีวิตแล้ว (ทำศึกได้เต็มที่)
              ข้อที่ช้างรักษางวงหรือไม่รักษางวง เป็นเครื่องชี้ว่า
ยังเหลือห่วงใยในชีวิตหรือว่าไม่เหลือ ยอมสละได้ทุกอย่าง
ไม่เหลือสิ่งที่ช้างจะสละไม่ได้อีกแล้ว (ทำได้ทุกอย่าง) ฉันใด.
              บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่
ก็เป็นเครื่องชี้ว่า เขาทำบาปได้ทุกอย่างเหมือนกัน ไม่มีบาปอะไร
ที่เขาจะทำไม่ได้.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ก็ในฐานะอย่างไรเล่าจึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม ในฐานะอย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125&bgc=seashell
5:45 PM 7/26/2013

อธิบายว่า
             ก็ในฐานะอย่างไรเล่าจึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม
             ในเหตุการณ์อย่างไรจึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม กล่าวคือ
ตรวจสอบกรรม 2 อย่างนี้ ถ้าบริสุทธิ์ก็ยินดีว่า เราได้ดีแล้ว
ถ้าไม่บริสุทธิ์ ก็แสดงต่อเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน
             ส่วนเหตุการณ์ที่อรรถกถายกมา เช่น ก่อนอาหารนั้น แสดงว่า
ระหว่างการแสวงบิณฑบาต อาจจะมีเหตุการณ์ที่เป็นอกุศลที่กายและวาจา
เช่น การแย่งลำดับการเที่ยวบิณฑบาต กล่าวแย่งกันในเรื่องบิณฑบาตเป็นต้น.
             ดังนั้น เหตุการณ์เหล่านี้ ควรชำระกายกรรมและวจีกรรม

             ในฐานะอย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม.
             ในเหตุการณ์อย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม กล่าวคือ ตรวจสอบมโนกรรม
ถ้าบริสุทธิ์ก็ยินดีว่า เราได้ดีแล้ว ถ้าไม่บริสุทธิ์ ก็ทำความละอายในกรรมนั้น
แต่ตั้งใจว่า จะสำรวมเพื่อไม่ให้มโนกรรมอันเป็นอกุศลเกิดขึ้นอีก.
             ส่วนเหตุการณ์ที่อรรถกถายกมา มักเป็นขณะที่ความโลภเกิดขึ้นได้
เช่น เที่ยวบิณฑบาตแล้วเห็นหญิงงาม เกิดราคะ หรือได้บิณฑบาตประณีต
ก็ติดใจยินดี มีมานะว่า เรามีลาภมากหนอ หรือว่า ไม่ได้บิณฑบาตที่ประณีต
ก็โกรธขัดเคืองว่า อุบาสกอุบาสิกาไม่ยำเกรงเรา จึงไม่ถวายบิณฑบาตที่ประณีตเป็นต้น

             เนื้อความอรรถกถา [บางส่วน]
             ก็ในฐานะอย่างไรเล่าจึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม ในฐานะอย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม.
             ควรชำระกายกรรมและวจีกรรม ในเวลาก่อนอาหารครั้งหนึ่งก่อน เมื่อฉันอาหารแล้วควรนั่ง
ในที่พักกลางวันพิจารณาว่า ตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงนั่งในที่นี้ กายกรรมหรือวจีกรรมอันไม่สมควรแก่ผู้อื่น
ในระหว่างนี้ มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ. หากรู้ว่ามี ควรแสดงข้อที่ควรแสดง ควรทำให้แจ้งข้อที่ควรทำให้แจ้ง.
หากไม่มี ควรมีปีติปราโมทย์.
             อนึ่ง ควรชำระมโนกรรม ในที่แสวงหาบิณฑบาตครั้งหนึ่ง.
             ชำระอย่างไร.
             ควรชำระว่า วันนี้ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความคับแค้นก็ดี ในรูปเป็นต้นในที่แสวงหา
บิณฑบาตมีอยู่หรือหนอ. หากมี ควรตั้งจิตว่าเราจักไม่ทำอย่างนี้อีก. หากไม่มีควรมีปีติปราโมทย์.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125&bgc=seashell

             หมายเหตุ :-
             ผมเลื่อมใสการชำระกายกรรมของพระปัจเจกโพธิสัตว์
ที่ว่า ได้ขโมยน้ำในกระติกของเพื่อนในเวลากลางวัน
พอตกค่ำ ก็พิจารณากรรมต่างๆ ที่ตนได้กำลังมาทั้งวัน
ได้เห็นกรรมนี้แล้ว เกิดความสังเวช แล้วบำเพ็ญสมณธรรม
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ.
             ผมเลื่อมใสตรงที่ว่า มีการพิจารณากรรมของตนเองที่กระทำมา
แล้วทำการชำระกรรมในบริสุทธิ์.

