พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
22 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 

วงเสวนา ชี้ โซเชียลฯไทย ยังไร้กฎหมายคุ้มครอง'ละเมิดสิทธิส่วนตัว'

วงเสวนา ชี้ โซเชียลฯไทย ยังไร้กฎหมายคุ้มครอง'ละเมิดสิทธิส่วนตัว'

วงเสวนานักวิชาการ เครื่อข่ายพลเมืองเน็ต ชี้ พื้นที่ในโลกโซเชียลมีเดียของไทย ยังไม่ให้ความสำคัญความเป็นส่วนตัวเท่าที่ควร ยังพบมีการละเมิดสิทธิ์อยู่ทั่วไป-ไร้กฎหมายคุ้มครองอย่างจริงจัง

วันที่ 20 ส.ค. ณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ตึกสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดสัมมานา “ คน อินเทอร์เน็ต และความเป็นส่วนตัว” คุณธิริมา อุรพีพัฒนพงศ์ นักวิจัยโครงการสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ ในชีวิตประจำวันขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกมิติ ตั้งแต่การบริโภคข้อมูลข่าวสาร ธุรกรรมทางการเงิน การสื่อสาร ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลส่วนตัวที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงิน เว็บบอร์ด รวมถึงเว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ โฟร์สสแควร์ในมุมมองของปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวจึงควรสอดคล้องกัน ถึงแม้ว่าเรื่องความเป็นส่วนตัวโดยมากจะเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยความลับ แต่ข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เชื้อชาติ เพศ วันเกิด อีเมล์


จึงทำให้เรื่องความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ออนไลน์ เริ่มเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมขึ้นเป็นมาก โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อโจมตีกันจากความขัดแย้งทางการเมือง หรือ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีชื่อเสียง ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเข้าไปมีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนหลายมิติ ส่งผลให้ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ซึ่งเวลาคุยเรื่องความเป็นส่วนตัวในเมืองไทย คงหนีไม่พ้นในเรื่องของกฎหมายสหประชาชาติ รัฐธรรมนูญ กฎหมายสื่อมวลชน ซึ่งมันมีหลายเรื่องมาก ที่ยังคงพันกันอยู่ และเมื่อพูดถึงเรื่องสถานการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวไทยในโลกออนไลน์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวกับสิทธิ์ผู้บริโภค 2. ความส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จึงเป็นประเด็นคำถามขึ้นมาว่าตกลงแล้วข้อมูลในส่วนตรงนั้นเป็นของผู้ใช้บริการหรือเป็นของผู้ให้บริการและอีกทางหนึ่งผู้ใช้บริการไม่เข้าใจกับระบบการจัดเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการ เพราะผู้ให้บริการไม่เคยอภิปรายว่าจะมีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของเราหรือ เอาข้อมูลเราไปใช้ในทางไหนบ้าง


นายยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์ของสังคมออนไลน์ อยู่ 3 ประเด็น คือ 1. ความเป็นส่วนตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเป็นสาธารณะในพื้นที่บางพื้นที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีบริบทของมัน ซึ่งไม่ได้เป็นสาธารณะที่แท้จริง และอีกแง่หนึ่งกลายเป็นเครื่องมือของการถูกละเมิดได้เช่นกัน โดยอ้างว่าเป็นสาธารณะในด้านของคนที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ บางทีถูกเอาไปใช้โดยที่อ้างชื่อและนำไปหากินต่อ 2. ระเบียบของสังคมออนไลน์ ความเป็นส่วนตัวไม่ได้มีการรัดกุมมากมายจึงทำให้เปิดโอกาสในการละเมิดได้ง่าย และ 3. ระดับความเป็นส่วนตัวถ้าไม่มีการจำกัดหน่วยของการละเมิดหรือถูกละเมิดอยู่แค่ปัจเจกแล้วสิ่งเหล่านี้ถ้าเชื่อมโยงกลับมาในเรื่องของการวิจัยสังคมศาสตร์ ในทางกฎหมายมีขอบเขตคุ้มครองไปถึงชุมชนมากแค่ไหน

ด้านนายคณาธิป ทองรวีวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ให้ความเห็นส่วนตัวว่า มีองค์กรหรือหน่วยงานค่อนข้างน้อยที่มาให้ความสำคัญทางด้านความเป็นส่วนตัว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และในมุมมองของผมในเรื่องของ privacy มันพิจารณาเพียงแค่ศาสตร์ อย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูในหลาย ๆ ศาสตร์ เช่น สังคม ปรัชญา ศาสนาทุกอย่างเกี่ยวข้องกับ privacy ทั้งหมด ปัจจุบันนักวิชาการร่วมสมัยมองว่า privacy มี 2 ลักษณ์ คือสิทธ์ของความเป็นส่วนตัว และสิทธิ์ที่จะรู้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งมันมีการต่อสู้กันอยู่ตลอด และเมื่อถามว่ากฎหมายคุ้มครองฝ่ายไหนซึ่งกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย แต่กฎหมายพยายามที่จะหาจุดสมดุล เพราะจะพยายามไม่ให้เอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

นอกจากนี้ การทำความเข้าใจ privacy ในแง่กฎหมาย (มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก) ได้บอกไว้ว่า Privacy เป็นพาราด๊อก คือมีความขัดแย้งกันเอง การที่มีผู้คนใช้เฟซบุ๊กของเขา ส่วนหนึ่งก็อยากมีความเป็นส่วนตัว และอีกส่วนหนึ่งก็อยากแชร์ทุกอย่างในโลกใบนี้ ผมคิดว่าพฤติกรรมของผู้ใช้งานเราต้องมีความเข้าใจคือคนเรามีความ ขัดแย้งทางบริบท ในมุมมองหนึ่งอย่างมีความเป็นกลางและอีกมุมมองหนึ่งผมขอเรียกว่า แชต แชร์ แฉ ต่อสังคมโลก ขึ้นอยู่กับบทนั้นต้องการสิ่งใด กฎหมายไทยยังมีช่องโห่ว ไม่มีกฎหมาย สักมาตราที่จะมีการบังคับใช้ในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว เช่น กรณีถ่ายภาพ ก็ไม่มีกฎหมายไทยที่ว่าการถ่ายภาพเป็นความผิด ยกเว้นจะมีความจำกัดปรับใช้กับภาพที่ ลามก เท่านั้น ส่วนเรื่องที่เป็นส่วนตัวธรรมดาที่ไม่ได้ลามก กฎหมายไทยทำไรไม่ได้ เช่น นั่งหลับอ้าปาก น้ำลายยืด บนรถไฟฟ้า แต่ถูกแอบถ่าย คนที่อยู่ในภาพก็พยายามฟ้องหมิ่นประมาทที่ตนเองเสียชื่อเสียง บุคคลที่อ้าปากหวอ ในภาพไม่มีสิทธิ์เรียกร้องอะไรเพราะกฎหมายไม่ได้คุ้มครองเขา แต่ไปคุ้มครองผู้ที่ถ่ายภาพหรือเป็นเจ้าของภาพ และศาลไทยก็มีมุมมองว่าลักษณะแบบนี้ยังไม่ถือว่าเป็นความเสียหายต่อ Privacy เฉพาะนั้นกฎหมายไทยทุกวันนี้ยังไม่คุ้มครอง privacy มากพอ เพราะสังคมและวัฒนธรรม ของเรายังไม่รับรู้ privacy ในลักเดียวกับที่ต่างประเทศเขารับรู้


อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในสังคมไทยเดียวนี้เหมือนตายจากไปแล้ว ซึ่งประเทศไทยก็ยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่ให้มีการกรองข้อมูลส่วนตัวต่างในการสมัคร Account อื่นเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆมากมาย และไม่มีการเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นส่วนตัว.

ข่าวคอมพิวเตอร์ | ข่าวไอที | เว็บไอที | ทิปคอมพิวเตอร์




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2556
0 comments
Last Update : 22 สิงหาคม 2556 4:38:23 น.
Counter : 1161 Pageviews.


amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.