*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
อายัดทรัพย์ ทักษิณฯ & คตส. ไม่ต้องรับผิดใด ๆ จริงหรือ

วันนี้ ตามข่าวการเมืองไทย แล้วก็เป็นไปตามคาด เรื่องการอายัดทรัพย์ อดีต นายกฯ ทักษิณฯ ผมได้คุยกับเพื่อน ๆ ไว้หลังจาก ที่ สภานิติบัญญัติ ออกกฎหมาย ขยายอายุ และให้ความคุ้มกันทางกฎหมายแก่ คตส. องค์กรลูกกะโปกขวาของ คมช. เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า เดี๋ยวจะต้องมีคำสั่งอายัดทรัพย์ หรือ อะไร พิเรนทร์ ๆ ออกมาแน่ ๆ




เร็วดังคาด ทันที่ที่กฎหมายนี้มีผล และ ทันทีที่ ศาลเถื่อนตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย พร้อมกับ องค์กรกะโปกซ้าย คือ กกต. ไม่ให้ยอมให้จดทะเบียน ชื่อพรรคไทยรักไทย ใหม่ ปปช. และ คตส. ก็ลงดาบสองซ้ำทันที รับกันเป็นปี่ เป็นขลุ่ย น่าเป็นห่วงยิ่งนัก




ที่ว่า น่าเป็นห่วงนั้น ไม่ใช่เพราะ ใครจะถูกยึด หรือ พรรคใครจะถูกยุบ ฯลฯ แต่เป็นห่วงหลักนิติรัฐ ที่ถูกย่ำยี โดยองค์การและการกระทำ ขององค์กร ลูกกะโปกของ คมช. ซึ่งล้วนแต่เป็นการใช้อำนาจในทางที่บิดผัน จากเจตนารมณ์แห่งหลักนิติรัฐ อย่างน่าเกลียดน่ากลัว




หลักเรื่องกฎหมายยกเว้นความรับผิดนี่ ในทางหลักกฎหมายนิติกรรมสัญญา หากคู่สัญญา กำหนดว่า ตนเองไม่ต้องรับผิดใด ๆ เลย โดยกำหนดข้อสัญญาไว้ล่วงหน้าเช่นนี้ นิติกรรมสัญญา ย่อมขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และไม่มีผลบังคับใช้

ในส่วนของความรับผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น เป็นไปตามหลักกฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครอง หลักการทั่วไป คือ เจ้าหน้าที่กระทำการเพื่อประโยชน์มหาชน หรือประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ด้วยเหตุนี้ หากเจ้าหน้าที่กระทำการโดยสุจริต และเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่นั้น ย่อมไม่ต้องรับผิดเป็นการเฉพาะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ประเทศชาติ โดยกระทรวงการคลัง จะไม่ต้องรับผิดชอบในผลเสียหายนั้นด้วย หลักการนี้ เรียกว่า "ความรับผิดของรัฐ แม้ไม่มีความผิด" ที่ว่าไม่มีความผิด เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำโดยสุจริต ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร แต่รัฐ ก็มีหน้าที่ต้องคุ้มครองผู้เสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของตนเองด้วย ไม่ใช่ เสียหายเท่าไหร่ กูไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องของกู ถ้ารัฐทำอย่างนั้น ก็โกลาหล เป็นแน่

หลักกฎหมายในเรื่อง ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในประเทศไทย เพิ่งปรากฎเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรชัดเจน เมื่อ ปี ๒๕๓๙ เป็นไปตามหลักการที่กล่าวข้างต้นทุกประการ รวมทั้งขยายความรับผิดชอบของรัฐ แม้นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้กระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่ความผิดส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐ หรือ องค์กรของรัฐ มีส่วนที่จะต้องรับผิดด้วย หลักการนี้ เป็นไปตามหลักกฎหมายแพ่งฯ เรื่องความผิดชอบตามส่วนแห่งความรับผิด ดุจเดียวกัน

ที่จริงแล้ว .. กฎหมายที่คุ้มครอง คตส. ที่ว่า ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ เลย ไม่ว่าทางแพ่ง และทางอาญานี่ ก็เช่นกัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกมาแม้แต่น้อย เพราะ เจ้าหน้าที่ คตส. ย่อมได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ. ความรับผิดทางละเมิดฯ ๒๕๓๙ ด้วย ทุกประการ แต่จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข "หลักสุจริต ไม่กลั่นแกล้ง และ ไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง"

ในทางตรงกันข้าม แม้จะบัญญัติว่า "ไม่ต้องรับผิดใด ๆ เลยทั้งทางแพ่งและอาญา (แม้จะกระทำการโดยสุจริต หรือ มุ่งกลั่นแกล้ง หรือ ใช้อำนาจโดยไม่ชอบใด ๆ )" ในความเห็นส่วนตัวผม เห็นว่ากฎหมายนี้ ไม่มีผลใช้บังคับ เพราะขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง




รัฐเกิดขึ้น ภายใต้หลักการสละอำนาจอธิปไตยของปัจเจกชน และความไว้วางใจในการใช้อำนาจของรัฐฯ การออกกฎหมายใด ๆ จะต้องคำนึงถึงหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค และ ความเท่าเทียมกัน การออกกฎหมายใด ๆ โดยหลักการ จึงจะต้องออกใช้บังคับ เป็นการทั่วไป ไม่มีการใช้เฉพาะบุคคล และไม่มีการใช้บังคับย้อนหลัง ไปให้เกิดผลร้ายต่อปัจเจกชน หรือบุคคลโดยทั่วไป (ภายใต้ข้อจำกัดบางประการ)

การออกกฎหมาย จึงหาใช่ว่า รัฐจะใช้อำนาจพร่ำเพรื่อ ออกกฎหมาย "ไม่รู้สี่ รู้แปด" ตามอำเภอใจไปได้ .. หากเป็นเช่นนั้น ในอนาคต เราคงได้เห็นกฎหมาย บังคับให้ "คนใช้หัว เดินแทนตีน" เป็นแน่ ๆ ในอนาคต ผมหวังว่า ศาลยุติธรรม คงจะได้แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา และการใช้หลักการแห่งกฎหมายที่ถูกต้องมั่นคงในอนาคต เพราะกฎหมายนี้ คงจะต้องถูกโต้แย้ง ถึงความชอบธรรม อย่างแน่นอน




สุดท้าย ขอฝากข้อสังเกตบางประการ สำหรับการสั่งอายัดทรัพย์ของอดีตนายกฯ ทักษิณฯ โดยไม่ขอกล่าวถึง ความไม่ชอบธรรมของกำเนิดองค์กร คตส. แต่ขอให้ข้อสังเกต จากคำสัมภาษณ์ของคุณแก้วสรรฯ เอง

น่าสงสัยถึงมูลเหตุและเจตนาที่สั่งอายัดทรัพย์ฯ ว่าเกิดจากอะไร เพราะคดีทั้งหมด อยู่ระหว่างการไต่สวนของ คตส. บางเรื่องก็ได้ส่งเรื่องไปให้พนักงานอัยการดำเนินการแล้ว เช่น การซื้อขายที่ดินฯ เป็นต้น บางเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการไต่สวน ที่ไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายระหว่าง และ หลักกฎหมายวิธีพิจารณความอาญา หลายประการ เป็นต้นว่า ไม่ให้สิทธิการมีทนายความแก่ผู้ถูกกล่าวหา ระหว่างการไต่สวน ฯลฯ

จากการให้สัมภาษณ์ฯ และแหล่งข่าวต่าง ๆ (เช่น บริษัทญี่ปุ่น ไม่ให้ข้อมูลใด ๆ เพราะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายญี่ปุ่น) ที่น่าเชื่อว่า คตส. ถึงทางตัน ไม่อาจจะหาพยานหลักฐานใด ๆ สนับสนุนการมีสิทธิ์พิเศษ และรับเงินเดือน เดือนละเรือนแสนบาท ต่อไปได้ จึงได้สั่งอายัดทรัพย์ฯ

ด้วยเหตุนี้ จึงน่าเชื่อว่า มูลเหตุจากการสั่งอายัดจะมาจากความพยายามหาหลักฐาน จากตัวผู้ถูกกล่าวหา โดยออกคำสั่ง และมีกระบวนการในการบังคับให้ผู้ถูกกล่าวหา ให้การ หรือให้ข้อมูลแต่ คตส. ซึ่งถือได้ว่า เป็นกลลวง ให้ผู้ถูกกล่าวหา มาแก้ข้อกล่าวหา ใน ๖๐ วัน

กระบวนการล้วงข้อมูล ซึ่งถือว่า เป็นการกระทำที่ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ The U.N. Universal Declaration of Human Right (UDHR) และ International Covenant on Civil and Political Right (ICCPR) ซึ่งประเทศไทย สมัครใจเข้าเป็นภาคีสมาชิก มีข้อผูกพันต้องปฎิบัติตาม มาตั้งแต่ ปี ๑๙๙๖

สนธิสัญญานี้ กำหนดหลักการว่า รัฐจะต้องแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของถูกกล่าวหาหรือจำเลยเอง ไม่ใช่ บีบบังคับข้อมูลจากปากผู้ถูกกล่าวหา ดังนั้น หลักเรื่อง Right of Silence และ Privilege against self-incrimination รวมถึง Right to counsel หรือสิทธิในการมีทนาย จึงถือเป็นหลักการใหญ่ ที่รัฐทุกรัฐ ต้องเคารพและปฏิบัติตาม

ประเทศไทย ได้ยอมรับหลักการดังกล่าว และประกาศชัดเจนใน รัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ ที่ถูกคณะขบถได้ฉีกทิ้งไป แต่หลักการดังกล่าว ได้ถูกบรรจุไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ประกาศใช้ในฉบับปัจจุบัน อย่างชัดเจน

ที่ผ่านมา คตส. จึงกระทำผิดอย่างชัดแจ้ง ที่ไม่ให้ ทนายความ ไปนั่งฟัง การไต่สวน ผู้ถูกกล่าวหา และ การอายัดทรัพย์ครั้งนี้ จึงน่าเชื่อว่า มีมูลเหตุจูงใจที่จะบังคับให้จำเลย หรือผู้ถูกกล่าวหา ได้ให้ข้อมูล หรือ เปิดปากพูด แก่ คตส. จึงเห็นว่า กระทำผิดชัดแจ้งในคราวนี้อีกเช่นกัน เพราะไม่มีมูลเหตุอื่น ที่จำเป็นในการใช้อำนาจอายัดทรัพย์ดังกล่าว เนื่องจาก การเคลื่อนไหว เงินทุน ต่าง ๆ ออกนอกประเทศ จะต้องรายงานและได้รับอนุมัติจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว

หากเป็นเช่นนี้จริง พยานหลักฐานทั้งหมด ที่ใช้ในกระบวนการไต่สวน เรื่องอายัดทรัพย์นี้ หากถูกนำไปใช้ ในกระบวนการฟ้องร้องทางคดีอาญาแล้วละก็ ... พยานหลักฐานเหล่านี้ จะต้องถูกตัดทิ้ง ตามกฎ Exclusionary Rule ไปทั้งหมด ด้วย ไม่เช่นนั้น จะถือเป็นการดำเนินคดีอาญา ที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะ ผู้ถูกกล่าวหา นอกจากจะต้องไปแก้ข้อกล่าวหา ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ยังถูกนำพยานหลักฐานที่หลุดจากปากตนเอง เพราะถูกบังคับ ไม่เช่นนั้น จะถูกยึด ไปใช้ทำร้ายตนเองด้วย ... การแสวงหาพยานหลักฐานด้วยวิธีการนี้ จึงไม่เป็นที่ยอมรับ ในประเทศที่เจริญแล้วทางกฎหมาย ทั้งหมด




สมาชิกส่วนใหญ่ของ คตส. เอง ก็เป็นนักกฎหมาย ย่อมรู้กฎเกณฑ์ ในการใช้อำนาจตามกฎหมายเป็นอย่างดี จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย ฟังไม่ขึ้นเป็นแน่ โดยเฉพาะ คุณแก้วสรรฯ ก็เคยเป็นอาจารย์ สอนวิชากฎหมายปกครอง ที่ธรรมศาสตร์ ย่อมรู้ดีถึง ขอบเขตการใช้อำนาจดุลพินิจในทางปกครองเป็นอย่างดี ว่า มาตรการใด ที่จะใช้ จะต้องสอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วน หลักความจำเป็น และหลักประสิทธิภาพ ภายใต้หลักการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นอย่างไร ...

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงอยากทิ้งคติเตือนใจไปยัง คตส. ผู้มีอำนาจล้นฟ้า ภายใต้อุ้งเท้า คมช. รวมถึง ผู้มีอำนาจในปัจจุบันว่า เวรกรรมมีจริงครับ ... ขอให้โชคดีครับ

ธรณีนี่นี้.........................เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์.............หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร..............เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมาล้าง...ดาบนั้นคืนสนอง





สุดท้าย ผมขออนุญาตแสดงความเห็นส่วนตัวว่า คุณไม่พ้นความรับผิดทางอาญา และทางแพ่ง หรอกครับ หากคุณใช้อำนาจ กลั่นแกล้งผู้อื่น แม้กฎหมายที่คุ้มกะลาหัวของคุณ จะเขียนชัดเจนว่า ไม่ต้องรับผิดใด ๆ แต่กฎหมาย จะขัดหลักรัฐธรรมนูญ และหลักสุจริตของการใช้อำนาจ ไม่ได้หรอกครับ ....




สุดท้าย ของสุดท้าย คือ ผมได้นำคำแถลงการณ์ของ คตส. โดย คุณแก้วสรร และคุณสักฯ ผลิตผลจากสำนักท่าพระจันทร์ฯ อีกเช่นเคยครับ มาไว้ในคอมเม้นท์แล้ว สนใจ ก็ลองอ่านรายละเอียดครับ .... ผมภาวนาว่า ขอให้มันไม่ลุกลามใหญ่โต เพราะองค์กรลูกกะโปก คณะขบถ พวกนี้เถิด ..





Create Date : 12 มิถุนายน 2550
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 13:23:34 น. 30 comments
Counter : 804 Pageviews.

 
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า บ๊อกนี้ทันเหตุการณ์มากๆๆๆ มีเรื่องอะไรใหม่ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์บ้านเมืองเจ้าของบ๊อกอัพเดทได้เร็วมาก ก็ขึ้นอยู่กับผู้อ่านและจะคิดเห็นอย่างไร เพราะว่าจะให้ถูกใจทุกคนคงเป็นไปไม่ได้
ดีใจเข้ามาเป็นคนแรกเพราะแอบคิดถึงเจ้าของบ๊อก


โดย: เข้ามาเยี่ยม IP: 58.8.194.139 วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:11:31:31 น.  

 
เข้ามาอ่านข้อมูลทุกบรรทัด

อ่านแล้วชอบ ที่มีคนกล้าเขียนกล้าพูด

คุณพล สบายดีนะครับ


โดย: yyswim วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:11:33:48 น.  

 
ชอบตรงที่ท่านพี่ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด
ผิดเป็นผิด

ผมก็งงๆ
ถ้ารู้ว่ามันผิด
แล้วยังดื้อทำมันทำไมน้อ

ลป..เตรียมตัวพร้อมยังคับ
อย่าลืมกล้องกะที่ชาร์จไปเด็ดขาดนะพี่

ถ้าลืมมีเคือง
ตอนนี้ผมอยู่ที่แคลิฟอร์เนียคับ
กลับฮ่องกงพรุ่งนี้
อยากไปส่งนะแต่ทำไม่ได้อ่ะ
How bout returning?
จะพยายามแพลนให้ดีๆ
เจอกันที่โอแฮร์คับ (สิงหาเนอะ)
Have a nice trip there na cub...BTW


โดย: Kurt Narris วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:11:36:41 น.  

 
ไม่รู้ว่าการเมืองหรือเปล่ แต่ก็ดีจะได้มีการตรวจสอบว่าทรัพย์สินได้มาโดยชอบหรือไม่


โดย: การเมือง IP: 58.8.194.139 วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:11:36:47 น.  

 
ข้อความล่างนี้ เป็นเนื้อข่าว จากสำนักพิมพ์ กระดาษเปื้อนหมึก ผู้จัดก๊วน .. ครับ




คตส.มีมติอายัดทรัพย์สิน “แม้ว-เมีย” ในทุกบัญชีทุกธนาคารให้มีผลทันที ระบุมีพฤติกรรมทุจริต-ใช้อำนาจมิชอบเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและครอบครัว ระบุมีบัญชีสองประเภทที่ได้จากการขายหุ้นชินฯ ที่เหลืออยู่ 5.2 หมื่นล้าน และบัญชีเงินสดรวมทั้งหมด 21 รายการ พร้อมให้ยื่นคัดค้านภายใน 60 วัน

วันนี้ (11 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 18.30 น.คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้มีมติให้อายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยาในทุกบัญชีและทุกธนาคาร เนื่องจากมีพฤติกรรมทุจริต และใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้ตัวเองและครอบครัว

นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส.พร้อมด้วย นายสัก กอแสงเรือง และนายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการ คตส.ได้ร่วมกันแถลงข่าวสำคัญนี้

ทั้งนี้ สาระสำคัญในคำสั่งอายัดทรัพย์ ระบุว่า ผลการสอบสวนคดีต่างๆ มีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ทุจริต ประพฤติมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของครอบครัว โดยเฉพาะเอื้อผลประโยชน์ให้กับบริษัท ชินคอร์ป ก่อให้เกิดความเสียหาแก่รัฐจำนวน 5 คดี ดังนี้

1.ทุจริตการซื้อที่ดินถนนรัชดาภิเษก จำนวน 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 2.คดีทุจริตการจัดซื้อกล้ายางพาราของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ สร้างความเสียหายจำนวน 1,440 ล้านบาท 3.คดีจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ ทำให้รัฐเสียหาย 1,500 ล้านบาท 4.ออกสลากพิเศษ (หวยบนดิน) ทำให้รัฐเสียหาย 37,790 ล้านบาท และการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยกับนักการเมืองโดยมิชอบจำนวน 5,185 ล้านบาท

ส่วนพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ มีพยานหลักฐานเชื่อว่าได้ยังถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ตั้งแต่เป็นนายกฯ แต่ได้ให้ญาติ-บุตรเป็นผู้ถือหุ้นเอาไว้แทน และใช้อำนาจเอื้อประโยชน์หลายประการคือ 1.แก้ไขสัญญา ลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินสดล่วงหน้า เอื้อประโยชน์ให้บริษัท เอไอเอส ทำให้รัฐเสียประโยชน์ตลอดอายุสัมปทาน 71,667 ล้านบาท แก้ไขสัญญาแบ่งสัดส่วนกับทีโอที เพื่อเอื้อประโยชย์กับบริษัท เอไอเอส ทำให้รัฐเสียหายจำนวน 700 ล้านบาท

กำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติ ครม.แปลงภาษีสรรพสามิตให้ประโยชน์ให้ไอไอเอส ทำให้รัฐวิสาหกิจเสียหายประมาณ 30,667 ล้านบาท

ให้บริษัท ทีโอที เช่าคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัทโดยไม่จำเป็น ทำให้รัฐเสียหายประมาณ 700 ล้านบาท ให้เอ็กซิมแบงก์ให้พม่ากู้เงินซื้อสินค้าของชิน แซทเทิลไลท์ ในเงินกู้ 1 พันล้านบาท

อาศัยการค้าระหว่างประเทศแลกเปลี่ยนบุกเบิกธุรกิจดาวเทียมในเครือของบริษัท ชินคอร์ป ทำให้เพิ่มมูลค่ากับบริษัท ชินฯ เป็นอันมาก ซึ่งสรุปได้มีการอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จำนวน 21 บัญชี

ทั้งนี้ สำหรับบัญชีที่ถูกอายัด คือ บัญชีจากการขายหุ้นชินคอร์ป จำนวน 7.3 หมื่นล้านบาท แต่จากการตรวจสอบบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.พบว่า มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีเพียงประมาณ 52,884 ล้านบาทเท่านั้น

นอกจากนั้น มีคำสั่งอายัดบัญชีเงินฝากในชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในธนาคารต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบจำนวน โดยจะแจ้งไปยังธนาคารต่างๆ ให้รายงานกลับมายัง คตส.อีกครั้ง

นายแก้วสรร อติโพธิ เลขาธิการ คตส.กล่าวว่า การอายัดครั้งนี้เป็นการอายัดชั่วคราว โดยที่เจ้าของทรัพย์สินสามารถยื่นคัดค้านการอายัดทรัพย์เพื่อพิสูจน์การได้มาภายใน 60 วัน และถ้าหากมายื่นเมื่อไหร่ก็พร้อมไต่สวนเมื่อนั้น คำสั่งอายัดทรัพย์ครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น เพราะก่อนหน้านี้ได้สั่งอายัดทรัพย์บางส่วนแล้ว และการตรวจสอบคดีต่างๆ มาลงตัวในวันนี้ และอาจจะบังเอิญมาตรงกับการประท้วงซึ่งไม่ได้อยู่ในการคาดการณ์

คำต่อคำ คตส.แถลงอายัดทรัพย์ “ทักษิณ”

นาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส.

วันนี้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ได้ประชุมปรึกษากันแล้ว มีมติของคณะกรรมการตรวจสอบฯ เรื่อง ให้อายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวก ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการพิจารณา และผลของการพิจารณาเป็นอย่างไรนั้น ขอมอบให้ทางโฆษกแถลง

สัก กอแสงเรือง โฆษก คตส.

การที่คณะกรรมการ คตส.มีมติในเรื่องการอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกนั้น สืบเนื่องจากการตรวจสอบและไต่สวนของคณะกรรมการ คตส.ที่ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายเดือนนั้น ได้มอบให้ท่านเลขาฯ สรุปพฤติการณ์ทุจริตหรือประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบของ คตส.ทั้งหมด รวมทั้งข้อมูลข้อเท็จจริงสู่การพิจารณา มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินเป็น 2 คำสั่ง คำสั่งแรก คือ ให้อายัดบัญชีในเงินฝากที่ได้จากการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ซึ่งประกอบด้วย บัญชีต่างๆ 21 บัญชี ส่วนคำสั่งที่ 2 ให้อายัดเงินในบัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ในทุกบัญชี ทุกธนาคาร และทุกสถาบันการเงิน การอายัดจะอายัดตามคำสั่งทั้ง 2 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง และบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์ที่อายัดตามคำสั่งทั้ง 2 คำสั่ง และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบฯ ภายใน 60 วัน นับจากวันนี้ ขอเรียนว่าการใช้คำสั่งอายัดทรัพย์สินตามประกาศฉบับที่ 30 นั้น ไม่ใช่เรื่องของการดำเนินการยึดทรัพย์ตามประกาศฉบับที่ 30 ที่มีผลย้อนหลัง เนื่องจากคำสั่งฉบับที่ 30 นั้นเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีสะบัญญัติ สามารถดำเนินการได้ทันที รายละเอียดต่างๆ การรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ นั้น ท่านเลขาฯ แก้วสรร จะเป็นผู้แถลงในรายละเอียด

แก้วสรร อติโพธิ เลขาฯ คตส.

จากมติที่ได้แจกท่านไป มีคำอธิบายโดยลำดับง่ายๆ ดังนี้ กล่าวคือ

1.คำสั่งอายัดทรัพย์สินเหล่านี้ไม่เป็นเด็ดขาด มันเป็นเรื่องที่ว่า คตส.ตรวจคดีต่างๆ จนเกิดมูลความผิดขึ้น และมูลความผิดเหล่านี้ถ้าเห็นว่ามีมูลเราจะกล่าวหา แล้วเขาแก้ตัว ถ้าแก้ไม่พ้นก็ไปที่ศาล พอไปที่ศาลแล้วหลายคดีจะมีการยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดิน ถ้าเป็นการทุจริตและมีเงินที่ได้มาจากการทุจริต ศาลคดีอาญาก็จะสั่งยึดเป็นของแผ่นดิน ถ้าเป็นคดีร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินมาโดยมิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่ ก็ต้องพิสูจน์ต่อศาล ถ้าศาลไม่เชื่อศาลก็จะสั่งยึดเป็นของแผ่นดิน เพราะฉะนั้นหนทางนี้เป็นหนทางที่ไปสู่ศาลเป็นปกติในเรื่องของความผิด แต่ขณะเดียวกัน ถ้าเราเห็นทรัพย์สินมันหนีไปซึ่งหน้า หรือมีทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เห็นอยู่ ตรงนี้ประกาศฯ ฉบับที่ 30 ได้ให้อำนาจแก่เราไว้ในลักษณะที่เป็นวิธีการชั่วคราว ถ้าเราสามารถที่จะอายัดไว้ก่อน แล้วเมื่อคดีนั้นถ้าถึงศาล ทรัพย์เหล่านั้นก็ต้องนำไปสู่ศาลเพื่อจะพิพากษายึดไป ตรงนั้นถึงจะเป็นเด็ดขาด

การอายัดไว้ก่อนนี้ วันนี้ได้ออกคำสั่งอายัดแล้ว ถามว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ในประกาศฯ ฉบับที่ 30 ได้ให้ความยุติธรรมไว้ดังนี้ว่า ในชั้น คตส.มีหลักฐานสังคมเชื่อว่าเขาทำผิดในกรณีทรัพย์ที่เกี่ยวข้องและมีเหตุอันควรยึด คุณอายัดไว้ แต่ถ้าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของเขา หรือเขามีเหตุที่อธิบายได้ทำไมต้องรอให้เขาถึงศาลด้วย เพราะฉะนั้นในท้ายมติจะบอกไว้ว่า ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมายืนยันว่าเป็นทรัพย์สินของตน และเป็นทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ตรงนี้ คตส.จะมีอำนาจสั่งถอนอายัดได้แล้วจะหมดเรื่องไป ในมติได้สั่งไว้ว่า ให้ผู้ที่ต้องการจะร้องขัดทรัพย์ คือ ดึงทรัพย์ออกจากการอายัด เราให้เวลาไว้ 60 วัน ก่อน 60 วัน ท่านจะได้รับคำชี้แจงจากเรา ท่านมายื่นคำร้อง ท่านยื่นเมื่อไหร่ไต่สวนทุกวันทันทีจะไม่ช้า ต้องให้ความยุติธรรมกับเขา อันนี้ขั้นตอนทางกฎหมายที่ขอย้ำท่านโฆษกว่า ตัวนี้เป็นวิธีการชั่วคราวเท่านั้นเพื่อจะรักษาทรัพย์ที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน ส่วนนี้ยังไม่ใช่การลงโทษ ไม่ใช่ส่วนที่เป็นการตัดสินเสร็จเด็ดขาด จึงไม่ใช่เรื่องที่มีปัญหาย้อนหลัง

สำหรับฐานอำนาจ ชี้แจงโดยลำดับ ดังนี้ ตัวบทข้อ 5 ของประกาศ 30 ข้อ 6 ข้อ 7 ความเป็นดังนี้ ความข้อแรก ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะมองคุณทักษิณแล้วบอกเอาละวะอายัด ความข้อแรกในกฎหมายบอกไว้ว่า 1.จะต้องมีเรื่องที่ คตส.ตรวจสอบหรือไต่สวนเกิดขึ้นเสียก่อน ไม่ใช่นึกจะหยิบก็หยิบ ต้องมีเรื่องไต่สวนตรวจสอบเกิดขึ้นเสียก่อน 2.การตรวจสอบและไต่สวนนั้นถึงขั้นที่มีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า กลุ่มแรก คือ เชื่อได้ว่าทุจริตประพฤติมิชอบ ปรากฏว่า จากการตรวจสอบของเราจนปัจจุบันมันถึงขั้นกล่าวหาและไต่สวนแล้วด้วยซ้ำไป และอยู่ระหว่างให้ท่านมาแก้ข้อกล่าวหา 5 คดี (1) กรณีที่ดินกองทุนฟื้นฟู ตรงนี้อยู่ที่อัยการแล้ว ที่ดินมูลค่าตามสัญญา 772 ล้านบาท (2) การจัดซื้อกล้ายาง มูลค่าตามสัญญา 1,440 ล้านบาท มีชื่อการกล่าวหาท่านนายกฯ ทักษิณอยู่ ตรงนี้อยู่ในชั้นไต่สวนแล้ว (3) ซีทีเอ็กซ์ ถึงขั้นไต่สวนแล้วและกล่าวหาท่านนายกฯ ทักษิณ ด้วย (4) โครงการออกสลากพิเศษ ถึงขั้นไต่สวนแล้ว และมีหลักฐานกล่าวหาท่านนายกฯ ทักษิณด้วย (5) การให้กู้โดยทุจริตของธนาคารกรุงไทย มีหลักฐานถึงขั้นไต่สวนแล้วว่าท่านเป็นคนสั่งการ ความเสียหาย 5,185 ล้านบาท สลากพิเศษออกโดยมิชอบ รัฐเสียหาย 37,790 ล้านบาท ซีทีเอ็กซ์ เสียหาย 1,500 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้ขอย้ำว่าไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดีๆ จะไปยึดหรืออายัด ต้องปรากฏหลักฐานก่อน

ประการที่ 2 เป็นความผิดประเภทที่เรียกว่าร่ำรวยผิดปกติ “ร่ำรวยผิดปกติ” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าท่านมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติเพราะท่านมีทรัพย์สินมากอยู่แล้ว แต่เป็นการร่ำรวยผิดปกติชนิดที่เรียกว่า “ได้ทรัพย์สินมาโดยมิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่” ตรงนี้ก็ปรากฏพยานหลักฐานจากการตรวจสอบขึ้นโดยลำดับ กล่าวคือ

(1) พบในอนุกรรมการตรวจสอบหุ้นชินคอร์ป พบมาโดยชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า หุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตรนั้น 49.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อท่านนายกฯ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี หุ้นเหล่านี้ได้เปลี่ยนเป็นชื่อบุตรและพี่น้อง และไปต่างประเทศในนามแอมเพิลริช 11 เปอร์เซ็นต์ หุ้นเหล่านี้ทั้งหมด หลังจากขึ้นเป็นนายกฯ ปี 43 ปี 49 ได้รวมกันอย่างง่ายดาย และมาขายให้กับกองทุนเทมาเส็ก เป็น 73,300 ล้าน เมื่อเป็นนายกฯ นั้นมูลค่าประมาณ 20,000 กระโดดขึ้นมาประมาณ 50,000 กว่าล้าน ถามว่า 50,000 ล้านนี้เพิ่มขึ้นจากอะไร ตรงนี้การตรวจสอบเรายืนยันหลักฐานชัดขึ้นๆ ว่า นี่คือซุกหุ้นภาค 2 ปรากฏว่าชื่อหลุดและพี่น้องนั้น เรามีหลักฐานชัดทั้งโดยพฤติการณ์และโดยการตรวจทางบัญชีว่า เราเชื่อได้ว่า ควรเชื่อได้ว่เจ้าของที่แท้จริงคือท่านนายกฯ ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ในเมื่อเชื่อได้ว่าหุ้นยังเป็นของท่าน แล้วตามด้วยพฤติการณ์ที่มีการเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการชินคอร์ป ตามมติที่เขียนไว้ ตรงนี้ก็ปรากฏขึ้นในสำนวนการตรวจสอบและไต่สวนของ คตส.เช่นกัน ได้มีการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ จากโทรศัพท์ไร้สาย หรือเคลื่อนที่ จาก 25 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจำไม่ผิด ปี 44 ขึ้นเป็นนายกฯ ปั๊บ ก็แก้เลย การที่ลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ จากรายได้ คิดเป็นมูลค่าที่องค์การโทรศัพท์ หรือรัฐต้องเสียไปตลอดอายุสัญญา 25 ปี เสียหายทั้งสิ้น 71,667 ล้านบาท การแก้ไขสัญญานี้กฤษฎีกาได้วินิจฉัยไปแล้วเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ว่าไม่ทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ผิดขั้นตอน เป็นการกระทำโดยมิชอบ

(2) แก้ไขสัญญา โดยเป็นการเปลี่ยนการคิดว่าอะไรคือรายได้ เดิมทีรายได้เท่าไรก็ 20 เปอร์เซ็นต์ 25 เปอร์เซ็นต์ หารไปเลย แต่ก็มาเปลี่ยน ว่าก่อนที่หัก ก่อนที่จะคิดเป็นรายได้นั้น ให้หักค่า Access Charge ออกไปเสียก่อน จึงทำให้องค์การโทรศัพท์ฯ เสียประโยชน์ 700 ล้าน นี่ก็ไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน

ทั้งสองเรื่องนี้ คตส.มีมติให้กล่าวหาท่านนายกฯ แต่ผู้เดียว และไต่สวน คือ การตรา พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม และมีมติให้ผู้ประกอบการเอาภาษีมาหักจากค่าสัมปทานได้ ตรงนี้ทำให้ ทศท. กสทฯ ได้ค่าสัมปทานไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะเลิกภาษีเป็น 0 แล้ว แต่ก็เสียหายไปแล้ว 30,667 ล้านบาท

ข้อที่ 4 เรื่องดาวเทียม ดาวเทียมชินแซท ของบริษัทชินแซท ไอพีสตาร์ ลงทุนสูงมาก มีความพยายามดิ้นรนบุกเบิกตลาดเต็มที่ มีการบังคับให้บริษัท ทีโอที คือองค์การโทรศัพท์ฯ ต้องเช่าช่องสัญญาณโดยไม่มีความจำเป็น โดยกลุ่มผลประโยชน์ของบริษัท ชินคอร์ป ทำให้องค์การโทรศัพท์ฯ เสียหายจนปัจจุบันนี้ 700 ล้าน

ข้อ 5 อยู่ในขั้นตรวจสอบ อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จะวินิจฉัยเพื่อไต่สวน คือการที่ท่านนายกฯ ได้เสนอ ครม.ว่า เราจะให้พม่ากู้ เป็นเครดิตไลน์ คือพม่าซื้อของไทยก็มาเบิกเงินไปเลย ตอนแรก 3,000 ล้าน แล้วมาเติมอีก 1,000 ล้าน พยานหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ท่านนายกฯ เป็นคนไปคุยกับผู้นำพม่า แล้วก็มาขอเพิ่มอีก 1,000 ล้าน เพื่อซื้อสินค้าของชินแซทโดยเฉพาะ ฟังผู้นำพม่าแล้วมาขอเงินหลวงอีก 1,000 ล้าน แล้วก็เพื่อซื้อสินค้าชินแซทโดยเฉพาะ ที่เหลือนอกนั้นเป็นการอาศัยการเจรจาการค้า ทั้งระดับอาเซียนและพหุภาคี บุกเบิกตลาดให้กับดาวเทียมไอพีสตาร์ของชินแซท สำเร็จลงตัวเป็นบริษัทลูกในกัมพูชา ในลาวและเป็นสิทธิ์ในบริษัทในประเทศคู่สัญญาตลอด ทั้งหมดนี้เป็นมูลค่าที่ประมาณไม่ได้

ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหมด เมื่อมีหลักฐานอันเชื่อได้ว่ามีการทุจริตประพฤติมิชอบ เชื่อได้ว่าร่ำรวยผิดปกติ ในประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ข้อ 5 ให้อำนาจ คตส.ที่จะอายัดทร้พย์ที่เกี่ยวข้องนั้นไว้ก่อนได้ ฉะนั้นในวันนี้จึงได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์

คำสั่งอายัดทรัพย์นี้ อันที่จริงท่านสัก ทีมอนุฯ ไต่สวนหุ้นชินคอร์ป ได้ติดตามบัญชีธนาคารของครอบครัวชินวัตรมาตลอด จนกระทั่งเราได้พบเห็นว่า เงินก้อนหนึ่งที่เรามุ่งมองอยู่ ก็คือเงินจากการขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นของนายกฯ กับคุณหญิง ถึงแม้จะแตกเป็นบัญชีของบุตรและพี่น้อง เราก็เชื่อว่าเป็นการถือแทนคุณหญิงและท่านนายกฯ บัญชีเหล่านี้เรามองอยู่ตลอด เข้ามา 73,000 ล้าน ตอนนี้เหลือ 52,000 ล้าน เพราะฉะนั้นการยักย้ายถ่ายโอนมันเกิดขึ้นแล้ว อยากจะทำก็ต้องดูพยานด้วย แต่เมื่อประมวลพยานหลักฐานทั้งคดีร่ำรวยผิดปกติ กับคดีทุจริตประพฤติมิชอบ โดยเฉพาะคดีหุ้นชินคอร์ป ตรวจบัญชีลงไปลึกจนชัดเจน เชื่อได้ว่าของคุณ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความมั่นใจว่า เชื่อได้ว่าทำผิดและร่ำรวยผิดปกติ

สอง เมื่อเห็นเงินมันเริ่มขยับ เริ่มรั่วออกไป ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการใช้อำนาจอายัดทรัพย์ ทั้งหมดนี้ที่อุตส่าห์แถลงอย่างยืดยาว เพื่อยืนยันกับท่านว่า เราไม่ได้สั่งอายัดวันนี้ด้วยมูลเหตุจูงใจทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ได้สั่งโดยมูลเหตุจูงใจทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น

คุณจำได้ไหมคราวภาษีสรรพสามิต ข่าวก็รั่วไปทีหนึ่งแล้วว่าจะอายัด นั่นก็เกือบอายัดแล้ว เมื่อพฤษภาคม แต่หลักฐานการซุกหุ้นมันไม่ชัด บัญชีธนาคารยังจับไม่ถนัด ถ้าจับได้แล้วซัดตอนนั้นเราทำเสียก่อนมีศาลรัฐธรรมนูญ หรือเกิดก่อนการประท้วงเสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นยืนยันได้จากหลักฐานทั้งหมด พัฒนาเป็นคดีๆๆ มีการตรวจบัญชี พัฒนาเป็นคดีๆๆ ทั้งหมดนี้บรรจบลงวันนี้ เพราะฉะนั้นถ้าท่านใดจะมาวิพากษ์ว่าเราทำเพราะมูลเหตุการเมือง ก็อยากจะถามตรงๆ ท่านอยากจะให้ 52,000 กว่าล้านนี้มันหายไปใช่ไหม เอาคดีขึ้นฟ้องศาลแต่เงินไม่มีสักบาท ท่านต้องการอย่างนั้นหรือ เพราะฉะนั้นนี่คือเหตุจำเป็นเท่านั้นเอง ในทางหลักฐาน ส่วนจะเผอิญพอดีกับการประท้วงหรืออะไรต่างๆ นั้น ตรงนี้เป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในการคาดการณ์หรือประมาณการแม้แต่น้อย และไม่ได้นำมาคิดในใจเลยมันจะทำให้ร้อนขึ้น หรือเย็นลง หรือจะเป็นปัญหาอะไรทั้งสิ้น

ท้ายสุดอายัดอะไรบ้าง ในส่วนที่เป็นพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ คือใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป และซุกหุ้นชินคอร์ปไว้ในชื่อบริวาร คตส. ถ้าคดีขึ้นศาลจะต้องขอให้ศาลยึดทั้ง 73,000 ล้าน แต่ปรากฏว่าเงิน 73,000 ล้าน มันอยู่ในบัญชีที่กล่าวนี้ เหลืออยู่ 52,000 ล้าน ตรงนี้เราอายัดโดยเหตุร่ำรวยผิดปกติ จะเป็นชื่อบุตร ชื่อน้องสาว เป็นเรื่องของชื่อ แต่เราเชื่อว่าเป็นของคุณ เพราะฉะนั้นคำสั่งแรกเป็นคำสั่งที่ระบุบัญชีชัดเจน แล้วขณะนี้ส่งถึงธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่ออายัดก่อนวันทำการในวันพรุ่งนี้ คำสั่งที่ 2 ตรงนี้ เป็นเงินฝากทั่วไป และจำกัดเฉพาะท่านนายกฯ ทักษิณ และคุณหญิงเท่านั้น ตรงนี้จะส่งไปยังทุกธนาคาร เรายังไม่ทราบเลขบัญชี แต่เราจะสั่งว่า บัญชีที่มีชื่อ 2 ท่านนี้ให้อายัดไว้แล้วให้รายงานกับเรา เข้าใจนะครับทำไมถึงมี 2 อายัด อายัดแรก มีบัญชีที่พุ่งมองอยู่ และเป็นเงินเฉพาะที่ได้มาจากการขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งเราเชื่อว่าร่ำรวยผิดปกติ ตรงนี้เรามีบัญชีที่มองอยู่ พรุ่งนี้อายัดได้หมดแล้ว แต่บัญชีที่เหลือเราไม่ทราบว่าจะมี 100 ล้าน 200 ล้าน หรือไม่มีสักล้าน เราไม่ทราบ ตรงนั้นได้แต่แจ้งคำสั่งไปยังทุกธนาคารให้เขาอายัดไว้แล้วรายงานเรา
การอายัดนี้เป็นการอายัดชั่วคราว เปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย และมีเหตุผลมาร้องขอให้เราถอนอายัด ภายใน 60 วัน หรือถ้าเราตรวจพบเองว่าไม่ใช่ของเขา เราจะปล่อยเอง แต่เราให้สิทธิ์เขาไปแล้ว เขาใช้สิทธิ์เมื่อไหร่จะไต่สวนทันที

สัก กอแสงเรือง

ขอแก้ไขเอกสารเนื่องจากมีการพิมพ์ผิดพลาด “พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2542” แก้เป็น “พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549” ซึ่งจะสอดคล้องกับบรรทัดต่อๆ ไป คือ พ.ร.บ.ประกาศราชกิจจาฯ มีผลบังคับใช้ 21 มกราคม 2549

ถาม-ตอบ

ถาม - ทั้ง 2 คำสั่งมีการประเมินว่าจะเป็นวงเงินประมาณเท่าไหร่

แก้วสรร - เรียนตามตรง เงินหุ้นชินคอร์ปเราตามตลอด เราเห็นถึงปัญหาร่ำรวยผิดปกติ ตรงนี้ได้ยอดมาอย่างที่กล่าว ยอดที่กล่าวนี้คือเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ไม่ทราบวันนี้เหลือเท่าไหร่ แต่พรุ่งนี้จะถูกอายัดไว้ 4 มิถุนายน จากการตรวจสอบของแบงก์ชาติ 52,884 ล้าน ส่วนการอายัดอื่น ส่งเรื่องไปยังทุกธนาคารว่าถ้ามีบัญชี 2 ท่านนี้ ให้อายัดไว้ ตรงนี้ไม่ได้ประเมิน แต่ถ้าดูจากรายการบัญชีทรัพย์สินที่ท่านแจ้งไว้ ก็ไม่น่าจะมาก

ถาม - หมายถึงธนาคารในต่างประเทศด้วยหรือเปล่า
- อันนี้ยัง ที่ส่งไปคือในประเทศทั้งหมด

ถาม - การยักย้ายเกิดขึ้นช่วงไหน หรือเป็นช่วงหลังจากที่มีรัฐประหารหรือก่อนหน้านั้น
- ไม่ได้ตรวจสอบนะ ขออภัย

ถาม - 21 บัญชีนี้ของใครบ้าง

- 21 บัญชีนี้ คือเขาอ้างว่าหุ้นเป็นของบุตรชาย บุตรสาว และคุณบรรณพจน์ คุณยิ่งลักษณ์ ทั้ง 4 ท่าน ถูกใช้ชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตร แล้วเมื่อขายออกมาได้ 73,000 เขาก็แตกเงินที่ได้ให้ 4 คน ตามสัดส่วนนี้ แล้ว 4 คนนี้ก็เอาเงินเหล่านี้ไปฝากอยู่ในธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และมีกองทุน และแตกไปบัญชีต่างๆ คนหนึ่งอาจจะ 2-3 บัญชี ก็แล้วแต่ แล้วเงินมันก็เริ่มหายไป

ถาม - เงินที่หายไปเราต้องใช้อำนาจอะไรไปตาม?
- คือในส่วนหนึ่งเราก็ได้จากการรายงานของธนาคารต่างๆ อันที่ 2 เราก็ต้องเอาสเตทเมนต์ของบัญชีเหล่านี้ บัญชีนี้เป็นบัญชีแรกรับ คือ พอขายปั๊บมันเข้าเลย แต่จากบัญชีนี้มันกระโดดไปไหนบ้าง ตรงนี้เรามาดูสเตทเมนต์แล้วก็ไล่ ว่ามันไปไหน ก็ต้องขอเวลาตรวจ



โดย: POL_US วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:12:13:35 น.  

 
คตส. (ต่อ)




ถาม - เวลาเขามาพิสูจน์ทรัพย์เขาต้องมาด้วยตัวเองหรือสามารถให้ทนายความมาแทน

แก้วสรร - 60 วันที่ให้สิทธิ์ เขาจะตั้งตัวแทนหรือทำอย่างไร ให้พี่สักชี้แจง

สัก - ส่วนนี้ก็คงเป็นเรื่องของการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ พิสูจน์การได้มาโดยชอบ โดยหลักก็คือเจ้าของ แต่มาตรการดำเนินการนี้ก็คงจะต้องไปโยงใช้วิธีพิจารณาของศาลมาใช้โดยอนุโลม เช่น ร้องขัดทรัพย์ หรือการร้องพิสูจน์ว่าใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่กระทำความผิด หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือร่ำรวยผิดปกติ ก็จะโยงใช้ 2 อย่างในการพิสูจน์ ของกระบวนการยุติธรรม โยงใช้การพิสูจน์ในกฎหมาย ป.ป.ช. ตรงนี้เราก็จะใช้โดยอนุโลม ก็คงจะต้องศึกษาดูว่าวิธีการในกฎหมาย 2 ฉบับนี้ โดยวิธีพิจารณาของกระบวนการยุติธรรมก็ดี วิธีดำเนินการของ ป.ป.ช.ก็ดี มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ก็คงจะเอามาใช้โดยอนุโลม

แก้วสรร - มีผู้ถามว่าการยื่นคัดค้านหรือขัดทรัพย์ จะใช้ตัวแทนได้ไหม ตรงนี้ก็ไม่ยาก ให้ปากคำก็ยังใช้ทนายได้ ทีนี้ถามว่า ท่านต้องมาไหม คำตอบก็คือว่า นี่เป็นสิทธิ์ของท่าน ถ้าท่านใช้สิทธิ์ท่านก็มา หรือท่านจะใช้ตัวแทนก็ได้ เมื่อกี้คำถามผิด ให้คัดค้านได้ภายใน 60 วัน พรุ่งนี้ก็ได้ แต่เรายืดเวลาให้ยาวไปถึง 60 วัน เผื่อท่านจะเตรียมเรื่อง ทีนี้พอยื่นปั๊บ ก็เป็นหน้าที่ คตส. จะต้องรีบฟังคำร้องเขาโดยเร็ว ส่วนเขาจะมาหรือเป็นตัวแทนก็แล้วแต่เขา

ถาม - หนี้ 2 หมื่นกว่าล้านที่หายไปจากบัญชี คตส.จะมีการติดตามกลับคืนมาหรือเปล่า

แก้วสรร - ก็ต้องติดตามอยู่แล้ว นี่เป็นบัญชีแรกรับ ฉะนั้น ในสเตทเมนต์มันต้องบอกว่าเงินไปไหน พอได้สเตทเมนต์มาก็ไล่ตาม ก็ไม่ทราบมันแปลงไปไหน

ถาม - เมื่อมีการอายัดทรัพย์แล้วจะมีการดำเนินคดีอาญาต่อไปหรือไม่

แก้วสรร - นี่ไงครับสิ่งที่พยายามอธิบาย เขาไม่ได้ให้พวกผมมายึดทรัพย์นะ เขาให้พวกผมหาความผิดแล้วเอาคดีไปสู่ศาลตัดสิน ลงโทษติดคุกหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่การอายัดทรัพย์ในที่นี้เป็นเพียงมาตรการข้างเคียง เมื่อเรามีหลักฐานในระดับที่เชื่อได้ และถ้าเราเห็นว่าทรัพย์มันเกี่ยวข้อง มันจะหนี ก็ให้เราตะครุบไว้ก่อน แต่ถ้าเมื่อไรคดีไปศาล ทรัพย์สินเหล่านี้ก็ต้องตามไปให้ศาลพิพากษายึดหรืออายัด แล้วแต่กรณี อย่างตัวอย่างว่าผมทุจริต ได้เงินมา 100 ล้าน คตส.ตะครุบ ถ้า คตส.บอกว่าผมหลุด เขาก็ต้องปล่อยเงินผม หรือถ้าเขาบอกให้ผมไปศาล คตส.ก็ต้องอายัดไว้ แล้วขอให้ศาลริบเป็นของแผ่นดิน มันก็ขนานกันไป ถึงบอกว่าการอายัดทรัพย์นี้ไม่ใช่ยุติเด็ดขาด มันขึ้นอยู่กับว่าคดีจะไปอย่างไร แล้วเขาก็มีสิทธิ์ที่จะมาเถียงให้เหตุผลเราได้ ผมพูดตรงๆ ตรงนี้เลยก็ได้ เงินขายหุ้นชินคอร์ป ถ้าคุณเอาหลักฐานจากยูบีเอส เอที สิงคโปร์มา ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของโลก แล้วเราไม่มีโอกาสได้เลย เอามาเลยว่าใครเป็นผู้เปิดบัญชี ทั้งหุ้น ทั้งธนาคาร ถ้าเอามาพรุ่งนี้แล้วบอกว่า เด็กสองคนนี้เป็นคนเปิดบัญชี แล้วสั่งโยกโน่นโยกนี้ ถ้ามีหลักฐานเป็นเอกสารมาตรงนี้ปล่อยทันที แต่ไม่ใช่ ไม่ให้ ถามบอกไม่รู้ จำไม่ได้ พอเชิญมาบอกไปนอก แล้วเงินนั้นก็หายไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นยินดีเลยนะครับ เมื่อท่านมีหลักฐานที่ท่านไม่เคยให้เรา ก็เอามาให้ได้พรุ่งนี้ วินิจฉัยทันทีเลยก็ได้ ปล่อยหมดทั้ง 5 หมื่นเลยก็ได้ แต่ไม่ใช่อยู่อย่างนี้ แล้วหลักฐานของเรามันอยู่ในระดับน่าเชื่อแล้ว เถียงกันตั้งนาน บอกช่วยคิดแทนกันสิ ตามทฤษฎีการตรวจสอบของเรา เขาสามารถจะตีตรงไหนได้บ้าง สอบกันตั้งนานจนกระทั่งคิดว่า จากหลักฐานนี้มันต้องเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าคุณสามารถหาหลักฐานใหม่มาทำลายทฤษฎีเราได้ เอาคืนไปเลย แต่ไม่ยอมให้ ปล่อยให้เราเรียกมาถามอยู่อย่างนี้ แล้วเมื่อไรจะไปไหนได้ เงินก็ไหลหายไปเรื่อย 7 หมื่น 6 หมื่น เหลือ 52,000 เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็หายไปเรื่อยๆ ฉะนั้นมันเป็นความจำเป็นของเงินตรงนั้น

ถาม -

แก้วสรร - การชี้แจงลงลึกในคดีนี้ต้องเป็นเรื่องเฉพาะคดี อันนี้เป็นเรื่องคำสั่งอายัดด้วยความเชื่อว่ามีมูลความผิด

ถาม -

สัก - ถ้าสละสิทธิ์การพิสูจน์ การอายัดยังมีอยู่ต่อไป กระบวนการตรวจสอบ กระบวนการไต่สวนยังดำเนินการต่อไป คดีไหนเรื่องไหนเสร็จเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไปตามปกติ อยู่ต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ถาม - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก ขยายคำว่าพวก คือใครบ้าง

สัก - ผมคิดว่าเอกสารที่เราแจกชัดเจนพอ เพราะฉะนั้นขณะนี้คงจะไม่ลงรายละเอียดมากกว่านี้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและไต่สวนของ คตส.

ถาม -

สัก - ของคนอื่นเรายังไม่มีมติ อย่าเพิ่งถามล่วงหน้า และอย่าถามความเห็นหรือมติเราล่วงหน้า

ถาม - ยื่นคำร้องต้องยื่นต่ออนุกรรมการแต่ละหรือยื่นกับ คตส. และชี้แจงกับ คตส.ทั้งคณะ

แก้วสรร - ยื่น คตส. อาจตั้งอนุกรรมการรับฟัง เรื่องของเรา

ถาม - เงินฝากคุณทักษิณ คุณหญิงในบัญชี ช่วยประมาณคร่าวๆ ว่าเท่าไหร่

แก้วสรร - มี 2 ก้อนที่ถูกอายัด ก้อนหนึ่งอยู่ในชื่อคนอื่นเนื่องมาจากการขายหุ้นชินคอร์ป เราเชื่อว่าเป็นของท่านทักษิณกับคุณหญิง อันนี้บอกยอดไปแล้ว ส่วนที่ถือไว้ในนามท่าน ตรงนี้คุณลองประเมินแล้วกันท่านแจ้งบัญชีทรัพย์สินไว้เท่าไหร่ แล้วน่าจะเหลือสักเท่าไหร่ หรือจะเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือไม่ ตรงนี้ คตส.ยังไม่ได้ประเมิน

ถาม - มีมติแล้วจะเพิ่มกำลังรักษาความปลอดภัย สตง.หรือไม่

สัก - ถามท่านผู้ว่าฯ สตง. เป็นเรื่องของสถานที่

ถาม - ถ้าเกิดยังมีเงินออกไปอีก ธนาคารไม่ทำอะไร

แก้วสรร - ธนาคารฝ่าฝืนก็ผิดซิครับ

ถาม – ก่อน คตส.จะมีมติได้มีการตรวจสอบหรือไม่ว่ามีการยักย้ายถ่ายโอนเงินไป

แก้วสรร - เรารู้บัญชีจริง 4 มิถุนายน เท่านี้ ส่วนเขาจะมีบัญชีที่ไหนอีกตอนนี้ไม่รู้เลขบัญชี แต่สั่งอายัดเป็นชื่อ ว่าถ้ามีชื่อนี้อยู่ในบัญชีธนาคารคุณอายัดให้หน่อยแล้วเขาจะรายงานกลับมา

นาม ยิ้มแย้ม

วันนี้ทางคณะ คตส.ได้ประชุมอย่างเคร่งเครียดพอสมควร แต่ลงเอยด้วยการมีมติให้อายัดทรัพย์คุณทักษิณ และพวก ซึ่งปัญหานี้มีสื่อมวลชน แม้แต่ประชาชน ถามอยู่เรื่อยว่าเมื่อไหร่จะใช้อำนาจเมื่อไหร่ ซึ่งต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ จะทำอย่างสุกเอาเผากิน หรือจะเป็นการกลั่นแกล้ง ที่ช้าเพื่อรอหลักฐานที่มั่นคงพอสมควรจึงตัดสินใจให้อายัดไว้ ซึ่งให้ฝ่ายผู้อายัดมาแก้ตัวได้ ไม่ได้เด็ดขาดอะไร

ถาม - ท่านประธานห่วงหรือไม่ม็อบจะบุกมาที่ สตง.

นาม - ไม่ห่วง ถ้าเขาจะมาคงจะห้ามเขาไม่ได้

ถาม - อยากจะบอกอะไรกับประชาชนในมตินี้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ

นาม - ไม่มีอะไร ให้รายละเอียดไปหมดแล้ว

ถาม - ประชาชนว่าคุณทักษิณถูกกลั่นแกล้ง

นาม - อันนี้มันห้ามเขาไม่ได้ เราไม่มีอคติอะไรเลย เพราะหากมีอคติคงทำมานานแล้ว ทั้งที่ประชาชน ผู้สื่อข่าวถามอยู่เรื่อย เมื่อไหร่จะใช้สิทธิ์เสียที ใช้อำนาจนี้เสียที เพราะฉะนั้นเมื่องวดเข้ามาเพราะคดีที่ตรวจสอบหรือไต่สวนมันมองเห็นพฤติการณ์ว่าได้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์จึงใช้อำนาจตามข้อ 5 ของประกาศฉบับที่ 30

สัก กอแสงเรือง

คตส. ยืนยันว่า 1.ไม่มีอคติ 2.ไม่มีใบสั่ง ทำตามอำนาจหน้าที่ ตามประกาศฉบับที่ 30 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทุกกระบวนการ


โดย: POL_US วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:12:14:27 น.  

 
รับแซ่บครับ


โดย: พีทคุง (redistuO ) วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:13:39:28 น.  

 
ดูคลิปคำแถลง คตสใ อดีตนายก ทักษิณ
//cafe.blogmynews.com/view_video.php?viewkey=d244975439c612459277


โดย: เบื่อการเมือง IP: 125.24.43.17 วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:15:07:30 น.  

 

แย่มากๆ ได้อ่านข่าวแล้วเหมือนกัน เบื่อเมืองไทยค่ะ


โดย: Htervo วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:16:53:08 น.  

 
ขออนุญาตสงสัยตามประสาเด็กน้อย
ที่เรียนมาแค่กฎหมายเบื้องต้นนะคับพี่
กรณีที่อดีตนายกทักษิณออกมาให้สัมภาษณ์
ว่าจะฟ้อง กลับ คตส. เนี่ย..
มันเป็นไปได้หรอคับ เห็นบอกว่าจะฟ้องทั้งแพ่งและอาญา
แปลว่าก็จะยังไม่ได้ยึดทรัพย์
จนกว่าคดีจะถึงที่สุดใช่ป่าวคับ
แล้ว...อย่างนี้เมื่อไหร่จะได้ยึดทรัพย์ล่ะคับ
สมมติว่ามันกินเวลาไปยาวนานจนกระทั่งพ้นการเลือกตั้ง
(สมมติว่ามีการเลือกตั้งโดย รธน.ใหม่นะคับ)

มีโอกาสที่จะเกิด
"การขัดหลักรัฐธรรมนูญ
และหลักสุจริตของการใช้อำนาจ "
ตามที่พี่เขียนไว้

งั้นก็แปลว่าที่ คตส. ต้องการจะทำก็ไม่เกิดขึ้น
สุดท้ายทรัพย์สินที่สั่งอายัดไปก็กลับไปอยู่กับ
อดีตนายกฯอยู่ดี...
เผลอๆ คนที่ซวยคือ คตส. ซึ่งถูกฟ้องกลับ
อย่างนี้ คตส.ก็ .."เละ" ดิคับ

ดังนั้น ถ้า คตส.รู้อย่างนี้แล้ว
จะออกคำสั่งออกมาเพื่อไรอ่ะคับ
หรือ คตส. รู้แน่ๆ ว่ามีทางที่จะยึดทรัพย์ได้สำเร็จ


ร่ายมาตั้งยาว..เหมือนกับไม่ใช่คำถาม
แต่สรุปสั้นๆ ว่า
ถ้าคตส.รู้ว่าไม่สามารถเอาผิดได้จิง
คตส.จะออกคำสั่งมาหาเรื่องใส่ตัวทำไมคับพี่

ปล.ช่วยตอบหน่อยนะคับ..คำถามอาจจะฟังดูโง่ๆ
แต่สงสัยจิงๆคับ


โดย: เก่งกว่าผมตายไปหมดแล้ว วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:22:13:33 น.  

 
เพิ่งมีโอกาสได้เข้ามาอ่านบทความในบล็อคนี้ ก็นับว่าเป็นอีกมุมมองนึงของนักกฎหมาย

ถ้าเป็นไปได้อยากให้เจ้าของบล็อคช่วยบอกทีว่าในความคิดเห็นส่วนตัวของคุณ คตส. และ ตุลาการ ควรจะต้องตัดสิน หรือ ทำอย่างไรในถูกต้อง ในเมื่อคุณดูจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

อันนี้ไม่ได้มาหาเรื่องหาราว แต่อยากจะรู้คำตอบเพื่อนำไปวิเคราะห์หาคำตอบให้ตัวเองบ้าง


โดย: สาวญี่ปุ่น IP: 58.136.61.59 วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:23:17:18 น.  

 
เรียน น้องเอ๊ะ

สิ่งที่ คมช. ได้กระทำ โดยการตั้ง องค์กร ลูก ๆ ออกมา ก็เพื่อกำจัด ทักษิณฯ และ พวกพ้องให้หลุดพ้นจากขั้วอำนาจทั้งสิ้น เพราะเขายึดหลักคำพิพากษาว่า ใครยึดอำนาจสำเร็จ เป็นเจ้า .... หรือ "อำนาจ คือ ธรรม" ไม่ใช่ " ธรรม ทำให้เกิดอำนาจ"

ดังนั้น ในขณะนี้ สิ่งที่องค์กรลูกทั้งหลายทำ คือ ทำทุกอย่างเพื่อกำจัดคน ๆ เดียว หรือ พรรคการเมืองพรรคเดียว โดยยอมแลก การทำลาย "หลักประชาธิปไตย และ หลักนิติรัฐ" ที่ประเทศไทย ยึดถือ และกำลังพัฒนาไปได้ด้วยดี

ขั้นตอนของ คมช. และ คตส. คือ การออกกฎหมาย มาคุ้มกะลาหัว ไม่ให้ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา ซึ่งเขาคิดว่า มีอำนาจ จะทำอย่างไรก็ทำได้ พี่ในฐานะนักกฎหมาย ที่พอจะได้เรียนรู้หลักการตีความกฎหมายมาบ้าง ทั้งจากไทยและต่างประเทศ ก็ยืนยันว่า มันไม่อาจรอดพ้นความรับผิดใด ๆ ได้ หากเขาใช้อำนาจโดยไม่สุจริต เพราะ การที่พวกเขาจะได้รับการคุ้มกะลาหัวตามกฎหมายนั้น เขาต้องใช้อำนาจโดยสุจริต และใช้ดุลพินิจโดยสุจริต และชอบธรรม

การที่จะยึดทรัพย์ใครนั้น เนื่องจาก การยึดทรัพย์ เป็นมาตรการบังคับทางอาญา ที่ชัดเจน ผู้ที่จะยึด จะต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนว่า ทรัพย์ที่เขามีอยู่มันไม่ชอบ หรือ ได้มาโดยทุจริตอย่างไร ไม่ใช่ บีบปากให้ถูกกล่าวหาพูด แล้วเอาไปใช้เป็นพยานหลักฐานหลัก ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายทั้ง กม.ระหว่างประเทศ และ กม. ไทยที่กล่าวไปแล้ว

เรื่องยึดทรัพย์นี้ มีอุทธาหรณ์ มาหลายครั้งหลายคราว ทำสำเร็จ ก็แต่ในยุคเผด็จการเท่านั้น แต่ภายหลังในยุคที่ประเทศไทย เริ่มยึดกฎหมายเป็นใหญ่ หรือ หลักนิติรัฐ แล้ว การยึดทรัพย์ คงประสบความสำเร็จได้ยาก ไม่ใช่เพราะ ระบบประชาธิปไตย หรือ กฎหมายเป็นอุปสรรค แต่เป็นเพราะ เป็นหลักการ ที่คำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ ความเท่าเทียมกัน ของคู่ความทั้งสองฝ่าย ตามระบบกล่าวหา ไม่ใช่รัฐจะทำอะไร ได้ตามอำเภอใจ

สภาพปัญหา ตอนนี้ คือ หลักกฎหมายไทย อยู่ในภาวะ ล้มเหลว อย่างสิ้นเชิง องค์กร แม้จะเคยได้รับการยอมรับนับถือ อย่างองค์กรศาล ก็ถูกกลืนด้วยกระแส ความเกลียดชังบุคคลหนึ่ง บุคคลใด เพียงคนเดียว ทำให้นักกฎหมายที่เป็นกลางส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่เป็นครูบาอาจารย์ ทางกฎหมาย ต้องถามตัวเองว่า จะเรียน จะสอนกฎหมาย กันอย่างไร ในอนาคต ในเมื่อหลักการ กลายเป็น หลักกู ไปแล้ว

ต่อคำถามที่ว่า ทำไม คตส. จึงทำ ... อันนี้ ต้องถาม คตส. ว่าทำไม ... มีมูลเหตุจูงใจอะไร หรือ เชื่อว่า ถ้ากำจัดทักษิณ หรือ ตัดท่อน้ำเลี้ยงทักษิณฯ (เงิน และทรัพย์สมบัติ) ได้ ตัวเอง จะรอดพ้น จากการถูกฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่งในอนาคต ไม่ทราบเหมือนกัน อีกสัก ๑๐ หรือ ๒๐ ปี คงมีการสารภาพบาปเกิดขึ้น ก็เป็นได้ ต้องรอดูกันต่อไป

ต่อคำถามที่ว่า ควรทำอย่างไร ... จะต้องคืนอำนาจให้ปวงชนโดยเร็ว ปัญหาทางการเมือง ก็ต้องแก้ด้วยกระบวนการทางการเมือง ความรับผิดชอบในการกระทำของฝ่ายบริหาร แน่นอนที่สุด มีความรับผิดชอบสองส่วน คือ ความรับผิดตามกฎหมาย และความรับผิดชอบทางการเมือง ดังนั้น จึงต้องดูว่า ต้นตอของปัญหา คือ อะไร ถ้ามันเกิดจากกระบวนการทางการเมือง แล้วใช้กระบวนการทางกฎหมายไปจัดการ ย่อมเกาไม่ถูกที่คัน ปัญหาย่อมไม่ได้รับการแก้ไข

ได้เขียนอธิบายไปแล้วว่า การจะยอมรับคำพิพากษา หรือ การตัดสินขององค์การผู้บังคับใช้กฎหมายหรือไม่ นั้น เป็นไปตามหลักการและผลการวิจัยของนักอาชญาวิทยาและนักกฎหมาย หลายท่านได้ทำการวิจัยไว้อย่างต่อเนื่อง

การยอมรับคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นเพราะ "ผลของคำพิพากษาที่น่าพึงพอใจ" แต่เป็นเพราะ กระบวนการที่ใช้ ในการพิจารณา และพิพากษา รวมถึง ความชอบธรรมขององค์กร ที่ใช้อำนาจและกระบวนการตัดสินที่กล่าวไปข้างต้น

เรา ๆ ท่าน ๆ จึงต้องถามตัวเองว่า องค์กรที่ตั้งโดยคณะขบถ ที่ใช้กระบอกปืนและรถถังเข้ามาแย่งอำนาจอธิปไตยจากปวงชน รวมถึงพวกเราด้วยนี้ ชอบด้วยกฎหมาย หรือ มีความชอบธรรมเพียงใด

เราจะคิดว่า มันเป็นเพียงวิธีการจับหนู เท่านั้น โดยไม่สนใจว่า จะชอบธรรมเพียงใด หรือไม่ หรือ ท่านลองคิดอีกนัยหนึ่งว่า ปัญหา หรือ วิธีการเลว ๆ พวกนี้ สักวันหนึ่ง มันจะส่งสะท้อน มาบังคับใช้ กับท่าน หรือ ญาติ ของท่าน ท่านจะยอมรับหรือไม่ .... เช่น การใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายกับท่าน ยึดใบปริญญา หรือ ใบประกอบวิชาชีพของท่าน ฯลฯ ไปกับกระทำที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายเกิดขึ้น ...

ทางที่ดีที่สุด คือ ยุบองค์กร ลูกกะโปกพวกนี้ให้สิ้น แล้วมีกระบวนการสรรหา Independent Agency เข้ามาทดแทนโดยกระบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการที่ชอบธรรมตามกฎหมายครับ





โดย: POL_US IP: 74.139.217.231 วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:1:01:26 น.  

 
ผมได้นำ บทความของ อ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติ มธ.ฯ เรื่อง "ความยอมรับของคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" มาให้อ่านด้วย (ซึ่งที่จริง อยู่ในคอมเม้นท์ เรื่องคำพิพากษาศาลเรื่อง อยู่แล้ว) ลองพิจารณาแล้วกันครับ




บทนำ


Lord Denning กล่าวว่า ‘คำพิพากษาของศาลเป็นของสาธารณะ’ ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้พิพากษาได้วินิจฉัยข้อพิพาทเสร็จเรียบร้อยแล้ว สาธารณชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ ผู้เขียนจึงขอใช้สิทธิวิจารณ์คำตัดสินคดียุบพรรคการเมืองด้วยประเด็นวิเคราะห์ แยกออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ

1. ประเด็นของตัวองค์กร

1.1 ความชอบธรรมขององค์กร

ตุลาการรัฐธรรมนูญนี้มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ในเมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรมแล้ว คำถามมีว่าทำไมตุลาการทั้ง 9 ท่านจึงไม่ยอมใช้มโนธรรมสำนึกส่วนตนหรือความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะไม่นั่งร่วมพิจารณาคดีนี้ ซึ่งทางเลือกนี้ก็เคยมีผู้พิพากษาต่างประเทศของหลายประเทศยอมลาออก เช่น ผู้พิพากษาของประเทศโรดีเซีย ปากีสถาน ฟิจิ (Resignation of Office) [1] โดยอาจอ้างเหตุผลได้หลายประการ เช่น

ประการที่หนึ่ง อาจอ้างหลักที่ว่า หากองค์กรใดก็ตามถูกยุบ องค์กรใหม่ที่ถูกตั้งแทนขึ้นมานั้นจะต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับองค์กรเดิมที่ถูกล้มล้างไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเขตอำนาจ อำนาจหน้าที่ ฯลฯ [2] หลักการนี้ได้รับการยืนยันจากศาลสูงของประเทศไซปรัส จะเห็นได้ว่า แม้ศาลของต่างประเทศก็รู้จักหลักข้อนี้ แต่ทำไมตุลาการรัฐธรรมนูญจึงไม่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณา

ประการที่สอง ตุลาการทั้ง 9 ท่านน่าจะรู้เท่าทันถึงความไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้นของ คปค. ที่ออกคำสั่งยุบศาลรัฐธรรมนูญ แต่คงไว้เฉพาะศาลยุติธรรมและศาลปกครอง คำถามมีว่าทำไมคณะรัฐประหารจึงยกเลิกเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญก็มีสถานะเป็น ‘องค์กรตุลาการ’ ทำในนามพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ดุจเดียวกับศาลยุติธรรมและศาลปกครอง อีกทั้งยังมีคำสั่งยุบเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญและกำหนดให้คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญโอนมาอยู่กับตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งหนึ่งในคดีที่สำคัญก็คือคดียุบพรรค คำถามมีว่า ทั้งๆ ที่คณะรัฐประหารมีอำนาจที่จะยุบพรรคได้อยู่แล้วทำไม่ทำ แต่กลับมายืมมือตุลาการเพื่อหลอกให้ประชาชนเห็นว่า คดียุบพรรคการเมืองได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมแล้ว เป็นการลดกระแสแรงต้านทานของประชาชน

อีกทั้งภายหลัง คปค.ยังได้ออกประกาศฉบับที่ 27 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้น บ่งบอกให้เห็นว่ามุ่งหมายจะใช้กับพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง อันแสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตแล้ว ตุลาการรัฐธรรมนูญ ควรถอนตัวหรือให้เหตุผลว่า ตนเองไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีนี้

ประการที่สาม ตุลาการอาจอ้างทฤษฎี ‘ปัญหาการเมือง’ (political question) แม้ว่าทฤษฎีนี้จะเป็นที่ยอมรับกันในระบบคอมอนลอว์ก็ตาม แต่ระบบกฎหมายไทยในปัจจุบันก็ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายอังกฤษเป็นจำนวนมาก ทฤษฎี ‘ปัญหาการเมือง’ หมายความว่า ตุลาการจะไม่วินิจฉัยคดีประเด็นปัญหาที่เป็นข้อพิพาททางการเมือง
การที่ตุลาการรัฐธรรมนูญยังคงนั่งพิจารณาคดีนี้ต่อไปเท่ากับยอมตนเป็น ‘เครื่องมือ’ ของคณะรัฐประหารแล้ว ซึ่งประเด็นเรื่องการแต่งตั้งตุลาการเฉพาะกิจนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติก็ได้แสดงข้อวิตกกังวลในเรื่องของที่มาของผู้พิพากษาของประเทศซีเรียแล้ว [3] ดังนั้น ในอนาคต ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้อาจถูกตั้งคำถามจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้

1.2 ความเคลือบแคลงต่อหลักความเป็นอิสระและความเป็นกลาง

แม้ตุลาการรัฐธรรมนูญจะออกมายืนยันถึงความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ความเป็นอิสระและความเป็นกลางนั้นมิได้มาจากคำพูดของตัวท่านเองอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาปัจจัยและสภาพแวดล้อมอื่นประกอบด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือที่มา ในเมื่อคณะรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้งตุลาการชุดนี้ ย่อมไม่พ้นข้อครหาไปได้ อีกทั้งก่อนวันตัดสินประธาน คมช. ได้เดินทางไปพบประธานศาลปกครองสูงสุดและรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่อาจห้ามให้ประชาชนตั้งแง่สงสัยถึงความเป็นอิสระได้

2. ประเด็นของกฎหมายที่ใช้ประกอบการตัดสิน
ในเมื่อผ่านประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) มาแล้ว ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ยังพอมีหนทางที่จะรักษาหลักนิติธรรมไว้ได้ โดยจะพิจารณาดังต่อไปนี้

2.1 หลักห้ามลงโทษย้อนหลังใช้กับโทษอาญาเท่านั้นใช่หรือไม่

หลักห้ามลงโทษทางอาญาย้อนหลังกับผู้กระทำความผิดนั้นเป็นหลักสากลที่นานาอารยประเทศรับรอง แต่หลักกฎหมายนี้ นักกฎหมายไทยส่วนใหญ่เข้าใจหรือตีความว่า ใช้เฉพาะกับโทษทางอาญา 5 สถานเท่านั้น คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน เท่านั้น แต่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มิใช่หนึ่งในโทษทางอาญา 5 สถานเพราะฉะนั้นจึงกระทำได้

แท้จริงแล้ว หลักนี้ใช้กับมาตรการที่มีลักษณะเป็นเชิงลงโทษอย่างร้ายแรงอีกด้วย (punitive measures) ศาล European Court of Human Rights ได้วินิจฉัยในคดี Case of Welch v. The United Kingdom 1995, Application no. 17440/90) ตัดสินเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1995 การตรากฎหมายให้มี ‘คำสั่งยึดทรัพย์’ (confiscation order) ย้อนหลังได้นั้น ถือว่ามีความร้ายแรงเท่ากับการลงโทษทางอาญาแล้ว ผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ขัดต่อหลักที่ว่า “โทษที่จะลงโทษผู้กระทำผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายในขณะที่ความผิดได้กระทำขึ้น” เหตุผลดังกล่าวก็ได้สอดคล้องจากผู้พิพากษาอังกฤษด้วย โดยเห็นว่า คำสั่งยึดทรัพย์นั้น มีผลร้ายเทียบเท่าหรือก่อให้เกิดโทษทางอาญาเหมือนกัน แม้แต่ผู้พิพากษาศาลอุธรณ์คือ เซอร์ Thomas Bingham ก็กล่าวว่า ‘คำสั่งยึดทรัพย์’ ถือว่าเป็นบทลงโทษทางอาญา (penal provision) ในความหมายอย่างกว้างแล้ว

ดังนั้น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้าข่ายเป็นมาตรการเชิงลงโทษอย่างร้ายแรงแล้ว หากตีความว่า ผู้มีอำนาจอาจตรากฎหมายย้อนหลังเป็นโทษอย่างไรก็ได้ ขอเพียงให้ไม่เข้าข่ายโทษอาญา 5 สถานเป็นอันใช้ได้ ก็เท่ากับอำนาจออกกฎหมายของคณะรัฐประหารไม่มีขีดจำกัด ซึ่งหมายความว่าต่อไปภายภาคหน้า รัฐบาลอาจออกกฎหมายย้อนหลังถอนสัญชาติไทยของ คมช. ทำให้ คมช.มีสถานะเป็น ‘คนต่างด้าว’ ยังผลให้สามารถต้องคำสั่ง ‘เนรเทศ’ ได้อีก ผลก็คือ คมช. ต้องออกจากประเทศไทยและไม่สามารถกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อีกเพราะขาดคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง คำถามมีว่า เราจะยอมรับกติกาที่ว่า รัฐสามารถตรากฎหมายย้อนหลังได้ตราบเท่าที่ไม่ใช่โทษทางอาญา ไม่ว่าโทษที่ได้รับนั้นจะรุนแรงหรือไม่เป็นธรรมต่อผู้ได้รับผลร้ายมากน้อยเพียงใดก็ตามใช่หรือไม่ ถ้าคำตอบว่าใช่ ก็เป็นเรื่องที่ คมช.และ คตส.ต้องเตรียมตัวให้ดี มิให้เกิด ‘ดาบนี้คืนสนอง’

นอกจากนี้แล้วรัฐธรรมนูญบางประเทศอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีข้อห้ามในการตรากฎหมายย้อนหลัง (ex post facto) ด้วย ก่อนจบประเด็นนี้ ผู้เขียนขอยกคำพูดของศาสตราจารย์ Lon Fuller ได้เขียนในตำรามีชื่อของท่านคือ ‘ศีลธรรมของกฎหมาย’ (the Morality of Law) ว่า “การตรากฎหมายย้อนหลัง (เป็นโทษ) เป็นความอัปลักษณ์อย่างแท้จริง” [4]

2.2 สถานะประกาศของ คปค. ฉบับที่ 27: การเพิกถอนสิทธิการเมืองย้อนหลัง 5 ปี

ตามหลักกฎหมายทั่วไปและกฎหมายสิทธิมนุษยชน คำว่า ‘กฎหมาย’ นั้น มิได้พิจารณาแต่เพียง ‘รูปแบบ’ ตามแบบพิธีเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาที่ ‘เนื้อหา’ ด้วย แม้แต่คณะกรรมาธิการนักนิติศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Commission of Jurists) ชี้ให้เห็นว่า คำว่า ‘the rule of law’ นั้นมิได้มีความหมายเพียงแค่ ‘ความชอบด้วยกฎหมาย’ (Legality) หรือ นักวิชาการบางท่านชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่าง ‘ปกครองด้วยกฎหมาย’ (ruled by law) กับ ‘ปกครองโดยหลักนิติธรรม’ (rule of law)

อย่างแรกหมายถึงเป็นการปกครองโดยกฎหมายโดยไม่สนใจว่า กฎหมายนั้นจะชอบธรรมหรือเป็นธรรมหรือไม่ ขอให้ออกโดยผู้มีอำนาจเป็นอันใช้ได้ ขณะที่อย่างหลัง ให้ความสำคัญกับ ‘ที่มา’ และ ‘เนื้อหาสาระ’ ของกฎหมายด้วย คำถามมีอยู่ว่า สังคมไทยพอใจและพร้อมที่จะยอมรับกติกาแบบแรกใช่หรือไม่

หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ใช้พิจารณาว่า กฎหมายนั้นสอดคล้องกับหลักนิติธรรม (the rule of law) หรือหลักนิติรัฐ (Rechtstaat) หรือไม่ ให้พิจารณาอย่างน้อยสามหลักเกณฑ์ดังนี้

1) หลักความได้สัดส่วน (Proportionality)
2) ความแน่นอนของกฎหมาย (Legal certainty)
3) ความสามารถในการเข้าถึงหรือการรับรู้ของกฎหมาย (Accessibility) หรือความคาดหมายได้ (foresee ability)

จะเห็นได้ว่า คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้น ขัดต่อหลักเกณฑ์ข้างต้น ดังต่อไปนี้

ประการแรก คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นขัดต่อหลักความได้สัดส่วนหรือไม่กับข้อหาที่หลีกเลี่ยงกฎร้อยละยี่สิบ คำวินิจฉัยในหน้า 99 ตุลาการรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า “..พรรคการเมืองอันเป็นสถาบันหลักของการปกครองในระบอประชาธิปไตย ย่อมต้องมีภาระหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งหลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่แสดงออกในการเลือกตั้ง….การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปนั้น เป็นช่วงจังหวะเวลาและเป็นกระบวนการทางการเมืองที่มีความสำคัญยิ่งในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสอย่างกว้างขวางที่สุดแก่ประชาชนที่จะได้ร่วมกันใช้สิทธิแสดงเจตจำนงและตกลงใจที่จะกำหนดทิศทางการเมืองและคัดสรรผู้แทนเข้ามาทำหน้าที่ทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร แสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (พรรคไทยรักไทย) มิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน”

คำถามมีว่า แล้วที่พรรคการเมืองปฏิเสธที่จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแสดงว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ทำหน้าที่ผดุงหลักการสำคัญของประชาธิปไตยและไม่เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของสิทธิเลือกตั้งของประชาชนใช่หรือไม่ ถ้าใช่ การที่พรรคการเมืองไม่ยอมส่ง ส.ส.ลงเลือกตั้งนั้น ไม่มีความผิดเลย หรือผิดน้อยกว่า หรือมากกว่าพรรคการเมืองที่ทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง คำถามนี้คงเป็นคำถามคาใจประชาชนไปอีกนาน

ประการที่สอง คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นขัดต่อหลักความชัดเจนแน่นอนของกฎหมาย (Legal certainty) เนื่องจากประกาศดังกล่าวมิได้มีการกำหนดว่า ให้ลงโทษกรรมการบริหารพรรคเฉพาะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด คำประกาศนี้จึงขาดความชัดเจนแน่นอนทางกฎหมาย

ประการที่สาม คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นขัดต่อหลักความสามารถในการเข้าถึงหรือความคาดหมายได้ของเนื้อหาสาระของกฎหมาย โดยปกติแล้ว กฎหมาย หรือแม้กระทั่งระเบียบ ข้อบังคับ ก็จะต้องมีการประกาศใช้ล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนหรือบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพได้รับทราบถึงสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น ในสังคมประชาธิปไตย การประกาศใช้กฎหมาย (หรือบางประเทศอาจรวมถึงสนธิสัญญาด้วย) จะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เงื่อนไขข้อนี้ได้รับการยืนยันจากศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปในคดี Sunday Times v. United Kingdom ว่า แบบแผนหรือกฎเกณฑ์จะเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อประชาชนสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าถึงเนื้อหาของกฎเกณฑ์นั้นได้ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถควบคุมการกระทำของตนเองให้สอดคล้องกับแบบแผนหรือกฎเกณฑ์เช่นว่านั้น

แต่ประกาศนี้ได้ประกาศใช้ ภายหลัง จากการกระทำที่ได้มีการจ้างวานพรรคเล็กเพื่อหาผู้สมัครลงรับสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่ง ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ว่า การกระทำของตนนั้น หากถูกศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นวินิจฉัยแล้ว ตนจะต้องสูญเสียสิทธิทางการเมืองถึง 5 ปีตามไปด้วย

ตุลาการรัฐธรรมนูญควรจะนำเหตุผลข้างต้นสองสามประการข้างต้นมาวิเคราะห์ว่าคำประกาศเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย (invalid) ดุจเดียวกับที่ผู้พิพากษาในคดี Case of Welch v. The United kingdom ที่พิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ประกอบกัน เช่น ลักษณะ วัตถุประสงค์ และระดับของความรุนแรง (severity) ของมาตรการในเชิงลงโทษเพื่อประเมินว่า มาตรการนั้นเป็นมาตรการเชิงลงโทษ (punitive measure) หรือไม่ แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญ (หกท่าน) กลับใช้ประกาศของคณะรัฐประหารไปอย่างเซื่องๆ โดยมิได้มีการวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลหรือใช้นิติวิธี (Juristic method) ตีความอย่างแคบ เนื่องจากคำประกาศดังกล่าวให้ผลร้ายแรงกระทบสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญกลับตีความตามตัวอักษร (literal interpretation) เลย ตุลาการรัฐธรรมนูญแทบจะไม่ใช้ความรู้ทางนิติศาสตร์ ทฤษฎีทางกฎหมาย หรือการค้นคว้ากฎหมายและคำพิพากษาของศาลต่างประเทศว่า เวลาที่ตุลาการเผชิญกับคำสั่งหรือประกาศที่อยุติธรรมซึ่งออกโดยคณะเผด็จการนั้น ตุลาการต่างประเทศเขาหาทางออกกันอย่างไร ซึ่งจากการค้นคว้าแล้ว พบว่า ปัจจุบัน เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองและหลักนิติธรรมนั้นกลายเป็นอุดมการณ์หลักของกระแสโลกในเวลานี้ ตุลาการจึงต้องดำรงตนเป็นผู้พิทักษ์หลักนิติธรรมโดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการแต่งตั้งของผู้ยึดอำนาจ

2.3 ประกาศของคปค. ฉบับที่ 27 มีผลเป็นการเพิกถอนสิทธิการเมืองย้อนหลัง 5 ปี ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มาตรา 25 ในธรรมนูญการปกครองชั่วคราว 2549 มาตรา 3 ซึ่งคณะรัฐประหารเป็นผู้ร่างขึ้นนั้นได้รับรองว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนย่อมได้รับความคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ ประเทศไทยเป็นสมาชิกกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มาตรา 25 ได้รับรองสิทธิทางการเมือง (Electoral rights) ซึ่งรวมถึงสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (right to vote) และสิทธิที่จะได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง (right to be elected หรือ right to stand in elections) สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิที่มีความสำคัญประกอบขึ้นเป็นสาระสำคัญของความเป็นพลเมือง แต่คำประกาศที่ 27 มีผลเท่ากับเป็นการพรากความเป็นพลเมืองของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าว อันเป็นการละเมิดมาตราที่ 25 แล้ว
ความอ่อนในการให้เห็นผลทางกฎหมาย

ตุลาการรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า การหลีกเลี่ยงกฎร้อยละยี่สิบเป็นการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นว่า “การกระทำดังกล่าวส่งผลให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยสั่นคลอนไม่มั่นคง” คำถามมีว่า แล้วการล้มล้างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 19 กันยายนปีที่แล้ว เป็นการการทำที่ส่งเสริมประชาธิปไตยใช่หรือไม่ การยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐใช่หรือไม่ การลิดรอนสิทธิเสรีภาพอันเป็นผลพวงมาจากการทำรัฐประหารไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนใช่หรือไม่


บทสรุป รัฐประหาร : ปฐมบทของความผิดพลาด


ประวัติศาสตร์ของการยึดอำนาจหลายครั้งที่ผ่านมาเป็นหลักฐานอย่างดีที่ชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาของประเทศด้วยการทำรัฐประหารนั้นทำลายหลักนิติรัฐ ระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ระบบกฎหมายและระบบศาลตลอดจนวัฒนธรรมเคารพกฎหมายอย่างสิ้นเชิง มิพักต้องกล่าวถึงว่ารัฐประหารได้สร้างปัญหาทางกฎหมายต่างๆ ตามมามากเพียงไร รัฐประหารนั้นเปรียบเสมือน ‘เชื้อโรคร้าย’ ของระบบกฎหมายปกติ เมื่อเข้ามาแล้วก็บั่นทอน ‘หลักกฎหมาย’ และ ‘ระบบศาล’ ดั่งที่เห็นกันอยู่ในเวลานี้ กฎหมายแทนที่จะเป็นเรื่องของ ‘เหตุผล’ กับกลายเป็นเรื่องของ ‘อำนาจดิบ’ หรือ ‘ความประสงค์ของผู้มีอำนาจ’ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าเนื้อหาสาระของกฎหมายนั้นมี ‘เหตุผล’ หรือ ‘ความชอบธรรม’ รองรับหรือไม่อีกต่อไป
บทส่งท้าย

เกือบสองปีที่ผ่านมา สังคมไทยกล่าวถึง ‘ตุลาการภิวัตน์’ มาก โดยประชาชนอยากเห็นตุลาการเป็นองค์กรที่ปราศจากการเมืองแทรกแซง ทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมอย่างตรงไปตรงมา พิทักษ์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสง่างาม แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญกลับทิ้งโอกาสนี้อย่างน่าเสียดาย นี่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะแสดงให้เห็นว่า ‘ตุลาการภิวัตน์’ ที่แท้จริงคืออะไร ประเด็นที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ว่า ยุบพรรคการเมืองหรือไม่ แต่อยู่ที่การใช้โอกาสนี้เป็นการฟื้นฟู ‘หลักนิติรัฐ’ ‘สิทธิมนุษยชน’ ‘ความยุติธรรม’ และ ‘ระบอบประชาธิปไตย’ ที่กำลังเลือนหายไปจากสังคมไทยในเวลานี้

สัญลักษณ์ของความยุติธรรมนั้นเป็นเทพีผู้หญิงผูกผ้าปิดตา (เพื่อป้องกันมิให้เกิดอคติเวลาตัดสินคดีว่ากำลังตัดสินใคร) มือซ้ายถือ ‘ตราชั่ง’ (สัญลักษณ์ของความยุติธรรม) มือขวาถือ ‘ดาบ’ (สัญลักษณ์ของความกล้าหาญ) มาบัดนี้ เธอได้เลิกผ้าปิดตาขึ้นแล้ว มือขวาที่เคยถือดาบ เธอหันมาถือ ‘พัด’ แทน และตราชั่งนั้นได้เอียงไปข้างหนึ่งแล้ว…..


โดย: POL_US วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:1:05:07 น.  

 
ก่อนที่เราจะำได้เห็นกฏหมายให้ "คนใช้หัว เดินแทนตีน" ในอีกไม่ช้า
ตอนนี้ก็ดูพวกที่เป็น "คนใช้ตีนคิดแทนหัว" ไปพลางๆนะครับ


ิblog นี้เขียนได้เยี่ยม ถูกใจอีกแล้วครับ

คมช. ออกไป!!!


โดย: กะได วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:8:10:54 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำตอบคับพี
สรุปก็คือ คำถามที่ผมถามไป
ก็คงจะไม่มีใครรู้เหตุหลที่แท้จริง
ยกเว้น คตส. ช่ายมะคับ หุหุ

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น
ตามประสาเด็กน้อยด้อยประสบการณ์อีกหน่อยคับ
เห็นที่พี่ว่าไม่ควรนำกระบวนการทางกฎหมาย
มาแก้ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการทางการเมือง
ผมก็เห็นด้วยนะคับ

แต่..ปัญหามันอยู่ที่ว่า ระบบการเมืองไทย
มันจะแก้ปัญหาตัวมันเองได้หรอคับ?
อย่างที่รู้กันอยู่ว่าระบบการเมืองไทยมัน
"หต." และ "บซ." แค่ไหน
(ขออนุญาตละไว้ในฐานที่เข้าใจนะคับ)

อย่างเช่นที่ผ่านมา
วันดีคืนดีผู้นำรัฐบาลเสียงข้างมากแต่เพียงพรรคเดียว
ซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่เสถียรภาพสูงมากๆๆ
ก็ออกมาประกาศลาออก ถัดมาก็ยุบสภา(ซะงั้น)
ซึ่งถ้าความคิดของเด็กน้อยอย่างผม
ในระบอบประชาธิปไตยมันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้

สรุปก็คือ คิดแบบไม่ซับซ้อนตามประสาผม
ต่อให้เกาถูกที่คัน มันก็ไม่หายคันน่ะคับ
เพราะมือที่เอามาเกา..ก็คันเหมือนกันคับ


โดย: เก่งกว่าผมตายไปหมดแล้ว วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:18:27:56 น.  

 
ความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน แต่ก็เป็นเพื่อนกันได้ครับ 555

ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดนะครับ


โดย: StrayBird วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:22:16:17 น.  

 
สภาพกฎหมายไทยตอนนี้เหลืออยู่หลักเดียวครับ
"กฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัต"ิ
หลักคุ้มครองอื่นๆช่างหัวมัน


โดย: Lowfailer IP: 58.8.90.182 วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:23:14:52 น.  

 
อันนี้ ไม่ใช่ความเห็นทางการเมืองโดยตรงนะครับ เป็นความเห็นทางกฎหมาย และเป็นห่วงหลักกฎหมาย ที่มันถูกย่ำยี จนไม่เหลืออะไรแล้ว

เรา ๆ ท่าน ๆ ต้องไม่หลงระเริงว่า กฎหมายที่มันบัดซบ นี้ ไม่ได้ใช้กับตัว หรือ ไม่ได้กระทบกับตัวเรา แค่นั้น แต่มันหมายถึง หลักการ ที่บ้านเมืองต้องเคารพ เพราะถ้าไม่มี ขื่อ ไม่มีแปร วันดี คืนดี พวกทีมีอำนาจในมือ เกิดอยากจะมายึดลูกเมียของท่าน ยึดทรัพย์ของท่าน ออกกฎหมาย บ้าบอ มาทำอะไรกับท่าน อย่างนี้ ท่านจะโวยไม่ได้ว่ามันไม่ยุติธรรม เพราะท่านพอใจแล้ว กับหลักการที่เกิดขึ้นในวันนี้

ที่จริง ก่อนจะมีการยึดอำนาจนี้ บ้านเมืองกำลังอยู่ในช่วงจุดเปลี่ยนและกำลังพัฒนา เชื่อว่า ถ้าได้ให้เวลากับการพัฒนาในแนวคิดประชาธิปไตย และ ระบบพรรคการเมือง ทึ่เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการประชาธิปไตย และแนวคิดของปวงชน อีกสัก ๑๐ ปีข้างหน้า ประชาธิปไตยของไทย จะมั่นคงเป็นแน่

แต่ความหวังไม่เคยได้เกิดขึ้น เพราะมีทหารและผู้อยู่เบื้องหลังในการใช้กระบอกปืนยึดอำนาจ แล้วคว่ำกระดานใหม่ มันเรื่อยไป ... อย่างนี้ โอกาสที่ระบบการเมือง และแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย มันจะเบ่งบานในเมืองไทย มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ทุกอย่างต้องใช้เวลา โดยเฉพาะ ระบบประชาธิปไตย ที่แม้กระทั่งประเทศที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ อย่างอเมริกา ก็ประสบปัญหามาตลอด

ตัวอย่างที่ชัดเจนมาก คือ พรรคดีโมแครต ต้องใช้เวลาถึง ๑๒ ปี จึงได้เสียงข้างมาก ในสภาคองเกรส ในปีที่ผ่านมานี้เอง ประชาธิปไตย คือ ความอดทน และ ความพยายามของเสียงข้างน้อย ให้เป็นเสียงข้างมาก และ ฝ่ายเสียงข้างมาก ต้องเคารพ สิทธิ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของเสียงข้างน้อย เพื่อผลักดันนโยบายของตน อันจะนำไปสู่การได้เสียงข้างมากในที่สุด

หากใช้กระบอกปืน คว่ำมันเรื่อยไป มันจะไม่มีโอกาสได้พัฒนาตัวของมันเอง


โดย: POL_US IP: 74.139.218.198 วันที่: 14 มิถุนายน 2550 เวลา:1:50:05 น.  

 
อ่านทุกคำ สะดุดอย่างเดียวว่า....
เง้ย...เด็ก ทภ เหมือนกันเหรอ....รุ่นไหนค้าบ....บ


โดย: **อัศวินหมีโหด** (heartkub ) วันที่: 14 มิถุนายน 2550 เวลา:5:27:50 น.  

 
ผมว่าเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเลยดีมั้ยครับ
ผมขี้เกียจไปเลือกตั้งครับ


โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 14 มิถุนายน 2550 เวลา:16:14:21 น.  

 
Welcome to England ค้าบบบบ
เดินทางเป็นไงบ้างคับ


โดย: Kurt Narris วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:6:16:05 น.  

 
พอดีผ่านมาเห็นครับ คุณPOL-US กล่าวถึงการอดทนรอของพรรคเดโมแครต ถ้าจะเอาไปเปรียบกับสภาพสังคมแบบไทยเด๊ะ ๆ มันก็ไม่น่าจถูก เพราะประชาชน องค์กรธุรกิจ ที่สนับสนุนพรรคเดโมแครต เขาบริจาคเงินให้พรรคการเมือง

ส่วนที่บ้านเราประชาชนรับเงินค่าจ้างลงคะแนนเสียงจากนักการเมือง

ในบางเรื่องการจะนำการนำแบบอย่างใดแบบอย่างหนึ่งไปเป็นตัวอธิบายอีกเรื่อง โดยไม่คำนึงถึงบริบททางสังคมที่แตกต่างกัน มันไม่มีทางจะให้ผลลัพท์ออกมาแบบเดียวกันกระมังครับ


โดย: 8o9klyho IP: 72.83.215.168 วันที่: 19 มิถุนายน 2550 เวลา:11:54:19 น.  

 
ผมว่า เราคิดกันอย่างนี้ เลยไม่ยอมให้มันพัฒนาตัวของมันเอง แล้วก็คว่ำด้วยกระบอกปืน กับรถถังเรื่อยไป แล้ววันไหน มันจึงจะมีโอกาส เป็นอย่างที่ควรจะเป็น ...



โดย: POL @ UK IP: 87.74.11.109 วันที่: 21 มิถุนายน 2550 เวลา:2:09:44 น.  

 
ผมว่า เราคิดกันอย่างนี้กระมัง เราถึงปรับกระบวนการประชาธิปไตยให้สอดคล้องกับบริบท หรือสภาวะแวดล้อม และความเป็นไปในสังคมไทยไม่ได้

คนอเมริกัน ใช้มือกิน KFC แต่ที่เมืองไทยเราใช้ซ่อมกับมีดครับ


โดย: 8o9klyho IP: 72.83.215.168 วันที่: 21 มิถุนายน 2550 เวลา:10:44:05 น.  

 

แถลงการณ์เรื่องการปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ

เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... จึงมีผลให้ต้องดำเนินการต่อไปตามความในมาตรา ๒๙ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าประชาชนจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวทั้งฉบับหรือไม่ และบัดนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดให้ประชาชนออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามตอนท้าย ได้ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติโดยละเอียดแล้ว เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความไม่เหมาะสมยิ่งต่อการจะนำไปบังคับใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงขอประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติดังกล่าว ด้วยเหตุผล ดังนี้

๑ . ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเพราะที่มาของร่างรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง

๑. ๑ การจัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่หรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต้องมีพื้นฐานที่มาโดยอาศัยอำนาจจากรัฐธรรมนูญเดิม หรือจากประชาชน และผู้มีอำนาจชั้นสุดท้ายในการให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาชนหรือองค์กรสถาปนารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบของปวงชน คุณลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้รัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยในอันที่จะนำไปบังคับใช้กับองค์กรทั้งหลายของรัฐและประชาชน

๑. ๒ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มิได้ถูกยกร่างขึ้นในสถานการณ์ปกติของประเทศ แต่เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกจัดให้มีขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช ๒๕๔๙ อันเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นโดยอำนาจของคณะรัฐประหาร ภายหลังจากที่คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศและกระทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือเป็นผลผลิตอันสืบเนื่องโดยตรงมาจากการรัฐประหารในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นั่นเอง

๑. ๓ การใช้กำลังอาวุธของคณะรัฐประหารในการเข้ายึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนนั้น มิเพียงแต่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ในทางกฎหมายอาญาอันมีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต หากทว่าในทางการเมือง ยังเป็นวิธีการอันมิชอบในการลบล้างอำนาจการตัดสินใจของประชาชนฝ่ายข้างมากในการกำหนดผู้ทำหน้าที่บริหารประเทศโดยผ่านระบบการเลือกตั้ง การลบล้างอำนาจการตัดสินใจของประชาชนโดยคณะรัฐประหารในกรณีนี้ มิอาจมองเป็นอื่นได้นอกเสียจากว่าอำนาจการตัดสินใจในการกำหนดวิถีชีวิตของตนด้วยตนเองโดยอาศัยกระบวนการเลือกตั้งของประชาชนนั้น มิได้มีความหมายและคุณค่าในสายตาของคณะรัฐประหาร และเท่ากับคณะรัฐประหารไม่ยอมรับการจัดให้มีรัฐธรรมนูญใหม่โดยสันติวิธี

๑. ๔ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญนี้มีที่มาอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับรัฐประหาร แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะถูกทำให้ชอบด้วยกฎหมายโดยวิธีการทางเทคนิคก็ตาม ความชอบด้วยกฎหมายจากวิธีการดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการรับรองให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความชอบธรรมตามความเป็นจริงในสายตาของผู้ยึดถือวิธีการแก้ไขปัญหาของสังคมโดยการใช้เหตุผลไม่

๑. ๕ อนึ่ง การที่คณะรัฐประหารและพวกจำต้องกำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แท้จริงก็เพื่อเป็นข้ออ้างหนึ่งสำหรับใช้อธิบายเหตุผลและความจำเป็นของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เท่านั้น โดยหาได้มีความประสงค์โดยสุจริตแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อปฏิรูปการเมือง ย่อมสามารถกระทำได้โดยอาศัยกระบวนการปกติที่มิจำเป็นต้องใช้อำนาจผ่านการใช้กำลังอาวุธ

๒. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเพราะ ความไม่มีเหตุผลของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ

๒. ๑ นอกจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นผลผลิตต่อเนื่องมาจากรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ อันแสดงให้เห็นถึงการขาดความชอบธรรมตั้งแต่แรกแล้ว กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังไม่สะท้อนถึงความเป็นประชาธิปไตยและความหลากหลายของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ จริงอยู่แม้จะมีกระบวนการคัดเลือกผ่านกลไกที่เรียกว่า “สมัชชาแห่งชาติ” แต่ผลที่ได้ก็คือ บุคคลที่เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญยังผูกขาดเฉพาะกับบุคคลจากวงการศาลและนักวิชาการมหาวิทยาลัยเท่านั้น มิพักต้องกล่าวถึงข้อกล่าวหาที่ว่าคณะรัฐประหารต่างส่ง “ ตัวแทน ” ของตนเข้าไปอีก ดังจะเห็นได้จากกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

๒. ๒ กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เกิดขึ้นในสภาวะที่ไม่ปกติหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ภายใต้บรรยากาศที่หาความเป็นประชาธิปไตยมิได้ ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกเถียงหรือต่อรองในประเด็นต่างๆระหว่างกลุ่มการเมือง กลุ่มข้าราชการประจำ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ตรงกันข้าม กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กลับตกอยู่ภายใต้การชี้นำของคณะรัฐประหารและกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คน โดยมีความมุ่งหมายเพียงเพื่อการทำลายล้างทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม และกีดกันมิให้ฝ่ายตรงข้ามกลับมามีอำนาจได้อีก

๒. ๓ ในชั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ปรากฏว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่จะขจัดส่วนได้เสียของบุคคลที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ จึงปรากฏให้เห็นว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งอยู่ในองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่จะได้รับผลกระทบจากการจัดทำรัฐธรรมนูญด้วย ยิ่งไปกว่านั้น บุคคลบางคนในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระบางองค์กรยังกลับมาเป็นผู้ดำเนินการจัดการออกเสียงประชามติอีกด้วย ทั้งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติก็ยังมิห้ามบุคคลที่ยกร่างรัฐธรรมนูญมิให้ดำรงตำแหน่งในองค์อิสระต่างๆ การณ์จึงเป็นไปได้ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านั้นในภายหลังซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้การตัดสินใจยกร่างรัฐธรรมนูญมิได้อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง


๓. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย

๓. ๑ สภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นว่าจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ การรับรองสิทธิและเสรีภาพที่ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อน อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพจะมีผลได้จริงย่อมขึ้นอยู่กับกลไกการบังคับใช้มากกว่าลายลักษณ์อักษร กรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติสิทธิและเสรีภาพไว้ในหลายมาตรา ก็มิได้หมายความเสมอไปว่าในที่สุดแล้ว สิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้บังคับให้เห็นผล และแม้อาจเห็นกันว่าร่างรัฐธรรมนูญจะรับรองสิทธิและเสรีภาพไว้ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนอยู่บ้าง แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติในส่วนอื่นๆแล้ว เห็นว่า เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ( เช่น ลดจำนวนการใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ) หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งบทบัญญัติในหมวดจริยธรรมของนักการเมืองซึ่งไม่แน่ว่าจะใช้บังคับได้จริง หากประชาชนจะต้องยอมสูญเสียสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งกว่าไป กล่าวคือ อำนาจของประชาชนซึ่งแสดงออกผ่านผู้แทนของตนต้องถูกลดทอนลง หรือต้องลดความมีเสถียรภาพของฝ่ายบริหาร หรือต้องยอมให้ข้าราชการระดับสูงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทหรืออำนาจทางการเมืองและกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองโดยมิสอดคล้องกับระบบแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ ทั้งจะต้องยอมรับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำของคณะรัฐประหารและพวกด้วย การสูญเสียคุณค่าดังกล่าวนี้ พิจารณาในเชิงเปรียบเทียบกับสิทธิเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น ก็มีมากเกินกว่าที่จะยอมรับได้

๓. ๒ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติกำหนดให้มี ส.ส. ๔๘๐ คน เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต ๔๐๐ คน และ ส.ส.ระบบสัดส่วน ๘๐ คน ในส่วนของ ส.ส.ระบบแบบแบ่งเขต ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ตามจำนวนส.ส.ที่พึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น นั่นย่อมหมายความว่าผู้มีสิทธิแต่ละคนมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน บางเขตเลือกตั้งอาจเลือกได้ ๑ คนหรือ ๒ คนหรือ ๓ คนแล้วแต่กรณี ซึ่งสร้างความไม่เท่าเทียมกันในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขต และอาจจะส่งผลกระทบต่อไปถึงความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาที่ระบบการเมืองไทยประสบมายาวนานและพยายามหลีกเลี่ยง แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญกลับร่างรัฐธรรมนูญโดยวางกลไกระบบเลือกตั้งเพื่อย้อนกลับไปสู่ปัญหาที่พยายามหลีกเลี่ยงมาแต่เดิมอีก

๓. ๓ สำหรับ ส.ส.ระบบสัดส่วนจำนวน ๘๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกบัญชีรายชื่อโดยแบ่งเป็น ๘ กลุ่มจังหวัด กลุ่มละ ๑๐ คนนั้น ก็มิสามารถอธิบายฐานคิดในการกำหนดกลุ่มจังหวัดได้ว่าต้องการให้ผู้แทนตามบัญชีรายชื่อของแต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นผู้แทนของกลุ่มประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ใด และจะใช้หลักเกณฑ์ใดในการแบ่งกลุ่มจังหวัด การจัดแบ่งบัญชีรายชื่อเป็น ๘ บัญชีและลดจำนวน ส.ส.ระบบสัดส่วนให้เหลือเพียง ๘๐ คน ได้ทำลายข้อดีของระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ลงโดยไม่มีเหตุผลใดในทางวิชาการรองรับ นอกจากเหตุผลที่ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญหวาดกลัวพรรคการเมืองใหญ่ในอดีตที่เคยเข้ายึดครองที่นั่งของ ส.ส.ระบบสัดส่วนเป็นจำนวนมาก และมีการอ้างตัวเลขคะแนนเสียงที่ประชาชนสนับสนุน เท่านั้น

๓. ๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา พบว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้อำนาจแก่วุฒิสภามาก ทั้งการกลั่นกรองร่างกฎหมาย การให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง แต่กลับกำหนดให้ ส.ว. มีจำนวน ๑๕๐ คนมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ ๑ คนและจำนวนที่เหลือให้มาจากการสรรหา การผสมสัดส่วนของส.ว.ที่มาจากการสรรหา ไม่อาจตอบปัญหาความเป็นตัวแทนของประชาชนได้ตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากอำนาจอันมีอยู่มากของวุฒิสภา ยิ่งกว่านั้น การกำหนดให้จังหวัดแต่ละจังหวัดไม่ว่าจะมีจำนวนประชากรเท่าใดมี ส.ว.ได้จังหวัดละ ๑ คน ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ในทางวิชาการ สำหรับ ส.ว.ซึ่งมีที่มาจากการสรรหานั้น ก็ปรากฏว่าคณะกรรมการสรรหาล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลซึ่งมาจากฝ่ายตุลาการและข้าราชการระดับสูงซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าองค์กรอิสระต่างๆ โดยหาความเชื่อมโยงกับประชาชนมิได้ อันสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นให้คุณค่าแก่บรรดาอภิชนมากกว่าการยอมรับนับถืออำนาจการตัดสินใจของประชาชน

๓. ๕ เป็นที่ชัดเจนว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญและเพิ่มบทบาทแก่องค์กรตุลาการมากเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากกระบวนการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานศาลฎีกาและบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก เข้าไปเป็นกรรมการสรรหา ในส่วนของศาลยุติธรรม นอกจากศาลยุติธรรมจะเข้าไปมีบทบาททางการเมืองผ่านทางการสรรหาบุคคลไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและวุฒิสภาแล้ว ศาลยุติธรรมยังมีบทบาทในการพิจารณาคดีทางการเมืองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือคดีเลือกตั้งภายหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ความข้อนี้ แสดงให้เห็นว่าคดีที่เกี่ยวพันกับนักการเมืองต่างตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลยุติธรรม โดยที่ไม่มีการสร้างระบบถ่วงดุลที่เหมาะสมให้ศาลยุติธรรมต้องตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบขององค์กรอื่น

๓. ๖ สมควรกล่าวด้วยว่า เป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่ร่างรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาเกษียณอายุของผู้พิพากษาโดยกำหนดให้ตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมดำรงตำแหน่งได้ถึงอายุครบ ๗๐ ปี ความสำคัญของกรณีดังกล่าว มิได้อยู่ที่ว่าการขยายระยะเวลาเกษียณอายุของผู้พิพากษาจะเหมาะสมหรือไม่ หากอยู่ที่ว่ามีความจำเป็นเพียงใดที่ต้องกำหนดกรณีดังนี้ไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์กรทั้งหลายของรัฐ ควรมอบหมายให้เป็นการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติตามแต่นิตินโยบาย อนึ่ง จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตให้เห็นว่าไม่ปรากฏบทบัญญัติการขยายเวลาเกษียณอายุของผู้พิพากษาดังกล่าวนี้ในร่างรัฐธรรมนูญชั้นรับฟังความคิดเห็น

๓. ๗ ในส่วนของคดีเลือกตั้ง ร่ างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๙ กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนมีการประกาศผลการเลือกตั้ง และคำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด หากมีการประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ก็ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ความข้อนี้ แสดงให้เห็นว่าก่อนมีการประกาศผลการเลือกตั้ง คณะกรรมการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตั้งแต่การจัดการเลือกตั้ง การสืบสวนสอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างชัดแจ้ง

๓. ๘ ในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหลายมาตรากำหนดการสืบทอดการดำเนินการขององค์กรที่คณะรัฐประหารรับรองไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของบุคคลในองค์กรอิสระที่ให้ดำรงตำแหน่งไปจนครบวาระ ทั้งๆที่เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ความชอบธรรมของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรดังกล่าวน่าจะหมดสิ้นไป และควรจะกำหนดให้บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งต่อไปได้อีกระยะหนึ่งเท่านั้น เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสรรหาใหม่โดยให้มีที่มาซึ่งยึดโยงกับอำนาจโดยอ้อมของประชาชนผ่านทางรัฐสภา นอกจากนี้ ไม่มีการกำหนดห้ามสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมิได้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้ารับการสรรหาเพื่อเป็นสมาชิกวุฒิสภา อีกทั้ง มาตรา ๓๐๘ ของร่างรัฐธรรมนูญยังได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยไม่มีการอธิบายใดๆจากผู้ร่างรัฐธรรมนูญว่า เหตุใดต้องเป็นคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันที่มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กรณีดังนี้ จึงมิอาจมองให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากว่าบทบัญญัติในมาตรา ๓๐๘ คือช่องทางแห่งการสืบทอดอำนาจในอีกลักษณะหนึ่งของรัฐบาลของคณะรัฐประหาร เท่านั้น

๓. ๙ จากการพิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญโดยภาพรวม เห็นได้ว่าบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมให้บรรดาข้าราชการระดับสูงมีบทบาทและอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังลดทอนอำนาจการตัดสินใจของประชาชนในสาระสำคัญอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังทำลายความสำคัญของพรรคการเมือง กีดกันโอกาสในการเข้าไปดำเนินนโยบายของพรรคการเมือง ไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ตลอดจนมุ่งหมายให้การกำหนดทิศทางประเทศขึ้นอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้ ยังมิพักต้องพิจารณาถึงข้อบกพร่องในทางเทคนิคที่ปรากฏอยู่อีกในบทบัญญัติหลายมาตรา อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งผู้ร่างรัฐธรรมนูญแยกออกเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

๔. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการนิรโทษกรรมทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

๔. ๑ การรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คำสั่ง และการปฏิบัติของบุคคลตามประกาศหรือคำสั่งของคณะหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๙ อันมีเนื้อความให้บรรดาการใดๆที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

๔. ๒ ผลพวงของบทบัญญัติดังกล่าวก็คือ ประกาศ คปค. คำสั่งของหัวหน้า คปค. และการปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว ต่างก็ได้รับการรับรองว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้ว่าการปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังรับรองให้การปฏิบัติตามประกาศ คปค. หรือคำสั่งของหัวหน้า คปค. เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้จะได้มีการกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติมีผลใช้บังคับด้วย ซึ่งหมายความว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำต่างๆในอนาคตไว้ล่วงหน้า โดยไม่สนใจไยดีถึงเนื้อหาของการกระทำนั้นๆ ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

๔ . ๓ เมื่อมีการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. คำสั่งหัวหน้า คปค. และการปฏิบัติของบุคคลตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว ไม่ว่าประกาศคำสั่งหรือการปฏิบัติเช่นว่านั้นจะมีรูปแบบและหรือเนื้อหาที่มิชอบหรือขัดแย้งกับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ภายในรัฐอย่างไรให้ชอบด้วยกฎหมายเสียแล้ว ผู้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของการกระทำต่างๆ ตามประกาศและคำสั่งข้างต้นจึงย่อมมิอาจขอรับความเป็นธรรมในทางกฎหมายได้ อีกทั้งประกาศ คำสั่งและการปฏิบัติต่างๆ ก็ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบไม่ว่าในทางใดอีก ผลที่ตามมาก็คือ ผู้กระทำการอันมิชอบต่างก็หลุดพ้นจากความรับผิดในทางต่างๆโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมิเกินเลยหากจะกล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดและหลักความเสมอภาคในการได้รับการอำนวยความยุติธรรมจากรัฐโดยตัวของรัฐธรรมนูญเอง ผลจากการนี้ ผู้ตกอยู่ภายใต้บังคับดังกล่าวจะยอมรับต่อความอยุติธรรมเช่นนี้หรือไม่ และสังคมจะตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมได้อย่างไร วิญญูชนย่อมตรึกตรองได้เอง



โดย: POL_US วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:22:46:47 น.  

 
๕. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะความไม่เป็นธรรมในการออกเสียงประชามติ

๕. ๑ การลงประชามติ คือการให้ประชาชนใช้สิทธิทางตรงในการตัดสินใจประเด็นปัญหาทางการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญ ร่างกฎหมาย หรือนโยบายที่สำคัญของชาติ การลงประชามติจึงเป็นกลไกที่ส่งผลทางการเมืองและสะท้อนเจตจำนงของประชาชนชัดเจนที่สุดกลไกหนึ่ง

๕. ๒ เพื่อให้ประชามติเป็นประชามติที่สมบูรณ์ การลงประชามติต้องอยู่ภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปราศจากการกดดัน -ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยชัดเจนและโดยปริยาย-จากผู้มีอำนาจ ปราศจากการทำลายความน่าเชื่อถือของอีกฝ่ายด้วยข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ เปิดให้ทั้งฝ่ายที่เห็นควรให้รับร่างรัฐธรรมนูญและฝ่ายที่เห็นควรไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญมีโอกาสรณรงค์ในเป้าหมายของตนอย่างเต็มที่ตามวิถีทางประชาธิปไตยโดยปราศจากการใช้กลไกของรัฐเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม สภาพการณ์ที่ควรจะเป็นดังที่กล่าวมานี้ ดำรงอยู่ในกระบวนการลงประชามติหรือไม่ เป็นที่น่าสงสัยยิ่ง

๕. ๓ นอกจากนี้ การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ องค์กรผู้ทำหน้าที่จัดการออกเสียงประชามติ ยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นของการออกเสียงประชามติด้วย กล่าวคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีหน้าที่จัดการ ควบคุม และประกาศผลการออกเสียงประชามติ ในขณะที่มีกรรมการเลือกตั้งอยู่ ๒ คนดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยข้อเท็จจริงดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่ากรรมการเลือกตั้ง ๒ คนมีส่วนได้เสียกับการออกเสียงประชามติ อันทำให้สภาวะความเป็นกลางของผู้ทำหน้าที่จัดการลงประชามติเสียไป เพราะในฐานะของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ และในฐานะของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนี้ก่อนนำมาออกเสียงประชามติ จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าผู้มีหน้าที่จัดการลงประชามตินั้น ย่อมมีความโน้มเอียงไปในทางฝ่ายรับร่างรัฐธรรมนูญ กรณีนี้แม้ในทางกฎหมายอาจจะยังถกเถียงกันได้ว่าจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการออกเสียงประชามติหรือไม่ แต่ในทางการเมืองก็ต้องถือว่ากระทบต่อความชอบธรรมในการจัดการออกเสียงประชามติอย่างรุนแรง และในที่สุดแล้วย่อมกระทบต่อมาตรฐานในการออกเสียงประชามติในสายตาของนานาชาติด้วย

๕. ๔ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการลงประชามติที่ปราศจากทางเลือกให้แก่ประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๒ กำหนดให้ในกรณีที่ประชาชนไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ คมช. เลือกเอารัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ มาปรับปรุงและประกาศใช้บังคับแทนภายใน ๓๐ วัน โดยที่คมช.ไม่เคยประกาศให้ทราบล่วงหน้าเลยว่าหากประชาชนโดยเสียงข้างมากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คมช.จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาประกาศใช้บังคับแทน แท้จริงแล้ว การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องให้ประชาชนเห็นทางเลือกชัดเจนว่า หากรับร่างรัฐธรรมนูญจะได้รัฐธรรมนูญแบบใดใช้บังคับ และหากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะได้รัฐธรรมนูญแบบใดใช้บังคับ การลงประชามติที่ผู้มีอำนาจบอกว่าให้เลือกเฉพาะสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าดีกว่าเลือกสิ่งที่ยังมองไม่เห็น จึงหาใช่การออกเสียงประชามติโดยแท้จริงไม่

๖ . ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิเสธระบบทหารและอำมาตยาธิปไตย

๖. ๑ ตลอดระยะเวลา ๑๐ เดือนที่ผ่านมาภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารและพวก ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีแต่ทำให้บ้านเมืองตกอยู่ในถาวะถดถอย กล่าวคือ นอกจากจะไร้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเดิมแล้ว ยังสร้างปัญหาใหม่ให้รุมเร้าเพิ่มมากขึ้น คณะรัฐประหารและพวกพยายามสถาปนา “รัฐทหาร-รัฐราชการ” กลับมาใหม่ ให้อาญาสิทธิ์ในการตัดสินใจความเป็นไปของประเทศไว้กับบรรดาอภิชน และได้ตรากฎหมายตลอดจนพยายามตรากฎหมายลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ย่อมเป็นการเปิดทางให้ระบบทหารและอำมาตยาธิปไตยฝังรากลึกในการเมืองไทยต่อไปได้อีกโดยมิสอดรับกับความเป็นจริงของโลก

๖. ๒ ด้วยสภาพการณ์ในปัจจุบัน การใช้สิทธิออกเสียงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นทางเดียวที่จะแสดงให้เห็นว่าเราไม่ปรารถนาระบบทหาร-อำมาตยาธิปไตย การใช้สิทธิลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นทางเดียวที่จะเชิญเหล่าคณะรัฐประหารและพวกออกไปจากอำนาจอย่างสันติ การใช้สิทธิลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นทางเดียวที่จะพลิกฟื้นการปกครองโดย “กฎหมาย” ให้กลับมาแทนที่การปกครองโดย “กฎทหาร” และการใช้สิทธิลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นทางเดียวที่จะฟื้นฟูสถานะความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นพลเมืองให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

๗ . ข้อเสนอในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน

ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามตอนท้าย ขอเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาประกาศใช้ภายใน ๑๕ วัน โดยมิต้องแก้ไขบทบัญญัติมาตราใดๆทั้งสิ้น แต่ให้กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และก่อตั้งคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของปวงชนชาวไทยผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ทั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญ คือ

๗ . ๑ ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส. ) สิ้นสุดลงพร้อมกัน โดยให้โอนบรรดาการต่างๆที่คั่งค้างการตรวจสอบอยู่ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

๗ . ๒ ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ทำหน้าที่เป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งเข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ โดยยกเว้นบทบัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติของรัฐมนตรีบางประการเพื่อให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งต่อไปได้

๗. ๓ ให้บรรดาบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ ในขณะนี้คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เสร็จสิ้น ซึ่งต้องไม่เกินสิบแปดเดือน นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเสร็จสิ้นลง เว้นแต่องค์กรอิสระและองค์กรตุลาการบางองค์กรที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนี้หรือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านั้นดำรงตำแหน่งครบวาระหรือโดยสภาพขององค์กรจำเป็นต้องดำเนินการสรรหาใหม่ ให้ดำเนินการสรรหาให้เสร็จสิ้นภายใน ๙๐ วัน นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องมีผลใช้บังคับต่อไป ในกรณีที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องสิ้นผลบังคับไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นกลับมาใช้บังคับใหม่

๗ . ๔ ให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาให้เสร็จสิ้นภายใน๖๐ วันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ทั้งนี้ ในกรณีของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคการเมืองและระยะเวลาการสังกัดพรรคการเมือง ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี แต่ในกรณีที่บุคคลใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอยู่ในขณะที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้บุคคลดังกล่าวคงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต่อไป และให้พิจารณาดำเนินการแก้ไขเยียวยาการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายต่อบุคคลตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโดยให้รัฐสภาหรือองค์กรที่ดำเนินการปฏิรูปรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดำเนินการ

ข้อเสนอดังกล่าวมานี้ เป็นข้อเสนอเบื้องต้นเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อมิให้เกิดภาวะชะงักงันในการเปลี่ยนผ่านให้ประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ใช่การยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหาร แต่ต้องการให้คณะรัฐประหารรับผิดชอบกับการกระทำของตน ทั้งนี้ ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน คณะรัฐประหารและพวกต้องถอนตัวออกจากอำนาจซึ่งได้มาจากการกระทำที่มิชอบ กลับไปเป็นทหารอาชีพดังเช่นทหารในบรรดาประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย และองค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งโดยพลันเพื่อให้ประเทศไทยได้ก้าวเดินบนเส้นทางประชาธิปไตยต่อไป


รองศาสตราจารย์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
อาจารย์ ดร. ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล
อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์ ธีระ สุธีวรางกูร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๐


โดย: POL_US วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:22:47:46 น.  

 
ผมคนหนึ่งหละที่จะร่วมกระชากหน้ากาก ของกบฎ 19 กันยาร่วมกับท่าน


โดย: yyy IP: 124.157.146.206 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:21:15:27 น.  

 
เข้ามาเยี่ยมเยียนค่ะ
เนื้อหาแน่นมาก มีที่มาของข้อมูลชัดเจน การเรียบเรียงและการนำเสนอก็น่าสนใจมาก สมกับดีกรีที่ได้รับจริงๆค่ะ
พี่ขอชื่นชมในความรู้ความสามารถของคุณพลและทุกๆท่านในห้องนี้ ด้วยความจริงใจ
ขออนุญาตคุณพล ที่จะแนะนำลุกศิษย์ของพี่(รุ่นน้องของคุณพล) เข้ามาศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อประโยชน์ทั้งในแง่วิชาการ และการดำเนินชีวิตนะคะ

"ธรณีนี่นี้....เป็นพยาน"...
คนไทยไม่ได้โง่ เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าอะไรเป็นอะไร คงกระชากตรงๆเช่นคุณyyy
คิด ไม่ได้ 100% กระมังคะ
แต่ด้วยความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนา และกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ในอนาคตเรื่องๆนี้คงเป็นประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครองของไทย
ที่ต้องถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดและตรงไปตรงมา
ซึ่งในเวลานั้น อนุชนรุ่นหลังก็คงขำกับระบบความคิด และการกระทำของชนชั้นปกครอง และผู้นำความคิด ในยุค 2549 - 2551 นะคะ


โดย: ณหทัย IP: 58.9.92.214 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:21:45:14 น.  

 
เข้ามาเยี่ยมเยียนค่ะ
เนื้อหาแน่นมาก มีที่มาของข้อมูลชัดเจน การเรียบเรียงและการนำเสนอก็น่าสนใจมาก สมกับดีกรีที่ได้รับจริงๆค่ะ
พี่ขอชื่นชมในความรู้ความสามารถของคุณพลและทุกๆท่านในห้องนี้ ด้วยความจริงใจ
ขออนุญาตคุณพล ที่จะแนะนำลุกศิษย์ของพี่(รุ่นน้องของคุณพล) เข้ามาศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อประโยชน์ทั้งในแง่วิชาการ และการดำเนินชีวิตนะคะ

"ธรณีนี่นี้....เป็นพยาน"...
คนไทยไม่ได้โง่ เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าอะไรเป็นอะไร คงกระชากตรงๆเช่นคุณyyy
คิด ไม่ได้ 100% กระมังคะ
แต่ด้วยความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนา และกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ในอนาคตเรื่องๆนี้คงเป็นประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครองของไทย
ที่ต้องถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดและตรงไปตรงมา
ซึ่งในเวลานั้น อนุชนรุ่นหลังก็คงขำกับระบบความคิด และการกระทำของชนชั้นปกครอง และผู้นำความคิด ในยุค 2549 - 2551 นะคะ


โดย: ณหทัย IP: 58.9.92.214 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:21:47:13 น.  

 
สุดยอดมากพี่หมวด


โดย: เล็ก บางบัวทอง IP: 124.121.61.12 วันที่: 23 มิถุนายน 2551 เวลา:1:27:38 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.