ผลการค้นหาคำว่า “ ขโมยน้ำ ” :-
พบในอรรถกถาเพื่ออธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก ดังนี้ :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

              อรรถกถา ปานียชาดก
              ว่าด้วย การทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1542&p=1

              เห็นการที่ขโมยน้ำของเพื่อนกันดื่ม
              เราจักข่มกิเลสอันนี้เสียให้ได้ กระทำการขโมยน้ำของเพื่อนกันดื่มนั้นให้เป็นอารมณ์

ความคิดเห็นที่ 5-3
GravityOfLove, 27 กรกฎาคม เวลา 11:34 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-4
GravityOfLove, 27 กรกฎาคม เวลา 11:49 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
เขตพระนครราชคฤห์
             ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา
             ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นอยู่ (เสด็จออกจากผลสมาบัติ)
แล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกาปราสาทที่ท่านพระราหุลอยู่
             แล้วประทานพระโอวาทแก่ท่านพระราหุล มีใจความดังนี้
             ๑. พระผู้มีพระภาคเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสว่า
             สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่
ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น
             ๒. พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้วตรัสว่า
             สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่
ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น
             ๓. พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสว่า
             สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่
ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น
             ๔. พระผู้มีพระภาคทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสว่า
             สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่
ก็เป็นของว่างเปล่าเหมือนกันฉะนั้น
             ๕. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              เปรียบเหมือนช้างต้นที่เข้าสงคราม ใช้อวัยวะในร่างกายทุกส่วน
เพื่อการต่อสู้ เช่น เท้าหน้า เท้าหลัง เว้นไว้แต่งวง
             เมื่อควาญช้างเห็นดังนั้น ก็ดำริว่า
             ช้างต้นนี้ทำสงครามโดยห่วงงวง แสดงว่าไม่ยอมสละชีวิต
             ๖. เมื่อใดช้างต้นใช้อวัยวะในร่างกายทุกส่วนเพื่อการต่อสู้
ไม่เว้นแม้แต่งวง
             เมื่อควาญช้างเห็นดังนั้น ก็ดำริว่า
             ช้างต้นนี้ทำสงครามโดยไม่ห่วงงวง แสดงว่ายอมสละชีวิตได้
ไม่มีอะไรที่สละไม่ได้ ฉันใด
             บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่
ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน
             พึงศึกษาว่า เราจะไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น
             ๗. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แว่นมีประโยชน์อย่างไร?
             ท่านพระราหุลทูลตอบว่า
             มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ
กรรม ๓
๑. กายกรรม
๑.๑ ก่อนทำกายกรรม
             เมื่อปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมนั้นพึงพิจารณาเสียก่อนว่า
            กายกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่นบ้างหรือไม่
             กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากหรือไม่
             ถ้าใช่ ก็ไม่พึงทำด้วยกายโดยส่วนเดียว (โดยเด็ดขาด)
             ถ้าไม่ใช่ ก็พึงทำด้วยกาย
๑.๒ กำลังทำกายกรรม
             เมื่อกำลังทำกรรมด้วยกาย พึงพิจารณากายกรรมนั้นว่า
             กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ฯลฯ หรือไม่
             กายกรรมนี้เป็นอกุศล ฯลฯ หรือไม่
             ถ้าใช่ ก็พึงเลิกกายกรรมเห็นปานนั้นเสีย
             ถ้าไม่ใช่ ก็พึงเพิ่มกายกรรมเห็นปานนั้น
๑.๓ ทำกายกรรมแล้ว
             แม้ทำกรรมด้วยกายแล้ว พึงพิจารณากายกรรมนั้นว่า
             กายกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ฯลฯ หรือไม่
             กายกรรมนี้เป็นอกุศล ฯลฯ หรือไม่
             ถ้าใช่ ก็พึงแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสนา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลายผู้วิญญู แล้วพึงสำรวมต่อไป
             ถ้าไม่ใช่ ก็พึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยกายกรรมนั้น

