แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
28 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
แก้สมการ “ชีวิตติดลบ”

สวัสดีครับ

“ชีวิตติดลบ” เป็นคำที่ผมเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากจะเข้าใกล้หรือเกี่ยวดองด้วยสักเท่าไรนักโดยเฉพาะเมื่อชีวิตที่ติดลบนั้นหมายถึงชีวิตด้าน “การเงิน” แต่ถึงอย่างนั้น ด้วยปัจจัยอะไรหลายๆ อย่างในปัจจุบันบางครั้งเราก็เผลอจนกลายเป็นว่าชีวิตเราติดลบไปโดยไม่รู้ตัวบางคนรู้สึกตัวไวและมีสติ ก็สามารถรับมือได้ทัน แต่บางคนรู้สึกตัวช้าและขาดสติก็ทำให้ท้อและยอมแพ้ไปในที่สุด สำหรับบล็อกวันนี้ผมขอนำเสนอแนวทางแก้สมการชีวิตติดลบเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านที่กำลังหาทางออกให้กับชีวิตการเงินของตัวเองครับ

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าใครบ้างที่เรียกได้ว่าเป็นผู้มีชีวิตติดลบ ซึ่งในการวางแผนการเงินเราสามารถสำรวจตัวเองได้จากการเปลี่ยบเทียบทรัพย์สินและหนี้สินของเราโดยสมมติให้ทั้งสองสิ่งนี้เป็นสมการ แล้วเปรียบเทียบกัน ดังนี้

สมการที่ 1 : สมการทรัพย์สิน

สำหรับผู้ที่มีสุขภาพทางการเงินแข็งแรงดีต้องมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินยิ่งมีส่วนต่างระหว่างทรัพย์กับหนี้มากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีความมั่งคั่งมากเท่านั้นในทางตรงกันข้าม หากมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน นั่นหมายถึงว่าเรากำลังก้าวไปสู่ “ชีวิตติดลบ” แล้วละครับ

สมการที่ 2 : สมการรายรับ-รายจ่าย

สำหรับผู้ที่มีสุขภาพการเงินดีนั้นต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ในทางตรงกันข้าม คนที่จะมีปัญหาสุขภาพการเงินก็คือคนที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ หรือเรียกง่ายๆ ว่า “กระเป๋าฉีก” โดยทั่วไปแล้วมันก็เป็นไปได้ที่คนเราจะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับอยู่บ้างเป็นครั้งเป็นคราวซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่าวิตกกังวลมากนัก แต่เมื่อไรที่อาการกระเป๋าฉีกนี้เกิดขึ้นประจำจนกลายเป็นเรื่องปกติก็ต้องขอบอกกันตรงๆ เลยว่า “ชีวิตติดลบ” กำลังมาเยือนแล้วละครับ

เมื่อนำสองสมการนี้มาวิเคราะห์ร่วมกันจะสามารถแบ่งสุขภาพการเงินได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

ทรัพย์สิน > หนี้สิน

ทรัพย์สิน < หนี้สิน

รายรับ > รายจ่าย

A

C

รายรับ < รายจ่าย

B

D

ลองประเมินตัวเองกันดูนะครับว่าคุณอยู่ในช่องไหนA, B, C หรือD

เมื่อประเมินตัวเองเสร็จแล้วก็มาดูสุขภาพทางการเงินและคำแนะนำสำหรับแต่ละช่องกันเลยครับ

กลุ่ม A หมายถึง คุณมีสุขภาพการเงินที่แข็งแรงดี ไม่มีอะไรน่ากังวลเพราะคุณมีทรัพย์มากกว่าหนี้ และรับมากกว่าจ่ายเรียกได้ว่าห่างไกลภาวะติดลบอยู่ไกลโขเลยละครับ สำหรับคนกลุ่มนี้ผมขอแนะนำให้นำเงินส่วนที่เหลือจากรายจ่าย (รวมถึงการผ่อนชำระหนี้ต่างๆ)นั่นไปวางแผนการเงินในด้านอื่นๆ เช่น การลงทุนต่อยอด การคุ้มครองความเสี่ยงหรือจะนำไปวางแผนเพื่อเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิตก็ยังได้ครับ

**ข้อมูลและเครื่องมือที่แนะนำสำหรับคนกลุ่มA

1. K-Expert Guidebook “อยากลงทุนเพิ่มความมั่งคั่ง”

//k-expert.askkbank.com/Article/Pages/SmartInvestment_Guidebook.aspx

2. โปรแกรมวางแผนลงทุนด้วยตัวเอง

//k-expert.askkbank.com/Pages/CalToolINV.aspx?NewPlan=true

กลุ่ม B หมายถึง คุณมีสุขภาพการเงินที่ยังไม่น่าเป็นกังวล แต่ก็ควรเฝ้าระวังเพราะมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะ “ติดลบ” ครับด้วยเหตุที่ว่า ถึงแม้ว่าคุณจะมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินแต่ก็เป็นไปได้ว่าทรัพย์สินของคุณนั้นจะร่อยหรอลงไปตามรายจ่ายที่สูงกว่ารายรับครับคำแนะนำสำหรับคนกลุ่มนี้คือ คุณควรระมัดระวังในการใช้จ่าย ห้ามก่อหนี้เพิ่มจนเกินตัวเพราะจะยิ่งเป็นการเร่งให้ทรัพย์สินของคุณหมดลงเร็วขึ้นนอกจากนี้ คุณควรเริ่มทำบันทึกรับ-จ่าย เพื่อช่วยในการตัดค่าใช้จ่ายที่ตัดได้และเป็นการเสริมสร้างวินัยทางการเงินอีกด้วยครับ

**ข้อมูลและเครื่องมือที่แนะนำสำหรับคนกลุ่มB

1. K-Expert Guidebook “อยากมีเงินเก็บ”

//k-expert.askkbank.com/Article/Pages/StartingWork_Guidebook.aspx

2. โปรแกรมบันทึกรับ-จ่าย

//k-expert.askkbank.com/Article/Pages/K-ExpertSavingMemo_EDM.aspx

สำหรับคน กลุ่ม C นี้ก็ยังไม่น่ากังวลมากนักเพราะสุขภาพการเงินของคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มักจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดูได้จากการที่มีรายรับมากกว่ารายจ่ายดังนั้น ถึงจะมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ก็ยังพอมีเงินเหลือจากรายจ่ายนำมาผ่อนหนี้ได้คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้จะอยู่ในช่วงวัยก่อร่างสร้างตัว วัยทำงาน อาจมีภาระผ่อนรถผ่อนบ้าน หรือกำลังสร้าง/ขยายธุรกิจ จึงทำให้มีภาระหนี้สินค่อนข้างสูงคำแนะนำสำหรับคนในกลุ่มนี้คือ หากมีหนี้ระยะสั้น ควรปิดหนี้ระยะสั้นก่อน เช่นหนี้บัตรเครดิตและหนี้บัตรกดเงินสด ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อลดภาระดอกเบี้ยส่วนหนี้ระยะยาวก็ควรรักษาวินัยในการผ่อนชำระให้ดีให้ตรงเวลา เท่านี้ภาระหนี้สินก็จะค่อยๆ ลดลงครับ

**ข้อมูลและเครื่องมือที่แนะนำสำหรับคนกลุ่มC

1. K-Expert Guidebook “อยากปลดหนี้”

//k-expert.askkbank.com/Article/Pages/DebtManagement_Guidebook.aspx

2.ไดอารี่ทรัพย์สิน

//k-expert.askkbank.com/Article/Pages/K-ExpertWealthDiary_EDM.aspx

สุดท้าย กลุ่ม D คือกลุ่มที่อยู่ในภาวะ“ชีวิตติดลบ” ไปเรียบร้อยแล้วดูได้จากการที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ อีกทั้งยังมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแต่ผมขอให้กำลังใจคนในกลุ่มนี้นะครับ อย่าเพิ่งท้อไป ผมมีคำแนะนำให้ครับ ก่อนอื่นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุดคือการบริหารรายรับ-จ่ายอย่างเข้มงวดเพื่อลดรายจ่ายและเพื่อให้มีเงินเหลือเยอะขึ้น เมื่อทำได้ก็จะมีเงินไปผ่อนชำระหนี้ ทั้งนี้ คุณอาจหาแหล่งรายได้เพิ่มแต่ต้องไม่ใช่แหล่งรายได้ที่ก่อหนี้เพิ่มนะครับ การแก้สมการชีวิตติดลบของคนในกลุ่มD อาจกินเวลาค่อนข้างนาน แต่ถ้าคุณมีวินัยมีความอดทนและตั้งใจ รับรองเลยว่าคุณจะเห็นผลตามลำดับ รายจ่ายคุณลดลงรายรับเพิ่มขึ้น เงินเหลือเพิ่มขึ้น หนี้ลดลง และในที่สุดคุณก็จะหลุดพ้นจากภาวะติดลบครับ

**ข้อมูลและเครื่องมือที่แนะนำสำหรับคนกลุ่มD

1. K-Expert Guidebook “อยากปลดหนี้”

//k-expert.askkbank.com/Article/Pages/DebtManagement_Guidebook.aspx

2.โปรแกรมบันทึกรับ-จ่าย

//k-expert.askkbank.com/Article/Pages/K-ExpertSavingMemo_EDM.aspx

สรุปคือไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มสุขภาพการเงินกลุ่มใดสิ่งสำคัญคือวินัยทางการเงินที่เราปลูกฝังและเสริมสร้างให้กับตนเองครับ จำกันง่ายๆว่า ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ไม่ก่อหนี้ เพียงเท่านี้ เราก็จะห่างไกลจากภาวะชีวิตติดลบ แล้วละครับ

K-Expert ทุกความต้องการตอบได้ช่วยได้

Email ปรึกษาทุกเรื่องการเงินอย่างเป็นส่วนตัว: k-expert@kasikornbank.com

Website รวมบทความและเครื่องมือคำนวณทางการเงิน: www.askkbank.com/k-expert

Credit: ภาพประกอบจาก step1.us




Create Date : 28 มิถุนายน 2556
Last Update : 28 มิถุนายน 2556 11:57:26 น. 0 comments
Counter : 1414 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.