บอกแล้วไม่ฟัง
Group Blog
 
All blogs
 

=> จับสัญญาณคนไทยกับแคมเปญรัฐแก้หนี้ :: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 - 29 พ.ค. 2554

จับสัญญาณคนไทยกับแคมเปญรัฐแก้หนี้

การประกาศโครงการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของกระทรวงการคลัง ผ่านการดำเนินการของธนาคารรัฐ 3 ราย ด้วยเงื่อนไขจูงใจดอกเบี้ยต่ำ 10% นาน 3 ปี เป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งด้านบวกและด้านลบ มีทั้งที่เป็นห่วงเรื่องวินัยของลูกหนี้ และเสียงสนับสนุนเพราะมองว่าเป็นทางเลือกผ่อนปรนภาระให้กับลูกหนี้ธนาคารเอกชน ที่แบกดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในอัตราสูง

อย่างไรก็ตาม โครงการในลักษณะนี้นอกจากจะถูกมองว่าเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคแล้ว ในบางแง่บางมุมกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อโครงการ อาจสะท้อนนัยบางประการเกี่ยวกับ "หนี้" ในมือของประชาชนด้วยหรือไม่

หากพิจารณาข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) พบว่า ในไตรมาส 1/54 ที่ผ่านมา ทั้งระบบมีการเปิดบัญชีสินเชื่อใหม่ทั้งสิ้น 1.62 ล้านบัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต3.83 แสนบัญชี มีสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,189 ล้านบาท สินเชื่อ

บ้าน 8.32 หมื่นบัญชี มีสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น112,315 ล้านบาท สินเชื่อส่วนบุคคล5.01 แสนบัญชี มีสินเชื่อคงค้างเพิ่ม84,174 ล้านบาท สินเชื่อรถยนต์ 3.60 แสนบัญชี มีสินเชื่อคงค้างเพิ่ม 168,529 ล้านบาท และอื่น ๆ 2.96 แสนบัญชีมียอดสินเชื่อคงค้าง 114,941 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาที่ข้อมูลการชำระหนี้ของลูกหนี้รายย่อยทั้งระบบย้อนหลัง3 ไตรมาส ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก สะท้อนว่าความสามารถในการชำระหนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

ข้อมูลบัญชีสินเชื่อทั้งระบบ ณไตรมาส 1/54 ที่ 62.52 ล้านบัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อบุคคลธรรมดา 58.75 ล้านบัญชี สินเชื่อนิติบุคคล 3.77 ล้านบัญชีนั้นพบว่า บัญชีสินเชื่อบุคคลธรรมดาที่มีการเคลื่อนไหวมีอยู่ทั้งสิ้น 37.5 ล้านบัญชี ซึ่งหากเรียงลำดับจากจำนวนบัญชีพบว่า สินเชื่อบัตรเครดิตมีสัดส่วนมากสุดคือ 13.7 ล้านบัญชี หรือ 37%ตามด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล 10 ล้านบัญชีหรือ 27% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.2 ล้านบัญชี หรือ 11% สินเชื่อรถยนต์4.0 ล้านบัญชี หรือ 10% อื่น ๆ อีก5.6 ล้านบัญชี หรือ 15%

โดยกลุ่มสินเชื่อบุคคลที่มีการแสดงความเป็นห่วง พบว่าจากบัญชีที่มีการเคลื่อนไหว 10 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ปกติอยู่ 7.4 ล้านบัญชี หรือ 74% ส่วนที่ต้องระวังและติดตามคือมีการค้างชำระ31-90 วัน มีอยู่ 2 แสนบัญชี หรือ 2%เป็นหนี้เสีย หรือ NPL 2.4 แสนบัญชีหรือ 24%

สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต จาก 13.7 ล้านบัญชี พบว่าเป็นลูกหนี้ดีอยู่ 12.2 ล้านบัญชี หรือ 89% ต้องระวังติดตาม1 แสนบัญชี หรือ 1% และเป็น NPL 1.4 ล้านบัญชี หรือ 10% สินเชื่อรถยนต์จาก 4 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ดี3.3 ล้านบัญชี หรือ 83% ลูกหนี้ที่ต้องระวังและติดตาม 3 แสนบัญชีหรือ 5.6% และ NPL 4 แสนบัญชีหรือ 11.4%

ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นกลุ่มที่มีNPL ต่ำสุด และเครดิตบูโรระบุว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องกังวลเนื่องจากมีหลักทรัพย์ค้ำประกันจำนองไว้กับธนาคาร จาก4.2 ล้านบัญชี พบว่าเป็นลูกหนี้ดีอยู่3.2 ล้านบัญชี หรือ 76% ลูกหนี้ต้องระวังและติดตาม 7 แสนบัญชี หรือ 17% และ NPL 3 แสนบัญชี หรือ 7%

แต่ในฐานะผู้จัดการใหญ่ของเครดิตบูโร "สุรพล โอภาสเสถียร"กลับมองข้อมูลสินเชื่อเหล่านี้ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันค้าปลีกในประเทศปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน และถ้ายังคงต่อเนื่องไปอีก ย่อมต้องมีกลุ่มที่เสี่ยงและต้องติดตามอย่างใกล้ชิดนั่นคือ กลุ่มลูกหนี้สินเชื่อบุคคล เพราะราคาน้ำมันจะส่งผลต่อราคาสินค้าและเงินเฟ้อ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีรายได้น้อยและคงที่ ถ้ารายจ่ายสูงขึ้น ความสามารถชำระหนี้กลุ่มนี้จะลดลง

ในส่วนผลของมาตรการกระตุ้นของภาครัฐทั้งโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัย 0%2 ปี มาตรการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบัตรเครดิตในกลุ่มลูกค้าที่ประวัติการชำระหนี้ดี สุรพลให้ความเห็นว่า เป็นพัฒนาการที่ต้องจับตามอง เนื่องจากจะมีผลทำให้การแข่งขันในระบบสถาบันการเงินสูงขึ้น เนื่องจากแต่ละธนาคารคงจะมีมาตรการเพื่อป้องกันลูกค้าตัวเองเพราะลูกค้าบางกลุ่มก็มีอยู่จำนวนไม่มาก เช่น ลูกค้าบัตรเครดิตที่ไม่จ่ายเต็มวงเงิน ซึ่งธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยจากกลุ่มนี้ก็มีอยู่เพียง 6.75% ของฐานสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้าง 1.52 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันลูกค้าบัตรเครดิตมีการจ่ายเต็มจำนวนมีอยู่ถึง 40-60%

อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโรก็ให้ความเห็นในที่สุดว่า แม้จะต้องพยายามป้องกันฐานลูกค้าตัวเอง แต่ธนาคารพาณิชย์คงไม่ทำให้ถึงขั้นมีการหย่อนความเข้มงวดในการให้สินเชื่อเพราะอาจเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย

ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่า นับจากต้นปีมาอัตราเงินเฟ้อของไทยได้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในส่วนของเงินเฟ้อทั่วไปนั้นในเดือนม.ค.-เม.ย. อยู่ที่ 3.03% 2.87% 3.14%และ 4.04% ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานช่วงเวลาเดียวกันก็ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 1.32% 1.45% 1.62% และล่าสุดเดือน เม.ย. 2.07% ตามลำดับ

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ตั้งข้อสังเกตในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดว่า การเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อของประเทศไทยนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งตัวของราคาในหมวดพลังงาน ที่ถูกกดดันจากฝั่งอุปสงค์ที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และฝั่งอุปทานที่มีความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันเป็นแรงกดดันสำคัญ

เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นหมายถึงราคาสินค้าที่แพงขึ้น ส่งผลให้อำนาจการจับจ่ายของผู้บริโภคลดน้อยลงไปตามลำดับนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ความสามารถในการชำระหนี้เป็นประเด็นขึ้นมา โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ที่ความสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้น้อย

ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุดประจำเดือน เม.ย. ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่าหนี้สินของภาคครัวเรือนได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกู้ยืมเพื่อซื้อยานพาหนะที่ขยายตัวในอัตราสูงมาระยะหนึ่งแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากรายได้ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง

สัญญาณหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นได้เริ่มปรากฏตั้งแต่ปี 2553 ถือเป็นปัจจัยที่ธปท.ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 - 29 พ.ค. 2554




 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 26 พฤษภาคม 2554 10:42:33 น.
Counter : 677 Pageviews.  

