Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธศาสนสุภาษิต ๔.กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส

สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.
ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
สํ. ส. ๑๕/๓๒. อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๐.

น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
สํ. ส. ๑๕/๓๑.

กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๐. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๒.

นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.

นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

อิจฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
ความอยากละได้ยากในโลก.
ส. ส. ๑๕/๖๑.

อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔.

อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
ความอยากย่อมเสือกไสซึ่งนรชน.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕-๔๒,๔๘.

โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๙.

อติโลโภ หิ ปาปโก.
ความละโมบเป็นบาปแท้.
วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
ม. ม. ๑๓/๔๑๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.
ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ.
ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

อวิชฺชานิวุตา โปสา.
คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
วิ. จุล. ๗/๔๐๐. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๓.

กามา กฏุกา อาสีวิสูปมา
เยสุ มุจฺฉิตา พาลา
เต ทีฆรตฺตํ นิรเย
สมปฺปิตา หญฺญนฺเต ทุกฺขิตา.

กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ เป็นที่คนโง่หมกมุ่น
เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาลนาน.
(สุเมธาเถรี) ขุ. เถรี. ๒๖/๔๙๙.

กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี
อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ
สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต.

คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
(พุทฺธ) องฺ. จตุตฺก. ๒๑/๓๔.

โกธสฺส วิสมูลสฺส
มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ
ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ.

พราหมณ์ ! พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน,
เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๒๓๖.

นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย
ชาคริยํ ภเชยฺย อาตาปี
ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ
เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ.

ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น
พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๕. ขุ. มหา. ๒๙/๔๕๗,๔๖๐.

ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส
นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ
อารา โส อาสวกฺขยา.

คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน
เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๙.

ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ
ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
อถสฺส สพฺเพ สํโยคา
อตฺถํ คจฺฉนฺติ ชานโต.

เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม ๒ อย่าง
เมื่อนั้นกิเลสเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหมณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๖๗.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org









Create Date : 11 มกราคม 2556
Last Update : 11 มกราคม 2556 8:20:23 น. 0 comments
Counter : 2349 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.