แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
กลยุทธ์การวางแผนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน

สวัสดีครับ

ถ้าหากจะพูดถึงสายอาชีพที่เสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วยที่สุดก็คงไม่พ้น “มนุษย์เงินเดือน” นะครับ มิหนำซ้ำยังมีทางเลือกในการวางแผนภาษีค่อนข้างน้อยดังนั้นวันนี้ผมเลยอยากหยิบยกกลยุทธ์การวางแผนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาฝากกันครับ

เพิ่มค่าลดหย่อนที่ไม่ใช่ตัวเงิน

  1. ค่าลดหย่อนบิดามารดา

· หากพ่อแม่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ต่ำกว่า 30,000บาทต่อคน/ปี เราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ได้คนละ 30,000 บาท(ทั้งพ่อและแม่รวมกัน 60,000 บาท)

· หากมีพี่น้องหลายคนให้ตกลงกันก่อนว่าใครจะได้ใช้สิทธิ์ เพราะลูกๆ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ซ้ำได้

· ผู้ใช้สิทธิลดหย่อนต้องมีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากพ่อแม่ยื่นประกอบการลดหย่อน(แบบ ล.ย.03)

  1. ค่าลดหย่อนคู่สมรส (จดทะเบียนสมรส)

· ในกรณีที่คู่สมรสร่วมยื่น ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีเงินได้และมีความเป็นสามี-ภรรยากันเต็มปีภาษีควรจะนำมารวมคำนวณภาษีกับฝ่ายที่มีเงินได้

  1. ค่าลดหย่อนบุตร

· ใช้สิทธิลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้ 15,000 บาทต่อคนโดยที่ลูกมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 20 ปีในปีภาษีนั้น

· หากลูกอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับ ปวส.ขึ้นไปเท่านั้น ถึงจะใช้สิทธิ์ได้

· หากลูกอายุเกิน 25ต้องเป็นคนที่ศาลสั่งว่าเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถเท่านั้นพ่อแม่จึงสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้

· ในกรณีที่ลูกศึกษาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ระดับอนุบาล-ปริญญาเอก สามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท (รวมเป็น17,000 บาท) โดยสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน

· ทั้งสามีและภริยาสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เต็มทั้งคู่ไม่ต้องหารแบ่งสิทธิ

  1. ค่าลดหย่อนผู้พิการ ในกรณีที่มีภาระเลี้ยงดูผู้พิการ

· สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

· หากผู้พิการที่เลี้ยงดูเป็นพ่อแม่หรือลูกของเรา ก็สามารถใช้ร่วมกับค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่และค่าเลี้ยงดูบุตรได้

เลือกรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

  • สำหรับผู้มีเงินได้และมีอายุ 65 ปีขึ้นไปในปีภาษีนั้นๆ จะได้รับค่ายกเว้นเงินได้เพิ่มเติมอีก 190,000 บาท
  • เงินฝากออมทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับดอกเบี้ยที่ไม่เกิน 20,000 บาท
  • เงินฝากสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ เงินฝากประจำที่มีระยะฝากตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และมีดอกเบี้ยไม่เกิน 30,000 บาท
  • เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉพาะในส่วนของหุ้นทุน (ไม่รวม หุ้นกู้ และพันธบัตรฯ)

เลือกรายได้ที่เสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า

  • ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว 15% ถือเป็นภาษีขั้นสุดท้าย กล่าวคือ จะเลือกมาคำนวณรวมเป็นเงินได้หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น หากมีฐานเงินเดือนสุทธิต่ำกว่าหรือเท่ากับ 500,000 บาทต่อปี (อัตราภาษีไม่เกิน 10%) ควรจะนำดอกเบี้ยดังกล่าวมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี จะได้ภาษีคืน
  • เงินปันผลที่จ่ายจากการถือหุ้นในบริษัท ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว 10% และถือเป็นภาษีขั้นสุดท้ายเช่นกัน นั่นคือ จะเลือกมารวมคำนวณหรือไม่ก็ได้ ปัจจัยที่ใช้พิจารณาคือกำไรที่จ่ายในอัตราภาษีนิติบุคคลเท่าไร เทียบกับอัตราภาษีบุคคลธรรมดา ยิ่งกว้างมากเท่าไร เราก็ควรจะนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี จะได้ภาษีคืน

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามีตัวช่วยลดหย่อนมากมายที่อยู่รอบตัวเราซึ่งมีหลายคนที่มองข้ามหรือคิดไม่ถึง ทำให้เสียสิทธิประโยชน์ไปเปล่าๆ เช่นค่าเลี้ยงดูครอบครัว หรือภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ดังนั้นหากเราวางแผนภาษีดีๆก็จะช่วยอุดช่องโหว่ของรายจ่ายภาษีอยู่ไม่น้อยเลยล่ะครับ

เมื่อรู้กันอย่างนี้แล้วใครยังไม่ยื่นภาษีก็ควรเตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วยื่นภายใน 1 เมษายน 56นี้สำหรับการยื่นแบบปกติ และ 9 เมษายน 56 สำหระบการยื่นแบบออนไลน์ครับ

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษีหรือการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีสามารถติดต่อ K-Expert ได้ตามช่องทางดังนี้ครับ

Email ปรึกษาเชิงลึกอย่างเป็นส่วนตัว: k-expert@kasikornbank.com

Website รวมบทความและเครื่องมือคำนวณ: www.askkbank.com/k-expert

Twitter @KBank_Expert: (//twitter.com/KBank_Expert)

Credit: ขอบคุณภาพประกอบจาก Purtzki.com




Create Date : 22 มีนาคม 2556
Last Update : 22 มีนาคม 2556 11:55:28 น. 0 comments
Counter : 1701 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.