20.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
20.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 5-85
GravityOfLove, 7 สิงหาคม เวลา 14:40 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๕. ภัททาลิสูตร คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2962&Z=3252&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาก่อนภัต
ครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง
และอยู่สำราญ
             แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวเถิด
             เพราะว่าเมื่อเธอทั้งหลายฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จะรู้สึกคุณคือ
ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ
ท่านพระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลว่า
             ตนไม่สามารถจะฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวได้ เพราะถ้าทำอย่างนั้น
จะมีความรำคาญ ความเดือดร้อน
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ถ้าอย่างนั้น ก็ให้รับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่นั้นเสียส่วนหนึ่ง
แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้ เมื่อฉันได้ แม้อย่างนี้ ก็จะยังชีวิตให้เป็นไปได้
             ท่านพระภัททาลิกราบทูลว่า
             แม้อย่างนั้น ตนก็ยังมีความรำคาญ ความเดือดร้อน
             นับตั้งแต่ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะ (ความไม่สามารถรักษาสิกขาบท)
ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังจะทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา
             ก็ไม่ยอมประสบพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตลอดไตรมาส (๓ เดือน) นั้น
เหมือนภิกษุผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในสิกขาในพระศาสนาของพระศาสดา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สิกขา

พระภัททาลิทูลขอขมาพระพุทธเจ้า
             ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุจำนวนมากที่กำลังช่วยกันทำจีวรกรรม (เย็บจีวร)
สำหรับพระผู้มีพระภาค ด้วยตั้งใจว่า พระองค์จะทรงใช้จีวรนี้เสด็จเที่ยวจาริกไปตลอด ๓ เดือน
             ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวเตือนท่านพระภัททาลิว่า
             จงมนสิการความผิดนี้ให้ดี ความกระทำที่ยากกว่าอย่าได้มีแก่ท่านในภายหลังเลย
(ทีหลัง ท่านอย่าได้ก่อความยุ่งยากอีกเลย)
             ท่านพระภัททาลิรับคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า
             โทษได้ครอบงำตนผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกอบความ
ไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์
สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา
             ขอพระองค์จงรับโทษของตนโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เรื่องที่ท่านพระภัททาลิควรจะต้องรู้ แต่กลับไม่รู้ คือ
             ไม่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี
             ไม่รู้ว่าภิกษุ ภิกษุณีจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี
             ไม่รู้ว่าอุบาสก อุบาสิกาจำนวนมากอาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี
             ไม่รู้ว่าสมณพราหมณ์ต่างลัทธิจำนวนมากเข้าอยู่กาลฝน (จำพรรษา)
ในพระนครสาวัตถี
             พระองค์และบริษัทเหล่านั้นจึงทราบว่า ท่านพระภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์
ในสิกขาในพระศาสนาของพระศาสดา
             เมื่อพระองค์ตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิทูลขอขมาอีกครั้ง
             พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่ออุภโตภาควิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อ
ปัญญาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี เป็นอริยบุคคลชื่อทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคลชื่อ
สัทธาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี
             หากพระองค์กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้
             ภิกษุนั้นย่อมไม่ก้าวไปหรือน้อมกายไปทางอื่น ย่อมไม่กล่าวปฏิเสธ
             แต่ท่านพระภัททาลิซึ่งไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลเลย กลับกล่าวปฏิเสธ
             ดังนั้นท่านพระภัททาลิเป็นคนว่าง คนเปล่า (เพราะไม่มีอริยะคุณ) คนผิด
             ท่านพระภัททาลิทูลขอขมาพระผู้มีพระภาคอีกครั้ง
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อ
ภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา
             แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม
เราจึงรับโทษของเธอนั้น
             ข้อที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความ
สำรวมต่อไปนี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ
             คำว่า อุภโตภาควิมุต เป็นต้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_7

ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์และผู้บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์
             ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
             แม้มีความคิดว่า จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง แล้วจะทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือ ความรู้ความเห็นของพระอริยะ
ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ก็ตาม
             แต่พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้
เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้
             และไม่สามารถทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
             ส่วนภิกษุที่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ตรัสตรงกันข้าม
             (คุณวิเศษ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความเป็นใหญ่)
อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้)
             (ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐)
             ๑. ภิกษุนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
             พระศาสดาไม่ทรงติเตียน ฯลฯ ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษ
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุนั้นทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
             ๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
             ๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
             ๔. อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
             ๕. ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
             ๖. ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติ
ของสัตว์ทั้งหลาย
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในพระศาสนาของพระศาสดา
             ๗. ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
             ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

การระงับอธิกรณ์และเหตุที่ทำให้ถูกข่มขี่/ไม่ถูกข่มขี่
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลว่า
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะข่มแล้วข่มเล่า (ข่มขี่)
และไม่ข่มขี่ซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ (อธิกรณ์)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า             
             ๑. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ
             แม้ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ แต่ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น
(เป็นผู้ว่ายาก) นำเอาถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ ความขัดเคือง
และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำขนให้ตก (ไม่หวาดกลัว)
ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์
             ภิกษุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยจะไม่ระงับอธิกรณ์โดยเร็ว
             ๒. ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ
             แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่ฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่น
ด้วยอาการอื่น ฯลฯ (เป็นผู้ว่าง่าย)
             ภิกษุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยจะระงับอธิกรณ์โดยเร็ว
             ๓. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ
             เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น ฯลฯ
(เป็นผู้ว่ายาก)
             ภิกษุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยจะไม่ระงับอธิกรณ์โดยเร็ว
             ๔. ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ
             เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่ฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น ฯลฯ
(เป็นผู้ว่าง่าย)
             ภิกษุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยจะระงับอธิกรณ์โดยเร็ว
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อธิกรณ์

             ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณ (ไม่มากนัก)
             (ภิกษุบวชใหม่มีศรัทธาในพระศาสนาไม่มากนัก อยู่ด้วยอาศัยความรัก
ในอาจารย์และอุปัชฌาย์)
             ภิกษุทั้งหลายจึงจะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า
             ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณของเธอนั้น อย่าเสื่อมไปจากเธอเลย
             เปรียบเหมือนเพื่อนและญาติของบุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษานัยน์ตา
ข้างเดียวนั้นไว้ ด้วยความตั้งใจว่า นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่าได้เสื่อมไปจากเขาเลย
ฉันใด ฉันนั้น
             อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายที่จะไม่ข่มแล้วข่มเล่า
ซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ

[มีต่อ]

ความคิดเห็นที่ 5-86
[ต่อ]

อาสวัฏฐานิยธรรม
             (อาสวฏฺฐานียา คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ การกล่าวร้ายผู้อื่น
การฆ่า การจองจำ เป็นต้น และทุกข์ใจในอบายชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการล่วงละเมิดสิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้)
             ท่านพระภัททาลิทูลถามต่อไปว่า
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่เมื่อก่อน ได้มีสิกขาบทน้อย แต่ภิกษุดำรงอยู่ใน
อรหัตผลจำนวนมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่เดี๋ยวนี้ได้มีสิกขาบทมาก
แต่จำนวนภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อย
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม พระสัทธรรม
กำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อย
             พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
             ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้
             - ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่
             (เช่น เมื่อสงฆ์นอนร่วมกับพวกอุบาสก นอนด้วยกิริยาไม่น่าดู พวกอุบาสกติเตียนได้
เช่น นัยจากมุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕)
             มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ เรื่องพระนวกะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=289

             - ตราบเท่าสงฆ์ที่ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ
             (คือเมื่อมีลาภมาก ก็มีคนมาขอ จึงมีระเบียบการให้ เ่ช่น
นัยจากอเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑)
             อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑ เรื่องพระอานนท์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=527

             - ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ
             (เมื่อมียศแล้ว ทายกอาจถือเป็นเหตุถวายของไม่สมควรแก่พระภิกษุ เช่น
นัยจากสุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑)
             สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑ เรื่องพระสาคตะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=575
             คำว่า ยศ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยศ#find6 #find6

             - ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูต
             (เทียบเคียงเรื่องที่ได้รับฟังมาอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เป็นอันตรายต่อมรรคผลได้
เช่น นัยจากสัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘)
             สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระอริฏฐะ มิจฉาทิฏฐิ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=662
             คำว่า พหูสูต
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พหูสูต

             - ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นรัตตัญญู
             (พรรษาของภิกษุที่จะเป็นพระอุปัชฌายะ  เป็นต้น เช่น นัยจากพระวินัยปิฎก
เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑)
             พระอุปเสนวังคันตบุตรอุปสมบทสัทธิวิหาริก, พระอุปัชฌายะมีการศึกษาน้อยกว่าสัทธิวิหาริก
//84000.org/tipitaka/read/?4/90-91
             คำว่า รัตตัญญู
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รัตตัญญู

             ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้
ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ฯลฯ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
             ตรัสถามท่านพระภัททาลิว่า
             ตอนที่พระองค์ทรงแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม
ตอนนั้นภิกษุทั้งหลายยังมีอยู่น้อย ท่านยังจำได้อยู่หรือไม่
             ท่านพระภัททาลิทูลตอบว่า จำไม่ได้
             ตรัสถามว่า ทำไมจำไม่ได้
             ท่านพระภัททาลิทูลตอบว่า เพราะตนไม่ได้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนา
ของพระศาสดา เป็นเวลานานเป็นแน่
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             นั่นไม่ใช่เหตุผล เรากำหนดใจด้วยใจ รู้มานานแล้วว่า
             โมฆบุรุษนี้ เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ไม่ต้องการ ไม่ใส่ใจ ไม่รวบรวมด้วยใจทั้งปวง
ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม
             แต่เราก็จะแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธอ
             เปรียบเหมือนนายสารถีฝึกม้าได้ม้าอาชาไนยมา ครั้งแรก ฝึกให้รู้เหตุ (รู้เรื่อง)
ในการใส่บังเหียน มันก็ยังพยศเหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก
             ต้องฝึกมันเนืองๆ ฝึกให้รู้โดยลำดับ มันจึงจะสงบลง
             นายสารถีฝึกม้า จึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการเทียมแอก
มันก็ยังพยศเหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก
             ต้องฝึกมันเนืองๆ ฝึกให้รู้โดยลำดับ มันจึงจะสงบลง
             นายสารถีผู้ฝึกม้าจึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป คือ
             ๑. ในการก้าวย่าง
             ๒. ในการวิ่งเป็นวงกลม
             ๓. ในการจรดกีบ
             ๔. ในการวิ่ง
             ๕. ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง ในการฝึกไม่ให้ตื่นตกใจ เพราะเสียงกึกก้องต่างๆ
             ๖. ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้
             ๗. ในวงศ์พญาม้า
             ๘. ในความว่องไวชั้นเยี่ยม
             ๙. ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม
             ๑๐. ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม
             เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุ ในการว่องไวชั้นเยี่ยม (๘) ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม (๙)
ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม (๑๐) มันก็ยังพยศเหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก
             ต้องฝึกมันเนืองๆ ฝึกให้รู้โดยลำดับ มันจึงจะสงบลง
             สารถีผู้ฝึกม้าย่อมเพิ่มให้ซึ่งเหตุเป็นที่ตั้งแห่งคุณและเหตุเป็นที่ตั้งแห่งพละยิ่งขึ้นไป
             ม้าอาชาไนยตัวงามประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้ ย่อมเป็นพาหนะควรแก่พระราชา
เป็นพาหนะสำหรับใช้สอยของพระราชา นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชา ฉันใด
             ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ
เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญยิ่งกว่า
ธรรม ๑๐ ประการ คือ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย
             ๑. สัมมาทิฏฐิ
             ๒. สัมมาสังกัปปะ
             ๓. สัมมาวาจา
             ๔. สัมมากัมมันตะ
             ๕. สัมมาอาชีวะ
             ๖. สัมมาวายามะ
             ๗. สัมมาสติ
             ๘. สัมมาสมาธิ
             ๙. สัมมาญาณะ
             ๑๐. สัมมาวิมุติ
             อันเป็นของพระอเสขะ
             คำว่า อเสขะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อเสขะ

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว
             ท่านพระภัททาลิชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #5-87]

ความคิดเห็นที่ 5-87
ฐานาฐานะ, 7 สิงหาคม เวลา 19:20 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๕. ภัททาลิสูตร คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2962&Z=3252&bgc=seashell&pagebreak=0
2:40 PM 8/7/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
             (คุณวิเศษ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความเป็นใหญ่)
อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้)
             (ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐)
             อธิบายว่า ทั้งสองคำนี้เป็นการขยายความของย่อความ
             ดังนั้น จำเป็นจะต้องคำพื้นก่อนทำการขยายความ
             เพราะฉะนั้น คำว่า และไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษได้
จึงควรแก้ไขให้มีคำว่า ธรรมของมนุษย์ เพื่อขยายความต่อไป.
             คำว่า และไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษได้
แก้ไขเป็น
             และไม่สามารถทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             ตัองฝึกมันเนืองๆ ฝึกให้รู้โดยลำดับ มันจึงจะสงบลง
แก้ไขเป็น
             ต้องฝึกมันเนืองๆ ฝึกให้รู้โดยลำดับ มันจึงจะสงบลง

ความคิดเห็นที่ 5-88
ฐานาฐานะ, 7 สิงหาคม เวลา 18:02 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
พระฉัพพัคคีย์ คือกลุ่มภิกษุเหลวไหล ๖ รูปใช่ไหมคะ
ก็เหมือนกับที่มีกลุ่มพระปัญจวัคคีย์
คือไม่ได้เป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ได้เป็นชื่อพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
11:27 AM 8/7/2013
             เข้าใจถูกต้องแล้ว.

ความคิดเห็นที่ 5-89
ฐานาฐานะ, 7 สิงหาคม เวลา 19:27 น.

             คำถามในภัททาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2962&Z=3252

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 5-90
GravityOfLove, 7 สิงหาคม เวลา 20:20 น.

ขอบพระคุณค่ะ
----------------
             ตอบคำถามในภัททาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2962&Z=3252

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. คุณของการฉันอาหารมื้อเดียว คือ
             ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกําลัง และอยู่สําราญ
             ๒. ฉันอาหารมื้อเดียว หมายถึงการฉันอาหารในเวลาเช้า
คือตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน
             แม้ภิกษุฉันอาหาร ๑๐ ครั้ง ในช่วงเวลานี้ก็ชื่อว่า ฉันอาหารมื้อเดียว
             ๓. ภิกษุผู้ไม่ทําให้บริบูรณ์ในสิกขาบท แม้ไปอยู่เสนาสนะอันสงัด
พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ ... เทวดาก็ติเตียนได้ ตนเองก็ติเตียนตนได้
ไม่สามารถทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
             ๔. เหตุปัจจัย สําหรับข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้
             ๕. เหตุที่เมื่อก่อน มีสิกขาบทน้อย แต่ภิกษุดํารงอยู่ในอรหัตผลเป็นอันมาก
แต่เดี๋ยวนี้มีสิกขาบทมาก แต่ภิกษุดํารงอยู่ในอรหัตผลน้อย
             ๖. ธรรม 10 ประการ เปรียบด้วยม้าอาชาไนย
             ๗. พระภัททาลิเคยเกิดในกําเนิดกา ในชาติลําดับมาจึงเป็นผู้หิวบ่อย
             ๘. ความผิดที่ปรากฏในระหว่างมหาชน จักถึงความเป็นผู้ทําคืนได้ยาก
             ๙. ภิกษุปุถุชน ถือว่า ยังเป็นคนภายนอกศาสนาของพระพุทธองค
             ๑๐ ภิกษุผู้ไม่ทําให้บริบูรณ์ในสิกขาบท เมื่อไปอยู่ป่า นอกจากเทวดาจะติเตียนแล้ว
ยังแสดงอารมณ์อันน่ากลัวเพื่อให้หนี และเมื่อภิกษุนั้นนึกถึงศีล ฐานะอันเศร้าหมองย่อมปรากฏ
จิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด มีความรําคาญ แล้วลุกหลีกไป
             ๑๑. เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ แม้ปฏิบัติสัทธรรม ก็ชื่อว่าอันตรธาน << แปลว่าอะไรคะ
(คำถามตกหล่นค่ะ อ่านรอบแรกดูเหมือนเข้าใจ มาอ่านอีกทีไม่เข้าใจแล้ว)

ความคิดเห็นที่ 5-91
ฐานาฐานะ, 7 สิงหาคม เวลา 20:30 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในภัททาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2962&Z=3252
8:20 PM 8/7/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ๑๑. เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ แม้ปฏิบัติสัทธรรม ก็ชื่อว่าอันตรธาน << แปลว่าอะไรคะ
             แปลว่า
             เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ ก็เป็นอันว่า ปฏิบัติสัทธรรมอันตรธาน.
             คำว่า สัทธรรม 3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัทธรรม_3

ความคิดเห็นที่ 5-92
GravityOfLove, 7 สิงหาคม เวลา 20:39 น.

       1. ปริยัตติสัทธรรม (สัทธรรมคือคำสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธพจน์ — the true doctrine of study; textual aspect of the true doctrine; study of the Text or Scriptures)
       2. ปฏิปัตติสัทธรรม (สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา — the true doctrine of practice; practical aspect of the true doctrine)
       3. ปฏิเวธสัทธรรม (สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน — the true doctrine of penetration; realizable or attainable aspect of the true doctrine)
        เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ ก็เป็นอันว่า ปฏิบัติสัทธรรมอันตรธาน.
        คือ เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญข้อ ๒ ก็เป็นอันว่า ข้อ ๒ อันตรธาน ถูกต้องไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 5-93
ฐานาฐานะ, 7 สิงหาคม เวลา 20:52 น.

             เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ ก็เป็นอันว่า ปฏิบัติสัทธรรมอันตรธาน.
             คือ เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญข้อ ๒ ก็เป็นอันว่า ข้อ ๒ อันตรธาน ถูกต้องไหมคะ
8:39 PM 8/7/2013
             ถูกต้องครับ.
             เมื่อไม่มีปฏิปัตติสัทธรรม การเข้าถึงปฏิเวธสัทธรรม (การบรรลุมรรคผล)
ก็เป็นอันว่าหมดโอกาสด้วย.
             กล่าวย้อนกลับไปว่า เมื่อปริยัตติสัทธรรมอันตรธานไปสิ้น
แม้สัตว์ประสงค์จะประพฤติปฏิปัตติสัทธรรมในพระศาสนานี้
ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เป็นอันปฏิบัติสัทธรรมอันตรธานด้วย

ความคิดเห็นที่ 5-94
GravityOfLove, 7 สิงหาคม เวลา 20:54 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:49:16 น.
Counter : 518 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog