เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

ขึ้นค่า 'แท็กซี่' เพิ่มภาระประชาชน บริการเฮงซวย ที่รัฐแก้ไม่ตก!?

 ขึ้นค่า 'แท็กซี่' เพิ่มภาระประชาชน  บริการเฮงซวย ที่รัฐแก้ไม่ตก!?
หลังการ 'ปรับราคาแท็กซี่มิเตอร์' ครั้งใหญ่ ตามติดด้วยกระแสวิจารณ์ของประชาชนจำนวนมาก เพราะดูจะขัดแย้งกับเรื่องการบริการที่ติดลบของแท็กซี่เมืองไทย รวมถึงข้ออ้างในการปฏิเสธผู้โดยสารต่างๆ นานา ทว่า การปรับราคาค่าโดยสารครั้งนี้ แก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างที่ภาครัฐตั้งเป้าไว้หรือไม่ หรือเป็นแนวทางเพิ่มค่าครองชีพประชาชนเพียงอย่างเดียว

การปรับขึ้นราคาแท็กซี่ครั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกรับลูกจากกระทรวงคมนาคมเป็นที่เรียบร้อย ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยคาดหวังว่าการปรับราคาจะช่วยกระตุ้นการบริการที่ดีของแท็กซี่สู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังออกกฎกำราบแท็กซี่ที่ปฏิเสธผู้โดยสาร เพิ่มเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมคนขับ ฯลฯ

เขตปลอด แท็กซี่ห่วยๆ
ประเด็นเรื่องแท็กซี่ไทย(บางส่วน) ที่มอบประสบการณ์ยอดแย่แก่ประชาชน เป็นปัญหาที่คั่งค้างมาเนินนาน กลายเป็นหนึ่งในระบบโดยสารสาธารณะภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐที่มีคะแนนติดลบ ในที่สุดหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบก็แสดงบทบาทต่อสังคม พยายามปรับเปลี่ยนคำติเป็นคำชมสร้างบริการแท็กซี่ที่ดีเพื่อประชาชน

ด้าน จิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนความว่า หลังมีการอนุมัติขึ้นราคาค่าโดยสารของแท็กซี่ ทางกรมฯ จะเข้มงวดตรวจสอบแท็กซี่ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ทั้งนี้ จะนำมาตรการปรับเงิน พักใช้-เพิกถอนใบอนุญาตมาดำเนินการกับแท็กซี่ที่กระทำผิด

แบ่งฐานความผิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความผิดทั่วไป เช่น ไม่ใช้มิเตอร์คิดค่าโดยสาร, กิริยาวาจาไม่สุภาพ ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร, ไม่ส่งยังปลายทางที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ หากพบการกระทำผิด ครั้งที่ 1 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตขับรถ 7 วัน และหากกระทำผิดข้อหาเดียวกันเป็น ครั้งที่ 3 ในช่วงระยะเวลา 1 เดือน จะถูกปรับ 1,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

สำหรับกลุ่มความผิดร้ายแรง ได้แก่ ผู้ขับรถยนต์สาธารณะเสพหรือเมาสุรา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รวมทั้งขับรถในขณะหย่อนความสามารถ หรือกระทำความผิดทางอาญา หากพบการกระทำผิดมีโทษตั้งแต่พักใช้จนถึงยกเลิกเพิกถอนใบอนุญาตทันที

โดยอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ใหม่ สาระสำคัญมีรายละเอียดดังนี้
ระยะทาง 1 กิโลเมตรแรก 35 บาท
ระยะทางเกินกว่า 1 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 10 กิโลเมตรละ 5.50 บาท
ระยะทางเกินกว่า 10 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 20 กิโลเมตรละ 6.50 บาท
ระยะทางเกินกว่า 20 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 40 กิโลเมตรละ 7.50 บาท
ระยะทางเกินกว่า 40 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 60 กิโลเมตรละ 8 บาทปฎิ
ระยะทางเกินกว่า 60 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 80 กิโลเมตรละ 9 บาท
ระยะทางเกินกว่า 80 กิโลเมตรขึ้นไป กิโลเมตรละ 10.50 บาท
กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้เกินกว่า 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตรานาทีละ 2 บาท

โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. เป็นต้นไป แต่ในทางปฏิบัติแท็กซี่ยังไม่สามารถปรับขึ้นมิเตอรได้ทันที เพราะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากทางกรมการขนทางบกก่อน นั่นเท่ากับว่าอัตราใหม่จะยืดเวลาเริ่มใช้ได้จริงในช่วงเดือนมกราคมปีหน้า อย่างไรก็ตามหากประชาชนพบเห็นแท็กซี่คันไหนทำผิด สามารถร้องเรียนได้ที่เบอร์ 1584

แค่ราคาคุย หรือเปล่า?
พิจารณาในเชิงปฏิบัติ การขึ้นราคาค่าโดยสารรถแท็กซี่รวมทั้งนำกฎระเบียบมาควบคุมดูแลแท็กซี่เพื่อไม่ให้ปฏิเสธเส้นทางผู้โดยสาร รศ.ดร.ธวัชชัย เหล่าศิริหงษ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอไมได้มเกล้าธนบุรี มองว่าหนึ่งในแนวทางแก้ไขโดยใช้อำนาจรัฐกำกับดูแล แต่ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั้งยืน

“ในทางปฏิบัติ ผมว่าแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะผมคิดว่าสาเหตุที่คนขับรถแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสารไม่ใช่เรื่องต้นทุนอย่างเดียว ขยายภาพให้เห็นกันชัดๆ นะครับ อย่างเช่น มีแท็กซี่จำนวนมากไปจอดตามแหล่งท่องเที่ยวเจอคนไทยไม่รับ จะรับแต่ฝรั่ง มันสะท้อนว่าพวกเขาไม่ได้คิดค่าโดยสารตามมิเตอร์ หรือเหตุผลของแท็กซี่ที่ไม่ถูกใจประชาชน หนึ่งในนั้นคือการปฏิเสธผู้โดยสาร การปรับอัตราค่าแท็กซี่ก็จะช่วยได้บางส่วนมันไม่ช่วยได้ทั้งหมด สมมุติเราเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ การกินยามันไม่ได้ช่วยให้หายเลย เช่นเดียวกัน เรื่องนี้ยังต้องมีการปฏิรูปอีกหลายขั้นตอนไปสู่จุดสมดุลตัวใหม่”

ทีมข่าวฯ สอบถามในประเด็นที่กรมการขนส่งฯ จะเพิ่มกำลังสายตรวจคอยสอดส่องการให้บริการประชาชนหลังมีการมีการปรับราคาค่าโดยสารในส่วนนี้จะเป็นเครื่องมือคอยกำกับดูแลแท็กซี่ได้มากน้อยเพียงใด รศ.ดร.ธวัชชัย วิเคราะห์ว่า สามารถช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งในพื้นที่ที่สายตรวจเข้าถึงเพียงเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องง่ายมากเมื่ออยู่ในพื้นที่ลับตาสายตรวจแท็กซี่บางส่วนก็จะมีพฤติกรรมแบบเดิม

“มันไม่ได้ตอบโจทย์ประเทศไทย ว่าเรามีแท็กซี่เพื่ออะไร เรามีแท็กซี่เพื่อทำให้คนสามารถทำให้คนสามารถเดินทางโดยไม่ใช้รถส่วนตัว เพราะฉะนั้นหากเรากลับไปย้อนดูหลักการพื้นฐานมันก็หมายความว่า เราสร้างกฎกติกามาเพื่อควบคุมแท็กซี่ทำให้การที่ประชาชนพึงพอใจ แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันประชาชนไม่ได้รู้สึกว่าแท็กซี่คือทางเลือกในการเดินทางที่เหมาะสม” รศ.ดร.ธวัชชัย สะท้อนถึงการแก้ปัญหาเรื่องแท็กซี่ในส่วนของการปรับเพิ่มราคาเพื่อหวังเพิ่มคุณภาพ และการนำกฎหมายเข้ามากำกับดูแล

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นราคาค่าโดยสารประชาชนเป็นฝ่ายเสียประโยชน์อย่างเลี่ยงไม่ได้ กล่าวคือผู้โดยสารอาจจะมีบางส่วนอาจต่อต้านในลักษณะของไม่ใช่บริการแท็กซี่ก็ได้ แต่เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น สักพักประชาชนจำยอมเกิดการยอมรับในการปรับขึ้นราคาแท็กซี่ครั้งนี้ ยกตัวอย่างเช่น ดอนเมืองโทลล์เวย์ขึ้นค่าทางด่วนจาก 60 บาท เป็น 100 บาท ประชาชนเกิดการต่อต้านไม่ใช้ทางด่วนไป 1 เดือน แต่ด้วยความลำบากจึงจำเป็นต้องกลับมาใช้

“มันไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ดี แต่ด้วยอำนาจรัฐที่เป็นอยู่ เขาทำให้มันเกิดขึ้นแบบนี้ได้ แต่ผมว่ามันผิดยุคผิดสมัย สมัยนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนของการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่แบบนี้ประชาชนมองไปที่รถเมล์ก็ไม่ไหวไม่ชอบ มองไปที่รถตู้ก็ไม่ไหวไม่ชอบ อย่างนี้มันไม่ใช่ไม่เป็นสภาวะสมดุล” กลายๆ ว่าเหล่านี้เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

แท็กซี่(ไม่)สมควรโดนด่า
สาเหตุที่คนไทยต่างมีประสบการณ์แย่ๆ ในการใช้บริการแท็กซี่มิเตอร์ รู้สึกขุ่นข้องหมองใจไม่พอใจในการใช้โดยสารสาธารณะดังกล่าว รศ.ดร.ธวัชชัย อธิบาย หากพิจารณาแล้วไม่ใช่ความผิดของผู้ให้บริการแท็กซี่เสียทั้งหมด เพราะนั่นเป็นผลพวงจากความล้มเหลวของการจัดการระบบโดยสารสาธารณะ โดยมีกรมการขนส่งทางบกเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง

หากระบบโดยสารสาธารณะประเภทต่างๆ ในประเทศไทย เช่น รถประจำทาง, รถไฟฟ้า ฯลฯ มีเสถียรภาพในแง่การบริการ สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้ ประชาชนจะเป็นผู้เลือกใช้บริการโดยแทบไม่ต้องพึ่งพาบริการแท็กซี่มิเตอร์ก็เป็นได้ ทว่า ในสังคมปัจจุบันมิได้เป็นเช่นนั้น ระบบโดยสารสาธารณะต่างๆ ยังไม่เอื้อประโยชน์แกประชาชน

รศ.ดร.ธวัชชัย กล่าวถึงแนวทางจัดระเบียบแท็กซี่เมืองไทย โดยต้องปฏิรูประบบโดยสารสาธารณะทั้งระบบ ซึ่งการที่หน่วยงานรัฐฯ ออกกฎระเบียบมาบังคับใช้ให้แท็กซี่อยู่ในกรอบเป็นเพียงแนวทางแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อาจจะได้ผลในระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพิจารณากันใหม่ ไม่ใช่เพียงทำตามหน้าที่ให้จบๆ ไป แต่ต้องคิดการณ์ใหญ่ ปฎิรูประบบโดยสารสาธารณาเดินหน้าประเทศไทยตามแนวทางของรัฐบาลชุดปัจจุบัน


“ภาพรวมเราต้องมองว่าแท็กซี่เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งสาธารณะ รัฐบาลควรพยายามพัฒนารถโดยสารประจำทางเพื่อเป็นทางเลือกหลักของประชาชน เหมือนเป็นการการันตีว่าประชาชนสามารถเดินทางไปตรงไหนก็ได้ด้วยรถโดยสารประจำทาง”

เท่ากับว่า การเอื้ออำนวยความสะดวกในระบบโดยสารสาธารณะ ถือเป็นแนวทางปฏิรูปที่ภาครัฐต้องทบทวบและเร่งปฏิบัติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมการขนส่งฯ ที่ต้องกลับไปพิจารณาตัวเองในเรื่องการจัดการระบบโดยสารสาธารณะ วางแผนเพื่อยกระดับการเดินทางเพื่อตอบสนองต่อประชาชน

….......................
ข่าวโดย Astv ผู้จัดการ Live



Create Date : 15 ธันวาคม 2557
Last Update : 15 ธันวาคม 2557 8:42:46 น. 0 comments
Counter : 1470 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]