=> เครดิตบูโรจับตาสินเชื่อบุคคล น้ำมันแพง-เงินเหลือจ่ายหนี้ลด

เครดิตบูโรจับตาสินเชื่อบุคคล น้ำมันแพง-เงินเหลือจ่ายหนี้ลด

ที่มา: หนังสือพิมพ์ ดอกเบี้ยธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 พฤษภาคม 2554


เครดิตบูโร โชว์ตัวเลขไตรมาสแรก มีฐานข้อมูลสินเชื่อ 62.5 ล้านบัญชี สมาชิก 73 ราย ชี้ สถาบันการเงินแห่ดูข้อมูลกว่า 4.4 ล้านรายการ หรือ 1.4 ล้านรายการต่อเดือน คิดเป็นยอดเติบโต 10% ตามทิศทางสินเชื่อเติบโตสูง เผยสัญญาณสินเชื่อบุคคลเป็นหนี้เสียเพิ่ม หลังราคาน้ำมันดีดสูง-ราคาสินค้าพุ่ง กดความสามารถชำระหนี้ลดลง นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา บริษัทมีสมาชิกสถาบันการเงินที่ต้องส่งรายการชำระหนี้ของลูกค้าให้แก่บริษัททั้งสิ้น 73 ราย คิดเป็นจำนวนบัญชีสินเชื่อทั้งสิ้น 62.5 ล้านบัญชี โดยแบ่งเป็นบัญชีบุคคลธรรมดาจำนวน 58.75 ล้าน บัญชี หรือมีลูกหนี้ 19 ล้านคน และบัญชีนิติบุคคลจำนวน 3.77 ล้านบัญชี

ทั้งนี้ ในจำนวนบัญชีบุคคลธรรมดาเป็นบัญชีที่มีการเคลื่อนไหว 37.5 ล้านบัญชี และบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวและสมาชิกหยุดการนำส่งข้อมูล 21.5 ล้านบัญชี ซึ่งบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมีลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือเป็นเอ็นพีแอลจำนวนทั้งสิ้น 5.4 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 1.9 ล้านคน ซึ่งโดยเฉลี่ยลูกค้า 1 รายจะมี 3 บัญชีด้วยกัน

ขณะที่ จำนวนการสืบค้นข้อมูลในช่วงไตรมาสที่ 1 มีสถาบันการเงินเข้ามาสืบค้นข้อมูลเครดิตลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 4.4 ล้านรายการ คิดเป็นเฉลี่ย 1.46 ล้านรายการต่อเดือน แต่หากเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นรายการที่เติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ขณะที่ ปี 2553 มียอดการสืบค้นข้อมูลเครดิตทั้งสิ้น 16.10 ล้านรายการ

สำหรับในส่วนของประชาชน บริษัท และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นเจ้าของข้อมูลให้ความสนใจมาตรวจเครดิตบูโรของตนเองเป็นจำนวนเฉลี่ย 25,000 รายการต่อเดือน โดยผ่านช่องทางที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนของเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย และธนาคารนครหลวงไทย เป็นต้น

"ไตรมาสแรก บริษัทมีฐานข้อมูลทั้งสิ้น 62.5 ล้านบัญชี โดยมีสมาชิก 73 ราย ขณะที่ การเข้าสืบค้นข้อมูลจำนวน 4.4 ล้านรายการ ถือว่าเป็นจำนวนที่สูงขึ้นตามปริมาณการขอสินเชื่อที่มีทิศทางเติบโตเพิ่มขึ้น ส่วนนโยบายในปีนี้ เราจะมีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเข้าใจผิด ลดข้อโต้แย้ง ข้อพิพาท เพื่อก่อให้เกิดวินัยทางการเงิน" นายสุรพล กล่าวและเผยต่อไปว่า

จากข้อมูลเครดิตในภาพรวมของปี 2554 พบว่า ปัจจัยเสี่ยงในปี 2554 ที่มีความเป็นห่วง คือ กลุ่มลูกค้าสินเชื่อบุคคลอาจมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง จนอาจก่อให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเงินเหลือสุทธิจากรายได้เมื่อหักรายจ่ายประจำมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้อำนาจในการจับจ่ายลดลง

นอกจากนี้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้น เป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งหากลูกค้าสินเชื่อบุคคลที่มีภาระต้องชำระหนี้อยู่ในระดับ 50-60% ของรายได้ต่อเดือน อาจต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการก่อหนี้สิ้นใหม่ รวมถึงภัยธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งที่อาจส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง

ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทมีบัญชีลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจำนวน 10 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 27% ของพอร์ตลูกหนี้ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นบัญชีที่มีการชำระหนี้ปกติ 7.4 ล้านบัญชี บัญชีที่มีการค้างชำระตั้งแต่ 30-90 วัน มีอยู่จำนวน 2 แสนบัญชี และบัญชีที่ค้างชำระเกิน 90 วัน จำนวน 2.4 ล้านบัญชี

"ปีนี้สินเชื่อบุคคลน่าเป็นห่วง อาจมีสัญญาณเอ็นพีแอลเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงทางด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น ส่งผลทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มลูกค้าบุคคลลดลง เพราะสินเชื่อบุคคลมีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 28% ซึ่งหากลูกค้ามีข้อตกลงการชำระหนี้ในอดีต เช่น มีเงินเดือน 30,000 บาท แต่ตกลงจะชำระเงินกู้ 5,000 บาทต่อเดือน แต่มาปัจจุบันรายได้เท่าเดิม แต่มีรายจ่ายสูงขึ้น ทำให้เงินเหลือใช้น้อยลง จนกระทบการผ่อนชำระเงินกู้ได้ ทำให้มีความเป็นห่วงสินเชื่อบุคคลที่อาจจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นได้" นายสุรพล กล่าวและว่า


อย่างไรก็ดี แม้จะมีสัญญาณหนี้เอ็นพีแอลในกลุ่มสินเชื่อบุคคลมากขึ้น แต่ภาพโดยรวมของจำนวนบัญชีที่มียอดค้างชำระในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขไม่ได้มีความเคลื่อนไหวในสัดส่วนที่มากขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งเป็นผลมาจากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อมากขึ้น เช่น การปรับฐานรายได้ของผู้กู้ รวมถึงมีเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น

link: //www.dbbnews.com/index.php/2010-10-04-04-56-37/money-news/1227-2011-05-19-09-56-09




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 17:34:21 น.
Counter : 517 Pageviews.  

=> เครดิตบูโรส่งสัญญาณเตือนศก.ไทย

เครดิตบูโรส่งสัญญาณเตือนศก.ไทย

เว็บไซต์สยามธุรกิจ

23 พฤษภาคม 2554

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)เปิดเผยถึง สัญญาณเศรษฐกิจเครดิตบูโร ไตรมาส 1ประจำปี 2554ว่า ปัจจุบันเครดิตบูโรมีฐานข้อมูลมีจำนวนลูกหนี้ประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นจำนวนบัญชีสินเชื่อทั้งสิ้น 62.5 ล้านบัญชี โดยเป็นบัญชีที่เคลื่อนไหว 37.5 ล้านบัญชี และเป็นบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว และมีการหยุดนำส่งข้อมูลประมาณ 21.5 ล้านบาทบัญชี โดยในจำนวนนี้เป็นบัญชีที่มีการตค้างชำระเกิน 91 วันหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) 5.4 ล้านบัญชีหรือคิดเป็น 1.9 ล้านคน

ในขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินเข้ามาเช็คข้อมูลเครดิตของลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิม เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 4.4 ล้านรายการ คิดเป็นเฉลี่ย 1.46 ล้านรายการต่อเดือนสูงกว่าไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ที่อยู่ในระดับ 1 ล้านรายการต่อเดือนหรือเพิ่มขึ้น 40 % ในขณะเดียวกันมีประชาชน บริษัท และเอสเอ็มอี ที่เป็นเจ้าของข้อมูลให้ความสนใจมาตรวจเครดิตบูโรของตนเองเป็นจำนวน เฉลี่ย 2.5 หมื่นรายการต่อเดือนหนุนรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต ลดภาระลูกหนี้

ส่วนมุมมองต่อโครงการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต นายสุรพล กล่าวว่า จะทำให้เกิด กลไกตลาดในการแข่งขัน ถูกกระตุ้นโดยนโยบายผ่านการทำงานของสถาบันการเงินของรัฐ แม้ว่าจะมีสัดส่วนประมาณ 6.75% ของยอดหนี้คงค้างสินเชื่อประมาณ 1.52 แสนล้านบาท ผลประโยชน์ตกกับผู้ถือบัตรที่มีวินัยทางการเงิน - ผู้ที่ไม่มีการค้างชำระ ที่มีภาระน้อยลง

อีกทั้งมองว่าแนวทางการให้สินเชื่อโดยคิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของผู้กู้ ที่เป็นกระแสสากลจะเข้ามามีบทบาทและมีความเข้มข้นมากขึ้นในอนาคต โดยบางสถาบันการเงินได้เริ่มส่งสัญญาณที่จะนำเอาแนวทางนี้มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในอนาคต

การรแยกแยะลูกค้าที่มีประวัติการชำระเงินที่ดี หากสถาบันการเงินทำได้ดี ค่าใช้จ่ายและต้นทุนจะน้อยลง หากทำไม่ได้ตามเป้าหมายก็จะเป็นต้นทุนทางธุรกิจ มาตราการส่งเสริมการมีวินัยทางการเงินของสถาบันการเงินต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกันเพื่อกระตุ้นให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและเป็นไปตามความจำเป็นในอนาคต ไม่ควรเป็นการกระตุ้นให้บริโภคมากเกินไป โดยสถาบันการเงินที่ถูกรีไฟแนนซ์คงมีมาตรการทางการตลาดที่จะรักษาบัญชีเหล่านี้ของตนอย่างแน่นอน"

ปัจจุบันสถาบันการเงินของรัฐได้เข้ามามีบทบาทกระตุ้นการแข่งขัน ส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต ของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะการใช้สินเชื่ออย่างมีวินัย (ใช้ครบ-ใช้ตรง) โดยเสนอบริการที่น่าสนใจมาก เป็นนวัตกรรมทางความคิดที่แปลกใหม่ โดยไม่ได้ละทิ้งหรือผ่อนปรนมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงแต่อย่างใด ระยะต่อไป แนวทางการคิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงที่เป็นแนวโน้มสากลร่วมกับการให้กู้อย่างมีความรับผิดชอบ จะเข้าไปเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในระบบสถาบันการเงินไทย ภายใต้แผนแม่บททางการเงินฉบับที่ 2 อย่างแน่นอน

เชื่อบ้านหลังแรก0%ปลุกตลาดอสังหาฯ

ส่วนมุมมองของเครดิตบูโรที่มีต่อโครงการบ้านหลังแรก 0% 2 ปีแรก นายสุรพล กล่าวว่า จะทำให้มีกลไกตลาดในการแข่งขัน ถูกกระตุ้นโดยนโยบายผ่านการทำงานของสถาบันการเงินของรัฐ ทำให้สถาบันการเงินที่เหลือต้องนำเสนอสินเชื่อที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ โดยผลประโยชน์ตกกับผู้ขอกู้ที่มีวินัยทางการเงินซึ่งเป็นลูกค้าที่ดีแต่ยังไม่มีบ้าน และกลุ่มนี้ยังมีความต้องการบ้านอยู่อีกมาก



ที่มา: //www.siamturakij.com/




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 17:31:37 น.
Counter : 395 Pageviews.  

=> เครดิตบูโรแนะจับตาหนี้บุคคลเพิ่ม

เครดิตบูโรแนะจับตาหนี้บุคคลเพิ่ม

ตามที่ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) หรือ "สำนักปากท้อง" สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ภายใต้การประสานความร่วมมือกับ 3 ธนาคารเฉพาะกิจคือ

ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) กำหนดสรุปเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ย และวงเงินที่จะรับโอนหนี้บัตรเครดิตในวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 นั้น

ล่าสุดบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด(เอ็นซีบี)หรือ เครดิตบูโร เปิดบัญชีสินเชื่อในระบบที่เป็นฐานข้อมูลของเอ็นซีบีมีจำนวนลูกหนี้ประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นจำนวนบัญชีสินเชื่อทั้งสิ้น 62.5 ล้านบัญชี แบ่งเป็นบัญชีที่เคลื่อนไหวจำนวน 37.5 ล้านบัญชี ที่เหลืออีก 21.5 ล้านบัญชีเป็นบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว และสถาบันการเงินหยุดนำส่งข้อมูลหรือรายงาน อย่างไรก็ตามในจำนวนดังกล่าวสถาบันการเงินนำส่งรายงานเฉพาะที่เป็นบัญชีค้างชำระมากกว่า 90 วันขึ้นไป( ค้างชำระเกิน 91 วันถึง 210 วัน)ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลจำนวน 5.4 ล้านบัญชี คิดเป็น 1.9 ล้านคน

ขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินได้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลเครดิตของลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิม เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 4.4 ล้านรายการ คิดเป็นเฉลี่ย 1.46 ล้านรายการต่อเดือนสูงกว่าไตรมาสที่ 4 ปีก่อนที่อยู่ในระดับ 1 ล้านรายการต่อเดือนหรือเพิ่มขึ้น 40 % โดยพบว่ามีประชาชน บริษัท และเอสเอ็มอี ที่เป็นเจ้าของข้อมูลให้ความสนใจมาตรวจเครดิตบูโรของตนเองเป็นจำนวน เฉลี่ย 2.5 หมื่นรายการต่อเดือน

"นายสุรพล โอภาสเสถียร" ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโรหรือเอ็นซีบียังส่งสัญญาณถึงช่วงที่เหลือของปีนี้ว่า ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ หรือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น หรือภัยธรรมชาติและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้ง หากปัจจัยดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายจะทำให้ภาระการชำระหนี้ต้องอยู่ในระดับ 50-60% ของรายได้ต่อเดือน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาหนี้เอ็นพีแอลสำหรับสินเชื่อบุคคลธรรมดาที่เพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือน(มากว่า 90 วันถึง 210 วัน)จำนวน 5.4 ล้านบัญชี คิดเป็นลูกหนี้ 1.9 ล้านราย จากบัญชีที่มีการเคลื่อนไหวทั้งสิ้น 37.5 ล้านบัญชี(ดูตารางประกอบ)

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน แบ่งเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลค้างชำระสูงสุด 2.4 ล้านบัญชี จากทั้งสิ้น 10 ล้านบัญชีคิดเป็นสัดส่วนสินเชื่อ 27% ของสินเชื่อบุคคลธรรมดา ซึ่งคงต้องจับตาดูเป็นพิเศษเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจะกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ รองลงมาคือ สินเชื่อบัตรเครดิต1.4 ล้านบัญชี จากทั้งสิ้น 13.7 ล้านบัญชี สัดส่วน 37%

นอกจากนี้ ยังมีลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้เกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน90 วัน อยู่ในระดับเฝ้าระวังทั้งสิ้น 1.5 ล้านบัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต 1 แสนบัญชี สินเชื่อบุคคล 2 แสนบัญชีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 7 แสนบัญชี สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 3 แสนบัญชี และอื่นๆ 2 แสนบัญชี ขณะที่มีลูกหนี้มีประวัติดีชำระหนี้ภายใน 30 วัน 30.6 ล้านบัญชี

ต่อข้อประเด็น "โครงการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของรัฐบาล"นั้น นายสุรพลประเมินว่าจะมีบัญชีที่เข้าโครงการประมาณ 11.6 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดคงค้างสินเชื่อ 152,110 ล้านบาท ซึ่งวงเงินที่รัฐบาลตั้งไว้ 1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 6.57% ของยอดคงค้างสินเชื่อเท่านั้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,637 22-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ที่มา: //www.thannews.th.com/




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 17:35:09 น.
Counter : 364 Pageviews.  

=> 'เครดิตบูโร'ชี้การแข่งขันรุนแรง..................สยามรัฐ

'เครดิตบูโร'ชี้การแข่งขันรุนแรง..................สยามรัฐ

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

- มีประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาอย่างไร เรียกว่า วัดความตั้งใจในการชำระหนี้

- กู้ไปทำอะไร ที่เรียกว่า วัตถุประสงค์ของการกู้

- กู้ไปทำอะไร- จะมีแผนใช้คืนอย่างไร มีรายได้มาจากไหน- มีนิสัยใจคอ ประวัติการใช้หนี้อย่างไร

