*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบสวนปากคำบุคคลที่เป็นเด็กหรือเยาวชน หรือบกพร่องทางสติปัญญา

เมื่อประมาณต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสตรวจสอบสำนวนคดีอาญา ของ สน.นางเลิ้ง ที่ ๑๐๑๔/๒๕๔๘ ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ต้องหา ได้ถูกกล่าวหาว่า ร่วมกันปล้นทรัพย์ ซึ่งในเบื้องต้น อัยการ ได้มีคำสั่งไม่ฟ้อง ต่อมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีความเห็นแย้งเสนออัยการสูงสุด เพื่อชี้ขาด ต่อมาอัยการสูงสุดได้ชี้ขาดความเห็นแย้งให้สั่งฟ้องผู้ต้องหา พนักงานอัยการเจ้าของสำนวน จึงได้ดำเนินการฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญา ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.๓๙๙๐/๒๕๕๐

ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ ปรากฎว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้ยกฟ้องโจทก์ โดยยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตามคดีหมายเลขแดงที่ อ.๓๔๒๘/๒๕๕๐ พนักงานอัยการ สั่งไม่ฎีกา เพราะเห็นว่า ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษาให้ยกฟ้องไปในทางเดียวกัน โดยหลักการ จึงห้ามฎีกาคดีต่อไป เว้นแต่เป็นกรณีที่เหตุอันสมควร หรือผู้พิพากษาได้มีความเห็นแย้งไว้ หรืออัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา

ผู้เขียนได้ตรวจพิจารณาสำนวนคดีนี้ พบว่า เหตุที่ศาลได้พิพากษายกฟ้อง ก็เนื่องจากคดีมีข้อสงสัย (ตามความเห็นของศาล) โดยคดีนี้นี้ ผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปี ได้เบิกความนำสืบว่าในขณะที่ขับขี่รถจักรยานยนต์มายังสี่แยกที่เกิดเหตุ และติดสัญญาณไฟจราจรอยู่ในเวลากลางคืนนั้น จำเลย กับพวก ซึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ตามมา ได้จอดรถและเปิดกระจกบังลมของหมวกนิรมัยของตนเอง แล้วพูดจาข่มขู่ พร้อมใช้หมัดชกที่หมวกนิรภัยของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายเกิดความกลัว จำเลยจึงสามารถนำรถจักรยานยนต์ไปได้ ศาลยุติธรรมไม่เชื่อว่า จำเลยสามารถจดจำใบหน้าของจำเลยได้ เพราะไม่เชื่อว่า หากจำเลยกระทำผิดจริง ก็ไม่ควรจะเปิดกระจกเพื่อให้ผู้เสียหายเห็นหน้าเพื่อให้จดจำได้ จึงไม่เชื่อคำเบิกความผู้เสียหาย (?) (ซึ่งแท้จริงแล้ว จำเลยอาจจะกระทำเช่นนั้นจริง ก็เป็นไปได้)

อีกทั้ง ในชั้นสอบสวน ผู้เสียหาย ไม่ได้ให้การแก่พนักงานสอบสวนว่า จำเลยมีตำหนิรูปพรรณเป็นรอยสักที่บริเวณใกล้หัวไหล่ ศาลจึงไม่เชื่อคำเบิกความของผู้เสียหาย เพราะถ้าจำเลยมีตำหนิรูปพรรณดังกล่าวจริง ผู้เสียหาย ก็ควรจะได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้แต่ต้นแล้ว

ศาลยังได้ให้เหตุผลว่า คดียังมีข้อสงสัยว่า จำเลยจะเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะภายหลังจากที่จำเลยปล้นเอารถจักรยานยนต์ผู้เสียหายไปได้แล้ว จำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่อาจเบิกความให้ชัดเจนว่า จำเลยสวมหมวกนริภัยจริงหรือไม่ และพนักงานสอบสวน ก็ไม่ได้ยึดหมวกนิรภัยไว้เป็นของกลางในคดี ฯลฯ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัย ตาม มาตรา ๒๒๗ ป.วิ.อาญา




การคำพิพากษาดังกล่าว มีสิ่งที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะ การเบิกความไม่ตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ความจริงแล้ว เป็นเรื่องปกติธรรมดาอย่างมาก เพราะว่า ในชั้นสอบสวนนั้น พนักงานสอบสวน และกรณีผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหา เป็นเด็กหรือเยาวชน อาจจะสอบถามไม่ละเอียด ไม่ได้อธิบายถ้อยคำบางคำ ฯลฯ เช่น ไม่ได้อธิบายว่า อะไรคือ ตำหนิรูปพรรณ ฯลฯ ซึ่งเด็กอาจจะเข้าใจแตกต่าง เมื่อชั้นสอบสวนไม่ได้ถามไว้ หรือถาม แต่เด็กไม่เข้าใจ ก็อาจจะไม่ได้ตอบไว้ การเอาเหตุนี้ มายกฟ้อง จึงฟังดูแปลกไปสักหน่อย

ข้อบกพร่องคดีนี้ นอกจากเหตุที่ พนักงานสอบสวน และ พนักงานอัยการ ซึ่งมีบทบาทในการเข้าร่วมฟังการสอบสวน ไม่ได้สอบถามหรืออธิบายให้ดีเพื่อให้เป็นหลักประกันเด็กหรือผู้เยาว์ หรือผู้เจ็บป่วยบกพร่องทางสติปัญญา ให้เข้าใจคำถามเป็นอย่างดีแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ในชั้นศาล ก็ไม่ได้มีการถามค้าน ถามติง เพื่อให้เด็กหรือเยาว์ในคดีนี้ ได้อธิบาย เหตุผลที่ไม่ได้ตอบคำถามไว้ในชั้นสอบสวน เพื่อให้ศาลได้คลายความกังวลสงสัยว่าจำเลยเป็นคน ๆ เดียวกันหรือไม่ ซึ่งเท่าที่ผู้เขียนได้ตรวจสอบสวนอุทธรณ์และฎีกาคดี พบว่า พนักงานอัยการสมัยใหม่ ไม่ค่อยจะแสดงความรู้ความสามารถในการว่าความแม้แต่น้อย ไม่มีการถามค้น ถามติง ไม่มีการซักซ้อมความเข้าใจพยานก่อนเบิกความให้ตรงกับข้อเท็จจริง และไม่ทำให้ศาลมีข้อสงสัยดังกล่าวแม้แต่น้อย น่าแปลกใจว่า หลักสูตรที่สำนักงานอัยการสูงสุด จัดให้แก่พนักงานอัยการผู้ช่วย นั้นเป็นอย่างไร

คดีนี้ ยังมีปัญหาที่ได้กล่าวไปแล้ว คือ พนักงานอัยการ ไม่ได้ซักซ้อมความเข้าใจพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงให้ตรงกันตามความเป็นจริง ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในเกือบทุกคดี พนักงานอัยการบางคน นำพยานเข้าสืบ เพียงแค่เพื่อนำส่งคำให้การชั้นสอบสวนเท่านั้น ไม่ได้เตรียมการใด ๆ มาก่อน ไม่ได้สอบถาม คำถามสำคัญ ๆ ไม่ได้ถามค้าน ถามติง ฯลฯ ใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งน่าแปลกใจมากว่า เหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้ คดีนี้ ก็เช่นกัน ก่อนการสืบพยาน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้จับกุมผู้ต้องหามาตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มาสืบพยานกันจริง ๆ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่ข้อเท็จจริงที่จำได้ กับข้อเท็จจริงในขณะเกิดเหตุ มักจะคลาดเคลื่อน พนักงานอัยการ ควรจะได้นัดพยานไปอ่านคำให้การเดิมที่ได้ให้การไว้กับพนักงานสอบสวนล่วงหน้า ซักซ้อมพยานกันอย่างจริงจังก่อน ไม่ใช่นัดไปเจอหน้าบัลลังก์ แล้วก็ถามข้อเท็จจริงเพื่อส่งคำให้การของพยานเท่านั้น ดังนั้น เมื่อจำไม่ได้ ก็ถูกทนายจำเลยซัก พยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็ได้แต่อ้างว่า จำไม่ได้ ไม่แน่ใจ ฯลฯ หรือ บางครั้ง แสดงความอวดรู้ เบิกความตรงกันข้ามกับความเป็นจริง พนักงานอัยการ ก็ไม่ได้อ่านคำให้การพยานมาก่อน ก็ไม่ได้ถามค้าน ถามติงอะไรอีก เป็นอันจบข่าว ยกฟ้องในที่สุด




สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้มีบันทึกสั่งการ ตามหนังสือ กองคดีอาญา (ตร.) ที่ ๐๐๓๑.๒๓/๓๗๗๘ ลงวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๒ เรื่อง คำแนะนำการสอบสวนปากคำบุคคลที่เป็นเด็กหรือเยาวชน เพื่อกำชับให้ พนักงานสอบสวน จะต้องอธิบายถ้อยคำต่าง ๆ ในคำถามของตนให้ชัดเจน เพียงพอที่พยาน รวมถึงผู้ต้องหา ที่เป็นผู้เยาว์ หรือ มีข้อบกพร่องทางสติปัญญา ให้เข้าใจได้ว่า แปลว่าอะไรกันแน่ เช่น คำว่า ตำหนิรูปพรรณ หมายถึง อะไรบ้าง รวมถึง ก่อนสืบพยานในชั้นศาล พนักงานสอบสวน จะต้องนัดพยานไปพบพนักงานอัยการ โดยเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะต้องซักซ้อมความเข้าใจให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่เบิกความว่า จำไม่ได้ ไม่แน่ใจ ฯลฯ แค่นั้น เพื่อป้องกันความเสียหายแก่รูปคดี และความเสียหายที่จะเกิดกับกระบวนการยุติธรรมโดยรวม


Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 8:14:04 น. 1 comments
Counter : 1803 Pageviews.

 
พี่กะไม่ให้ทนายความได้ถามพยานให้สงสัยไว้บ้างหรือครับ
สิ่งที่พี่เล่าก็ถูกต้องตามหลักการ
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การซักซ้อมพยาน ก็มาทำกันหน้า
ห้องพิจารณา ซึ่งถามว่าเป็นประโยชน์กับใคร
ก็ต้องตอบว่า เป็นประโยชน์กับจำเลย ดังนั้น ถ้าถามผม
ผมก็ว่า ก่อนมีการพิจารณาคดี อัยการก็นัดหมายพยาน
ไปพบอัยการก่อน แต่ผมว่าเรื่องนี้คงทำไม่ได้นะครับ
ดังนั้น ทนายความยังพอมีงานทำอยู่บ้าง


โดย: WWLF วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:38:40 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.