22.3 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.2 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-17
ฐานาฐานะ, 8 กันยายน เวลา 13:53 น.

GravityOfLove, วันศุกร์ เวลา 15:55 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๗. มหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=5498&Z=6022&bgc=mistyrose&pagebreak=0
...
3:54 PM 9/6/2013

              ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์ แล้วพึ่งพระองค์อยู่
ด้วยเหตุ ๕ ประการนั้นไซร้ หากบางครั้งพระองค์เสวยมาก เสวยอาหารประณีต เป็นต้น
บรรดาสาวกที่ฉันน้อย ฉันอาหารไม่ประณีต ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์
โดยธรรมนี้ แล้วพึ่งพระองค์อยู่

              เนื่องจาก เนื้อความในพระไตรปิฏกได้แจกแจงเหตุทั้ง 5 ประการ
ดังนั้น เมื่อจะย่อความโดยการยกเนื้อความข้อแรกเท่านั้น ควรจะใช้เครื่องหมาย
ละ หรือ ฯลฯ เพื่อแสดงให้รู้ว่า เนื้อความเต็มยังมีอยู่.

              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์ แล้วพึ่งพระองค์อยู่
ด้วยเหตุ ๕ ประการนั้นไซร้ หากบางครั้งพระองค์เสวยมาก เสวยอาหารประณีต เป็นต้น
บรรดาสาวกที่ฉันน้อย ฉันอาหารไม่ประณีต ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์
โดยธรรมนี้ แล้วพึ่งพระองค์อยู่ ฯลฯ
------------------------------------------

             คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิทั้งหมดหรือสิ้นเชิง
กล่าวคือวัตถุสำหรับแผ่ไปไม่เหลือ ไม่ปักใจอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานเพียงอารมณ์เดียว
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๕/๓๓๓, องฺ.ทสก.ฏีกา ๒/๒๕/๓๙๕))
             ความเห็นส่วนตัวว่า คำว่า ไม่ปักใจ น่าจะเป็น ให้ปักใจ
             กล่าวคือ กสิณ เป็นวัตถุสำหรับเพ่งอารมณ์ ควรให้ปักใจในอารมณ์เดียว
แม้จะมีถึง 10 หรือกสิณ 10 แต่ว่า ในการเพ่ง ก็ต้องเพ่งทีละอารมณ์.

ความคิดเห็นที่ 3-18
GravityOfLove, 8 กันยายน เวลา 14:00 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-19
ฐานาฐานะ, 8 กันยายน เวลา 14:12 น.

             คำถามในมหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=5498&Z=6022

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้ สกุลุทายิปริพาชกได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-20
GravityOfLove, 8 กันยายน เวลา 14:29 น.

             ตอบคำถามในมหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=5498&Z=6022

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. สาวกของเจ้าลัทธิทั้ง ๖ ไม่สักการะเคารพ นับถือ บูชาเจ้าลัทธิของตน
และไม่สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่
             เจ้าลัทธิถูกสาวกติเตียนด้วยคำติเตียนตามความเป็นจริง
จนไม่สามารถกล่าวโต้แย้งได้
             ๒. สาวกของพระผู้มีพระภาคองค์ใดองค์หนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจรรย์
จะเตือนให้เงียบเสียง แล้วบอกว่า พระผู้มีพระภาคกำลังทรงแสดงธรรมอยู่
             ในเวลาที่ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย จะไม่มีเสียง
ของสาวกจามหรือไอเลย
             หมู่มหาชนมีแต่คอยหวังตั้งหน้าจะฟังพระธรรม
             ๓. สาวกของพระผู้มีพระภาค แม้บาดหมางกับเพื่อนพรหมจรรย์
แล้วลาสิกขาสึกไปแล้ว ก็ยังกล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
             มีแต่ติเตียนตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นว่า
             เราได้มาบวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้
แต่ก็ไม่อาจจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ ให้บริบูรณ์จนตลอดชีวิตได้
เป็นคนไม่มีบุญ มีบุญน้อยเสียแล้ว
             ๔. สาวกของพระผู้มีพระภาค จะเป็นอารามิกก็ดี (คนทำงานวัด)
เป็นอุบาสกก็ดี ก็ยังประพฤติมั่นอยู่ในศีล ๕
             ๕. ธรรมในพระองค์ ๕ ประการที่เป็นเหตุให้สาวกสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่ คือ
             ทรงมีพระอาหารน้อย ทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้
ทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
และทรงเป็นผู้สงัด (วิเวก)
             แต่ธรรมทั้ง ๕ นี้บางครั้งบางคราวก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
เพราะฉะนั้นสาวกที่ยิ่งกว่าพระองค์ในคงจะไม่สักการะพระองค์ และอาศัยอยู่
             ๖. ธรรม ๕ ประการอย่างอื่นอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของพระองค์
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระองค์ แล้วพึ่งพระองค์อยู่
             ๗. ปฏิปทาเพื่อได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ได้แก่
สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์5, พละ5, โพชฌงค์7, อริยมรรค 8,
วิโมกข์ 8, อภิภายตนะ 8, กสิณายตนะ 10, ฌาน 4, วิชชา ๘
             ๘. เรื่องสามเณรผู้มีฤทธิ์ ได้เสื่อมจากฌาน และลาสิกขาเพราะธิดาช่างหูก
             ๙. เรื่องคนเก็บถ่านฟืนผู้เคยเป็นสมณะ มีฤทธิ์มาก แต่ฤทธิ์สิ้นไป
เพราะความประมาท ได้กล่าวเตือนสติภิกษุ ๓๐ รูปว่าอย่าประมาทโดยดูเขาเป็นตัวอย่าง
             ภิกษุ 30 รูป เหล่านั้นถึงความสลดใจเห็นแจ้งอยู่ ได้บรรลุพระอรหันต์ ณ ที่นั้นเอง
----------------------------
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้ สกุลุทายิปริพาชกได้อะไรบ้าง?
             ได้ความเลื่อมใส เ็ป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อการบรรลุมรรคผลในอนาคต
             เนื้อความในอรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตร
             การบรรลุมรรคผลไม่เกิดแม้ด้วยเทศนาครั้งเดียว. แต่จักเป็นปัจจัยแก่ภิกษุนั้นในอนาคต
             เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรม.
             พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความที่ธรรมนั้นจะเป็นปัจจัยในอนาคต
เมื่อยังมีพระชนม์อยู่จึงไม่ทรงแต่งตั้งภิกษุแม้รูปหนึ่งไว้ในเอตทัคคะใน
เมตตาวิหารี (มีธรรมเป็นเครื่องอยู่คือเมตตา).
             พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ในอนาคต ภิกษุนี้จักบวชในศาสนาของเรา
แล้วจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี.
             ภิกษุนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว บังเกิดในกรุงปาตลีบุตร
ในสมัยของพระเจ้าธรรมาโศกราชบวชแล้ว
             ครั้นบวชแล้วได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่าพระอัสสคุตตเถระ
             ได้เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี.
ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของพระเถระ แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็ได้รับเมตตาจิต.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=367

ความคิดเห็นที่ 3-21
ฐานาฐานะ, 8 กันยายน เวลา 15:08 น.

GravityOfLove, 11 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในมหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=5498&Z=6022
2:29 PM 9/8/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ มีข้อติงในคำตอบคำถามดังนี้
             ประโยคว่า
             ๒. สาวกของพระผู้มีพระภาคองค์ใดองค์หนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจรรย์
จะเตือนให้เงียบเสียง แล้วบอกว่า พระผู้มีพระภาคกำลังทรงแสดงธรรมอยู่
             คำว่า องค์ใดองค์หนึ่ง นี้โดยเจตนาแล้ว ประสงค์จะขยายคำว่า สาวก
แต่การใช้คำนี้ต่อจากคำว่า พระผู้มีพระภาค อาจจะทำให้เข้าใจผิดไปว่า
ขยายคำว่า พระผู้มีพระภาคองค์ใดองค์หนึ่ง.
             ดังนี้ ควรเลี่ยงไปใช้คำอื่นหรือย้ายคำว่า องค์ใดองค์หนึ่ง เช่น
             สาวกองค์ใดองค์หนึ่งของพระผู้มีพระภาค ไอขึ้น
             สาวกรูปใดรูปหนึ่งของพระผู้มีพระภาค ไอขึ้น

             ๕. ธรรมในพระองค์ ๕ ประการที่เป็นเหตุให้สาวกสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่ คือ
             ควรขยายความให้ชัดเจน ดังนี้ :-
             ๕. ธรรมในพระองค์ ๕ ประการที่เป็นเหตุให้สาวกสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่ ตามความเห็นของสกุลุทายิปริพาชก คือ

             ขอถามว่า ที่นำเนื้อความในอรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตร มาเป็นคำตอบ
ทั้งๆ ที่พระสูตรชื่อจูฬสกุลุทายิสูตร ก็ยังศึกษาไปไม่ถึง ทั้งยังมีอีกหนึ่งพระสูตรคั่นไว้
             เพราะอะไรจึงนำมาตอบได้ หรือว่า อ่านนำหน้าไปแล้วหลายพระสูตร?

ความคิดเห็นที่ 3-22
GravityOfLove, 8 กันยายน เวลา 18:50 น.

Search คำว่า สกุลุทายิ ค่ะ
//84000.org/

ความคิดเห็นที่ 3-23
ฐานาฐานะ, 9 กันยายน เวลา 06:57 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาสกุลุทายิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5498&Z=6022

              พระสูตรหลักถัดไป คือสมณมุณฑิกสูตร [พระสูตรที่ 28].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              สมณมุณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=356

              จูฬสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6175&Z=6463
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=367

              เวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6464&Z=6595
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=389

ความคิดเห็นที่ 3-24
GravityOfLove, 10 กันยายน 2556 เวลา 14:50 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๒๘. สมณมุณฑิกสูตร เรื่องอุคคาหมานปริพาชก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ เป็นบุตรนางสมณมุณฑิกา
พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ อาศัยอยู่ ณ อารามของพระนาง
มัลลิการาชเทวี ในตำบลเอกสาลาชื่อว่าติณฑุกาจีระ (แวดล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ)
เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวช
             ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ออกจากเมืองสาวัตถีเพื่อจะไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเมื่อเวลาเที่ยงแล้ว แต่คิดได้ว่า
             เวลานี้ไม่เหมาะ เพราะทรงหลีกเร้นอยู่
             ทางที่ดีควรเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชกสมณมุณฑิกาบุตร
             สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่
ซึ่งกำลังพูดติรัจฉานกถาหลายประการ ด้วยเสียงดังอื้ออึงอึกทึก
             อุคคาหมานปริพาชกเห็นช่างไม้ปัญจกังคะซึ่งกำลังมาแต่ไกล
จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบ เพื่อให้ช่างไม้ปัญจกังคะเข้ามา
             เมื่อนายช่างปัญจกังคะเข้ามาถึงแล้ว อุคคาหมานปริพาชกกล่าวกับเขาว่า
             ตนย่อมบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า
             เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม
ไม่มีใครรบได้ คือ
             ๑. ไม่ทำกรรมชั่วด้วยกาย
             ๒. ไม่กล่าววาจาชั่ว
             ๓. ไม่ดำริถึงความดำริชั่ว
             ๔. ไม่เลี้ยงชีพชั่ว
             นายช่างไม้เมื่อได้ฟังแล้วก็ไม่ยินดี ไม่คัดค้าน แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
             ด้วยดำริว่า จะทูลแจ้งเนื้อความนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติรัจฉานกถา

             เมื่อนายช่างไม้ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคแล้ว พระองค์ตรัสว่า
             ถ้าเป็นเหมือนอย่างคำของอุคคาหมานปริพาชกพูด
             เด็กอ่อนก็จะเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะ
ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้
             เพราะเด็กอ่อน แม้แต่กายก็ยังไม่รู้จัก จะทำกรรมชั่วด้วยกายได้อย่างไร
นอกจากจะมีเพียงอาการ (นอน) ดิ้นรน
             เด็กอ่อน แม้แต่วาจาก็ยังไม่รู้จัก จะกล่าววาจาชั่วได้อย่างไร
นอกจากจะมีเพียงการร้องไห้
             เด็กอ่อน แม้แต่ความดำริก็ยังไม่รู้จัก จะดำริชั่วได้อย่างไร
นอกจากจะมีเพียงการร้องไห้และการหัวเราะ
             เด็กอ่อน แม้แต่การเลี้ยงอาชีพก็ยังไม่รู้จัก จะเลี้ยงชีพชั่วได้อย่างไร
นอกจากน้ำนมของมารดา
             [อรรถกถา]
             กายก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า กายของตน กายของผู้อื่น
             วาจาก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า วาจาผิด วาจาชอบ
             ความดำริก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า ความดำริผิด ความดำริชอบ
             การเลี้ยงชีพก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า อาชีพผิด อาชีพชอบ

             เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการดังกล่าว (เสกขภูมิ)
             มิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์เลย ไม่ใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะ
ผู้ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดมที่ไม่มีใครรบได้
             แต่ว่าบุคคลผู้นี้ ก็ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่บ้าง

อเสกขภูมิ
             ข้อที่ควรรู้ คือ             
๑. ศีลที่เป็นอกุศล ที่ตั้ง ความดับ และข้อปฏิบัติเพื่อความดับ
             ๑.๑ ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล
             คือ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล และการเลี้ยงชีพชั่ว
             ๑.๒ ข้อที่ศีลเป็นอกุศลมีสมุฏฐานแต่จิต (มีที่ตั้งมาจากจิต)
             คือ จากจิตที่มีราคะ โทสะ โมหะ
             ๑.๓ ข้อที่ศีลเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้
             คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต
             ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต
             ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต
             ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ
             (ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล คือโสดาปัตติผล ซึ่งมีศีลคือ
การสังวรในพระปาติโมกข์ (ม.ม.อ. ๒/๒๖๔/๑๙๕))
             ๑.๔ ข้อที่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
             (๑) ยัง (สร้าง) ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ตั้งมั่น เพื่อยัง (ป้องกัน) อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
             (๒) ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
             (๓) ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น
เพื่อยัง (ทำ) กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
             (๔) ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น
เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

๒. ศีลที่เป็นกุศล ที่ตั้ง ความดับ และข้อปฏิบัติเพื่อความดับ
             ๒.๑ ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นกุศล
             คือ กายกรรมเป็นกุศล วจีกรรมเป็นกุศล และอาชีวะอันบริสุทธิ์  
             ๒.๒ ข้อที่ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้
             คือ จากจิตที่ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ
             ๒.๓ ข้อที่ศีลเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล แต่จะสำเร็จด้วยศีลหามิได้
(หาใช่มีเพียงศีลก็พอ) ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับหมดสิ้นแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้นของภิกษุนั้นด้วย
             ๒.๔ ข้อที่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
             ... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
             ... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
             ... เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว

๓. ความดำริที่เป็นอกุศล (อกุศลสังกัปปะ) ที่ตั้ง ความดับ และข้อปฏิบัติเพื่อความดับ
             ๓.๑ ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นอกุศล
             คือ ความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน
             ๓.๒ ข้อที่ความดำริเป็นอกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้
             ความดำริเป็นอกุศลมีสัญญาเป็นสมุฏฐาน
             สัญญา ได้แก่ สัญญาในกาม สัญญาในพยาบาท สัญญาในการเบียดเบียน
             ๓.๓ ข้อที่ความดำริเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
(ปฐมฌาน ในที่นี้หมายถึงปฐมฌานของผู้ได้อนาคามิผล (ม.ม.อ. ๒/๒๖๖/๑๙๖))
             ๓.๔ ข้อที่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นอกุศล
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น  
             ...  เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
             ... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  
             ...  เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

๔. ความดำริที่เป็นกุศล (กุศลสังกัปปะ) ที่ตั้ง ความดับ และข้อปฏิบัติเพื่อความดับ
             ๔.๑ ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล
             คือ ความดำริในเนกขัมมะ (ออกจากกาม) ความดำริในอันไม่พยาบาท
ความดำริในอันไม่เบียดเบียน
             ๔.๒ ข้อที่ความดำริเป็นกุศล มีสมุฏฐานแต่จิตนี้
             ความดำริมีสัญญาเป็นสมุฏฐาน
             สัญญา ได้แก่ สัญญาในเนกขัมมะ สัญญาในความไม่พยาบาท
สัญญาในอันไม่เบียดเบียน
             ๔.๓ ข้อที่ความดำริเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่
             ๔.๔ ข้อที่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
             ... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว  
             ...  เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  
             ...  เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุจริต_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปธาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลวิตก_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

อเสกขธรรม ๑๐
             พระองค์ทรงบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
             ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้ถึงภูมิปฏิบัติ
อันอุดม ไม่มีใครรบได้ คือ
            ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย
             ๑. สัมมาทิฏฐิเป็นของอเสขบุคคล
             ๒. สัมมาสังกัปปะเป็นของอเสขบุคคล
             ๓. สัมมาวาจาเป็นของอเสขบุคคล
             ๔. สัมมากัมมันตะเป็นของอเสขบุคคล
             ๕. สัมมาอาชีวะเป็นของอเสขบุคคล
             ๖. สัมมาวายามะเป็นของอเสขบุคคล
             ๗. สัมมาสติเป็นของอเสขบุคคล
             ๘. สัมมาสมาธิเป็นของอเสขบุคคล
             ๙. สัมมาญาณะเป็นของอเสขบุคคล
             ๑๐. สัมมาวิมุติเป็นของอเสขบุคคล
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัตตะ_10

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ช่างไม้ปัญจกังคะ ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #3-25]

ความคิดเห็นที่ 3-25
ฐานาฐานะ, 10 กันยายน 2556 เวลา 21:01 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๒๘. สมณมุณฑิกสูตร เรื่องอุคคาหมานปริพาชก
...
2:49 PM 9/10/2013

             ย่อความได้ดีครับ ข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             1. ย่อความไม่มีลิงค์ไปยังพระสูตรที่ย่อ.
             ๒๘. สมณมุณฑิกสูตร เรื่องอุคคาหมานปริพาชก
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174

ความคิดเห็นที่ 3-26
ฐานาฐานะ, 10 กันยายน 2556 เวลา 21:48 น.

             คำถามในสมณมุณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 3-27
GravityOfLove, 10 กันยายน 2556 เวลา 22:09 น.

             ตอบคำถามในสมณมุณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ธรรมอันเป็นเสขภูมิ ๔ ประการคือ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยกาย
ไม่กล่าววาจาชั่ว ไม่ดำริถึงความดำริชั่ว ไม่เลี้ยงชีพชั่ว
             บุคคลนี้ก็ยังไม่ใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์ ไม่ใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะ
ผู้ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดมที่ไม่มีใครรบได้
             แต่ว่าก็ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่บ้าง
             ๒. ศีล และความดำริ ที่เป็นอกุศลและที่เป็นกุศล
             ที่ตั้ง ความดับ และข้อปฏิบัติเพื่อความดับของศีลและความดำริ ที่เป็นอกุศลและกุศล
             ๓. ศีลที่เป็นอกุศลและที่เป็นกุศล มีที่ตั้งมาจากจิต
             ๔. ศีลที่เป็นอกุศล ดับด้วยการละกาย วาจา ใจที่ทุจริต
แล้วเจริญในทางสุจริต
             ซึ่งก็คือ ดับในโสดาปัตติผล อันมีศีลคือการสังวรในพระปาติโมกข์
             ๕. ศีลที่เป็นกุศลดับในอรหัตผล
             ๖. ความดำริที่เป็นอกุศลและที่เป็นกุศล มีที่ตั้งมาจากสัญญา
             ๗. ความดำริที่เป็นอกุศลดับด้วยปฐมฌานของผู้ได้อนาคามิผล
             ๘. ความดำริที่เป็นกุศลดับด้วยทุติยฌานของผู้ได้อนาคามิผล
             ๙. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ คืออเสกขธรรมหรือ
สัมมัตตะ ๑๐ เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติ
อันอุดม ไม่มีใครรบได้
             ๑๐. ปริพาชกชื่อว่าอุคคาหมานะ ชื่อเดิมคือสุมนะ แต่เพราะสามารถ
เรียนวิทยาหลายอย่าง ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า อุคคาหมานะ            
             ๑๑. จิตมีราคะได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง
             จิตมีโทสะได้แก่จิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ๒ ดวง
             จิตมีโมหะ ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ๒ ดวงก็ถูก
             แม้อกุศลจิตทุกดวงก็ถูก
             จิตที่ปราศจากราคะ หมายถึงกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง
เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งศีลที่เป็นกุศล
             สัญญาในกาม หมายถึงกามสัญญาที่เกิดพร้อมกับจิตที่สหรคต
ด้วยโลภจิต ๘ ดวง กามสัญญา ๒ ดวง นอกจากนี้เกิดพร้อมกับจิต ๒ ดวง
ที่สหรคตด้วยโสมนัส
--------------------------------------
             2. นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่?
             สันนิษฐานว่า เป็นปุถุชน เพราะในอรรถกถา (พระสูตรที่เกี่ยวข้อง) กล่าวว่า
เป็นเวไนยบุคคล (บุคคลที่พอจะสั่งสอนได้)
             และเนื้อหาพระธรรมที่ทรงแสดง มีการเปรียบเทียบธรรมของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล น่าจะเพราะช่างไม้ยังไม่ได้เป็นพระอเสขะ จึงยังไม่ทราบธรรมของ
พระอเสขะ

ย้ายไปที่



Create Date : 13 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:24:43 น.
Counter : 604 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog