Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กระดูกไหปลาร้าหัก


กระดูกไหปลาร้าหัก

กระดูกไหปลาร้า เป็นตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย แต่มักไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง และ ไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อน ยกเว้น เวลาหายแล้ว จะมีกระดูกติดซ้อนกันทำให้กระดูกนูนขึ้น ไม่เรียบเหมือนปกติ

กระดูกไหปลาร้าหักมักเกิดจากการเอามือเท้าพื้นขณะเกิดอุบัติเหตุ หรือ ถูกกระแทกโดยตรงที่กระดูกไหปลาร้า

บริเวณกระดูกที่หัก จะมีอาการปวด โดยเฉพาะเมื่อต้องขยับไหล่ ขยับแขน หรือ เวลาหายใจแรง ๆ และจะมีอาการบวม กดเจ็บ หรือ คลำได้ปลายกระดูกที่หัก บางครั้งอาจได้ยินเสียงกระดูกเสียดสีกันเวลาขยับไหล่

วิธีรักษามีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แพทย์จะแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน

ดังนั้นจึงควรปรึกษาและสอบถามรายละเอียดกับแพทย์ผู้ให้การรักษาท่านโดยตรงอีกครั้งหนึ่งว่า ควรจะรักษาด้วยวิธีไหนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และถ้าจะเลือกรักษาวิธีอื่นผลจะเป็นอย่าไร เพื่อท่านจะได้ทราบถึงวิธีรักษาและ ให้ความร่วมมือในการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ การตัดสินใจขั้นสุดท้ายที่จะเลือกรักษาวิธีไหนนั้น ท่านต้องตัดสินใจ ด้วยตนเอง


แนวทางรักษากระดูกหัก


1.วิธีไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักไม่ต้องผ่าตัด

• รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

• อุปกรณ์พยุงไหล่ เช่น ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน ผ้ารัดไหล่รูปเลขแปด เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการเคลื่อนไหวของกระดูกหัก จะได้ไม่ปวด เท่านั้น ไม่ได้ใส่เพื่อมุ่งหวังจะทำให้กระดูกเข้าที่เหมือนปกติ ดังนั้นเมื่อรักษาหายแล้ว กระดูกจะติดผิดรูปทำให้กระดูกนูนกว่าปกติ แต่มักจะไม่มีปัญหาในการใช้งาน

• ปกติจะใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ไว้ประมาณ 4-6 อาทิตย์ ถ้าต้องการเอาอุปกรณ์พยุงไหล่ ออกเป็นช่วง ๆ เช่น อาบน้ำ หรือ เวลานอน ก็เอาออกได้ เพียงแต่อาจมีอาการปวดบ้างเวลาขยับไหล่




2.วิธีผ่าตัด ซึ่งอาจแบ่งเป็น

2.1 ผ่าตัดทำความสะอาดบาดแผลแต่ไม่ใส่เหล็ก แล้วใส่เครื่องพยุงไหล่ไว้

2.2 ผ่าตัดใส่เหล็กเพื่อยึดตรึงกระดูก มีหลายชนิดเช่น ลวด แผ่นเหล็ก แกนเหล็ก

ข้อบ่งชี้ที่ควรรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เช่น

• กระดูกหักหลายชิ้น หรือแตกเข้าข้อ

• มีการเคลื่อนของกระดูกที่หักไปมาก โดยเฉพาะ หักในบริเวณ ส่วนปลายกระดูกไหปลาร้า (ด้านข้อไหล่)

• มีแผลเปิดเข้าไปถึงบริเวณกระดูกที่หัก

• กระดูกไม่ติด และ มีอาการปวดเวลาขยับไหล่


อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์โดยด่วน ...

1. มือบวมมาก รู้สึกชาที่บริเวณปลายนิ้วมือ หรือ รู้สึกแขนอ่อนแรง

2. ปวดไหล่ หรือ ปวดแขนมาก รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น

3. มีไข้สูง แผลบวมหรือมีหนอง ปวดแผลมาก



ข้อแนะนำการบริหารข้อไหล่

1. ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาลงแล้ว เริ่มด้วยจำนวนครั้งน้อย ๆ และทำในท่าแรก ๆ ก่อน เช่น ลองทำท่าที่ 1-3 ก่อนสัก 1-2 อาทิตย์ ถ้าไม่ปวดก็เพิ่มทำท่าที่ 1-5 แล้วถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด

2. ขณะออกกำลัง ถ้าปวดมากจนทนไม่ไหว ก็ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดพักการบริหารท่านั้นไว้ก่อนจนอาการปวดดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น อย่าหักโหมหรือทำอย่างรุนแรง รวดเร็ว

3. ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันอย่างน้อย 2-3 รอบ เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นจึงเพิ่มจำนวนครั้งในแต่ละวันมากขึ้น

4. ในระหว่างการบริหารหรือการเกร็งกล้ามเนื้อ อย่ากลั้นหายใจ เพราะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งสามารถป้องกันการกลั้นหายใจโดยให้ออกเสียงนับ หนึ่งถึงห้า หรือ นับหนึ่งถึงสิบ ดัง ๆ ขณะบริหาร


ท่ากายบริหารข้อไหล่

1. ท่าหมุนข้อไหล่

ยืนก้มหลังลงเล็กน้อย (อาจใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อช่วยพยุงตัว) หรือ นอนคว่ำอยู่บนเตียง แล้วปล่อยแขนห้อยลงตรง ๆ ค่อย ๆ หมุนแขนเป็นวงกลม ให้หมุนเป็นวงที่กว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ หมุนประมาณ 10 รอบแล้วพัก ทำซ้ำ 10 เที่ยว

2. ท่าเคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง

ก. ยกแขนไปด้านหน้า ข้อศอกเหยียดตรง ยกสูงจนเสมอกับหัวไหล่ ค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 เที่ยว

ข. ยกแขนไปด้านหลัง ข้อศอกเหยียดตรง ยกให้สูงมากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 เที่ยว

ค. ยกแขนไปด้านข้าง ข้อศอกเหยียดตรง กางแขนให้สูงมากที่สุด จนเสมอกับหัวไหล่ ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วหุบแขนลงจนแนบลำตัว ทำซ้ำ 10 เที่ยว

ง. หุบแขนแนบลำตัว งอข้อศอกตั้งฉากให้มือชี้ตรงไปข้างหน้า แล้วหมุนไหล่ให้ แขนบิดหมุนออก มากที่สุด ค้างไว้ นับ1-10 แล้วหมุนไหล่ให้ แขนบิดหมุนเข้า มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 ทำสลับกัน 10 เที่ยว

3. ท่าชักรอก

นำเชือกคล้องผ่านรอกเหนือศีรษะทางด้านหน้า ใช้มือจับปลายเชือกทั้งสองข้างแล้วใช้แขนข้างที่ไม่ปวดดึงเชือกลง เพื่อยกแขนข้างที่ปวดขึ้น ให้ยกสูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อย ๆ หย่อนเชือกลง ทำซ้ำ 10 เที่ยว

4. ท่ายกไม้

เริ่มต้นโดยใช้ไม้พลอง ที่หนักพอสมควร ยาวประมาณ 2-3 ฟุตและมือกำได้ถนัด ยื่นแขนและเหยียดข้อศอกตรงไปข้างหน้า ใช้มือทั้งสองข้างจับไม้พลองโดยให้แขนทั้งสองข้างขนานกัน

ยกแขนขึ้น-ลง ด้านหน้า ยกแขนขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ นับ 1-10 เมื่อครบแล้วปล่อยลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนเป็น ยกแขนขึ้น-ลง ด้านหลัง ยกแขนขึ้นมากที่สุดค้างไว้นับ 1-10 เมื่อครบแล้วปล่อยลงทำซ้ำ10 ครั้ง

ยกแขนสูงเหนือศีรษะ แล้วเอียงไปด้านซ้ายให้มากที่สุด สลับกับเอียงไปด้านขวาให้มากที่สุด ทำข้างละ 10 ครั้ง

5. ท่านิ้วไต่ผนัง

ก. ยืนหันหน้า เข้าผนัง ห่างจากผนังประมาณ 1 ฟุต เอามือวางที่ผนังแล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อยๆ ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาก็พยายามทำให้สูงกว่าเดิม อย่าเขย่งหรือเอียงตัว

ข. ยืนหัน ด้านข้าง เข้าผนัง ห่างประมาณ 1 ฟุต เอามือวางที่ผนังแล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อย ๆ ให้สูงมากที่สุด เท่าที่จะทนปวดได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาก็พยายามทำให้สูงกว่าเดิม อย่าเขย่งตัวหรือเอียงตัว



ภาพ วิธีบริหาร ไหล่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=7


แถม ..
ควรบอก หรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ???    
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7

คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด    
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6

ผ่าตัด เสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ??? .... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" ....   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

กระดูกหัก ผ่า - ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากัน    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=6&gblog=2

กระดูกหัก รักษาอย่างไรดี    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=6&gblog=1

กระดูกหักเมื่อไรจะหาย    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-01-2008&group=6&gblog=4

การดูแล หลังผ่าตัดกระดูก   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-01-2008&group=6&gblog=3





Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 30 กันยายน 2558 21:51:36 น. 4 comments
Counter : 67223 Pageviews.  

 
เดี๋ยวจะนำไปบอกพี่ชายค่ะ
เพราะพึ่งหักไปเมื่อไม่กี่วันมานี่
ยังนอนอยู่เลย

พี่ไม่ได้ผ่าตัดแต่ว่าใส่เสื้อกั๊ก ประครองเอาไว้ค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: เจ้าแม่แฟชั่น วันที่: 15 มีนาคม 2554 เวลา:2:59:48 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


โดย: ม.แมว วันที่: 22 ตุลาคม 2554 เวลา:15:13:57 น.  

 



กระดูกหัก รักษาอย่างไรดี

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=6&gblog=1

กระดูกหักเมื่อไรจะหาย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-01-2008&group=6&gblog=4

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-02-2008&group=6&gblog=5

กระดูกหัก ผ่า - ไม่ผ่า อย่างไหนดีกว่ากัน

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=6&gblog=2

กระดูกหัก ต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2009&group=6&gblog=28

การดูแล หลังผ่าตัดกระดูกหัก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-01-2008&group=6&gblog=3



โดย: หมอหมู วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:00:41 น.  

 
ขอบคุณครับ เพิ่งหักมาเมื่อวันที่ 31พฤษภา นี้เองครับ
ช่วงนี้คิดไปต่างๆนาๆว่า ใช้เวลาเท่าไหร่ในการรอให้กระดูกติด หายแล้วมันจะใช้งานได้เหมือนเดิมมั้ย เพราะผมเล่นยูโด แล้วมันต้องใช้แรงจากไหล่พอสมควร ที่สำคัญโอกาสล้มก็มีอีกเยอะ วิตกจริตมากๆครับกลัวจะกลับมาเล่นได้ไม่เหมือนเดิม


โดย: ablaze357 (ablaze357 ) วันที่: 4 มิถุนายน 2556 เวลา:7:46:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]