Group Blog
 
All Blogs
 

บทสวดมนต์แปล - ธรรมะและข้อคิดมงคล (๓)

บทสวนมนต์แปล



การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่าได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป

อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐะ

(หันทะ มะยัง อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะนามะ เส)

ชะราธัมโมมะหิ ชะรัง อะนะตีโต (ผู้หญิงว่า ตา)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

พะยาธิธัมโมมะหิง พะยาธิง อะนะตีโต (ตา)
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

มะระณะธัมโมมะหิ มะระณัง อะนะตีโต (ตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

สัพเพหิ เม ปิเยหิมะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว
เราจะละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าจะต้องพลักพรากจากของรักของเจริญใจทั้งสิ้นไป

กัมมัสสะโกมะหิ กัมมะทายาโท กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระโณ
เรามีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยัง กัมมัง กะริสสามิ กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ
เราจักทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจักเป็นทายาท คือว่า จะต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป

เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง
เราทั้งหลาย ควรพิจารณาอย่างนี้ ทุกวัน ทุกวัน เถิด


---------------------------------------------

กายะคะตาสะติปาฐะ

(หันทะ มะยัง กายะคะตาสะติปาฐัง ภะนามะ เส)

อะยัง โข เม กาโย กายของเรานี้แล
อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสา มัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปุโรนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ
อัตถิ อิมัสสะมิง กาเย มีอยู่ในกายนี้
เกสา คือ ผมทั้งหลาย
โลมา คือ ขนทั้งหลาย
นะขา คือ เล็บทั้งหลาย
ทันตา คือ ฟันทั้งหลาย
ตะโจ คือ หนัง
มังสัง คือ เนื้อ
นะหารู คือ เอ็นทั้งหลาย
อัฏฐิ คือ กระดูกทั้งหลาย
อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก
วักกัง ม้าม
หะทะยัง หัวใจ
ยะกะนัง ตับ
กิโลมะกัง ผังผืด
ปิหะกัง ไต
ปัปผาสัง ปอด
อันตัง ไส้ใหญ่
อันตะคุณัง ไส้น้อย
อุทะริยัง อาหารใหม่
กะรีสัง อาหารเก่า
มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อในสมอง
ปิตตัง น้ำดี
เสมหัง น้ำเสลด
ปุพโพ น้ำเหลือง
โลหิตตัง น้ำเลือด
เสโท น้ำเหงื่อ
เมโท น้ำมันข้น
อัสสุ น้ำตา
วะสา น้ำมันเหลว
เขโฬ น้ำลาย
สิงฆาณิกา น้ำมูก
ละสิกา น้ำไขข้อ
มุตตัง น้ำมูตร
เอวะมะยัง เมกาโย กายเรานี้อย่างนี้
อุทธังปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสามัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปุโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ อย่างนี้แล



---------------------------------------------------



คัดลอกจาก

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า – เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2552    
Last Update : 26 ตุลาคม 2552 21:36:34 น.
Counter : 2571 Pageviews.  

บทสวดมนต์แปล - ธรรมะและข้อคิดมงคล (๒)

บทสวนมนต์แปล



การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่าได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป

อริยมรรคมีองค์แปด

(หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส)

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค, หนทางนี้แล เป็นหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ, สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ, สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ, สัมมากัมมันโต, การทำการงานชอบ, สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ, สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ, สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ, สัมมาสะมาธิ, ความตั้งมั่นชอบ,

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความเห็นชอบ เป็นอย่างไรเล่า, ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์, ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง, เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, ทุกขะนีโรเธ ญาณัง, เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์, ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณํง, เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ,

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความดำริชอบ เป็นอย่างไรเล่า, เนกขัมมะสังกัปโป, ความดำริในการออกจากกาม, อะพยาปาทะสังกัปโป, ดำริในการไม่มุ่งร้าย, อะวิหิงสาสังกัปโป, ความดำริในการไม่เบียดเบียน, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ,

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า, มสาวาทา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง, ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด, ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ, สัมผัปปะลาปา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ,

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การทำการงานชอบ เป็นอย่างไรเล่า, ปาณาติปาตา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า, อะทินนาทานา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว, กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ,

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นอย่างไรเล่า, อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้, มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ, ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย, สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ, ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ,

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความพากเพียรชอบ เป็นอย่างไรเล่า, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณณะหาติ ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารถความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น, อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานะยะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคณะหาติ ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารถความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว, อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณณะหาติ ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารถความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น, อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ, ภิยโยภาวายะ, เวปุลลายะ, ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณณะหาติ ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารถความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น, ความไพบูลย์, ความเจริญ, ความเต็มรอบ, แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ, ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้, เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ, ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้หลายอยู่เป็นประจำ, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้, จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ, ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ, ย่อมเป็นผู้พิจารณาเป็นธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ,

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, วิวิจเจวะ กาเมหิ, สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย, วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ, สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย, สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปิติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, เข้าถึงปฐมฌาน, ประกอบด้วยวิตกวิจาร, มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่, วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา, เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง, อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมธิชัง ปิติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน, ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่, ปีติยาจะ วิราคา, อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ, อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน, ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ, และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย, ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารี ติ, ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้, ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, เข้าถึงตติยฌาณ แล้วแลอยู่, สุขัสสะ จะ ปะหานา, เพราะละสุขเสียได้, ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, และเพราะละทุกข์เสียได้, ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา, เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน, อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งมั่นชอบ

---------------------------------------------------

มงคลสูตร

(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะปาฐัง ภะนามะ เส)

เอวัมเม สุตัง, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สาวัตถิยัง วิหะระติ, เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ, อาราเม อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา, อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา, เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ, อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตะวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ, เอกะมันตังฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ,

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง, อากังขะมานา โสตถานัง พะรูหิ มังคะละมุตตะมัง,
เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า, หมู่เทวดาและมนุษย์มากมาย, มุ่งหมายความเจริญก้าวหน้า, ได้คิดถึงเรื่องมงคลแล้ว, ขอพระองค์ทรงบอกทางมงคลอันสูงสุดเถิด, สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสตอบดังนี้ว่า

อะเสวะนา จะ พาลานัง, การไม่คบคนพาล, ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา, การคบบัณฑิต, ปูชา จะ ปูชะนียานัง, การบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชา, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ, การอยู่ในประเทศอันสมควร, ปุพเพ จ กะตะปุญญะตา, การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อนแล้ว, อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ, การตั้งตนไว้ชอบ, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

พาหุสัจจัญจะ, การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, สิปปัญจะ, การมีศิลปวิทยา, วินะโย จะ สุสิกขิโต, วินัยที่ศึกษาดีแล้ว, สุภาสิตา จะ ยา วาจา, วาจาที่เป็นสุภาษิต, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง, การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา, ปุตตะทารัสสะ สังคะโห, การสงเคราะห์บุตรและภรรยา, อะนากุลา จะกัมมันตา, การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

ทานัญจะ, การบำเพ็ญทาน, ธัมมะจะริยา จะ, การประพฤติธรรม, ญาตะกา นัญจะ สังคะโห, การสงเคราะห์หมู่ญาติ, อะนะวัชชานิ กัมมานิ, การงานอันปราศจากโทษ, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

อาระตี วิระตี ปาปา, การงดเว้นจากบาปกรรม, มัชชะปานา จะ สัญญะโม, การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จากการดื่มน้ำเมา, อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ, การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

คาระโว จะ, ความเคารพอ่อนน้อม, นิวาโต จะ, ความถ่อมตัว ไม่หยิ่งจองหอง, สันตุฏฐี จะ, ความสันโดษยินดีในของที่มีอยู่, กะตัญญุตา, ความเป็นคนกตัญญู, กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง, การฟังธรรมตามกาล, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจห้าอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

ขันตี จะ, ความอดทน, โสวะจัสสะตา, ความเป็นคนว่าง่าย, สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง, การพบเห็นสมณะผู้สงบจากกิเลส, กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา, การสนทนาธรรมตามกาล, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

ตะโป จะ, ความเพียรเผากิเลส, พะรัหมะจะริยัญจะ, การประพฤติพรหมจรรย์, อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง, การเห็นอริยสัจจ์, นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ, การทำพระนิพพานให้แจ้ง, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ, จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลาย, ถูกต้องแล้วย่อมไม่หวั่นไหว, อะโสกัง, เป็นจิตไม่เศร้าโศก, วิระชัง, เป็นจิตไร้ธุลีกิเลส, เขมัง, เป็นจิตอันเกษมสานต์, เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,

เอตาทิสานิ กัตตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา, สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสังมังคะละมุตตะมันติ, หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ได้กระทำมงคลทั้ง ๓๘ ประการเหล่านี้ให้มีในตนได้แล้ว, จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง, ย่อมถึงความสวัสดีในทุกสถาน, ทั้งหมดนี้เป็นมงคล คือ เหตุให้ถึงความเจริญก้าวหน้าอันสูงสุด, ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้,

อิติ. ด้วยประการฉะนี้แล.


---------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า – เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2552    
Last Update : 18 ตุลาคม 2552 19:59:29 น.
Counter : 1028 Pageviews.  

บทสวดมนต์แปล - ธรรมะและข้อคิดมงคล (๑)

บทสวนมนต์แปล



การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่าได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป

ภัทเทกรัตตคาถา

(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)

อะตีตัง นานะวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง,
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงลับไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง,
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง,
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา,
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพะรูหะเย,
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง.
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้,
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว,
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้,
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา,
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา,
เอวังวิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตังเว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ,
มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้าน,
ทั้งกลางวันกลางคืนว่า “ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม”

------------------------------------------------

โอวาทปาติโมกขคาถา

(หันทะ มะยัง โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,
การไม่ทำบาปทั้งปวง,
กุสะลัสสูปะสัมปะทา,
การทำกุศลให้ถึงพร้อม,
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง,
ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,
ขันตี คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่า เป็นธรรมอันยิ่ง,
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,
ปาติโมกเข จะ สังวะโร,
การสำรวมในปาติโมกข์,
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสะมิง,
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,
อะธิจิตเต จะ อาโยโค,
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง,
ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

--------------------------------------------

ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ

(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า,
วะยะธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย, จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา,
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้าย ของพระตถาคตเจ้า

---------------------------------------

ปราภวสุตตปาฐะ

(หันทะ มะยัง ปะราภะวะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)

สุวิชาโน ภะวังโหติ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ,
ทุวิชาโน ปะราภะโว ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม,
ธัมมะกาโม ภะวัง โหติ ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ,
ธัมมะเทสสี ปะราภะโว ผู้เกลียดชังธรรมเป็นผู้เสื่อม

อะสันตัสสะ ปิยาโหนติ นะ สันเต กุรุเต ปิยัง,
อะสะตัง ธัมมัง โรเจติ ตัง ปะระภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดทำความรักในคนพาล, ไม่ทำความรักในบัณฑิต, เขาชอบใจธรรมของคนพาล, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

นินทาสีลี สะภาสีลี อะนุฏฐาตา จะ โย นะโร,
อะสะโส โกธะปัญญาโน ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดเป็นผู้ชอบนอนหลับ, ชอบพูดคุย, ไม่ขยันมักเกียจคร้านการงาน, และเป็นคนมักโกรธ, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

โย มาตะรัง ปิตะรัง วา ชิณณะกัง คะตะโยพพะนัง,
ปะหุสันโต นะ ภะระติ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดมีความสามารถอยู่, ไม่เลี้ยงดูบิดามารดา ผู้แก่เฒ่าชราแล้ว, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

โย พะรัมหะมะณัง สะมะณัง วา อัญญัง วาปิ วะณิพพะกัง,
มุสาวาเทนะ วัญเจติ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดหลอกลวงสมณะพราหมณ์, หลอกแม้วณิพกคนขอทานอื่นใด ด้วยมุสาวาจา, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

ปะหุตะวิตโต ปุริโส สะหิรัญโญ สะโภชะ โน,
เอโก ภุญชะติ สาธูนิ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดมีทรัพย์สินเงินทองมีของเหลือกินเหลือใช้, เขาบริโภคของที่ดีๆ นั้นแต่ผู้เดียว, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

ชาติถัทโธ ธะนะถัทโธ โคตตะถัทโธ จะ โย นะโร,
สัญญาติมะติมัญเญติ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดหยิ่งเพราะชาติกำเนิด, หยิ่งเพราะทรัพย์, หยิ่งเพราะโคตร, แล้วดูหมิ่นซึ่งญาติของตน, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

อิตถีธุตโต สุราธุตโต อักขะธุตโต จะ โย นะโร,
ลัทธัง ลัทธัง วินาเสติ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงเล่นการพนัน, เขาได้ทำลายทรัพย์ที่หามาได้ ให้พินาศฉิบหายไป, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

เสหิ ทาเรหิ อะสันตุฏโฐ เวสิยาสุ ปะทุสสะติ,
ทุสสะติ ปะระทาเรสุ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง
ผู้ใดไม่พอใจรักใคร่ในภรรยาตน, กลับไปเที่ยวซุกซนกับหญิงแพศยา, และลอบทำชู้กับภรรยาของผู้อื่น, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

อะตีตะโยพพะโน โปโส อาเนติ ติมพะรุตถะนิง,
ตัสสา อิสสา นะ สุปปะติ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ชายใดผู้ถึงวัยแก่เฒ่าชราแล้ว, ได้นำหญิงสาวแรกรุ่นมาเป็นภรรยา, เขานอนไม่หลับเพราะความหึงหวง และห่วงอาลัยในหญิงนั้น, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

อิตถึง โสณฆิง วิกิริณิง ปุริสัง วาปิ ตาทิสัง,
อิสสะริยัสสะมิง ฐะเปติ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ชายใดตั้งหญิงนักเลงใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมาเป็นแม่เรือน, และหรือหญิงใด ตั้งชายนักเลงใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมาเป็นพ่อเรือน, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

อัปปะโภโค มะหาตัณโห ขัตติเย ชายะเต กุเล,
โส จะ รัชชัง ปัตถะยะติ ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดเกิดในตระกูลกษัตริย์, มีโภคะน้อย, แต่มีความอยากใหญ่ ปรารถนาราชสมบัติ, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม

เอเต ปะราภะเว โลเก ปัณฑิโต สะมะเวกขิยะ,
อะริโย ทัสสะนะสัมปันโน สะ โลเก ภะชะเต สิวัง
ผู้เป็นบัณฑิตสมบูรณ์ด้วยความเห็นอันประเสริฐ, ได้เห็นเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลายเหล่านั้นชัดแล้ว, ท่านย่อมเว้นสิ่งเหล่านี้เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงพบและเสพแต่โลกซึ่งมีแต่ความเจริญ ฝ่ายเดียว.

อิติ ด้วยประการฉะนี้แล


---------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2552    
Last Update : 11 ตุลาคม 2552 20:43:19 น.
Counter : 1913 Pageviews.  

บทสวดมนต์แปล - อาทิตตปริยายสูตร

บทสวดมนต์แปล



การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่าได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป

อาทิตตปริยายสูตร

เอวัมเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า, เสด็จประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคะยา, สัทธิง ภิกขุ สะหัสเสนะ, พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป,
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ, ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลาย, ให้ตั้งใจสดับพุทธภาษิตนี้ว่า,

สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,
กิญจะ ภิกขะเว สังพัง อาทิตตัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,

จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุ (คือตา) เป็นของร้อน, รูปา อาทิตตา, รูปทั้งหลายเป็นของร้อน,
จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง, จักขุวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตาเป็นของร้อน, จักขุสัมผัสโส อาทิตโต, จักขุสัมผัส คือ สัมผัสทางตาเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส, คือสัมผัสทางตา เป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน

โสตัง อาทิตตัง, โสตะ คือหูเป็นของร้อน, สัททา อาทิตตา, เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน,
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง, โสตวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางหูเป็นของร้อน, โสตะสัมผัสโส อาทิตโต, โสตสัมผัส คือสัมผัสทางหูเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัส, คือสัมผัสทางหู เป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน

ฆานัง อาทิตตัง, ฆานะ คือจมูกเป็นของร้อน, คัณธา อาทิตตา, กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน,
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง, ฆานวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางจมูกเป็นของร้อน, ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต, ฆานสัมผัส คือสัมผัสทางจมูกเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัส, คือสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน

ชิวหา อาทิตตา, ชิวหา (คือลิ้น) เป็นของร้อน, ระสา อาทิตตา, รสทั้งหลายเป็นของร้อน,
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง, ชิวหาวิญญาณ คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ทางลิ้นเป็นของร้อน, ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต, ชิวหาสัมผัส คือสัมผัสทางลิ้นเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาสัมผัส, คือสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน

กาโย อาทิตโต, กายเป็นของร้อน, โผฏฐัพพา อาทิตตา, โผฏฐัพพะ (คือสิ่งที่ถูกต้องทางกาย) เป็นของร้อน,
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง, กายวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางกายเป็นของร้อน, กายะสัมผัสโส อาทิตโต, กายสัมผัส คือสัมผัสทางกายเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัส, คือสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน

มะโน อาทิตโต, มนะ (คือใจ) เป็นของร้อน, ธัมมา อาทิตตา, ธรรมทั้งหลาย (คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ) เป็นของร้อน,
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง, มโนวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางใจ เป็นของร้อน, มะโนสัมผัสโส อาทิตโต, มโนสัมผัส คือสัมผัสทางใจเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส, คือสัมผัสทางใจเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อริยสาวกผู้ได้สดับมาแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้,

จักขุสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุคือตา, รูเปสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูปทั้งหลาย, จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักขุวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางตา, จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักขุสัมผัส, คือสัมผัสทางตา,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส, คือสัมผัสทางตาเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

โสตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในโสตะ (คือหู), สัทเทสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเสียงทั้งหลาย, โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในโสตวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์หู, โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในโสตสัมผัส, คือสัมผัสทางหู,
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัส, คือสัมผัสทางหูเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

ฆานัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในฆานะ (คือจมูก) , คันเธสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกลิ่นทั้งหลาย, ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในฆานะวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางจมูก, ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในฆานะสัมผัส, คือสัมผัสทางจมูก,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัส, คือสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

ชิวหายะปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในชิวหา (คือลิ้น), ระเสสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรสทั้งหลาย, ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในชิวหาวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางลิ้น, ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในชิวหาสัมผัส, คือสัมผัสทางลิ้น,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาสัมผัส, คือสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

กายัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย, โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ, คือสิ่งที่ถูกต้องทางกายทั้งหลาย, กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางกาย, กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส, คือสัมผัสทางกาย,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัส, คือสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

มะนัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ (คือใจ), ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย, มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางใจ, มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส, คือสัมผัสทางใจ,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส, คือสัมผัสทางใจเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

นิพพินทัง วิรัชชะติ, เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด, วิราคา วิมุจจะติ, เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น,
วิมุตตัสสะมิง วิมุตตะมิติ ญานัง โหติ, เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว,
ขีณา ชาติ วุสิตัง พรัหมะจะริยัง, อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า สิ้นชาติแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,
กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ, กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี,

อิทะมะโวจะ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว,
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง, พระภิกษุเหล่านั้น, ก็มีใจยินดีเพลินในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา กะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน, ก็แลเมื่อไวยกรณ์ภาษิต, อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่,
ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อนุปาทายะ, อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ, จิตของพระภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น, ก็พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย, เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน, ดังนี้แล.


--------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2552    
Last Update : 5 ตุลาคม 2552 11:31:48 น.
Counter : 2485 Pageviews.  

บทสวดมนต์แปล - อนันตลักขณสูตร

บทสวดมนต์แปล



การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่าได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป

อนัตตลักขณสูตร
(สูตรที่ทำให้ปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์)

(หันทะ มะยัง อะนัตตะลักขะณะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)

เอวัมเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทาเย, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า, ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
ตัตตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ, ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสเรียกภิกษุเบญจวัคคีย์ แล้วตรัสว่า

รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา, ภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ตัวตน, รูปัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ถ้าหากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้, รูปนี้ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ, ลัพเภถะ จะ รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ, ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า, ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา, ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่ตัวตน, ตัสสะมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ, ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ, นะ จะ ลัพภะติ รูเป, เอวัง เม รูปังโหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ, และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า, ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

เวทะนา อะนัตตา, ภิกษุทั้งหลาย เวทนามิใช่ตัวตน, เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, ก็หากเวทนานี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้, นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ, ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ, ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา, ก็เพราะเหตุที่เวทนามิใช่ตัวตน, ตัสสะมา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ, ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ, นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ, และไม่ได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า, ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

สัญญา อะนัตตา, ภิกษุทั้งหลาย สัญญามิใช่ตัวตน, สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, ก็หากสัญญานี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้, นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ, ลัพเภถะ จะ สัญญายะ, เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ, ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา, ก็เพราะเหตุที่สัญญามิใช่ตัวตน, ตัสสะมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ, ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ, นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ, เอวัง เม สัญญาโหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ, และไม่ได้ตามความปรารถนาในสัญญาว่า, ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

สังขารา อะนัตตา, ภิกษุทั้งหลาย สังขารมิใช่ตัวตน, สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ, ก็หากสังขารนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้, นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง, ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ, ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ, เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ, ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา, ก็เพราะเหตุที่สังขารมิใช่ตัวตน, ตัสสะมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ, ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ, นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ, เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ, และไม่ได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า, ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

วิญญานัง อะนัตตา, ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณมิใช่ตัวตน, วิญญาณัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, ก็หากวิญญาณนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้, นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ, ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ, เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ, ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา, ก็เพราะเหตุที่วิญญาณมิใช่ตัวตน, ตัสสะมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ, ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ, นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ, เอวัง เม วิญญาณังโหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ, และไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า, ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ, ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน, รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจัง ภันเต, ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต, เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า, นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา,
โนเหตัง ภันเต, ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน, เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจัง ภันเต, ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต, เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า, นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา,
โนเหตัง ภันเต, ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน, สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจัง ภันเต, ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต, เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า, นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา,
โนเหตัง ภันเต, ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า


ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน, สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจัง ภันเต, ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต, เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า, นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา,
โนเหตัง ภันเต, ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า


ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ, ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน, วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง,
อะนิจจัง ภันเต, ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า,
ทุกขัง ภันเต, เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า, นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา,
โนเหตัง ภันเต, ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

ตัสสะมา ติหะ ภิกขะเว, ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ,
ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, เป็นภายในหรือภายนอก, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, หยาบหรือละเอียด, เลวหรือประณีต, ยัน ทูเร สันติเก วา, ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้, สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง, รูปทั้งหมดนั้น, เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า, นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ยา กาจิ เวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, เป็นภายในหรือภายนอก, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, หยาบหรือละเอียด, เลวหรือประณีต, ยัน ทูเร สันติเก วา, ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้, สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง, เวทนาทั้งหมดนั้น, เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า, นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ยา กาจิ สัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, เป็นภายในหรือภายนอก, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, หยาบหรือละเอียด, เลวหรือประณีต, ยัน ทูเร สันติเก วา, ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้, สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง, สัญญาทั้งหมดนั้น, เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า, นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เย เกจิ สังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, เป็นภายในหรือภายนอก, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, หยาบหรือละเอียด, เลวหรือประณีต, ยัน ทูเร สันติเก วา, ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้, สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง, สังขารทั้งหมดนั้น, เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า, นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ยังกิญจิ วิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, เป็นภายในหรือภายนอก, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, หยาบหรือละเอียด, เลวหรือประณีต, ยัน ทูเร สันติเก วา, ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้, สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง, วิญญาณทั้งหมดนั้น, เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า, นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตะวา อะริยะสาวะโก, ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่างนี้,
รูปัสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป, เวทะนายะปิ นิพพินทะติ, แม้ในเวทนา, สัญญายะปิ นิพพินทะติ, แม้ในสัญญา, สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ, แม้ในสังขาร, วิญญาณัสะมิงปิ นิพพินทะติ, แม้ในวิญญาณ, นิพพินทัง วิรัชชะติ, เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด, วิราคา วิมุจจะติ, เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น,
วิมุตตัสะมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง โหติ, เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว, ขีณา ชาติ, วุสิตัง พรัหมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ, รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิมี,

อิทะมะโวจะ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนันตลักขณสูตรนี้ จบลงแล้ว,
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง, ภิกษุปัญจะวัคคีย์ต่างมีใจยินดี, ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา กะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน, ก็ขณะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสเทศนาภาษิตนี้อยู่,
ปัญจะ วัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ, อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ. ภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ, เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยอุปาทาน, ดังนี้แล

---------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 29 กันยายน 2552    
Last Update : 29 กันยายน 2552 22:21:03 น.
Counter : 4382 Pageviews.  

1  2  

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.