นาซาไขความลับดวงดาวปริศนาของจีน

นักดาราศาสตร์องค์การนาซา เผย
ผลการศึกษาการระเบิดของดวงดาวที่ปรากฏในบันทึกของชาวจีนเมื่อกว่า 2000
ปีที่แล้ว ว่าเป็นการระเบิดของดวงดาวที่สิ้นอายุขัย


          สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักดาราศาสตร์แห่ง
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (นาซา) เปิดเผยถึงการค้นพบ
"ซุปเปอร์โนวา" หรือ การระเบิดของดวงดาวที่สิ้นอายุขัย ที่ปรากฏในบันทึกของนักดาราศาสตร์ชาวจีนเมื่อปี พ.ศ. 358 ว่าเป็นดวงดาว "ผู้มาเยือน" ที่ปรากฏสว่างไสวบนท้องฟ้านานกว่า 8 เดือน


นักดาราศาสตร์ชาวตะวันตกได้ค้นพบซุปเปอร์โนวาดวงนี้ตั้งแต่ยุคทศวรรษ 2503 และให้ชื่อว่า "อาร์ซีดับเบิลยู 86" เมื่อเร็วๆนี้นักดาราศาสตร์ของ
นาซาใช้กล้องโทรทัศน์อวกาศ สปิทเซอร์ และ
ระบบสำรวจพื้นที่แนวกว้างด้วยอินฟราเรด (ดับเบิลยูไอเอสอี-ไวส์)
ทำการสำรวจซุปเปอร์โนวาในตำนานจีน จนพบความพิเศษของดวงดาวที่สิ้นอายุขัยดวงนี้


          นายไบรอัน วิลเลียมส์ นักดาราศาสตร์แห่งมหา
วิทยาลัยรัฐนอร์ธ แคโรไลนา อธิบายว่าเศษทรากซุปเปอร์โนวาดวงนี้มีขนาดใหญ่
และ พุ่งออกมาจากศูนย์กลางการระเบิดด้วยความเร็วสูงมาก กว่าที่คาดไว้ถึง 2
หรือ 3 เท่า


          นาซาอธิบายลักษณะการระเบิดของดวงดาวดวงนี้ว่า
เป็นการระเบิดจากภายในที่ดวงดาวที่กลวงบริเวณศูนย์กลาง
ทำให้ชิ้นส่วนของดวงดาวดวงนี้พุ่งออกจากศูนย์กลางการระเบิดได้อย่างรวดเร็ว
และไกลกว่าดาวดวงอื่นตามที่มีการศึกษาไว้ก่อนหน้านี้


นักดาราศาสตร์ระบุ
ว่าเศษซากของซุปเปอร์โนวา "อาร์ซีดับเบิลยู 86" อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000
ปีแสง และเป็นโจทย์ที่นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ต้องค้นหาคำตอบต่อไป

ที่มา คม-ชัด-ลึก






Free TextEditor



Create Date : 25 ตุลาคม 2554
Last Update : 25 ตุลาคม 2554 20:38:02 น.
Counter : 2360 Pageviews.

1 comment
ฮับเบิลส่องพบ "ดาวฤกษ์" กำลังกลืนกินดาวเคราะห์บริวารตัวเอง







โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2553 15:11
น.



























ภาพจำลองให้เห็นดาว
เคราะห์ WASP-12b โคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ WASP-12 มากๆ
และอุณหภูมิพื้นผิวของดาวเคราะห์สูงมากทำให้ชั้นบรรยากาศขยายใหญ่ขึ้น
และถูกดาวฤกษ์ดักจับไว้
โดยนักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์จะถูกดาวฤกษ์ดูดกลืนรวมเข้าด้วยกันจนหมดใน
อีก 10 ล้านปีข้างหน้า (นาซา/เอเอฟพี)

ดาวเคราะห์ที่ร้อน
ที่สุดในทางช้างเผือก กำลังจะกลายเป็นดาวเคราะห์อายุสั้นที่สุด
หลังฮับเบิลเผยให้เห็นเป็นครั้งแรก
ว่าดาวเคราะห์เจ้ากรรมกำลังถูกดาวแม่กลืนกิน คาดหมดสิ้นอายุขัยในอีก 10
ล้านปี

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble space
telescope) สำรวจพบว่า
ดาวเคราะห์ดวงที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในทางช้างเผือกกำลังถูกดาวฤกษ์กลืนกิน
เข้าไปทีละน้อยและจะหลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งกับดาวแม่อย่างสมบูรณ์ในอีก 10
ล้านปีข้างหน้า

ดาวเคราะห์ดวงที่ว่านี้คือดาว
ดับเบิลยูเอเอสพี-12บี (WASP-12b) ซึ่งนักดาราศาสตร์ค้นพบเมื่อปี 2008
เป็นบริวารของดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-12 (WASP-12)
ดาวแคระสีเหลืองที่อยู่ในกลุ่มดาวสารถี (Auriga) โดยอยู่ห่างจากโลกประมาณ
600 ปีแสง

ดาวเคราะห์ WASP-12b มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 300 เท่า
มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 40% ทั้งยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิ
พื้นผิวสูงที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมดภายในกาแล็กซีทางช้างเผือก
โดยมีอุณหภูมิสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียส เพราะโคจรอยู่ใกล้ชิดกับดาวฤกษ์มาก
ใช้เวลาโคจรครบ 1 รอบ เพียงประมาณ 1.1 วัน


ในการศึกษา
วิจัยครั้งนี้ นักดาราศาสตร์อาศัยเครื่องมือตัวใหม่ที่เรียกว่าคอส
มิคออริจินส์สเปคโตรกราฟ หรือซีโอเอส
(Cosmic Origins
Spectrograph : COS) ที่เพิ่งติดตั้งให้กล้องฮับเบิลเมื่อปี 2009
เพื่อสังเกตว่าดาวเคราะห์ได้รับผลจากแรงโน้มถ่วงจนทำให้มีรูปร่างยืดยาวออก
ได้อย่างไร
ซึ่งซีโอเอสสามารถวัดแสงสว่างของดาวฤกษ์ที่หรี่ลงได้ในขณะที่ดาวเคราะห์โคจร
ผ่านหน้าดาวฤกษ์

ซีโอเอสแสงให้เห็นเส้นสเปกตรัมดูดกลืนจากอลูมิ
เนียม ดีบุก แมงกานีส ท่ามกลางธาตุอื่น
ทำให้รู้แน่ชัดว่าดาวเคราะห์กำลังโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์
หมายความว่าธาตุเหล่านี้มีอยู่ในชั้นบรรยากาศทั้งของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์
และยังตรวจพบว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นั้นขยายใหญ่ออกไปมาก
เพราะมีความร้อนสูงนั่นเอง
โดยพองออกคล้ายบอลลูนที่มีรัศมีมากกว่าดาวพฤหัสบดี 3 เท่า

"เรา
สังเกตเห็นกลุ่มหมอกควันจำนวนมากปกคลุมรอบๆ ดาวเคราะห์
ซึ่งหมอกควันเหล่านั้นกำลังหนีออกจากดาวเคราะห์และจะถูกดักจับไว้โดยดาวฤกษ์


และเรายังแยกได้องค์ประกอบทางเคมีที่ไม่เคยพบมาก่อนบนดาวเคราะห์ที่อยู่นอก
ระบบสุริยะของเราด้วย" แคโรล แฮสเวล (Carole Haswell)
หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอเพน (Open University) ประเทศอังกฤษ
เผยในเอเอฟพีและสเปซเดลี

ทั้งนี้
นักดาราศาสตร์รู้อยู่แล้วว่าดาวฤกษ์นั้นจะกลืนกินดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ใกล้
มากๆ ทว่านี่เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นปรากฏการณ์ดัง
กล่าวได้อย่างแจ่มชัด
ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน
วารสารแอสโทรฟิสิคัลเจอร์นัลเล็ตเตอร์ส (Astrophysical
Journal Letters
) เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา
โดยคาดการณ์ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้จะถูกดาวฤกษ์กลืนกินเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อย่างสมบูรณ์ในอีกประมาณ 10 ล้านปี

ก่อนหน้านั้นเมื่อเดือน ก.พ.
ที่ผ่านมา ซู-หลิน ลี่ (Shu-lin Li) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University)
ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยทางทฤษฎีลงในวารสารเนเจอร์ (Nature)
ที่ได้คาดการณ์ว่าแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์จะส่งผลให้พื้นผิวของดาวเคราะห์
WASP-12b บิดเบี้ยวผิดรูปผิดร่าง
และแรงดึงดูดนั้นจะทำให้ภายในของดาวเคราะห์ร้อนมากจนแผ่ขยายออกมาถึงนอกชั้น
บรรยากาศของดาวเคราะห์ ซึ่งได้รับการยืนยันจากผลงานวิจัยล่าสุดชิ้นนี้





Free TextEditor



Create Date : 20 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 14:47:44 น.
Counter : 681 Pageviews.

0 comment
วิจัยพบ "แมลงสาบ" ปรึกษากันเพื่อเลือกแหล่งอาหารอันโอชะ
วิจัยพบ "แมลงสาบ" ปรึกษากันเพื่อเลือกแหล่งอาหารอันโอชะ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2553 11:40 น.

นักวิจัยอังกฤษสนใจเฝ้าติดตามดูพฤติกรรมเจ้าแมลงสาบที่ หลายๆ คนรังเกียจและอยากกำจัดไปให้หมดโลก พบมีการหลั่งสารเคมีสื่อสารกันในกลุ่มเพื่อบอกต่อถึงแหล่งอาหารอันโอชะ หวังเข้าใจพฤติกรรมของพวกมันเพื่อนำไปพัฒนาวิธีกำจัดแมลงรบกวนที่ได้ผล

ทีมนักวิจัยของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เคมีและชีววิทยา ควีนแมรี แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (Queen Mary, University of London) ศึกษาพฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบที่มักออกมาหากินอาหารด้วยกันเป็นกลุ่ม ยามดึกในครัวของบ้านใครหลายๆคน โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยนี้ในวารสารบิเฮฟวิเออเริล อิโคโลจี แอนด์ โซชิโอไบโอโลจี (Behavioural Ecology and Sociobiology)

ดร.แมทธิว ลิโฮโร (Dr. Mathieu Lihoreau) หัวหน้าคณะวิจัยเรื่องนี้เปิดเผยว่า ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเจอแมลงสาบมักจะฆ่าพวกมันมากกว่าที่จะศึกษาพฤติกรรมของ มัน ซึ่งเขาก็เข้าใจเรื่องนี้ดี แต่นั่นหมายความว่าเราไม่รู้เรื่องพฤติกรรมของมันมากนัก

"แมลงสาบเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเกิดความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจของอังกฤษนับหลายล้านปอนด์ และน่าจะดีกว่า ถ้าหากเรารู้พฤติกรรมการหาอาหารของแมลงสาบ เพื่อที่จะพัฒนาวิธีการควบคุมแมลงสาบที่ดีกว่า ซึ่งบ่อยครั้งที่เราใช้ยาฆ่าแมลงแล้วไม่ได้ผล ทั้งยังมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของเราเองด้วย" ดร.ลิโฮโร กล่าวในไซน์เดลีและบีบีซีนิวส์

นักวิจัยกล่าวต่อไปว่า เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าแมลงสาบออกหาอาหารแบบตัวใครตัวมัน แต่นั่นไม่ถูกต้องซะทีเดียว ใครก็ตามที่มีแมลงสาบอยู่ในบ้านจะบอกกับคุณว่าผิดแล้ว คุณจะได้เห็นแมลงสาบเป็นกลุ่มกินอาหารอยู่ด้วยกัน

ทีมวิจัยพิสูจน์ข้อสงสัยว่าในความเป็นจริงแมลงสาบมีการสื่อสารกันกับ เพื่อนตัวอื่นๆ หรือไม่ โดยนำแมลงสาบสปีชีส์แบลทเทลลา เจอมานิกา (Blattella germanica) กลุ่มหนึ่งมารวมกันอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ที่มีอาหาร 2 อย่างแยกกัน ซึ่งถ้าหากว่าแมลงสาบไม่ได้สื่อสารกัน นักวิจัยก็หวังไว้ว่าพวกมันจะกระจายไปยังอาหารทั้งสองอย่างเท่าๆ กัน

ทว่าแมลงสาบส่วนใหญ่ที่หิวกับมุ่งไปกินอาหารอย่างเดียวกัน เพียงชนิดเดียวจนกระทั่งพวกมันไป และจากการติดตามแมลงสาบแต่ละตัวเหล่านั้น พบว่ามีแมลงสาบอีกจำนวนมากมากินอาหารชิ้นนั้นเพิ่มมากขึ้น และแต่ละตัวก็ใช้เวลากินอาหารอยู่นาน

จากการสังเกตควบคู่กับการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำให้นักวิจัยพบ ว่าแมลงสาบมีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดเวลาที่พวกมันอยู่บนแหล่งอาหารแล้ว นัก วิจัยเชื่อว่าแมลงสาบส่งสัญญาณให้กันโดยการหลั่งฟีโรโมนหาอาหาร (foraging pheromone) สารเคมีนี้อาจอยู่ในน้ำลายหรือไฮโดรคาร์บอนบนตัวพวกมัน ซึ่งแตกต่างจากผึ้งที่ใช้วิธีกระดิกตัวไปมา หรือมดที่หลั่งสารเคมีทิ้งไว้เป็นเส้นทางให้มดตัวอื่นๆ ตามมา

"เราไม่รู้ว่าพวกแมลงสาบสื่อสารกันอย่างไร แต่รู้ว่าใช้สารเคมีเป็นตัวสื่อ ส่วนจะเป็นสารชนิดใดนั้นเราจะทำการค้นหากันในการวิจัยขั้นต่อไป" ดร.ลิโฮโร กล่าว ซึ่งมนุษย์เคยมีการสร้างสารฟีโรโมนขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมแมลง โดยนำมาทำเป็นยากำจัดแมลงชนิดเจลที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือทำกับดักแมลงที่ปราศจากสารฆ่าแมลง ซึ่งทีมวิจัยก็หวังว่าการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการหาอาหารของ แมลงสาบจะช่วยให้เรามีวิธีควบคุมและกำจัดแมลงสาบที่ได้ผลดียิ่งขึ้นได้




Create Date : 13 มิถุนายน 2553
Last Update : 13 มิถุนายน 2553 12:02:11 น.
Counter : 829 Pageviews.

0 comment
เราจะโดดเดี่ยว (ในอวกาศ) ได้นานแค่ไหน?
เราจะโดดเดี่ยว (ในอวกาศ) ได้นานแค่ไหน?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 มิถุนายน 2553 00:35 น.

เราจะทนโดดเดี่ยวในอวกาศได้นานแค่ไหน? เป็นคำถามสำคัญก่อนที่เราจะส่งเพื่อนมนุษย์ออกไปท่องแดนที่ไม่เคยมีใครไปถึง มาก่อน

สเปซด็อทคอมระบุว่าสถิติสูงสุดที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่บนสถานีอวกาศ นานาชาติคือ 6-7 เดือน ส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่บนอวกาศต่อเนื่องยาวนานที่สุดคือ "วาเลรี พอลีอาค็อฟ" (Valery Polyakov) มนุษย์อวกาศรัสเซีย ซึ่งทำสถิติในปี 1995 อยู่บนสถานีอวกาศมีร์ (Mir space station) นานถึง 438 วัน หากแต่การเดินทางสู่ดาวอังคารต้องใช้เวลาปฏิบัติภารกิจยาวนานกว่านั้น

ปฏิบัติการมาร์ส 500 (Mars500) จำลองการเดินทางไป-กลับระหว่างโลกและดาวอังคารนาน 520 วัน จึงเริ่มขึ้นในห้องทดลองที่รัสเซีย ซึ่งรายงานบีบีซีนิวส์ ระบุความเห็นของ ศ.แพดดี โอ'ดอนเนลล์ (Prof. Paddy O'Donnell) นักจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (Glasgow University) สหราชอาณาจักรว่า จุดที่จะเห็นได้ชัดอยู่ในช่วงเดือนที่ 6-8 ของปฏิบัติการ สภาพตึงเครียดของจิตใจจะเริ่มปรากฏให้เห็น โดยอ้างอิงจากการศึกษาลูกเรือดำน้ำและทีมวิจัยแอนตาร์กติก

สำหรับอันตรายใหญ่หลวงคือความเบื่อหน่าย ลูกเรือจะหลอมรวมพันธะทางอารมณ์ทั้งแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งจะกัดกร่อนความเป็นมืออาชีพของพวกเขา และในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ ลูกเรือเริ่มเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่วิธีที่จะป้องกันปัญหานี้คือจัดตำแหน่งผู้นำอย่างชัดเจน แบ่งแรงงานอย่างชัดเจน และปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างเคร่งครัด

การแยกจากคนรักเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญสำหรับนักบินอวกาศ แต่ ศ.โอ'ดอนเนลล์เชื่อว่า การที่ลูกเรือเป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสนใจแต่งเรื่องของตัวเอง และมีโอกาสที่ประสาทจะทำงานผิดพลาดต่ำ รวมถึงการมีกล้องจับพฤติกรรมอยู่ตลอดเวลา ย่อมทำให้พวกเขาประพฤติตัวอยู่ในกฎ และเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนพวกเขาอยู่แล้ว

ไม่มีใครตอบได้จริงๆ ปฏิบัติการมาร์ส500 นี้จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ แต่ลูกเรือแสดงความมั่นใจว่าพวกเขาทั้ง 6 คนจะอยู่ครบภารกิจ 520 วัน หากพวกเขาทำได้นั่นหมายความว่า การส่งมนุษย์เดินทางสู่ดาวอังคารกำลังใกล้เข้ามาแล้ว แต่กว่าจะไปถึงวันนั้นต้องพิสูจน์ความแกร่งของจิตใจมนุษย์เสียก่อนว่าจะทน ความโดดเดี่ยวได้นานแค่ไหน



Create Date : 13 มิถุนายน 2553
Last Update : 13 มิถุนายน 2553 12:01:26 น.
Counter : 559 Pageviews.

0 comment
นักวิจัยสติเฟื่องยอม เปลืองตัวคนแรกในโลก’ติด’ไวรัสคอมพ์
นักวิจัยสติเฟื่องยอม เปลืองตัวคนแรกในโลก’ติด’ไวรัสคอมพ์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มิถุนายน 2553 14:34 น.

ฟแนนเชียล ไทมส์ – นักวิจัยเมืองผู้ดีเป็นมนุษย์คนแรกที่ ‘ติดเชื้อ’ ไวรัสคอมพิวเตอร์ เพราะต้องการรู้ว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ฝังอยู่ในร่างกายคนเรา

ดร.มาร์ก แกสซัน จากคณะวิศวกรรมระบบ มหาวิทยาลัยรีดดิ้งส์ อังกฤษ เผยว่าการศึกษานี้มีนัยสำคัญต่ออุปกรณ์ เช่น เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และอวัยวะรับเสียงเทียม ที่ปัจจุบันได้รับการพัฒนาถึงจุดที่อาจถูกโจมตีจากไวรัสคอมพิวเตอร์ได้

วิธีการก็คือ การใส่ไวรัสคอมพิวเตอร์ในชิปอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังอยู่ในแขนซ้ายของดร.แกสซัน มาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อศึกษาผลจากไวรัส

“เราพยายามพัฒนาอุปกรณ์ที่เปรียบได้กับคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วมากมายที่ สามารถจัดเก็บข้อมูล สื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ และทำงานที่ไม่ซับซ้อนนัก แต่ขณะเดียวกัน ความสามารถใหม่ๆ เหล่านี้ก็มาพร้อมความเสี่ยง เช่น การถูกไวรัสคอมพิวเตอร์โจมตี

“เรื่องนี้มีนัยร้ายแรงหลายอย่างสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ ลองนึกภาพว่ามีคนอุตริพัฒนาไวรัสที่สามารถหยุดการทำงานของเครื่องกระตุ้นการ ทำงานของหัวใจได้” ดร.แกสซันเสริม

ชิปที่ฝังอยู่ในแขนซ้ายของดร.แกสซันเป็นชิป RFID (radio frequency identification) ระดับไฮเอนด์ ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ซับซ้อนขึ้นของเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดแท็กสินค้า และชิปที่ฝังอยู่ในสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์นี้มีขนาดเท่าเมล็ดข้าว ทำหน้าที่เป็นเสมือนกุญแจให้ดร.แกสซันเข้าออกอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและใช้งานโทรศัพท์มือถือ

หลังจากติดไวรัส ไมโครชิปจะทำให้ระบบที่ใช้สื่อสารป่วน และพยายามแพร่ไวรัสไปยังชิปอื่นๆ ที่ติดต่อกับระบบ

ดร.แกสซันกล่าวว่าการทดลองนี้ทำให้เห็นเค้าลางของปัญหาในอนาคต

“ผู้พัฒนาเทคโนโลยีนี้ต้องไตร่ตรองเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ตั้งแต่แรก

“เช่นเดียวกับคนมากมายที่ฝังอุปกรณ์การแพทย์ไว้ในร่างกาย หลังจากผ่านไปหลายปีผมรู้สึกว่าชิปเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายไปแล้ว

“แม้รู้สึกตื่นเต้นกับการเป็นคนแรกที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ แต่พร้อมกันนี้ผมยังรู้สึกว่าตัวเองถูกล่วงละเมิดอย่างน่าตกใจ เพราะชิปเชื่อมต่อกับตัวผมแนบสนิท แต่ผมกลับไม่สามารถควบคุมสถานการณ์นี้ได้”

เทคโนโลยีการฝังอุปกรณ์การแพทย์เริ่มเป็นที่คุ้นเคยมากขึ้นในสหรัฐฯ โดยมีการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ จัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดระดับหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยตามที่เสนอโดยสำนักงานอัยการสูงสุดและ บริษัทรักษาความปลอดภัยของเม็กซิโก รวมถึงไนท์คลับแห่งหนึ่งในบาร์เซโลนา



Create Date : 06 มิถุนายน 2553
Last Update : 6 มิถุนายน 2553 14:41:12 น.
Counter : 755 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend