Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อเคล็ด ( เส้นเอ็นฉีกขาด )




ข้อเคล็ด
( เส้นเอ็นฉีกขาด )


สาเหตุ

ข้อเคล็ดมักเป็นผลจากการหมุนตัวหรือการยืดของข้อมากเกินไป ทำให้เอ็นยึดข้อฉีกขาดได้ เอ็นยึดข้อเป็นเนื้อเยื่อพังผืดที่ยืดหยุ่นได้แต่มีความเหนียวมาก ทำหน้าที่ยึดข้อให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ป้องกันข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน

ข้อเคล็ด อาจเกิดได้กับทุก ๆ ข้อ แต่ ข้อเข่า และ ข้อเท้า เป็นข้อที่เสี่ยงต่อการเกิดข้อเคล็ดหรือข้อแพลงมากที่สุด เนื่องจากต้องรับน้ำหนักร่างกายเกือบทั้งหมด และ เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก


ระดับความรุนแรง

• ระดับที่หนึ่ง

เส้นใยของเอ็นยึดข้อถูกเหยียดออกมากเกินไป และ บางเส้นใยอาจฉีกขาด ทำให้เวลากด หรือเวลาเคลื่อนไหวข้อนั้นจะรู้สึกปวดเล็กน้อย แต่จะมีอาการบวมไม่มากหรือไม่มีเลย ผู้ป่วยจะยังสามารถเดินลงน้ำหนัก หรือ ใช้ข้อนั้น ๆ ได้ แต่อาจจะมีอาการปวดบ้างเล็กน้อย ถ้าเอ๊กซเรย์ดูจะพบว่าทุกอย่างปกติ ประมาณ 2-3 วันข้อที่บวมก็จะยุบบวมเหมือนปกติ แต่อาจมีอาการปวดอยู่บ้าง ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ก็จะหายสนิท

• ระดับที่สอง

เอ็นยึดข้อมีการฉีกขาดบางส่วน จะมีอาการปวดและกดเจ็บมากพอควร รวมทั้งมีอาการบวมและฟกช้ำมากขึ้น เพราะการฉีกขาดของเส้นโลหิตเล็ก ๆ ทำให้มีเลือดออก ผู้ป่วยอาจจะยังพอเดินได้หรือใช้ข้อนั้น ๆ ได้ แต่จะมีอาการปวดมาก และกว่าจะยุบบวมอาจต้องใช้เวลานานเป็นอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนจึงจะหายสนิท

• ระดับที่สาม

เอ็นยึดข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเกิดการฉีกขาดจากกันทั้งหมด ทำให้เกิดอาการปวดมาก ข้อบวมและฟกช้ำมาก ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อหรือลงน้ำหนักได้ ข้อจะบวมมากและมักไม่ค่อยยุบบวมเอง



แนวทางการรักษา

ขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ แต่จะต้องรีบทำการปฐมพยาบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรักษาที่สำคัญ คือ

1. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวบริเวณที่บาดเจ็บ เช่น การใช้ไม้ดาม ใช้ผ้ายืดพัน หรือใช้ไม้เท้า

2. ประคบด้วยความเย็น เช่น ใช้ผ้าหุ้มก้อนน้ำแข็ง ประคบบริเวณที่บาดเจ็บ ความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยให้เลือดไม่ออกมาก ซึ่งจะช่วยลดการบาดเจ็บ ลดการอักเสบ และลดบวม ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อเกิดการบาดเจ็บในระยะ 24 - 48 ชั่วโมงแรก ให้ใช้ความเย็น โดยประคบด้วยความเย็นครั้งละไม่เกิน 20 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง

ห้ามใช้ความร้อน เช่น ยาหม่อง หรือครีมนวดที่ทาแล้วร้อน เพราะจะทำให้เลือดออกมาก บวมมากขึ้นได้

ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อที่เคล็ด และยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ไม่คั่งอยู่บริเวณที่บาดเจ็บ ซึ่งจะช่วยลดบวมและลดปวดได้ เช่น ถ้าข้อเท้าแพลง เวลานั่งควรยกเท้าพาดเก้าอี้ ไม่ควรนั่งห้อยเท้า หรือ เวลานอนก็ใช้หมอนรองขาเพื่อยกเท้าให้สูงขึ้น

3.ถ้าปวด อาจรับประทานยาพาราเซตตามอล ซึ่งเป็นยาที่ได้ผลดีและค่อนข้างปลอดภัยแต่ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ ส่วนยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ มักมีผลข้างเคียงโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคกระเพาะ จึงควรใช้ตาม คำแนะนำของแพทย์ และอาจต้องรับประทานร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

4.เมื่อพ้นระยะ 24-72 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ) ในระยะนี้ให้ประคบด้วยความร้อน เพื่อทำให้เลือดที่คั่งอยู่ถูกดูดซึมได้เร็วขึ้น เช่น กระเป๋าไฟฟ้า ถุงร้อน อัลตร้าซาวด์ ครีม โลชั่น น้ำมัน สเปรย์ เป็นต้น


โดยทั่วไป ข้อเคล็ดระดับที่ 1 และ 2 อาการจะดีขึ้นหรือหายไป ภายใน 1-2 อาทิตย์ แต่ถ้าหลังจาก 2 อาทิตย์แล้วยังมีอาการปวด หรือ บวม ก็ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่าที่คิดไว้ก็ได้

ในกรณีที่เห็นว่าน่าจะเป็นข้อเคล็ดชนิดรุนแรง ( ปวดมาก บวมมาก ) หลังจากประคบด้วยน้ำแข็งแล้วให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะ ถ้ารักษาช้าเกินไปหรือได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดอาการ ข้อบวม ปวดข้อเรื้อรัง และ รู้สึกว่าข้อไม่มั่นคง (ข้อหลวม)


จะเริ่มออกกำลังได้เมื่อไร

ควรบริหารข้อและกล้ามเนื้อที่ไม่บาดเจ็บบ่อย ๆ โดยไม่ให้ข้อที่บาดเจ็บเคลื่อนไหว เช่น การบาดเจ็บที่ข้อเท้า ก็ให้บริหารกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อนิ้วเท้า ขยับเคลื่อนไหวข้อเข่าและข้อนิ้วเท้า

เมื่อพ้นระยะอักเสบ (ประมาณ 1-2 อาทิตย์ ) จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการพักนานเกินไป เช่นกล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ข้อติดแข็ง เป็นต้น จึงต้องออกกำลังและเคลื่อนไหวบริเวณข้อที่บาดเจ็บให้มากขึ้น

ข้อควรระวัง คือต้องทำในระดับที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก ค่อย ๆ ทำ และเริ่มเบา ๆ ก่อน โดยให้ใช้ความรู้สึกเจ็บเป็นตัวกำหนด ถ้ารู้สึกเจ็บมากก็แสดงว่าทำมากหรือรุนแรงเกินไป ก็ให้ทำน้อยลง



ข้อแนะนำเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง

โดยทั่วไปเส้นเอ็นที่ฉีกขาด จะเริ่มติดใช้เวลาประมาณ 4-6 อาทิตย์ แต่จะติดสนิทเหมือนเดิม ( หายสนิท ) ต้องใช้เวลา 4-6 เดือน ถ้าการบาดเจ็บรุนแรงก็อาจจะต้องใช้เวลานานมากขึ้น

ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังจากได้รับบาดเจ็บ จะต้องพยายามฟื้นฟูร่างกายให้คืนสู่สภาพปกติ แต่ต้องจำไว้ว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อน ซึ่งก็มีแนวทางทั่ว ๆ ไปคือ

1. เริ่มออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เช่น ใช้การถ่วงน้ำหนัก และค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้น

2. ออกกำลังเพื่อเพิ่มความทนทานควบคู่ไปด้วยซึ่งทำได้โดยใช้น้ำหนักต้านที่เบาๆ (หนักประมาณ 20-40% ของน้ำหนัก ที่สามารถยกได้มากที่สุด ) แต่ต้องยกติดต่อกันหลายๆครั้ง

3. เพิ่มความทนทานให้ระบบหัวใจ หลอดเลือด และปอด โดยการออกกำลังแบบแอโรบิก ประมาณ 30 นาที/วัน

4. ออกกำลังเคลื่อนไหวข้อที่บาดเจ็บ ให้มากขึ้น แต่จะต้องค่อย ๆ เพิ่มอย่างช้า ๆ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ข้อนั้นเกิดบาดเจ็บซ้ำขึ้นอีก ซึ่งคงต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อแนะนำการบริหารสำหรับข้อแต่ละข้อโดยเฉพาะ

5. ก่อนที่จะเล่นกีฬาจะต้องรู้สึกว่าข้อปกติ ไม่มีอาการปวด บวม หรือ เสียวในข้อ และควรใช้ผ้ายืดรัดบริเวณข้อ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อด้วย

ถ้ามีข้อสงสัยกรุณาปรึกษากับแพทย์ หรือ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ที่รักษาท่านอีกครั้ง ……….


.....................

ตะคริว ( muscle cramps )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-08-2008&group=6&gblog=20

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-06-2008&group=6&gblog=16

การยืดเส้นแบบประหยัด .... โดยม.ร.ว. ธันยโสภาคย์ เกษมสันต์

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=27

ข้อเท้าเคล็ด

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-06-2008&group=6&gblog=15

เส้นเอ็น เข่า ฉีกขาด .... knee ligament sprain /injury

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-07-2009&group=6&gblog=31

หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด [ meniscus , เมนิคัส ]

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2009&group=6&gblog=30





Create Date : 18 พฤษภาคม 2551
Last Update : 8 มิถุนายน 2558 13:26:43 น. 1 comments
Counter : 13743 Pageviews.  

 



บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 1 .... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=22

บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 2 เจ็บเข่า.... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=23

บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 3 เจ็บขา.... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=24

บาดเจ็บจากการวิ่ง....ตอนที่ 4 เจ็บเท้า.... โดย ศ.นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=25

วิ่งอย่างไร ไม่ให้ ปวดเข่า ..... โดย อ.นพ.จักรกริช กล้าผจญ์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=26

ตะคริว ( muscle cramps )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-08-2008&group=6&gblog=20

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-06-2008&group=6&gblog=16

การยืดเส้นแบบประหยัด .... โดย ม.ร.ว. ธันยโสภาคย์ เกษมสันต์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=6&gblog=27



โดย: หมอหมู วันที่: 15 สิงหาคม 2555 เวลา:3:07:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]