๒. วจีกรรม
๒.๑ ก่อนทำวจีกรรม
             เมื่อปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมนั้นพึงพิจารณาเสียก่อนว่า
            วจีกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ฯลฯ หรือไม่
             วจีกรรมนี้เป็นอกุศล ฯลฯ หรือไม่
             ถ้าใช่ ก็ไม่พึงทำด้วยวาจาโดยส่วนเดียว (โดยเด็ดขาด)
             ถ้าไม่ใช่ ก็ควรทำ
๒.๒ กำลังทำวจีกรรม
             เมื่อกำลังทำกรรมด้วยวาจา พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นว่า
             วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ฯลฯ หรือไม่
             วจีกรรมนี้เป็นอกุศล ฯลฯ หรือไม่
             ถ้าใช่ ก็พึงเลิกวจีกรรมเห็นปานนั้นเสีย
             ถ้าไม่ใช่ ก็พึงเพิ่มวจีกรรมเห็นปานนั้น
๒.๓ ทำวจีกรรมแล้ว
             แม้ทำกรรมด้วยวาจาแล้ว พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นว่า
             วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ฯลฯ หรือไม่
             วจีกรรมนี้เป็นอกุศล ฯลฯ หรือไม่
             ถ้าใช่ ก็พึงแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสนา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลายผู้วิญญู แล้วพึงสำรวมต่อไป
             ถ้าไม่ใช่ ก็พึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยวจีกรรมนั้น

๓. มโนกรรม
๓.๑ ก่อนทำมโนกรรม
             เมื่อปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมนั้นพึงพิจารณาเสียก่อนว่า
             มโนกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่นบ้างหรือไม่
             มโนกรรมนี้เป็นอกุศล ฯลฯ หรือไม่
             ถ้าใช่ มโนกรรมเห็นปานนี้ ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว
             ถ้าไม่ใช่ มโนกรรมเห็นปานนั้น ควรทำ
๓.๒ กำลังทำมโนกรรม
             เมื่อกำลังทำกรรมด้วยใจ พึงพิจารณามโนกรรมนั้นว่า
             มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ฯลฯ หรือไม่
             มโนกรรมนี้เป็นอกุศล ฯลฯ หรือไม่
             ถ้าใช่ ก็พึงเลิกมโนกรรมเห็นปานนั้นเสีย
             ถ้าไม่ใช่ ก็พึงเพิ่มมโนกรรมเห็นปานนั้น
๓.๓ ทำมโนกรรมแล้ว
             แม้ทำกรรมด้วยใจแล้ว พึงพิจารณามโนกรรมนั้นว่า
             มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ฯลฯ หรือไม่
             มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากหรือไม่
             ถ้าใช่ ก็พึงกระดาก ละอายเกลียดในมโนกรรมเห็นปานนั้น
ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป
             ถ้าไม่ใช่ ก็พึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและ
กลางคืน อยู่ด้วยมโนกรรมนั้น
             คำว่า วิญญู
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิญญู

             พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า
             สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
(สมณะหรือพราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
หรือสาวกของพระตถาคต) ได้ชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว
             สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้นพิจารณาๆ อย่างนี้นั่นเอง
แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
             แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล
ก็จะชำระเช่นนี้
             ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ก็กำลังชำระเช่นนี้
             เพราะเหตุนี้ พึงศึกษาว่า
             เราจักพิจารณาๆ แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 5-5
ฐานาฐานะ, 27 กรกฎาคม เวลา 23:24 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540&bgc=seashell&pagebreak=0
11:49 AM 7/27/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน.

ความคิดเห็นที่ 5-6
ฐานาฐานะ, 27 กรกฎาคม เวลา 23:26 น.

             คำถามในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 5-7
GravityOfLove, 27 กรกฎาคม เวลา 23:54 น.

             ตอบคำถามในจูฬราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ทรงอุปมาสมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่
กับภาชนะใส่น้ำ ๔
             ทรงอุปมาบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทําบาปกรรม
แม้น้อยหนึ่งไม่มี กับช้าง ๒
             ทรงอุปมาว่าบุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ กับการส่องด้วยแว่น
             เมื่อพิจารณาแล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
             การชำระได้แก่ งด, เลิกทำ, แสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสนา
หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญญู แล้วพึงสำรวมต่อไป, ก็พึงกระดาก
ละอายเกลียดในมโนกรรมเห็นปานนั้น ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป
             ถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่เป็นการเบียดเบียน เป็นกุศลธรรม ก็พึงทำ, ทำเพิ่ม,
พึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยกรรมนั้นๆ
             ๒. ไม่กล่าวเท็จแม้เพราะหัวเราะ แม้เพราะใคร่จะเล่น
             ๓. ราหุลสังยุต - เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะในภพทั้งหลาย
ในที่ที่มาแล้วๆ, เพื่อถือเอาห้องวิปัสสนาของพระเถระ
             พระองค์ตรัสราหุลสังยุต ตั้งแต่พระราหุลมีพระชนม์ได้ ๗ พรรษา
จนถึงเป็นภิกษุยังไม่มีพรรษา
//84000.org/tipitaka/read/?%CA%D2%C3%BA%D1%AD%BE%C3%D0%E4%B5%C3%BB%D4%AE%A1%C1%B7%D5%E8_%F1%F6

             อัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร หรือ จูฬราหุโลวาทสูตร (บาลี)
             ทรงแสดงเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร อายุ ๗ พรรษา เมื่อเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา
             ท่านพระราหุลเจริญปวิเวกอยู่ ณ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา
ตั้งแต่เป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา
             ทรงแสดงอุปมาด้วยภาชนะใส่น้ำ ๔ ก่อน
             จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยช้าง ๒
             จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยแว่น ๑
             เพื่อมิให้ทำสัมปชานมุสาวาท (พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่)
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540&bgc=seashell&pagebreak=0

             สามเณรปัญหา - พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า
             ชื่อว่าเด็กหนุ่มย่อมพูดถ้อยคำที่ควรและไม่ควร เราจะให้โอวาทแก่ราหุล ดังนี้แล้ว
             ตรัสเรียกพระราหุลเถระ มีพระพุทธดำรัสว่า
             ดูก่อนราหุล ชื่อว่าสามเณรไม่ควรกล่าวติรัจฉานกถา.
เธอเมื่อจะกล่าว ควรกล่าวกถาเห็นปานนี้ คือ คำถาม ๑๐ ข้อ ...
             ทรงแสดงเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร อายุ 7 พรรษา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=33&Z=40

             ราหุลสูตร - ทรงแสดงการเว้นตัณหาในปัจจัย ๔
การละฉันทราคะในกามคุณ ๕ และความที่อุปนิสัยแห่งกัลยาณมิตรเป็นคุณยิ่งใหญ่
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=25&A=8111

             มหาราหุโลวาทสูตร - เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะอันอาศัยเรือน
อาศัยอัตภาพว่า เรางาม วรรณะของเราผ่องใส
             พระองค์ทรงแสดงพระสูตรนี้เมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๑๘ พรรษา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2541&Z=2681

             จูฬราหุโลวาทสูตร - เพื่อยึดเอาพระอรหัต ในเวลาที่ธรรมเจริญด้วยวิมุตติ ๑๕
ของพระเถระแก่กล้าแล้ว
ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่านพระ-
*ราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลายพันตนนั้น
ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ

//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323

             ๔. ท่านพระราหุลนี้ เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษาทรงจับชายจีวร
ทูลขอมรดกกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
             ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ทรงประทานมรดกแก่ข้าพระองค์เถิด.
             พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบให้แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระบวชให้.

ความคิดเห็นที่ 5-8
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 00:15 น.

             คำตอบที่ว่า
>>>>
             อัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร หรือ จูฬราหุโลวาทสูตร (บาลี)
             ทรงแสดงเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร อายุ ๗ พรรษา เมื่อเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา
             ท่านพระราหุลเจริญปวิเวกอยู่ ณ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา
ตั้งแต่เป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา
             ทรงแสดงอุปมาด้วยภาชนะใส่น้ำ ๔ ก่อน
             จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยช้าง ๒
             จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยแว่น ๑
             เพื่อมิให้ทำสัมปชานมุสาวาท (พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่)
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2383&Z=2540&bgc=seashell&pagebreak=0
<<<<
             หมายถึงพระสูตรหลัก พระสูตรนี้ ใช่หรือไม่?
             ประโยคว่า ทรงแสดงเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร อายุ ๗ พรรษา เมื่อเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา
            เมื่อพระราหุลมีอายุเท่าไร? 7 พรรษาหรือ 20 พรรษา (อายุครบอุปสมบท)

ความคิดเห็นที่ 5-9
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม เวลา 00:42 น.

             หมายถึงพระสูตรหลัก พระสูตรนี้ ใช่หรือไม่? << ใช่ค่ะ           
             เมื่อพระราหุลมีอายุเท่าไร? 7 พรรษาหรือ 20 พรรษา (อายุครบอุปสมบท) << ๗ พรรษาค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-10
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม เวลา 00:47 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
             หมายถึงพระสูตรหลัก พระสูตรนี้ ใช่หรือไม่? << ใช่ค่ะ
             เมื่อพระราหุลมีอายุเท่าไร? 7 พรรษาหรือ 20 พรรษา (อายุครบอุปสมบท) << ๗ พรรษาค่ะ
12:42 AM 7/28/2013
             ประโยคว่า
>>>>
             ทรงแสดงเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร อายุ ๗ พรรษา เมื่อเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา
             ท่านพระราหุลเจริญปวิเวกอยู่ ณ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา
ตั้งแต่เป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา
<<<<
             เมื่อเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา << เป็นประโยคที่เกินมาหรืออย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 5-11
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม เวลา 01:14 น.

ประโยคว่า เมื่อเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา
ขอย้ายมาไว้ที่พระสูตรสุดท้ายค่ะ คือพระสูตรที่ท่านพระราหุลได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:18:06 น.
Counter : 867 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog