อุกกาบาตขนาดเท่าที่เคยถล่มทังกัสกา ผ่านโลกเฉียดฉิว
อุกกาบาตขนาดเท่าที่เคยถล่มทังกัสกา ผ่านโลกเฉียดฉิว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2552 00:23 น.

เหตุการณ์น่าหวาดเสียวผ่านโลกไปเมื่อคืนวัน จันทร์ที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา เมื่ออุกกาบาตขนาดเท่าตึก 10 ชั้น เข้าใกล้โลกในระยะห่างจากวงโคจรดาวเทียมแค่เท่าตัว และยังมีขนาดพอๆ กับอุกกาบาตที่ถล่มทังกัสกาเมื่อ 100 ปีก่อน แต่นักดาราศาสตร์บอกว่า ไม่มีความเสี่ยงที่จะชนโลก หรืออุกกาบาตที่พุ่งสู่โลกก็จะถูกเผาไหม้หรือระเบิดกลางอากาศเสียก่อน

ตามรายงานของสเปซด็อทคอมระบุว่า อุกกาบาต 2009 ดีดี45 (2009 DD45) ได้เข้าใกล้โลกมากที่สุดเมื่อค่ำวันที่ 2 มี.ค.52 เวลาประมาณ 20.40 น.ตามเวลาประเทศไทย โดยเข้าใกล้โลกที่สุดในระยะ 72,000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะประมาณ 2 เท่าของระยะวงโคจรดาวเทียมสื่อสารจากพื้นโลก

วัตถุนอกโลกดังกล่าวมีความกว้างประมาณ 35 เมตรหรือประมาณตึก 10 ชั้น ซึ่งใหญ่กว่าอุกกาบาตที่ถล่มป่าทังกัสกาในไซบีเรียเล็กน้อย โดยเหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นเมื่อปี 2451 ทำให้พื้นที่ป่ากว่า 2,000 ตารางกิโลเมตรถูกเผาเรียบ

อย่างไรก็ดี นักดาราศาสตร์ทราบแล้วว่า อุกกาบาตจะเข้ามาใกล้โลก และเผยว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะพุ่งชนโลก ขณะเดียวกันก็มีอุกกาบาตอื่นๆ อีกที่เข้าใกล้โลกมากกว่านี้ และแน่นอนบ้างครั้งก็เข้าโหม่งโลก แม้แต่อุกกาบาตขนาดเท่าๆ กับรถยนต์ก็พุ่งชนโลกปีละหลายๆ ลูก แต่ส่วนมากจะถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศและตกลงสู่มหาสมุทร ซึ่งกินพื้นที่ 2 ใน 3 ของโลก

นักวิทยาศาสตร์คาดว่า อุกกาบาตที่มีขนาดพอๆ กับอุกกาบาตที่ถล่มป่าทังกัสกานั้น อาจพุ่งสู่โลกในทุกๆ 2 ศตวรรษ และเมื่อหินจากอวกาศนี้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก อุกกาบาตลูกเล็กจะแตกสลายและระเบิดก่อนที่จะได้ตกกระทบโลก แต่หากมีสักลูกหลุดรอดมาตกกระทบหรือระเบิดเหนือเมืองใดเมืองหนึ่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็เป็นความเสียหายเฉพาะเมืองนั้นๆ




Create Date : 04 มีนาคม 2552
Last Update : 4 มีนาคม 2552 20:12:12 น.
Counter : 612 Pageviews.

0 comment
นักวิทย์ผู้ดีสะดุด มะกันชี้สเต็มเซลล์ตัวอ่อนลูกผสม "คน-สัตว์" ไม่ดีอย่างที่คิด
นักวิทย์ผู้ดีสะดุด มะกันชี้สเต็มเซลล์ตัวอ่อนลูกผสม "คน-สัตว์" ไม่ดีอย่างที่คิด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2552 08:17 น.

งาน วิจัยสเต็มเซลล์ตัวอ่อนลูกผสมของนักวิจัยเมืองผู้ดีทำท่าว่าจะไปได้สวย แต่ล่าสุดมีผลการศึกษาใหม่ออกมาชี้ว่า ตัวอ่อนลูกผสมที่นำดีเอ็นเอของมนุษย์ไปใส่ในเซลล์สัตว์ ปรากฏว่าไม่ได้ช่วยสร้างสเต็มเซลล์ตัวอ่อนที่มีประสิทธิภาพได้อย่างที่คิด เพราะพบความผิดปรกติของยีน

ดร.โรเบิร์ต แลนซา (Dr.Robert Lanza) นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีเซลล์ขั้นสูง (Advanced Cell Technology) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ออกมาเผยผลการวิจัยที่พบว่า การสร้างตัวอ่อนลูกผสมระหว่างคนกับสัตว์ หรือไฮบริดเอมบริโอ (hybrid embryo) เพื่อเป็นแหล่งเก็บเกี่ยวสเต็มเซลล์ตัวอ่อนสำหรับใช้งานวิจัยนั้น ไม่ใช่วิธีการสร้างสเต็มเซลล์ตัวอ่อนที่มีประสิทธิภาพ เพราะสเต็มเซลล์ที่ได้มียีนผิดเพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งได้ตีพิมพ์ผลวิจัยดังกล่าวในวารสารโคลนนิงและสเต็มเซลล์ (Cloning and Stem Cells) เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ทีมวิจัยของ ดร.แลนซา ได้ทดลองสร้างตัวอ่อนมนุษย์และตัวอ่อนลูกผสม โดยนำดีเอ็นเอของมนุษย์ใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ของมนุษย์, วัว และกระต่าย ที่ได้นำดีเอ็นเอเดิมออกไปแล้ว จากนั้นเพาะเลี้ยงให้เจริญเป็นตัวอ่อนในระยะต้นๆ

เมื่อตรวจสอบยีนในตัวอ่อนแต่ละกลุ่ม โดยใช้เทคนิคใหม่ที่ช่วยวิเคราะห์การแสดงออกของยีนทั้งหมด (global gene expression analysis) เพื่อดูว่ายีนไหนทำงานหรือไม่ พบ ว่ายีนของตัวอ่อนที่ได้จากเซลล์ไข่ของมนุษย์ มีรูปแบบการทำงานเหมือนกับตัวอ่อนมนุษย์ปรกติทั่วไป ทว่ายีนของตัวอ่อนที่มาจากเซลล์ไข่ของสัตว์ กลับมีรูปแบบแตกต่างออกไปมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้ไข่ของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์อื่นส่งผลให้หลายยีนในตัวอ่อนไม่ทำงาน

ด้านเอียน วิลมุต (Ian Wilmut) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh) สกอตแลนด์ ผู้โคลนนิงแกะดอลลี และบรรณาธิการวารสารเล่มดังกล่าว ระบุในรอยเตอร์สว่า ผลวิจัยของ ดร.แลนซา สร้างความผิดหวังให้กับนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

ส่วน ดร.แลนซา เองก็ได้เสนอแนะว่า ยังอาจมีวิธีอื่นที่ช่วยสร้างสเต็มเซลล์ที่เข้ากันได้กับเนื้อเยื่อของผู้ ป่วย ซึ่งรวมถึงการโคลนนิงตัวอ่อนมนุษย์โดยใช้เซลล์ของตัวอ่อนที่ได้จากการทำเด็ก หลอดแก้ว และการเหนี่ยวนำให้สเต็มเซลล์ในผู้ใหญ่ย้อนกลับไปเป็นสเต็มเซลล์ตัวอ่อน

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สเต็มเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์มีศักยภาพในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่เซลล์ไข่ของผู้หญิง ที่จะนำมาใช้สร้างตัวอ่อนเพื่อการวิจัยและผลิตสเต็มเซลล์ ที่เข้ากันได้กับผู้ป่วยนั้นหายาก นักวิจัยจึงเกิดแนวคิดการนำเซลล์ไข่ของสัตว์ที่หาได้ง่ายกว่ามาใช้ทดแทน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษก็ได้อนุญาตให้นักวิจัยทำการทดลองดังกล่าวได้เมื่อปีที่ ผ่านมา

อย่างไรก็ดี สตีเฟน มินเจอร์ (Stephen Minger) จากคิงส์คอลเลจ ลอนดอน (King's College London) หนึ่งในนักวิจัยที่ได้รับอนุญาตให้ทำโคลนนิงตัวอ่อนลูกผสมเพื่องานวิจัย ได้อ้างถึงผลการวิจัยฉบับหนึ่งเมื่อปี 2551 ซึ่งรายงานว่ายีนสำคัญๆ ในตัวอ่อนที่สร้างจากเซลล์ไข่ของวัวก็ทำงานได้เช่นกัน แม้ว่าอาจจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าก็ตาม และยังสรุปด้วยว่าเซลล์ไข่ของวัวสามารถนำมาใช้ได้หากมีการพัฒนาเทคนิคให้ดี ยิ่งขึ้น

มินเจอร์ยังได้กล่าวถึงผลวิจัยของแลนซาว่า เขาอาจจะพิจารณาตัวอ่อนที่พัฒนาในระยะต้นเกินไป ทำให้ผลที่ออกมาเป็นอย่างนั้น ขณะที่แลนซาเองก็โต้แย้งว่าผลงานวิจัยที่มินเจอร์นำมากล่าวอ้างนั้นไม่น่าเชื่อถือ.




Create Date : 04 มีนาคม 2552
Last Update : 4 มีนาคม 2552 20:11:31 น.
Counter : 618 Pageviews.

0 comment
แจกซาได้ 2 นักบิน ขนการทดลองสู่ "คิโบ" แล็บใหม่บนสถานีอวกาศ
แจกซาได้ 2 นักบิน ขนการทดลองสู่ "คิโบ" แล็บใหม่บนสถานีอวกาศ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2552 12:24 น.


แจกซาคัดนักบินอวกาศเพิ่มขึ้นอีก 2 คน และจะร่วมฝึกหนักกับนาซา เม.ย.นี้ ก่อนเตรียมขนการทดลองวิทยาศาสตร์ ขึ้นไปทดลองในคิโบบนสถานีอวกาศ คาดเที่ยวบินแรกเริ่มต้นปลายปี 2556

สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ (Kyodo) ของญี่ปุ่นรายงานว่า องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือ แจกซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) ได้คัดเลือกนักบินอวกาศเพิ่มขึ้นอีก 2 คน คือ ทาคูยะ โอนิชิ (Takuya Onishi) วัย 33 ปี และ คิมิยะ ยูอิ (Kimiya Yui) วัย 39 ปี โดยคน หนึ่งเป็นผู้ช่วยนักบิน จากสายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ (All Nippon Airways) และอีกคนเป็นนักบินจากหน่วยรบป้องกันตัวทางอากาศ (Air Self-Defense Force) ของญี่ปุ่น

ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2542 ที่มีการคัดเลือกนักบินอวกาศคนใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งถึงตอนนี้ แจกซามีนักบินอวกาศในสังกัดทั้งหมด 10 คนแล้ว โดยรวมทั้ง มาโมรุ โมริ (Mamoru Mori) นักบินอวกาศที่เกษียณไปแล้วด้วย

สำหรับนักบินคนใหม่ทั้ง 2 ของแจกซา จะเข้าร่วมการฝึกอย่างโชกโชนกับองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ในเดือน เม.ย.นี้ และหลังจากได้รับการรับรอง ให้เป็นนักบินอวกาศแล้ว ทั้ง 2 ก็จะนำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไปทดลองบนห้องปฏิบัติการอวกาศคิโบ (Kibo) ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถานีอวกาศนานาชาติด้วย ซึ่งตามคำแถลงของแจกซา คาดว่า เที่ยวบินอวกาศเที่ยวบินแรกจะเป็นช่วงปลายปี 2556 นี้

แจกซาได้ประกาศรับนักบินอวกาศตั้งแต่ เม.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้สมัครทั้งหมด 963 คน และโอนิชิกับยูอิ ได้รับการคัดเลือกภายหลังการรับการฝึกฝนภาษาอังกฤษและการทดสอบความรู้ด้าน อื่นๆ อย่างหนัก รวมทั้งการตรวจสอบทางการแพทย์และสุขภาพจิตด้วย.



Create Date : 03 มีนาคม 2552
Last Update : 3 มีนาคม 2552 20:19:13 น.
Counter : 550 Pageviews.

0 comment
นาซาชวนโหวตชื่อ "โหนดใหม่" ของสถานีอวกาศ







โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2552 12:26 น.

















































ส่วนหน้าของโหนด 3 (ภาพประกอบทั้งหมดจากเว็บไซต์นาซา)












ส่วนหลังของโหนด 3











โดมสำหรับสำรวจโลกและอวกาศที่มีอยู่ 6 หน้าต่าง











ภาพจำลองบรรยากาศภายในโดม



นาซาชวนร่วมโหวตชื่อให้ "โหนดใหม่"
ของสถานีอวกาศ ที่จะส่งขึ้นไปติดตั้งปลายปีนี้ โดยเสนอ 4 รายชื่อให้เลือก
ปิดโหวต 20 มี.ค.นี้ และนับเป็นครั้งที่ 2 ที่องค์การอวกาศสหรัฐฯ
เปิดให้คนนอกร่วมโหวตชื่อส่วนเชื่อมต่อของสถานีอวกาศ


องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)
ชวนประชาชนร่วมโหวตชื่อสำหรับ "โหนด 3" (node 3)
ซึ่งเป็นส่วนใหม่ของสถานีอวกาศที่จะส่งขึ้นไปติดตั้งปลายปี 2552 นี้
โดยเสนอ 4 ชื่อให้เลือกและร่วมโหวตผ่านเว็บไซต์ //www.nasa.gov/externalflash/name_ISS/index.html ได้แก่ เอิร์ธไรส์ (Earthrise) เลกาซี (Legacy) เซเรนิตี (Serenity) และเวนเจอร์ (Venture) โดยจะปิดโหวต 20 มี.ค.นี้


       สเปซด็อทคอมรายงานว่า โหนด 3 นั้น
ประกอบไปด้วยหลังคาทรงโดมหรือดาดฟ้าสำหรับสังเกตการณ์
ซึ่งจะติดตั้งเข้ากับโมดูลของสถานีอวกาศ
ช่วยให้นักบินอวกาศมองเห็นภาพของโลกและอวกาศได้ดี โดยโดมดังกล่าวมี 6
หน้าต่างซึ่งช่วยให้ผู้ปฏิบัติการซึ่งประจำตำแหน่งในสถานีปฏิบัติการที่ทำ
งานด้วยระบบหุ่นยนต์ สามารถควบคุมแขนกลของสถานีอวกาศที่มีความยาวถึง 57
ฟุตได้อย่างดีเยี่ยม


       ทั้งนี้ โหนดใหม่ของสถานีอวกาศจะถูกส่งขึ้นประมาณ ธ.ค.ปีนี้
โดยโครงสร้างหลักของโหนดมีชั้นขนาดประมาณตู้เย็นอยู่ 8 ชั้น
ซึ่งจะเป็นห้องสำหรับระบบอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของสถานีจำนวนมาก
ซึ่งภายหลังติดตั้งแล้ว
ลูกเรือของสถานีสามารถขนย้ายระบบมากมายเข้าไปในโมดูลใหม่นี้ได้ อาทิ
เครื่องกำหนดก๊าซออกซิเจน และระบบหมุนเวียน เป็นต้น
ส่วนห้องน้ำของนักบินอวกาศก็มีความคล้ายคลึงกับที่พบได้ในบ้าน


       ก่อนหน้านี้ นาซาได้จัดให้มีการประกวดตั้งชื่อโหนด 2
ซึ่งมีนักเรียน-นักศึกษาร่วมแข่งขันประมาณ 2,200 คน
และสำหรับชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากผลโหวตนี้ จะประกาศให้ทราบในวันที่
28 เม.ย. ณ ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ของนาซาในฟลอริดา
สหรัฐฯ


       "ชื่อของโหนดใหม่นี้
ควรเป็นชื่อที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณในการสำรวจและการร่วมตัวเพื่อสร้างความ
ร่วมมือสร้างสถานีอวกาศ โดยชื่อโหนดแรกคือ "ยูนิตี" (Unity) และ
โหนดที่สองคือ "ฮาร์โมนี" (Harmony)"
สเปซด็อทคอมอ้างรายงานผ่านเว็บไซต์ของนาซา







Free TextEditor



Create Date : 03 มีนาคม 2552
Last Update : 3 มีนาคม 2552 20:18:23 น.
Counter : 635 Pageviews.

0 comment
"ไซเชเดลิกา" ปลาหน้าตาเหมือนกบ สปีชีส์ใหม่ในทะเลอินโด







โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2552 12:34 น.

















































หน้าตาประหลาดๆ ปลาสปีชีส์ใหม่ (ภาพประกอบจากเอพี)












ภาพประกอบจากบีบีซีนิวส์











ภาพประกอบจาก starknakedfish.com โดยนักดำน้ำชื่อ มาร์ค ชไนเดอร์ (Mark Snyder)











ภาพประกอบจาก starknakedfish.com โดยนักดำน้ำชื่อ มาร์ค ชไนเดอร์ (Mark Snyder)











ภาพประกอบจาก starknakedfish.com โดยนักดำน้ำชื่อ มาร์ค ชไนเดอร์ (Mark Snyder)


ปลาหน้าตาประหลาด สีเหลือง หน้าแบน
มีอวัยวะคล้ายขา ลวดลายเหมือนม้าลาย และชอบกระโดดอยู่บนพื้นทะเลน้ำตื้น
ในเกาะอัมบอนของอินโดนีเซีย
เป็นตระกูลปลากบที่ได้รับการจำแนกสปีชีส์ใหม่จากนักวิจัยวอชิงตัน เป็น
"ไซเชเดลิกา" หลังครูสอนดำน้ำไปพบเมื่อปีก่อน



       เท็ด เพียตส์ช (Ted Pietsch) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
(University of Washington) สหรัฐฯ ได้จำแนกสปีชีส์
ให้กับปลาที่พบบริเวณน้ำตื้นของเกาะอัมบอน ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย
ที่พบโดยครูสอนดำน้ำของบริษัททัวร์เมื่อปีที่แล้ว
และทางบริษัททัวร์ได้ติดต่อมายังศาสตราจารย์แห่งวอชิงตันผู้นี้


       เขาได้ตั้งชื่อปลาชนิดใหม่นี้ว่า "ไซเชเดลิกา" (psychedelica)
และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านวารสารโคเปีย (Copeia)
ของสมาคมนักสัตวศาสตร์ด้านปลาและสมาคมนักสัตวศาสตร์ด้านสัตว์ครึ่งบกครึ่ง
น้ำอเมริกัน (American Society of Ichthyologists and Herpetologists)


       ปลาไซเดลิกามี
หน้าตาประหลาด เด้งได้เหมือนลูกบอลยาง อยู่บริเวณพื้นมหาสมุทร
จัดเป็นปลากบ (frogfish) ชนิดหนึ่ง มีลายรอบตัวเหมือนม้าลายสีน้ำตาลไหม้
และสีลูกพีช ซึ่งพาดยาวจากดวงตาสีน้ำทะเลไปปลายหาง มีขนาดประมาณกำปั้น
ร่างกายปกคลุมด้วยผิวหนังย่นๆ เป็นวุ้นหนาๆ
เพื่อป้องกันอันตรายจากปะการังที่แหลมคม
มีใบหน้าแบนและดวงตามองตรงเหมือนคน อีกทั้งยังมีปากที่อ้าได้กว้าง


       เพียตส์ชจำแนกสปีชีส์ของปลาชนิดใหม่ด้วยดีเอ็นเอ
ซึ่งปลาดังกล่าวจัดอยู่ในจีนัสหรือตระกูลฮิสทิโอฟไรน์ (Histiophryne)
และเช่นเดียวกับปลากบอื่นๆ ที่มีครีบทั้ง 2 ข้างของลำตัว
ซึ่งวิวัฒนาการไปเป็นอวัยวะคล้ายขา


       แต่ก็มีบางพฤติกรรมที่เขาเขียนไว้รายงานว่า แตกต่างไปจากปลากบอื่นๆ
ที่รู้จัก แต่ละครั้งที่ปลากบสปีชีส์ใหม่นี้กระแทกพื้นทะเล
มันก็จะกางครีบออกแล้วพ่นน้ำออกจากเหงือก เพื่อส่งตัวเองให้พุ่งไปข้างหน้า
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาดและดูวุ่นวาย


       "ผม
คิดว่าคนทั่วไปต้องนึกว่าปลากบก็เหมือนๆ กัน อย่างที่รู้จักดีแล้ว
แต่ปลากบชนิดใหม่นี้ เป็นอะไรที่น่าประทับใจจริงๆ มันเป็นสัตว์ที่น่าทึ่ง
และลายพรางของมัน น่าจะเป็นการลอกเลียนปะการัง
อีกทั้งยังเป็นการบอกด้วยว่าความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นี้
มากมายแค่ไหน และความจริงที่ว่ายังมีอะไรที่เราไม่รู้อีกมากที่นี่
ที่อินโดนีเซียและสามเหลี่ยมปะการัง
(Coral Triangle)"
ความเห็นจากมาร์ก เอิร์ดมาน (Mark Erdman)
ที่ปรึกษาอาวุโสจากโครงการทางทะเลขององค์กรอนุรักษ์สากล (Conservation
International).







Free TextEditor



Create Date : 03 มีนาคม 2552
Last Update : 3 มีนาคม 2552 20:17:03 น.
Counter : 834 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend