วงในแนะรฟท.ให้เอกชนหลายรายเข้าร่วมพัฒนามักกะสันคอมเพล็กซ์
 

AREA แนะมักกะสันคอมเพล็กซ์ ควรเป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อการพาณิชย์โดยให้ภาคเอกชนจำนวนหลายรายมาร่วมดำเนินการ โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้จัดสรรและจัดหาสาธารณูปโภค
 
นางสาวปัทมา จันทรานุกูล กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA ให้ความเห็นต่อแผนการก่อสร้างโครงการ “มักกะสันคอมเพล็กซ์” ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่ายในปัจจุบันว่า ตามที่มีข่าวว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาที่ดินบริเวณนิคมรถไฟมักกะสันที่มีขนาดเกือบ 500 ไร่เป็นมักกะสันคอมเพล็กซ์ โดยมีงบลงทุนสูงถึง 300,000 ล้านบาท และปัจจุบันกำลังมองหาผู้เข้าทำประโยชน์เพียงรายเดียวนั้น ตนมองว่าควรจะเปลี่ยนแนวพัฒนาให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมหลายรายเพื่อป้องกันการผูกขาด และเพื่อไม่ให้ภาคเอกชนรายใดมีอำนาจต่อรองที่สูงเกินไป
 
“หากคำนวณคร่าว ๆ ที่ดินจำนวนเกือบ 500 ไร่นั้นหากแบ่งส่วนหนึ่งเป็นถนนประมาณ 30% ก็จะเหลือที่ดิน 350 ไร่ ในจำนวนนี้สามารถก่อสร้างเป็นหอประชุม-นิทรรศการ ขนาดประมาณ 60 ไร่ 1 แห่งโดยกำหนดให้มีผู้ประมูลได้ 1 ราย, ศูนย์การค้าขนาด 30 ไร่ จำนวน 2 แห่ง รวม 60 ไร่ โดยกำหนดให้มีผู้ประมูลได้ 2 ราย, โรงแรมขนาด 15 ไร่ 4 แห่ง รวม 60 ไร่ โดยกำหนดให้มีผู้ประมูลได้ 4 ราย ในขณะที่พื้นที่ส่วนที่เหลืออีก 170 ไร่นั้นสามารถแบ่งเป็นแปลงสร้างอาคารสำนักงาน ห้องชุดพักอาศัย เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์แปลงละ 8 ไร่ ขนาดเท่าที่ตั้งของธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม จำนวน 21 แปลง โดยกำหนดให้มีผู้ประมูลได้ 15-21 แปลง โดยบางแปลงอาจมีขนาดใหญ่กว่าที่กำหนด” นางสาวปัทมากล่าว  
 
“ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะเป็นเจ้าของที่ควรมีหน้าที่เป็นผู้จัดสรรสาธารณูปโภคต่างๆ และแบ่งแปลงที่ดินโดยเชิญชวนวิสาหกิจขนาดใหญ่ชั้นนำของไทยและในอาเซียนมาตั้งสำนักงานในโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์นี้ก็จะทำให้บริเวณนี้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น”
 
ทั้งนี้ AREA มองว่าการให้เอกชนเพียงรายเดียวประมูลจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า กำลังในการต่อรองของการรถไฟแห่งประเทศไทยก็จะน้อยลง และหากเกิดปัญหาขึ้นกับเอกชนเพียงรายเดียวที่เข้าประมูลนั้นโครงการอาจจะหยุดชะงัก สร้างไม่แล้วเสร็จ
 
“การให้มีเอกชนหลายรายมาดำเนินการจะสอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่า เพราะเอกชนแต่ละรายอาจมีความถนัดต่างกัน เช่น ด้านการทำกิจการศูนย์การค้า การทำกิจการศูนย์ประชุม การทำกิจการโรงแรม เป็นต้น”
 
อย่างไรก็ดี นางสาวปัทมาแนะว่าการจัดทำสัญญาจะต้องมีความรัดกุม โดยหากมีเอกชนรายใดไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามที่กำหนด เอกชนรรายนั้นต้องยินยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที และสามารถนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปเปิดให้เอกชนรายอื่นเข้าทำประโยชน์ต่อไป จะได้ไม่ซ้ำรอยกับกรณี “ค่าโง่ทางด่วน (โทลเวย์)” ในตำนานได้  
 
ปัจจุบัน แม้จะมีข่าวความคืบหน้าของโครงการดังกล่าวออกมาเป็นระยะแต่เสียงคัดค้านจากชาวบ้านและกลุ่มคนผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการตั้งเพจคัดค้านในสื่อโซเชี่ยลอย่างเฟสบุ๊ค โดยใช้ชื่อว่า “เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์” ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่กดไลค์ในหน้าเพจดังกล่าวเกือบ 9,000 รายแล้ว  
 
 
อัพเดทข่าวในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ทางอีเมลส่งตรงจากเว็บไซต์อสังหาฯ อันดับ 1 ของเมืองไทยฟรี สมัครได้ที่นี่
 
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ    
  
 
 




Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:34:05 น.
Counter : 382 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Bloomingme
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
5
7
9
10
11
15
16
17
20
23
24
25
26
 
 
All Blog