20.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
20.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬราหุโลวาทสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 5-25
ฐานาฐานะ, 27 กรกฎาคม เวลา 19:05 น.

GravityOfLove, 37 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
ตรงนี้ยังไม่เข้าใจค่ะ และทำไมถึงเป็นท่านอุปาวานะค่ะ มีนัยพิเศษอะไรคะ
- - - -
             ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระอานนท์  ได้เข้าไปหาท่าน
พระอุปวานะถึงที่อยู่แล้วกล่าวดังนี้ว่า “ท่านอุปวานะ  ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้
เบียดเบียนพระเถระ  พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น  การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น จะปรารภเหตุนั้นนั่นแลแล้วยกขึ้นแสดงเหมือนที่จะ
พึงตรัสกับท่านอุปวานะโดยเฉพาะในเหตุนั้น  นั้นไม่น่าอัศจรรย์  บัดนี้  ความน้อยใจ
ได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา”
6:04 PM 7/27/2013

             พระอานนท์เถระ (พระเสขบุคคล) อาจจะเสียใจในเหตุการณ์นี้
คือไม่ได้เข้าไปห้ามปรามผู้เบียดเบียนพระเถระ จึงถูกพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ.
             คำถามว่า และทำไมถึงเป็นท่านอุปาวานะค่ะ มีนัยพิเศษอะไรคะ
             ตอบว่า ท่านพระอานนท์ก็สามารถคาดคะเนได้ ดังนั้นจึงน่าจะเป็น
เพราะเหตุว่า ท่านพระอุปาวานะเถระเคยเป็นอุปัฏฐาก และขณะนั้นน่าจะบรรลุ
พระอรหัตแล้ว หมวดธรรมที่ท่านพระอุปาวานะทูลตอบพระผู้มีพระภาค
เป็นธรรมของพระอรหันต์.
             นัยพิเศษ น่าจะเป็นพระอรหันต์แสดงคุณของพระอรหันต์
             สันนิษฐานล้วนๆ.

             เทวหิตสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5642&Z=5686

             บทว่า พระอานนท์ ท่านกล่าวหมายถึงความที่พระอานนทเถระ เป็นอุปฐากประจำ.
เพราะว่า ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระอุปฐากไม่ประจำ.
บางคราวพระนาคสมาละถือบาตรและจีวรตามเสด็จ. บางคราวพระนาคิตะ.
บางคราวพระอุปวาณะ. บางคราวพระสุนักขัตตะ.
บางคราวจุนทสมณุเทส. บางคราวพระสาคตะ บางคราวพระเมฆิยะ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1&p=1

             มหาปรินิพพานสูตร [บางส่วน]
             [๑๓๐] สมัยนั้น ท่านพระอุปวาณะยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาค
เฉพาะพระพักตร์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับท่านพระอุปวาณะว่า ดูกรภิกษุ
เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า ท่านอุปวาณะ
รูปนี้เป็นอุปัฏฐากอยู่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมาช้านาน ก็และเมื่อเป็นเช่นนั้น ใน
กาลครั้งสุดท้าย พระผู้มีพระภาคทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูกรภิกษุ เธอจงหลีกไป
อย่ายืนตรงหน้าเรา ดังนี้ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้พระผู้มี
พระภาคทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูกรภิกษุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านอุปวาณะรูปนี้ เป็นอุปัฏฐากอยู่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมาช้านาน ก็แลเมื่อ
เป็นเช่นนั้น ในกาลครั้งสุดท้าย พระผู้มีพระภาคยังทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูกร
ภิกษุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา ดังนี้ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอ
เป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูกรภิกษุ เธอจงหลีกไป
อย่ายืนตรงหน้าเรา ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เทวดาในหมื่นโลกธาตุมา
ประชุมกันโดยมาก เพื่อจะเห็นตถาคต เมืองกุสินารา สาลวัน อันเป็นที่แวะพัก
แห่งพวกเจ้ามัลละเพียงเท่าใด โดยรอบถึง ๑๒ โยชน์ ตลอดที่เพียงเท่านี้ จะหา
ประเทศแม้มาตรว่าเป็นที่จรดลงแห่งปลายขนทราย อันเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ไม่ถูก
ต้องแล้วมิได้มี พวกเทวดายกโทษอยู่ว่า พวกเรามาแต่ที่ไกลเพื่อจะเห็นพระตถาคต
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว ใน
ปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ พระตถาคตจักปรินิพพาน ก็ภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่
รูปนี้ ยืนบังอยู่เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกเราไม่ได้เห็นพระตถาคตใน
กาลเป็นครั้งสุดท้าย ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?10/130

ความคิดเห็นที่ 5-26
GravityOfLove, 27 กรกฎาคม เวลา 19:27 น.

"ท่านอุปวานะ ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้เบียดเบียนท่านพระสารีบุตร
พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุที่เบียดเบียนเหล่านั้นแล้วล่ะ
แต่ตอนเย็นพระผู้มีพระภาคจะออกจากที่หลีกเร้นมาปรารภ
เรื่องที่กระผม (อานนท์) เพิกเฉยกับท่านแน่นอน
(แปลต่อไม่ได้แล้วค่ะ ใครน้อยใจ น้อยใจทำไม)

ถูกต้องไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 5-27
ฐานาฐานะ, 27 กรกฎาคม เวลา 19:42 น.

             ใครน้อยใจ ตอบว่า ท่านพระอานนท์น้อยใจที่ถูกตำหนิ
นัยว่า เหมือนไม่มีกรุณาในพระเถระผู้ฉลาด (คือไม่กล่าวปกป้องพระสารีบุตร)
นิ่งเฉย ไม่ช่วยคัดค้านพระอุทายีเลย. ที่จริงพระอานนท์ใช้คำว่า พวกเรา
น่าจะหมายถึงว่า รู้สึกทุกข์ใจหลายรูป เพราะเรื่องนี้.

ความคิดเห็นที่ 5-28
GravityOfLove, 27 กรกฎาคม เวลา 19:46 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-29
GravityOfLove, 29 กรกฎาคม เวลา 11:10 น.

             คำถามมหาราหุโลวาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2541&Z=2681
             กรุณาอธิบายค่ะ
             พอจะเข้าใจข้อ ๑, ๒ เท่านั้นค่ะ
              ๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
              ๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
              ๓. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
              ๔. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
              ๕. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า
              ๖. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า
              ๗. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า
              ๘. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า
              ๙. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
              ๑๐. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า
              ๑๑. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า
              ๑๒. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า
              ๑๓. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
              ๑๔. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า
              ๑๕. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า
              ๑๖. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า
             เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
             ลมอัสสาสะ (หายใจเข้า) ปัสสาสะ (หายใจออก) อันมีในภายหลัง
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป
             หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-30
GravityOfLove, 29 กรกฎาคม เวลา 14:26 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ       
             ๑. เพราะเหตุไร พระราหุลจึงทูลถามว่า รูปเมว นุโข ภควา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปเท่านั้นหรือพระเจ้าข้า. นัยว่าพระราหุลนั้นเกิดนัยขึ้นเพราะสดับว่า รูปทั้งปวงนั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอพึงเห็นรูปทั้งปวงอย่างนี้ด้วยวิปัสสนาปัญญา ในเวทนาเป็นต้นจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. เพราะฉะนั้น
พระราหุลตั้งอยู่ในนัยนั้นจึงทูลถาม.
             ๒. นัยว่า พระเถระได้มีปริวิตกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรามิได้ตรัสกถาโดยปริยายว่า ชื่อว่าสมณะพึงรู้ฉันทราคะอาศัยอัตภาพแล้วไม่พึงตรึกถึงวิตกเห็นปานนี้. มิได้ทรงส่งทูตไปว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงไป จงบอกราหุลว่า ท่านอย่าตรึกถึงวิตกเห็นปานนี้อีกเลย ตั้งเราไว้เฉพาะหน้าแล้วทรงประทานสุคโตวาทเฉพาะหน้า ดุจจับโจรพร้อมด้วยภัณฑะที่จุก. ชื่อว่าสุคโตวาทหาได้ยากโดยอสงไขยกัป. ใครหนอเป็นผู้มีชาติแห่งบัณฑิต วิญญูชนได้รับโอวาทเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าเห็นปานนี้แล้ว วันนี้จักเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.
             ๓. บัดนี้ เราจักจำแนกไม่ปรุงแต่งอัตภาพโดยอาการ ๔๐
             ๔. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงทำอากาศธาตุให้พิสดารเล่า.
             เพื่อแสดงอุปาทารูป เพราะท่านกล่าวถึงมหาภูตรูป ๔ ไว้แล้วในหนหลัง ไม่ได้กล่าวถึงอุปาทารูป ฉะนั้นเพื่อแสดงอุปาทารูปนั้นโดยมุขนี้ จึงยังอากาศธาตุให้พิสดาร.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 5-31
ฐานาฐานะ, 29 กรกฎาคม เวลา 15:42 น.

              อธิบายว่า น่าจะเป็นการฝีกฝนยิ่งๆ ขึ้นไป
              ย่อมสำเหนียกว่า หรือย่อมศึกษาว่า หรือย่อมตระหนักว่า
              จักพิจารณา... คือจักพิจารณาข้อเหล่านั้นอีก กล่าวคือ
ยังมีข้อที่ควรศึกษาต่อไปอีกในแนวทางเหล่านี้.

              คำว่า อานาปานสติ 16 ฐาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อานาปานสติ

ความคิดเห็นที่ 5-32
ฐานาฐานะ, 29 กรกฎาคม เวลา 18:47 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. เพราะเหตุไร พระราหุลจึงทูลถามว่า รูปเมว นุโข ภควา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
รูปเท่านั้นหรือพระเจ้าข้า. นัยว่าพระราหุลนั้นเกิดนัยขึ้นเพราะสดับว่า รูปทั้งปวงนั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอพึงเห็นรูปทั้งปวงอย่างนี้ด้วย
วิปัสสนาปัญญา ในเวทนาเป็นต้นจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. เพราะฉะนั้น พระราหุลตั้งอยู่ใน
นัยนั้นจึงทูลถาม.
อธิบายว่า นี้เป็นอรรถาธิบายในข้อ 133 นัยว่า ถามเพื่อเป็นแนวทางพิจารณา.

              ๒. นัยว่า พระเถระได้มีปริวิตกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรามิได้ตรัสกถาโดยปริยายว่า
ชื่อว่าสมณะพึงรู้ฉันทราคะอาศัยอัตภาพแล้วไม่พึงตรึกถึงวิตกเห็นปานนี้. มิได้ทรงส่งทูตไปว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอจงไป จงบอกราหุลว่า ท่านอย่าตรึกถึงวิตกเห็นปานนี้อีกเลย ตั้งเราไว้เฉพาะหน้า
แล้วทรงประทานสุคโตวาทเฉพาะหน้า ดุจจับโจรพร้อมด้วยภัณฑะที่จุก.
ชื่อว่าสุคโตวาทหาได้ยากโดยอสงไขยกัป. ใครหนอเป็นผู้มีชาติแห่งบัณฑิต วิญญูชนได้รับ
โอวาทเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าเห็นปานนี้แล้ว วันนี้จักเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.
อธิบายว่า ท่านพระราหุล (สามเณรราหุลในขณะพระสูตร) ตรึกว่า
              พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสโดยนัยเช่นว่า
              ดูก่อนราหุล ชื่อว่าสมณะพึงรู้ฉันทราคะอาศัยอัตภาพแล้วไม่พึงตรึกถึงวิตกเห็นปานนี้.
- - - - - - - - - - - - - - - -
              นัยก็คือไม่ได้ทรงตรัสปรารภสมณะอื่นเลย ตรัสตรงปรารภท่านพระราหุลทีเดียว
              ทั้งไม่ได้ทรงส่งทูตมาแสดงพระธรรมเทศนา นัยก็คือ ตรัสแสดงด้วยพระองค์เอง
ต่อหน้าท่านพระราหุล.

