พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 
30 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
สะพานไม้ไอศกรีม ปั้นวิศวกรรุ่นเยาว์ (คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า ปฤษณา กองวงค์)

สะพานไม้ไอศกรีม ปั้นวิศวกรรุ่นเยาว์

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า
ปฤษณา กองวงค์



ไม้ไอศกรีมจำนวนมากนำมาติด ต่อ ทาบ ด้วยกระดาษกาว เชือกไนลอน และกาวร้อน กลายเป็นสะพานไม้ที่สวยงามโดดเด่น โดยมีแท่งโลหะวางทดสอบโครงสร้างและเป็นจุดรองรับแรงกระทำต่อโครงสร้าง

หลากหลายผลงานอันน่าอัศจรรย์ของเยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขัน "สร้างสะพานไม้ไอศกรีม" จัดโดยสาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภายในงาน "วันเทคโนโลยีไทย ราชภัฏลำปาง ครั้งที่ 2" ที่หอประชุมจันทน์ผา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยมี 14 ทีมจาก 7 สถาบันเข้าร่วม

ผลการตัดสินวัดจากน้ำหนักโครงสร้างสะพานกับน้ำหนักบรรทุก ทั้งผู้สร้างและผู้ชมจึงร่วมลุ้นระทึกไปด้วยกัน เมื่อใดที่โครงสร้างเริ่มบิดตัว ทรุดหรือเริ่มเอียง ยิ่งสร้างความกดดันให้ผู้เข้าแข่งขันไม่น้อย ในการตัดสินใจว่าจะเพิ่มหรือหยุดเพิ่มแผ่นเหล็กที่ใช้ทดสอบการรับน้ำหนักของสะพาน

ผลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศได้แก่ ผลงานสะพานไม้ของทีมโรงเรียนลำปางพาณิชยการ 1 น้ำหนักสะพาน 0.96 กิโลกรัม รับน้ำหนักได้มากถึง 127.7 กิโลกรัม อันดับ 2 ทีมโรงเรียนลำปางพาณิชยการ 2 ตัวสะพานหนัก 1.08 กิโลกรัม รับน้ำหนักได้ 108 กิโลกรัม ทั้งสองทีมมาจากสถาบันเดียว กันคือโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี

อันดับ 3 ตกเป็นของทีม POLY CON ?S1 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ น้ำหนักสะพาน 1.13 กิโลกรัม รับน้ำหนักได้ 86 กิโลกรัม

อ.ชยานนท์ ทิพย์วังเมฑ วิศวกรโยธา หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวว่าอยากส่งเสริมและจุดประกายให้เด็กๆ มีมุมมองที่ดีต่อวิศวกรรมโดยเฉพาะโยธา เด็กๆ ได้เรียนรู้น้ำหนักกระทำหรือ น้ำหนักบรรทุก แรงในชิ้นส่วน และการวิบัติของชิ้นส่วน เพียงชิ้นส่วนหนึ่งของสะพานจะมีผลต่อสะพานโดยรวม แต่จะมากหรือน้อยอยู่ที่ตำแหน่งและภาระในการรับน้ำหนัก ถ้าอยู่ตรงส่วนสำคัญสะพานนั้นจะวิบัติทันทีและรุนแรง การวิบัติจะส่งผล เช่น ร้าว ยืดตัว หดตัว ถ้าเราเห็นต้องซ่อมแซมและหยุดใช้การ

"ผลงานทีมแชมป์ และอันดับ 2 จุดเด่นคือชิ้นส่วนแข็งแรง มีการถ่ายน้ำหนักด้านล่างด้วยแรงดึงและด้านบนด้วยแรงอัดที่ถูกต้อง สะพานจึงรับแรงได้ดี และใส่ชิ้นส่วนเพื่อป้องกันการบิดตัว สะพานจึงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับผลงานอันดับ 3 นำความรู้เรื่องความแข็งแรงวัสดุมาใช้ แต่แพ้เพราะความชะลูดของชิ้นส่วน จึงเกิดการโก่งและบิดตัวของสะพาน" อ.ชยานนท์กล่าว

นายพีรภัทร สุวรรณวงค์ หรือ พี อายุ 17 ปี ชั้นปวช.2 สาขาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ จากทีมแชมป์ บอกเล่าว่าสะพานนี้ใช้ไม้ไอศกรีม 324 ชิ้น แต่รับน้ำหนักได้ 127.7 กิโลกรัม ถ้าเหล็กที่เพลาตรงกลางซึ่งใช้ทด สอบน้ำหนักไม่งอลงมาก่อนจะรับน้ำหนักได้มาก กว่านี้ "ผมอยากเป็นวิศวกร อยากสร้างสะพานและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้แข็งแรงได้มาตรฐาน"

ด้าน น.ส.กชกร ไชยวงศ์ หรือ กล้วย นายวีรนันท์ ปาลี หรือ เจมส์ และ นายสาโรจน์ คำมูล หรือ คิม ชั้นปวส. 2 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ที่คว้าอันดับ 3 ไปครอง เผยว่าการฝึกความละเอียดรอบคอบในการสร้างชิ้นงาน การคำนวณโครงสร้างที่แม่นยำ ทำให้พวกเราจดจำอยู่เสมอว่าถ้ารักที่จะอยู่ในวิชาชีพนี้เมื่อออกแบบต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประหยัด และถูกต้องตามหลักการ

นายนราธิปกรณ์ ปะละปิก หรือ โน้ต อายุ 18 ปี ชั้นม.6 โรงเรียนบ้านเสด็จวนชยางค์กูล เล่าว่าผลงานสะพานกลุ่มตนเองใช้เวลาสร้าง 1 วัน จากไม้ไอศกรีม 499 ชิ้น แต่ทีมอื่น น่าทึ่งกว่า ใช้น้อยแต่รับน้ำหนักมาก

"แม้จะแพ้ก็ไม่เป็นไร ทำให้พวกเราได้โอกาสดีๆ ในการเรียนรู้ ได้สังเกตทีมอื่นๆ และได้ไอเดียว่าไม่ว่าเราจะปลูกสร้างสิ่งใดการออกแบบต้องคำนึงถึงการรับและกระจายแรงที่ส่งผลต่อโครงสร้างให้มากๆ"



Create Date : 30 ตุลาคม 2556
Last Update : 30 ตุลาคม 2556 2:47:14 น. 0 comments
Counter : 4005 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.