19.10 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
19.9 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-12-2013&group=2&gblog=6

ความคิดเห็นที่ 10-99
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 23:11 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๗. กุกกุโรวาทสูตร เรื่องปุณณโกลิยบุตรและเสนิยะอเจละ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในโกลิยชนบท
ทรงทำนิคมของชาวโกลิยะชื่อว่าหลิททวสนะให้เป็นโคจรคาม
             ครั้งนั้น ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค
(โควตฺติโก ผู้สมาทานโควัตร คือ ผูกเขา ผูกหาง เที่ยวเคี้ยวหญ้าไปกับฝูงโค)
             และเสนิยะอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข
(กุกฺกุรวตฺติโก ผู้สมาทานสุนัขวัตร คือ เลียนแบบสุนัขทุกอย่าง)
             เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อเจลก

             ปุณณโกลิยบุตรถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
             เสนิยะอเจละได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค แล้วคุ้ยเขี่ยดุจสุนัข
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
             ปุณณโกลิยบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             เสนิยะอเจละนี้ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทำสิ่งที่ผู้อื่นทำได้ยาก
กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์มานานแล้ว
             คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร?
             พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าถามเลย
             เมื่อปุณณโกลิยบุตรทูลถามเป็นครั้งที่ ๓ จึงตรัสว่า
             พระองค์ห้ามเขาไม่ให้ถามดังนั้นไม่ได้แน่
             แล้วทรงพยากรณ์ว่า
             บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญกุกกุรวัตร บำเพ็ญปกติของสุนัข
บำเพ็ญกิริยาการของสุนัขให้บริบูรณ์ ไม่ขาดสาย
             ครั้นแล้วเมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข
             อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
             เราจักเป็นเทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด
             คติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
             กุกกุรวัตร เมื่อถึงพร้อม (อย่างดี) ย่อมนำเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข
             กุกกุรวัตร เมื่อวิบัติ (อย่างเลว) ย่อมนำเข้าถึงนรก
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เสนิยะอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข
ร้องไห้น้ำตาไหล
             แล้วตรัสกับปุณณโกลิยบุตรว่า
             พระองค์ห้ามเขาไม่ให้ถามดังนั้นไม่ได้
             เสนิยะอเจละทูลว่า
             ตนไม่ได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น  แม้ตนได้สมาทานกุกกุรวัตรนี้
อย่างบริบูรณ์มานานแล้ว
             เสนิยะอเจละทูลถามบ้างว่า
             ปุณณโกลิยบุตร ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทานโควัตรนั้น
อย่างบริบูรณ์มานานแล้ว
             คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร?
             พระองค์ตรัสตอบนัยเดียวกับที่ตรัสแก่ปุณณโกลิยบุตร
             ปุณณโกลิยบุตรก็ร้องไห้น้ำตาไหลเช่นกัน
             แล้วตรัสกับเสนิยะอเจละว่า
             พระองค์ห้ามเขาไม่ให้ถามดังนั้นไม่ได้
             ปุณณโกลิยบุตรทูลว่า
             ตนไม่ได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น  แม้ตนได้สมาทานโควัตรนี้
อย่างบริบูรณ์มานานแล้ว
             ตนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
             พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดงธรรมโดยประการที่ทำให้ตน
พึงละโควัตรนี้ได้ และเสนิยะอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข พึงละกุกกุรวัตรนั้นได้
             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้ตั้งใจฟังพระธรรมให้ดี ดังนี้
             กรรมดำกรรมขาว ๔
             กรรม ๔ ประการที่พระองค์ทรงทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม คือ
๑. กรรมดำมีวิบากดำ
(กรรมดำ หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีวิบากดำ หมายถึงเป็นเหตุให้เกิดในอบาย)
             บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวล (ปรุงแต่ง/สั่งสมพอกพูน) กายสังขาร
(สภาพปรุงแต่งการกระทำทางกายหรือกายสัญเจตนา คือ ความจงใจ
(ด้วยอกุศลเจตนา ๑๒) ทางกาย) อันมีความทุกข์
             ประมวลวจีสังขาร (สภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา
ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา) อันมีความทุกข์
             ประมวลมโนสังขาร (สภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ
ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือความจงใจทางใจ) อันมีความทุกข์
             ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์
             ผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์ ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันมีทุกข์
             เขาอันผัสสะประกอบด้วยทุกข์ถูกต้อง ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์
อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียวดุจสัตว์นรก ฉะนั้น
             เพราะกรรมที่มีดังนี้ ความอุปบัติ (เกิด) ของสัตว์จึงมี
             สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น
             ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้วเพราะอย่างนี้
             พระองค์จึงตรัสว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
(กรรมขาว หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีวิบากขาว หมายถึงเป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์)
             บุคคลบางคนในโลกนี้ประมวลกายสังขาร อันไม่มีความทุกข์
             ประมวลวจีสังขาร อันไม่มีความทุกข์
             ประมวลมโนสังขาร อันไม่มีความทุกข์
             ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์
             ผัสสะอันไม่มีความทุกข์ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์
             เขาอันผัสสะไม่มีความทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความทุกข์
เป็นสุขโดยส่วนเดียวดุจเทพชั้นสุภกิณหะ ฉะนั้น
             เพราะกรรมที่มีดังนี้ ความอุปบัติของสัตว์จึงมี
             สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น
             ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว
             พระองค์จึงตรัสว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
๓. กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
(มีวิบากทั้งดำและขาว หมายถึงวิบากของกรรมที่ระคนกันทั้งที่เป็นสุขและทั้งที่เป็นทุกข์)
             บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง
ไม่มีความทุกข์บ้าง
             ประมวลวจีสังขารอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
             ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
             ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
             ผัสสะอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขา
ผู้เข้าถึงโลก อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
             เขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน  
             ดุจพวกมนุษย์ เทพบางเหล่า (ในที่นี้หมายถึงเทวดาในสวรรค์ ๖) และ
สัตว์วินิบาตบางเหล่า (หมายถึงเวมานิกเปรต) ฉะนั้น
             (รวมถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เป็นช้างในตำแหน่งช้างมิ่งมงคล)
             เพราะกรรมที่มีดังนี้ ความอุปบัติของสัตว์จึงมี
             สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น
             ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว
             พระองค์จึงตรัสว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
๔. กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
(มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว หมายถึงเจตนากรรมในมรรคทั้ง ๔ ซึ่งทำให้สิ้นกรรม)
             บรรดากรรม ๓ ประการนั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำ มีวิบากดำ
             เจตนาเพื่อละกรรมขาว มีวิบากขาว
             เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย
             (เจตนาในที่นี้ หมายถึงเจตนาในอริยมรรค ที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน
             คำว่า มรรค หมายถึงปัญญาอันตัดกิเลสได้เด็ดขาดตั้งแต่บางส่วนจนถึงหมดสิ้น
ข้อไหนละได้แล้วไม่ต้องละใหม่อีก เป็นอันละได้เด็ดขาดไปเลย)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังขาร_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุภกิณห&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สวรรค์_6
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เวมานิกเปรต

ปุณณโกลิยบุตรแสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะ
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตรได้กราบทูลสรรเสริญว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
แล้วทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต
เสนิยะอเจละขอบรรพชาอุปสมบทแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
             เสนิยะอเจละก็ได้กราบทูลเช่นเดียวกับปุณณโกลิยบุตร
แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบท
             พระองค์ตรัสว่า
             ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้
จะต้องอยู่ปริวาส (การอยู่อบรมสำหรับเดียรถีย์) ๔ เดือน
             หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ
             แต่ว่า พระองค์ทรงทราบความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้
             (ทรงคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย คือ
ทรงอนุญาตให้เขาบรรพชาอุปสมบทโดยไม่ต้องอยู่ปริวาสก็ได้)
             ติตถิยปริวาส
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=2764&Z=2875&pagebreak=0
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติตถิยปริวาส

             เสนิยะอเจละได้กราบทูลยอมรับการอยู่ปริวาส (แต่เขาไม่ต้องอยู่)
             เมื่ออุปสมบทแล้วไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว
(ปลีกกายและจิตออกจากวัตถุกามและกิเลสกาม)
             เป็นผู้ไม่ประมาท (ไม่ละสติในกัมมัฏฐาน)
             มีความเพียร (ทางกายและทางจิต)
             มีตนส่งไปอยู่ (ไม่เยื่อใยในร่างกายและชีวิต)
             ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์

[แก้ไขตาม #10-100]

ความคิดเห็นที่ 10-100
ฐานาฐานะ, 19 กรกฎาคม เวลา 02:36 น.

GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค
             ๗. กุกกุโรวาทสูตร เรื่องปุณณโกลิยบุตรและเสนิยะอเจละ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606&bgc=lavender&pagebreak=0
...
11:10 PM 7/18/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อแสดงความเห็นและข้อติงดังนี้ :-
             ประโยคว่า
             กุกกุรวัตรเมื่อถึงพร้อม (ประพฤติสมบูรณ์) ย่อมนำเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข
             เมื่อวิบัติ (ประพฤติบกพร่อง) ย่อมนำเข้าถึงนรก
             มาจากพระพุทธดำรัสดังนี้ว่า
             ดูกรปุณณะ กุกกุรวัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนำเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข
             เมื่อวิบัติย่อมนำเข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้

             ปุณฺณ  สมฺปชฺชมานํ  กุกฺกุรวตฺตํ  กุกฺกุรานํ  สหพฺยตํ  อุปเนติ  วิปชฺชมานํ  นิรยนฺติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=85&Roman=0

             ความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่า น่าจะหมายความว่า
             กุกกุรวัตร เมื่อถึงพร้อม (อย่างดี) ย่อมนำเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข
             กุกกุรวัตร เมื่อวิบัติ (อย่างเลว) ย่อมนำเข้าถึงนรก
             กล่าวคือ กุกกุรวัตร อย่างดี คือแย่น้อย ก็เพียงเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข
             กุกกุรวัตร อย่างเลว คือวิบัติหนัก หรือแย่หนัก ย่อมเข้าถึงนรก.
             เพราะเหตุว่า หากกุกกุรวัตร ปฏิบัติบ้าง ไม่ปฏิบัติบ้าง กล่าวคือ
ไม่ได้แนบแน่นในวัตร น่าจะมีวิบากเป็นทุกข์น้อยกว่าแนบแน่นในวัตร.
             ดังนั้น คำว่า วิปชฺชมานํ หรือว่า วิบัติ น่าจะหมายถึงผลอย่างเสียหาย.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๓. กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
(มีวิบากทั้งดำและขาว หมายถึงกรรมมีวิบากทั้งเป็นสุขและเป็นทุกข์)
             คำนี้ใช้ไม่เหมาะ (แม้จะนำมาจาก footnote ของฉบับมหาจุฬาฯ)
             ควรใช้คำว่า
(มีวิบากทั้งดำและขาว หมายถึงวิบากของกรรมที่ระคนกันทั้งที่เป็นสุขและทั้งที่เป็นทุกข์)

             กล่าวคือ ระคนกันหรือคละกัน มิใช่ว่า กุศลกรรมจะให้วิบากเป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง
หรืออกุศลกรรมจะให้วิบากเป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง
             แต่เพราะทำกรรมทั้งสองอย่างระคนกัน จึงมีวิบากทั้งสองอย่างระคนกัน.
             พระพุทธพจน์ :-
             ดูกรปุณณะ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน
             ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง
ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
             ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ผัสสะอัน
มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขา ผู้เข้าถึงโลก อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มี
ความทุกข์บ้าง เขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวย
เวทนาอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน  ดุจพวกมนุษย์
เทพบางเหล่า และสัตว์วินิบาตบางเหล่า ฉะนั้น
             ดูกรปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใดไว้
ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว
             ดูกรปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้
เรากล่าวว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.
//84000.org/tipitaka/read/?13/88

             นัยคล้ายพระพุทธพจน์ ในอัคคัญญสูตร ข้อ 69 ดังนี้ :-
             พระพุทธพจน์ :-
             [๖๙] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ... พราหมณ์ก็ดี ... แพศย์
ก็ดี ... ศูทรก็ดี ... สมณะก็ดี ... มีปรกติกระทำกรรมทั้งสอง [คือสุจริตและทุจริต] ด้วย
กาย มีปรกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยวาจา มีปรกติกระทำกรรมทั้งสองด้วยใจ มี
ความเห็นปนกัน ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกัน เพราะยึดถือการ
กระทำด้วยอำนาจความเห็นปนกันเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อม
เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?11/69

ความคิดเห็นที่ 10-101
ฐานาฐานะ, 19 กรกฎาคม เวลา 02:51 น.

             คำถามในกุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ขอให้แสดงข้อดีของปุณณโกลิยบุตรและเสนิยะอเจละ

ความคิดเห็นที่ 10-102
GravityOfLove, 19 กรกฎาคม เวลา 10:01 น.

ขอบพระคุณค่ะ
แก้ไขเป็น
             กุกกุรวัตร เมื่อถึงพร้อม (อย่างดี) ย่อมนำเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข
             กุกกุรวัตร เมื่อวิบัติ (อย่างเลว) ย่อมนำเข้าถึงนรก
             - - - - - -
(มีวิบากทั้งดำและขาว หมายถึงวิบากของกรรมที่ระคนกันทั้งที่เป็นสุขและทั้งที่เป็นทุกข์)
-------------------------------------
             ตอบคำถามในกุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ผู้มีความเห็นผิดมีคติ 2 อย่าง คือ นรกหรือกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง
             ๒. กรรมดำกรรมขาว ๔ ประการ
             ๓. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
             กมฺมทายาทา คือ ทายาทของกรรม, เรากล่าวกรรมนั่นแหละว่าเป็นทายาท คือเป็นมรดกของสัตว์เหล่านั้น
             คือเมื่ออ่านถึงตรงนี้ ก็นึกถึงบางคนที่จงใจนำคำอธิบายระดับปรมัตถ์มาผสมกับระดับสมมติ
เพื่อส่อนัยว่า ไม่มีบุคคลเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ คือจะส่อนัยว่าตายแล้วสูญ
             บางคนดังกล่าวนี้ละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า คำสอนของพระองค์ที่ทั้ง ๒ ระดับ
             เหตุผลที่พระองค์ยังทรงอธิบายระดับสมมติได้แก่
ยังไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก, ทรงแสดงว่า สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นต้น
             ๔. มนุษย์ เทวดาทั้งหลาย (๖ ชั้น) เหล่าเวมานิกเปรต และสัตว์ดิรัจฉาน
บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ทุกข์
             ๕. ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ถ้าประสงค์จะบรรพชาอุปสมบท ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน             
             การบำเพ็ญติตถิยวัตร ๘ ประการ คือ
                  ๑ เข้าบ้านไม่ผิดเวลากลับไม่สายนัก.
                  ๒ ความเป็นผู้ใหญ่ไม่มีหญิงแพศยาเป็นต้น เป็นโคจร,
                  ๓ ความเป็นผู้ขยันในกิจทั้งหลายของเพื่อนสพรหมจารี,
                  ๔ ความเป็นผู้มีฉันทะแรงกล้าในอุทเทสเป็นต้น,
                  ๕ ความเป็นผู้มีใจแช่มชื่น ในเพราะติโทษพวกเดียรถีย์
                  ๖ ความเป็นผู้มีใจไม่แช่มชื่น ในเพราะติโทษรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
                  ๗ ความเป็นผู้มีใจไม่แช่มชื่น ในเพราะสรรเสริญคุณเดียรถีย์
                  ๘ ความเป็นผู้มีใจแช่มชื่น ในเพราะสรรเสริญคุณรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น,
             อย่างนี้ มาแล้ว ควรให้อุปสมบทแต่ถ้าวัตรอันหนึ่งทำลายเสีย แม้ในโรงอุปสมบท
พึงอยู่ปริวาสครบ ๔ เดือนอีก.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=100&p=1

             ๖. ปุณณะกับเสนิยะทั้งสองนั้นเป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกันมา (เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เด็ก)
- - - - - - - - - - - - - - - - -  - - - -
             2. ขอให้แสดงข้อดีของปุณณโกลิยบุตรและเสนิยะอเจละ
             ๑. ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหา ไม่ได้จะทูลถามเพื่อโต้วาทะ
หรือเพื่อนำมาอวดคนอื่น แต่เป็นการทูลถามจริงๆ เพื่อต้องการคำตอบ
             ๒. เมื่อได้สดับพระพุทธพจน์แล้วก็เลื่อมใส เห็นตามว่า
วัตรที่ตนปฏิบัติอยู่ไม่มีประโยชน์ มีวิบากเป็นทุกข์ (จนถึงกับร้องไห้)
             ๓. เมื่อจบพระธรรมเทศนา ทั้งสองต่างก็ถึงไตรสรณะ
ส่วนเสนิยะอเจละนั้น เนื่องจากมีฉันทะแรงกล้ากว่า ได้ขอบรรพชาอุปสมบท
แล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในเวลาไม่นาน
             ๔. ความเป็นกัลยาณมิตรของทั้งสองที่ชวนกันไปในทางที่เป็นกุศล

