แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
เสริมสวัสดิการให้ลูกจ้างด้วย ประกันภัยกลุ่ม


สวัสดีครับ 

โดยทั่วไป บริษัทต่างๆ จะมีสวัสดิการให้กับพนักงานเช่น วันหยุดวันลา รถรับ-ส่งพนักงาน ค่ารักษาพยาบาลหรือการให้ลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้มีสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่ผมอยากแนะนำนั่นคือ การทำประกันภัยกลุ่ม ซึ่งนายจ้างสามารถทำให้ลูกจ้างได้ทุกคนเพื่อเป็นการเสริมคุณภาพชีวิตให้ลูกจ้างครับ

ประกันภัยกลุ่มคืออะไร?

ประกันภัยกลุ่มเป็นการรับประกันภัยบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวโดยมีนายจ้างเป็นเจ้าของกรมธรรม์ และมีลูกจ้างเป็นผู้เอาประกันภัยการออกกรมธรรม์จะออกเพียงฉบับเดียวให้กับนายจ้าง เรียกว่า “กรมธรรม์หลัก”ส่วนลูกจ้างจะได้รับเอกสาร เรียกว่า “ใบรับรอง”ไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและอายุของผู้เอาประกันภัยจำนวนเงินเอาประกันภัย และชื่อผู้รับประโยชน์ โดยรูปแบบประกันภัยกลุ่มที่นายจ้างสามารถทำให้ลูกจ้างได้นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกันเช่น

ประกันชีวิตกลุ่ม ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณีทั้งเจ็บป่วยและบาดเจ็บทั้งในและนอกเวลาทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลกโดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินประกันให้ทายาทหรือผู้รับประโยชน์ของลูกจ้าง

ประกันอุบัติเหตุกลุ่ม ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ (มือ เท้า สายตา) จากอุบัติเหตุบางบริษัทอาจมีเงินชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาลอันเกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลให้ด้วย

ประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงกลุ่ม ให้ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุโดยทั่วไปบริษัทประกันจะคุ้มครองเมื่อตกเป็นผู้ทุพพลภาพต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 180 วัน

ประกันสุขภาพกลุ่ม ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาลอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยโดยมีทั้งกรณีการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

ประกันภัยกลุ่มมีหลากหลายความคุ้มครองซึ่งนายจ้างสามารถเลือกได้ว่าต้องการซื้อความคุ้มครองแบบใดบ้างให้กับลูกจ้างหรือจะทำประกันชีวิตกลุ่มเป็นสัญญาหลัก แล้วเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุ ทุพพลภาพหรือสุขภาพ เป็นสัญญาเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้กับลูกจ้างหรือเลือกซื้อประกันภัยกลุ่มแบบที่รวมความคุ้มครองหลายๆ ด้านเข้าไว้ด้วยกันก็ได้นอกจากนี้ นายจ้างยังสามารถทำประกันภัยกลุ่มแบบที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างคนเดียวหรือคุ้มครองคู่สมรสและบุตรของลูกจ้างด้วย

การทำประกันภัยกลุ่มซึ่งได้รับความนิยมจะเป็นการคุ้มครองระยะเวลา1 ปี โดยการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย สามารถกำหนดได้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่นกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยเท่ากันทั้งหมดทุกคน กำหนดตามตำแหน่งงานกำหนดตามช่วงเงินเดือนหรือเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือน หรือกำหนดตามอายุงาน สำหรับการรับทำประกันนั้นบริษัทประกันจะพิจารณาความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมดด้วยอัตราเฉลี่ยไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกันภัยแล้วคำนวณเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยเพียงอัตราเดียวเพื่อใช้กับบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆและอัตราเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มดังกล่าวจะมีการพิจารณาใหม่ทุกๆ รอบปีกรมธรรม์โดยปกติจะรับประกันเฉพาะลูกจ้างประจำที่ทำงานเต็มเวลา ไม่รวมถึงลูกจ้างชั่วคราวและมักไม่มีการตรวจสุขภาพเว้นแต่ผู้ที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงอาจต้องมีการตรวจสุขภาพขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกัน

นอกจากนี้ การทำประกันภัยกลุ่มขนาดของกลุ่มเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณารับทำประกันโดยมีการกำหนดจำนวนลูกจ้างขอเอาประกันภัยขั้นต่ำไว้ เช่น 5 คน หรือ 10 คน เป็นต้น ทั้งนี้บางบริษัทประกันอาจมีส่วนลดเบี้ยประกันภัยให้หากมีจำนวนลูกจ้างขอเอาประกันภัยจำนวนมากสำหรับการชำระเบี้ยประกันภัยสามารถจ่ายชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนโดยนายจ้างจ่ายฝ่ายเดียว หรือจ่ายร่วมกันระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างโดยมีเงื่อนไขดังนี้

นายจ้างชำระเบี้ยประกันภัยฝ่ายเดียว ต้องมีจำนวนลูกจ้าง หรือสมาชิกเข้าร่วมรับความคุ้มครองร้อยละ 100ของผู้มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง

นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชำระเบี้ยประกันภัย ต้องมีจำนวนลูกจ้าง หรือสมาชิกเข้าร่วมรับความคุ้มครองไม่น้อยกว่าร้อยละ75 ของจำนวนผู้มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง

ได้อะไรเมื่อทำประกันภัยกลุ่ม?

การทำประกันภัยกลุ่มเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้างโดยสรุปได้ดังตารางนี้

ประโยชน์ต่อนายจ้าง

ประโยชน์ต่อลูกจ้าง

สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กร การมีสวัสดิการที่ดีแสดงถึงความเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับลูกจ้าง เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

ต้นทุนต่ำ ประกันภัยกลุ่มมีต้นทุนต่ำ แต่ลูกจ้างได้รับผลประโยชน์สูงเมื่อเทียบกับการทำประกันรายบุคคล และช่วยลดการเรียกร้องเงินช่วยเหลือ เมื่อลูกจ้างเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ

ช่วยวางแผนการเงิน องค์กรหรือนายจ้างสามารถวางแผนทางการเงินได้ล่วงหน้า เพราะการทำประกันภัยกลุ่มจะมีอัตราเบี้ยประกันที่แน่นอน ทำให้คาดการณ์ได้ว่าแต่ละปีต้องเสียต้นทุนในส่วนนี้เท่าไร

ช่วยประหยัดภาษี การทำประกันภัยกลุ่มช่วยลดหย่อนภาษี เพราะสามารถนำค่าเบี้ยประกันภัยมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนคำนวณภาษีได้

สร้างหลักประกัน การได้รับความคุ้มครองจากประกัน ทำให้รู้สึกว่ามีหลักประกันที่มั่นคง และมีความสุขในการทำงานมากขึ้น

ลดภาระค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ก็ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีประกันเข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

คุณภาพชีวิตดีขึ้น หากต้องออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเอง หลายคนอาจเลือกรอให้หายป่วยเองมากกว่าหาหมอเพื่อรักษาให้หาย แต่การทำประกันจะช่วยให้ลูกจ้างเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ ก่อนอาการเจ็บป่วยจะรุนแรงขึ้น รวมถึงช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคร้ายแรง

ครอบครัวอุ่นใจ หากลูกจ้างเกิดเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ ครอบครัวจะได้รับเงินชดเชย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

และนี่ก็คือเรื่องราวของประกันภัยกลุ่มที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆที่กำลังทำธุรกิจนำไปเสริมเป็นสวัสดิการให้กับน้องๆ ในบริษัทหรือในร้านดูนะครับเพราะผลประโยชน์ที่ตามมามันคุ้มค่าอย่างแน่นอนทั้งนี้หากใครมีข้อสงสัยเรื่องการทำประกันภัยหมู่ ปรึกษา K-Expert ได้ครับ(เราให้คำปรึกษาทุกเรื่องการเงินครับ) โดยผ่านช่องทางดังนี้

Email ปรึกษาทุกเรื่องการเงินอย่างเป็นส่วนตัว: k-expert@kasikornbank.com

Website รวมบทความและเครื่องมือคำนวณทางการเงิน: www.askkbank.com/k-expert

บริการ K-Expert สะดวกสบาย โทรปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง : 0 2888 8888 กด 0 กด9

Twitter@KBank_Expert: //twitter.com/KBank_Expert




Create Date : 07 มิถุนายน 2556
Last Update : 7 มิถุนายน 2556 16:53:19 น. 0 comments
Counter : 4615 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.