งาช้างแมมมอธแคระยาว 4 ฟุต โผล่บนเกาะซานตาครูซ
งาช้างแมมมอธแคระยาว 4 ฟุต โผล่บนเกาะซานตาครูซ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2552 11:48 น.


ภาพฟอสซิลที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นงาของแมมมอธแคระ ซึ่งพบบนเกาะซานตาครูซ นอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย เมื่อต้นเดือน ม.ค. 52 (เอพี)


Free TextEditor

นัก วิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ฉงนกันใหญ่ เมื่อพบฟอสซิลส่วนงาของแมมมอธแคระ บนเกาะซานตาครูซ เผยให้เห็นว่าแมมมอธแคระมีพื้นที่อาศัยกว้างไกลกว่าที่เคยคิด แต่นักวิจัยบางคนแย้งว่าอาจไม่ใช่งาแมมมอธ แต่เป็นฟอสซิลของสัตว์ทะเลบางชนิด

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทีมนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) ในเมืองซานตา บาร์บารา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ได้ค้นพบงาของแมมมอธโดยบังเอิญ ภายในหุบเขาบนเกาะซานตาครูซ (Santa Cruz Island) ที่อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ซึ่งสำนักข่าวเอพีรายงานว่า ในบริเวณใกล้กันยังพบฟอสซิลคล้ายกระดูกซี่โครงและโคนขาด้วย

"เราไม่เคยพบมาก่อนเลยว่า จะเคยมีแมมมอธอยู่ในบริเวณนี้ด้วย" โลตัส เวอร์เมียร์ ผู้อำนวยการองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ (Nature Conservancy) เกาะซานตาครูซ เผย ซึ่งบริเวณที่ค้นพบฟอสซิลดังกล่าวอยู่ทางชายฝั่งทิศเหนือของเกาะ โดยทีมงานขององค์กรอนุรักษ์พร้อมและผู้เชี่ยวชาญด้านแมมมอธจะเข้ามาสำรวจและ ตรวจวัดอายุของฟอสซิลดังกล่าวต่อไปในไม่ช้า แต่เบื้องต้นวัดขนาดของงาได้ราว 4 ฟุต สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นของแมมมอธขนาดเล็ก หรือแมมมอธแคระ (pygmy mammoth)

ทั้งนี้ เกาะซานตาครูซ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 8 เกาะของหมู่เกาะแชนแนลไอส์แลนด์ (Channel Islands) แห่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเมื่อกว่า 10,000 ปีก่อน ในยุคสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) 4 เกาะ ที่อยู่ทางด้านเหนือ ได้แก่ เกาะซานตาครูซ, ซานมิเกล (San Miguel), ซานตาโรซา (Santa Rosa) และอนาคาปา (Anacapa) เคยรวมกันเป็นเกาะใหญ่เกาะเดียวมาก่อน เรียกว่า ซานตาโรซี (Santarosae)

นักวิทยาศาสตร์เคยเสนอทฤษฎีว่าแมมมอธโคลัมเบีย (Columbian mammoth) ที่เป็นบรรพบุรุษของช้างในปัจจุบัน ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่ ต่อมาได้อพยพผ่านช่องแคบมายังเกาะซานตาโรซี แล้วค่อยๆเกิดวิวัฒนาการจนมีรูปร่างเล็กลงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบน เกาะที่ค่อนข้างขาดแคลนทรัพยากร

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2537 เคยมีการขุดพบโครงกระดูกแมมมอธแคระที่สมบูรณ์ที่สุดบนเกาะซานตาโรซา แต่สำหรับเกาะซานตาครูซนั้นไม่ค่อยพบฟอสซิลแมมมอธแคระ อาจเนื่องมาจากว่าภูมิประเทศบนเกาะส่วนใหญ่มีความสูงชัน ไม่เหมาะแก่การอาศัยของแมมมอธแคระ

ต่อมาในปี 2548 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบชิ้นส่วนกระดูกโคนขาและขาหน้าของแมมมอธบนเกาะซานตาครูซ และก่อนหน้านั้นก็เคยพบส่วนของงา ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นของแมมมอธโคลัมเบียทั้งสิ้น ทว่าการค้นพบล่าสุดนี้อาจเผยให้เห็นว่าแมมมอธแคระเคยอาศัยอยู่ในอาณาเขต กว้างกว่าที่เคยสันนิษฐานกันไว้

อย่างไรก็ดี พอล คอลลินส์ หัวหน้าฝ่ายสัตววิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ซานตา บาร์บารา (Santa Barbara Museum of Natural History) ยังไม่แน่ใจนักเมื่อเห็นจากในรูปถ่ายว่าสิ่งที่เพิ่งถูกค้นพบล่าสุดนี้เป็น งาของแมมมอธจริง ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตว่าไม่แน่มันอาจจะเป็นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัย อยู่ในทะเลก็เป็นได้.




Create Date : 15 มกราคม 2552
Last Update : 15 มกราคม 2552 20:22:30 น.
Counter : 595 Pageviews.

0 comment
ดีเอ็นเอเสือทัสมาเนียชี้พันธุกรรมไม่หลากหลายเป็นเหตุให้สูญพันธุ์
ดีเอ็นเอเสือทัสมาเนียชี้พันธุกรรมไม่หลากหลายเป็นเหตุให้สูญพันธุ์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2552 11:51 น.





























เสือทัสมาเนีย 2 ตัว ในสวนสัตว์แห่งชาติ กรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2449 (รอยเตอร์)

Free TextEditor

นัก วิทย์สกัดดีเอ็นเอจากเส้นขนเสือทัสมาเนียสำเร็จ มีหวังโคลนนิงสัตว์ท้องถิ่นออสเตรเลียที่สูญพันธุ์กว่า 70 ปี ไขปริศนาดีเอ็นเอ พบมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ ยิ่งที่ให้เสี่ยงสูญพันธุ์มากอยู่แล้วนอกเหนือจากถูกล่า หวั่นทัสมาเนียนเดวิลที่มีชะตากรรมเดียวกัน จะสูญพันธุ์ตามรอยเพราะโรคมะเร็งใบหน้าคุกคามอย่างหนัก

ทีมนักวิจัยนานาชาติ ร่วมกันสกัดดีเอ็นเอจากเส้นขนของเสือทัสมาเนีย (Tasmanian tiger) ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 70 ปี ออกมาศึกษาได้เป็นผลสำเร็จ เช่นเดียวกับกรณีของแมมมอธ โดยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า พวกเขาตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารจีโนมรีเสิร์ช (Genome Research) และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าเสือทัสมาเนียมีความหลากหลายทางพันธุกรรม น้อยมาก ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ผลักดันให้ต้องสูญพันธุ์นอกเหนือจากการถูกล่า

นักวิจัยได้สกัดเอาดีเอ็นเอจากขนของเสือทัสมาเนียเพศผู้ ที่เคยอยู่ในสวนสัตว์แห่งชาติสหรัฐฯ (U.S. National Zoo) กรุงวอชิงตันดีซี เมื่อปี 2545 และจากขนของเสือทัสมาเนียเพศเมียที่สวนสัตว์ลอนดอน (London Zoo) สหราชอาณาจักร ซึ่งตายไปตั้งแต่ปี 2436 โดยใช้เทคนิคเดียวกับการสกัดดีเอ็นเอจากขนของแมมมอธที่พวกเขาเคยประสบความ สำเร็จมาแล้วก่อนหน้านี้

ผล การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของสัตว์ทั้ง 2 ตัว ปรากฏว่าคล้ายกันมากๆ โดยมีความแตกต่างกันเพียง 5 นิวคลีโอไทด์เท่านั้นจาก 15,492 นิวคลีโอไทด์ ซึ่งเมื่อความหลากหลายของพันธุกรรมไม่มาก จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง เนื่องจากสามารถปรับตัวเพื่ออยู่รอดในสิ่งแวดล้อมแบบต่างๆ ได้ไม่ดีนัก

"สิ่งที่เราค้นพบนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เนื่อง จากตัวอย่างดีเอ็นเอของเสือทัสมาเนียทั้ง 2 ตัว มีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งแสดงว่ามีความแปรผันทางพันธุกรรมน้อยมากระหว่างสัตว์ชนิดนี้ และสปีชีส์ใดที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อยก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการสูญ พันธุ์มาก เช่น เสือชีตา ในปัจจุบันนี้" ดร.แอนเดอร์ส กอธเธอสตรอม (Dr. Anders Gotherstrom) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัปป์ซาลา (Uppsala University) ประเทศสวีเดน เปิดเผย ซึ่งเขาร่วมในงานวิจัยนี้ด้วย

นอกจากนี้พวกเขายังได้ศึกษาดีเอ็นเอของทัสมาเนียน เดวิล (Tasmanian devil) ซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์ที่น่าเป็นห่วงว่าจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า โดยส่วนใหญ่กำลังถูกคุกคามจากโรคมะเร็งบนใบหน้า (facial cancer) ที่สามารถติดต่อถึงกันได้ และการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าทัสมาเนียน เดวิล มีความหลากหลายของพันธุกรรมน้อยมากๆ เช่นกัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังเร่งหาความแตกต่างทางพันธุกรรมในหมู่พวกมัน เพื่อหาทางปกป้องไม่ให้สูญพันธุ์

ทั้งนี้ บีบีซีนิวส์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เสือทัสมาเนีย หรือไทลาซีน (Thylacine) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไทลาซินัส ไซโนเซฟาลัส (Thylacinus cynocephalus) เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายสุนัข และมีลายเป็นแถบบนหลังคล้ายเสือ แต่จัดเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง และมีเส้นทางการวิวัฒนาการสัมพันธ์กับจิงโจ้และหมีโคอาลา

ในอดีตไทลาซีนอาศัยอยู่ทั่วไปในทวีปออสเตรเลีย ต่อมาถูกล่าโดยชาวยุโรปที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดินดังกล่าวจนลดจำนวนลง เรื่อยและสูญพันธุ์ในที่สุด เสือทัสมาเนียตัวสุดท้ายตายไปเมื่อปี 2479 ที่สวนสัตว์โฮบาร์ต (Hobart Zoo) ในออสเตรเลีย

"เป้าหมายของเราคือการศึกษาว่าจะปกป้องสัตว์ที่กำลังถูกคุกคามไม่ให้สูญพันธุ์ได้อย่างไร ผมต้องการศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ว่าทำใหม่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมากถึงสูญพันธุ์ไป เพราะเพื่อนของเราทั้งหมดส่วนใหญ่ก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งนั้น" เวบบ์ มิลเลอร์ หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania State University) เผย ซึ่งเขาก็หวังว่าการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในครั้งนี้จะช่วยปลุกกระแสให้มีการ อภิปรายถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้ในการทำให้เสือทัสมาเนียฟื้นคืนชีพขึ้นมา อีกครั้ง และนักวิจัยส่วนใหญ่ต่างก็หวังว่าเทคโนโลยีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การโคลนนิง อาจช่วยนำสัตว์หลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับมามีชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง

"หากพิจารณาว่าเหตุผลเดียวที่ทำให้เราสามารถสกัดดีเอ็นเอจากขนของแมมมอธได้ เพราะว่าแมมมอธถูกแช่แข็งไว้ตลอดเวลาที่อาร์กติก ทว่า ความสำเร็จของการสกัดดีเอ็นเอจากเส้นขนของเสือทัสมาเนียของเราในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าเส้นขนสามารถเก็บรักษาดีเอ็นเอเอาไว้ได้เป็นระยะเวลายาวนาน ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่หลากหลาย" สเตฟาน ชูสเตอร์ (Stephan Schuster) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย กล่าว ซึ่งเขาหวังว่าสักวันหนึ่งดีเอ็นเอจากเส้นขนของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วอาจ ทำให้พวกมันกลับมามีชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ โมเลกุลของดีเอ็นเอนั้นจะค่อยๆ เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ทว่าเส้นขนมีองค์ประกอบของเคราติน (keratin) อยู่ด้วย ซึ่งช่วยชลอการเสื่อมของดีเอ็นเอ และป้องกันการปนเปื้อนจากแบคทีเรียได้ ขณะที่กระดูกนั้นมีรูพรุนจำนวนมาก ทำให้จุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปได้ง่าย และเมื่อจุลชีพเหล่านั้นตายอยู่ภายในกระดูก ดีเอ็นเอของมันก็จะไปทับถมกับดีเอ็นเอของสัตว์ตัวนั้นๆ.




Create Date : 15 มกราคม 2552
Last Update : 15 มกราคม 2552 20:21:28 น.
Counter : 641 Pageviews.

1 comment
ดักจับดีเอ็นเอด้วยลำแสงนาโน เทคนิคใหม่ทำไบโอเซนเซอร์ความไวสูง
ดักจับดีเอ็นเอด้วยลำแสงนาโน เทคนิคใหม่ทำไบโอเซนเซอร์ความไวสูง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มกราคม 2552 11:45 น.



















นักวิจัยพัฒนา
อุปกรณ์ที่ทำให้ได้ลำแสงขนาดนาโน
เมื่อส่องผ่านไปในสารละลายดีเอ็นเอหรืออนุภาคนาโนไหลอยู่
จะช่วยดูดอนุภาคเหล่านั้นเข้ามาอยู่ภายในลำแสงได้
ซึ่งอาจประยุกต์ใช้ในการพัฒนาไบโอเซนเซอร์ความไหวสูง
หรืออุปกรณ์ที่ช่วยจัดการกับอนุภาคนาโนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(ภาพจาก ไซน์เดลี/Nicolle Rager Fuller/NSF)

นักวิจัยมะกัน
พัฒนาท่อนำแสง ทำแสงให้มีขนาดนาโน
ช่วยดักจับดีเอ็นเอและอนุภาคนาโนในของไหลได้ดี
พร้อมนำส่งไปยังทิศทางที่ต้องการได้สะดวก
อนาคตเห็นทางทำไบโอเซนเซอร์ตรวจโรคแม่นยำสูง



       ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) สหรัฐฯ ค้นพบวิธีดักจับดีเอ็นเอและอนุภาคนาโนในสารละลายไหล โดยใช้ลำแสงขนาดนาโน ซึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสารเนเจอร์ (Nature)
ตามที่ระบุในไซน์เดลี
โดยนักวิจัยหวังว่าเทคนิคดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาเป็นไบโอเซนเซอร์ความแม่น
ยำสูง หรือประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกและนำส่งอนุภาคนาโน


       วิลเลียม ชูลทส์ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐฯ (National Science Foundation: NSF)
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการวิจัยนี้ระบุว่า
งานวิจัยดังกล่าวสามารถต่อยอดนำไปใช้ได้จริง
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในงานด้านวิศวกรรมในการจัดการกับวัตถุระดับโมเลกุลและ
อะตอม โดยเฉพาะวัตถุที่บรรจุอยู่ในของเหลว
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการใช้ประโยชน์จากแสงในการจัดการกับเซลล์และวัตถุขนาด
นาโนอยู่แล้ว
ทว่าเทคนิคใหม่ที่ว่านี้นี้ช่วยให้นักวิจัยทำงานดังกล่าวได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมและยาวนานขึ้น


       ด้าน เดวิด อีริคสัน (David Erickson) วิศวกร คอร์เนล กล่าวว่า
เรามองแสงเป็นชุดของอนุภาคที่ไม่มีมวลโดยเรียกว่าโฟตอน (photon)
ซึ่งพวกเขาได้ทดลองหาวิธีรวม
อนุภาคโฟตอนเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กมาก
แล้วทำให้ส่องผ่านไปตามท่อนำคลื่น (waveguide) ชนิดพิเศษ
ซึ่งคล้ายกับเส้นใยแก้วนำแสงขนาดนาโน เมื่อชิ้นส่วนของวัตถุใด
ซึ่งอาจจะเป็นดีเอ็นเอ หรืออนุภาคนาโน ลอยเข้ามาใกล้กับลำแสงโฟตอนดังกล่าว
จะถูกดูดเข้ามาข้างในและไหลไปตามลำแสง



       ทั้งนี้
ทีมนักวิจัยได้พัฒนาท่อนำคลื่นเพื่อทำให้แสงกลายเป็นลำแสงขนาดเล็ก
และพัฒนาต่อไปเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในกับดักจับดีเอ็นเอ
หรือวัตถุอื่นที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตรที่ไหลอยู่ในของเหลวได้ดียิ่ง
ขึ้น โดยท่อเล็กๆ แต่ละท่อที่อยู่ภายในท่อนำคลื่นนั้นมีความกว้างเพียง 60-120 นาโนเมตร
เท่านั้น ซึ่งบางกว่าความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์อินฟราเรดที่มีขนาด 1,500
นาโนเมตร
ความสำเร็จครั้งนี้ช่วยขจัดข้อจำกัดที่มีอยู่เดิมอันเกิดจากการกระจายของลำ
แสงเมื่อเจอสิ่งกีดขวาง
และท่อขนาดนาโนภายในท่อนำแสงดังกล่าวยังช่วยให้ใช้แสงในการดักจับหรือขนส่ง
วัตถุนาโนได้ดียิ่งขึ้นด้วย


       นักวิจัยทดลองโดยนำสารละลายที่มีดีเอ็นเอหรืออนุภาคนาโน
มาชะให้ไหลผ่านไปตามท่อนำแสงที่มีช่องแสงผ่านขนาดไมโครเมตร ด้วยความเร็ว
80 ไมโครเมตรต่อวินาที
ผลปรากฏว่าระบบดังกล่าวสามารถดักจับดีเอ็นเอหรืออนุภาคนาโนเข้ามาภายในลำแสง
ได้ไม่ถึง 1 ใน 4 ส่วนของอนุภาคทั้งหมด
ทว่าเมื่อทดลองใช้ท่อนำแสงที่มีช่องแสงขนาดเล็กลง อัตราการไหลช้าลง
และลำแสงมีพลังงานสูงกว่า ปริมาณอนุภาคที่ดักจับได้ก็มีอัตราเพิ่มขึ้น


