22.5 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
22.4 พระสูตรหลักถัดไป คือสันทกสูตร [พระสูตรที่ 26]

ความคิดเห็นที่ 3-38
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 14:43 น.    Block
GravityOfLove, 33 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๒๙. จูฬสกุลุทายิสูตร เรื่องสกุลุทายีปริพาชก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6175&Z=6463&bgc=mistyrose&pagebreak=0
12:54 PM 9/12/2013

             ย่อความได้ดี มีข้อติงดังนี้
             เนื้อความว่า
             ตนไม่ได้อยู่ในบริษัทหมู่ใด บริษัทหมู่นั้นก็สนทนาเรื่องติรัจฉานกถากัน
แต่เมื่อตนเข้าไป ก็นั่งมองดูแต่หน้าตน เพราะประสงค์จะรู้จากตนว่า
พระสมณโคดมจะสอนธรรมใดแก่พวกเขาทั้งหลาย เขาทั้งหลายจะฟังธรรมนั้น
             และเมื่อเวลาพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาบริษัทหมู่นี้ ทั้งตนและบริษัทหมู่นี้
ก็นั่งมองดูพระพักตร์ของพระองค์ เพราะมีประสงค์ว่า
             พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรมใดแก่พวกตน พวกตนจะฟังธรรมนั้น

             นำมาจากเนื้อความในพระไตรปิฎกว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเวลาข้าพระองค์ไม่ได้เข้าไปหาบริษัทหมู่นี้ บริษัทหมู่นี้ก็
นั่งพูดกันถึงติรัจฉานกถาต่างเรื่อง แต่เมื่อเวลาข้าพระองค์เข้าไปหาบริษัทหมู่นี้ บริษัทหมู่นี้ก็นั่ง
มองดูแต่หน้าข้าพระองค์ด้วยมีความประสงค์ว่า ท่านอุทายี (พระสมณโคดม) ๑- จักภาษิตธรรมใด
แก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้น ดังนี้ และเมื่อเวลาพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหา
บริษัทหมู่นี้ ทั้งข้าพระองค์และบริษัทหมู่นี้ก็นั่งมองดูพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ด้วยมี
ประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคจักทรงภาษิตธรรมใดแก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้น.
@๑. คำนี้มีในบาลี แต่น่าจะเป็นคำเกิน
             น่าจะย่อความส่วนที่ขีดเส้นใต้ว่า
สกุลุทายีปริพาชกจะสอนธรรมใดแก่พวกเขาทั้งหลาย เขาทั้งหลายจะฟังธรรมนั้น
             นัยก็คือ สกุลุทายีปริพาชกเป็นเคารพของบริษัทของเขา บริษัทของเขาจะตั้งใจฟังธรรม
จากสกุลุทายีปริพาชก.
             และเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหา ทั้งสกุลุทายีปริพาชกและบริษัทของเขา
ก็ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาค
             นัยถ้อยคำของสกุลุทายีปริพาชก คือ
             พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่เคารพของสกุลุทายีปริพาชกและบริษัทของเขา.
- - - - - - - - - - - -
             การเว้นบรรทัดนั้น ถ้าเนื้อความสั้นๆ เนื้อความต่อเนื่องกันไป
ก็ไม่ต้องเว้นก็ได้ เช่น
             ทูลตอบว่า
             แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี
แก้ไขเป็น
             ทูลตอบว่า แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี

ความคิดเห็นที่ 3-39
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 14:50 น.

             คำถามในจูฬสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6175&Z=6463

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้ สกุลุทายีปริพาชกได้อะไรบ้าง?
             3. เท่าที่ศึกษามา ทั้งพระสูตรหลักและพระสูตรอ้างอิง
             ขอให้คุณ GravityOfLove ยกเรื่องของบุคคลผู้เคยบวชในพระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์ก่อนๆ แล้วกระทำอกุศลธรรมอันเป็นเหตุให้ได้รับ
วิบากอันเป็นทุกข์ในพระศาสนานี้.

ความคิดเห็นที่ 3-40
GravityOfLove, 12 กันยายน 2556 เวลา 15:57 น.

             ตอบคำถามในจูฬสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6175&Z=6463

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ฌาน ๑ ถึง ๔ เป็นข้อปฏิบัติที่ภิกษุทำให้แจ้งแล้ว จะถึงซึ่งโลก
ที่มีความสุขโดยส่วนเดียวได้
             ๒. วิชชา ๓ เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลาย
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระองค์ มุ่งจะทำให้แจ้ง
             ๓. บุรพกรรมที่ทําให้สกุลุทายิปริพาชกไม่ได้บวช คือ
             สกุลุทายีปริพาชกนี้ได้บวชในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ได้บำเพ็ญสมณธรรม
ครั้งนั้น ภิกษุสหายของเขาคนหนึ่งกล่าวว่า อาวุโส เขาเบื่อในศาสนาจักสึกละ
ภิกษุนั้นเกิดความโลภในบาตรและจีวรของภิกษุผู้เป็นสหายนั้น
จึงได้กล่าวถึงคุณของความเป็นคฤหัสถ์
             ภิกษุสหายจึงให้บาตรและจีวรแก่ภิกษุนั้นแล้วก็สึก.
             ๔. หลังพุทธปรินิพพาน สกุลุทายีปริพาชกจะบังเกิดในกรุงปาตลีบุตร
ในสมัยของพระเจ้าธรรมาโศกราชแล้วบวช
             ครั้นบวชแล้วได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่าพระอัสสคุตตเถระ
             ได้เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี
----------------------------------
             2. เมื่อจบพระสูตรนี้ สกุลุทายีปริพาชกได้อะไรบ้าง?
             ได้ถึงไตรสรณะ
             และได้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในอัตภาพหน้า เมื่อบวชแล้วได้บรรลุพระอรหัต
----------------------------------
             3. เท่าที่ศึกษามา ทั้งพระสูตรหลักและพระสูตรอ้างอิง
             ขอให้คุณ GravityOfLove ยกเรื่องของบุคคลผู้เคยบวชในพระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์ก่อนๆ แล้วกระทำอกุศลธรรมอันเป็นเหตุให้ได้รับ
วิบากอันเป็นทุกข์ในพระศาสนานี้.
             ๑. นางอัมพปาลี
             พระเถรีแม้รูปนี้ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ
สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ
             บรรพชาอุปสมบทในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี
สมาทานสิกขาบทของภิกษุณีอยู่.
             วันหนึ่ง ไหว้พระเจดีย์ ทำประทักษิณเวียนขวา เมื่อพระขีณาสวเถรีเดินไปก่อน
พลันถ่มน้ำลาย ก้อนน้ำลายก็ตกไปที่ลานพระเจดีย์ พระขีณาสวเถรีไม่เห็นก็เดินไป
ภิกษุณีรูปนี้เดินไปข้างหลังเห็นก้อนน้ำลายนั้นก็ด่าว่า อีแพศยาชื่อไรนะ ถ่มน้ำลายลงที่ตรงนี้.
             ภิกษุณีรูปนี้ รักษาศีลในเวลาเป็นภิกษุณี เกลียดการเข้าอยู่ในครรภ์
ก็ตั้งจิตไว้ให้อยู่ในอัตภาพเป็นอุปปาติกะ.
             ด้วยการตั้งจิตนั้น ในอัตภาพสุดท้าย ภิกษุณีรูปนั้นก็บังเกิดเป็นอุปปาติกะ
ที่โคนต้นมะม่วง ในพระราชอุทยาน กรุงเวสาลี.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=467&p=1

