สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
=สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ^_^ สุดแต่ใจจะไขว่คว้า=
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
11 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
ระบบกรีด

ระบบกรีด คือ  การกำหนดความยาวรอยกรีดและจำนวนวันกรีด ซึ่งระบบกรีดยางที่ดีนั้นจะต้องได้รับน้ำยางมากที่สุด ทำความเสียหายให้กับต้นยางน้อยที่สุด สามารถกรีดได้ในระยะเวลายาวนานที่สุด และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด การเลือกใช้ระบบกรีดยางขึ้นอยู่กับพันธุ์ยาง ภูมิอากาศ และความจำเป็นอื่น สิ่งสำคัญคือ ไม่แนะนำให้กรีดยางทุกวันและกรีดต่อต่อกันนานหลายปี เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงและเสียค่าใช้จ่ายสูง เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้ต่อการสิ้นเปลืองเปลือก ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้ง และเปลือกงอกใหม่บาง โดยระบบกรีดที่ได้รับการแนะนำจากสถาบันวิจัยยางมี 5 ระบบ คือ ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน (1/2 S d/3)  ระบบครึ่งลำต้นวันเว้นวัน (1/2S d/2)  ระบบกรีดครึ่งลำต้นสองวันเว้นหนึ่งวัน (1/2S 2d/3)  ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้นสองวันเว้นวัน (1/3S 2d/3)  และระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้นวันเว้นวัน  ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5 %  (1/3S d/2 + ET 2.5%) สำหรับแรงงานในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้นั้นเกษตรกรใช้ระบบกรีดที่แตกต่างกัน  โดยส่วนใหญ่ใช้ระบบกรีดถี่  คือ  ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น  ระบบกรีดครึ่งลำต้น  โดยกรีดสามวันหยุดหนึ่งวันประมาณ 54 เปอร์เซ็นต์  หรือกรีดติดต่อกันทุกวันประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์  สำหรับระบบกรีดที่สถาบันวิจัยยางแนะนำคือการกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน  และกรีดสองวันเว้นหนึ่งวันนั้นมีเกษตรกรปฏิบัติเพียง 18 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งการใช้ระบบกรีดที่ไม่เหมาะสมนี้มีผลทำให้ปริมาณผลผลิต  และอัตราการเจริญเติบโตของลำต้นลดลง  รวมถึงการใช้ระบบกรีดถี่ยังมีผลให้ต้นยางพาราแสดงอาการเปลือกแห้งได้ง่าย  และเปลือกหมดเร็ว  ทำให้ต้นยางพาราไม่สามารถสร้างเปลือกใหม่ได้ทัน  หากมีการกรีดซ้ำเปลือกที่งอกใหม่จะส่งผลให้ต้นยางพารามีอายุการกรีดสั้น  และต้องโค่นเพื่อปลูกใหม่เร็วขึ้น  อีกทั้งการใช้ระบบกรีดถี่ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางยังมีผลทำให้ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลงแม้ว่าจะได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นก็ตาม  ทั้งนี้การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางทาบ่อยครั้งร่วมกับการใช้ระบบกรีดถี่ส่งผลให้หน้ายางสูญเสียน้ำมากและคุณสมบัติในการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในท่อน้ำยางเปลี่ยนไป  ทำให้อัตราการเกิดอาการเปลือกแห้งสูงขึ้น  หรือการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้นสูงทาบ่อยครั้งทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งเพิ่มขึ้น




Create Date : 11 ตุลาคม 2555
Last Update : 11 ตุลาคม 2555 13:21:08 น. 0 comments
Counter : 1297 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bestyx
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





เป็นคนเรียบง่าย สบาย ๆ ..คิดอะไรได้ช้า.. คิดไม่ค่อยทันคนอื่น...เขียนอะไรไม่ค่อยเป็น... เลยต้องหาสิ่งที่คนอื่นคิด สิ่งที่คนอื่นเขียน มาเก็บรวบรวมไว้อ่าน เพื่อให้ตนเองได้ฉลาดขึ้น เป็นคนที่ไม่ชื่นชอบหรือหลงใหลสิ่งใดเป็นพิเศษ ..แต่ก็ค้นหาหาไปเรื่อยๆ.. จนกว่าได้จะพบเจอ....แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งค้นหาก็ .."ยิ่งยาก".. ที่จะพบ เพราะโลกกว้างใหญ่เกินไปที่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งจะเรียนรู้ได้หมด

Friends' blogs
[Add bestyx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.