สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
=สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ^_^ สุดแต่ใจจะไขว่คว้า=
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
20 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
เอทธิลีนช่วยเพิ่มน้ำยางได้อย่างไร




การเพาะเห็ดฟางในสวนยาง


DSCF00130.jpg





เอทธิลีนช่วยเพิ่มน้ำยางได้อย่างไร

ฮอร์โมนเอทธิลีนจะทำให้เม็ดยางในน้ำยางจับตัวช้าลง น้ำยาจึงสามารถไหลออกจากต้นยางได้นานกว่าปกติ เมื่อกรีดหรือเจาะเปลือก จึงเป็นการเพิ่มผลผลิตของน้ำยางอย่างหนึ่ง อีกทั้งถ้ามีการดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มต้นเปิดกรีดใหม่ จะช่วยขยายอายุการกรีดยางได้มากกว่า 50 ปี


การเพิ่มเอทธิลีนให้กับต้นยางดีอย่างไร
ระบบการเพิ่มฮอร์โมนเอทธิลีน คือการเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดหายไปในโครงสร้างต้นยางให้เกิดความสมดุลขึ้น ทำให้ระบบต่าง ๆ ของต้นยางสมบูรณ์ขึ้นส่งผลให้

  1.     การทำงานของรากแข็งแรงขึ้น
  2.     การลำเลียงอาหารสมบูรณ์ขั้น
  3.     การสังเคราะห์แสงสมบูรณ์
  4.     การผลิตน้ำยางปริมาณมากขึ้น
  5.     การขยายตัวของท่อน้ำยางมากขึ้น
  6.     ระบบภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ จะดีขึ้น

การกรีดยางเมื่อใช้เอทธิลีน
การกรีดยางหน้าสั้น 4 นิ้ว และกรีด 1 วัน หยุด 2-3 วัน การกรีดยางระบบใหม่ที่ได้พัฒนาจากการศึกษาระบบสรีระวิทยาของต้นยาง ซึ่งผ่านการทดลอง และนำมาปฎิบัติจริงทำให้ง่าย ต่อการจัดการ ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ต้นยางมีบาดแผลน้อยที่สุด เป็นการกรีดยางโดยใช้พื้นที่ของเปลือกยางกกว้าง 4 นิ้ว ทำให้ประหยัดพื้นที่หน้ายาง และยืดอายุการใช้งานของต้นยางได้นานขึ้น โดยปกติเราจะกรีดเปลือกยางกว้าง 8 -12 นิ้ว ซื่งทำให้สูญเสียพื้นที่ของเปลือกยางโดยเปล่าประโยชน์ และอายุใช้งานของต้นยางสั้นลง


ข้อควรปฎิบัติ เมื่อใช้เอทธิลีน และอุปกรณ์ การเพิ่มผลผลิตยาง

  1.     กรีด 1 วัน หยุด 2 วัน และกรีดหน้าสั้น 4 นิ้ว
  2.     ใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง
  3.     ใช้กับต้นยางอายุ 15 ปีขึ้นไป ให้กรีดขึ้นหน้าบน
  4.     ห้ามใช้ยาฆ่าหญ้าโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รากฝอยที่หาอาหารตาย


ข้อมูลทางวิชาการ เมื่อเรากรีดยาง น้ำยางไหล และหยุดไหลได้อย่างไร?

   1. เมื่อกรีดยาง
   2. ท่อน้ำยางถูกตัดขาด
   3. น้ำยางถูกดันออกมาจากท่อน้ำยางด้วยความดัน 10-14 บรรยากาศ
   4. ต่อมาความดันภายในท่อจะลดลงอย่างรวดเร็ว
    5.ทำให้ผนังท่อน้ำยางหดตัวลง
   6. น้ำจากเซลข้างเคียงไหลผ่านผนังของท่อน้ำยางเข้าไป
    7.ทำให้น้ำยางเจือจางลง
    8.การไหลแบบรวดเร็วของน้ำยาง จะทำให้อนุภาคลูตอยด์ (Lutoid) ในน้ำยางเกิดการแตกตัวและน้ำบางส่วนจะซึมผ่านเข้าสู่อนุภาคลูตอยด์ ทำให้ลูตอยด์พองตัวและแตกเพิ่มขึ้น ของเหลวในลูตอยด์ซึ่งมีสภาพเป็นกรด ก็จะทำให้อนุภาคยางจับตัวกันเป็นก้อนอุดตันในท่อน้ำยาง
   9. น้ำยางจึงหยุดไหล

บทบาทเอทธีลีนต่อการเพิ่มน้ำยาง

    เร่งการทำงานของเอนไซม์ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของโปรตอนเข้าสู่เซลสังเคราะห์ยาง
    เร่งการเคลื่อนย้ายน้ำตาลซูโครส ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำยาง
    ทำให้ภายในเซลเป็นด่าง ทำให้มีความเหมาะสมในการสังเคราะห์อนุภาคยาง
    เร่งการเคลื่อนย้ายโมเลกุลน้ำในเซลข้างเคียง เข้าสู่เซลสังเคราะห์ยาง
    ชะลอการแตกตัวของลูตอยด์ ทำให้น้ำยางจับตัวกันช้าลง ท่อน้ำยางจึงเปิดได้นานขึ้น น้ำยางจึงไหลออกมาได้มากขึ้น (13-15 ชม.)
แหล่งที่มา: //www.heveathai.com/




Create Date : 20 ตุลาคม 2555
Last Update : 21 ตุลาคม 2555 12:39:49 น. 0 comments
Counter : 1707 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bestyx
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





เป็นคนเรียบง่าย สบาย ๆ ..คิดอะไรได้ช้า.. คิดไม่ค่อยทันคนอื่น...เขียนอะไรไม่ค่อยเป็น... เลยต้องหาสิ่งที่คนอื่นคิด สิ่งที่คนอื่นเขียน มาเก็บรวบรวมไว้อ่าน เพื่อให้ตนเองได้ฉลาดขึ้น เป็นคนที่ไม่ชื่นชอบหรือหลงใหลสิ่งใดเป็นพิเศษ ..แต่ก็ค้นหาหาไปเรื่อยๆ.. จนกว่าได้จะพบเจอ....แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งค้นหาก็ .."ยิ่งยาก".. ที่จะพบ เพราะโลกกว้างใหญ่เกินไปที่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งจะเรียนรู้ได้หมด

Friends' blogs
[Add bestyx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.