       "สิ่งที่เรากำลังหวังจะทำในตอนนี้
คือทำความเข้าใจกับหลักการทางฟิสิกส์ให้มากขึ้น
เพื่อที่จะได้เห็นอะไรก็ตาม ที่อาจเป็นไปได้เข้าใกล้ความเป็นจริงยิ่งขึ้น
ครั้งท้ายสุดเรานึกถึงการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านแสงที่มีความรวดเร็ว ฉับไว
และประสิทธิภาพสูง สำหรับใช้ในการสื่อสารและงานอื่นๆ ในช่วงตลอด 20
ปีที่ผ่านมา และมีการประยุกต์นำไปใช้ทางด้านระบบนาโน
ซึ่งความหวังในอนาคตของเราคือสามารถขนส่งผ่านแต่ละสายของดีเอ็นเอได้คล้าย
กับการขนส่งผ่านแสงที่ทำได้แล้วในปัจจุบัน" อีริคสัน กล่าว


       อีกทั้งในอนาคตอาจมีการนำเทคโนโลยีในไปใช้ในการดักจับ
หรือนำส่งดีเอ็นเอหรืออนุภาคอื่นให้ไปยังทิศทางและเป้าหมายที่ถูกต้องได้
อาทิ ใชัในการพัฒนาเซนเซอร์ตรวจวินิจฉัยต่างๆ
หรือสำหรับรวบรวมอนุภาคที่มีโครงสร้างตามที่ต้องการ.





Free TextEditor



Create Date : 14 มกราคม 2552
Last Update : 14 มกราคม 2552 20:30:13 น.
Counter : 822 Pageviews.

0 comment
สเต็มเซลล์จมูกสร้างความหวังให้ผู้ป่วยอัมพาต
สเต็มเซลล์จมูกสร้างความหวังให้ผู้ป่วยอัมพาต




เทคนิคการนำสเต็มเซลล์จากจมูกอาจช่วยผู้เป็นอัมพาตเนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากกระดูกสันหลัง ให้กลับมาเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง

ดร. แคตเธอรีน กลอรี่ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย นิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออส เตรเลีย เปิดเผยว่า ภายหลัง ที่หนูป่วยเป็นอัมพาตได้รับ สเต็มเซลล์จากจมูกของมนุษย์เพียง 6 อาทิตย์ ขาหลังทั้ง 2 ข้างก็สามารถเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง นับเป็นการทดลองที่สร้างความหวังต่อผู้ป่วยอัมพาต

สเต็มเซลล์ที่นำมา ทดลองนี้มีชื่อว่า "olfactory ensheating glia cells (ออลแฟ็กทอรี่ เอนชีตติง เกลีย เซลล์)" ซึ่งสาเหตุที่นักวิทยาศาสตร์เลือกสเต็มเซลล์ชนิดนี้มา ทดลอง เพราะพบความเป็นไปได้ว่ามันสามารถช่วยให้เส้นประสาทในกระดูกสันหลังเกิดขึ้น มาใหม่

ส่วนวิธีทำก็ง่ายๆ คือ เพียงแต่นำสเต็มเซลล์ในจมูกของผู้ป่วยออกมา แล้วเลี้ยงไว้ในห้องทดลองเพื่อเพิ่มจำนวน เมื่อถึงเวลาที่จะนำมาใช้ก็เพียงแต่ฉีดเข้าไปที่ผู้ป่วย

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdOREUwTURFMU1nPT0=§ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBd09TMHdNUzB4TkE9PQ==



Create Date : 14 มกราคม 2552
Last Update : 14 มกราคม 2552 19:45:51 น.
Counter : 586 Pageviews.

0 comment
ญี่ปุ่นโคลนเนื้อฮิดะจากเซลล์แช่แข็ง 13 ปี สำเร็จ สานฝันสู่สำเนาแมมมอธ
ญี่ปุ่นโคลนเนื้อฮิดะจากเซลล์แช่แข็ง 13 ปี สำเร็จ สานฝันสู่สำเนาแมมมอธ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 มกราคม 2552 12:57 น.





























ลูกวัวโคลนนิง 2 ตัว
ที่ใช้เซลล์จากลูกอัณฑะแช่แข็งของวัวตัวผู้นามว่า "ยาสุคุฟุ"
ที่เป็นต้นกำเนิดเนื้อฮิดะ เนื้อวัวชั้น 1 ของญี่ปุ่น (เอเอฟพี)

นักวิทย์ยุ่นโคลนนิงได้อีกแล้ว
คราวนี้เป็นวัวต้นกำเนิดเนื้อฮิดะอันเลื่องชื่อ ตัวต้นแบบตายนานแล้ว
และถูกแช่แข็งไว้กว่าสิบปี ได้ลูกวัวเนื้อฮิดะโคลนนิงแล้ว 3 ตัว
นักวิจัยยังไม่หวังทำอาหารโคลนนิง แต่อยากกู้ชีพแมมมอธมากกว่า



       เมื่อวันที่ 8 ม.ค.52 ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยคินกิ (Kinki University)
เมืองโอซากา และสถาบันวิจัยปศุสัตว์กิฟู (Gifu's livestock research
institute) ประเทศญี่ปุ่น ประกาศความสำเร็จการโคลนนิงวัวเนื้อฮิดะ
(Hida-gyu) จากเซลล์ลูกอัณฑะแช่แข็งนานกว่า 13 ปี ของวัวตัวผู้นามว่า
"ยาสุฟุคุ" (Yasufuku) ที่เป็นต้นกำเนิดเนื้อฮิดะอันเลื่องชื่อของญี่ปุ่น
ตามที่ระบุในเอเอฟพี


       ทั้งนี้ ยาสุฟุคุ เป็นวัวเนื้อเพศผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของเนื้อฮิดะ
เนื้อวัวชั้นหนึ่งของญี่ปุ่น จนได้รับการขนานนามว่า "พ่อแห่งเนื้อฮิดะ"
(the father of Hidagyu) ซึ่งยาสุฟุคุตายไปตั้งแต่ปี 2536 และถูกแช่แข็งเอาไว้นานกว่า 13 ปี โดยมิได้มีกระบวนการเก็บที่พิเศษแต่อย่างใด


       นักวิจัยได้นำเซลล์จากลูกอัณฑะของวัวยาสุคุฟุมาทำการโคลนนิง โดยนำดีเอ็นเอจากเซลล์ดังกล่าวไปใส่ในเซลล์ไข่ของแม่วัวที่นำนิวเคลียสออกไปแล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จและได้ลูกวัวเนื้อฮิดะโคลนนิงตัวแรกเมื่อเดือน พ.ย. 50 ปัจจุบันเกิดมาแล้วทั้งหมด 3 ตัว
จากทั้งหมด 4 ตัว ตามรายงานในเจแปนทูเดย์
นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของการโคลนนิ่ง
เนื่องจากที่ผ่านมาเซลล์ต้นแบบที่ใช้ในการโคลนนิงจะต้องได้รับการเก็บรักษา
ไว้เป็นอย่างดี


       อย่างไรก็ดี
สำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารของยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ประกาศไปเมื่อปีที่
แล้วว่าอาหารจากสัตว์โคลนนิงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
แต่ทางทีมวิจัยระบุว่า ณ ตอนนี้ พวก
เขาเพียงแต่โคลนนิงสัตว์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับยีนและโครงสร้างโปรตีนที่ทำให้
เนื้อฮิดะมีรสชาติเป็นเลิศ
มากกว่าที่จะโคลนนิงเนื้อฮิดะเพื่อผลิตอาหารโดยตรง
รวมถึงการวิจัยในระยะยาวเพื่อหวังว่าจะใช้วิธีการโคลนนิงนำสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับมามีชีวิตใหม่ได้


       "ความใฝ่ฝันของเราคือการโคลนนิงแมมมอธ
แม้ว่ามันจะเป็นความฝันแสนยิ่งใหญ่ก็ตาม" คาสุฮิโร ซาเอกิ
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคินกิ เผย


       ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นไม่นาน ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นจากสถาบันริเกน (Riken)
ก็เพิ่งประสบความสำเร็จในการโคลนนิงหนู
จากเซลล์ของหนูที่ตายแล้วและถูกแช่แข็งเก็บไว้นานกว่า 16 ปี
ซึ่งเป็นความหวังในการโคลนนิงแมมมอธเช่นเดียวกัน






Free TextEditor



Create Date : 13 มกราคม 2552
Last Update : 13 มกราคม 2552 20:20:19 น.
Counter : 666 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend