21.3 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
21.2 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]

ความคิดเห็นที่ 8-19
ฐานาฐานะ, 16 สิงหาคม เวลา 05:14 น.

GravityOfLove, 12 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
              ๗. จาตุมสูตร เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3508&Z=3666&bgc=seashell&pagebreak=0
...
3:56 PM 8/15/2013

              ย่อความได้ดี แต่ก็มีข้อติงจนได้ดังนี้ :-
ยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย (เช่น ไม่สั่นศีรษะ) ไม่รักษาวาจา (เช่น พูดคำหยาบ)
              น่าจะแก้ไขเป็น
ยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย (เช่น สั่นศีรษะ) ไม่รักษาวาจา (เช่น พูดคำหยาบ)

ความคิดเห็นที่ 8-20
ฐานาฐานะ, 16 สิงหาคม เวลา 05:17 น.

             คำถามในจาตุมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3508&Z=3666

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คุณ GravityOfLove เห็นอย่างไรว่า
              การบวชนี้ทำได้ยากหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 8-21
GravityOfLove, 16 สิงหาคม เวลา 07:31 น.

            คำถามในจาตุมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3508&Z=3666

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้ีมีพระภาคทรงประณามภิกษุอาคันตุกะประมาณ 500 รูป
มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า เจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมา
และท้าวสหัมบดีพรหมทูลวิงวอนเพื่อให้พระองค์ทรงยินดีที่จะโอวาทภิกษุสงฆ์
ด้วยเปรียบต้นกล้าอ่อนและลูกโคที่ไม่เห็นแม่
             ๒. เมื่อพระพุทธองค์ทรงประณามภิกษุสงฆ์ ท่านพระสารีบุตรคิดว่า
ทรงมีความขวนขวายน้อยประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่
แม้เราทั้งหลายก็จักน้อมจิตไปตามอย่างพระผู้มีพระภาค
             ส่วนพระมหาโมคคัลลานะ คิดว่าให้พระพุทธองค์ทรงอยู่เป็นสุข
ส่วนตนกับพระสารีบุตรจักช่วยกันปกครองภิกษุสงฆ์
             ๓. ภัย ๔ อย่าง เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ คือ
             ภัยเพราะคลื่น ภัยเพราะจระเข้ ภัยเพราะน้ำวน ภัยเพราะปลาร้าย
             ภัย ๔ อย่าง เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยนี้ พึงหวังได้ คือ
             (๑) ภัยเพราะความคับแค้นและความโกรธ อุปมาเหมือนภัยเพราะคลื่น (อูมิภัย)
             (๒) ภัยเพราะเห็นแก่ปากท้อง อุปมาเหมือนภัยเพราะจระเข้ (กุมภีลภัย)
             (๓) ภัยเพราะกามคุณ ๕ อุปมาเหมือนภัยเพราะน้ำวน (อาวัฏฏภัย)
             (๔) ภัยเพราะมาตุคาม อุปมาเหมือนภัยเพราะปลาร้าย (สุสุกาภัย)
             ๔. กัปปิยะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามพุทธบัญญัติ เช่น
             น้ำปานะ ๘ ชนิด คือ
             (๑) น้ำมะม่วง (๒) น้ำหว้า (๓) น้ำกล้วยมีเมล็ด (๔) น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (๕) น้ำมะทราง
             (๖) น้ำผลจันทน์หรือน้ำองุ่น (๗) น้ำเหง้าบัว (๘) น้ำผลมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปานะ

             เภสัช ๕ ชนิด คือ
             (๑) เนยใส (๒) เนยข้น (๓) น้ำมัน (๔) น้ำผึ้ง (๕) น้ำอ้อย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เภสัช_ยา&detail=on

             โภชนะ ๕ ชนิด คือ
             (๑) ข้าวสุก (๒) ขนมสด (๓) ข้าวตู (๔) ปลา (๕) เนื้อ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โภชนะ / โภชนียะ

             รวมทั้งสิ่งที่เป็นยามกาลิก (สิ่งที่บริโภคได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง)
             สัตตาหกาลิก (สิ่งที่บริโภคได้ภายใน ๗ วัน)
             และยาวชีวิก (สิ่งที่บริโภคได้ตลอดชีวิต คือ เกลือ มูตร คูถ เถ้า ดิน)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กาลิก

             อกัปปยะ หมายถึงสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมตามพุทธบัญญัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ
             รวมถึงอุทิศมังสะ ๓ และอกัปปิยะมังสะ ๑๐
//84000.org/tipitaka/read/?13/60
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1372&Z=1508

            ๕. อนุเคราะห์ หมายถึงการอนุเคราะห์ ๒ อย่าง คือ
             (๑) การอนุเคราะห์ด้วยอามิส (๒) การอนุเคราะห์ด้วยธรรม
--------------------------------------
             2. คุณ GravityOfLove เห็นอย่างไรว่า
             การบวชนี้ทำได้ยากหรือไม่?
             ทำได้ยากค่ะ เพราะต้องห้ามตัวเอง ยับยั้งชั่งใจตัวเอง
ในด้านกายกรรมและวจีกรรมไม่ให้ผิดพระวินัย ต้องสำรวมให้มาก
ไม่เหมือนสมัยเป็นคฤหัสถ์
             บวชแล้วก็ไม่ได้อยู่แต่ในวัด เพราะมีวัตรบิณบาต
ที่ต้องเจอกามคุณ เจอมาตุคาม
             เรื่องที่ผิดทั้งทางโลกและทางธรรม ไม่ยาก
             แต่เรื่องที่ทางโลกไม่ผิด แต่ทางธรรมผิด เช่น ดูหรือฟังมหรสพ
ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา (ที่ไม่มาก) มีจิตกำหนัดในมาตุคาม จะยาก
             คนที่บวชแล้วทำได้อย่างพระวินัย  และเอาชนะหรือข่มภัยทั้ง ๔
ที่เป็นมโนกรรมไว้ได้ แล้วบำเพ็ญสมณธรรมในขณะที่อยู่เพศบรรชิตได้โดย
ไม่สึกเพราะเหตุนั้น นับเป็นผู้กล้า (เผชิญภัยที่ต้องเจอแน่นอนเมื่อบวช)
และน่านับถือ

ความคิดเห็นที่ 8-22
ฐานาฐานะ, 16 สิงหาคม เวลา 15:02 น.

GravityOfLove, 24 นาทีที่แล้ว
              (ตอบ) คำถามในจาตุมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3508&Z=3666
7:31 AM 8/16/2013
...
              ตอบคำถามได้ดีครับ
              เห็นข้อ 4 กัปปิยะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามพุทธบัญญัติ เช่น
              น้ำปานะ ๘ ชนิด คือ ...
              นึกแปลกใจว่า พระไตรปิฎกสยามรัฐไม่ได้แสดงรายละเอียด
ทั้งอรรถกถาก็ไม่ได้แสดงไว้ จึงสันนิษฐานว่า น่าจะนำมาจากหมายเหตุ
ของฉบับมหาจุฬาฯ
              การบรรพชาที่หมดจด ทำได้ยาก.
              บิณบาต แก้ไขเป็น บิณฑบาต

ความคิดเห็นที่ 8-23
ฐานาฐานะ, 16 สิงหาคม เวลา 15:03 น.

หมายเหตุในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา ฯ
๑ อนุเคราะห์  ในที่นี้หมายถึงการอนุเคราะห์  ๒  อย่าง  คือ  (๑)  การอนุเคราะห์ด้วยอามิส  (๒)  การอนุเคราะห์
   ด้วยธรรม  (ม.ม.อ.  ๒/๑๕๙/๑๒๙)
๑ ดูเทียบ  สํ.ข.  (แปล)  ๑๗/๘๐/๑๒๖
๑ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน  ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ  (ม.ม.อ.  ๒/๑๖๐/๑๓๐)
๑ กัปปิยะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามพุทธบัญญัติ เช่น น้ำปานะ ๘ ชนิด คือ (๑) น้ำมะม่วง (๒) น้ำหว้า
   (๓) น้ำกล้วยมีเมล็ด (๔) น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (๕) น้ำมะทราง (๖) น้ำผลจันทน์หรือน้ำองุ่น (๗) น้ำเหง้าบัว
   (๘)  น้ำผลมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่ เภสัช ๕ ชนิด คือ (๑) เนยใส (๒) เนยข้น (๓) น้ำมัน (๔) น้ำผึ้ง (๕) น้ำอ้อย
   โภชนะ ๕ ชนิด คือ (๑) ข้าวสุก (๒) ขนมสด (๓) ข้าวตู (๔) ปลา (๕) เนื้อ รวมทั้งสิ่งที่เป็นยามกาลิก
   (สิ่งที่บริโภคได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง) สัตตาหกาลิก (สิ่งที่บริโภคได้ภายใน ๗ วัน) และยาวชีวิก (สิ่งที่บริโภคได้
   ตลอดชีวิต คือ เกลือ มูตร คูถ เถ้า ดิน) (ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๘-๒๕๖/๓๙๕-๔๐๙)
๒ อกัปปยะ หมายถึงสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมตามพุทธบัญญัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ
๑ กาล  หมายถึงเวลาตั้งแต่อรุณขึ้นถึงเที่ยงวัน  (สํ.ส.อ.  ๑/๔/๒๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่  ๓  ข้อ  ๑๑  (กันทรกสูตร)  หน้า  ๑๓  ในเล่มนี้
๑ ดูเทียบ  องฺ.จตุกฺก.  (แปล)  ๒๑/๑๒๒/๑๘๔-๑๘๖
๑ อนุเคราะห์  ในที่นี้หมายถึงการอนุเคราะห์  ๒  อย่าง  คือ  (๑)  การอนุเคราะห์ด้วยอามิส  (๒)  การอนุเคราะห์
   ด้วยธรรม  (ม.ม.อ.  ๒/๑๕๙/๑๒๙)
๑ ดูเทียบ  สํ.ข.  (แปล)  ๑๗/๘๐/๑๒๖
๑ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน  ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ  (ม.ม.อ.  ๒/๑๖๐/๑๓๐)
๑ กัปปิยะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามพุทธบัญญัติ เช่น น้ำปานะ ๘ ชนิด คือ (๑) น้ำมะม่วง (๒) น้ำหว้า
   (๓) น้ำกล้วยมีเมล็ด (๔) น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (๕) น้ำมะทราง (๖) น้ำผลจันทน์หรือน้ำองุ่น (๗) น้ำเหง้าบัว
   (๘)  น้ำผลมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่ เภสัช ๕ ชนิด คือ (๑) เนยใส (๒) เนยข้น (๓) น้ำมัน (๔) น้ำผึ้ง (๕) น้ำอ้อย
   โภชนะ ๕ ชนิด คือ (๑) ข้าวสุก (๒) ขนมสด (๓) ข้าวตู (๔) ปลา (๕) เนื้อ รวมทั้งสิ่งที่เป็นยามกาลิก
   (สิ่งที่บริโภคได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง) สัตตาหกาลิก (สิ่งที่บริโภคได้ภายใน ๗ วัน) และยาวชีวิก (สิ่งที่บริโภคได้
   ตลอดชีวิต คือ เกลือ มูตร คูถ เถ้า ดิน) (ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๘-๒๕๖/๓๙๕-๔๐๙)
๒ อกัปปยะ หมายถึงสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมตามพุทธบัญญัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ
๑ กาล  หมายถึงเวลาตั้งแต่อรุณขึ้นถึงเที่ยงวัน  (สํ.ส.อ.  ๑/๔/๒๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่  ๓  ข้อ  ๑๑  (กันทรกสูตร)  หน้า  ๑๓  ในเล่มนี้
๑ ดูเทียบ  องฺ.จตุกฺก.  (แปล)  ๒๑/๑๒๒/๑๘๔-๑๘๖

ความคิดเห็นที่ 8-24
ฐานาฐานะ, 16 สิงหาคม เวลา 15:04 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จาตุมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3508&Z=3666

              พระสูตรหลักถัดไป คือนฬกปานสูตร [พระสูตรที่ 18].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              นฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=195

              โคลิสสานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3865&Z=3980
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=203

              กีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

ความคิดเห็นที่ 8-25
GravityOfLove, 16 สิงหาคม เวลา 15:24 น.

              นฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864

             ๑. ภัททิยะ
             1. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก
             2. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภัททิยศากยะ
             ท่านพระภัททิยะ ในพระสูตรนี้หมายถึงท่านในข้อ ๒ ใช่ไหมคะ
             ๒. กังขาเรวตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี
             ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต
             ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เรวต
             ท่านพระเรวัตตะในพระสูตรนี้หมายถึงท่านพระกังขาเรวตะหรือเปล่าคะ
             ๓. ปาฏิหาริยกัป แปลว่าอะไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-26
ฐานาฐานะ, 16 สิงหาคม เวลา 17:10 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
              นฬกปานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864

              ๑. ภัททิยะ
              1. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก
              2. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภัททิยศากยะ
              ท่านพระภัททิยะ ในพระสูตรนี้หมายถึงท่านในข้อ ๒ ใช่ไหมคะ
              ตอบว่า น่าจะใช่ครับ
              เรื่องคน ๗ คน
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=07&A=3142&Z=3176
              คำว่า ภัททิยะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภัททิยะ

              ๒. กังขาเรวตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี
              ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต
              ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เรวต
              ท่านพระเรวัตตะในพระสูตรนี้หมายถึงท่านพระกังขาเรวตะหรือเปล่าคะ
              ตอบว่า ไม่แน่ใจครับ พระเรวัตตะมี 2 ท่านที่มีชื่อเสียงในครั้งพุทธกาล.
              คำว่า เรว
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เรว
              คำว่า มหาสาวก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหาสาวก

              ๓. ปาฏิหาริยกัป แปลว่าอะไรคะ
              ขอบพระคุณค่ะ
3:23 PM 8/16/2013
              ตอบว่า ไม่ทราบเหมือนกัน แต่อาจจะแปลว่า ปาฏิหาริยประจำกัป (นี้)

ความคิดเห็นที่ 8-27
GravityOfLove, 16 สิงหาคม เวลา 17:33 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-28
GravityOfLove, 16 สิงหาคม เวลา 18:03 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
             ๘. นฬกปานสูตร เรื่องกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=3667&Z=3864&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว เขตบ้านนฬกปานะ
ในโกศลชนบท
             สมัยนั้น กุลบุตรมีชื่อเสียงมากด้วยกัน คือ
             ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ
ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระเรวัตตะ ท่านพระอานนท์
             และกุลบุตรที่มีชื่อเสียงอื่นๆ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาค
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุรุทธะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภัททิยศากยะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กิมพิละ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภัคคุ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โกณฑัญญะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อานนท์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อสีติมหาสาวก

             พระผู้มีพระภาคมีหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง ทรงปรารภ
กุลบุตรทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
             กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะพระองค์
เหล่านั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ
             ตรัสถามถึง ๓ ครั้ง แต่ภิกษุเหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่
             จึงได้ทรงพระดำริว่า
             อย่ากระนั้นเลย เราพึงถามกุลบุตรเหล่านั้นเองเถิด
             ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกท่านพระอนุรุทธ์มาว่า
             ดูกรอนุรุทธะ ภัททิยะ กิมพิละ ภัคคุ โกณฑัญญะ เรวัตตะ และอานนท์
เธอทั้งหลายยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ?
             ท่านพระอนุรุทธะเป็นต้นกราบทูลว่า
             พวกตนยังยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ดีแล้วที่ยังยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์
             เป็นการสมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
             เธอทั้งหลายประกอบด้วยปฐมวัย กำลังเจริญเป็นหนุ่มแน่น
ผมดำสนิท ควรบริโภคกาม แต่ก็ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
             เธอทั้งหลายไม่ใช่ผู้ทำความผิดต่อพระราชา ไม่ใช่ผู้ถูกโจรคอยตามจับ
ไม่ใช่ผู้อันหนี้บีบคั้น ไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเพราะภัย และมิใช่ผู้ถูกอาชีพบีบคั้นแล้ว
             แต่เธอทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะศรัทธา
ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า
           เราเป็นผู้อันชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย)
โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย)
โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ท่วมทับแล้ว (ครอบงำ)
             เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว (ตกอยู่ในกองทุกข์) เป็นผู้อันทุกข์
ท่วมทับแล้ว (มีทุกข์ประดังเข้ามา)
             ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม

กิจของกุลบุตรที่บวชแล้วพึงทำ
             บุคคลที่ยังไม่เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ยังไม่บรรลุปีติและสุข (คือปฐมฌานและทุติยฌาน) หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้น
             แม้อภิชฌา (โลภอยากได้ของคนอื่น) พยาบาท ถีนมิทธะ
(ความหดหู่และเซื่องซึม) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อุทธัจจกุกกุจจะ
(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) อรติ (ความไม่ยินดีในกุศลธรรม) ความเป็นผู้เกียจคร้าน
             ย่อมครอบงำจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ได้ (ธรรมลามก ๗ อย่าง)   
             บุคคลนั้นก็ไม่สามารถสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นได้
             ส่วนบุคคลใดเป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นได้
             แม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา อุทธัจจกุกกุจจะ อรติ
แม้ความเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ได้
             บุคคลนั้นก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

พระตถาคตกับอาสวะ
             ตรัสถามว่า ได้คิดในพระองค์อย่างนี้หรือไม่ว่า
             พระตถาคตยังละไม่ได้ซึ่งอาสวะที่นำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่
เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิดความแก่
และความตายต่อไป
             ดังนั้นพระตถาคตจึงทรงพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง
             พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง
             พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง
             พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง
             พระอนุรุทธะทูลตอบว่า พวกตนไม่ได้คิดเช่นนั้น พวกตนคิดตรงกันข้าม
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ดีละๆ อนุรุทธะทั้งหลาย อาสวะเหล่าใดนำมาซึ่งความเศร้าหมอง ฯลฯ
อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา
              เพราะฉะนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง
พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง
พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อปัสเสนธรรม_4

ทรงพยากรณ์สาวกที่ล่วงลับเพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ/ภิกษุณี/อุบาสก/อุบาสิกา
             ตรัสถามว่า
             ตถาคตเห็นอำนาจประโยชน์อะไรอยู่ จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลาย
ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลายว่า
             สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น
             ท่านพระอนุรุทธะทูลว่า
             ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล
มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบแผน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งพาอาศัย
             ขอพระองค์ทรงแสดงเนื้อความแห่งภาษิตให้แจ่มแจ้งแก่พวกตน
แล้วพวกตนจะทรงจำไว้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า
             สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้
เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะ
และความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้
             กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่
             กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้นบ้าง ข้อนั้นจะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน
             ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า
             ๑. ภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
             ดำรงอยู่ในอรหัตตผล
             ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า
             ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง (ผู้มีศีลอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงศีลที่เป็น
ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ)
             ท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง (ผู้มีธรรมอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึง
ธรรมอันเป็นไปเพื่อสมาธิ)
             ท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง
             ท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง
             ท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง
             ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ (การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้)
จาคะ (การเผื่อแผ่เสียสละ) และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความ
เป็นอย่างนั้นบ้าง
             ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุแม้ด้วยประการฉะนี้
             คำว่า วิหารธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิหารธรรม

             ๒. ภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
             เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้นมีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป (เป็นพระอนาคามี)
             ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเอง ... แม้ด้วยประการฉะนี้

             ๓. ภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
             เป็นพระสกทาคามี จักมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วทำที่สุดทุกข์ได้
เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง
             ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเอง ... แม้ด้วยประการฉะนี้

             ๔. ภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
             เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป
             ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า
             ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง
ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง
ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง
             ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น
จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง
             ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุแม้ด้วยประการฉะนี้
             ความอยู่สำราญของภิกษุณี ตรัสทำนองเดียวกันนี้
             ส่วนความอยู่สำราญของอุบาสกอุบาสิกา ก็ตรัสทำนองเดียวกัน
แต่ไม่มีที่เป็นพระอรหันต์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อารยวัฒิ_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรค_4

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ท่านพระอนุรุทธะยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #8-29]

ย้ายไปที่



Create Date : 12 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 10:52:42 น.
Counter : 835 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
12 ธันวาคม 2556
All Blog