ภรรยาของเราเก็บเงินสะสมไว้ แล้วเพื่อนมาขอยืมเงิน ตัวเราเองเป็นคนตัดสินใจว่าจะให้ยืมหรือไม่ จะต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง

-วังปัจจัยเศรษฐกิจก่อหนี้เน่า

-แบงก์แห่ปล่อยสินเชื่อคนมีวินัย

ทั้งนี้ การแยกแยะลูกค้าที่มีประวัติการชำระเงินที่ดี หากสถาบันการเงินสามารถทำได้จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทำธุรกิจลง ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินที่ถูกรีไฟแนนซ์อาจต้องมีมาตรการทางการตลาดออกมาเพื่อรักษาบัญชีลูกค้าของตนเองเอาไว้ โดยปัจจัยที่เครดิตบูโรเป็นห่วงในปี 54 ประกอบด้วย1)การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน 2)ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่ปรับขึ้น 3)การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 4)ภัยธรรมชาติ 5)สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้ง เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้อำนาจการซื้อ การจ่ายลดลงผู้บริโภคจึงมีเงินเหลือสุทธิลดลง ดังนั้นการก่อหนี้ใหม่ต้องทำด้วยความระมัดระวังโดย เฉพาะภาระหนี้ที่อยู่ในระดับ 50-60%ของ รายได้/เดือน

โดย NCB มีมุมมองต่อโครงการสินเชื่อบ้านหลังแรก ว่าเป็นกลไกตลาดในการแข่งขันที่ถูกกระตุ้นในระดับนโยบาย ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ ทำให้เกิดการนำเสนอสินเชื่อที่ดีกว่า เป็นประโยชน์กับ "ผู้ขอกู้" ที่มีวินัยทางการเงินดีแต่ยังไม่มีบ้านซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการอยู่อีกมากด้วยการกำหนดคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ของตลาดเพื่อการแข่งขัน ส่งเสริมการมีวินัยทางการเงิน ไม่รับลูกค้ารีไฟแนนซ์ จึงไม่เกิดการเคลื่อนย้ายบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และไม่ทำลายการแข่งขัน อีกทั้งยังคงยึดหลักการวิเคราะห์สินเชื่อที่เป็นมาตรฐาน

การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้อยู่ที่ 3.0-5.0%ขณะที่สภาพัฒน์คาดว่าจะโต 3.5-4.5% ส่งผลให้การเติบโตของสินเชื่อไตรมาสแรกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง นับเป็นปัจจัยที่น่าสนใจ ส่งผลต่อยอดสินเชื่อรวมมีการขยายตัว 13.4% สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ขยาย 3.5% สินเชื่อเพื่อการบริโภคขยายตัว 16.3% สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ขยายตัว 31.8% โดยสถาบันการเงินหลายแห่งได้ออกโปรโมชั่นใหม่ นำเสนอสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีประวัติการชำระเงินที่ดี เช่น สินเชื่อบ้านหลังแรก 0% ช่วงเวลา 2 ปีแรก, สินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ดอกเบี้ย 10% เป็นต้นนอกจากนั้น ในอนาคตการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินแต่ละแห่ง จะหันมาปล่อยกู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีวินัย

การเข้าถึงข้อมูล"การเช็กเครดิต" ผ่านเคาน์เตอร์แบงก์ ผ่าน ATM, Mobile, Internet นำไปสู่วัฒนธรรมการ "เช็กก่อนกู้" และสนับสนุนแผนแม่บททางการเงินฉบับที่ 2 ด้วยการพัฒนาเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น Credit scoring Early signal system เป็นต้น

โรได้ด้วยตนเอง การที่มีช่องทางให้บริการเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวงไทย ตู้ ATM ของกรุงไทยและไทยพาณิชย์ จะได้รับรายงานทางไปรษณีย์ภายใน 7 วัน หรือจะมาที่ศูนย์บริการบริเวณ BTS ศาลาแดงและที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ชั้น 2 รอรับผลได้ภายใน 15 นาที หรือแม้แต่ระบบธนาคารบนมือถือ ทำให้มีผู้ยื่นขอใช้บริการเฉลี่ย 25,000 รายการ/เดือน




24 พฤษภาคม 2554




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 17:22:02 น.
Counter : 343 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

amaridar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add amaridar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.