23.2 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.1 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-15
GravityOfLove, 28 กันยายน เวลา 23:35 น.

GravityOfLove, 38 นาทีที่แล้ว
             คำถามปิยชาติกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8452&Z=8627
             กรุณาอธิบายค่ะ
             [๕๓๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะคฤหบดีผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วว่า ดูกร
คฤหบดี อินทรีย์ไม่เป็นของท่านผู้ตั้งอยู่ในจิตของตน ท่านมีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นไป.
              บทว่า อญฺญถตฺตํ ได้แก่ ความเป็นโดยประการอื่น เพราะมีวรรณะแปลกไป.
ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ชื่อว่าอินทรีย์. แต่คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงโอกาสที่อินทรีย์ตั้งอยู่แล้ว.
            ขอบพระคุณค่ะ
3:36 PM 9/27/2013
            อธิบายว่า อินทรีย์อาจหมายถึงร่างกายก็ได้ เช่นว่า เมื่อความโศกครอบงำแล้ว
มือก็สั่นเท่าก็สั่นบ้าง แม้ไม่ตั้งใจให้มือสั่น น้ำตาร่วงบ้าง หรือคิดอะไรก็ใจลอยบ้าง
            น่าจะคล้ายว่า เศร้าโศกจนใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว.
            คำว่า อินทรีย์อาจหมายถึงร่างกายก็ได้ เช่น พวกที่ร่างกายพิการ
เป็นอัมพาตเป็นต้น หรือกายปสาทด้านชาไป.
            เรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=01&A=5569&Z=6086#65top

ความคิดเห็นที่ 6-16
GravityOfLove, 28 กันยายน เวลา 23:45 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๗. ปิยชาติกสูตร (เกิดจากความรัก) ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
             บุตรน้อยของคฤหบดีตาย
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8452&Z=8627&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น บุตรน้อยคนเดียวของคฤหบดีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รักที่ชอบใจได้เสียชีวิตลง
             คฤหบดีนั้นเสียใจมาก การงานย่อมไม่แจ่มแจ้ง (ไม่เป็นอันทำ)
อาหารย่อมไม่ปรากฏ (ไม่เป็นอันกิน) ได้แต่ไปป่าช้าคร่ำครวญถึงบุตรอยู่
             คฤหบดีนั้น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             อินทรีย์ไม่เป็นของท่านผู้ตั้งอยู่ในจิตของตน ท่านมีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นไป
(เศร้าโศกจนใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว)
             คฤหบดีนั้นทูลเล่าว่า เพราะบุตรอันเป็นที่รักของตนเสียชีวิตเสียแล้ว
จึงไม่เป็นอันทำงาน ไม่เป็นอันกิน ได้แต่ไปป่าช้าคร่ำครวญถึงบุตรอยู่
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าโสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ)
ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ)
ย่อมเกิดแต่ (มาจาก) ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก
             คฤหบดีทูลว่า
             จะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ความจริง ความยินดีและความโสมนัส (ความดีใจ)
ต่างหาก ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก
             คฤหบดีนั้น ไม่ยินดี ไม่คัดค้านพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก
ที่นั่งแล้วหลีกไป
             สมัยนั้น นักเลงสะกาจำนวนมาก เล่นสะกากันอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
             คฤหบดีนั้น เข้าไปหานักเลงสะกาเหล่านั้น แล้วเล่าเรื่องที่ตนได้สนทนากับ
พระผู้มีพระภาคให้ฟัง
             นักเลงสะกาเหล่านั้นได้กล่าวเห็นด้วยกับคฤหบดี
             คฤหบดีนั้นคิดว่า ความเห็นของเราสมกัน (ตรงกัน) กับนักเลงสะกาทั้งหลาย
ดังนี้ แล้วหลีกไป
             เรื่องที่พูดกันนี้ ได้แพร่เข้าไปถึงในพระราชวังโดยลำดับ
             พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสเรียกพระนางมัลลิกาเทวีมา แล้วตรัสว่า
             คำว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก
เป็นมาแต่ของที่รัก นี้ พระสมณโคดมของเธอตรัสหรือ?
             พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า
             ถ้าคำนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสจริง คำนั้นก็เป็นอย่างนั้น
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า
             เธออนุโมทนาตามพระดำรัสที่พระสมณโคดมตรัสเท่านั้น
เปรียบเหมือนศิษย์อนุโมทนาตามคำที่อาจารย์กล่าวว่า
             ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์
             ฉะนั้น เธอจงหลบหน้าไปเสีย เธอจงพินาศ
             ครั้งนั้น พระนางมัลลิกาเทวีรับสั่งให้พราหมณ์ชื่อนาฬิชังฆะไปเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามพระองค์ว่า พระองค์ตรัสเช่นนั้นจริงหรือ
             พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์อย่างไร พึงเรียนพระดำรัสนั้นให้ดี
แล้วมากราบทูลแก่เรา พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสไม่ผิดพลาด
             นาฬิชังฆพราหมณ์จึงไปทูลถามพระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสชี้ตัวอย่างเรื่องเคยมีมาแล้ว ที่คนถึงกับเป็นบ้า
มีจิตฟุ้งซ่าน หรือฆ่าหญิงคนรักและฆ่าตัวตายตามไป
             เป็นเพราะผู้เป็นที่รักตายไปบ้าง เพราะความรักมีอันปรวนแปรไปบ้าง
             นาฬิชังฆพราหมณ์ชื่นชม อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วกลับมากราบทูลพระนางมัลลิกาเทวี
             ลำดับนั้น พระนางมัลลิกาเทวีเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล
             แล้วได้ทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงบุคคลและแว่นแคว้นต่อไปนี้คือ
             พระกุมารีพระนามว่า วชิรี, พระนางวาสภขัตติยา (พระเทวีของพระราชาองค์หนึ่ง),
ท่านวิฑูฑภเสนาบดี, และพระนางมัลลิกาเอง, และแคว้นกาสีและแคว้นโกศล
             เป็นที่รักของพระเจ้าปเสนทิโกศลหรือไม่
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า เป็นที่รัก
             พระนางมัลลิกาเทวีทูลถามว่า
             ถ้าบุคคลเหล่านั้น และแว่นแคว้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่พระองค์หรือไม่
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า
             ถ้าแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของพระองค์ก็พึงเป็นอย่างอื่นไป
ทำไมโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดแก่พระองค์เล่า
             พระนางมัลลิกาเทวีจึงตรัสว่า
             เพราะเหตุผลดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก
             พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลื่อมใส ตรัสว่า
             น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น คงจะทรงเห็นชัด
แทงตลอดด้วยพระปัญญา
             แล้วรับสั่งให้พระนางมัลลิกาช่วยล้างพระหัตถ์ (ทรงประสงค์จะนมัสการพระศาสดา)
             ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกขึ้นจากอาสน์ ทรงพระภูษาเฉวียงพระอังสา
ข้างหนึ่ง ทรงประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วทรงเปล่งพระอุทานว่า
             ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๓ ครั้ง

