แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
18 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 

ค่าลดหย่อนอุปการะบิดามารดา

สวัสดีครับ

อีกไม่กี่เดือนเราก็จะเข้าสู่ฤดูยื่นภาษีกันแล้วนะครับ เตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ต้องรีบร้อนในช่วงโค้งสุดท้ายนะครับ และวันนี้ผมก็เอาสาระดีๆเกี่ยวกับภาษีมาบอกเล่ากันเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านทุกคนนะครับ วันนี้ผมขอหยิบเอารายละเอียดของค่าลดหย่อนอุปการะบิดามารดาหรือค่าเลี้ยงดูพ่อแม่มาฝากกันครับ

สำหรับค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ต้องมีเกณฑ์ดังนี้ครับ

  1. พ่อแม่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท นั่นหมายถึงว่าสำหรับปีภาษี 2554 นี้ พ่อแม่ต้องเกิดในปี 2494 หรือก่อนหน้าครับ
  2. ผู้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมาย ในกรณีนี้บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนนะครับ
  3. สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท และลดหย่อนได้สำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 ครับ นั่นคือหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเองได้สูงสุด 60,000 บาท และพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกสูงสุด 60,000 บาท รวมเป็นหักลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาทครับ ส่วนใครที่มีพี่น้อง ก็ต้องไปตกลงกันก่อนนะครับว่าใครจะมีสิทธิ์ในค่าลดหย่อนตรงนี้ เพราะลูกๆ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ซ้อนกันได้ครับ แต่ในกรณีที่พ่อและแม่แยกกันให้สิทธิ์ ก็จะมีบุตรสองคนได้สิทธิ์กันไปคนละ 30,000 บาทครับ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจนะครับเรามาดูตัวอย่างกัน

ปี 2553 สมชายและสมหญิงให้สิทธิ์อุปการะแก่สมศักดิ์(ลูกคนโต) จึงทำให้สมศรี (ลูกคนเล็ก) ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนดังกล่าวซ้ำได้ทั้งนี้สมชายและสมหญิงสามารถเปลี่ยนสิทธิ์ให้แก่สมศรีแทนในปีถัดมาหรือจะแยกกันให้สิทธิ์กับลูกทั้งสองก็ได้เช่น ให้สิทธิเลี้ยงดูพ่อแก่สมศักดิ์ (ลดหย่อน 30,000 บาท)และให้สิทธิ์เลี้ยงดูแม่แก่สมศรี (ลดหย่อน 30,000 บาท) ก็ได้เช่นกัน

ต่อมานายสมศักดิ์แต่งงานและจดทะเบียนสมรสกับสมหมาย ในปีแรกต่างฝ่ายต่างแยกหักค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเองเนื่องจากความเป็นสามีภรรยายังไม่ครบปีภาษีในปีถัดไปเมื่อความเป็นสามีภรรยามีอายุครบปีภาษี หากสมหมายแยกยื่นภาษีสามารถลดหย่อนค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเองได้ แต่ถ้าหากยื่นร่วมกับสมศักดิ์ หรือในกรณีที่สมหมายไม่มีรายได้สมศักดิ์จะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของสมหมายได้ 60,000 บาท (คนละ30,000) และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนพ่อแม่ของสมศักดิ์แล้ว ก็จะลดหย่อนได้ 120,000บาทครับ

ทั้งนี้ในกรณีที่พ่อแม่เป็นคนต่างด้าวเราต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของพ่อแม่ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยครับ

และนี่ก็เป็นหลักเกณฑ์การใช้สิทธิลดหย่อนค่าเลี้ยงดูพ่อแม่นะครับใครที่กำลังกรอก ภงด. ก็อย่าลืมใช้สิทธินี้กันนะครับส่วนใครที่กรอกและยื่นไปแล้วแต่ลืมสิทธ์ข้อนี้ไปก็ไม่ต้องเป็นกังวลครับเพราะว่าสามารถยื่นแบบเพิ่มได้ครับ

ท้ายนี้หากใครมีข้อสงสัยทุกเรื่องการเงิน สามารถส่งอีเมล์มาปรึกษา K-Expert ได้ที่ k-expert@kasikornbank.com หรือเข้าไปอ่านสาระดีๆ ได้ที่ www.askkbank.com/k-expert และสำหรับผู้ที่ชอบการรับข้อมูลทาง Twitter สามารถ follow@ KBank_Expert หรือเข้าไปที่ //twitter.com/KBank_Expert เพื่อรับข่าวสารการเงินการลงทุน และเกรดการเงินง่ายๆสำหรับชีวิตประจำวันครับ

Credit: ขอบคุณภาพประกอบจากwww.csie.ndhu.edu.tw ครับ




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2555
0 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2555 12:01:36 น.
Counter : 2267 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.