เรื่องราวผู้หญิงกับการเดินทางด้วยหัวใจ 2 ล้อ (มอเตอร์ไซด์) รวมถึงการท่องไปในโลกกว้างด้วยวิธีการอื่นๆ คลอเคล้าด้วยคนตรีไพเราะหลากหลายรูปแบบ เรามาผจญภัยด้วยกันนะคะ
ความแตกต่างระหว่าง "หมอผิวหนัง" "หมอความงาม" "หมอศัลยกรรมความงาม"

ในปัจจุบันเรามีชิวิตที่สุขสบายมากขึ้น มีกำลังทรัพย์ที่จะมอบให้กับเรื่อยที่แตกต่างจากที่ผ่านมาออกใป หนึ่งในนั้นคือเรื่องของ "ความสวยความงาม"





เราจะเห็นว่าทุกวันนี้คลินิกที่เกี่ยวกับผิวพรรณความงามผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทุกหย่อมหญ้า ในฐานะที่ตัวเองเป็นหมอคนหนึ่ง จึงอยากมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับศาสตร์นี้ให้ฟังกัน


"หมอผิวหนัง"

"หมอศัลยกรรมความงาม"

"หมอความงาม"


แตกต่างกันอย่างไร


ศาสาตร์แห่งความงาม เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานที่หลากหลาย ต้องการองค์ความรู้ทั้งจาก ตจวิทยา รวมทั้งศัลยกรรม เข้าด้วยกัน เพราะเพียงศาสตร์เดียวไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดๆ ว่าคลินิกเสริมความงามเหล่านี้ ต้องใช้แพทย์ผิวหนังเท่านั้น ส่วนบางคลินิกเริ่มนำศัลยกรรมเข้ามาเสริม เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของคนไข้ได้มากสุด จำเป็นต้องเป็นเพียงศัลยกรรมพลาสติกหรือไม่ แล้วมันยังไงกันนะ  !!?

แพทย์ผิวหนัง คือ แพทย์ที่จบเฉพาะทางสาขาตจวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์แยกย่อยจากอายุรกรรม มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่าอายุรกรรมผิวหนังก็ว่าได้ หมายความว่าแพทย์ที่จบเฉพาะทางสาขานี้จริงๆ แล้วหลักๆ จะเน้นไปทางการรักษาโรคอายุกรรมทางผิวหนัง ในอดีตแพทย์ที่จบเฉพาะทางสาขานี้ก็ไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของความงามแต่อย่างใด เช่น การฉีดโบท๊อกซ์ การฉีดฟีลเลอร์ หรือแม้แต่กระทั้งการยิงเลเซอร์ แต่ในปัจจุบันเพราะเหตุที่กิจการเหล่านี้บูมมาก จึงได้มีการบรรจุไว้ใน 3 เดือนสุดท้ายของการเรียนเฉพาะทางตจวิทยา

ถ้าจะว่ากันแล้วศาสตร์ทางด้านความงามเป็นศาสตร์ที่ใหม่และไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรค จึงไม่การเปิดสอนแบบเบ็ดเสร็จเกี่ยวกับความรู้ในด้านนี้ แม้แต่ในต่างประเทศก็ตาม แต่พื้นฐานของการให้รักษาและการดูแลอยู่ภายใต้พื้นฐานของกายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาทั่วไปที่แพทย์ทุกคนสามารถเรียนรู้และเก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ได้

แพทย์ศัลยกรรมความงาม ขึ้นชื่อว่าศัลยกรรมก็ต้องเกี่ยวกับการผ่าตัด โดยความเข้าใจทั่วไปแล้ว เมื่อพูดถึงแพทย์ที่เกี่ยวกับความงาม เรามักจะเข้าใจว่าต้องเป็นศัลยกรรมพลาสติกเท่านั้น แต่ถ้าดูตามความเป็นจริงแล้ว แพทย์เฉพาะทางจักษุ (ตา) ก็สามารถผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โดยรอบดวงตาได้, แพทย์เฉพาะทางหูคอจมูก ก็สามารถผ่าตัดในพื้นที่บริเวณใบหน้าได้ แล้วศัลยกรรมพลาสติกล่ะ !!? จริงๆ แล้วแพทย์ศัลยกรรมพลาสติก งานหลักๆ คือ Reconstructive เน้นด้านการซ่อมแซมความพิกลพิการหรือทุกพลภาพให้กลับมาใช้การได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด ไม่ได้เน้นแต่ความสวยงามแต่อย่างใด แต่แพทยศัลยกรรมความงาม (Plastic Surgeon) จะมีความสามารถที่กว้างกว่า คือ เรียกว่าทำได้ทั้งตัว
แต่เอาจริงๆ แล้วแพทย์ทุกคนมีความสามารถในการผ่าตัดระดับหนึ่งหลังจากเรียนจบแพทย์ศาสตร์บัณฑิต แพทย์บางท่านอาจมึความสนใจที่แคบจนไม่ได้ไปเรียนต่อเฉพาะทางในแขนงหลักๆ ต่างๆ เหล่านั้น แต่ก็สามารถที่จะมีความรู้ความชำนาญในบางด้านได้จากการสนใจขวนขวายหาความรู้จากตำรา, การคอร์สการเรียนเฉพาะในระยะสั้นๆ หรือได้รับการสอนจากแพยท์ท่านอื่น  ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่ในขอบเขตขององค์ความรู้และหลักวิชาทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด จึงอาจจะพบว่าแพทย์บางท่านไม่ไว้มีวุฒิบัตรทางผิวหนัง แต่ก็มีความสามารถในการรักษาโรคในด้านผิวหนัง แพทย์บางท่านไม่ได้มีวุฒิบัตรทางด้านศัลยกรรม แต่ก็มีความสามารถในการผ่าตัดเพื่อเสริมความงามได้เช่นกัน

แพทย์ความงาม จึงเป็นแพทย์ที่จบแพทย์ศาสตร์บันฑิต คือแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ไม่ได้ต่อเฉพาะทาง หรืออาจจะจบเฉพาะทางๆใดทางหนึ่ง เช่น แพทย์ผิวหนัง จักษุแพทย์ แพทย์ศัลกรรมพลาสติก แพทย์หูคอจมูก  ที่สนใจเกี่ยวกับความงาม แล้วนำความรู้ทางการแพทย์ที่มีมุ่งเน้นมาทำการรักษาเพื่อก่อให้เกิดความงดงามของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนี้ รวมศาสตร์ชะลอวัย (Anti-aging) และแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เข้าไว้ด้วย แล้วแต่ความสนใจส่วนตัวของแพทย์ที่จะดึงมาใช้ประกอบการรักษาดูแลคุณให้เป็นไปตามต้องการ


มารู้จักกับคำว่า "แพทย์เฉพาะทาง หรือ "Board Certificate" กันว่าคืออะไร


แพทย์ทุกคน คือ บุคคลที่เรียนจบแพทย์ศาสตร์บันฑิต ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคทุกโรค เมื่อจบแล้วจะต้องสอบในประกอบวิชาชีพหรือเรียกอีกอย่างว่าใบประโรคศิลป์ (เรียกสั้นว่าใบ ว.) แม้บางคนจะเรียนจบแพทย์ในประเทศไทย ได้รับปริญญา แต่สอบใบประกอบโรคศิลป์ไม่ผ่านก็ไม่ทะเบียนแพทย์ในประเทศและไม่สามารถรักษาโรคได้ตามกฏหมาย รวมทั้งผู้ที่จบแพทย์จากต่างประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ในอเมริกาที่ดูจะมีภาษีดีกว่าบ้านเช่นกัน

แต่เนื่องด้วยโรคภัยไข้เจ็บนั้นมีมากมายหลายหลากกว้างขวางสุดๆ การที่จะมีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง จึงต้องมีการเรียนเพิ่มเติม ซึ่งก็ได้มีการจำแนกแยกกลุ่มโรคที่ใกล้เคียงกันออกมา เพื่อสร้างเป็นหมวดหมู่ให้เรียนรู้เพิ่มเติม เช่น แพทย์อายุรกรรม แพทย์ศัลยกรรม แพทย์สูตินรีเวช โดยการเรียนนั้นก็คือการเข้าไปทำงานในแผนกที่ต้องการมีความเชียวชาญในโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยสาขานั้นๆ ว่ามีศักยภาพในการให้การอบรมเป็นเวลา 3-6 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาที่เรียน ซึ่งไม่เท่ากัน แล้วจึงมีการสอบให้ผ่านเกณฑ์ เพื่อได้รับใบประกาศนียบัตรในสาขานั้น (Board Certificated) นอกจากนี้ในแต่ละสาขายังมีสาขาแยกย่อย (Sub-board) ออกไปอีกด้วยซึ่งต้องเรียนต่อหลังจากเรียนจบเฉพาะทางอีกที เรียนกันจนแก่ บางคนเรียนรวมๆ แล้วสิบกว่าปีเลยทีเดียว


ทีนี้คงพอเข้าใจแล้วนะคะ ที่เขาเรียกว่าหมอเฉพาะทางหรือจบบอร์ดมา นี่คืออะไร


ย้อนกลับมาในเรื่องของแพทย์ผิวหนัง ในประเทศไทย หนึ่งช่องทางคือที่ได้อธิบายไปในข้างต้น ก็คือการเรียนเฉพาะทาง ซึ่งแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง ตามหลักเกณฑ์ของราชวิทยาลัยนั้นต้องเรียนถึง 4  ปี โดยปีแรกต้องไปเรียนกับแพทย์อายุรกรรมทั่วไป พอจินตนาการออกไหมคะ ว่างานมันหนักหน่วงขนาดไหน ซึ่งเทรนปัจจุบันแพทย์ผิวหนังใช้ความรู้เพื่อการรักษาโรคน้อยมากกว่างานด้านความสวยงาม และความต้องการแพทย์ด้านนี้มีมากขึ้น จึงมีการเรียนหรืออบรมอีกหลายแบบที่มีระยะเวลาที่สั้นลง ไปดูกันว่ามีการเรียก การอบรมอื่นๆ ว่าอะไรบ้าง

M.S. ย่อมาจาก Master of science คือ ปริญญาโท (Master Degree) ทางสาขาวิทยาศาตร์ ออกจะแปลกๆ อยู่หน่อย เพราะแพทย์ศาสตร์บัณฑิ (M.D. - Medical Doctor) จริงๆ แล้วมีศักดิ์เทียบเท่าปริญญาเอก แล้วจะกลับไปเรียนทำไม

ในประเทศไทยการเรียนแพทย์ระบบจะเป็นไปตามอังกฤษ ซึ่งแตกต่างจากอเมริกา คือ ในประเทศไทยหลังจากจบ ม.6 แล้วเราก็เข้าเรียนแพทย์ได้เลย ซึ่งต้องเรียนเป็นระยะเวลา 6 ปี แต่ในประเทศอเมริกา คุณจะต้องจบปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ใดๆ ก็ได้ก่อนเป็นเวลา 4 ปีตามปกติ แล้วจึงจะเข้าเรียนแพทย์ต่ออีก 4  ปี นั่นหมายความว่าต้องใช้เวลาเรียน 8 ปี จึงจะจบแพทย์มารักษาคนได้ ส่วนใหญ่คนอเมริกันหลังจากจบปริญญาตรีก็มักจะใช้เวลาทำงานอีกสักพัก จึงจะมาต่อแพทย์ นั่นทำให้แพทย์ของอเมริกานั้นดูค่อนข้างจะมีอายุ ซึ่งหมอเองก็พบปัญหานี้บ่อยที่บ้านเราว่าคนไข้ต่างชาติมักจะตกใจว่าทำไมหมอไทยถึงเด็กนัก นี่เป็นที่มาของ M.S. ด้านตจวิทยาซึ่งมีสอนในต่างประเทศรวมถึงในประเทศไทยเองด้วย ใช้เวลาเรียน 2 ปีเหมือนๆ กับปริญญาโททั่วๆ ไป

Diploma (หรือ Diplomat, Diplomacy เหมือนกันค่ะ) เป็นการเรียนรู้ให้มีความชำนาญในด้านในด้านหนึ๋งเช่นกันจากศูนย์ฝึกอบรบที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย หรือ สมาคมที่ได้รับการรับรองต่างๆ ในที่นี้ก็คือโรคทางผิวหนังนี่แหล่ะ แต่คอสจะสั้นกว่า ซึ่งมักจะใช้เวลา 1  ปี

ส่วนใบประกาศนียบัตรอื่นๆ เช่น คำว่า Certificate of attendant มักหมายถึงการเข้าประชุมวิชาการสั้นๆ หรือ การอบรมสั้นๆ ต่างๆ ซึ่งก็ถือเป็นการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ให้กับแพทย์ท่านนั้นเช่นกัน

แพทย์เฉพาะทางนั้น สาขาหลักๆ จะเป็นสาขาที่มีการยอมรับในทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันยังมีศาสตร์ใหม่ๆ ที่ก่อกำเนิดขึ้น แต่องค์ความรู้ยังไม่ยอมรับกันทั่วโลกตามหลักสากล ก็จัดเป็นสาขาที่ยังไม่มีตัวตน แพทย์สภาในประเทศเรายังไม่ยอมรับเช่นกัน แต่หากการรักษาที่เกิดขึ้นตามองค์ความรู้ใหม่เหล่านี้ ไม่ทำให้เกิดอันตราย ก็ไม่ผิดกฏหมายแต่อย่างใด



ว่าด้วยเรื่องวุฒิต่างๆ ผ่านไป

มาต่อกันด้วยว่า คลินิกเสริมความงาม คือ คลินิกอะไรกันแน่


จากข้างต้นจะเห็นว่าเมื่อศาสตร์นี้มันไม่เฉพาะทางมารองรับ มันจึงอาจจะเป็นแค่ "คลินิกประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั่วไป" เท่านั้นเองก็ได้


ข้อสังเกตุ หากแพทย์ที่ดูแล จบเฉพาะทางด้านไหน แล้วต้องการแสดงให้เห็นกันชัดๆ จะเห็นป้ายหน้าคลินิกว่าเป็น "คลินกเวชกรรมเฉพาะทาง  ด้าน.... " ไม่ใช่เวชกรรมทั่วไป (แพทย์ที่ดูแล ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของนะคะ)


การจัดตั้งคลินิกนั้น บุคคลทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์แต่ต้องมีแพทย์เป็นผู้
ร่วมจดทะเบียนเป็นแพทย์ผู้ดำเนินการอย่างน้อย 1 คน จึงทำให้ปัจจุบันคลินิกผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด โดยเจ้าของอาจไม่ใช่แพทย์ ตัวหมอไม่ได้อยากโจมตี แต่ก็มีคลินิกไม่น้อย ที่เจ้าของไม่ใช่แพทย์ แล้วทำการตลาดโดยการตัดราคากัน จนทำให้การรักษาที่ออกมาไม่ได้มาตรฐาน คนไข้หลายคนจึงมีความเข้าใจที่ผิด หรือได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีมา จริงอยู่ที่กิจการคลินิกดูจะเป็นกิจการที่ได้กำไรมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนทางด้านวัตถุ แต่อย่าลืมว่ากำไรที่ได้นั้น จริงๆแล้วมาจากค่าวิชาชีพหรือค่าความรู้ความชำนาญทางการแพทย์นั่นเอง


จะเห็นว่าหมอที่ทำงานตามคลินิกความงามทั่วๆ ไปนั้น ส่วนน้อยค่ะ ที่จะจบแพทย์เฉพาะทาง มักจะเป็นแพทย์ทั่วไปที่มีความสนใจใฝ่หาความรู้ทางด้านความงามจากแหล่งอื่นๆ เพราะการอบรมหรือความรู้เหล่านี้ไม่ได้มีรวบรวมอย่างจริงจังจนเป็นศาสตร์เฉพาะแต่อย่างใด แต่แพทย์ที่ทำงานด้านความงามนั้นจึงมักต้องอัพเดทความรู้อยู่เสมอจากงานประชุมวิชาการที่จัดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เอาล่ะ... คงพอเข้าใจรายละเอียดในด้านความเฉพาะเจาะจงแล้วนะคะ


แม้ในปัจจุบัน คลินิกความงามจะได้รับการโจมตีจากแพทย์เฉพาะทางทุกแขนง (เพราะไปแย่งเขาทำมาหากิน) แม้กระทั่งแพทย์เฉพาะทางต่างสาขาก็ยังโจมตีกันเอง (อย่างฮา) แต่สิ่งที่อยากให้พิจารณาว่าศาสตร์แห่งความสวยความงามความหล่อเป็นเรื่องของศิลปะ ระหว่างผู้รับบริการ (คนไข้) ต่อผู้ให้บริการ (แพทย์) เน้นย้ำว่าเป็นศิลปะจริงๆ การเลือกแพทย์ที่จะมาดูแลคุณนั้น จริงๆ แล้วเราต้องศึกษารายละเอียดกันหลายๆ ด้าน วุฒิบัตรต่างๆ เป็นสิ่งรับประกันขั้นต่ำให้อุ่นใจ แต่ทั้งทั้งนั้นเราควรคุยกับแพทย์หลายๆ ท่านถึงทัศนคติว่าสื่อสารกันรู้เรื่องไหม  คุยแล้วคลิ้กได้ว่าความงามในแบบที่คุณต้องการกับความงามของแพทย์ท่านนั้นมองเห็นหรือเข้าใจตรงกันไหม ให้ความรู้กับเราได้เข้าใจกระจ่างชัด แล้วหลังจากคุยกับแพทย์อีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้ทำคือการศึกษาหาข้อมูลของสิ่งที่เราได้รับมาว่าจริงหรือไม่ ทุกวันนี้เราเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายเพียงปลายนิ้วคลิ้ก แต่ขอให้เลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้หน่อยนะคะ ก่อนจะตัดสินใจในการที่จะทำหรือไม่ทำอะไรกับตัวเองค่ะ




วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบแพทย์ ที่น่าสงสัย
... แพทยสภาได้ทำโปรแกรมในเว็บไซด์แพทยสภา ให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่ายๆ แล้วค่ะ

//www.tmc.or.th/service_check_doctor.php




โดยจะแสดงว่าแพทย์ท่านนั้นจบวุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาใดๆ ที่แพทยสภาไทยรับรอง ให้ทราบไว้เลย วุฒิบัตรเฉพาะทางซึ่งเป็นไปตามหลักแพทยสภาสากลนั้นมีประมาณ 80 สาขาค่ะ 

แต่หากไม่ขึ้นชื่ออย่าพึ่งระบุว่าเขาไม่ใช่แพทย์ค่ะ ไม่พบชื่ออาจมีเพราะหลายสาเหตุ เช่น
- ชื่อพิมพ์ผิด
- แต่งงานแล้วเปลี่ยนนามสกุล
- เปลี่ยนชื่อไม่แจ้งแพทยสภา
-
กรณีแพทย์-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจบใหม่ ชื่ออาจขึ้นหลังจากนั้นราว 1เดือน

ส่วน
แพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีนจะไม่สามารถเช็คจากทางนี้ได้นะคะ หรือ วุฒิบัตรนอกเหนือจ่ก 80 สาขาที่แพทยสภามีนั้นก็จะไม่ขึ้นว่าเป็นเฉพาะทางสาขาที่กล่าวอ้างให้

แพทย์ที่จบแพทย์ในประเทศไทย แล้วสอบใบประกอบวิชาชีพผ่าน (ใบ ว. - อ่านว่า "ใบวอ") อย่างน้อยๆ ก็ต้องขึ้นชื่อในเวปนี้ค่ะ

ท้ายที่สุดโทรถามแพทยสภาเลย ที่ 02-5901884 (เวลาราชการ) ก่อนจะสรุปความ

ถ้าไม่สามารถตรวจเช็คได้จากช่องทางสุดท้ายนี้แล้ว ก็น่าะเป็น "หมอเถื่อน" แล้วล่ะค่ะ



เท่านี้คงพอเป็นไกด์ในการเลือกคลินิกและแพทย์ที่จะมาดูแลความสวยให้คุณกันได้แล้วนะคะ


^___^











Create Date : 31 กรกฎาคม 2556
Last Update : 23 พฤษภาคม 2557 16:33:07 น. 0 comments
Counter : 11951 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

blue passion
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




มีหัวใจไว้เดินทาง ค้นหาความหมายของชีวิต เพื่อเติมเต็มให้กับคำถามที่เกิดขึ้นมากมายระหว่างการเติบโต วิธีการในการเดินทางมีมากมาย แต่ ณ วันนี้ ขอเลือกสองล้อเป็นพาหนะในการนำพาไปสู่จุดหมายปลายทาง

Site Meter

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add blue passion's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.