Group Blog
 
All Blogs
 

เผยแพร่พุทธศาสนา : คำประพันธ์ของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (๒) - อาทิตตปริยายสูตร



เผยแพร่พุทธศาสนา

อาทิตตปริยายสูตร

เอวัมเม สุตัง, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส,
สัทธิง ภิกขุ สะหัสเสนะ, ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ,
สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง, กิญจะ ภิกขะเว สังพัง อาทิตตัง,

จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง, รูปา อาทิตตา,
จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง, จักขุสัมผัสโส อาทิตโต,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา,
ตัมปิ อาทิตตัง, เกนะ อาทิตตัง,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, อาทิตตันติ วะทามิ

โสตัง อาทิตตัง, สัททา อาทิตตา,
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง, โสตะสัมผัสโส อาทิตโต
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา,
ตัมปิ อาทิตตัง, เกนะ อาทิตตัง,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, อาทิตตันติ วะทามิ

ฆานัง อาทิตตัง, คันธา อาทิตตา
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง, ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา,
ตัมปิ อาทิตตัง, เกนะ อาทิตตัง,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, อาทิตตันติ วะทามิ

ชิวหา อาทิตตา, ระสา อาทิตตา,
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง, ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา,
ตัมปิ อาทิตตัง, เกนะ อาทิตตัง,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, อาทิตตันติ วะทามิ

กาโย อาทิตโต, โผฏฐัพพา อาทิตตา,
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง, กายะสัมผัสโส อาทิตโต,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา,
ตัมปิ อาทิตตัง, เกนะ อาทิตตัง,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, อาทิตตันติ วะทามิ

มะโน อาทิตโต, ธัมมา อาทิตตา,
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง, มะโนสัมผัสโส อาทิตโต,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา,
ตัมปิ อาทิตตัง, เกนะ อาทิตตัง,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, อาทิตตันติ วะทามิ

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก,

จักขุสสะมิงปิ นิพพินทะติ, รูเปสุปิ นิพพินทะติ,
จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ,

โสตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, สัทเทสุปิ นิพพินทะติ,
โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ,

ฆานัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, คันเธสุปิ นิพพินทะติ,
ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ,

ชิวหายะปิ นิพพินทะติ, ระเสสุปิ นิพพินทะติ,
ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ,

กายัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ,
กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ,

มะนัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ,
มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง,
สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ,

นิพพินทัง วิรัชชะติ, วิราคา วิมุจจะติ,
วิมุตตัสสะมิง วิมุตตะมิติ ญานัง โหติ,
ขีณา ชาติ วุสิตัง พรัหมะจะริยัง,
กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ,

อิทะมะโวจะ ภะคะวา,
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง,
อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา กะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน,
ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อนุปาทายะ,
อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ

คำประพันธ์ของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

คำแปลอาทิตตปริยายสูตร
กาพย์อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

พุทโธพระองค์เจ้า พุทธเจ้าผู้เบิกบาน
พุทโธทรงโปรดปราน ทรงประทานคำสั่งสอน
พุทโธกรุณา ใครศรัทธาก็ทรงสอน
พุทโธทรงสั่งสอน แก่นิกรเวไนยชน
ทรงโปรดกรุณา ทรงเมตตาเวไนยชน
โปรดหมู่เวไนยชน ถ้วนทุกคนให้เห็นธรรม
โปรดปัญจวัคคีย์ สำเร็จดีเห็นดวงธรรม
โปรดให้เห็นดวงธรรม สำเร็จธรรมมรรคผลเกิด
โปรดยสกุลบุตร บริสุทธิ์มรรคผลเกิด
มรรคผลอันประเสริฐ อุบัติเกิดสำเร็จดี
โปรดสหายแห่งพระยส มีกำหนดห้าสิบสี่
สำเร็จมรรคผลดี เป็นธรรมดีได้สืบวงศ์
อรหันต์อันประเสริฐ อุบัติเกิดหกสิบองค์
หกสิบเอ็ดทั้งพระองค์ พระองค์ทรงให้ประกาศ
ให้ไปแห่งละองค์ พระองค์ทรงให้ประกาศ
พวกท่านจงประกาศ พุทธศาสนาเถิด
สั่งสอนประชาชน ให้ได้พ้นจากทุกข์เถิด
พวกท่านจงไปเถิด ธรรมประเสริฐธรรมวงศ์
จัดส่งพระสาวก หมดทั้งหกสิบพระองค์
ส่วนตัวของพระองค์ เสด็จทรงจาริกไป
เสด็จสู่อุรุเว- ลาประเทศ ณ แดนไกล
เสด็จเข้าอาศัย ณ เรือนไฟแห่งชฎิล
ทรงทำปาฏิหาริย์ ทรมานพวกชฎิล
ทิฏฐิแห่งชฎิล ถือตนสิ้นจากกิเลส
ประมาทศาสดา ไม่ศึกษาหาก่อเหตุ
ถือว่าตนวิเศษ สิ้นกิเลสอรหันต์
พระองค์ทรงทำฤทธิ์ ก็ศักดิ์สิทธิ์อรหันต์
น้ำท่วมภะคะวันต์ อรหันต์ทรงแหวกออก
แหวกน้ำเดินจงกรม พระบรมทรงแหวกออก
พระองค์ทรงแหวกออก ไม่ต้องบอกแก่ชฎิล
อุทกปาฏิหาริย์ ทรมานพวกชฎิล
พยศร้ายแห่งชฎิล ก็เสื่อมสิ้นเกิดเลื่อมใส
จึงขอบรรพชา ด้วยศรัทธาที่เลื่อมใส
ชฎิลเกิดเลื่อมใส น้ำใจใสจึงขอบวช
ชฎิลทั้งพันสาม น้ำใจงามจึงขอบวช
ชฎิลตกลงบวช พระองค์บวชเป็นภิกขุ
ชฎิลหมดฤทธิ์อวด จึงขอบวชเป็นภิกขุ
บวชเอหิภิกขุ บรมครูทรงบวชเอง
อินทรีย์เมื่อแก่กล้า พระองค์กล้าทรงสอนเอง
กรรมฐานทรงสอนเอง พระองค์เองเทศนา
ทรงเตือนให้ฟังธรรม พระสัทธรรมเทศนา
พระองค์เทศนา อาทิตตะปริยาย
แจกอายตนะ อาทิตตะปริยาย
อาทิตตะปริยาย อธิบายเป็นกองเพลิง
ดูกรพระภิกษุ ในจักษุเป็นกองเพลิง
อาทิตตังเป็นกองเพลิง ใจรื่นเริงเป็นเพลิงเลย
ในตาก็เป็นเพลิง เป็นกองเพลิงทั้งรูปเลย
ในหูเป็นเพลิงเลย เสียงนั้นเวย ก็เป็นไฟ
จมูกเป็นเพลิงร้อน กลิ่นก็ร้อนเป็นกองไฟ
ในลิ้นเป็นกองไฟ รสเป็นไฟเป็นของร้อน
ในกายก็เป็นไฟ สัมผัสไฟเป็นของร้อน
หัวใจเป็นไฟร้อน อารมณ์ร้อนเป็นกองไฟ
เวทนาก็เป็นไฟ เกิดกับใจเป็นถ่านเพลิง
อะไรเป็นของร้อน อะไรร้อนเป็นถ่านเพลิง
อะไรเป็นกองเพลิง คำว่าเพลิง คืออะไร
อะไรเผาให้ร้อน อะไรร้อนเป็นกองไฟ
ภิกษุผู้เห็นภัย จงรู้ไฟที่แผดเผา
ราคะแลโทสะ ทั้งโมหะที่แผดเผา
ไฟกิเลสมาแผดเผา จงรู้เท่าอย่าหลงตาย
หลงเกิดในสงสาร โทษสงสารแก่เจ็บตาย
หลงเกิดแก่เจ็บตาย กองทุกข์หลายจงดับเพลิง
ชฎิลเมื่อได้ฟัง สดับฟังก็ดับเพลิง
ในตาที่เป็นเพลิง ก็ดับเพลิงในรูปคน
ในหูที่เป็นเพลิง ก็ดับเพลิงในเสียงคน
ดับเพลิงจมูกตน กลิ่นของคนก็เหนื่อยหน่าย
ในลิ้นที่เป็นไฟ รสเป็นไฟก็เหนื่อยหน่าย
ในกายก็เหนื่อยหน่าย เกิดเหนื่อยหน่ายสัมผัสเลย
ในใจที่เป็นไฟ ก็ดับไฟอารมณ์เลย
ดับไฟวิญญาณเลย สัมผัสเฮยดับกองเพลิง
เวทนาคือสุขทุกข์ ไม่สุขทุกข์ดับกองเพลิง
ทิฏฐิบูชาเพลิง ก็ดับเพลิงระงับไป
ราคะแลโทสะ ทั้งโมหะก็ดับไป
กิเลสเมื่อดับไป สิ้นจากใจไม่พัวพัน
บรรลุมรรคแลผล เป็นบุทคลอรหันต์
สำเร็จอรหันต์ รู้เท่าทันประจักษ์ใจ
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว สิ้นทุกข์แล้วไม่สงสัย
พรหมจรรย์ไม่หวั่นไหว สิ้นสงสัยไม่ดิ้นรน
พรหมจรรย์ท่านรู้จริง สำเร็จจริงไม่กังวล
เสร็จกิจหมดกังวล ไม่ดิ้นรนความแจ้งใจ
กิจอื่นอีกไม่มี ยิ่งกว่านี้ประจักษ์ใจ
อรหันต์อยู่ที่ใจ ไม่ถือใจว่าเป็นตน
ถอนความที่ถือตน ไม่ถือตนคืออรหันต์
ทรงสอนพวกชฎิล สำเร็จสิ้นอรหันต์
สำเร็จอรหันต์ หมดทั้งพันกับสามองค์
อรหันต์อันวิเศษ สิ้นกิเลสได้สืบวงศ์
พักหกสิบสี่องค์ กับทั้งองค์ศาสดา
อรหันต์อันประเสริฐ อุบัติเกิดในโลกา
องค์อรหันตา ในโลกาทำความเพียร
กรรมฐานท่านเจริญ ท่านไม่เพลินทำความเพียร
เลื่อมใสในความเพียร ท่านเล่าเรียนกรรมฐาน
พวกเราจงทำเพียร จงเล่าเรียนกรรมฐาน
เรียนเถิดกรรมฐาน จักสังหารกิเลสแลฯ


--------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือชีวประวัติ ปฏิปทา และคำประพันธ์ ของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
โดย ธีรานันโท สำนักพิมพ์ดวงแก้ว

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 20 กันยายน 2552    
Last Update : 20 ตุลาคม 2552 19:54:15 น.
Counter : 3519 Pageviews.  

เผยแพร่พุทธศาสนา : คำประพันธ์ของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (๑) - อนันตลักขณสูตร



เผยแพร่พุทธศาสนา

คำปรารภ

การที่จะพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ขึ้น เนื่องจากเหตุที่ข้าพเจ้าได้ปรารภถึงพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานแล้ว โดยที่ข้าพเจ้าได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว และได้ตั้งใจปฏิบัติ ด้วยเข้าใจว่า ธรรมของจริงมีอยู่ ยังไม่เสื่อมสูญอันตรธานไป แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติไม่ถูกหนทาง ไม่เห็นธรรมของจริง จึงมีความเห็นแปลกแตกต่างกันไป หมดเขตมรรคผลธรรมวิเศษเสียแล้ว ดังนี้ก็มี บางพวกเห็นว่า มรรคผลธรรมวิเศษมีอยู่ แต่เราปฏิบัติไม่ถูก เราก็ไม่เห็น ดังนี้ก็มี
อีกประการหนึ่ง พระภิกษุสงฆ์ที่บวชในพระพุทธศาสนาสมัยปัจจุบันนี้มีมาก ก็แตกออกเป็นสองฝ่าย ร่วมอุโบสถสังฆกรรมกันไม่ได้นานหลายปีมาแล้ว แตกสามัคคีกันมาแต่เมื่อไรก็ไม่รู้ ข้าพเจ้าบวชเข้ามาก็เห็นเป็นอยู่อย่างนั้น ต่างพวกต่างประพฤติไปตามลัทธิวิธีของตนไม่ลงรอยกัน บางพวกบางเหล่าก็เป็นอลัชชี ไม่มีความละอาย ประพฤติล่วงธรรมล่วงวินัย น่าสังเวชสลดใจยิ่งนัก
เมื่อข้าพเจ้าได้มีสัทธาปสาทะในธรรมอันเป็นของจริงแล้ว มาแลดูหมู่พุทธบริษัท ก็บังเกิดความเมตตาเอ็นดูหวังดียิ่งนัก อยากจะให้ได้สัทธาปสาทะในธรรมอันเป็นของจริงเช่นนั้นบ้าง จึงสละชีวิตฝากไว้ในพระพุทธศาสนา อุตส่าห์แนะนำตักเตือนสั่งสอนประชาชนพุทธบริษัทให้ตั้งใจปฏิบัติด้วยวิธีเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตทำใจให้สงบระงับบ้าง และด้วยวิธีเทศนาตักเตือนสั่งสอนโดยอุบายโวหารต่างๆ บางพวกทำตามได้ บางพวกทำตามไม่ได้ บางพวกชอบสนุกและชอบเพลิดเพลินในสัททสำเนียงเสียงไพเราะเสนาะโสต แม้จะเทศนาและให้อุบายทำจิตทำใจเท่านั้นก็ไม่เพียงพอ ข้าพเจ้าจึงได้เรียงเป็นคำฉันท์เพื่อให้ผู้ชอบชั้นนั้นภูมินั้นได้ท่องบ่นจดจำบทธรรมข้อปฏิบัติ แล้วประพฤติปฏิบัติไปตาม แต่ครั้นเมื่อเรียบเรียงแล้วใครๆ ก็ต้องการอยากได้ไปท่องบ่นจดจำและสวดเป็นคำฉันท์ จนเขียนให้ไม่ทัน ก็พอดีพระพันธ์ อิสฺสริโก วัดบ้านหนองบัว ตำบลลาดบัวขาว มีงานบำเพ็ญกุศลบางประการได้มาร้องขอหนังสือฉบับนี้ พิมพ์ขึ้นเพื่อแจกในงานนั้น และเพื่อช่วยกำลังของข้าพเจ้าอีก ทั้งชนอื่นๆ อีกหลายท่าน ได้มีความยินดีบริจาคทรัพย์ช่วยในการพิมพ์ จึงได้พิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด เพื่อเป็นธรรมทานเชื่อว่า คงเป็นประโยชน์แก่ผู้ได้ยินได้ฟัง และตั้งใจปฏิบัติตามไม่มากก็น้อย แต่สำนวนโวหารข้าพเจ้าไม่ใช่นักประพันธ์ ก็คงมีผิดบ้างถูกบ้างเป็นธรรมดา เชื่อว่าคงได้รับอภัยโทษจากท่านผู้อ่านผู้ฟังทุกประการ
ก่อนจะพิมพ์ ได้นิมนต์พระมหาปิ่น พระมหาสมบูรณ์ พระอุ่น ธมฺมธโร พระฝั้น อาจาโร และ พระจันทร์ เขมปฺปตฺโต มานั่งเป็นคณะกรรมการตรวจทานเรียบร้อยแล้วจึงพิมพ์

พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗

อนัตตลักขณสูตร

เอวัมเม สุตัง, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทาเย,
ตัตตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา, รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
ลัพเภถะ จะ รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา, ตัสสะมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ รูเป,
เอวัง เม รูปังโหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ

เวทะนา อะนัตตา, เวทะนาจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา, ตัสสะมา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ

สัญญา อะนัตตา, สัญญาจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
ลัพเภถะ จะ สัญญายะ, เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา, ตัสสะมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ, เอวัง เม สัญญาโหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ

สังขารา อะนัตตา, สังขาราจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ, นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง,
ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ, เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา, ตัสสะมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ, นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ, เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ

วิญญานัง อะนัตตา, วิญญาณัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ, เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ,
ยัสสะมา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา, ตัสสะมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ, เอวัง เม วิญญาณังโหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ, อะนิจจัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, อะนิจจา ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, อะนิจจา ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ, อะนิจจา ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ, อะนิจจัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ, ทุกขัง ภันเต
ยัม ปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง, กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสสะมิ เอโส เม อัตตาติ, โนเหตัง ภันเต

ตัสสะมา ติหะ ภิกขะเว,
ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, ยัน ทูเร สันติเก วา, สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

ยา กาจิ เวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หีนา วา ปะณีตา วา, ยา ทูเร สันติเก วา, สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

ยา กาจิ สัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หีนา วา ปะณีตา วา, ยา ทูเร สันติเก วา, สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

เย เกจิ สังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หีนา วา ปะณีตา วา, เย ทูเร สันติเก วา, สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

ยังกิญจิ วิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หีนัง วา ปะณีตัง วา, ยัน ทูเร สันติเก วา, สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสะมิ นะ เมโส อัตตาติ, เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง,

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตะวา อะริยะสาวะโก, รูปัสะมิงปิ นิพพินทะติ, เวทะนายะปิ นิพพินทะติ, สัญญายะปิ นิพพินทะติ, สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ, วิญญาณัสะมิงปิ นิพพินทะติ, นิพพินทัง วิรัชชะติ, วิราคา วิมุจจะติ,
วิมุตตัสะมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง โหติ, ขีณา ชาติ, วุสิตัง พรัหมะจะริยัง, กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา, อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง, อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา กะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน, ปัญจะ วัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ, อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ.


คำประพันธ์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

คำแปลอนัตตลักขณสูตร
กาพย์อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

พุทโธโลกนารถ พุทธศาสดาจารย์
พุทโธผู้เบิกบาน ยังพลมารปราชัย
ตรัสแก่สัพพัญญู ตรัสรู้กิเลสไกล
สิ้นอาสวะขัย หฤทัยวิโมกข์ธรรม
วัฏฏูปัจเฉโท นิโรโธวิโมกข์ธรรม
สำเร็จโมกขธรรม อมตธรรมอันไม่ตาย
ไม่เกิดแลไม่แก่ ไม่เจ็บแท้ก็ไม่ตาย
พ้นแล้วจากความตาย พ้นอบายอเวจี
ทรงพระกรุณา ทรงเมตตาทรงหวังดี
โปรดปัญจวัคคีย์ ทรงหวังดีแสดงธรรม
สังขารเป็นกงจักร พระองค์หักซึ่งกงกำ
หักแล้วเป็นดวงธรรม พระองค์นำแสดงโปรด
ยกเรื่องวัฏฏจักร ธรรมจักรแสดงโปรด
เห็นทุกข์แลเห็นโทษ พระองค์โปรดให้หักเสีย
กงจักรให้ทุกข์เกิด จงเห็นเถิดจงหักเสีย
วัฏฏะเมื่อหักเสีย ทำลายเสียก็เห็นธรรม
อัญญาโกณฑัญญะ หักวัฏฏะก็เห็นธรรม
ดวงตาที่เห็นธรรม กระแสธรรมเป็นโสดา
พวกปัญจวัคคีย์ ท่านทั้งสี่ไม่มีตา
ไม่สำเร็จพระโสดา ไม่มีตาไม่เห็นธรรม
อัตตานุทิฏฐิ ถือทิฏฐิไม่เห็นธรรม
ถือตนไม่เห็นธรรม ได้ฟังธรรมก็เลื่อมใส
พระองค์ทรงโอวาท ทรงประกาศแถลงไข
เอื้อเฟื้อแลอาลัย เอาใจใส่ให้เห็นตน
เห็นธรรมจักษุ ได้บรรลุโสดาผล
ถอนความที่ถือตน หวังมรรคผลจึงขอบวช
พระองค์อนุญาต ทรงโอวาทรับรองบวช
เอหิภิกขุบวช ไม่ต้องสวดสำเร็จเอง
บวชเอหิภิกขุ บรมครูทรงบวชเอง
พระองค์ทรงสอนเอง พระองค์เองศาสดา
ตรัสเรียกให้ฟังธรรม พระสัทธรรมเทศนา
หวังเพื่ออรหัตต์ จึงทรงตรัสเทศนา
ทรงยกอนัตตา ลักขณาขึ้นแสดง
จำแนกเบญจขันท์ ทั้งห้าขันธ์ขึ้นแสดง
ทรงถามให้เห็นแจ้ง ให้รู้แจ้งด้วยตนเอง
รูปัง อนัตตา หรืออนัตตา ให้เห็นเอง
เวทนา ใช่ตัวตน สัญญาเอง อนัตตา
สังขารที่ถือตน วิญญาณตน อนัตตา
จงเห็นอนัตตา ในขันธ์ห้า ใช่ตัวตน
ถามปัญจวัคคีย์ ให้เห็นดี ใช่ตัวตน
ขันธ์ห้า ไม่ใช่ตน ถ้าเป็นตน ไม่ต้องป่วย
อัตตานุทิฏฐิ ถือทิฏฐิ ไม่ต้องป่วย
ถือตน ก็ต้องป่วย ความเจ็บป่วย อนัตตา
เวียนเกิดแลเวียนตาย เวียนทำลาย อนัตตา
ดูกร วัคคียา อนัตตาจริงหรือไม่
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จริงหรือไม่
เป็นทุกข์ จริงหรือไม่ หรือไม่ใช่ ไม่เห็นจริง
ภันเต พระเจ้าข้า อนัตตา เป็นทุกข์จริง
อนิจจา ไม่เที่ยงจริง ทุกข์จริง ๆ พระเจ้าข้า
ควรหรือจักตามเห็น ซึ่งรูปเป็นตัวอัตตา
ควรเห็นเวทนา เห็นสัญญาที่แปรปรวน
ควรเห็นซึ่งสังขาร เห็นวิญญาณที่แปรปรวน
เห็นทุกข์ที่แปรปรวน จึงไม่ควรจักถือเอา
ควรหรือจักถือตน ถือสกลเป็นตนเรา
ควรหรือจักถือเอา ถือเป็นเรา เป็นอัตตา
ภันเต ไม่ควรถือ ไม่ควรถือ พระเจ้าข้า
ไม่ควร พระเจ้าข้า อนัตตา อนิจจัง
ขันธ์ห้า เป็นกองทุกข์ ไม่ใช่สุข อนิจจัง
ไม่เที่ยง อนิจจัง เป็นทุกข์ขัง ลำบากใหญ่
พระองค์เมื่อทรงถาม ทรงตรัสห้าม ให้เห็นใจ
ภิกษุ เมื่อเห็นใจ สำเร็จได้ อรหันต์
ไม่ถือ อุปาทน สำเร็จฌาน อรหันต์
เหนื่อยหน่าย เบญจขันธ์ อรหันต์ โมกขธรรม
พ้นทุกข์ พ้นจากภัย อาสวะขัย โมกขธรรม
โลกุตตรธรรม ได้เห็นธรรม ประจักษ์ใจ
เหนื่อยหน่ายทั้งในรูป ได้เห็นรูป ก็เห็นใจ
เวทนา เหนื่อยหน่ายใจ เห็นหัวใจ ไม่ดิ้นรน
วิญญาณ ไม่ดิ้นรน ไม่กังวลไม่กำเริบ
ราคะก็สิ้นไป กิเลสไกล ไม่กำเริบ
พรหมจรรย์ ไม่กำเริบ ไม่อาบเอิบ อุปาทาน
พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว สิ้นไปแล้ว อุปาทาน
สำเร็จ พระนิพพาน สำเร็จฌาน ไม่สงสัย
วิมุตติ์ก็หลุดพ้น วิเศษพ้น กิเลศไกล
สิ้นอาสวะขัย สิ้นสงสัย ธรรมวิเศษ
อรหันต์ อันประเสริฐ อุบัติเกิด ธรรมวิเศษ
อรหันต์ ธรรมวิเศษ สิ้นกิเลส ในโลกา
อรหันต์ หกพระองค์ กับทั้งองค์ ศาสดา
อิสีปัตนา อยู่ในป่า บำเพ็ญเพียร
สงัดวิเวกใจ สงบใจ บำเพ็ญเพียร
อัศจรรย์ในความเพียร พระองค์เพียร กรรมฐาน
พวกเรา ก็ควรเพียร ควรเล่าเรียนร กรรมฐาน
ไม่ควรจะเกียจคร้าน กรรมฐาน ควรเจริญ
ศีลธรรม ไตรสิกขา ควรศึกษา ควรเจริญ
พวกเราจงเจริญ ทำจิตเทอญ วิเศษแลฯ



---------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือชีวประวัติ ปฏิปทา และคำประพันธ์ ของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
โดย ธีรานันโท สำนักพิมพ์ดวงแก้ว

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 20 กันยายน 2552    
Last Update : 20 ตุลาคม 2552 19:52:36 น.
Counter : 878 Pageviews.  

พระไตรสรณาคมน์ ตอนที่ ๒ สมาธิวิธี โดย พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

พระไตรสรณาคมน์ (๒)
โดยพระญาณวิศิษฏ์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)




สมาธิวิธี

๑. นั่งสมาธิวิธี
ให้นั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาวางทับมือซ้าย
อุชุง กายัง ปะณิธายะ ตั้งกายให้ตรง คือ ไม่ให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง และอย่าก้มนัก เช่น อย่างหอยนาหน้าต่ำ อย่าเงยหน้านัก เช่น นกกระแต้ (นกกระต้อยตีวิด) นอนหงาย พึงดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง
อุชุง จิตตัง ปะณิธายะ ตั้งจิตให้ตรง คือ อย่าส่งใจไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และอย่าส่งใจไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา พึงกำหนดเข้าไว้ในจิต

๒. วิธีสำรวมจิตในสมาธิ
มะนะสา สังวะโร สาธุ สำรวมจิตให้ดีคือ ให้นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์สาวกอยู่ที่ใจ นึกอยู่อย่างนี้จนใจตกลงเห็นว่าอยู่ที่ใจจริงๆ แล้ว ทอดธุระเครื่องกังวลลงได้ว่า ไม่ต้องกังวลอะไรอื่นอีก จะกำหนดเฉพาะที่ใจแห่งเดียวเท่านั้นจึงตั้งสติกำหนดใจนั้นไว้ นึกคำบริกรรมภาวนารวมใจไว้เข้า

๓. วิธีนึกคำบริกรรม
ให้ตรวจดูจิตเสียก่อน ว่าจิตอยู่ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็นอารมณ์ที่น่ารักหรือน่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารัก พึงเข้าใจว่า จิตนี้ลำเอียงไปด้วยความรัก เมื่อติดในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่า จิตนี้ลำเอียงด้วยความชัง ไม่ตั้งเที่ยงพึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้น ให้เป็นคู่กันเข้าไว้ที่ตรงหน้าซ้ายขวา แล้วตั้งสติกำหนดใจตั้งไว้ระหว่างกลางเปรียบอย่างถนนสามแยกออกจากจิตตรงหน้าอก ระวังไม่ให้จิตแวะไปตามทางเส้นซ้าย เส้นขวา ให้เดินตรงตามเส้นกลาง แต่ระวังไม่ให้ไปข้างหน้า ให้กำหนดจิตอยู่กะที่นั้นก่อน แล้วเลือกคำบริกรรมที่เลือกไว้จำเพาะเหมาะกับใจคำใดคำหนึ่ง เป็นต้นว่า “พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๆ ๆ” ๓ จบ แล้วรวมเอาคำเดียวว่า “พุทโธ ๆ ๆ” เป็นอารมณ์เพ่งจำเพาะจิตจนกว่าจิตนั้นจะวาง ความรัก ความชังได้ขาดตั้งลงเป็นกลางจริงๆ แล้วจึงกำหนดรวมทวนกระแสประชุมลงในภวังค์ตั้งสติกำหนดจิตในภวังค์นั้นให้เห็นแจ่มแจ้งไม่ให้เผลอ

๔. วิธีสังเกตจิตเข้าสู่ภวังค์
พึงสังเกตจิตในเวลากำลังนึกถึงคำบริกรรมภาวนาอยู่นั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งลงเป็นกลางวางความรักความชังทั้งสองนั้นได้แล้วจิตย่อมเข้าสู่ภวังค์ (คือจิตเดิม) มีอาการต่างๆ กัน บางคนรวมผับลง บางคนรวมปีบลง บางคนรวมวับแวบเข้าไป แล้วสว่างขึ้น ลืมคำบริกรรมไป บางคนก็ไม่ลืม แต่รู้สึกว่าเบาในกายในใจที่เรียกว่า
กายะละหุตา จิตตะละหุตา กายก็เบา จิตก็เบา
กายะมุทุตา จิตตะมุทุตา กายก็อ่อน จิตก็อ่อน
กายะปัสสัทธิ จิตตะปัสสัทธิ กายก็สงบ จิตก็สงบ
กายุชุกตา จิตตุชุกตา กายก็ตรง จิตก็ตรง
กายะกัมมัญญะตา จิตตะกัมมัญญะตา กายก็ควรแก่การทำสมาธิ จิตก็ควรแก่การทำสมาธิ
กายะปาคุญญะตา จิตตะปาคุญญะตา กายก็คล่องแคล่ว จิตก็คล่องแคล่ว
หายเหน็ด หายเหนื่อย หายเมื่อย หายหิว หายปวดหลัง ปวดเอว ก็รู้สึกว่าสบาย ในใจมาก
พึงเข้าใจว่า จิตเข้าสู่ภวังค์แล้วให้หยุดคำบริกรรมเสียและวางสัญญาภายนอกให้หมด ค่อยๆ ตั้งสติกำหนดจิต จนกว่าจิตนั้นจะหยุดและตั้งมั่นลง เป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่ง ก็อย่าเผลอสติ ให้พึงกำหนด อยู่อย่างนั้น จนกว่าจะนั่งเหนื่อย นี้แล เรียกว่า ภาวนาอย่างละเอียด

๕. วิธีออกจากสมาธิ
เมื่อจะออกจากที่นั่งสมาธิภาวนา ในเวลาที่รู้สึกเหนื่อยแล้วนั้น ให้พึงกำหนดจิตไว้ให้ดีแล้วเพ่งเล็งพิจารณาเบื้องบน เบื้องปลายให้รู้แจ้งเสียก่อนว่า เบื้องต้นได้ตั้งสติกำหนดจิตไว้อย่างไร พิจารณาอย่างไร นึกคำบริกรรมอะไร ใจจึงสงบอยู่อย่างนี้ ครั้นเมื่อใจสงบแล้ว ได้ตั้งสติอย่างไร กำหนดจิตอย่างไร ใจจึงไม่ถอนจากสมาธิพึงทำใจไว้ว่า ออกจากที่นั่งแล้วนอนลงก็จะกำหนดไว้อย่างนี้ จนกว่าจะนอนหลับ แม้ตื่นขึ้นมา ก็จะกำหนดอย่างนี้ตลอดวันและคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อทำในใจเช่นนี้แล้ว จึงออกจากที่นั่งสมาธิ เช่นนั้นอีกก็พึงทำพิธีอย่างที่ทำมาแล้ว

๖. มรรคสมังคี
มรรคมีองค์อวัยวะ ๘ ประการ ประชุมลงเป็นเอกมรรค คือ ๗ เป็นอาการ องค์ที่ ๘ เป็นหัวหน้า อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้เห็น
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้ดำริ
สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้นึกแล้วกล่าว
สัมมากัมมันโต การงานชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้คิดทำการงาน
สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้คิดหาเลี้ยงชีวิต
สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้มีเพียรมีหมั่น
สัมมาสติ ความระลึกชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้ระลึก
ทั้ง ๗ นี้แหละ เป็นอาการประชุมอาการทั้ง ๗ นี้ลงเป็นองค์สัมมาสมาธิ แปลว่าตั้งจิตไว้ชอบ ก็คือ ความประกอบกำหนดจิตให้เข้าสู่ภวังค์ได้แล้วตั้งสติกำหนดจิตนั้น ไว้ให้เป็นเอกัคคตาอยู่ในความเป็นหนึ่ง ไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีออก ไม่มีเข้า เรียกว่า มรรคสมังคี ประชุมมรรคทั้งองค์ ๘ ลงเป็นหนึ่งหรือเอกมรรค ก็เรียกมรรคสมังคีนี้ ประชุมถึง ๔ ครั้ง จึงเรียกว่า มรรค ๔ ดังแสดงมา ฉะนี้

๗. นิมิตสมาธิ
ในเวลาจิตเข้าสู่ภวังค์ และตั้งลงเป็นองค์มรรคสมังคีดีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่างๆ มาปรากฎในขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงตั้งสติกำหนดใจไว้ให้ดีอย่าตกประหม่ากระดาก และอย่าทำความกลัวจนเสียสติและอารมณ์ ทำใจให้ฟุ้งซ่านรั้งใจไม่อยู่ จะเสียสมาธิ นิมิตทั้งหลายไม่ใช่เป็นของเที่ยง เพียงสักว่าเป็นเงาๆ พอเห็นปรากฎแล้วหายไปเท่านั้นเอง
นิมิตที่ปรากฎนั้นคือ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑ นิมิตที่ปรากฎเห็นดวงหทัยของตนใสสว่างเหมือนดวงแก้ว แล้วยึดหน่วงเหนี่ยวรั้ง ให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดี เรียก อุคคหนิมิต ไม่เป็นของน่ากลัว
นิมิตที่ปรากฎเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติย่อมไม่กลัว ยิ่งเป็นอุบาย ให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะ แยกส่วนแบ่งส่วนของกายนั้นออกดูได้ดีทีเดียวและน้อมเข้ามาพิจารณากายของตนให้เห็นแจ่มแจ้ง จนเกิดนิพพิทาญาณเบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังน้ำใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีกำลังยิ่งขึ้น เรียก ปฏิภาคนิมิต

๘. วิธีเดินจงกรม
พึงกำหนดหนทางสั้นยาว แล้วแต่ต้องการ ยืนที่ต้นทาง ยกมือประนม ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะตั้งใจปฏิบัติ เพื่อเป็นปฏิบัติบูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระธรรม และพระอริยสงฆ์สาวก ขอให้ใจของข้าพเจ้าสงบระงับ ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีปัญญาเฉลียวฉลาดรู้แจ้งแทงตลอด ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเทอญ แล้ววางมือลง เอามือขวาจับมือซ้ายไว้ข้างหนึ่ง เจริญพรหมวิหาร ๔ ทอดตาลงต่ำ ตั้งสติกำหนดจิตนึกถึงคำบริกรรมเดินกลับไปกลับมาจนกว่าจิตจะสงบลงเป็นองค์สมาธิ ในขณะที่จิตกำลังรวมอยู่นั้น จะหยุดยืนกำหนดจิตให้รวมเป็นสมาธิก่อนจึงเดินต่อไปอีกได้ ในวิธีเดินจงกรมนี้ กำหนดจิตอย่างเดียวกันกับการนั่งสมาธิ แปลกแต่ใช้อริยาบถเดินเท่านั้น
จิตในสมาธินี้มีวิธีฝึกหัดในอิริยาบถทั้ง ๔ จึงต้องนั่งสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้าง ยืนกำหนดจิตบ้าง นอนสีหไสยยาสน์บ้างเพื่อให้ชำนาญคล่องแคล่ว และเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอ

๙. วิธีแก้นิมิต
มีวิธีแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ
วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิแม้มีนิมิตอะไรๆ มาปรากฏหรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไร ไม่ต้องหวั่นไหว ไปตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป จะเป็นความคิดผิดที่เรียกว่า จิตวิปลาส แปลว่าความคิดเคลื่อนคลาดแปลกประหลาดจากความจริง นิ่งอยู่ในสมาธิไม่ได้ให้บังเกิดเป็นสัญญาความสำคัญผิดที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส แปลว่า หมายมั่นไปตามนิมิต เคลื่อนคลาดจากจิตผู้เป็นจริงทั้งนั้น จนบังเกิดถือทิฏฐิมานะขึ้นที่เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส แปลว่าความเห็นเคลื่อนจากความเป็นจริง คือเห็นไปหน้าเดียวไม่แลเหลียวดูให้รู้เท่าส่วนในส่วนนอก ชื่อว่าไม่รอบคอบเป็นจิตลำเอียงไม่เที่ยงตรง เมื่อรู้เช่นนี้จึงไม่ควรส่งจิตไปตาม เมื่อไม่ส่งจิตไปตามนิมิตเช่นนั้น แล้วก็คอยให้ระวังไม่ให้จิตเป็นตัณหาเกิดขึ้น คือ ไม่ให้จิตดิ้นรนยินดีอยากเห็นนิมิตนั้น แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นก็ดี หรือยินร้าย อยากให้นิมิตนั้นหายไปก็ดี หรือแม้ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ซึ่งนิมิตน่ากลัวก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ตัณหา ถ้าเกิดมีในจิตอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ให้รีบระงับดับเสีย คือ ถอนความอยาก ความไม่อยากออกเสีย เมื่อนิมิตมีมาก็อย่ายิน เมื่อนิมิตหายไปก็อย่ายินร้าย หรือเมื่อนิมิตที่น่ากลัวมีมาก็อย่าทำความกลัว และอย่าทำความคดโกง อยากให้หายไปก็ไม่ว่า ไม่อยากให้หายก็ไม่ว่า อยากเห็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเห็นก็ไม่ว่า ให้เป็นสันทิฏฐิโก คือเห็นเอง อยากรู้ก็ไม่ว่า ไม่อยากรู้ก็ไม่ว่า ให้เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ตั้งจิตไว้เป็นกลางๆ แล้วพึงทำความรู้เท่าว่า อันนี้เป็นส่วนจิต อันนั้นเป็นส่วนนิมิต แยกส่วนแบ่งส่วนตั้งไว้เป็นคนละอันรักษาเอาแต่จิตกำหนดให้ตั้งอยู่เป็นฐีติธรรมเที่ยงแน่ว ทำความรู้เท่าทันจิตและนิมิตทั้งสองเงื่อนรักษาไม่ให้สติเคลื่อนคลาดจากจิต ทั้งไม่ให้เผลอสติได้เป็นดี สะติมา ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมะนัสสัง ถอนอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้แล้ว ก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย เมื่อประกอบข้อปฏิบัติอันนี้ อยู่อย่างนี้ สติก็ตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ประชุมกันเป็นสมาธิดังนี้ เรียก ญาตปริญญา แปลว่า รู้เท่าอารมณ์

วิธีที่ ๒ ตรวจค้นปฏิภาคนิมิต คือเมื่อเห็นว่าจิตมีกำลังประชุมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนาดีแล้ว พึงฝึกหัดปฏิภาคนิมิตให้ชำนาญ คือ เมื่อเห็นรูปนิมิตมาปรากฏในตาในจิต เห็นเป็นรูปคนเด็กเล็ก หญิงชาย หนุ่มน้อย บ่าวสาว หรือแก่เฒ่าชราประการใดประการหนึ่งก็ตาม แสดงอาการ แลบลิ้น ปลิ้นตา หน้าบิดตาเบือน อาการใดอาการหนึ่งก็ตาม ให้รีบพลิกจิตเข้ามากลับตั้งสติผูกปัญหาหรือทำในใจก็ได้ว่า รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชราต่อไปหรือไม่ เมื่อนึกในใจกระนี้แล้วพึงหยุดและวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดพิจารณานิ่งเฉยอยู่ จนกว่าจะตกลงและแลเห็นในใจว่า เฒ่าแก่ชราได้เป็นแท้ จึงรีบพิจารณาให้เห็นเฒ่าชรา หลังขด หลังโข สั่นทดๆ ไป ในขณะปัจจุบันทันใจนั้น แล้วผูกปัญหาถามดูทีว่า “ตายเป็นไหมเล่า” หยุดนิ่งพิจารณาอยู่อีกจนกว่าจะตกลงเห็นในใจได้ว่า ตายแน่ตายแท้ไม่แปรผัน จึงรีบพิจารณาให้เห็น ตายลงไปอีกเล่าในขณะปัจจุบันทันใจนั้น “เมื่อตายแล้วจะเปื่อยเน่าแตกทำลายไปหรือไม่” หยุดนิ่งพิจารณาเฉยอยู่อีก จนกว่าจิตของเราจะตกลงเห็นว่า เปื่อยเน่าแตกทำลายไปได้แท้ แน่ในใจฉะนี้แล้วก็ให้รีบพิจารณาให้เห็นเปื่อยเน่าแตกทำลาย จนละลายหายสูญลงไป เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุ ธรรมฐีติ ธรรมนิยามะ แล้วพลิกเอาจิตของเรากลับทวนเข้ามาพิจารณาภายในกายของเราเอง ให้เห็นลงไปอย่างเดียวกัน จนกว่าจะตกลงและตัดสินในใจได้ว่า ร่างกายของเรานี้ก็แก่เฒ่าชรา ทุพพลภาพ แตก ตาย ทำลาย เปื่อยเน่าไปเป็นเหมือนกัน แล้วให้รีบตั้งสติพิจารณาเห็นเป็นแก่เฒ่าชราดูทันที และพิจารณาให้เห็นตายลงไป ในขณะปัจจุบันแยกส่วนแบ่งออกดูให้เห็นแจ้งว่า หนังเป็นอย่างไร เนื้อเป็นอย่างไร กระดูกเป็นอย่างไร ตับไตไส้พุง เครื่องในเป็นอย่างไร เป็นของงาม หรือไม่งาม ตรวจดูให้ดีพิจารณาให้ละเอียดจนกว่าจะถอนความยินดียินร้ายเสียได้ แล้วพิจารณาให้เห็นเปื่อย เน่า ผุ พัง ลงถมแผ่นดินไป ภายหลังกลับพิจารณาให้เห็นคืนกลับมาอีก แล้วฝึกหัดทำอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะชำนาญ หรือยิ่งเป็นผู้มีสติได้พิจารณาให้เนื้อ หนัง เส้นเอ็น และเครื่องในทั้งหลายมี ตับ ไต ไส้ พุง เป็นต้น เปื่อยเน่า ผุพัง ลงไปหมดแล้ว ยังเหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า จงกำหนดเอาร่างกระดูกนั้น เป็นอารมณ์ทำไว้ในใจ ใคร่ครวญให้เห็นแจ้งอยู่เป็นนิจจนกว่าจะนับได้ทุกกระดูกก็ยิ่งดี เพียงเท่านี้ ก็เป็นอันแก้นิมิตได้ดีทีเดียว
คราวนี้ พึงทำพิธีพิจารณาเป็นอณุโลมถอยขึ้นถอยลง คือ ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดีแล้วเพ่งพิจารณาให้เห็นผมอยู่บนศรีษะมีสีดำสัณฐานยาวก็จะหงอกขาวลง ขาวลง ถมแผ่นดินทั้งนั้นและพิจารณาให้เห็นขนซึ่งเกิดตามขุมขนตลอดทั่วทั้งร่างกาย นอกจากฝ่ามือฝ่าเท้า ก็ลงถมแผ่นดินเหมือนกัน พิจารณาเล็บที่อยู่ปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ ให้เห็นเป็นของที่จะต้องถมแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น พิจารณาฟัน ซึ่งอยู่ในปากข้างบนข้างล่างให้เห็นแจ้งว่า ได้ใช้เคี้ยวอาหารกินอยู่เป็นนิจ แต่ก็ต้องลงถมแผ่นดินเหมือนกัน คราวนี้พิจารณาหนังเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ยังมีชีวิตนี้ให้ตั้งอยู่และเป็นไป ถ้าถลกหนังนี้ออกหมดแล้วก็ต้องตาย ตายแล้วก็ต้องถมแผ่นดิน พิจารณาเห็นความจริงฉะนี้แล้ว เลิกหนังออกวางไว้บนพื้นดินแล้วพิจารณาดูเนื้อให้เห็นแจ้งว่า เนื้อในร่างกายมีอยู่เป็นกล้ามๆ แล้วกำหนดให้เน่า ผุพังลงไปกองไว้ที่พื้นดิน พิจารณาเส้นเอ็น ให้เห็นแจ้งว่า เส้นเอ็นทั้งหลายรัดรึงกระดูกไว้ให้ติดกันอยู่ เมื่อเลิกเส้นเอ็นนี้ออกหมดแล้ว กระดูกก็จะหลุดจากกันผุพังลงถมแผ่นดินทั้งสิ้น แล้วกำหนดเลิกเส้นเอ็นนั้นออกเสียกองไว้ที่พื้นดิน พิจารณาร่างกระดูกให้เห็นแจ้งว่า กระดูกในร่างกายนี้เป็นท่อนๆ เบื้องต่ำแต่กระดูกกระโหลกศรีษะลงไป เบื้องบนแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นมา เห็นได้กระจ่างพอสมควรแล้วเพ่งเล็งพิจารณาดูเครื่องในทั้งหลายให้เห็นว่า ปอดอยู่ที่ไหน ม้ามอยู่ที่ไหน ดวงหทัยอยู่ที่ไหน ใหญ่น้อยเท่าไร เห็นตับไต ไส้พุงอาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร มีสีสันวรรณะเป็นไฉน เครื่องในทั้งปวงนี้เป็นที่ประชุมแห่งชีวิตก็จริง แต่ก็ต้องถมแผ่นดิน เมื่อพิจารณาเห็นฉะนี้แล้วพึงกำหนดให้ขาดตกลงกองไว้ที่พื้นดินยังเหลือแต่ร่างกระดูก จึงพิจารณาดูกระดูกกระโหลกศรีษะเป็นลำดับลงมากระดูกคอ กระดูกแขน กระดูกหัวไหล่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา กระดูกเข่า กระดูกแข้ง กระดูกพื้นเท้า พิจารณาอย่างนี้เรียกว่า อนุโลม
คราวนี้พึงพิจารณาเป็นปฏิโลม คือพิจารณาถอยกลับขึ้นเบื้องบนตั้งแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นไป ตลอดถึงกระดูกกระโหลกศรีษะ พิจารณาทวนกลับจากศรีษะถอยลงมาตรงหน้าอกนั้นให้มั่นคง ทำในใจว่า ร่างกายทั้งหมดนี้ มีจิตเป็นใหญ่ประชุมอยู่ที่จิต จึงกำหนดรวมจิตเข้าให้สงบ แลตั้งอยู่เป็นเอกัคคตา วิธีที่ ๒ เรียกว่า ตีรณปริญญา แปลว่า ใคร่ครวญอารมณ์

ขอเตือนสติไว้ว่า ในระหว่างที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น ห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนจากที่คือ ระวังไม่ให้ส่งจิตไปตามอาการ จิตจะถอนจากสมาธิ ถ้าจิตถอนจากสมาธิเป็นใช้ไม่ได้ ข้อสำคัญให้เอาจิตเป็นหลักไม่ปล่อยจิต ให้มีสติเพ่งรอบจิตพิจารณารอบกายรักษาใจไม่ให้ฟุ้ง จึงไม่ยุ่งในการพิจารณา

วิธีที่ ๓ เจริญวิปัสสนา คือ เมื่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายได้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้ มีกำลังพอพิจารณาปฏิภาคนิมิต ได้ชำนาญคล่องแคล่วเป็นประจักขสิทธิ์ ดังที่ได้อธิบายมาแล้วและกำหนดจิตรวมเข้าไว้ในขณะจิตอันเดียว ณ ที่หน้าอกตั้งสติพิจารณาดูให้รู้รอบจิตเพ่งพินิจให้สว่างแลเห็นร่างกระดูกทั่วทั้งกายยกคำบริกรรมวิปัสสนาวิโมกขปริวัตรบริกรรมจำเพาะจิตว่า
สัพเพ ธัมมา อะนัตตา
สัพเพ ธัมมา อะนิจจา
สัพเพ ธัมมา ทุกขา
ให้เห็นร่างกระดูกทั้งหมด เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรถือเอา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ กำหนดให้เห็น กระดูกทั้งหลาย หลุดจากกันหมด ตกลงไปกองที่พื้นดิน คราวนี้ตั้งสติให้ดี รักษาไว้ซึ่งจิตอย่าให้เผลอ ยกคำบริกรรมวิปัสสนานั้นอีก เพ่งพิจารณาจำเพาะจิตให้เห็นอวัยวะ ที่กระจัดกระจายกองไว้ที่พื้นดินละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟถมแผ่นดินไปหมด กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้เพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นพื้นแผ่นดินกว้างใหญ่เท่าไร เป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งโลก ก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟ ยกวิปัสสนาละลายแผ่นดินนั้นทิ้งเสียให้เห็นเป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิตคือ ผู้รู้ตั้งไว้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่และวางลงเป็นอุเบกขาเฉยอยู่กะที่ คราวนี้จะแลเห็นจิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้าวล่วงจากนิมิตได้ดี มีกำลังให้แลเห็นอำนาจอานิสงส์ของจิต ที่ได้ฝึกหัดสมาธิมาเพียงชั้นนี้ ก็พอมีศรัทธาเชื่อในใจของตน ในการที่จะทำความเพียรยิ่งๆ ขึ้นไป
วิธีที่ ๓ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา แปลว่า ละวางอารมณ์เสียได้
แล้วในที่สุด มีเทวปัญหาปรากฏขึ้นเฉพาะที่เวลารจนาหนังสือนี้สำเร็จว่า “น้ำมันหอมเอ้าเท่าสยาม” ดังนี้จะมีนัยอธิบายเป็นประการใด

------------- จบ ---------------

คัดลอกจาก

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 14 กันยายน 2552    
Last Update : 2 ตุลาคม 2552 23:06:28 น.
Counter : 793 Pageviews.  

พระไตรสรณาคมน์ ตอนที่ ๑ โดย พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

พระไตรสรณาคมน์ (๑)
โดย พระญาณวิศิษฏ์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)




พระไตรสรณาคมน์นี้ เป็นวิธีประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วย ตามระเบียบธรรมเนียมของพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลก็มีพระบาลี แสดงให้ปรากฏอยู่แล้วว่า ประชาชนทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาความเชื่อเลื่อมใส ได้ตั้งตนเป็นพุทธบริษัทมาแล้ว ล้วนแต่ได้ประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์ทั้งนั้น อุทาหรณ์ข้อนี้ พึงเห็นมารดา บิดาแห่งยศกุลบุตร แลสิงคมลกมาณพเป็นตัวอย่าง วิธีปฏิญาณตนถึงสรณะนี้ ดูเหมือนขาดคราวไม่ได้ใช้ทำกันมานาน จนพวกอุบาสก อุบาสิกา กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดเป็นชอบ คือ นับถือ ภูต ผี ปีศาจ นับถือเทวดา อารักษ์ หลักคุณกันไปหมด ผู้ที่จะตั้งใจนับถือพระไตรสรณาคมน์จริงๆ ไม่ใคร่มีเลย ถึงเม้มีก็น้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าปรารถถึงพระพุทธศาสนาบ่อยๆ แลได้ช่วยแนะนำสั่งสอนให้ประชาชน พลเมืองทั้งหลายได้ประกาศ ปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะก็มากมายหลายคนแล้ว แต่ยังไม่หนังสือแจก จึงได้พิมพ์หนังสือพระไตรสรณาคมน์นี้ขึ้น

อีกประการหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา แสดงว่า บุญกับบาปสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ บุคคลที่ได้ทำบาปทำอกุศลไว้แล้วจะทำบุญแก้บาปก็แก้ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่จะละบาปบำเพ็ญบุญนั้นจะต้องทำอย่างไรกัน ก็ต้องตอบง่ายๆ ว่า ไม่มีวิธีอย่างอื่น นอกจากวิธีแก้จิต เพราะเหตุว่า วิธีแก้จิตเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแลเป็นหัวใจของสมถะแลวิปัสสนากัมมัฎฐานในพระบาลี ก็แสดงให้รู้แจ้งแล้วว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าก็ดี ล้วนแต่ ได้แก้จิตมาแล้วทั้งนั้น จึงสำเร็จโพธิญาณแสสาวกบารมีญาณพ้นทุกข์ ในวัฏฏะสงสารไปได้ เมื่อบุคคลมาแก้ไขซึ่งจิตของตนให้บริสุทธิ์เรียบร้อยแล้วบาปอกุศลที่ตนทำไว้ทั้งหลายก็หายไปเอง อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นองคุลีมาลเป็นตัวอย่าง

วิธีแก้จิตก็คือ วิธีนั่งสมาธินี้เอง แต่ก็เป็นของที่ขาดคราวมานานจนผู้ศึษาพระพุทธศาสนาเข้าใจผิดไปว่าหมดคราวหมดสมัยหมดเขตมรรคผลธรรมวิเศษแล้ว จึงทำให้เป็นคนจน ท้อแท้อปราชัยไม่สามารถหาอุบายแก้ไขจิตของตนต่อไปได้ มีข้อเหล่านี้แลเป็นเหตุทำให้ข้าพเจ้าได้รับสังเวชมากจึงปรารภถึงพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น คุณหา บุญมาชัย ปลัดขวา อำเภอพระลับจังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้ข้าพเจ้าเรียบเรียงวิธีแก้จิต คือ สมาธิวิธีขึ้น เชื่อว่า คงเป็นประโยชน์แก่เหล่าพุทธบริษัทผู้นับถือพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในสรณาคมน์ ได้ปฏิบัติสืบไป อุบาสก อุบาสิกา มีศรัทธาบริจาคทรัพย์พิมพ์ไว้ในพระพุทธศาสนา

พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

วิธีปฏิญาณตน

ถึงพระไตรสรณาคมน์ เป็นพุทธมามกะ คือ เป็นอุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนาตลอดชีพ
คำปฏิญาณตนถึงสรณะเมื่อน้อมตนเข้ามานั่งเฉพาะหน้าพระสงฆ์ทั้งปวงแล้ว ถวายเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
(กราบ ๓ หน)
นั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาว่า
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตังอะภิวาเทมิ
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
(กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
(๓ จบ)

ว่าองค์พระไตรสรณาคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ปฏิญาณตนว่า
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตังภะคะวันตัง สะระณังคัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
อุปาสะกัง (อุปาสิกัง) มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตังภะคะวันตัง สะระณังคัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
อุปาสะกัง (อุปาสิกัง) มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตังภะคะวันตัง สะระณังคัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
อุปาสะกัง (อุปาสิกัง) มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง

แปลว่า
ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานมานานแล้วพร้อมทั้งพระธรรม และพระอริยสงฆ์สาวก ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ที่นับถือของข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าสิ้นชีวิต ขอพระสงฆ์ ทั้งปวงจงทรงจำไว้ ซึ่งข้าพเจ้าเป็นอุบาสก (อุบาสิกา) ในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตแห่งข้าพเจ้าแล

เจริญพระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ, วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
(กราบลง หมอบว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ
เจริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
(กราบลง หมอบว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม
เจริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย, อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
(กราบลง หมอบว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
(เงยขึ้น กราบ ๓ หน)
นั่งพับเพียบ ประณมมือ ฟังคำสั่งสอนในระเบียบ วิธีรักษาและปฏิบัติพระไตรสรณาคมน์ ต่อไป
ผู้ที่ได้ปฏิญาณตนถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท ชายเป็นอุบาสก หญิงเป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนามีหน้าที่ต้องปฏิบัติพระพุทธศาสนาสืบไป

วิธีรักษาพระไตรสรณาคมน์ไม่ให้ขาดและเศร้าหมอง มีดังนี้
๑. เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเคารพ ๖ ประการ คือ เคารพในพระพุทธเจ้า ๑ เคารพในพระธรรม ๑ เคารพในพระอริยสงฆ์สาวก ๑ เคารพในความไม่ประมาท ๑ เคารพในไตรสิกขา ๓ คือ ศีล ๑ สมาธิ ๑ ปัญญา ๑ เคารพในปฏิสันถารการต้อนรับ ๑ ต้องเป็นผู้มีความเชื่อ ความเลื่อมใส นับถือ พระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกของตนจริง ถ้าประมาทเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
๒. เว้นจากการนับถือพระภูมิต่างๆ คือ ไม่นับถือภูตผีปีศาจ พระภูมิเจ้าที่ เทวบุตร เทวดา มนต์ คาถา วิชาต่างๆ ต่อไป ถ้านับถือเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
๓. ไม่เข้ารีตเดียรถีย์นิครณฐ์ คือ ไม่นับถือลัทธิอื่นวิธีศาสนาอื่น ภายนอกพระพุทธศาสนามาเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกของตนสืบไป ถ้านับถือ เข้ารีตเดียรถีย์เมื่อไร ก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
๔. ไม่นับถือลัทธิศาสนาพราหมณ์ คือ ไม่ดูไม้ดูหมอ แต่งแก้ แต่งบูชา เสียเคราะห์เสียขวัญเป็นต้น ถ้านับถือเมื่อไร ก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
๕. เป็นผู้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น ตลอดจนเชื่อความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ข้อนี้ต้องเป็นผู้มีสมาธิเสมอ ถ้าขาดสมาธิเมื่อไร ก็ขาดศรัทธาความเชื่อเมื่อนั้น ถ้าขาดศรัทธา ความเชื่อเมื่อไร ก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น

วิธีปฏิบัติพระไตรสรณาคมน์

ท่านสอนให้ปฏิบัติใจของตนเอง เพราะคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามนี้สำเร็จด้วยใจ ล้วนเป็นคุณสมบัติของใจทั้งนั้น ท่านจึงสอนให้ปฏิบัติใจของตนเองให้เป็นคนหมั่น คนขยัน ไหว้พระทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน
ปะฐะมัง ยามัง จังคะมายะ นิสัชชัง อาวะระณิเยหิ ธัมเมหิ จิตตัง ปะริโสเธติ
เวลาก่อนเข้านอน ตอนหัวค่ำให้เดินจงกรม แล้วทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อนเข้านอน
อัฆฒะรัตตัง จังกะมายะ นิสัชชัง อาวะระณิเยหิ ธัมเมหิ จิตตังปะริโสเธติ
เวลาเที่ยงคืน นอนตื่นขึ้นเป็นเวลาที่สงบสงัดดี ให้เดินจงกรม ทำพิธีไหว้พระ เจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบและตั้งมั่นในสมาธิแน่วแน่ จึงนอนต่ออีก
ปัจฉิมัง ยามัง จังกะมายะ นิสัชชัง อาวะระณิเยหิ ธัมเมหิ จิตตังปะริโสเธติ
เวลาปัจจุสมัย จวนใกล้รุ่ง ให้ลุกขึ้นแต่เช้า ล้างหน้า เช็ดหน้าเรียบร้อยแล้ว ทำพิธีไหว้พระ เจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิ ภาวนาทำจิตให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ แล้วเดินจงกรมต่อไปอีกจนแจ้งเป็นวันใหม่ จึงประกอบงานต่อไป

อานิสงส์ของการสวดมนต์

๑. ไล่ความขี้เกียจขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง
๒. ตัดความเห็นแก่ตัว เพราะขณะนั้นอารมณ์ของเรา ไปหน่วงที่การสวดมนต์ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้กร้ำกรายเข้าสู่วาระจิต
๓. ได้ปัญญา การสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ย่อมทำให้ผู้สวด ได้ปัญญา ความรู้ แทนที่จะสวดแจ้วๆ เหมือนนกแก้ว นกขุนทอง โดยไม่รู้อะไรเลย
๔. จิตเป็นสมาธิ เพราะขณะสวดต้องสำรวมใจแน่วแน่มิฉะนั้นจะสวดผิด ได้หน้าลืมหลัง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็น ในจิตจะเกิดขึ้น
๕. ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ใจ ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

-------------- จบ ตอนที่ ๑ -----------------



คัดลอกจาก

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา




 

Create Date : 14 กันยายน 2552    
Last Update : 2 ตุลาคม 2552 23:04:21 น.
Counter : 1143 Pageviews.  

ปฏิปทา ขันติ และวัตถุมงคล ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

พระญาณวิศิษฏ์ สมิทธิวิจารย์ (หลวงพ่อสิงห์)




ท่านอาจารย์สิงห์เมื่อได้เข้าพบและสมัครตัวเป็นลูกศิษย์ ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากรรมมัฎฐานจากท่านอาจารย์มั่น ได้แน่วแน่ที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมมัฎฐานมิได้หยุดหรือท้อถอย และได้ติดตามท่านอาจารย์มั่นเดินธุดงค์ปฏิบัติกรรมมัฎฐานไปตามป่าช้า ตามถ้ำ เขาต่างๆ ไปเรื่อยๆ บำเพ็ญเพียรจนเกิดความชำนาญ รู้จักบังคับจิตของตน รู้วาระจิตตนเองและวาระจิตของผู้อื่นด้วย เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงจนเป็นที่ไว้วางใจของท่านอาจารย์มั่น ให้ทำการสอนลูกศิษย์พระเณรแทนในบางโอกาส ท่านอาจารย์มั่นได้มอบหมายให้ท่านอาจารย์สิงห์คอยควบคุมดูแลเณรในการประพฤติปฏิบัติทำสมาธิและเดินจงกรม ปรากฏว่า ท่านไม่ได้เดินตรวจควบคุมแต่อย่างใด ท่านเพียงแต่นั่งทำสมาธิหลับตาตรวจดู แต่ท่านอาจารย์สิงห์ก็สามารถทราบได้ว่า พระเณรองค์ไหนได้ปฏิบัติอย่างไรบ้าง องค์ใดยืน เดิน นั่ง นอนอย่างไร ตลอดไปถึงความนึกคิด ในวันรุ่งขึ้นท่านสามารถรายงานให้ท่านอาจารย์มั่นทราบได้ทุกองค์ และเมื่อสอบถามความจริงพระและเณรทุกองค์ต่างก็ยอมรับว่า เป็นจริงตามที่ท่านอาจารย์สิงห์รายงาน จนเป็นที่เคารพเกรงขามของพระเณรทุกองค์ ไม่กล้ากระทำกิจอันใดที่ผิด เพราะเกรงท่านอาจารย์สิงห์รู้ จนเป็นที่ไว้วางใจของท่านอาจารย์มั่น ได้มอบหน้าที่ให้เป็นผู้อบรมสั่งสอนพระเณรทั้งหมด

ในการสร้างวัดของท่านอาจารย์สิงห์และคณะ บางครั้งก็ถูกขัดขวางจากคนบางกลุ่ม เช่น เมื่อครั้งไปจัดสร้างวัดป่าทรงคุณ บริเวณป่ามะม่วง จังหวัดปราจีนบุรี มีนักเลงโตไม่พอใจ จนถึงจ้างคนมาลอบยิงท่านอาจารย์สิงห์ซึ่งกำลังเดินจงกรมอยู่ในป่าช้า แต่คนที่รับจ้างมายิงยกปืนยิงไม่ออก พอจะก้าวเท้าหนีก็ก้าวไม่ออก ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้รู้ว่า ใครเป็นผู้จ้างวาน ท่านจึงได้อบรมสั่งสอนแนะผิดแนะชอบแล้วปล่อยตัวมือปืนไป ตอนเช้าท่านได้ออกบิณฑบาตไปที่บ้านคนที่เป็นคนจ้างมือปืนไปยิงท่าน เมื่อบุคคลทั้งหมดเห็นท่านอาจารย์สิงห์ก็ตกตะลึงยืนนิ่งเป็นใบ้ จนกระทั่งอาจารย์มหาปิ่นซึ่งไปด้วยบอกเตือน ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้คลายอำนาจกระแสจิต คนเหล่านั้นต่างก้มกราบและขออภัยจากท่าน เสร็จแล้วต่างร่วมใจกันสร้างวัดให้เป็นวัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ลุล่วงด้วยดี

ปฏิปทาและขันติของท่านพระอาจารย์สิงห์

ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์สิงห์ได้ปฏิบัตกิจวัตรประจำไม่ได้ขาด ตอนเช้าทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะนำคณะออกบิณฑบาตแผ่บุญกุศลแก่ญาติโยม หลังจากนั้นท่านจะทำการอบรมพระภิกษุ สามเณรให้ปฏิบัติกรรมฐานทุกๆ วันมิให้ขาด
ตอนเย็นเมื่อกระทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะอบรมธรรมะแก้ปัญหาธรรมที่มีภิกษุสามเณรติดขัดจนเป็นที่เข้าใจ ตอนกลางคืน ท่านจะให้พระภิกษุ สามเณรนั่งสมาธิภาวนาทุกรูป ซึ่งปรากฏว่า ไม่มีใครกล้าหลีกเลี่ยง พอตอนเช้า ท่านก็จะเรียกพระภิกษุ สามเณรที่ไม่ปฏิบัติกรรมฐานมาว่ากล่าวตักเตือน ชี้ให้เห็นถึงความเสียหายต่างๆ จนเป็นที่ยำเกรงของคณะศิษย์ทุกรูป

ท่านอาจารย์สิงห์ฉันหนเดียว และฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตรตลอดชีวิต ท่านถือผ้าไตรจีวรสามผืนเป็นวัตร
ท่านถือผ้านิสีทนะปูนั่งเป็นวัตร คือ จะนั่ง ณ ที่ใดก็ตาม ท่านต้องปูผ้านิสีทนะของท่านก่อนจึงจะนั่งทับลงไป การปฏิบัติต่างๆ ท่านอาจารย์สิงห์ถือเคร่งครัดมาก
ด้านความเพียร ท่านอาจารย์สิงห์ บางครั้งจะเดินจงกรมตลอดวัน นั่งสมาธิตลอดคืน บางทีท่านจะสั่งลูกศิษย์ คือ พระครูใบฎีกาณรงค์ชัย รักขิตสีโล ให้ปฏิบัติท่าน โดยท่านจะเข้าสมาบัติเป็นเวลา ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ซึ่งก็หมายความว่าท่านได้อดอาหารเป็นเวลา ๕ – ๗ วันไปด้วย ร่างกายของท่านก็มิได้มีอะไรผิดปรกติ ยังเห็นท่านปฏิบัติกรรมฐานเดินจงกรมทุกวี่วันมิได้ขาด

ครั้งหนึ่ง ตอนที่ท่านอาจารย์สิงห์นอนป่วยอยู่ ท่านพระครูใบฎีกาณรงค์ชัย ได้เข้าเวรรักษาพยาบาลปรนนิบัติท่าน ขณะกำลังนั่งทำงานพัดอยู่ กลดด้ามเหล็ด หนักร่วม ๓๐ กิโลกรัมตกลงมากระแทกหน้าอกของท่านอาจารย์สิงห์เป็นรอยช้ำ แต่ท่านมิได้ปริปากพูดแต่ประการใด เพียงแต่นอนมองทำตาปริบๆ เท่านั้น
และในครั้งเมื่อเกิดการเจ็บป่วยมีทุกข์เวทนาอย่างแสนสาหัส ท่านก็ไม่เคยปริปากบอกใคร เวลาเจ็บป่วยหนักๆ ลุกไม่ขึ้น เมื่อมีแขกมาเยี่ยม ถามว่า ท่านอาจารย์สบายดีหรือ ท่านก็ตอบไปเพียงว่า สบายดีอยู่ ทั้งๆ ที่เจ็บปวดอย่างที่คนธรรมดาสามัญจะทนไม่ได้ ท่านอาจารย์สิงห์เป็นมะเร็งเกี่ยวกับลำไส้ ช่วงระยะเวลาช่วงหลังของชีวิต ท่านถูกโรคร้ายนี้คุกคามตลอดเวลา เมื่อตอนงานผูกพัทธสีมา วัดป่าสาละวัน ท่านกำลังทำสังฆกรรมในโบสถ์ พอดีกับเวลานั้นโรคมะเร็งของท่านกำเริบเจ็บปวดจนกระดิกตัวไม่ได้ ท่านก็ไม่ยอมปริปากบอกให้ใครรู้ จนเสร็จจากสังฆกรรมเรียบร้อย พระสงฆ์องค์อื่นลุกออกไปเกือบหมดแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้บอกกับพระครูใบฎีกาณรงค์ชัยว่า “ขณะนี้ในท้องของเราไม่ปรกติเสียแล้ว” ท่านพูดเพียงแค่นี้เอง แต่ความไม่ปรกติของท่านนั้น ทำเอาท่านลุกไม่ขึ้น ต้องหามส่งโรงพยาบาลทันที นับเป็นปฏิปทาในด้านความมีขันติของท่านพระอาจารย์สิงห์อย่างยิ่ง
ภายหลังท่านอาจารย์สิงห์ป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฏฯ จนถึงเข้าพรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ลูกศิษย์ได้รับท่านมาพักรักษาตัวที่วัดป่าสาละวันตามเจตนาของท่าน ดูเหมือนท่านจะรู้วาระของท่านอย่างแน่ชัด ท่านได้จัดการสั่งสอนศิษย์และภิกษุ สามเณร มอบงานหน้าที่ต่างๆ จนเป็นที่เรียบร้อย จวบวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านก็มรณภาพด้วยอาการสงบ ท่ามกลางลูกศิษย์ที่เฝ้าดูแล ยังความเศร้าสลดต่อลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างยิ่ง วันมรณภาพของท่าน ท่านอาจารย์สิงห์ได้นิมิตบอกมายังพระครูในฎีกาณรงค์ชัย ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่วัดป่าทรงคุณ จ.ปราจีนบุรี พระครูใบฎีกาณรงค์ชัย จึงรีบเดินทางมายังวัดป่าสาละวัน แต่ก็มาช้า ปรากฏว่า ท่านอาจารย์สิงห์ได้มรณภาพเสียก่อนแล้วประมาณ ๒ ชั่วโมง ท่านอาจารย์สิงห์มรณภาพเวลาประมาณ ๑๐.๒๐ น. ซึ่งเป็นการสูญเสียเกจิอาจารย์องค์สำคัญของพระกรรมฐาน ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ผู้ที่สำคัญที่สุดทีเดียว

สิ่งมหัศจรรย์

หลังจากที่ท่านมรณภาพ ลูกศิษย์จะนำศพของท่านจากกุฏิลงศาลาไปสรงน้ำ พอเจ้าหน้าที่ยกศพขึ้นจากที่ ฝนก็ตกลงมาอย่างไม่มีเค้าเลย แต่พอวางศพท่านลงถึงพื้นฝนหยุดตกทันที พอหมอนำยามาฉีดกันศพเน่าก็เกิดฉีดไม่เข้าอีก เข็มฉีดยาหักไปสามเล่ม เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาต้องหาดอกไม้ธูปเทียนมาขอขมาและขออนุญาต พอแทงเข็มเข้าก็ยาไม่เดินอีก ต้องจัดหาดอกไม้ขัน ๕ มาบอกกล่าวอีก และเกิดปาฏิหารย์ไม่ต้องเร่งดันเข็ม ยาวิ่งเข้าเองเลย ทำให้ศิษย์ที่อยู่ในบริเวณยกมือท่วมหัวสาธุกันทั่วหน้า เป็นบุญบารมีของท่านอย่างแท้จริง เมื่อตกแต่งศาลาหลังต่ำเสร็จจะนำศพท่านไปสรงน้ำและตั้งศพท่าน พอเจ้าหน้าที่ยกศพท่านขึ้น ฝนก็ตกลงมาอีก แต่พอถึงที่วางศพท่านลง ฝนก็หยุดทันที ยังความแปลกประหลาดใจแกผู้พบเห็นกันทั่วหน้า
เมื่อถึงงานพระราชทานเพลิงศพของท่านอาจารย์สิงห์ก็เช่นกัน พอเจ้าหน้าที่ยกศพของท่านขึ้น ฝนก็เริ่มตกปรอยๆ ได้นำศพของท่านแห่รอบศาลาเมรุสามรอบแล้วนำขึ้นตั้งบนเมรุ พอวางศพท่านลง ฝนก็หยุดตกทันที ในวันพระราชทานเพลิงศพของท่านพระอาจารย์สิงห์ มีผู้คนจากทั่วสารทิศ มีคณะศิษย์ทั้งฆราวาสและสามเณรรวมทั้งภิกษุในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาร่วมชุมนุมกันครบถ้วน จนบริเวณวัดป่าสาละวันแน่นขนัด คับแคบไปหถนัดตา ผู้คนต่างออกปากกล่าวขวัญว่า “ช่างเป็นบุญญาธิการของท่านอาจารย์สิงห์อย่างแท้จริง”


วัตถุมงคล

ประวัติการสร้างวัตถุมงคลของท่านอาจารย์สิงห์ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ไว้ดังนี้

พ.ศ.๒๕๐๐ ท่านอาจารย์สิงห์ได้จัดสร้างเหรียญปางลีลา ด้านหน้าเขียนว่า “ฉลองพระพุทธศาสนา ๒๕๐๐” โดยทำเป็นเหรียญรูปไข่ แบ่งออกเป็นแบบของชายและหญิง สร้างที่วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา

พ.ศ.๒๕๐๑ ท่านอาจารย์สิงห์ ได้สร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน จัดทำเป็นรูปโดยตัดตามรอยขององค์พระตามรูปนั่งสมาธิของท่านอาจารย์สิงห์ เหรียญรุ่นนี้ตอนสร้าง ท่านอาจารย์สิงห์ได้จัดสั่งให้ทำเป็นเหรียญรูปไข่ แต่คนรับไปทำคือ นายสมศักดิ์ แสงจันทร์ กลับไปสั่งให้ร้านรับทำที่กรุงเทพฯ จัดทำเป็นรูปโดยตัดตามรอยขยักขององค์พระตามรูปท่านั่งสมาธิของท่านอาจารย์สิงห์ เมื่อนำกลับมาส่งมอบให้ท่านปลุกเสก ท่านเห็นเหรียญที่ทำมาท่านบอกว่า “แบบนี้เราไม่ต้องการ เราสั่งให้ทำเหรียญแบบรูปไข่ แบบกลมๆ ไปทำแบบไหนมาให้นำไปฝัง” แต่ท่านก็ได้ปลุกเสกให้ เมื่อท่านปลุกเสกให้แล้วจะนำไปฝังดินทิ้ง แต่ทหารค่ายจักรพงษ์ขอไปแล้วนำไปทดลองยิงปรากฏว่ายิงไม่ออก ยิงครั้งที่สามปืนแตกจนไหม้คนทดลองยิง เป็นเหตุให้คนต่างอยากได้ไว้บูชาประจำตัวกัน พวกลูกศิษย์ลูกหาจึงมาอ้อนวอนให้ท่านนำมาแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ของท่าน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๑ โดยนำเหรียญดังกล่าวใส่บาตรไว้ตามแต่ใครจะเอา ให้ทำบุญบูชาไป นับว่าเหรียญรุ่นนี้แปลกกว่าเหรียญอื่นๆ ทำได้สวยงามมาก นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่านอาจารย์สิงห์ เหรียญรุ่นนี้ได้จัดสร้างที่วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา และสร้างที่วัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี มีพระพุทธคุณสูงมาก



เหรียญพระญาณวิศิษฏ์ (สิงห์) หลังยันต์นาเต็ม บล็อคปราจีน



เหรียญพระญาณวิศิษฏ์ (สิงห์) หลังยันต์นาเต็ม บล็อคโคราช



เหรียญบล็อคโคราชและบล็อคปราจีน นั้น ใช้แม่พิมพ์เหรียญเดียวกัน แต่เหรียญบล็อคโคราช นั้น ด้านหน้าเหรียญตรงบริเวณ สันจมูกของท่านจะมีเนื้อเกินออกมา อย่างชัดเจน สันนิษฐานว่า เหรียญบล็อคปราจีน นั้นจะถูกสร้างก่อน เมื่อนำมาใช้ปั๊มสร้างเหรียญออกที่วัดป่าสาละวัน ต่อ แม่พิมพ์ได้ชำรุด จึงเป็นเหตุให้เกิดเนื้อเกิน ดังกล่าวขึ้น



นอกจากนี้เหรียญทั้งสอง ได้ใช้ตัวตัดเหรียญคนละอันกัน สามารถสังเกตุได้อย่างชัดเจน


และท่านอาจารย์สิงห์ ยังได้สร้างวัตถุมงคลของท่านอีกหลายอย่างซึ่งเป็นฝีมือของประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา ปราจีนบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีกเป็นอันมาก



เหรียญเสมาพระญาณวิศิษฏ์ (สิงห์) หลังยันต์ตะกร้อ (ภาพจากเวป ท่าพระจันทร์)

พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านอาจารย์สิงห์ได้จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน เป็นแบบตัดริมขยักตามองค์พระอีก ด้านหลังเป็นยันต์หมอมหาวิเศษของท่านเช่นเดิม มีรูปแบบเหมือนเหรียญที่สร้างปี พ.ศ.๒๕๐๑ เนื่องจากนำแม่พิมพ์เก่ามาใช้ อย่างไรก็ดี เหรียญรุ่นนี้ ด้านหน้าเหรียญจะเหมือนเหรียญบล็อคโคราช แต่ด้านหลังของเหรียญ จะปรากฏว่าอักขระยันต์ ที่เหมือนอักษร นา จะไม่ติดชัด ไม่ครบสมบูรณ์ จึงเรียกเหรียญรุ่นนี้ กันว่า บล็อคยันต์นาไม่เต็ม (หรือนาขาด)



เหรียญพระญาณวิศิษฐ์ (สิงห์) หลังยันต์นาไม่เต็ม (ภาพจากเวป ยู อะมิวเลท )
จุดสังเกตุแยกแยะอีกประการหนึ่งคือ เหรียญหลังยันต์นาไม่เต็มนี้ ได้ใช้ตัวตัดแบบตัดริมขยัก เหมือนเหรียญ บล็อคปราจีน ทำให้สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจน

และในคราวนี้ได้จัดสร้างล๊อกเกตรูปของท่านด้วยแบ่งเป็นของชาย หญิงแยกกัน ทำแผ่นยันต์หมอมหาวิเศษ และแหวนเงินลงยารูปท่านอาจารย์สิงห์ด้วย



เหรียญรูปไข่ พิมพ์พระประธาน



ล็อคเก็ต หลวงพ่อสิงห์ (ภาพจากเวป ยู อะมิวเลท)



ผ้ายันต์ (ภาพจากเวป ยู อะมิวเลท)

พระชุดนี้สร้างแจกในงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาละวัน จังหวัดนครราชสีมา เป็นเหรียญและพระรุ่นสุดท้ายของท่านอาจารย์สิงห์ เพราะหลังจากงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาละวันแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ก็ล้มป่วยและมรณภาพในเวลาต่อมา

วัตถุมงคลของท่านอาจารย์สิงห์นั้น เป็นที่นิยม หายาก และมีพระพุทธคุณสูงมาก ผู้ที่มีอยู่ต่างหวงแหน ปัจจุบัน มีผู้ทำปลอม เลียนแบบออกมาหลากหลายฝีมือ ผู้ที่สนใจจะได้ไว้บูชาจึงพึงระมัดระวังในการเช่าหาเป็นอย่างยิ่ง

อนึ่ง เกี่ยวกับเหรียญปั๊มที่จัดสร้างเป็นรูปนั่งสมาธิของพระอาจารย์สิงห์นั้น ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้มีการนำแม่พิมพ์เหรียญด้านหน้าชุดนี้มาใช้จัดสร้างเหรียญอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้จัดทำแม่พิมพ์เหรียญด้านหลังใหม่ เรียกกันว่า เหรียญยันต์นกเล็ก




เหรียญปี พ.ศ.๒๕๑๘ นี้ แม้จะจัดสร้างขึ้นหลัง ท่านอาจารยสิงห์ มรณภาพแล้ว แต่ก็ได้รับการพุทธาภิเษก โดยท่านพระอาจารย์ฝั้นและลูกศิษย์พระสายอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสาละวัน นับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยม หายากเช่นกัน


อ้างอิงเนื้อความจาก
หนังสือ งานประกวดพระบูชา พระเครื่องและเหรียญคณาจารย์
หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๔

หนังสือชีวประวัติ ปฏิปทาและคำประพันธ์ ของ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
รวบรวมโดย ธีรานันโท
สำนักพิมพ์ ดวงแก้ว

ภาพประกอบเรื่อง (บางส่วน) จาก

//www.thaprachan.com

//www.uamulet.com

ผู้เรียบเรียงและเขียนบทความ ขออนุญาติ นำภาพจากเวปมาเผยแพร่ เพื่อการศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติม สำหรับผู้ศรัทธา และสนใจในปฏิปทา ของท่านพระอาจารย์สิงห์ โดยมิได้หวังผลประโยชน์ตอบแทนแต่อย่างใด และขอขอบคุณทางเวปและท่านเจ้าของภาพไว้ ณ ที่นี้




 

Create Date : 12 กันยายน 2552    
Last Update : 12 กันยายน 2552 15:39:32 น.
Counter : 28071 Pageviews.  

1  2  

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.