              แล้วทรงประทานสุคโตวาทเฉพาะหน้า
              ความว่า ทรงประโอวาทเฉพาะหน้า (ต่อหน้า) และไม่อ้อมไปสมณะอื่น
              ดุจจับโจรพร้อมด้วยภัณฑะที่จุก.
              นัยคือ ทรงรู้ดำริของท่านพระราหุล (ซึ่งอรรถกถากล่าวว่า มีพระชนม์ 18 พรรษา)
              กล่าวคือ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ยินดีในร่างกายของตน เช่นว่า วรรณะของเรางามหนอ
ร่างกายของเราสง่างดงาม น่ายินดีหนอ ฯ
              นัยของอรรถกถาก็คือ เมื่อท่านพระราหุลเกิดความยินดีในร่างกายของตน
ด้วยฉันทราคะในขณะนั้น ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนา (บอก/เตือน) ประหนึ่งว่า
ดุจจับโจรพร้อมด้วยภัณฑะที่จุก หรือน่าจะคล้ายสำนวนว่า จับได้คาหนังคาเขา
ไม่ทรงปล่อยกาลให้ล่วงเลยไป ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะธรรมเทศนาอาจไม่แจ่มแจ้ง
แก่ท่านพระราหุล เพราะกาลดำริอย่างนั้นล่วงเลยไปแล้ว.
              ท่านตรัสมหาราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๑๘ พรรษา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125

              ๓. บัดนี้ เราจักจำแนกไม่ปรุงแต่งอัตภาพโดยอาการ ๔๐
ตอบว่า อาจจะเป็นว่า
              บัดนี้ เราจักจำแนกการไม่ปรุงแต่งอัตภาพโดยอาการ ๔๐
หรืออาการแยกสภาพเป็น 40 ของอัตภาพร่างกายนี้.
              แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า อาการ 40 คืออะไร
หรือได้แก่อะไรบ้าง? ในข้อ 135-138 หรือ 135-139.

              ๔. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงทำอากาศธาตุให้พิสดารเล่า.
              เพื่อแสดงอุปาทารูป เพราะท่านกล่าวถึงมหาภูตรูป ๔ ไว้แล้วในหนหลัง
ไม่ได้กล่าวถึงอุปาทารูป ฉะนั้นเพื่อแสดงอุปาทารูปนั้นโดยมุขนี้ จึงยังอากาศธาตุให้พิสดาร.
              ขอบพระคุณค่ะ
2:26 PM 7/29/2013
อธิบายว่า นัยน่าจะเป็นว่า โดยมากมักจะเห็นแต่มหาภูตรูป 4 เท่านั้น
เหตุใดจะทรงแสดงอากาศธาตุด้วย ซึ่งคำตอบก็น่าจะสันนิษฐานได้ว่า
              บุคคลย่อมสามารถกำหนัดในมหาภูตรูป 4 และอากาสธาตุ (ช่องว่าง)
จึงสันนิษฐานอย่างนี้ว่า เพื่อเป็นแนวทางการพิจารณาละคลายความกำหนัดในธาตุทั้ง 5 นี้.
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือบุคคลย่อมสามารถกำหนัดในกายนี้ อันประกอบด้วยธาตุ 5 นี้.

ความคิดเห็นที่ 5-33
GravityOfLove, 29 กรกฎาคม เวลา 18:54 น.

             ขอบพระคุณค่ะ อ่านลิงค์แล้วยังมีที่ไม่เข้าใจดังนี้
             ๓. กองลมทั้งปวง เป็นอย่างไรคะ
             ๔. กายสังขาร คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือเปล่าคะ
             ๗. จิตสังขาร คือ เวทนา สัญญา หรือเปล่าคะ

             ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

             เวลาเจริญอานาปานสติ ให้คิดทั้ง ๑๖ ข้อนี้หรือคะ คิดวนไปเรื่อยๆ

ความคิดเห็นที่ 5-34
ฐานาฐานะ, 29 กรกฎาคม เวลา 19:04 น.

GravityOfLove, 34 วินาทีที่แล้ว
              ขอบพระคุณค่ะ อ่านลิงค์แล้วยังมีที่ไม่เข้าใจดังนี้
              ๓. กองลมทั้งปวง เป็นอย่างไรคะ
              ตอบว่า น่าหมายถึงว่า
              บางคนรู้เฉพาะลมหายใจเข้า
              บางคนรู้เฉพาะลมหายใจออก
              บางคนรู้เฉพาะลมหายใจเข้าสั้น
              บางคนรู้เฉพาะลมหายใจออกสั้น
              บางคนรู้เฉพาะลมหายใจเข้ายาว
              บางคนรู้เฉพาะลมหายใจออกยาว
              กองลมทั้งปวง นัยก็คือรู้ลักษณะต่างๆ ของลมหายใจทั้งเข้าออกสั้นยาว.

              ๔. กายสังขาร คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือเปล่าคะ
              ตอบว่า ใช่ครับ นัยน่าจะเป็นว่า สำเหนียกศึกษาให้ถึงฌาน 4?

              ๗. จิตสังขาร คือ เวทนา สัญญา หรือเปล่าคะ
              ตอบว่า ใช่ครับ นัยน่าจะเป็นว่า สำเหนียกศึกษาให้ถึงสมาบัติที่ 9?

              ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป
หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
อธิบายว่า น่าจะหมายถึงว่า บุคคลเจริญดีแล้ว เมื่อลมอัสสาสะปัสสาสะดับไป
ก็ระลึกรู้ได้ รู้ชัดว่า ดับไปแล้ว ไม่ใช่คนหลงลืมหรือสงสัยว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะดับไปหรือหนอ?

              เวลาเจริญอานาปานสติ ให้คิดทั้ง ๑๖ ข้อนี้หรือคะ คิดวนไปเรื่อยๆ
6:53 PM 7/29/2013
สันนิษฐานว่า ให้สำเหนียกเบื้องต้นให้ครบก่อน (รู้ให้ทั่วด้วยการฟังคิดก่อน)
จากนั้นเมื่อเจริญอานาปานสติ ให้ถึงตามลำดับ หรือตั้งใจให้ถึงตามลำดับ.

ความคิดเห็นที่ 5-35
GravityOfLove, 29 กรกฎาคม เวลา 19:22 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
            ๒. ชื่อว่าสุคโตวาทหาได้ยากโดยอสงไขยกัป. ใครหนอเป็นผู้มีชาติแห่งบัณฑิต วิญญูชนได้รับ
โอวาทเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าเห็นปานนี้แล้ว วันนี้จักเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.

ความคิดเห็นที่ 5-36
ฐานาฐานะ, 29 กรกฎาคม เวลา 19:30 น.

GravityOfLove, 26 วินาทีที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๒. ชื่อว่าสุคโตวาทหาได้ยากโดยอสงไขยกัป.
              ใครหนอเป็นผู้มีชาติแห่งบัณฑิต วิญญูชนได้รับโอวาทเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าเห็นปานนี้แล้ว
              วันนี้จักเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.
7:21 PM 7/29/2013
              อธิบายว่า ท่านพระราหุล (สามเณรราหุลในขณะพระสูตร) ปรารภตัวท่านเอง.
              ชื่อว่าสุคโตวาทหาได้ยากโดยอสงไขยกัป กล่าวคือ พระโอวาทของพระผู้มีพระภาค
หรือโอวาทของพระสุคต หาได้ยาก เพราะการเกิดขึ้นแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดขึ้นได้ยาก
โดยกาลนานมาก.
              บุคคลผู้เป็นผู้มีชาติแห่งบัณฑิต (ผู้รู้ประโยชน์ทั้งหลาย) วิญญูชน (ปรารภตัวท่านเอง)
ได้รับโอวาทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า แล้วจักเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.

ความคิดเห็นที่ 5-37
GravityOfLove, 29 กรกฎาคม เวลา 20:01 น.

             ยังไม่เข้าใจค่ะ คือท่านพระราหุลฟังพระโอวาทเรื่องขันธ์ ๕ แล้วก็กลับเลย
ไม่ไปบิณฑบาตต่อ แล้วมานั่งขัดสมาธิใ้ต้ต้นจนท่านพระสารีบุตรมาพบเข้า
             คือไม่เข้าใจว่า ทำไมท่านพระราหุลคิดดังนี้ค่ะ
             [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคทรงโอวาท
ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง
---------------------------
             ลืมคำถามไปอีก ๑ ข้อ ค่ะ
             เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านพระสารีบุตรจึงชักชวนในอานาปานสติเล่า.
             เพราะสมควรแก่การนั่ง.
             ได้ยินว่า พระเถระมิได้นึกถึงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานแก่พระราหุลนั้นแล้ว คิดว่ากรรมฐานนี้สมควรแก่การนั่งนี้ของพระราหุลนั้น โดยอาการที่พระราหุลนี้นั่งติดอยู่กับอาสนะอันไม่ไหวติง จึงกล่าวอย่างนี้

ความคิดเห็นที่ 5-38
ฐานาฐานะ, 29 กรกฎาคม เวลา 20:21 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
              ยังไม่เข้าใจค่ะ คือท่านพระราหุลฟังพระโอวาทเรื่องขันธ์ ๕ แล้วก็กลับเลย
ไม่ไปบิณฑบาตต่อ แล้วมานั่งขัดสมาธิใต้ต้นจนท่านพระสารีบุตรมาพบเข้า
              คือไม่เข้าใจว่า ทำไมท่านพระราหุลคิดดังนี้ค่ะ
              [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคทรงโอวาท
ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง

              อธิบายง่ายๆ ว่า
              1. การได้รับพระโอวาทเป็นเรื่องใหญ่มาก
              2. การกินข้าวหรืออดข้าวสัก 1 วัน เป็นเรื่องเล็ก สำหรับผู้มีความเพียร.

              อุปมาเหมือนคุณ GravityOfLove กำลังจะกินข้าว มีบุคคลที่เคารพนับถือว่า
เขาพูดจริง เขาพูดมีประโยชน์ เขาบอก/เตือนว่า เมื่อสักครู่นี้ คุณ GravityOfLove อาศัย
ความพลั้งเผลอ ได้กินยาพิษที่มีฤทธิ์รุนแรงถึงตายหรือปางตายได้ ควรที่จะแสวงหายาที่
เหมาะสมหรือแพทย์ที่รู้วิธีแก้ไขโดยเร็ว
              ดังนี้แล้ว คุณ GravityOfLove จะกินข้าวให้เรียบร้อยก่อน
              หรือว่า รีบแสวงหายาหรือไปพบแพทย์ที่สามารถแก้ไขได้ โดยไม่รอกินข้าว.
---------------------------
              ลืมคำถามไปอีก ๑ ข้อ ค่ะ
              เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านพระสารีบุตรจึงชักชวนในอานาปานสติเล่า.
              เพราะสมควรแก่การนั่ง.
              ได้ยินว่า พระเถระมิได้นึกถึงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานแก่พระราหุลนั้นแล้ว
คิดว่ากรรมฐานนี้สมควรแก่การนั่งนี้ของพระราหุลนั้น โดยอาการที่พระราหุลนี้นั่งติดอยู่กับอาสนะ
อันไม่ไหวติง จึงกล่าวอย่างนี้
8:00 PM 7/29/2013
              สันนิษฐานว่า ท่านพระสารีบุตรเลื่อมใสในอานาปาณสติ ทั้งเห็นว่า
กรรมฐานนี้เหมาะสมแก่ท่านพระราหุล ท่านพระสารีบุตรจึงชักชวนในอานาปานสติ
              อาการของท่านพระราหุล น่าจะมั่นคงดี ไม่วอกแวก จึงเห็นว่า
อานาปาณสติกรรมฐานน่าจะเหมาะสมแก่ท่านพระราหุล.

ย้ายไปที่



Create Date : 11 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:50:28 น.
Counter : 509 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
11 ธันวาคม 2556
All Blog