วิทยุเล็กที่สุดในโลก ขนาดเท่าไวรัส!!
วิทยุเล็กที่สุดในโลก ขนาดเท่าไวรัส!!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 มีนาคม 2552 23:03 น.

นักฟิสิกส์สหรัฐฯ ทำวิทยุเล็กที่สุดในโลก ขนาดเท่าไวรัส จาก "ท่อคาร์บอนนาโน" แท่งเดียวรวมทุกคุณสมบัติที่วิทยุพึ่งมี ทั้งรับคลื่น AM ขยายสัญญาณแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงก่อนส่งออกลำโพง และประเดิมบรรเลงเพลง "ไลลา" ของอิริค แคลปตัน

อเล็กซ์ เซตเทิล (Alex Zettl) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) สหรัฐฯ และ เคนเนธ เจนเซน (Kenneth Jensen) ลูกศิษย์ในที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี ได้ร่วมกับประดิษฐ์วิทยุนาโนจากท่อคาร์บอนนาโน ซึ่งสามารถรับคลื่นเอเอ็ม (AM) และถ่ายทอดสัญญาณเพลง "ไลลา" (Layla) ของอีริค แคลปตัน (Eric Clapton) เป็นเพลงแรกตั้งแต่ปี 2550 โดยสามารถทดลองฟังได้ที่ //www.sciam.com/nanoradio

แต่ทีมวิจัยไม่เปิดเผยผลงานอยู่นาน จนกระทั่งได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารนาโนเลทเทอร์ส (Nano letters) ซึ่งเป็นวารสารวิชาการของสมาคมอเมริกันเคมิคัล (American Chemical Society)

ไซแอนทิฟิกอเมริกันนำเรื่องนี้มามาขยายความ ในบทความฉบับเดือน มี.ค.52 นี้ว่า เซตเทิลและเจนเซนได้ใช้ท่อคาร์บอนนาโนเพียงท่อเดียว ทำหน้าที่รับสัญญาณถ่ายทอดเสียงวิทยุ แล้วขยายสัญญาณ จากนั้นเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียง ก่อนที่จะส่งสัญญาณไปยังลำโพงในรูปเสียง ที่หูมนุษย์สามารถจำแนกได้

ทีมพัฒนายังให้ความเห็นว่า วิทยุจากท่อคาร์บอนนาโนนี้ จะเป็นรากฐานในปฏิวัติการประยุกต์ในด้านต่างๆ ทั้งอุปกรณ์ช่วยฟัง โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นไอพอด (iPod) อีกทั้งยังมีขนาดเล็กพอที่จะใส่ในช่องหูได้ด้วย

ทั้งนี้ วิทยุเกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการผลิตเซนเซอร์ตรวจสอบสภาพแวดล้อม โดยพัฒนาเป็นอุปกรณ์เพื่อนำไปติดตั้งตามโรงงานต่างๆ แล้วส่งรายงานผลตรวจสภาพอากาศในรูปแบบคลื่นวิทยุไปยังจุดที่เลือกรับข้อมูล

เป็นไปได้ว่า อนาคตใครก็ได้เพียงแค่เปิด "กูเกิล" (Google) แล้วเลือกดูข้อมูลสภาพอากาศของเมืองได้ตามเวลาจริง แต่ระหว่างพัฒนาเซนเซอร์ดังกล่าว เจนเซนได้พบว่าท่อคาร์บอนนาโนมีการสั่นที่ความถี่ต่างๆ ซึ่งเซตเทิลเองก็สังเกตเห็นว่าบางความถี่นั้นตรงกับความถี่วิทยุที่ใช้ใน เชิงพาณิชย์

เซตเทิลทราบว่า วิทยุพื้นฐานนั้นมีหัวใจสำคัญอยู่ 4 ส่วน ได้แก่ เสาอากาศที่รับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกรณ์จูนคลื่นสำหรับเลือกความถี่ตามต้องการ เครื่องขยายสัญญาณสัญญาณซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ที่ปรับให้สัญญาณคมชัด และอุปกรณ์ในส่วนที่แยกสัญญาณจากคลื่นพาหะที่ส่งมา จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังลำโพงที่เปลี่ยนสัญญาณให้เป็นเสียงที่สามารถรับ ฟังได้

ท่อคาร์บอนนาโนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิทยุจิ๋วนั้น มีคุณสมบัติเชิงเคมี เรขาคณิตและไฟฟ้าที่ผสมกันอย่างลงตัว ดังนั้นเมื่อว่างไว้ระหว่างขั้วไฟฟ้าก็สามารถให้คุณสมบัติสำคัญทั้ง 4 ของวิทยุได้ด้วยท่อคาร์บอนนาโนอย่างเดียว โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นเสริม

เวทเทิลกับเจนเซนได้เลือกใช้ท่อคาร์บอนนาโนที่มีผนังหลายชั้น (multiwalled tube) เนื่องจากง่ายต่อต่อการวางไว้บนขั้วไฟฟ้า แม้ภายหลังพวกเขาจะได้พัฒนาวิทยุจิ๋วอีกรุ่นที่เป็นคาร์บอนนาโนพนังเดียวก็ ตาม โดยคาร์บอนที่ใช้มีความยาว 50 นาโนเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดพอๆ กับไวรัสเลยทีเดียว

แนวคิดการทำงานของวิทยุจากท่อคาร์บอนนาโนนี้คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งสัญญาณวิทยุเข้ามากระทบกับท่อนาโน ทำให้เกิดการสั่นอย่างมีท่วงทำนองที่เข้าได้กับการสั่นของสันแม่เหล็กไฟฟ้า การสั่นที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันทำให้ท่อคาร์บอนนาโนประพฤติตัวเหมือนเป็นเสาอากาศ แต่ก็มีวิธีที่ต่างไปจากวิทยุแบบเดิมๆ

เครื่องวิทยุทั่วไปมีเสาอากาศรับสัญญาณในรูปไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าคลื่นที่เข้ามานั้นได้เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในเสาอากาศและเสา อากาศก็ยังคงหยุดนิ่ง หากแต่สำหรับวิทยุนาโนแล้ว ท่อนาโนจะเป็นทรงกระบอกและมีประจุหน่อยๆ

ดังนั้นเมื่อมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาก็จะผลักให้ท่อคาร์บอนกลับไป กลับมาหน้า-หลัง และเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างวิทยุจิ๋วส่งสัญญาณนั้น พวกเขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscope: TEM) ซึ่งมีความละเอียดสูงส่องดูพฤติกรรมของท่อคาร์บอนนาโน

" มันมหัศจรรย์มากเลย ผมหมายความว่ามันน่าประทับใจมาก เราสามารถส่องดูท่อนาโน และเห็นข้อเท็จจริงที่ว่า คุณกำลังดูโครงสร้างระดับโมเลกุลนี้สั่น และได้ยินเสียงของมันไปพร้อมๆ กัน มันเป็นอะไรที่เจ๋ง ผมไม่เคยคิดว่าก่อนเลยว่าจะได้มองเห็นการทำงานของวิทยุอย่างนี้" เซตเทิลกล่าว.



Create Date : 02 มีนาคม 2552
Last Update : 2 มีนาคม 2552 20:50:33 น.
Counter : 698 Pageviews.

0 comment
นักวิจัยพยายามไขปริศนา ทำไมสัตว์ส่วนใหญ่ถึงไม่เปลี่ยนเพศ
นักวิจัยพยายามไขปริศนา ทำไมสัตว์ส่วนใหญ่ถึงไม่เปลี่ยนเพศ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2552 15:42 น.

สงสัย กันมานานแล้วว่า ทำไมสัตว์บางชนิดมี 2 เพศในตัวเดียว หรือสามารถเปลี่ยนจากเพศได้ ขณะที่สัตว์ส่วนใหญ่ทำไม่ได้ เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบ จากการศึกษาแบบจำลอง ก็พอจะได้คำอธิบายบ้างว่าเพราะเวลาการเปลี่ยนเพศที่ใช้มากถึง 30% ของชีวิต และการเอาใจใส่ของพ่อแม่ ทำให้สัตว์ใหญ่ยังคงมีเพศเดียว

สัตว์ส่วนใหญ่แยกเพศผู้และเพศเมียออกจากกันชัดเจน แต่ยังมีสัตว์บางชนิด ที่ใช้เวลาช่วงของชีวิตเป็นเพศหนึ่ง และเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็เปลี่ยนไปเป็นอีกเพศได้ ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้เรียกว่า "ซีเควนเชียล เฮอร์แมฟรอไดติซึม" (sequential hermaphroditism) หรือ การสลับเพศของสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียว

เราเรียกลักษณะของการมี 2 เพศในตัวเดียวว่า "กะเทย" ซึ่งปัจจุบันยังเป็นเรื่องน่าพิศวงว่า ทำไมปรากฏการณ์ลักษณะนี้จึงเกิดขึ้นได้ยาก

ไซน์เดลีรายงานผลการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) สหรัฐอเมริกา ที่ศึกษาวิเคราะห์อุบัติการณ์ดังกล่าว ก็แสดงให้เห็นว่า กระบวนการที่สัตว์สามารถเปลี่ยนเพศของตัวเองได้ กลายเป็นรูปแบบที่ได้รับเลือกให้วิวัฒนาการต่อมา

แต่เพราะเป็นรูปแบบที่ไม่ธรรมดา หรือพบได้ทั่วไป ทำให้ไม่สามารถอธิบายได้ ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนทางชีววิทยาเปรียบเทียบกับผลที่ได้รับ

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์การเปลี่ยนเพศ เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ตั้งแต่พืชไปจนถึงปลาบางชนิด ซึ่งจากการที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มานานถึง 4 ทศวรรษ จึงพอจะประเมินได้ว่า ทำไมการเปลี่ยนเพศจึงเป็นพฤติกรรมที่มีความได้เปรียบ หรือเป็นประโยชน์แก่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ทว่าสิ่งที่ยังเป็นคำถามคาใจอยู่ก็คือว่า ทำไมลักษณะแบบนี้จึงไม่พบในสัตว์ส่วนใหญ่

อีเรม คาซานซิโอกลู (Erem Kazancıoglu) นักศึกษามหาวิทยาลัยเยล ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ซูซานเน อลอนโซ (Suzanne Alonzo) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านนิเวศน์วิทยาและชีววิวัฒนาการ สันนิษฐานว่า เวลาหรือพลังงานจำนวนมากที่สัตว์กะเทยใช้ในการเปลี่ยนเพศนั้น อาจไม่เหมาะสมกับสัตว์ส่วนใหญ่

พวกเขาทำการทดลอง โดยสร้างแบบจำลองเชิงทฤษฎีจากข้อมูลของสิ่งมีชีวิตที่มี 2 เพศในตัวเดียว เทียบกับสิ่งมีชีวิตที่แยกเพศชัดเจน พบว่าสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนเพศได้นั้น มีช่วงระยะเวลาในการเปลี่ยนเพศที่หลากหลายไม่แน่นอน

ส่วนพวกที่แยกเพศนั้น มีกลยุทธ์ที่แสดงออกมา โดยการผลิตลูกหลานแต่ละเพศในจำนวนที่แตกต่างกันไป

"เราประหลาดใจมาก ที่พบว่าสิ่งมีชีวิตที่มี 2 เพศในตัวเดียวเสียเวลาถึง 30% ของช่วงชีวิต ให้กับกระบวนการสับเปลี่ยนเพศ และยังคงลักษณะเช่นนี้ไว้ ในประชากรของพวกมัน และนี่ก็บอกได้บ้างแล้วว่า เฉพาะแค่เวลาที่สูญเสียไปเป็นจำนวนมากมาย ก็ทำให้การเปลี่ยนเพศไม่ได้รับการยอมรับในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่" นักวิจัยอธิบายเหตุผล

ฉะนั้น ทำไมพฤติกรรมการเปลี่ยนเพศ จึงเป็นลักษณะที่พบได้ยาก และทำไมปลาสปีชีส์หนึ่งถึงได้มีระบบสืบพันธุ์ที่แยกเพศชัดเจน ขณะที่อีกสปีชีส์หนึ่งที่ใกล้ชิดกันมาก จึงยอมให้มีการเปลี่ยนเพศได้นั้น

จากการศึกษาเปรียบเทียบระบบการจับคู่เพื่อสืบพันธุ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มี 2 เพศในตัวเดียว กับที่แยกเพศคนละตัว ให้ข้อมูลบางอย่างว่า พฤติกรรมเกี่ยวกับการสืบพันธุ์บางอย่าง เช่น การดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ ดูเหมือนเป็นการปฏิเสธการเปลี่ยนเพศได้ในสัตว์บางสปีชีส์

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยกำลังพิสูจน์กันอยู่ว่า รูปแบบของการสืบพันธุ์ที่พบโดยทั่วไป จะสามารถอธิบายได้หรือไม่ว่า ทำไมปรากฏการณ์เปลี่ยนเพศจึงหาได้ยาก ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ผลการพิสูจน์จะอธิบายข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน

รายงานผลการศึกษาครั้งนี้ จะได้รับการเผยแพร่ในวารสาร เดอะ อะเมริกัน เนเชอรัลลิสต์ (The American Naturalist) ในเร็วๆ นี้.




Create Date : 02 มีนาคม 2552
Last Update : 2 มีนาคม 2552 20:49:24 น.
Counter : 637 Pageviews.

0 comment
“ดาวเทียมฉางเอ๋อ-1” ชนดวงจันทร์ สิ้นสุดภารกิจ 16 เดือน
“ดาวเทียมฉางเอ๋อ-1” ชนดวงจันทร์ สิ้นสุดภารกิจ 16 เดือน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2552 10:31 น.

เอเจนซี –ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ “ฉางเอ๋อ-1” ถูกควบคุมให้ชนดวงจันทร์เมื่อวันอาทิตย์ (1 มี.ค.) ที่ผ่านมา สิ้นสุดภารกิจการเดินทางสำรวจและจัดทำแผนที่พื้นผิวดวงจันทร์ลงโดยสมบูรณ์

คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศเผย “ฉางเอ๋อ-1” ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ดวงแรกที่จีนส่งขึ้นไปเพื่อถ่ายรูปพื้นผิวดวงจันทร์ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2550 ได้ร่วงชนดวงจันทร์เมื่อวันอาทิตย์เวลา 16.13 น.ตามเวลาท้องถิ่น สิ้นสุดภารกิจยาวนานถึง 16 เดือนภายใต้การควบคุมของศูนย์ควบคุมการบินอวกาศที่ปักกิ่ง

ด้านนายหู ฮ่าว ผู้อำนวยการศูนย์โครงการสำรวจดวงจันทร์ก็เคยให้สัมภาษณ์เมื่อครั้งยิงดาว เทียมตัวนี้ว่า ฉางเอ๋อ-1 ถูกออกแบบมาให้มีอายุขัย 1 ปี หมายความว่าจะมีเชื้อเพลิงเพียงพอสำหรับ 1 ปีเท่านั้น

“ใน วงโคจรที่ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์ 200 กิโลเมตรนี้ ดาวเทียมจำเป็นต้องมีการปรับทิศหรือองศา รวมไปถึงการใช้เครื่องมือต่างๆในการทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะสิ้นเปลืองพลังงานทั้งสิ้น และเมื่อเชื้อเพลิงในตัวดาวเทียมหมดลง เราก็จะไม่สามารถควบคุมมันได้อีก สุดท้ายมันก็จะตกลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์” หูระบุ

ทั้งนี้ ดาวเทียมฉางเอ๋อถูกส่งขึ้นอวกาศด้วยจรวดลองมาร์ช 3เอ โดยโครงการฉางเอ๋อ ประกอบด้วยปฏิบัติการ 3 ชุด สำหรับขั้นต่อไปคือ การส่งยานท่องดวงจันทร์ที่ไร้มนุษย์ไปเก็บก้อนหินบนพื้นดวงจันทร์ในปี 2555 และปฏิบัติการขั้นสาม คือส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ ซึ่งขณะนี้ จีนได้เล็งไว้ที่ปี 2563




Create Date : 02 มีนาคม 2552
Last Update : 2 มีนาคม 2552 20:44:03 น.
Counter : 656 Pageviews.

0 comment
ดวลปืน "เฟอร์มิแล็บ-เซิร์น" ตามล่าหา "อนุภาคพระเจ้า" ใครจะเจอก่อนกัน?
ดวลปืน "เฟอร์มิแล็บ-เซิร์น" ตามล่าหา "อนุภาคพระเจ้า" ใครจะเจอก่อนกัน?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2552 10:17 น.


อาจจะไม่เร้าใจ เหมือนการดวลปืนของคาวบอย แต่การแข่งขันตามล่าหา "ฮิกกส์" ของห้องปฏิบัติการ "เฟอร์มิแล็บ" จากฟากสหรัฐฯ และ "เซิร์น" จากฝั่งยุโรป ก็สร้างความตื่นเต้นให้กับบรรดานักฟิสิกส์ไม่น้อย

สำนักข่าวเอพีระบุว่า ท้ายที่สุดแล้ว เครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (Tevatron) ของห้องปฎิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคเฟอร์มิแห่งสหรัฐอเมริกา (Fermi National Accelerator Laboratory) หรือเฟอร์มิแล็บ (Fermilab) ในชานเมืองชิคาโก สหรัฐฯ กับเครื่องอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) ของเซิร์น (CERN) ล้วนแข่งขัน เพื่อหาหลักฐานที่สนับสนุนการมีอยู่ของอนุภาคที่เรียกว่า "ฮิกก์ส" (Higgs) หรือที่รู้จักกันว่า "อนุภาคพระเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นอนุภาคที่ก่อมวลให้กับสสารที่สร้างขึ้นเป็นเอกภพ

"อนุภาคดังกล่าว กลายเป็นเหมือนจอกศักดิ์สิทธิ์ของวงการฟิสิกส์พลังงานสูงมากว่า 30 ปี" โจ ลิคเกน (Joe Lykken) นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของเฟอร์มิแล็บให้ความเห็น

เอพีระบุต่อว่าเพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ปรากฏหลักฐานว่า อนุภาคฮิกกส์จะได้รับการค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์จากเซิร์นซึ่งประจำอยู่ที่เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีไม่ ใช่ที่เฟอร์ลิแล็บ ซึ่งลิคเกนก็ยอมรับว่า ผู้คนต่างหัวเราะในแนวคิดที่เฟอร์มิแล็บจะค้นพบอนุภาคฮิกกส์ โดยเครื่องเร่งอนุภาคของสหรัฐฯ เองก็ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อตามหาอนุภาคฮิกก์ส

ทั้งนี้ เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี ซึ่งปัจจุบันคือเครื่องเร่งอนุภาคให้ชนกันขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีสมรรถนภาพสูงกว่าเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอนมาก อีกทั้งยังเริ่มเดินเครื่องได้อย่างประทับใจคนทั่วโลกเมื่อเดือน ก.ย.ปีที่ผ่านมา โดยยิงลำอนุภาคโปรตอนด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เข้าสู่ท่อลำเลียงลำอนุภาคของเครื่องเร่งในทิศทางตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกา

อย่างไรก็ดี เพียงอาทิตย์กว่าๆ ให้หลังก็ต้องหยุดเดินเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี เนื่องจากเกิดความเสียหายครั้งใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากความผิดพลาดในการต่อสายไฟจนเป็นเหตุให้อุปกรณ์หลอมละลาย แต่ในเดือนนี้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเผยว่า ได้ซ่อมแซมและเพิ่มความปลอดภัยเพื่อป้องกันไฟไหม้อีกครั้ง โดยจะแล้วเสร็จในปลายเดือน ก.ย.นี้

ทางด้านนักวิทยาศาสตร์เฟอร์มิแล็บกล่าวว่า เครื่องเร่งอนุภาคของพวกเขาก็เดินเครื่องไปได้ดี ซึ่งเพิ่มความหวังในการทดลองที่จะเกิดขึ้น คือการยิงลำอนุภาคโปรตรอนให้ชนกับลำปฏิโปรตรอน (antiproton) ว่าจะให้ผลเป็นอนุภาคฮิกก์สออกมา และดูเหมือนว่าการทดลองดังกล่าว จะเป็นหนทางในการใช้เงินอย่างชาญฉลาดด้วย

" เรากำลังพิจารณางบประมาณมหาศาล ที่ถูกตัดออกไปเมื่อปีก่อน และตอนนี้เรามีความหวังที่จะได้รับงบกระตุ้นเศรษฐกิจ และกำลังเร่งรีบที่จะหาวิธีใช้ประโยชน์เครื่องเร่งอนุภาคของเราให้ได้มากที่ สุด" ลิคเกนกล่าว

ส่วน ดีมิทรี เดนิซอฟ (Dmitri Denisov) นักวิทยาศาสตร์ของเฟอร์มิแล็บกล่าวว่า มี ความเป็นไปได้ ที่เป็นเฟอร์มิแล็บจะพบอนุภาคฮิกก์สอยู่ 50-90% และเชื่อว่าพวกเขามี "ของจริง" และโอกาสที่พิจารณาอย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้ว คาดว่าจะพบอนุภาคฮิกก์สได้ก่อนปี 2553 หรือ 2554

ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับในสังคมวิทยาศาสตร์ว่า การค้นพบอนุภาคฮิกก์สจะทำให้ผู้ค้นพบได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

"เรามีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งนี้จริงๆ เพื่อมีโอกาสดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมค้นหาที่บ้าคลั่ง" ความเห็นของ จาโคโบ โกนิกส์เบิร์ก (Jacobo Konigsberg) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida) ซึ่งทำงานอยู่ที่เฟอร์มิแล็บ

อย่างไรก็ตาม เขาและนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ซึ่งรวมทั้งผู้ทำงานที่เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี ได้ลดความสำคัญที่จะพูดเรื่องการแข่งขันลง แต่พุ่งเป้าไปยังงานที่นักวิทยาศาสตร์ต้องทำว่ามากเพียงใด รวมถึงความร่วมในการแบ่งปันข้อมูลกันโดยไม่ลังเล

ความเป็นมิตรระหว่างนักวิทยาศาสตร์จาก 2 ห้องปฏิบัติการ ที่แข่งขันหาสิ่งเดียวกันฉายชัดในเดือน ก.ย.ปีที่ผ่านมา เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของเฟอร์มิแล็บเอง ต่างก็ลุ้นอย่างใจจดใจจ่อ กับการทดสอบเดินเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีครั้งใหญ่และครั้งแรก โดยที่แต่ละคนยังอยู่ในชุดนอน

"มันไม่ใช่การแข่งขัน จริงๆ นะ" ความเห็นของ ฮาร์วีย์ นิวแมน (Harvey Newman) ศาสตราจารย์ฟิสิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย หรือ คาลเทค (Caltech) ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่นำให้เกิดการวิจัยที่เซิร์น และกล่าวว่า เครื่องเร่งอนุภาคของเฟอร์มิแล็บ มีกำลังเพียงพอที่จะแสดงความเป็นไปได้ของอนุภาคฮิกก์ส แต่ไม่ได้ให้ความมั่นใจว่าสิ่งที่ค้นหาได้นั้นคือการค้นพบ ซึ่งเป็นสิ่งที่พ้องกับความเห็นของลิคเกน เพียงแต่บางรายละเอียดต่างไป

"เทวาตรอนไม่อาจชี้ชัดในที่สุดได้ และเรายังต้องการแอลเอชซี ให้ฟันธงว่าสิ่งที่ค้นพบนั้นคือฮิกก์สจริงๆ แต่ หากเฟอร์มิแล็บค้นพบมากอย่างที่น่าจะเป็นฮิกก์สได้จริงๆ ปฏิกริยาที่ตามมาคงคล้ายแฟนทีมเบสบอลแสดงออกต่อชนะของทีมในดวงใจ และจะเป็นชัยชนะอันเหลือเชื่อสำหรับโครงการของสหรัฐฯ ที่ใช้เครื่องเร่งอนุภาคพลังงานต่ำที่เฟอร์มิแล็บ แล้วสร้างการค้นพบนี้" ลิคเกนกล่าว.




Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2552 20:07:18 น.
Counter : 673 Pageviews.

0 comment
ฟอสซิลปลาดึกดำบรรพ์ชี้ พฤติกรรมจับคู่ผสมพันธุ์มีมานานกว่าที่คาด
ฟอสซิลปลาดึกดำบรรพ์ชี้ พฤติกรรมจับคู่ผสมพันธุ์มีมานานกว่าที่คาด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2552 14:30 น.

ศึกษา ฟอสซิลปลาโบราณในออสซี ที่พบมานานกว่าสิบปีได้หลักฐานใหม่ ที่แท้กระดูกในท้องเป็นของลูกปลาที่ยังไม่เกิด ไม่ใช่กระดูกของเหยื่ออย่างที่คาด นักวิจัยระบุมีการปฏิสนธิภายในแม่ปลา ชี้รูปแบบการผสมพันธุ์แบบจับคู่แล้วตัวผู้ปล่อยสเปิร์มเข้าไปในตัวเมียมีมา แต่ยุคแรกๆ และนานกว่าที่คิด

ทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษและออสเตรเลีย ร่วมกันศึกษาฟอสซิลของปลาพลาโคเดิร์ม (placoderm) สปีชีส์ อินคิสออสคูตัม ริตชิอี (Incisoscutum ritchiei) อายุราว 380 ล้านปี ที่พบในบริเวณแหล่งขุดค้นโกโก (Gogo) ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย ผลปรากฏว่า กระดูกในท้องฟอสซิลปลาเป็นของปลาตัวอ่อน

นับเป็นข้อมูลใหม่ที่ชี้ว่า ปลาดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ มีการจับคู่ผสมพันธุ์แบบเกิดการปฏิสนธิภายในปลาตัวเมีย ซึ่งแต่เดิมคิดว่าวิธีผสมพันธุ์แบบนี้วิวัฒนาการขึ้นหลังจากนั้นอีกหลายสิบ ล้านปี โดยได้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารเนเจอร์ (Nature) เมื่อเร็วๆนี้ ตามที่ระบุในสำนักข่าวเอพี

ทั้งนี้ ปลาพลาโคเดิร์มเป็นปลาในยุคดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่ในยุคดีโวเนียน (Devonian : ราว 417-350 ล้านปีก่อน) ซึ่งเป็นยุคของปลา (The Age of Fish) และฟอสซิลของปลาดังกล่าวนั้นพบตั้งแต่ช่วงปี 2529 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นฟอสซิลของบรรพบุรุษสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เก่า แก่ที่สุดในขณะนี้

บีบีซีนิวส์รายงานว่าแรก เริ่มเดิมที นักวิจัยคะเนว่าปลาพลาโคเดิร์มตัวนี้ตายลงหลังจากที่กินอาหารมื้อสุดท้าย และเชื่อว่ากระดูกที่พบอยู่ในท้องก็คือเหยื่อตัวสุดท้ายที่กินเข้าไป แต่หลังจากที่ศึกษาใหม่อย่างละเอียด กระดูกที่คิดว่าเป็นของเหยื่อพลาโคเดิร์มนั้นแท้ที่จริงก็คือลูกปลา พลาโคเดิร์มที่ยังอยู่ในท้องแม่นั่นเอง

นอกจากนั้น นักวิจัยยังได้ศึกษาและวิเคราะห์กระดูกเชิงกรานของปลาพลาโคเดิร์มใหม่อีก ครั้ง จากตัวอย่างฟอสซิลของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (Natural History Museum) ในกรุงลอนดอน อังกฤษ และพิพิธภัณฑ์วิคตอเรีย (Museum Victoria) ในเมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทำให้ได้ข้อมูลใหม่ เกี่ยวกับการปฏิสนธิของปลาพลาโคเดิร์ม โดยพบว่ากระดูก เชิงการของเพศผู้มีครีบที่ไม่พบในเพศเมีย ซึ่งเรียกครีบนั้นว่า คลาสเปอร์ (clasper) และสันนิษฐานว่าพลาโคเดิร์มตัวผู้มีไว้สำหรับยึดเกาะตัวเมียในขณะจับคู่ผสม พันธุ์เพื่อปล่อยสเปิร์มเข้าในผสมกับไข่ที่อยู่ในตัวเมีย คล้ายกับการผสมพันธุ์ของฉลามในปัจจุบันซึ่งมีอวัยวะส่วนที่คล้ายกับที่พบในพลาโคเดิร์มเช่นกัน

"พลาโคเดิร์มเพศผู้ มีกระดูกชิ้นพิเศษขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับกระดูกเชิงกราน ซึ่งเรามองข้ามไปในตอนแรกและไม่ได้แยกแยะมันออกจากกัน และเมื่อเราทำความเข้าใจกับกระดูกเชิงกรานของปลาชนิดนี้ใหม่ ทำให้เรารู้ว่าพวกมันมีการจับคู่ผสมพันธุ์กัน" จอห์น ลอง (John Long) นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์วิคตอเรีย หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

ด้านเซรินา โจแฮนสัน (Zerina Johanson) นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในลอนดอน นักวิจัยอีกคนที่ร่วมศึกษากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์เคยคาดคะเนกันว่าปลาโบราณชนิดนี้ มีรูปแบบการสืบพันธุ์เป็นแบบดั้งเดิมที่ปลาตัวผู้และตัวเมียปล่อยสเปิร์มและ ไข่ออกมาผสมกันและเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนในน้ำ หรือที่เรียกว่าปฏิสนธิภายนอก

ทว่าจากที่ได้ศึกษากันใหม่พบว่า ปลา พลาโคเดิร์มมีการปฏิสนธิกันแบบขั้นสูงขึ้น ที่ปลาตัวผู้และตัวเมียจับคู่ผสมพันธุ์กัน โดยปล่อยสเปิร์มเข้าไปและเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนขึ้นภายในปลาตัวเมีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการผสมพันธุ์แบบนี้เกิดขึ้นในปลายุคแรกๆ มานานกว่าที่เราเคยสันนิษฐานกัน และการปฏิสนธิภายนอกอาจไม่ใช่รูปแบบการผสมพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างที่ เคยคาดกันไว้ และเป็นไปได้ว่ามีวิวัฒนาการแบบนี้เกิดขึ้นในปลาชนิดอื่นด้วยเช่นกัน

"การค้นพบครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างเหลือเชื่อทีเดียว เพราะหลักฐานทางชีววิทยาการสืบพันธุ์นั้นหาจากฟอสซิลได้ยากยิ่ง" โจแฮนสัน ระบุในบีบีซีนิวส์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์มี กระดูกสันหลัง ที่มีขากรรไกรจากฟอสซิลดังกล่าวกันต่อไป รวมทั้งศึกษาด้วยว่าปลาพลาโคเดิร์มนี้มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับพวกฉลามและ กระเบน หรือปลากระดูกแข็ง เช่น ทูน่า มากกว่ากัน.




Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2552 20:06:38 น.
Counter : 556 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend