คุณแม่น้องแฝด ฮานากะฮารุ ^^
ช่วงนี้อยากได้กล้อง DSLR....




กล้อง DSLR รุ่นใหนดี ????

คำถามยอดนิยมสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังตัดสินใจ
ซื้อกล้องดิจิตอลมาไว้ใช้งานซักตัวหนึ่ง
ทั้งนี้เพราะกล้องดิจิตอลในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อมากมาย

โดยเฉพาะกล้องแบบดิจิตอล SLR ที่มีราคาถูกลงมาก
และได้รับความนิยมมกขึ้นทุกวันราคาเพิ่มต้นเพียงหมื่นกว่าบาท
ใกล้เคียงกับกล้องดิจิตอลแบบคอมแพคทีเดียว
และมีให้เลือกนับสิบจากหลายยี่ห้อ
ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป

การที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอล
จึงนับเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวไม่น้อย โดยเฉพาะหากคุณเป็นมือใหม่
ไม่เคยรู้เรื่องกล้องดิจิตอลมาก่อน
บทความนี้จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจของคุณค่ะ


งบประมาณ

ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้ที่เท่าไร
ในการหาซื้อกล้องคู่ที่รู้ใจ
เพราะราคากล้องดิจิตอล SLR ในตลาด
มีตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทไปจนสามแสนบาท
ความละเอียดอยู่ในระดับ 8 ถึง 21 ล้านพิกเซล
แม้จะเป็นรุ่นเล็กที่มีราคาประหยัด
แต่ก็มีคุณภาพที่ดีมากสิ่งที่แตกต่างกัน
ทำให้ราคากล้องมีความแตกต่างกันมาก
เช่น ความละเอียดที่เพิ่มขึ้น เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่า
ระบบการทำงานรวดเร็วกว่า ตัวกล้องเป็นโลหะ
เช่นแม๊กนีเซียมอัลลอยล์ เป็นต้น

เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สามหมื่นบาท
ก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยากได้ในงบของเรา
ส่วนรุ่นที่มีราคาสูงกว่าคงไม่ต้องนำมาพิจารณาให้ปวดหัว


เซ็นเซอร์ภาพ

เซ็นเซอร์ภาพ ถ้าดูตามสเปคจะเขียนว่า Image sensor
พูดง่ายๆก็คือ ส่วนที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั้นเอง
บางยี่ห้อใช้ CMOS เช่น แคนนอน
แต่ส่วนใหญ่ใช้ CCD มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
แต่เซ็นเซอร์ภาพที่มีใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ
เพราะเก็บรายละเอียดได้มากกว่า
และให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า

โดยทั่วไปกล้องดิจิตอล SLR
ในปัจจุบันจะนิยมจะนิยมใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C
ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 mm
เมื่อจะนำเลนส์ของกล้องฟิล์มมาใช้
จะต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม 1.5 หรือ 1.6 เท่า
จึงจะได้ทางยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากับการใช้ฟิล์ม 35 mm

ส่วนกล้องบางรุ่นที่ใช้เซ็นเซอร์เท่าฟิล์ม
ก็ไม่ต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม
เช่น canon EOS 1Ds Mark lll หรือ EOS 5D เป็นต้น

ส่วนกล้องโอลิมปัส พานาโซนิค และไลก้า
ใช้เซ็นเซอร์ขนาด 4/3
ซึ่งเล็กกว่าขนาด APS-C ต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม 2 เท่า
เช่น เลนส์ 50mm จะเพิ่มเป็น 100 mm เป็นต้น

แต่มีข้อดีคือเป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับเซ็นเซอร์ขนาด 4/3 โดยเฉพาะ
ทำให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา


ความลึกของสี

ความลึกของสี หรือ Bit Depth
บางทีก็เรียก Color Depth
ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด
ก็จะเก็บรายละเอียดของเฉดสีมากเท่านั้น
เช่น 10 บิต /สี หรือ 12 บิต/สี
ในภาพถ่ายจะมีสามสี คือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต
3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น

ถ้าเป็นกล้องระดับไฮเอนด์บางรุ่น
จะทำได้ถึง 14 บิต /สี หรือ 42 บิตที่ RGB
เก็บรายละเอียดของโทนสีได้มากกว่า 12 บิต ถึง 3 เท่า
ให้คุณภาพที่ใกล้เคียงกับการใช้ฟิล์มทั่วๆไป

การที่เฉดสีน้อยจะทำให้การแยกสีไม่ค่อยดี เท่าที่ควร
เช่นกลีบดอกไม้สีแดงเข้ม แดงปานกลางและแดงอ่อน
ดูด้วยตาเปล่าก็ไล่เฉดสีกันดี
แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสีแดงสีเดียว
ถ้าบันทึกความลึกของสีได้มาก
จะได้เฉดสีที่ใกล้เคียงกับที่ตามองเห็น


ความละเอียด

เลือกความละเอียดที่เหมาะสม
กล้องดิจิตอล SLR ในทุกวันนี้มีความละเอียดสูงมาก
ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 8 จนถึง 21 ล้านพิกเซล
หากคิดว่าจะอัดขยายภาพไม่เกิน 8 x 10 นิ้ว
กล้องที่มีความละเอียดระดับ 8-10 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้ว

แต่อย่าลืมว่าคุณภาพที่ได้
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตามกล้องที่มีความละเอียดสูง
มักจะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า
แม้ว่าจะถ่ายภาพที่ไฟล์ขนาดเล็กลง

เช่นกล้องที่ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล
หากถ่ายภาพที่ความละเอียด 6 ล้านพิกเซล
มักจะให้คุณภาพที่ดีกว่ากล้องดิจิตอล
ที่มีความละเอียดสูงสุดที่ 6 ล้านพิกเซล
ทั้งนี้เนื่องจากเซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่คุณภาพดีกว่า
หรือหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพดีกว่านั้นเอง

หากต้องการใช้งานเพื่ออัดขยายภาพในขนาดไม่เกิน 4 x 6 นิ้ว
ควรปรับตั้งกล้องที่ความละเอียดที่ 3 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้ว

เพราะการตั้งความละเอียด 10 ล้านพิกเซล
แล้วขยายภาพ 4 x 6 นิ้ว
คุณภาพจะไม่แตกต่างกับการตั้งความละเอียดที่ 3 ล้านพิกเซล
เนื่องจากเครื่องพิมพ์ภาพไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ทหรือแลปสี
ต้องการไฟล์ภาพสูงสุดสำหรับภาพ 6x4 นิ้วที่
ความละเอียด 3 ล้านพิกเซลเท่านั้น
( พิมพ์ภาพที่ 300 – 400 dpi )

แต่ก็มีข้อระวังเหมือนกันคือหากถ่ายภาพที่ความละเอียดต่ำ
แล้วต้องการนำไปขยายภาพใหญ่ในภายหลัง
จะได้คุณภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร


เลนส์

กล้องดิจิตอล SLR จะถอดเปลี่ยนเลนส์ได้
หากกล้องรุ่นเล็กรุ่นกลาง
มักจะมีเลนส์คิทมาพร้อมกับตัวกล้อง
เช่น18 – 55 มม หรือ 18 – 70 มม
เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆๆไป

แต่ต้องการถ่ายภาพในมุมกว้างขึ้น
หรือถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกลจะไม่สามารถทำได้
จะต้องซื้อเลนส์มาใช้เพิ่มเติม

โดยเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 18 มม
จะช่วยให้ถ่ายภาพได้กว้างขึ้นหรือมากกว่า 55 มม
จะถ่ายภาพได้ไกลมากขึ้น
หากต้องการซื้อเลนส์เพิ่มเพื่อใช้งานต่อจากเลนส์คิท
ขอแนะนำเลนส์ซูมขนาด 55 – 200

ถ้าชอบถ่ายวิวทิวทัศน์กว้างๆ
ก็ขอแนะนำเลนส์ที่มีมุมกว้างมากขึ้น เช่น 12 – 24 มม
หรือใช้เลนส์ครอบจักวาลตัวเดียวจบก็ได้เช่น 18 – 200 มม
แต่คุณภาพจะไม่ดีเท่าเลนส์ช่วงซูมน้อยกว่า

หากต้องการคุณภาพดีที่สุดก็ต้องเลือกใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว
เช่น ถ้าต้องการครอบคลุมตั้งแต่ 18 ถึง 200 มม
จะต้องมีเลนส์ถึง 6 ตัวคือ 18 28 35 50 100 และ 200 มม
โดยเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวส่วนใหญ่
จะมีรูรับแสงกว้างสุดมากกว่าเลนส์ชูม เช่น F 1.4 จนถึง F 2.8

ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกตัวอาจเลือกเพียงบางตัวที่ดีที่สุด
ซึ่งดีกว่าการใช้เลนส์ซูมแน่นอน
โดยทั่วไปนิยมใช้เลนส์ที่มีขนาด 50 มม F 1.8
เพราะมีราคาถูกเพียงไม่กี่พันบาท
แต่ได้รูรับแสงกว้าง ใช้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยๆได้ดีมาก

ถ้าชอบถ่ายภาพบุคคล
ก็คือแนะนำเลนส์เทเลระยะปานกลางเช่น 85 มม F 1.8
หรือจะซื้อเลนส์ 100 มม มาโคร F 2.8 ก็ได้
ใช้ประโยชน์ได้ทั้งการถ่ายภาพบุคคล
และถ่ายวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ
เช่นดอกไม้หรือแมลง เป็นต้น


จอมอนิเตอร์

ปัจจุบันกล้องดิจอตอลมีจอมอนิเตอร์ที่ใหญ่มากขึ้น
เช่น 2.5 หรือ 3.0 นิ้ว
ทำให้มองดูภาพ เมนู ตัวอักษร และไอคอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
การแบ่งปันภาพที่ถ่ายไปแล้วให้เพื่อนฝูงดูทำได้สะดวกมากขึ้น
การเลือกจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่
จึงควรเป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อกล้อง

อย่างไรก็ตามหากมีกล้องที่จอมอนิเตอร์ขนาดเท่ากัน
ให้ดูความละเอียดของจอภาพเปรียบเทียบอีกทีหนึ่ง
เพราะจอที่มีความละเอียดมากกว่า
เช่น 150,000 กับ 230,000 พิกเซล
จอที่ความละเอียดสูงกว่าจะแสดงภาพได้ชัดเจนกว่า
และเห็นผลเมื่อซูมขยายภาพ
เพื่อตรวจสอบรายละเอียดความคมชัด

นอกจากนี้ให้ดูองศาในการมองภาพด้วย
บางรุ่นต้องมองตรงๆเท่านั้น
หากมองเฉียงจะเห็นภาพจางลง
แต่บางรุ่นมีมุมมองกว้างมากถึง 160 องศา
กล้องบางรุ่นออกแบบให้จอมอนิเตอร์ปรับพลิกก้มเงยและหมุนได้รอบ
ทำให้สะดวกในการถ่ายภาพมุมสูงหรือมุมต่ำ


การตอบสนองที่รวดเร็ว

กล้องดิจอตอล SLR รุ่นใหม่ๆ
มีการตอบสนองที่รวดเร็วดีมาก
ตั้งแต่การเปิดสวิตช์กล้องพร้อมใช้งาน
ไปจนถึงช่วงเวลาการลั่นชัตเตอร์และการถ่ายภาพต่อเนื่อง

การเลือกซื้อกล้องควรพิจารณาเปรียบเทียบ
ว่ากล้องแต่ละรุ่นพร้อมใช้งานในระยะเวลาเท่าใด
กล้องบางรุ่นใช้เวลาไม่ถึง 0.2 วินาที ก็ใช้งานได้แล้ว

ส่วนช่วงเวลาการลั่นชัตเตอร์ถ้าสั้นมาก
ก็จะถ่ายภาพเหตุการณ์หรือสิ่งเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนกับการใช้กล้องฟิล์ม

สุดท้ายคือการถ่ายภาพต่อเนื่อง
อย่างน้อยควรจะทำได้ที่ 3 ภาพ/วินาที
บางรุ่นอาจจะเร็วถึง 5 ภาพ/วินาที
เช่นกล้องดิจิตอล SLR ของ canon eos400d

แต่ถ้าเป็นกล้องระดับโปรอย่าง canon eos1d Mark lll
ทำความเร็วขึ้นไปถึง 10 เฟรม/วินาที
เหมาะสำหรับช่างภาพข่าว กีฬา หรือสัตว์ป่า
ที่ต้องการความเร็วสูงๆ
เพื่อจับจังหวะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


หน่วยความจำสำรองไฟล์ภาพ

Buffer ยิ่งมากยิ่งดี
การที่มี Buffer หรือหน่วยความจำในตัวกล้องมากๆ
จะช่วยให้การถ่ายภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ไม่ต้องเสียเวลารอคอยนานๆ
และไม่พลาดโอกาสสำคัญในการบันทึกภาพ

กล่าวคือ กลังจากที่เรากดชัตเตอร์ถ่ายภาพไปแล้ว
ข้อมูลภาพที่ผ่านหน่วยประมวลผล
จะถูกพักเก็บได้ก่อนด้วยบัฟเฟอร์
จากนั้นจะบันทึกลงใน เมมโมรี่การ์ดต่อไป
(ขณะบันทึกจะมีไฟสีเขียวหรือสีแดงเตือนให้ทราบ)

วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย
ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน
ถ้าบัฟเฟอร์เยอะก็สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้หลายๆภาพติดต่อกัน
เช่นสเปคกล้องระบุว่า ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพ ต่อวินาที
ติดต่อกันรวดเร็ว 50 ภาพ
หมายถึงว่าถ้าครบ 50 ภาพ จะกดชัตเตอร์ต่อไม่ได้
เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว

ต้องรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน
เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายภาพต่อไปได้


ไวท์บาลานซ์

ไวท์บาลานซ์ หรือสมดุลแสงขาว
ฟังก์ชันนี้มีในกลอ้งดิจิตอล SLR ทุกรุ่น
ส่วนใหญ่จะมีระบบปรับไวท์บาลานซ์อัติโนมัติ
ทำให้ภาพถ่ายมีสีสันถูกต้องไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง
หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณภูมิสีแตกต่างกัน
ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์มซึ่งสมดุลแสงกลางวัน
ที่อุณภูมิสี 5000-5500 องศาเควิน
จะได้ภาพที่มีถูกต้องก็ต่อเมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน
หรือแสงแฟลชเท่านั้น

ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า
หรือช่วงเย็นอุณภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง

แต่กล้องดิจิตอลจะให้โทนสีถูกต้องได้
แม้ว่าสภาพแสงจะแตกต่างกัน
นอกจากระบบออโต้แล้วส่วนใหญ่จะมีระบบ PRESET
ให้ปรับตั้งตามสภาพแสงแบบต่างๆอีก แต่ละรุ่นเลือกได้ไม่เท่ากัน

เช่นแสงดวงอาทิตย์แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรสเซ้นท์ในอาคาร แสงไฟ ทังสแตนเป็นต้น

กล้องบางรุ่นมีระบบถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน
แต่ละภาพมีการปรับเปลี่ยนอุณภูมิสีที่แตกต่างกันอัติโนมัติ
ไม่ต้องเสียเวลาปรับตั้งทีละภาพ
บางรุ่นยังกำหนดตัวเลขอุณภูมิสีเองได้
ปรับได้ละเอียดมากขึ้น
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความปราณีตในเรื่องของสีให้ถูกต้องมากที่สุด
หรือปรับชิพท์ไวท์บาลานซ์ได้เพิ่มแก้ไขปัญหา

เรื่องภาพมีโทนสีแดงหรือสีฟ้ามากเกินไปเพียงเล็กน้อย
การปรับชิพซ์ไวท์บาลานซ์จะช่วยให้ได้ภาพที่มีสีสันถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน
บางรุ่นมีระบบคัสตอมหรือแมนนวล
โดยเทียบจากวัตถุที่มีสีขาวซึ่งจะทำให้ได้สีที่ถูกต้องมากที่สุด


ระบบออโต้โฟกัส

กล้องดิจิตอล SLR ทุกรุ่นเป็นระบบออโต้โฟกัส
ทำงานได้รวดเร็วพอสมควร
แต่รุ่นที่สูงขึ้นไปจะโฟกัสได้เร็วกว่า
และเร็วที่ในกล้องรุ่นท๊อป ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นกล้องสำหรับมืออาชีพ

บางรุ่นมีโฟกัส 3 หรือ 5 จุด
แต่บางรุ่นมีมากถึง 11 หรือ 16 จุด
ยิ่งมากยิ่งดี เพราะไม่ว่าตัวแบบหรือสิ่งที่ต้องการจะถ่ายอยู่ในตำแหน่งใด
ก็จะปรับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ
โดยกล้องจะเลือกจุดโฟกัสให้ เเบบอัติโนมัต โฟกัสเองก็ได้
นอกจากนี้ควรพิจารณาช่วงการปรับโฟกัสว่าทำได้ที่ช่วง EV เท่าใด

หากโฟกัสที่ EV ต่ำๆ ได้เช่น EV1 หรือ EV0
จะทำให้กล้องปรับโฟกัสได้แม้ในสภาพแสงสลัว
หากเป็นกล้องระดับโปรบางรุ่นจะปรับโฟกัสได้ถึง EV-1 ทีเดียว


ระบบบันทึกภาพและการวัดแสง

กล้องดิจิตอล SLR ส่วนใหญ่มีระบบออโต้และโปรแกรมสำเร็จรูป
รวมทั้งโหมดบันทึกภาพมาตรฐาน P,S,A,M
ในระบบออโต้กล้องจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง
เลือกความไวแสง และปรับโฟกัสให้ทั้งหมด
ผู้ใช้เพียงจัดองค์ประกอบภาพตามที่ต้องการและกดปุ่มชัตเตอร์

ถ้าแสงน้อยกล้องก็จะปรับความไวแสงให้สูงขึ้น
หรือเปิดแฟลชทำงานอัตโนมัติ ทำให้ใช้งานง่าย
และมีโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับถ่ายภาพแบบต่างๆ
เช่น ถ่ายภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์ ภาพกลางคืน
ภาพกีฬา ภาพพลุ ดอกไม้ไฟ ภาพหิมะ ชายหาด เป็นต้น

กล้องบางรุ่นมีโปรแกรมที่หลากหลายมากอีกนับสิบแบบ
แต่ถ้าหากคุณมีความรู้เรื่องเทคนิคการถ่ายภาพ
หรือมีประสบการณ์เรื่องการวัดแสงมาบ้างแล้ว
ก็มีโหมดออโต้ความเร็วชัตเตอร์
กับความเร็วรูรับแสงให้เล่นด้วยค่ะ
ซึ่งต้องปรับความเร็วชัตเตอร์หรือรูรับแสงด้วยตนเอง


อุปกรณ์เสริม

กล้องดิจิตอล SLR ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ
จะมีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้มากมาย
เพื่อความสะดวกในการถ่ายภาพทุกรูปแบบ
โดยมีเลนส์เป็นอุปกรณ์เสริมหลัก

รองลงมาคือ แฟลชรุ่นต่างๆ
ตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่
สายลั่นชัตเตอร์
บางรุ่นมีแบตเตอรี่กริป ช่วยให้ใช้แบตเตอรี่ได้นานขึ้น
ได้พร้อมกันสองก้อน
ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมดระหว่างที่ถ่ายรูป
และช่วยให้การจับถือกล้อง
โดยเฉพาะการถ่ายภาพในแนวตั้งสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น
บางรุ่นมีรีโมทแบบไร้สาย
ช่วยให้ควบคุมการถ่ายภาพจากระยะไกลได้


ระบบกำจัดฝุ่น และระบบป้องกันภาพสั่นไหว

กล้องจิตอล SLR หลายรุ่นในปัจจุบัน
มีระบบกำจัดฝุ่นในตัว
โดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป
ช่วยลดปัญหาเรื่องฝุ่นที่จับอยู่ตรงหน้าเซ็นเซอร์ได้เป็นอย่างมาก
ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของกล้องดิจิตอลแบบ SLR
ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้

ทำให้สามารถนำเลนส์ตัวไหนก็ได้มาใช้แล้ว
มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว
ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเลนส์ที่มีระบบกันสั่นไหวเพิ่มเติม


บริการหลังการขาย

สิ่งสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึงคือ
เรื่องของบริการหลังการขาย
ทั้งจากร้านค้าและบรัทผู้นำเข้า
หากซื้อกล้องและอุปกรณ์จากผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการ
คุณจะได้รับบริการที่เชื่อถือได้
เนื่องจากเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยตรงจากผู้ผลิตบางบริษัทเป็นบริษัทจัดจำหน่ายจากผู้ผลิตกล้องโดยตรง

โดยทั่วไปกล้องดิจิตอลจะรับประกันคุณภาพ 1 ปี
หากเกิดความเสียหายในช่วงระยะเวลาการรับประกัน
จะได้รับการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ฟรีโดยไม่คิอค่าบริการ
หากเป็นชิ้นส่วนสำคัญ เช่น เซ็นเซอร์ภาพ หรือจอมอนิเตอร์ ค่าอะไหล่จะราคาสูงมาก
เพื่อความสบายใจ
การซื้อกล้องจากผู้นำเข้าที่ถูกตอ้งจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าแน่นอน
ยกเว้นว่าราคาระหว่างผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการกับผู้นำเข้าอิสระ
จะแตกต่างกันมาก
อาจเป็นสาเหตุให้ซื้อกล้องที่มีราคาถูกกว่า
สำหรับการกล้องดิจิตอลจากต่างประเทศในปัจจุบัน
ควรตรวจสอบราคาให้ดีเสียก่อน
โดยเฉพาะที่ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่น บางรุ่นถูกกว่าด้วยซ้ำ


หากราคาต่างกันไม่มากควรเลือกซื้อกล้องในเมืองไทยจะดีกว่า
ไม่ต้องเสี่ยงกับการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ในกรณีที่กล้องมีปัญหา



img src=//www.bloggang.com/emo/emo35.gif>



นี่เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นในการซื้อกล้อง DSLR
ส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็อยู่ที่ใจชอบ เป็นตัวตัดสินสำคัญเลย







Create Date : 24 ธันวาคม 2553
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 18:10:52 น. 3 comments
Counter : 627 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ
เพิ่งซื้อกล้องมาใหม่ยังไม่ค่อยได้ใช้เลยค่ะ


โดย: เพ็ญ (PenKa ) วันที่: 24 ธันวาคม 2553 เวลา:13:07:10 น.  

 
ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ
กำลังค้นหาคำตอบให้ตัวเองก่อนเสียเงินให้คุ้มค่าค๊ะ


โดย: แม่ปู (ฮัลโลตอบหน่อย ) วันที่: 24 ธันวาคม 2553 เวลา:16:03:21 น.  

 
ขอบคุณค่า...


โดย: noinanai วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:10:28:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

hi hacky
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




Life is a journey....
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add hi hacky's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.