ความคิดเห็นที่ 6-17
ฐานาฐานะ, 29 กันยายน เวลา 03:17 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๗. ปิยชาติกสูตร (เกิดจากความรัก) ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
             บุตรน้อยของคฤหบดีตาย
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8452&Z=8627&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
11:45 PM 9/28/2013

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-18
ฐานาฐานะ, 29 กันยายน เวลา 02:46 น.

             คำถามในปิยชาติกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8452&Z=8627

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-19
GravityOfLove, 29 กันยายน เวลา 13:37 น.

             ตอบคำถามในปิยชาติกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8452&Z=8627

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดมาจากของที่รัก

ความคิดเห็นที่ 6-20
ฐานาฐานะ, 29 กันยายน เวลา 16:06 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามในปิยชาติกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8452&Z=8627

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดมาจากของที่รัก
1:36 PM 9/29/2013

             ทำไมคำตอบสั้นนัก.
             บริบทหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในพระสูตร ก็น่าจะพิจารณาแล้วถือได้.
             พระสูตรนี้ แสดงความว่า
             โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดมาจากของที่รัก
             นัยว่า คนทั้งโลกตายกันทุกวัน แต่เราไม่รู้จักคนเหล่านั้นบ้าง
คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ดังนั้น เราจึงไม่รู้สึกโสกะ ฯ
แต่เมื่อบุคคลที่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ตายจากไปบ้าง แปรปรวนเป็นอื่นบ้าง
เราก็จะรู้สึกโสกะ ฯ
             ซึ่งก็คือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดมาจากของที่รัก.

             ปริบทแห่งพระสูตรนี้ เช่นในสถานที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคนั้น
มีนักเลงสะกาเป็นอันมาก เล่นสะกากันอยู่ แสดงว่า ความประมาทมีอยู่โดยทั่วไป
กล่าวคือ แม้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค บุคคลผู้ประมาทอยู่ ก็ไม่เห็นว่า
ควรรีบสดับพระธรรมเทศนา ฝึกฝนตนเองในพระธรรมวินัยนี้เป็นต้น

             ตัวอย่างความฉลาดของพระนางมัลลิกา กล่าวคือ
             1. คำว่า ถ้าคำนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสจริง คำนั้นก็เป็นอย่างนั้น
             ในประโยคที่ว่า
             พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า
             ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคำนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสจริง คำนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ
<<<<
             เป็นประโยคแสดงความคิดนึกอย่างถูกทาง
             แม้เมื่อในเบื้องต้น พระนางเองจะยังไม่เข้าใจอรรถและที่มาที่ไปแห่งพระพุทธดำรัส
นั้นก็ตาม แต่ก็โน้มไปเพื่อจะเข้าใจได้ในอนาคต.

             2. เมื่อพระนางไม่เข้าใจอรรถและที่มาที่ไปแห่งพระพุทธดำรัส ก็ขวนขวายในอันที่
จะเรียนรู้พระพุทธดำรัส ด้วยการส่งในนาฬิชังฆพราหมณ์เข้าเฝ้า เพื่อทูลถามอรรถเหล่านั้น
ทั้งกำชับนาฬิชังฆพราหมณ์ ด้วยคำว่า ท่านพึงเรียนพระดำรัสนั้นให้ดี ในประโยคว่า
             และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวาจาว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสจริงหรือ
             พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงเรียนพระดำรัสนั้นให้ดี
แล้วมาบอกแก่ฉัน อันพระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสไม่ผิดพลาด.

             พระนางมัลลิกาเป็นคนฉลาด เรียนธรรมโดยเคารพ.
             ๗. เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก [๓๙]

//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=7

ความคิดเห็นที่ 6-21
GravityOfLove, 29 กันยายน เวลา 16:40 น.

พระอานนท์. พระนางมัลลิกาเทวี เรียนโดยเคารพ ท่องโดยเคารพ  อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพ พระเจ้าข้า;
ส่วนธิดาซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์ ไม่เรียนโดยเคารพ ไม่ท่องโดยเคารพ ไม่อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพได้เลยทีเดียว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=7

หมายความว่าอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 6-22
ฐานาฐานะ, 29 กันยายน เวลา 19:34 น.

             น่าจะหมายความว่า
             เพราะเรียนท่องโดยเคารพ จึงสามารถจดจำได้
เมื่อจดจำได้ ท่านพระอานนท์ก็สามารถรับรองได้ว่า
เรียนมาแล้ว แสดงต่อได้ถูกต้อง.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=7

ความคิดเห็นที่ 6-23
GravityOfLove, 29 กันยายน เวลา 20:45 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-24
ฐานาฐานะ, 29 กันยายน เวลา 21:05 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปิยชาติกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8452&Z=8627

              พระสูตรหลักถัดไป คือพาหิติยสูตร [พระสูตรที่ 38].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              พาหิติยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8628&Z=8788
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=549

              ธรรมเจติยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8789&Z=8961
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=559

              กรรณกัตถลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=8962&Z=9194
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=571

ความคิดเห็นที่ 6-25
GravityOfLove, 29 กันยายน เวลา 21:28 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๘. พาหิติยสูตร ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8628&Z=8788&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์เข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต
             ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภายหลังภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว
เข้าไปยังบุพพารามณปราสาทของมิคารมารดาเพื่อพักกลางวัน
             สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถีในเวลากลางวัน
ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์กำลังมาแต่ไกล
             ครั้นแล้วได้รับสั่งให้มหาอำมาตย์คนหนึ่งไปนิมนต์ท่านพระอานนท์
ให้รออยู่สักครู่หนึ่ง
             ท่านพระอานนท์รับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ
             พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงอภิวาท
แล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วตรัสนิมนต์ท่านพระอานนท์ไปยัง
แม่น้ำอจิรวดี ท่านพระอานนท์รับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ

สมาจาร ๓
             เมื่อไปถึงฝั่งแม่น้ำอจิรวดีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสถาม
ท่านพระอานนท์ว่า
             พระผู้มีพระภาค ทรงประพฤติกายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย)
วจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา) มโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ)
ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนบ้างหรือไม่
             ท่านพระอานน์ทูลตอบว่า  
             พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประพฤติกายสมาจาร วจีสมาทาน มโนสมาจาร
ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนเลย
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า      
             น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว
             เพราะเราทั้งหลายไม่สามารถจะยังข้อความที่ท่านพระอานนท์ให้บริบูรณ์
ด้วยการแก้ปัญหา ให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ (แม้เราทั้งหลายถามไม่บริบูรณ์
แต่ท่านพระอานน์ก็ตอบอย่างบริบูรณ์)
             ชนเหล่าใดเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาแล้ว ก็ยังกล่าวคุณ
หรือโทษของชนเหล่าอื่นได้ เราทั้งหลายไม่ยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชน
เหล่านั้นโดยความเป็นแก่นสาร
             ส่วนชนเหล่าใดเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา ใคร่ครวญ
พิจารณา แล้วกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น เราทั้งหลายย่อมยึดถือการกล่าวคุณ
หรือโทษของชนเหล่านั้นโดยความเป็นแก่นสาร
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามท่านพระอานนท์ และท่านพระอานนท์
ทูลตอบ มีใจความดังนี้
             กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน คือ
กายสมาจารที่เป็นอกุศล
             กายสมาจารที่เป็นอกุศล คือ กายสมาจารที่มีโทษ
             กายสมาจารที่มีโทษ คือ กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน (มีทุกข์)
             กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน คือ กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก
             กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก คือ กายสมาจารที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
             อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้มีกายสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม

             วจีสมาจารและมโนสมาจาร ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน
ก็นัยเดียวกัน

             กายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน ก็ตรงกันข้ามกับกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร ที่สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน

             พระตถาคตทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม

             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า
             น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว
             พระอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเพียงใด เราทั้งหลายมีใจชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์นี้
             เราทั้งหลายยินดีเป็นอย่างยิ่งด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์อย่างนี้
             ถ้าว่า ช้างแก้ว ฯลฯ พึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ช้างแก้ว ฯลฯ
เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์
             แต่ว่าเราทั้งหลายรู้อยู่ว่า นั่นไม่สมควรแก่ท่านพระอานนท์
             พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงจะถวายผ้าพาหิติกา (ผ้าที่เกิดขึ้นในพาหิติรัฐ)
             ท่านพระอานน์ทูลตอบว่า อย่าเลย ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว
             พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า
             แม่น้ำอจิรวดีนี้ ท่านพระอานนท์และเราทั้งหลายเห็นแล้ว
             เปรียบเหมือนมหาเมฆยังฝนให้ตกเบื้องบนภูเขา ภายหลังแม่น้ำอจิรวดีนี้
ย่อมไหลล้นฝั่งทั้งสองฉันใด
             ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำไตรจีวรของตน
ด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแจกไตรจีวรเก่ากับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
             เมื่อเป็นเช่นนี้ ทักษิณาของเราทั้งหลายนี้ คงจักแพร่หลายไป
ดังแม่น้ำล้นฝั่งฉะนั้น ขอท่านพระอานนท์โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด
             ท่านพระอานนท์จึงรับผ้าพาหิติกา
             ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสอำลาท่านพระอานนท์
             ทรงชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์แล้ว เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ
ทรงถวายอภิวาทท่านพระอานนท์ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป
             เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้กราบทูลถึงการเจรจาปราศรัยกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
ทั้งหมด และได้ทูลถวายผ้าพาหิติกานั้นแด่พระผู้มีพระภาค
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
             เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว
ที่ท้าวเธอได้เห็นอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-26
ฐานาฐานะ, 30 กันยายน เวลา 15:37 น.

GravityOfLove, 18 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
             ๓๘. พาหิติยสูตร ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8628&Z=8788&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
9:27 PM 9/29/2013

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-27
ฐานาฐานะ, 30 กันยายน เวลา 15:42 น.

             คำถามในพาหิติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8628&Z=8788

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. พระพุทธดำรัสว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้วหนอ ที่ท้าวเธอได้เห็นอานนท์
และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์.
             จัดเข้าข้อใดบ้างในมงคล 38 ประการ?

             มงคลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=25&A=41
             คำว่า มงคล
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มงคล
             เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
//84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html

ย้ายไปที่



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:55:44 น.
Counter : 815 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog