23.5 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.4 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-52
ฐานาฐานะ, 4 ตุลาคม เวลา 15:55 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๔๐. กรรณกัตถลสูตร ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ตำบลกรรณกัตถลมิคทายวัน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8962&Z=9194&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
11:33 AM 10/4/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             (๑)[อรรถกถา]บุคคลไม่มีศรัทธา หมายถึงบุคคล ๔ จำพวก คือ
แก้ไขเป็น
             (๑)[อรรถกถา] บุคคลไม่มีศรัทธา หมายถึงบุคคล ๔ จำพวก คือ

             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เพราะเหตูใดจึงตรัสถามอย่างนั้น?
แก้ไขในทั้งสองที่เป็น
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เพราะเหตุใดจึงตรัสถามอย่างนั้น?

             วิฑูฑภเสนาบดี ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ มาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่านั้นจักยังเทวดา
ทั้งหลายผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มาสู่โลกนี้ ให้จุติ หรือจักขับไล่เสียจากที่นั้นได้หรือไม่
             มาจากเนื้อความว่า
             [๕๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วิฑูฑภเสนาบดี ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ มาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่านั้นจักยังเทวดา
ทั้งหลายผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มาสู่โลกนี้ ให้จุติ หรือจักขับไล่เสียจากที่นั้น.
<<<<
             ในเนื้อความที่กราบทูลนี้ ผมไม่เห็นว่า เป็นการทูลถาม
             น่าจะเป็นการแสดงความเห็นด้วยการเทียบเคียงความชอบใจของตนเองเท่านั้นเอง.

ความคิดเห็นที่ 6-53
ฐานาฐานะ, 4 ตุลาคม เวลา 16:11 น.

             คำถามในกรรณกัตถลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8962&Z=9194

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-54
GravityOfLove, 4 ตุลาคม เวลา 19:38 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในกรรณกัตถลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8962&Z=9194

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์จักรู้ธรรมทั้งปวง จักเห็นธรรมทั้งปวง
ในคราวเดียวเท่านั้น
             ๒. ไม่ว่าวรรณใด ถ้าองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการเท่ากัน
ก็ถึงวิมุตติเท่าเทียมกัน
             ๓. เทวดาหรือพรหมเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาหรือพรหมเหล่านั้นมาสู่โลกนี้
เทวดาหรือพรหมเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาหรือพรหมเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้
             ทุกข์ ในที่นี้หมายถึงทุกข์ที่ยังละไม่ได้เด็ดขาดด้วยสมุจเฉทปหาน
             ๔. เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ มาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เทวดา
ทั้งหลายผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มาสู่โลกนี้ ให้จุติ หรือขับไล่เสียจากที่นั้น
             (พรหมก็ทำนองเดียวกัน)
             ๕. ปุถุชนชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระโสดาบัน.
             พระโสดาบัน... ของพระสกทาคามี.
             พระสกทาคามี... ของพระอนาคามี.
             พระอนาคามีชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระอรหันต์.
             ๖. ความเพียรของปุถุชนก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระโสดาบันก็เป็นอย่างหนึ่ง
ของพระสกทาคามี ก็เป็นอย่างหนึ่ง ...

ความคิดเห็นที่ 6-55
GravityOfLove, 4 ตุลาคม เวลา 19:41 น.

             มหาปุณณมสูตร
[บางส่วน]
             [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง
นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ
มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร
เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๑๙๘๐ - ๒๑๘๖.  หน้าที่  ๘๔ - ๙๒.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186&bgc=lemonchiffon&pagebreak=0

             กรุณาอธิบายค่ะ อ่านไม่เข้าใจค่ะว่า พระองค์อธิบายเรื่องที่ภิกษุปริวิตกอย่างไร
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-56
ฐานาฐานะ, 4 ตุลาคม เวลา 23:50 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในกรรณกัตถลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8962&Z=9194
...
7:38 PM 10/4/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-57
ฐานาฐานะ, 5 ตุลาคม เวลา 00:24 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             มหาปุณณมสูตร
[บางส่วน]
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186

             กรุณาอธิบายค่ะ อ่านไม่เข้าใจค่ะว่า พระองค์อธิบายเรื่องที่ภิกษุปริวิตกอย่างไร
             ขอบพระคุณค่ะ
7:40 PM 10/4/2013

             อธิบายว่า พระธรรมเทศนาที่กำลังดำเนินไปอยู่ ที่พระภิกษุนั้นได้สดับ
เป็นไปด้วยนัยของขันธ์ 5 ในส่วนของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เห็นอย่างไร?
ในส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เห็นอย่างไร?
             ทั้งคุณ โทษ และทางสลัดออกแห่งขันธ์แต่ละอย่างๆ.
             พระภิกษุนั้นฟังแล้ว ก็เกิดสับสน เพราะจับนัยได้ว่า
             รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
             จากนั้น เมื่อเห็นว่า เป็นอนัตตาแล้ว กล่าวคือไม่ใช่ตนแล้ว
กรรมต่างๆ ที่ขันธ์ 5 อันเป็นอนัตตาทำแล้ว จักให้ผลถูกต้องได้อย่างไร
ก็ในเมื่อไม่มีตัวตน จะรับผลได้อย่างไร?
             นัยของพระภิกษุนั้น อาจจะหมายถึง กรรมนั้นจะให้ผลจำเพาะ
แก่ขันธ์ 5 ที่กระทำกรรมนั้นอย่างไร ในเมื่อไม่มีตัวตน ขันธ์ 5 ที่ทำกรรม
ก็ดับไปแล้ว กรรมนั้นจะให้อย่างไร หรือจะให้ผลสะเปะสะปะ.
             เป็นความสับสนของพระภิกษุรูปนั้น.
             ดังนั้น เมื่อจะแสดงให้พระภิกษุนั้น คลายความสับสน จึงควรแสดง
เนื้อความว่า ที่พระภิกษุรูปนั้นเข้าใจสภาพที่กรรมจะให้ผลถูกต้องอย่างไรก็ตาม
ขันธ์ 5 เหล่านั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่นั่นเอง.

             สันนิษฐานว่า
             พระภิกษุรูปนั้น เรียนไม่ดี คือ เรียนมาแล้วเข้าใจไปว่า
ขันธ์ 5 ที่เรียนมา เป็นอื่นจากสิ่งที่เขาเห็น เขารู้จัก ซึ่งจริงๆ แล้ว
สิ่งที่เขาเห็น เขารู้จัก ก็เป็นขันธ์ 5 อันมีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             กล่าวคือ มือเท้าของพระภิกษุนั้น ก็คือ รูปขันธ์, ความรู้สึกสุขทุกข์
ก็คือเวทนาขันธ์เป็นต้น.
             พอเข้าใจไหมหนอ?

ความคิดเห็นที่ 6-58
GravityOfLove, 5 ตุลาคม เวลา 00:32 น.

ยังไม่ค่อยเข้าใจเลยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-59
ฐานาฐานะ, 5 ตุลาคม เวลา 00:44 น.

GravityOfLove, 10 วินาทีที่แล้ว
ยังไม่ค่อยเข้าใจเลยค่ะ
12:32 AM 10/5/2013

             ตัวอย่างของความสับสน เช่นว่า
             บางคนกล่าวว่า ทำบาปในชาตินี้ พอชาติหน้า ก็จำไม่ได้ว่า
ทำบาปกรรมนี้มา จึงไม่สำรวมเรื่องทำบาปเป็นต้น.
             เขาคิดสับสนไปอย่างนั้น.
             เขาควรพิจารณาว่า ไม่ต้องรอชาติหน้าเลย แม้ชาตินี้เอง
กรรมบางอย่างที่ทำไป ก็จำไม่ได้เหมือนกันเป็นต้น
เมื่อวิบากเป็นทุกข์ ถูกต้องเข้า ทุกข์ก็บีบคั้นเหมือนกัน.
             หรือแม้บุคคลทำทุกข์ให้แก่เขาแล้ว ภายหลังบุคคลผู้ทำนั้น
ลืมเลือนไป เขาจะให้อภัยแก่บุคคลผู้ทำกรรมนั้นหรือไม่?
             บุคคลผู้ทำกรรม แม้ลืมไปแล้ว ไม่ควรรับผลหรือ?
             นี้เป็นนัยของวิธีคิดย้อนกลับมาจากการคิดถึงชาติหน้า
มาเป็นสภาพของชาตินี้.
             ส่วนพระภิกษุนั้น ควรใช้วิธีคิดด้วยการคิดว่า
             สิ่งที่ประสบ สิ่งที่รู้จัก เหล่าเป็นขันธ์ 5 ทั้งนั้น
ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่นั่นเอง.

ความคิดเห็นที่ 6-60
GravityOfLove, 5 ตุลาคม เวลา 07:16 น.

จากนั้น เมื่อเห็นว่า เป็นอนัตตาแล้ว กล่าวคือไม่ใช่ตนแล้ว
กรรมต่างๆ ที่ขันธ์ 5 อันเป็นอนัตตาทำแล้ว จักให้ผลถูกต้องได้อย่างไร
ก็ในเมื่อไม่มีตัวตน จะรับผลได้อย่างไร?

คำตอบก็คือก็ยังรับผลอยู่ เพราะ

             หรือแม้บุคคลทำทุกข์ให้แก่เขาแล้ว ภายหลังบุคคลผู้ทำนั้น
ลืมเลือนไป เขาจะให้อภัยแก่บุคคลผู้ทำกรรมนั้นหรือไม่?
             บุคคลผู้ทำกรรม แม้ลืมไปแล้ว ไม่ควรรับผลหรือ?

แต่ว่า ก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมพระองค์ตรัสถามว่า

พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
             ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
             ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ...

เพื่อให้เข้าใจว่า ไม่เที่ยง ใช่ไหมคะ
ก็วนมาตรงที่ภิกษุไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง
ก็ภิกษุเข้าใจว่า ไม่เที่ยง อยู่แล้ว จึงปริวิตก

ยังไม่เข้าใจค่ะ

คุณฐานาฐานะอธิบายว่า คำตอบคือ เรื่องการรับผลของกรรม
แต่ที่พระพุทธองค์อธิบาย ไม่ได้กล่าวถึงเลยใช่ไหมคะ
เป็นเหมือนทบทวนให้ทราบว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ก็วนมาตรงที่ภิกษุไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง

ความคิดเห็นที่ 6-61
ฐานาฐานะ, 5 ตุลาคม เวลา 13:18 น.

             อธิบายต่อว่า
             พระผู้มีพระภาคตรัสถาม เพื่อให้พระภิกษุทั้งหลายตอบ
             โดยนัยก็คือ เป็นการทบทวนอีกครั้งว่า
             สิ่งที่เห็นๆ อยู่ เช่น รูปขันธ์ที่พระภิกษุรู้จักนั้น ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เวทนาขันธ์ ... วิญญาณขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา นั่นเอง.
             สิ่งที่คิดว่า เป็นตัวตนถูกต้องวิบากธรรมที่ทำไป
ก็สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
             คือ เมื่อวนมาอีกครั้ง อะไรที่เขาเคยเข้าใจว่า
             กรรม วิบาก หรืออะไรที่เขารู้จักนั่นแหละไม่เที่ยง ฯ

ความคิดเห็นที่ 6-62
GravityOfLove, 5 ตุลาคม เวลา 13:58 น.

             จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

             คำตอบคือ ถูกตนได้ แต่พระองค์ทรงละไว้ ไม่ได้ตรัสตอบ
             แล้วตรัสถาม เพื่อทรงให้นัยว่า กรรม วิบาก ก็ไม่เที่ยง
             ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 6-63
ฐานาฐานะ, 5 ตุลาคม เวลา 14:04 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
             จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

             คำตอบคือ ถูกตนได้ แต่พระองค์ทรงละไว้ ไม่ได้ตรัสตอบ
             แล้วตรัสถาม เพื่อทรงให้นัยว่า กรรม วิบาก ก็ไม่เที่ยง
             ใช่ไหมคะ
1:57 PM 10/5/2013

             ประเด็นไม่ใช่อย่างนั้น
             พระภิกษุรูปนั้น ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิว่า กรรมไม่มีผล
             เป็นเพียงแต่ว่า จับประเด็นผิดไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง
จึงสับสนว่า กรรมจะให้ผลให้วิบาก ได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีอะไรเป็นตัวตน
ที่จะรับผลรับวิบาก.
             จึงย้อนกลับมาทบทวน.
             คือ ที่รับผล รับวิบาก หรือขณะทำกรรมนั้นๆ ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

ความคิดเห็นที่ 6-64
GravityOfLove, 5 ตุลาคม เวลา 17:33 น.

ยังหาความสัมพันธ์ของเรื่องที่ภิกษุปริวิตก กับที่พระองค์ทรงย้อนถามไม่ได้เลยค่ะ
ไม่รู้จะเรียบเรียงคำพูดอย่างไรว่า ไม่เข้าใจอย่างไร

ความคิดเห็นที่ 6-65
ฐานาฐานะ, 6 ตุลาคม เวลา 10:24 น.

GravityOfLove, 16 ชั่วโมงที่แล้ว
ยังหาความสัมพันธ์ของเรื่องที่ภิกษุปริวิตก กับที่พระองค์ทรงย้อนถามไม่ได้เลยค่ะ
ไม่รู้จะเรียบเรียงคำพูดอย่างไรว่า ไม่เข้าใจอย่างไร
1733
             รับทราบครับ
             แต่ตอนนี้ยังนึกคำอธิบายหรือคำอุปมาไม่ได้.

ความคิดเห็นที่ 6-66
ฐานาฐานะ, 6 ตุลาคม เวลา 10:26 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กรรณกัตถลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8962&Z=9194

              พระสูตรหลักถัดไป คือพรหมายุสูตร [พระสูตรที่ 41].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              พรหมายุสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9195&Z=9483
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=584

              เสลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9484&Z=9672
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=604

              อัสสลายนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9673&Z=9914
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=613

              โฆฏมุขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9915&Z=10193
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=630

              จังกีสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10194&Z=10534
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646

ความคิดเห็นที่ 6-67
GravityOfLove, 6 ตุลาคม เวลา 11:00 น.

             คำถามพรหมายุสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=9195&Z=9483

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ทำไมกล่าวว่า ฉันเป็นผู้สอนมนต์ ท่านผู้เรียนมนต์
             ๒. ทรงทราบรสได้อย่างดีเสวยอาหาร แต่ไม่ทรงทราบด้วยดีด้วยอำนาจความกำหนัดในรส
             ๓. เสด็จถึงพระอารามแล้วประทับนั่ง ครั้นประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวายแล้ว
จึงทรงล้างพระบาท
             ประทับนั่งแล้วค่อยล้างพระบาทหรือคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 20:39:00 น.
Counter : 573 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog