*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสหรัฐอเมริกา

พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ



1.หลักประกันทางกฎหมายในการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

สหรัฐอเมริกา ให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิด (Freedom of Expression) อย่างจริงจัง โดยได้มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือ The First Amendment ซึ่งมิให้รัฐตรากฎหมายใด ๆ ในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิด เสรีภาพในการตีพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ หรือ สิทธิในการชุมนุม และ การเรียกร้องให้รัฐบาลในการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยเหตุนี้ การจำกัดเสรีภาพดังกล่าว จึงไม่อาจกระทำได้ บนปรัชญาการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยเสรีในลักษณะ Free Market of Information ซึ่งจะทำให้สังคมได้รับรู้ความจริงและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย องค์กรศาลได้พัฒนามาตรการเพื่อให้เป็นไปตาม The First Amendment โดยย่อดังนี้ หากเป็นการแสดงออกซึ่งความเห็นที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐอาจจะกระทำได้เพียงการกำหนดวิธีการ เวลา หรือ สถานที่ในการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ( เรียกข้อกำหนดดังกล่าวว่า Content-neutral regulation ) ส่วนกฎเกณฑ์ที่ประสงค์จะห้ามหรือจำกัดการแสดงความคิดเห็นในเนื้อหาสาระ ( เรียกข้อกำหนดนี้ว่า Content-based regulation) ศาลจะพิจารณาว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นด้วยมาตรฐานที่เข้มข้น (Strict scrutiny) ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญตามหลัก First Amendment หรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลจะวินิจฉัยว่า กฎเกณฑ์ของรัฐที่จำกัด Content-Based ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เป็นกฎที่จัดระเบียบการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเวลา (Time) สถานที่ (Place) หรือ วิธีการ (Manner) ในลักษณะ Content-neutral ที่ไม่ได้มีผลเป็นการห้ามการแสดงความคิดเห็น ศาลจะพิจารณาตามหลัก Rationale standard กล่าวคือ พิจารณาว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าว มีเหตุผลที่ดีเพียงพอหรือไม่ หากผ่านมาตรฐานดังกล่าว กฎเกณฑ์ดังกล่าวก็จะชอบด้วยหลัก First Amendment

2. ข้อยกเว้นเกี่ยวกับหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ในสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งประเภทของถ้อยคำ (Speech / Expression) เป็นสองประเภท ได้แก่ การแสดงออกซึ่งความเห็นที่ไม่ได้รับคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเลย ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำที่มีลักษณะสื่อทางเพศลามกอนาจาร (obscenity) การแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยการหลอกลวง (fraudulent misrepresentation) การใส่ความให้ร้าย (defamation) การสนับสนุนหรือยุยงให้มีการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง (advocacy of imminent lawless) และ ถ้อยคำที่ยั่วยุให้มีการต่อสู้หรือทำร้ายกัน (fighting words) รวมถึงกรณีที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองมิให้มีการกระทำผิดต่อเด็กหรือเยาวชน หรือ โพสต์ในอินเตอร์เนต เป็นต้น

ประเภทที่สอง ได้แก่ ถ้อยคำที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น หากรัฐประสงค์ที่จะกำหนดระเบียบหรือกฎเกณฑ์ในการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวแล้ว ย่อมถือเป็นการจำกัดและควบคุมการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในเนื้อหานั้นโดยตรง (content-based) อันถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ

สำหรับในกรณีแรก เป็นกรณีที่ถ้อยคำที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนั้น จะมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การจำกัดเนื้อหาที่จะแสดงออก และ การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็น ในกรณีที่รัฐตรากฎเกณฑ์ในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยตรง จะเข้าข้อสันนิษฐานว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ เว้นแต่ รัฐจะพิสูจน์ให้ศาลเชื่อตามมาตรฐานขั้นสูงสุด (Strict scrutiny) ว่ามาตรการดังกล่าวเข้าองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้

1.มาตรการนั้น เพื่อรักษาผลประโยชน์อันจำเป็นอย่างยิ่งของรัฐ (Compelling government objective)

2. มาตรการนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น (Necessary) ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ และ

3. มาตรการนั้น เป็นวิธีการที่รุนแรงน้อยที่สุด และแคบที่สุด (Narrowly as possible to achieve that objective) กล่าวคือ ไม่มีช่องทางอื่นที่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกแล้ว

หากรัฐสามารถพิสูจน์ได้ครบองค์ประกอบทั้งสามประการข้างต้น ก็จะถือได้ว่ามาตรการดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ในกรณีที่รัฐประสงค์จะออกกฎเกณฑ์ทั่วไปที่เป็นเพียงการจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีการแสดงความคิดเห็น เวลา หรือ สถานที่ ในลักษณะเป็น Content-neutral รัฐจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า มาตรการที่ใช้ดังกล่าวนั้น ครบองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้

1.กฎเกณฑ์นั้น เพื่อคุ้มครองประโยชน์อันสำคัญของรัฐ (Significant governmental interest)

2. เป็นวิธีการที่รุนแรงน้อยที่สุด (Narrowly tailored to serve that governmental interest) และ

3. ต้องมีทางเลือกอื่นในการแสดงความคิดเห็น (Alternative channels) ให้แก่ประชาชน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่ใช่การจำกัดเนื้อหาของคำพูดดังกล่าวแล้ว ศาลจะพิจารณาไม่เข้มข้นมากนัก ซึ่งถ้ารัฐบาลพิสูจน์ได้ว่ารัฐบาลมีเหตุผลเพียงพอตามหลัก Rationale standard แล้ว ศาลก็จะถือว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ในกรณีที่รัฐได้ตรากฎเกณฑ์ในการควบคุมการแสดงความคิดเห็นใด ๆ นอกจากจะต้องผ่านมาตรฐาน Judicial review ข้างต้นแล้ว กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องไม่มีลักษณะที่มีผลบังคับใช้กว้างขวางเกินสมควร (Overbreadth) และจะต้องไม่มีลักษณะที่คลุมเครือ (Vagueness)

3.หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสื่อออนไลน์

ในสหรัฐอเมริกานั้น สื่อสารมวลชน (media) จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ โดยรัฐไม่อาจจะกำหนดข้อปฏิบัติต่อสื่อสารมวลชนในทางไม่ชอบธรรมได้ อันเป็นการยับยั้งใช้ในการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว (Chilling effect) รวมถึงการยับยั้ง หรือ ตรวจสอบการพิมพ์ก่อนจัดพิมพ์ (Prior restraints) โดยมีกฎหมายพิเศษในการควบคุมสื่อออนไลน์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับภาพโป๊ หรือความมั่นคงของรัฐ ได้แก่

1.กฎหมายที่ว่าด้วยการสื่อสาร หรือ The Communications Act of 1934 แก้ไข 1996, 2003

Telecommunication Act ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 501, 502, 507 และ มาตรา 509 หรือ Communication Decency Act ( CDA ) ได้มีบทบัญญัติคุ้มครองเด็กฯ เช่น มาตรา 502 เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งลามกอนาจาร หรือ การรบกวนรังควานโดยใช้เครื่องมือสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ( Obscene or Harrasing use of telecommunications facilities under the Communications Act of 1934) มาตรา 507 เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งลามกอนาจาร ซึ่งกระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Clarification of current laws regarding communication of obscene materials through the use of computer) และ มาตรา 509 ว่าด้วยอำนาจในการจัดการการสื่อสารในโลกออนไลน์ ของสมาชิกในครอบครัว ( Online Family Empowerment) ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องระวางโทษในลักษณะเดียวกัน คือ ปรับและจำคุกไม่เกิน 2 ปี เว้นแต่เป็นผู้ให้แก่ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนต สำหรับบทกำหนดโทษ ได้แก่ โทษปรับไม่เกิน 50,000 เหรียญ หรือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

2.กฎหมายว่าด้วย Child Pornography Prevention Act of 1996 (CPPA)

CPPA มาตรา 2256(8)(B) นั้น ห้ามการกระทำการใด ๆ ในลักษณะ ภาพเสมือนจริง (Visual depiction) ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีการใด กล่าวคือ หากภาพดังกล่าวมีลักษณะเป็นภาพที่เด็กหรือผู้เยาว์กำลังกระทำการทางเพศ (engaging in sexually explicit conduct) มาตรา 2258(2) ห้ามการผลิตภาพยนตร์โป๊ โดยเจตนาที่จะให้เห็นว่าเป็นภาพเด็กหรือเยาวชนเป็นผู้แสดงเพื่อชักชวนหรือกระตุ้นในความต้องการทางเพศ หรือร่วมเพศ มาตรา 2256(8)(D) ห้ามการโฆษณาโดยใช้ภาพเด็กในการโฆษณาวัตถุลามกอนาจาร

3.กฎหมายว่าด้วย Children’s Online Protection Act

กฎหมายนี้ กำหนดโทษทางอาญา สำหรับกรณีที่มีการเสนอเนื้อหาผ่านระบบออนไลน์ โดยเสนอหรือโพสต์ไว้บนเวปไซต์เพื่อการค้า หากเนื้อหานั้นมีลักษณะไม่เหมาะสม หรือ offensive ต่อเด็ก นอกจากนี้ ยังมี Children’s Internet Protection Act ซึ่งกำหนดให้โรงเรียน และห้องสมุดจะต้องใช้มาตรการในการป้องกัน หรือตรวจสอบ (Filters) มิให้มีการกระทำผิดตามกฎหมายนี้

4.กฎหมายว่าด้วย Protect Act of 2003

กฎหมายนี้ ห้ามหลอกลวงเกี่ยวกับชื่อเวปไซต์นั้น โดยกำหนดให้เป็นความผิด หากมีการใช้ชื่อ Domain name เพื่อเป็นการหลอกลวงให้บุคคล ใด ๆ เข้าไปในเวปไซต์นั้น เพื่อเข้าไปดูภาพลามกอนาจาร หรือ เป็นการหลอกลวงเด็กให้เข้าไปในเวปไซต์ โดยเนื้อหานั้นเป็นอันตรายต่อเด็ก

5.กฎหมายว่าด้วย Adam Walsh Child Protection and Safety Act of 2006

กฎหมายนี้ ได้ห้ามการกระทำการซึ่งเป็นการใช้ถ้อยคำ หรือ ภาพดิจิตอล เพื่อหลอกลวงผู้อื่น ในการเข้าไปดูภาพลามก หรือ หลอกลวงเด็กเพื่อเข้าไปดูวัตถุหรือสื่อที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

6.กฎหมายว่าด้วย Stored Communications Act

กฎหมาย นี้ ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกหมายเรียกข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์ได้ ดังนั้น ชื่อบัญชีและรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และ การใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึง Internet Protocol address จะต้องถูกเก็บบันทึกไว้ และ จะต้องส่งมอบให้เจ้าหน้าที่เมื่อได้รับการร้องขอ

7.กฎหมายว่าด้วย Communications Assistance for Law Enforcement Act of 1994

กฎหมายนี้ ให้พัฒนาการดักฟัและเข้าถึงข้อมูล (Interception technologies) และ บังคับให้ service providers จะต้องสร้างระบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้บริการให้สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว

8. กฎหมายว่าด้วย USA PATRIOT Act

กฎหมายนี้ USA PATRIOT Act 2001 ที่ให้อำนาจแก่หน่วยงานความมั่นคงของรัฐ รวมถึง FBI สามารถใช้เทคโนโลยี ในการเฝ้าระวังระบบอีเมลล์ และ เข้าถึงข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ได้ ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายต่อผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา

9.กฎหมายว่าด้วย SPAM

CAN-SPAM Act of 2003 โดยกำหนดให้บริษัทหรือผู้โฆษณาจะต้องแสดงข้อความชัดเจนเพียงพอให้ทราบอีเมลล์ที่ส่งไปเป็นโฆษณา โดยจะต้องมีคำว่า ADV อย่างชัดเจน
4.นโยบายของรัฐในการการควบคุมเนื้อหาบนโลกอินเตอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา จะมีการควบคุมเสรีภาพบนโลกออนไลน์ 2 ลักษณะ ได้แก่ กรณีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สำหรับเด็ก และ ความมั่นคงของรัฐ ซึ่งอาจจะมีการดำเนินการหลายวิธี เช่น การกลั่นกรองตรวจสอบการใช้อินเตอร์เน็ต (Filter) หรือ การปิดกั้น (Block) รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลเวปไซต์ที่ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการในกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น เช่น ตามกฎหมาย Children’s Internet Protection Act กำหนดเงื่อนไขให้แก่โรงเรียนและห้องสมุด จะต้องพัฒนาให้ระบบอินเตอร์เนตนั้นปลอดภัยสำหรับเยาวชนและเด็ก โดยโรงเรียนและห้องสมุดจะต้องมีระบบป้องกัน หรือ ระบบ Filter ในระบบอินเตอร์ที่เชื่อมต่อของโรงเรียนหรือห้องสมุดนั้น และ กฎหมาย Child Online Protection Act (COPA) ก็ยังได้กำหนดให้ผู้ให้บริการทางอินเตอร์ หรือ ISPs จะต้องมีการแจ้งแก่ผู้รับบริการว่า มีการติดตั้งระบบ software ในการกลั่นกรองข้อมูลนั้น ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต ก็เห็นพ้องด้วย และ ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลในการปิดกั้น Child Pornography ด้วยเช่นกัน

กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐประสงค์จะได้ข้อมูลบางประเภท เช่น Account records และ Subscriber information หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้สมัครใช้อีเมลล์ และรายละเอียดข้อมูล จากบริษัทผู้ให้บริการทางอินเตอร์ หรือ Internet Service Provider กรณีนี้ รัฐบาลได้ตรารัฐบัญญัติชื่อว่า Stored Communications Act ( 18 U.S.C.§§ 2701-2712 ) ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกหมายเรียกข้อมูลดังกล่าวได้ ดังนั้น ชื่อบัญชีและรายละเอียดข้อมูลดังกล่าว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม Fourth Amendment ซึ่งรวมถึง Internet Protocol address ที่ใช้ในการสนับสนุนการสนทนาหรือสื่อสาร

ในด้านความมั่นคง รัฐบาลสหรัฐฯ ยังได้ดำเนินการมาตรการที่ดูเสมือนว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมาก ได้แก่ การใช้มาตรการตรวจสอบทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Surveillance Laws) โดยเฉพาะในยุค Digital Age สภาคองเกรส ได้ตรากฎหมาย ในปี ค.ศ.1994 ที่เรียกว่า Communications Assistance for Law Enforcement Act ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบการดักฟังและเข้าถึงข้อมูล หรือ Interception technologies และ บังคับให้ service providers จะต้องสร้างระบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้บริการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ National Security Agency (NSA) ยังได้มีการใช้เทคโนโลยี Internet spy เป็นต้นว่า "Carnivore" ซึ่งทำให้ FBI มีความสามารถในการตรวจสอบ ดักฟัง และ วิเคราะห์ระบบอีเมลล์ได้จำนวนมหาศาล ทั้งผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัย และบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่อาจจะเข้าถึงข้อมูลของเอกชนได้ตามอำเภอใจ โดยกฎหมาย Privacy Protection Act of 1980 ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นว่าการค้นจะนำไปสู่การยึดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิด เช่น การตีพิมพ์ หรือ การโพสต์ข้อความหรือบทความใน World Wide Web เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องปฏิบัติตาม Privacy Protection Act (PPA) (42 U.S.C. §2000aa) โดยจะต้องขอรับความเห็นชอบจากผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ( Deputy Assistant Attorney General ) แผนกคดีอาญา และ The Computer Crime and Intellectual Property Search (CCIPS) ซึ่งเป็นฝ่ายวิเคราะห์และสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ของกระทรวงยุติธรรมก่อนเสมอ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถใช้หมายเรียกเพื่อขอพยานหลักฐานจากสำนักพิมพ์ หรือ บุคคลที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น Internet-based journal, publisher of role-playing gamesได้ โดยจะต้องละเว้นจากการค้นหากไม่จำเป็น

5.ปฎิกริยาจากสังคมอเมริกัน

จากข้อเท็จจริงที่มีการพัฒนาระบบการดักฟังโดย National Security Agency (NSA) และ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ที่มีการใช้ เทคโนโลยี Internet spy เป็นต้นว่า "Carnivore" ซึ่งทำให้ FBI มีความสามารถในการตรวจสอบ ดักฟัง และ วิเคราะห์ระบบอีเมลล์ได้จำนวนมหาศาล ทั้งผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัย และบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกัน ทำให้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำการที่ฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการกล่าวอ้างว่า เพื่อความปลอดภัยของชาติ จึงจำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับการต่อต้านจากประชาชนชาวอเมริกันบางส่วน รวมถึง หน่วยงานเอกชนไม่แสวงกำไร เช่น American Civil Liberties Union ได้ดำเนินการรณรงค์เพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนไม่น้อย ไม่รู้สึกว่ามาตรการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้ในการป้องกันภัยจากการก่อการร้ายนั้น ไม่ว่าจะเป็นตรวจสอบเวปไซต์ หรือ อีเมลล์ ฯลฯ เป็นสิ่งที่เลวร้ายจนไม่อาจจะยอมรับได้ แต่ในสภาวะปกติทั่วไป รัฐบาลสหรัฐอเมริกา จะไม่ใช้วิธีการปิดกั้นเวปไซต์ (Blocking) ที่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาล แต่อาจจะมีการตรวจสอบเวปไซต์ หรือ การกลั่นกรองเวปไซต์ (Filtering) จะมีเฉพาะตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพลามกอนาจาร หรือที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงจากภัยการก่อการร้าย ส่วนการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติของสาธารณะเท่านั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกา จึงไม่มีการใช้มาตรการที่ไม่ชอบด้วยหลักนิติรัฐมาใช้เพื่อดำเนินการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างในทางการเมืองได้ แม้แต่ในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เช่น กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายใน หรือ DOMESTIC SECURITY ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้ง HOMELAND SECURITY DEPARTMENT ขึ้นมา และมีการนิยามถึงอำนาจหน้าที่อย่างชัดแจ้งว่าเป็นการดำเนินการกับการก่อการร้ายที่ก่อภยันตรายอย่างร้ายแรงขึ้นโดยบุคคลภายนอก หรือต่างชาติเป็นสำคัญ โดยการก่อการร้ายนั้น ได้ถูกนิยามไว้ว่า หมายถึง การดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการที่เป็นภยันตรายต่อชีวิตมนุษย์ หรือ จะมีผลอย่างแน่แท้ในการทำลายสาธารณูปโภคหรือทรัพยากรสำคัญของชาติอย่างร้ายแรง และ เป็นการกระทำที่ละเมิดหรือขัดต่อกฎหมายอาญาของสหรัฐฯ และการกระทำดังกล่าวข้างต้น จะต้องปรากฏว่า เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการข่มขู่หรือภัยคุกคามต่อพลเรือน หรือ ต้องการบังคับรัฐบาลโดยวิธีการเดียวกัน หรือ การกระทำที่เป็นการทำลายล้างอย่างร้ายแรง การลอบสังหาร หรือ การลักพาตัว ดังนั้น กฎหมายนี้ จึงไม่ได้ให้อำนาจใด ๆ แก่รัฐบาลในการใช้อำนาจพิเศษกระทำการใด ๆ ต่อประชาชนของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้พิจารณาถึง กฎหมายบริหารราชการในภาวะฉุกเฉินหรือ NATIONAL EMERGENCY MANAGEMENT นั้น ก็ได้มีการกำหนดนิยามไว้เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่ ภาวะภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีอำนาจเข้าไปแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัตินั้นเป็นสำคัญ โดยตามกฎหมายนี้ ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า Federal Emergency Management Agency หรือ FEMA ขึ้น โดยให้มีอำนาจในการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรในการช่วยเหลือประชาชนเป็นสำคัญ





Create Date : 23 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2553 17:30:33 น. 0 comments
Counter : 5662 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.