เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

ล้อมคอก บิลช็อก 'คุกกี้รัน'

ล้อมคอก บิลช็อก 'คุกกี้รัน' (Cyber Weekend)
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเชื่อว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนคงรู้จักเกม 'คุกกี้รัน' หรือ LINE COOKIE RUN ดีขึ้นอย่างแน่นอน หลังเกิดเหตุการณ์บิลช็อก ถูกเรียกเก็บเงินหลักแสนบาทจากการใช้บริการโทรศัพท์มือถือค่าย AIS

       โดยเกมดังกล่าวเป็นเกมออนไลน์ เล่นผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ที่เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี แต่การเล่นในระดับเชี่ยวชาญจะต้องใช้เงินจริงเพื่อซื้อไอเอ็มเพื่อปรับเพิ่มความสามารถให้เกมมีความสนุกสนานมากขึ้น

จนถึงขณะนี้ พบผู้ป็นเหยื่อเกมคุกกี้รัน รวมทั้งเกมมือถืออื่นๆอย่างน้อย 7 รายรวมเป็นยอดความเสียหายกว่า 1.4 ล้านบาท เริ่มจากรายแรกที่ จ.สุพรรณบุรี ได้รับบิลแจ้งหนี้โทรศัพท์มือถือ 203,150.71 บาท รายต่อมาที่ จ.พิจิตร จำนวน 18,239.67 บาท จ.เพชรบุรี จำนวน 163,405.55 บาท จ.ตาก จำนวน 596,398.51 บาท จ.พิษณุโลก จำนวน 238,968.79 บาท จ.อุดรธานี 70,190.05 บาท และ จ.พังงา จำนวนเงิน 115,969.24 บาท และเชื่อว่ายังมีลูกค้าอีกหลายรายประสบชะตากรรมเดียวกัน

       โดยภายหลังเกิดปัญหาขึ้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) บริษัทแม่ของ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก (AWN) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายโดนเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวนั้น ก็ประกาศยกเว้นค่าสินค้า และบริการบนแอปพลิเคชันออนไลน์ให้แก่ลูกค้าทุกรายที่ใช้งานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกด้วย อีกทั้งยังระบุด้วยว่ายังมีลูกค้าอีกหลายรายที่โดนเรียกเก็บค่าบริการ จากบริการลักษณะเช่นนี้

*** กสทช.สั่งผู้ให้บริการมือถือจำกัดวงเงิน

ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็เรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกราย เข้าหารือเพื่อสอบถามสาเหตุ และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นอีกทันที

       โดยภายหลังจากการหารือสำนักงาน กสทช.ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจำกัดวงเงินค่าใช้บริการไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน และให้มีบริการข้อความสั้น(SMS) ส่งไปยังเลขหมายอื่นที่กำหนด ซึ่งกรณีนี้จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ซื้อโทรศัพท์ให้ลูกใช้งาน เนื่องจากหากมีการใช้จ่ายเกิดขึ้นก็จะมีการส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้กับทางผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วย ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลการใช้งาน และเพื่อเป็นการป้องกันการใช้บริการอันอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ เด็ก และเยาวชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือด้วย รวมไปถึงสำนักงาน กสทช.จะรีบทำหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาโดยเร็ว

*** น.พ.ประวิทย์ ชี้ AWN อาจผิดกฏหมาย

       จากปัญหาที่เกิดขึ้น น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความเห็นว่ากรณีที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เป็นบทเรียนเตือนใจบรรดาผู้ปกครองทั้งหลาย แต่ยังสะท้อนช่องโหว่ในการกำกับดูแลธุรกิจเกมผ่านแอปพลิเคชั่นโดยการเรียก เก็บค่าบริการผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งการเล่นเกมผ่านแอปพลิเคชั่นโดยมากจะสามารถดาวน์โหลดมาเล่นได้ฟรี แต่หากต้องการอัปเลเวลหรือต้องซื้อชีวิตเพิ่ม ก็ต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ซึ่งแรกเริ่มเดิมที การซื้อไอเท็มเหล่านี้จะผูกกับบัตรเครดิตเท่านั้น

แต่ปัจจุบันธุรกิจทางด้านนี้ขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือในระบบแอนดรอยด์จะผูกกับบริการของ google play store ซึ่งในประเทศไทยมี AWN ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ AIS เพียงเจ้าเดียวที่เป็นตัวแทนหักเงินให้กับ google play เมื่อผู้ใช้บริการซื้อของในเกม AWN ก็จะเรียกเก็บเงินผ่านใบแจ้งหนี้

       ทั้งนี้การทำสัญญาดังกล่าวนั้น AWN ถือเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ให้บริการเรียกเก็บค่าบริการเสริมผ่านใบแจ้งหนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ( Direct Carrier Billing หรือ DCB ) ซึ่งใช้ได้กับระบบแอนดรอยด์เท่านั้น เพราะไอโอเอสของแอปเปิลต้องชำระผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น โดยระบบDCB นั้น AWN ได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา และเปิดอย่างเต็มระบบในวันที่ 12 พ.ค.จากนั้นได้ปิดระบบในวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา เพราะเกิดปัญหามีบิลช็อกหลายกรณี

       อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุใด AWN จึงไม่มีการจำกัดวงเงินในการใช้บริการ เนื่องจากทาง google play เองก็มีการกำหนดเงื่อนไขต้องซื้อบริการไม่เกินขีดจำกัดการใช้บริการต่อเดือน หรือเครดิตลิมิตของผู้ใช้บริการ กรณีนี้จึงน่าประหลาดใจว่าAWN มาเรียกเก็บค่าบริการหลักแสนบาทได้อย่างไร เบื้องต้นจึงได้สอบถามอย่างไม่เป็นทางการไปที่แบงก์ชาติถึงข้อกฎหมายและบทบาทในการกำกับดูแล เพราะโดยหลักการแล้วแบงก์ชาติต้องเข้ามาควบคุมการทำธุรกิจประเภทนี้ เพราะถือเป็นการรับชำระเงินข้ามประเทศ ซึ่งถ้าหากไม่มีการควบคุมหรือกำกับดูแล เชื่อว่าในอนาคตจะเป็นปัญหาใหญ่

'ส่วนตัวเห็นว่าสัญญาที่ AWNทำกับกูเกิล สิงคโปร์ ในการให้บริการ DCBนั้นถือเป็นสัญญานอกเหนือจากบริการ 3G 2.1GHz ดังนั้นต้องมีการเสนอสัญญามาให้สำนักงานกสทช.เห็นชอบก่อน เพราะสัญญานี้รวมค่าบริการเรียกเก็บไปในใบแจ้งหนี้ก็ต้องเป็นสัญญาให้บริการโทรคมนาคม แต่หากมีการเรียกเก็บโดยหักผ่านบัตรเครดิตจะถือเป็นสัญญาทางการเงินซึ่งไม่ ผิดกฏกสทช.'

*** AIS ยกประโยชน์ให้จำเลย

       ปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด AISออกมาระบุว่า AISมีความห่วงใยในกรณีดังกล่าว และได้ทำการปิดบริการสำหรับระบบโพสต์เพดทันที ตั้งแต่เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา และจะดูแลลูกค้าโดยยกเว้นค่าสินค้า และบริการดังกล่าวทั้งหมดให้แก่ลูกค้าทุกรายที่ใช้งานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และได้เตรียมการป้องกันรวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้บริการในโลกออนไลน์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป

'เท่าที่ทราบมีรายงานว่ามีลูกค้าที่เสียหายจากกรณีลักษณะดังกล่าวมูลค่าหลักแสนบาทประมาณ 10 ราย แต่ถ้าหลักหมื่นบาทมีรวมๆแล้วมากกว่า 10 รายแต่ AISไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้มากกว่านี้ว่าแต่ละรายมีมูลค่าเท่าไร ส่วนที่ AISต้องจ่ายทดแทนค่าบริการทั้งหมดให้กับลูกค้าที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ในครั้งนี้ การดำเนินการต่างๆจะเป็นเรื่องของ AISที่ต้องบริหารภายในไม่สามารถชี้แจงได้เช่นเดียวกันว่ามีการแบ่งคนละครึ่งจ่ายกับผู้ประกอบการอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือไม่'

       ปัจจุบันการใช้บริการเกี่ยวกับแอปพลิเคชันทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการสมัครใช้งาน หรือ การซื้อคอนเทนต์ผ่านทางกูเกิลเพลย์สโตร์ (Google play store) ซึ่งเป็นศูนย์รวมแอปพลิเคชันของแอนดรอยด์ ที่ให้บริการโดยกูเกิล ได้รับความนิยมสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมา ลูกค้าจำเป็นต้องสมัครหรือซื้อสินค้าและบริการผ่านทางบัตรเครดิตเท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยการสะดวกให้กับลูกค้า AISจึงเป็นผู้รับชำระค่าสินค้าและบริการนี้ให้กับ Google Play Store โดยหักจากบิลค่าโทรศัพท์ของ AISได้ทั้งระบบพรีเพด (prepaid) และโพสต์เพด (postpaid) ตั้งแต่เดือนเม.ย.2557

       ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ การที่จะใช้บริการดังกล่าวได้นั้น ลูกค้าจะต้องมีการสมัครใช้งาน และยืนยันความเป็นเจ้าของก่อน จึงจะสามารถทำการหักค่าใช้จ่ายได้ รวมถึงในการซื้อคอนเทนต์แต่ละครั้ง จะมีการแจ้งให้ยืนยันการซื้อ และจะมีการส่งยืนยันการซื้อดังกล่าวกลับไปที่อีเมลของลูกค้าเสมอเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นับจากนี้จะมีการพัฒนาระบบแจ้งเตือนรวมถึงเพิ่มเติมการกำหนดยอดการใช้ งานสูงสุดในการชำระค่าสินค้า และบริการได้ด้วยตนเอง (Credit Limit) เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ AIS จะดำเนินการดังนี้ 1. สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการดังกล่าวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บริษัทได้ทยอยส่ง SMS เรียนให้ลูกค้าทราบถึงการดูแลยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนนี้ 2.บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบแจ้งเตือน และเพิ่มเติมระบบการกำหนดยอดการใช้งานสูงสุดในการชำระค่าสินค้าและบริการได้ด้วยตนเอง (Credit Limit) เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในเดือน ก.ค. 2557 และ3. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้บริการในโลก Online เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป

       สำหรับในต่างประเทศเคยเกิดเหตุการณ์คล้ายๆกัน เช่น ที่อังกฤษช่วงเม.ย.ที่ผ่านมา ได้ออกมาตรการสำหรับการสั่งซื้อ In App (การสั่งซื้อภายในแอปพลิเคชัน)ในเกมออนไลน์และเกมส์มือถือ หลังพบว่าเด็กในอังกฤษใช้เงินไปหลายพันปอนด์เพื่อกดซื้อ In App โดยที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต ซึ่งหลังตรวจสอบพบมากกว่า 38 เกมที่เปิดให้ดาวน์โหลด ทำให้เกิดมาตรการมาบังคับใช้ 7 ข้อดังนี้ 1.เกมจะต้องอธิบายและแสดงรายละเอียดเรื่องการสั่งซื้อ in-app ให้ชัดเจน 2ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ที่มีการแชร์กับบริษัทเกมนั้นๆ 3.การสั่งซื้อ in-app จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองเจ้าเสียก่อน 4.ผู้ปกครองควรลองเล่นเกมและศึกษารายละเอียดก่อน 5. คอยดูอยู่ใกล้ชิดเวลาที่เด็กเล่นเกม 6.ควรตั้งค่าอุปกรณ์ให้ปิดระบบการสั่งซื้อ in-app purchases 7.ให้ความรู้แนะวิธีเตรียมตัวให้กับบริษัทเกมต่างๆ

       ทั้งนี้บริษัทเกมหลายๆแห่งในอังกฤษต่างก็พร้อมทำตามมาตรการใหม่นี้ด้วยความเต็มใจ เพราะถือเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้ผลิตเกมและหลังจากวันที่ 1 เม.ย.ไปแล้ว บริษัทไหนยังไม่ทำตามก็จะโดนลงโทษด้วยมาตรการทางกฎหมายต่อไปโดยมีหน่วยงานชื่อว่า Competition and Markets Authority รับไม้ต่อในการตรวจสอบและลงโทษ

ทั้งนี้ปัญหาบิลช็อกเกมสมาร์ทโฟนครั้งนี้ เกิดกับเด็กเยาวชนอายุประมาณ 8-13 ปี ที่นำโทรศัพท์มือถือผู้ปกครองมาใช้ หรือ เป็นโทรศัพท์มือถือของตนเอง ในระบบโพสต์เพด ประเภทใช้ก่อนจ่ายที่หลัง แล้วเล่นเกมอย่างเมามัน ซื้อไอเทมทุกอย่างที่ขวางหน้า ด้วยความเชื่อว่าฟรี หรือ หลงเชื่อคลิปในยูทูปว่าซื้อได้ฟรี โดยขาดความยับยั้งชั่งใจประสาเด็ก ทำให้ตกเป็นเหยื่อความรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยีที่หลอกให้เสียเงินง่ายกว่าที่คิด

       ส่วนแนวทางแก้ปัญหาในอนาคต กสทช.ได้เชิญบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมาหารือ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยได้ข้อสรุปว่า ให้กูเกิลประเทศไทยกลับไปหารือกับกูเกิล สิงคโปร์ เพื่อขอให้ทุกครั้งที่ผู้ใช้บริการในประเทศไทยซื้อสินค้า และบริการผ่านกูเกิลจะต้องมีการใส่รหัสเพื่อยืนยันทุกครั้งก่อนใช้บริการ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นอีก พร้อมทั้งในวันพุธที่ 2 ก.ค.2557 สำนักงาน กสทช.จะเชิญตัวแทนจากบริษัท ไลน์ ประเทศไทยมาหารือเพื่อหาทางป้องกันอีกครั้งพร้อมด้วยตัวแทนจากกูเกิล และ AISด้วย ซึ่ง AIS จะมีการจำกัดวง เงินการซื้อสินค้า และบริการในวงเงิน 1,000 บาท และจะมีการส่ง SMS เตือนการใช้งานทุกครั้งให้กับลูกค้า โดยจะแยกจากยอดการใช้บริการค่าโทรศัพท์มือถือ ซึ่งAISระบุว่าจะกลับมาเปิดบริการการเรียกเก็บค่าบริการเสริมผ่านใบแจ้งหนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (DCB) อีกครั้งในกลางเดือนก.ค.2557 นี้

       ส่วนดีแทค ที่จะเปิดบริการดังกล่าวเร็วๆนี้ระบุว่าระบบของดีแทคจะสามารถรวมยอดการใช้บริการทั้งค่าบริการโทรศัพท์ และค่าบริการซื้อสินค้า และบริการแต่จะจำกัดวงเงินขั้นต่ำ 1,000 - 3,000 บาทขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการตัดการใช้บริการโทรศัพท์มือถือด้านบริษัท ทรู เบื้องต้นยังไม่มีแนวโน้มที่จะเปิดให้บริการดังกล่าว

ปัจจุบันบริการ DCBของ AISมีลูกค้าที่ใช้บริการรวม 13,700 รายซึ่งมีลูกค้าที่เสียหายแจ้งร้องเรียน 13 รายรวมมูลค่าความเสียหายมากกว่า1.1 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีลูกค้าอีกหลักร้อยรายที่เสียหายในลักษณะเช่นนี้อีก

CyberBiz Social


Create Date : 28 มิถุนายน 2557
Last Update : 28 มิถุนายน 2557 21:45:16 น. 0 comments
Counter : 1505 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]