ความคิดเห็นที่ 10-103
ฐานาฐานะ, 19 กรกฎาคม เวลา 10:40 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในกุกกุโรวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1478&Z=1606
...
10:00 AM 7/19/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ขอเสริมคำตอบที่ตอบมาดังนี้ :-
             ๓. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
             กมฺมทายาทา คือ ทายาทของกรรม, เรากล่าวกรรมนั่นแหละว่าเป็นทายาท คือเป็นมรดกของสัตว์เหล่านั้น
             คือเมื่ออ่านถึงตรงนี้ ก็นึกถึงบางคนที่จงใจนำคำอธิบายระดับปรมัตถ์มาผสมกับระดับสมมติ
เพื่อส่อนัยว่า ไม่มีบุคคลเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ คือจะส่อนัยว่าตายแล้วสูญ

             มหาปุณณมสูตร [บางส่วน]
             [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร
             ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้น
ด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา
ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำ
พวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=1980

             อรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๕
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=64
-----------------------------------------------------------------------

             2. ขอให้แสดงข้อดีของปุณณโกลิยบุตรและเสนิยะอเจละ
             ขอเสริมข้อดีดังนี้ :-
             ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ทูลถามปัญหาต่อพระผู้มีพระภาค
ก่อนกว่าเสนิยะอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข
             ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ฉลาดในอนุสนธิได้ทูลถามปัญหาต่อเนื่อง
ต่อพระผู้มีพระภาค ดังนี้ :-
             ปุณณโกลิยบุตรทูลว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้นที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าสมาทานโควัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านาน
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
             พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดงธรรมโดยประการที่ให้ข้าพเจ้าพึงละโควัตรนี้ได้
และเสนิยะอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข พึงละกุกกุรวัตรนั้นได้.

             เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา เหมือนกัน
             ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้ไตรสรณคมน์
             เสนิยะอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ได้ไตรสรณคมน์ และมีฉันทะอุตสาหะแรงกล้า
ในการบรรพชาอุปสมบท และเมื่ออุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต.

ความคิดเห็นที่ 10-104
GravityOfLove, 19 กรกฎาคม เวลา 10:48 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 10-105
ฐานาฐานะ, 19 กรกฎาคม เวลา 10:49 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กุกกุโรวาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1044&Z=1477

              พระสูตรหลักถัดไป คืออภัยราชกุมารสูตร [พระสูตรที่ 8].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              อภัยราชกุมารสูตร   
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91

              พหุเวทนิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1726&Z=1832
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=97

              อปัณณกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1833&Z=2382
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=103

ความคิดเห็นที่ 10-106
GravityOfLove, 19 กรกฎาคม เวลา 19:42 น.

             คำถามอภัยราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1607&Z=1725&pagebreak=0&bgc=lavender

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว.
//84000.org/tipitaka/read/?๑๓/๙๓
             ๒. บรรดาวาจาสองฝ่ายนั้น ... ในที่นั้นหมายเอาวาจาที่ไม่น่ารักวาจาที่สาม
             ไม่เข้าใจเลยค่ะ ทราบว่า วาจาแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายวาจาเป็นที่รัก
และฝ่ายวาจาไม่เป็นที่รัก
             แต่ละฝ่ายแบ่งเป็นวาจาที่ ๑ วาจาที่ ๒ วาจาที่ ๓
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91&bgc=lavender

             ๓. ก็พระธรรมเทศนานี้จบลงด้วยอำนาจแห่งเวไนยบุคคลแล.
             ๔. อภัยราชกุมารและพระเจ้าอชาตศัตรูต่างก็เป็นพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารใช่ไหมคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:05:31 น.
Counter : 513 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog