21.10 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
21.9 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]

ความคิดเห็นที่ 8-102
GravityOfLove, 31 สิงหาคม เวลา 06:20 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

             เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตร
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุกรขาตา&detail=on

             เป็นอีกชื่อหนึ่งของพระสูตรหรือว่ามีอีกพระสูตรที่มีเหตุการณ์เดียวกันนี้คะ

ความคิดเห็นที่ 8-103
ฐานาฐานะ, 31 สิงหาคม เวลา 07:28 น.

             ตอบว่า น่าจะเป็นอีกชื่อหนึ่งของพระสูตรครับ.

ความคิดเห็นที่ 8-104
GravityOfLove, 31 สิงหาคม เวลา 09:02 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๔. ทีฆนขสูตร เรื่องทีฆนขปริพาชก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
             (ทีฆนขปริพาชกเป็นหลานของท่านพระสารีบุตร
ไปเข้าเฝ้าและฟังข่าวท่านพระสารีบุตรเมื่อท่านพระสารีบุตรบวชได้ครึ่งเดือน)
             ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง (ที่ยืนก็เพราะท่านพระสารีบุตรก็ยืนถวายงานพัดอยู่)
แล้วกราบทูลว่า
             ความจริงตนมีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า
             สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา
             (เพราะเขามีความเห็นว่า ขาดสูญ ไม่ยอมรับการปฏิสนธิ)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             แม้ความเห็นของท่านว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น" ก็ไม่ควรแก่ท่าน
(แม้คำพูดนี้ของท่าน ก็ไม่ควรกับท่านเช่นกัน)
             ทีฆนขปริพาชกทูลว่า
             ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น
             (แม้พระองค์จะตรัสอย่างนั้นก็ตาม เขาก็ยังเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เขาอยู่ดี
คือเขาไม่ได้นึกว่า คำพูดของเขา ก็เป็นสิ่งทั้งปวงอย่างหนึ่งเหมือนกัน)
             ตรัสว่า
             ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น (ใครๆ ก็พูดอย่างนั้นทั้งนั้น)
             ดังนั้น ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก
คือมากกว่าคนที่ละได้

ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท
             ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
             สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี
             ความเห็นนี้ ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด
ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบ (ผูก) สัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน (เกาะติด) ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น
             ๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
             สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี
             ความเห็นนี้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ฯลฯ
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกเข้าใจว่า
พระองค์ทรงยกย่องความเห็นตน
             ตรัสต่อไปว่า
             ๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
             บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี
             ส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ฯลฯ
             ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด

             บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า
             เราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้
             แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า
             เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ พวกที่ ๒ และที่ ๓
             เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี
             เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี
             เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี
             วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน
ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย
และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย
             การละการสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้
             ความเห็นของสมณพราหมณ์อีก ๒ พวก ตรัสทำนองเดียวกัน

             ตรัสต่อไปว่า
             กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔
             ควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตน
             เมื่อท่านพิจารณาเห็นดังนี้ ย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย
ความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มหาภูต&detail=on

เวทนา ๓
             เวทนา ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
             สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา
ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น (คือไม่ปนกัน)
             เวทนา ๒ ประการที่เหลือ ตรัสทำนองเดียวกัน
             เวทนาทั้ง ๓ นี้ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_3

             อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา
ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา
             เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
             รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
             พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว (พระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชน
ชื่อว่า กำลังประพฤติพรหมจรรย์)
             กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
             (กิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว
กิจในอริยสัจ ๔ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจจ์_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4

             ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
             โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ
             ท่านพระสารีบุตรซึ่งนั่งถวายงานพัดอยู่ ได้มีความดำริว่า
             ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
แก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
แก่เราทั้งหลาย
             เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน (บรรลุเป็นพระอรหันต์)
             ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนขปริพาชกว่า
             สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา
(บรรลุเป็นพระโสดาบัน)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมจักษุ

             ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             แล้วทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

ความคิดเห็นที่ 8-105
ฐานาฐานะ, 31 สิงหาคม เวลา 19:17 น.

GravityOfLove, 10 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
             ๔. ทีฆนขสูตร เรื่องทีฆนขปริพาชก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&bgc=mistyrose&pagebreak=0
...
9:02 AM 8/31/2013

             ย่อความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 8-106
ฐานาฐานะ, 31 สิงหาคม เวลา 19:21 น.

             คำถามในทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4661&Z=4768

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เนื้อความว่า ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
              ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า
              ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
             การกล่าวของทีฆนขปริพาชกนี้จัดว่า เป็นการกล่าวแทรกหรือไม่?
             และกล่าวเพราะเหตุใด?

ความคิดเห็นที่ 8-107
GravityOfLove, 31 สิงหาคม เวลา 19:30 น.

             ตอบคำถามในทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4661&Z=4768

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. คนส่วนใหญ่ในโลกต่างก็คิดว่า ทิฏฐิที่ตัวเองยึดมั่นถือมั่นนั้นถูกต้องแล้วทั้งนั้น
ไม่ยอมสละง่ายๆ คนที่สละได้มีน้อย
             ๒. เวทนา ๓ แต่ละประการไม่เกิดปนกัน
             ๓. ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ
             ๔. ทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด
             ทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด
             ส่วนทิฏฐิที่ผสมกัน ก็ทำนองเดียวกัน
             ๕. ในพระสูตรนี้ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านพระสารีบุตรได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
(เมื่อบวชได้ครึ่งเดือน)
             ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลานได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
             ๖. ถ้ําสุกรขาตา มีมาตั้งแต่ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า
             ๗. ทรงแสดงรูปกรรมฐานคือ กายนี้เป็นที่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔
             ทรงแสดงอรูปกรรมฐานคือ เวทนา ๓
             ๘. เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ
             เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔
             องค์ ๔ เหล่านี้
             (๑) คือวันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำประกอบด้วยมาฆนักษัตร
             (๒) ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตนๆ ไม่มีใครนัดหมายมา
             (๓) ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกกาคามี
พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก
             ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ทั้งนั้น
             (๔) มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จาตุรงคสันนิบาต&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุกขวิปัสสก&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เอหิภิกขุ
- - - - - - - - - - - - - - - - - -  - - - - - - - - - -
             2. เนื้อความว่า ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
                  ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า
                  ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
             การกล่าวของทีฆนขปริพาชกนี้จัดว่า เป็นการกล่าวแทรกหรือไม่?
             และกล่าวเพราะเหตุใด?
             ตอบว่า จัดเป็นการกล่าวแทรก
             และกล่าวเพราะเข้าใจผิดคิดว่า พระองค์ทรงชมทิฏฐิของตนที่ว่า
สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด

ความคิดเห็นที่ 8-108
ฐานาฐานะ, 31 สิงหาคม เวลา 19:52 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4661&Z=4768
...
7:29 PM 8/31/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             คำว่า
             (๓) ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกกาคามี
แก้ไขเป็น
             (๓) ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี

             คำถามข้อ 2 นั้น
             น่าจะเป็นการกล่าวแทรก เพราะพระผู้มีพระภาคยังทรงแสดงธรรมไม่จบลง
แล้วทีฆนขปริพาชกกล่าวขึ้นมา โดยไม่รอให้พระธรรมเทศนาจบลงก่อน
             การกล่าวแทรกนี้น่าจะเกิดจากความดีใจ (อย่างมาก) จึงรีบกล่าวรับรองนั้น
             การดีใจในความเห็นของตนเองอย่างนี้ จัดว่า ยึดมั่นในความเห็นของตน
อย่างปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะเห็นได้ง่าย และเมื่อพระธรรมเทศนาดำเนินถึงโทษของ
ความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ... เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี
เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี.
             ก็เป็นอันปฏิเสธถึงโทษของการยึดมั่นความเห็นของตนไม่ได้เลย.

ความคิดเห็นที่ 8-109
GravityOfLove, 31 สิงหาคม เวลา 20:04 น.

การกล่าวแทรกนี้น่าจะเกิดจากความดีใจ (อย่างมาก) จึงรีบกล่าวรับรองนั้น
จริงด้วยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-110
ฐานาฐานะ, 31 สิงหาคม เวลา 20:06 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ทีฆนขสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4661&Z=4768

              พระสูตรหลักถัดไป คือมาคัณฑิยสูตร [พระสูตรที่ 25].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              มาคัณฑิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4769&Z=5061
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=276

              สันทกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5062&Z=5497
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=293

              มหาสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=5498&Z=6022
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=314

              สมณมุณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=356

              จูฬสกุลุทายิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6175&Z=6463
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=367

              เวขณสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6464&Z=6595
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=389

ความคิดเห็นที่ 8-111
GravityOfLove, 2 กันยายน เวลา 11:53 น.

             คำถามมาคัณฑิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=276&bgc=mistyrose

             มาคัณฑิยปริพาชก ๒ คน ลุงและหลาน.
             ใน ๒ คนนั้นลุงบวชได้บรรลุพระอรหัต. แม้หลานก็มีอุปนิสัยบวชไม่นานนักจักบรรลุอรหัต.
             ในพระสูตรนี้ คือลุงหรือหลานคะ
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-112
ฐานาฐานะ, 3 กันยายน เวลา 00:31 น.

              ไม่ทราบเหมือนกันว่า ลุงหรือหลาน
แต่น่าจะเป็นลุงครับ.

ย้ายไปที่



Create Date : 12 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 11:17:21 น.
Counter : 580 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
12 ธันวาคม 2556
All Blog