             ด้วยบุรพกรรมนั้น ในอัตภาพต่อๆ มาได้เป็นหญิงโสเภณี อัตภาพสุดท้าย
ก็เป็นหญิงโสเภณี แต่สุดท้ายก็ได้บรรลุพระอรหัตในพระศาสนานี้
             ๒. ท่านพาหิยะ
             ได้ยินว่า ท่านพาหิยะนั้น เมื่อกระทำสมณธรรมสิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี
ในพระศาสนาของพระกัสสปทศพล คิดว่า
             ธรรมดาว่า ภิกษุ เมื่อตนได้ปัจจัยแล้วทำทานตามสมควรจึงฉันด้วยตนจึงควร
ดังนี้ แล้วไม่ได้ทำการสงเคราะห์ด้วยบาตรหรือจีวรแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง.
             เหตุนั้น ท่านจึงไม่มีอุปนิสัยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=47
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=7#บุรพกรรมของสุปปพุทธะและแม่โค

             ในอัตภาำพสุดท้ายในพระศาสนานี้ ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว
แต่ยังไม่ทันได้บวช โดนโคขวิดเสียชีวิตก่อน
             และโคที่ขวิดท่านเสียชีวิต เคยเป็นหญิงโสเภณีที่ท่านเคยล่อลวง
             ๓. ท่านจิตต์หัตถิสารีบุตร
             ท่านเป็นบุตรของควาญช้างในกรุงสาวัตถี บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เล่าเรียนไตรปิฎก เป็นผู้ฉลาดในระหว่างแห่งอรรถทั้งหลายอันละเอียด.
             แต่บวชแล้วสึกเป็นคฤหัสถ์ถึงเจ็ดครั้ง ด้วยอำนาจแห่งบาปกรรมที่เคยกระทำไว้ในกาลก่อน.
            ได้ยินว่า ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ยังมีสหายสองคนพร้อมเพรียงกันสาธยายร่วมกัน.
             ในสหายทั้งสองนั้น สหายคนหนึ่งไม่ความยินดี ยังจิตให้เกิดขึ้นในความ
เป็นคฤหัสถ์ จึงกล่าวแก่สหายอีกคน. สหายคนหนึ่งนั้นแสดงโทษในความเป็นคฤหัสถ์
และอานิสงส์แห่งบรรพชา สั่งสอนเธอ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275&p=1

ความคิดเห็นที่ 3-41
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 17:13 น.

GravityOfLove, 59 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6175&Z=6463
3:57 PM 9/12/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             สำหรับคำตอบข้อ 3 นั้น น่าแปลกใจที่นึกได้ถึง 3 เรื่อง (เยอะมาก)
             ขอเพิ่มเติมเรื่องอื่นๆ ดังนี้ :-
             ๓. เรื่องพระจูฬปันถกเถระ [๑๗]
[บางส่วน]
             บุรพกรรมของพระจูฬปันถก
             ถามว่า “เพราะอะไร?”
             (คาถาเดียวเท่านั้น โดย ๔ เดือน เธอก็ไม่สามารถจะเรียนได้.)
             แก้ว่า “ได้ยินว่า เธอบวชในกาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา
ได้ทำการหัวเราะเยาะ ในเวลาที่ภิกษุเขลารูปใดรูปหนึ่ง เรียนอุเทศ, ภิกษุนั้นละอาย
เพราะการหัวเราะนั้น เลยเลิกเรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย.
             เพราะกรรมนั้น จูฬปันถกนี้พอบวชแล้ว จึงเป็นคนโง่, บทที่เรียนแล้วๆ
เมื่อเธอเรียนบทต่อๆ ไป ก็เลือนหายไป. เมื่อเธอพยายามเพื่อเรียนคาถานี้แล.
สี่เดือนล่วงไปแล้ว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=3#บุรพกรรมของพระจูฬปันถก

             ๑๑. เรื่องพระสัปปทาสเถระ [๙๑]
[บางส่วน]
             บุรพกรรมของพระสัปปทาสเถระ             
             ดังได้สดับมา ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า บุตรแห่งคฤหบดีผู้หนึ่งฟังธรรม
ของพระศาสดาแล้ว เกิดความสลดใจจึงบรรพชา ได้อุปสมบทแล้ว, โดยสมัยอื่นอีก
เมื่อความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น จึงบอกแก่ภิกษุผู้สหายรูปหนึ่ง. สหายนั้นกล่าวโทษใน
ภาวะแห่งคฤหัสถ์แก่เธอเนืองๆ.
             ภิกษุนอกนี้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ยินดียิ่งในพระศาสนา จึงนั่งขัดสมณบริขารทั้งหลาย
ซึ่งมลทินจับในเวลาที่หน่ายในก่อน ให้หมดมลทินใกล้ขอบสระแห่งหนึ่ง. ฝ่ายสหาย
ของภิกษุนั้นนั่งในที่ใกล้นั้นเอง.
             ลำดับนั้น ภิกษุนั้นกล่าวกะสหายนั้นอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ผมเมื่อสึก ได้ปรารถนา
จะถวายบริขารเหล่านี้แก่ท่าน." สหายนั้นเกิดโลภขึ้น คิดว่า "เราจะต้องการอะไรด้วย
ภิกษุนี้ผู้ยังบวชหรือสึกเสีย, บัดนี้ เราจักยังบริขารทั้งหลายให้ฉิ-บ-ห-าย."
             ตั้งแต่นั้นมา สหายนั้นพูดเป็นต้นว่า "ผู้มีอายุ บัดนี้จะประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของ
พวกเรา ผู้ซึ่งมีมือถือกระเบื้อง เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวในสกุลผู้อื่น? (ทั้ง) ไม่ทำการสนทนา
ปราศรัยกับบุตรและภรรยา" ดังนี้แล้ว ก็กล่าวคุณแห่งภาวะของคฤหัสถ์.
             ภิกษุนั้นฟังคำของสหายนั้นแล้ว ก็กระสันขึ้นอีก คิดว่า "สหายนี้ เมื่อเรากล่าวว่า
‘ผมกระสัน’ ก็กล่าวโทษในภาวะแห่งคฤหัสถ์ก่อน บัดนี้กล่าวถึงคุณเนืองๆ เหตุอะไรหนอแล?
รู้ว่า "เพราะความโลภในสมณบริขารเหล่านี้" จึงกลับจิตของตนเสียด้วยตนเองทีเดียว.
             เพราะความที่ภิกษุรูปหนึ่งถูกตนทำให้กระสันแล้ว ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า
บัดนี้ ความเบื่อหน่ายจึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ด้วยประการฉะนี้.
             ก็สมณธรรมใดอันภิกษุนั้นบำเพ็ญมา ๒ หมื่นปีครั้งนั้น สมณธรรมนั้นเกิดเป็น
อุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุนั้น ในกาลบัดนี้แล.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=11#บุรพกรรมของพระสัปปทาสเถระ

             อรรถกถาโลสกชาดก ว่าด้วยคนที่ต้องเศร้าโศก
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=41

ความคิดเห็นที่ 3-42
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:03 น.

             คำถามเบาๆ ในจูฬสกุลุทายิสูตร
             บุคคลใดหนอทำให้หูของภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งหนวก
มาในสมัยนี้ไม่สามารถทำให้ทิพยโสตญาณเกิดขึ้นได้.

ความคิดเห็นที่ 3-43
GravityOfLove, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:08 น.

ลืมเรื่องพระจูฬปันถกสนิทเลยค่ะ
เรื่องที่ ๒ ยังไม่เคยเรียนใช่ไหมคะ

             สุนักขัตตลิจฉวีบุตรค่ะ
             ก็ในอดีตกาล สุนักขัตตะนี้ตีกกหูภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ทำให้เป็นพระหูหนวก
เพราะฉะนั้น แม้เธอจะทำบริกรรม ก็ไม่สามารถบรรลุถึงทิพยโสตได้
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=239

ความคิดเห็นที่ 3-44
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:12 น.

             เรื่องที่ 2 ไม่เคยเรียนครับ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=11#บุรพกรรมของพระสัปปทาสเถระ
             เรื่องที่ 3 ก็คงไม่เคยเรียน (ไม่แน่ใจเหมือนกัน)
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=41

ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:13 น.    Block
GravityOfLove, 6 วินาทีที่แล้ว
             สุนักขัตตลิจฉวีบุตรค่ะ
             ก็ในอดีตกาล สุนักขัตตะนี้ตีกกหูภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ทำให้เป็นพระหูหนวก
เพราะฉะนั้น แม้เธอจะทำบริกรรม ก็ไม่สามารถบรรลุถึงทิพยโสตได้
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=239
7:12 PM 9/12/2013

             สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ถูกต้องครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-45
GravityOfLove, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:21 น.

เพิ่งเห็นว่ามีเรื่องที่ ๓ ด้วยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-46
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:34 น.

             ขอถามความเห็นหน่อยครับ
             ในบุคคลทั้ง 3 นี้ คือ พระจูฬปันถกเถระ, พระสัปปทาสเถระ
และพระโลสกะเถระ บุคคลใด เมื่อบวชแล้ว น่าจะเห็นใจที่สุด
และเพราะเหตุใด?

ความคิดเห็นที่ 3-47
GravityOfLove, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:59 น.

             พระโลสกะเถระค่ะ
             ท่านก็ไม่เคยได้ฉันเต็มท้อง ได้ขบฉันเพียงพอจะสืบต่อชีวิตไปได้เท่านั้น
             แม้จะดำรงในพระอรหัตต์ ก็ยังคงมีลาภน้อย
             ครั้นเมื่ออายุสังขารของท่านล่วงโรยทรุดโทรมลง โดยลำดับ ก็ถึงวันเป็นที่ปรินิพพาน
             วันที่ปรินิพพานเป็นเพียงวันเดียวเท่านั้นที่ได้ฉันเต็มท้อง

ความคิดเห็นที่ 3-48
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 20:10 น.

             ความทุกข์ของท่านพระโลสกะเถระ เป็นทุกข์ทางกาย
สาหัสตั้งแต่ยังเป็นทารกจนถึงวันก่อนที่จะปรินิพพาน
             เว้นวันที่ปรินิพพาน นอกนั้นไม่อิ่มท้องเลย
เพราะโทษที่ทำอันตรายแก่ลาภของพระอรหันต์.

             สำหรับท่านพระสัปปทาสเถระ ก็น่าเห็นใจมากเช่นกัน
ขนาดจะฆ่าตัวตายเลยทีเดียว จัดเป็นทุกข์ทางใจ
             ตั้งแต่วันบวชจนถึงก่อนวันที่บรรลุพระอรหัต
หาความสงบจิตไม่ได้เลย แม้ลัดนิ้วมือเดียว ตลอด 25 ปี
             ทุกข์ทางใจของท่านพระสัปปทาสเถระ ก่อนบรรลุพระอรหัต
ก็สาหัสอยู่มาก.

             สัปปทาสเถรคาถา
             นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับความสงบใจ
แม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้ว
ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญเข้าไปสู่ที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศาตรามา
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=26&A=6567
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=352

ความคิดเห็นที่ 3-49
ฐานาฐานะ, 12 กันยายน 2556 เวลา 19:23 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬสกุลุทายิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6175&Z=6463

              พระสูตรหลักถัดไป คือเวขณสสูตร [พระสูตรที่ 30].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              เวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6464&Z=6595
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=389

              ฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6596&Z=6824
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=403

              รัฐปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6825&Z=7248
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=423

              มฆเทวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7249&Z=7473
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=452

              มธุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7474&Z=7662
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=464

              โพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486

ความคิดเห็นที่ 3-50
GravityOfLove, 13 กันยายน 2556 เวลา 14:02 น.

             คำถามเวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6464&Z=6595

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๓๙๘] ... ดูกรกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัส
อันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้ เรากล่าวว่า กามสุข. (สุขเกิด
แต่กาม) ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าวสุขอันเป็นที่สุด
ของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ๑- ในความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้น เรากล่าวว่าเป็นเลิศ.
@๑. หมายเอานิพพาน
             ๒. [๔๐๑] ดูกรกัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น เมื่อไม่รู้เงื่อน
เบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ ดูกรกัจจานะ
ก็แต่ว่า เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื้อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด
ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำ
ที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจาก
เครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 13 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 20:28:29 น.
Counter : 512 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog