Group Blog
 
All Blogs
 
พุทธศาสนสุภาษิต ๑๒.ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ( ๔ )

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด (ต่อ)

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา
นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
เย กาเม ปฏิเสวนฺติ
นิรยนฺเต อุปปชฺชเร.

กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี
ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.

อพฺยาปชฺโฌ สิยา เอวํ
สจฺจวาที จ มาณโว
อสฺมา โลกา ปรํ โลกํ
เอวํ เปจฺจ น โสจติ.

พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้
ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๒.

อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ
อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี
โย ปญฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ.

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี,
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๔๖.

อสาเร สารมติโน
สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ
มีจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.

ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๖.

อตีตํ นานุโสจนฺติ
นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ
เตน วณฺโณ ปสีทติ.

บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาสิ่งที่ยังมาไม่พึง,
ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๗.

อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส
ลหหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน
นิจฺจํ อทฺธุวสีลสฺส
สุขภาโว น วิชฺชติ.

เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข.
(สิงฺคิลโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๔๒.

อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต
อกฺขธุตฺโต จ โย นโร
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ
ตํ ปราภวโต มุขํ.

คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ. ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย.
(พุทฺธ) สุ. ขุ. ๒๕/๓๔๗.

อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส
เอตฺถายํ สชฺชเต ปชา
ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ
ตํ สินานมโนทกํ.

หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ ประชาชนนี้ข้องอยู่ในหญิงนี้
ตบะและพรหมจรรย์เป็นเครื่องอาบ ไม่ใช่น้ำ.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๕๒.

อุปนียติ ชีวิตมปฺปมายุํ
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน
โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.

ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๗๗.

อุปสนฺโต อุปรโต
มนฺตภาณี อนุทฺธโต
ธุนาติ ปาปเก ธมฺเม
ทุมปตฺตํว มาลุโต.

ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้
เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น.
(มหาโกฏฺฐิตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๒๖๐.

เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุํ
ทุกฺขายํ ชาติสมฺภโว
น ปาโณ ปาณินํ หญฺเญ
ปาณฆาตี หิ โสจติ.

ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ ' ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์ '
สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก.
(รุกฺขเทวตาโพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๖.

กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย
มนสานาวิโล สิยา
กุสโล สพฺพธมฺมานํ
สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช.

ภิกษุไม่ควรติดในกามทั้งหลาย ควรมีใจไม่ขุ่นมัว
ควรเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง ควรมีสติอยู่ทุกอิริยาบถ.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๑. ขุ. จู. ๓๐/๒๖.

ตานิ เอตานิ ทิฏฺฐานิ
ภวเนตฺติ สมูหตา
อุจฺฉินฺนํ มูลํ ทุกฺขสฺส
นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว.

เห็นอริยสัจแล้ว ถอนตัณหาผู้นำไปสู่ภพได้แล้ว
ตัดมูลรกแห่งทุกข์ขาดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีกต่อไป.
(พุทฺธ) ที. มหา. ๑๐/๑๐๗.

ทาเนน สมจริยาย
สํยเมน ทเมน จ
ยํ กตฺวา สุขิโต โหติ
น จ ปจฺฉานุตปฺปติ.

คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ
ด้วยความสำรวม และด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข
เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๙๘.

นิทฺทาสีลี สภาสีลี
อนุฏฺฐาตา จ โย นโร
อลโส โกธปญฺญาโณ
ตํ ปราภวโต มุขํ.

คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ
ข้อนั้นเป็นเหตุของผู้ฉิบหาย.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

ธโช รถสฺส ปญฺญาณํ
ธูโม ปญฺญาณมคฺคิโน
ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา.

ธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๘๖.

ธมฺมาราโม ธมฺมรโต
ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ
ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ
สทฺธมฺมา น ปริหายติ.

ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรมอยู่เนือง ๆ
ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

ปตฺถิ โลเก รโห นาม
ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต
ปสฺสนฺติ วนภูตานิ
ตํ พาโล มญฺญเต รโห.

ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีอยู่ในโลก, คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า
แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๑.

น สานกามสฺส ทโม อิธตฺถิ
น โมนมตฺถิ อสมาหิตสฺส
เอโก อรญฺเญ วิหรมฺปมตฺโต
น มจฺจุเธยฺยสฺส ตเรยฺย ปารํ.

ในโลกนี้ ผู้ที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, ตนมีใจไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้
ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้
(เทวตา) สํ. ส. ๑๕/๖.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org



Create Date : 09 พฤษภาคม 2556
Last Update : 9 พฤษภาคม 2556 10:25:33 น. 0 comments
Counter : 1856 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.