แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า buy แล้ววbuyอีก......... faith, hope and charity เฟศบุ๊ค http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
20 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
Good Will Hunting (1997) :Some people can never believe in themselves,until someone believes in them

ดูหนังเรื่องนี้ กะชอบอีกเหมือนกัน ในมุมมอง ของคนที่มี gift ลึกๆๆเค้าเป็นคนดีที่จิตแพทย์มองเห็น (โรบิน วิลเลี่ยม) แต่วิล จะเปิดใจและตัวตนของตัวเองออกมา ก็ใช้เวลาเหมือนกัน และ โรบิน วิลเลี่ยม อยากให้เค้าใช้ชีวิตที่เค้าอยากจะเป็น ไม่ใช่เครื่องมือง gift เอามาใช้ผลประโยชน์ของใคร

janitor (แจน'นิเทอร์) n. ภารโรง,คนดูแลอาคาร, S. . janitorial adj. ดูjanitor

insult [N] การดูถูก, See also: การประชดประชัน, การสบประมาท, การเย้ยหยัน, Syn. abuse, affront, insolence, offense



และตอนท้ายของเรื่อง วิลพูดได้ สะจายยม๊ากกก

"I have to go see about a girl." กะตูไม่เอาอะไรแหละ ไปหาแฟนตูที่แคลิฟอร์เนียดีก่า

Sean also leaves to travel the world โรบิน วิลเลี่ยมกะไปเที่ยวรอบโลกแหละ




อ่าที่นี้เห็นบทความรีวิวหนังเรื่องนี้ ในแง่ของการแพทย์อะ กะรีวิวไว้ดีม๊ากกเลย อีกมุมมองหนึ่ง กะเลยขอก๊อบมาอะ แฮะ แฮะ รีวิวเร็วที่สุด แหละเรื่องนี้ ก๊อป เพจ ก๊อบ เพจ แฮะ แฮะ ขออนุญาติ เอาบทความมารีวิวน๊ะค่ะ เพราะเป็นมุมมองด้านจิตวิทยาค่ะ




จิตเวชบนแผ่นฟิล์ม : จิตบำบัดใน “Good Will Hunting”

เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา พ.บ.*

*ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร 10700


บทคัดย่อ

จิตแพทย์เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในภาพยนตร์ต่างประเทศ เป็นตัวละครที่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่ออธิบายพฤติกรรมของตัวละครอื่นๆ ในภาพยนตร์ เพื่อสร้างความสมจริงให้กับพฤติกรรมที่อาจจะดูเหมือนว่าไม่สมจริงในสายตาของผู้ชม โดยจิตแพทย์ในภาพยนตร์มักจะเป็นผู้ไขปริศนาเงื่อนปมต่างๆ ในภาพยนตร์ รวมถึงการเชื่อมโยงอดีตเข้ากับปัจจุบัน

Good Will Hunting เป็นภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่ดำเนินไปในทิศทางนี้ ตัวภาพยนตร์นอกจากจะดำเนินเรื่องในแนวที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมกัน คือ ปัญหาบุคลิกภาพมีผลมาจากการถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก (child abuse) ภาพยนตร์ยังสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของนักจิตบำบัด สิ่งที่เกิดขึ้นในชั่วโมงของการรักษา เช่น ปัญหา transference, countertransference, resistance, silence anxiety รวมถึง working through ผู้เขียนมีความเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ภาพยนตร์ยังให้รายละเอียดของการทำจิตบำบัดเป็นสิ่งซึ่งมีประโยชน์กับแพทย์ประจำบ้าน และผู้สนใจ วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(4):370-382.

คำสำคัญ จิตแพทย์ ภาพยนตร์ การถูกทำร้ายในวัยเด็ก



Psychiatry in the Movie

Thienchai Ngamthipwatthana, M.D.*

* Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Bangkok 10700.

Abstract

In Western movies a psychiatrist is created to play an important role in the movies. His role is to justify and explain the unrational behaviors of the leading characters to make it more sensible for audiences.

“Good Will Hunting” is one of good examples of this. It tells the story in the popular theme (of western psychiatry) about how our personalities may be affected by child abuse in early period. It also shows how the psychiatrist treats his patient in the therapy session, the interaction, and how the patient works through his conflict. This film is recommended to psychiatric residents and those who are interested in psychiatry and psychotherapy. J Psychiatr Assoc Thailand 1999; 44(4):370-382.

Key words : psychotherapy, child abuse, movie about psychiatry.





บทบาทของจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาปรากฎในภาพยนตร์ต่างประเทศมานาน แล้ว อย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2449 ในภาพยนตร์เรื่อง Dr. Dippy’s Sanitarium แต่บทบาทที่ชัดเจนจะอยู่ในเรื่อง The Criminal Hypnotist ที่กล่าวถึงนักสะกดจิตและอาชญากรรม1 ภาพของจิตเวชศาสตร์ในสายตาของคนทั่วไปซึ่งสื่อออกมาโดยภาพยนตร์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย2,4 ภาพของจิตแพทย์เองบนจอภาพยนตร์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ Dr. Dippy (ลักษณะเหมือนตัวตลก และมักจะไม่ค่อยฉลาด หรือโง่กว่าผู้ป่วยของเขา) Dr.Wonderful (มีความอบอุ่น เป็นมิตร และอุทิศตัวให้กับคนไข้โดยไม่มีข้อแม้) และ Dr. Evil (ป่วย บ้าคลั่งมีลักษณะใช้อำนาจ และแสวงประโยชน์จากผู้ป่วย) 1,3,4 ภาพยนตร์ต่างประเทศที่เป็น melodrama ซึ่งมักจะเจาะลึกลงไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น ผู้เขียนบทมักจะพยายามสอดแทรกแนวคิดทางด้านจิตวิทยา หรือจิตเวชศาสตร์ลงไป เพื่อทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของตัวละครในเรื่องว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทำให้เรื่องราวดูมีเหตุมีผล และเกิดความสมจริง แม้ว่าภาพที่เกิดขึ้นอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงก็ตาม5 ตัวอย่างที่อาจจะเห็นได้ชัด เช่น ภาพยนตร์เรื่อง “As Good As it Get”



ภาพยนตร์บางเรื่องนอกจากจะมีเนื้อหาทางด้านจิตวิทยาแล้ว บางครั้งภาพยนตร์ประเภทนี้อาศัยบทบาทของจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาเป็นตัวประกอบที่สำคัญในการดำเนินเรื่อง2 ทั้งในการอธิบายพฤติกรรมของตัวเอกให้ผู้ชมเข้าใจ รวมถึงการช่วยให้ตัวเอกเกิดความตระหนักรู้ในปัญหา และบรรลุถึงความรู้ความเข้าใจในตัวเองมากขึ้น6 เช่นภาพยนตร์เรื่อง “Ordinary People” ซึ่งสามารถให้ภาพที่ดีและถึงการทำงานของจิตแพทย์ แม้ว่าบางอย่างจะไม่ตรงกับความจริงก็ตาม1

เมื่อเร็วๆ นี้ผู้เขียนมีโอกาสชมภาพยนตร์ เรื่อง “Good Will Hunting” ซึ่งเมื่อได้ชมแล้วผู้เขียนเกิดความรู้สึกว่า นี่เป็นภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งซึ่งนอกจากจะสะท้อนภาพที่ดีของงานจิตเวชแล้ว ยังให้ภาพที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาสำหรับแพทย์ประจำบ้าน และผู้สนใจในการทำจิตบำบัด อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ปุถุชนของนักจิตบำบัด ซึ่งตัวเองก็ได้เรียนรู้จากผู้ป่วยเช่นกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รางวัลตุ๊กตาทอง (Oscar award) สาขาเขียนบทยอดเยี่ยม



เนื้อเรื่อง

Will Hunting เป็นเด็กหนุ่มที่เติบโตมาในครอบครัวที่แตกแยกและถูก physical abuse ทั้งจากมารดาและบิดาเลี้ยง วิลล์ถูกส่งไปอยู่ในสถานดูแลเด็กหลายแห่ง เขาเติบโตมาท่ามกลางชีวิตที่ชอบใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และเคยถูกตัดสินลงโทษในขณะเป็นเยาวชนเนื่องจากการกระทำผิดกฎหมายหลายครั้ง ในระยะหลังภาพยนตร์แนวจิตวิทยามักจะอิงงานวิจัยทางจิตเวชศาสตร์ โดยเฉพาะอย่าง ปัญหา child abuse7,8 มักจะเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาจิตเวชอื่นๆ ที่เกิดตามมา

ภาพยนตร์เปิดเรื่องให้เราเห็นถึงการทำงานของวิลล์ในฐานะของภารโรงในสถาบัน MIT ซึ่งมีแลมเบอร์ โปรเฟสเซอร์ทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงสอนอยู่ วิลล์มีเพื่อนสนิท 3 คน ชัคเพื่อนสนิทคนหนึ่งอาชีพเป็นคนงานก่อสร้างจะเป็นคนขับรถรับเพื่อนอีกสองคนมารับวิลล์ที่บ้านเพื่อไปทำงาน เพื่อนสนิท 4 คนนี้จะมีกิจกรรมเฮฮาร่วมกัน รวมไปถึงการทะเลาะวิวาทกับคู่อริของวิลล์ในวันหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การถูกจับกุมและรอคำพิพากษาจากศาล จุดเปลี่ยนของชีวิตเขาเกิดขึ้นเมื่อเขาแอบเขียนคำตอบของสมการทางคณิตศาสตร์ที่โปรเฟสเซอร์ให้เป็นการบ้านสำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนซึ่งไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้บนกระดานดำหน้าห้องเลคเชอร์ แน่นอนว่าคำตอบที่วิลล์ให้เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ทำให้โปรเฟสเซอร์พยายามค้นหาให้ได้ว่าใครคือคนคนนั้น




ในช่วงต่อจากนั้นภาพยนตร์กล่าวถึงการที่กลุ่มเพื่อนของวิลล์และตัวเขาไปเที่ยวผับแถบฮาร์วาร์ด ชัคพยายามจีบนักศึกษาคนหนึ่งซึ่งกลายเป็นชนวนให้ถูกเพื่อนชายพูดบลั๊ฟเรื่องการศึกษา สุดท้ายวิลล์ต้องเข้ามาแก้สถานการณ์ ในฉากนี้ภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงความสามารถของวิลล์และประสบการณ์ชีวิตของเขาที่ได้จากหนังสือ รวมไปถึงความฉลาดของผู้เขียนบทในการแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์และความรักพวกพ้องในกลุ่ม ที่ฌอนกล่าวถึง loyalty กับแลมเบอร์ในตอนท้าย

หลังเหตุการณ์วิลล์ได้เพื่อนหญิงคือสกายลาร์ เธอเป็นตัวละครที่แสดงให้เห็นปัญหาปัจจุบันในตัววิลล์ชัดเจนมากขึ้น นอกจากจะมีลักษณะของการต่อต้าน authority และกฎเกณฑ์แล้ว ความสัมพันธ์กับสกายลาร์ที่ตึงเครียดในช่วงต้น และช่วงท้ายทำให้เราเห็นถึงปัญหาของการไม่สามารถมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานและยั่งยืนของวิลล์กับคนอื่นได้นอกเหนือจากเพื่อนสนิททั้งสามคนได้ วิลล์กลัวที่จะเจ็บปวดและผิดหวังจากความสัมพันธ์ เขาไม่ไว้วางใจคนอื่นและกลัวการถูกทอดทิ้ง จึงเลือกที่จะไม่คบคนอื่น หรือหากคบกันก็เลือกที่จะทิ้งคนอื่น และยุติความสัมพันธ์ก่อนที่ตัวเองจะถูกทิ้ง



แลมเบอร์พบในที่สุดว่าเด็กหนุ่มภารโรงซึ่งความรู้ของเขาเกิดจากการศึกษาด้วยตนเอง และการแอบฟังการสอนเป็นผู้เฉลยสมการคณิตศาสตร์ที่นักศึกษาทั้งชั้นเรียนของเขาไม่สามารถให้คำตอบได้ เขาจึงตัดสินใจที่จะเข้ามาอุ้มชูและปลุกปั้นภารโรงอัจฉริยะคนนี้ให้เป็นนักวิชาการที่สามารถในอนาคต

เขาจึงยื่นคำร้องต่อศาลให้วิลล์เข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบของเขา และเข้ารับการบำบัดทางจิตเพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกโทษจำคุกในความผิดเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย วิลล์ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวพร้อมกับการท้าทาย หลอกล่อ และพยายามเอาชนะผู้รักษา 5 คนที่เขาพบ โดยการศึกษาถึงงานเขียนของแต่ละคนเพื่อเข้าถึงบุคลิกของผู้รักษา และแสดงการต่อต้านในชั่วโมงของการรักษา เช่นการกล่าววิเคราะห์ผู้รักษาคนหนึ่งซึ่งเป็นเกย์ หรือแกล้งพูดถึงเนื้อหาในจิตใต้สำนึกในขณะถูกสะกดจิตให้ดูเหมือนว่าเขาเคยถูกกระทำทารุณทางเพศในวัยเด็ก เขาท้าทายผู้รักษาทุกคนที่แลมเบอร์พาไปพบ และทำให้ผู้รักษาแต่ละคนรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวตลก นี่ก็เป็นการสะท้อนภาพที่คนทั่วไปมีต่อจิตแพทย์ คือ เป็นตัวตลก หรือ มีปัญหาในตัวเอง1

นักจิตบำบัดรายสุดท้ายที่วิลล์ได้พบ และกลายเป็นจุดหักเหครั้งที่สองในชีวิตเขา คือ จิตแพทย์ซึ่งเป็นเพื่อนเก่าของโปรเฟสเซอร์แลมเบอร์ ภาพยนตร์เปิดโอกาสให้ผู้ชมเห็นถึงความไม่ลงรอยระหว่างเพื่อนเก่า 2 คนนี้ ในขณะที่โปรเฟสเซอร์มองว่า ฌอนเพื่อนเก่าเป็นคนที่ล้มเหลวและอิจฉาในความสำเร็จของตน ฌอนกลับมองว่าเพื่อนเก่าคนนี้หยิ่งยโส ขาดประสบการณ์ชีวิตที่เป็นจริง (ประโยคที่ฌอนถามถึง Kaczynski แต่บาร์เทนเดอร์ในร้านสามารถบอกได้ว่า Kaczynski คือ unabomber อดีตนักคณิตศาสตร์ที่ส่งระเบิดพัศดุไปตามบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เขาเชื่อว่าเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อม) และชอบดูถูกเหยียดหยามคนอื่น

ภาพยนตร์เปิดตัวฌอนในห้องเลคเชอร์ของเขา โดยจบลงด้วยการพูดถึงความสำคัญของ Trust 8,9ที่ผู้รักษาต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการทำจิตบำบัด ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็เป็นการอธิบายไปในตัวถึงความล้มเหลวของจิตแพทย์ 5 คนที่ผ่านมา และภาพยนตร์ก็บอกเป็นนัยกับเราต่อไปถึงงานที่ฌอนจะต้องทำในการทำจิตบำบัดกับวิลล์ รวมถึงการบอกให้เราทราบในตอนท้ายว่า ความไม่ไว้วางใจเป็น core conflict หนึ่งของวิลล์

ฌอนซึ่งเคยเป็นนักจิตบำบัดที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง (วิลล์เป็นคนบอกกับผู้ดู ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเขาได้ทำ”การบ้าน”เกี่ยวกับผู้รักษามามาก) เขาเลิกทำจิตบำบัดมาได้ 6 ปีตั้งแต่ภรรยาของเขาเริ่มป่วยจากมะเร็ง และชีวิตของเขาดูจะปราศจากการท้าทาย หรือความมีชีวิตชีวาหลังจากภรรยาตายมาได้ 2 ปี ฌอนพบการท้าทายจากวิลล์ในครั้งแรกที่พบกัน วิลล์พยายามที่จะข่มและยั่วฌอนด้วยการพูดวิจารณ์ฌอนโดยการคาดเดาถึงบุคลิกของฌอนจากหนังสือ รูบถ่ายและภาพวาดของฌอน ซึ่งทีแรกดูจะไม่ได้ผล ฌอนควบคุมตัวเองได้ดี จนกระทั่งวิลล์พูดถึงภาพวาด และวิจารณ์สไตล์การวาดว่าเกือบจะถึงขั้นตัดหูตัวเอง ซึ่งหมายความว่าวิลล์ยั่วว่าฌอนใกล้จะวิกลจริตเหมือนแวนโก๊ะ ตรงจุดนี้มีนัยยะที่จะอวดตัวเองว่าวิลล์รู้จักภาพวาดสไตล์ expressionism และรู้จักประวัติของแวนโก๊ะ ฌอนก็โต้กลับอย่างคมคายว่าเขาน่าจะย้ายไปอยู่ฝรั่งเศสและเปลี่ยนชื่อเป็นวินเซนต์ แต่ในท้ายสุดวิลล์ก็หาจุดอ่อนของฌอนพบเมื่อเขาพูดว่ารูปนั้นแสดงถึงความรู้สึกกลัวและหมดหนทาง อาจจะเนื่องจากฌอนแต่งงานกับผู้หญิงผิดคน หรือถูกภรรยาทิ้งไป ตรงจุดนี้เองที่ไปแตะกับความทุกข์ที่ฌอนมีอยู่ ภรรยาของเขาเสียชีวิตไปซึ่งในเชิงสัญญลักษณ์ก็คือการถูกทิ้ง ฌอนโกรธจนควบคุมตัวเองไม่ได้อยู่พักหนึ่ง จากนั้นก็จบ session แรกโดยฌอนเป็นฝ่ายกล่าวว่าหมดเวลา

ภาพยนตร์แสดงให้เห็นว่าในค่ำคืนหนึ่งฌอนใช้เวลาครุ่นคิด ดูเหมือนฌอนเองก็อาจจะเริ่มเห็นว่าการรับบำบัดวิลล์อาจจะเป็นทางที่เขาจะไม่ต้องล่องลอยอยู่ในทะเลต่อไปเหมือนดังภาพที่เขาวาด



Session ต่อมาเริ่มต้นที่บริเวณสระน้ำในสวนสาธารณะ วิลล์เป็นฝ่ายยั่วยุฌอนด้วยคำพูดอีกเช่นเคย คราวนี้ฌอนไม่หลงตามและโต้กลับด้วยการชี้ให้วิลล์เห็นถึงสิ่งหนึ่งที่วิลล์ไม่มีเลยในชีวิต นั่นคือประสบการณ์ที่เป็นจริง ประสบการณ์จากหนังสือได้เพียงความรู้ แต่ไม่มีทางที่จะเข้าถึงความรู้และความรู้สึกที่แท้จริง สิ่งที่เขาเห็นในตัววิลล์คืออัจฉริยะ ซึ่งที่แท้จริงแล้วมีความไม่มั่นใจและขลาดกลัว แต่พยามยามที่จะปกปิดด้วยการโอ่ถึงความรู้ของตัวเอง ฌอนสรุปได้อย่างคมคายว่า วิลล์พยายามวิเคราะห์และเข้าใจถึงความเจ็บปวดของเขาโดยการอ่านจากภาพเขียน ในขณะที่ตัวเขาเองทราบว่าวิลล์เป็นเด็กกำพร้า สีหน้าของวิลล์ในขณะนั้นแสดงถึงความไม่สบายใจและอึดอัด ฌอนกล่าวต่อไปว่า แต่เขาก็จะไม่เสแสร้งว่าเขาเข้าใจความทุกข์ในชีวิตของวิลล์ด้วยการอ่าน Oliver Twist เขาจะเข้าใจความทุกข์ของวิลล์ก็ต่อเมื่อวิลล์เล่าถึงสิ่งที่วิลล์เห็น ความรู้สึกที่วิลล์มีต่อสิ่งนั้น แต่ฌอนคิดว่าวิลล์ไม่ต้องการพูดถึงอดีตที่ผ่านมา เพราะเขาอาจกลัวและทุกข์มากที่จะรำลึกถึงมัน ใน session นี้ฌอนสามารถแสดง empathy ออกมา โดยเขาแสดงให้วิลล์เห็นว่า เขารู้สึกได้ถึงความทุกข์ที่วิลล์มีและได้รับจากประสบการณ์ในวัยเด็ก แต่เขาจะเข้าใจวิลล์ได้อย่างที่วิลล์เป็นก็ต่อเมื่อวิลล์ยอมไว้ใจและเปิดเผยตัวเองกับเขา ฌอนจบการพูดคุยด้วยประโยคว่า Your move, chief. ในครั้งนี้วิลล์นั่งฟังเป็นส่วนใหญ่

ภาพเหตุการณ์ตัดไปที่วิลล์ไปโทรศัพท์หาสกายลาร์กลางสายฝนเพียงเพื่อจะรู้ว่าตัวเองไม่กล้าที่จะดำเนินความสัมพันธ์ต่อ แสดงถึงสิ่งที่ฌอนกล่าวใน session ที่ผ่านมา

Session ถัดมา คราวนี้เป็น session ที่ทั้งสองคนคุยเพียงไม่กี่คำ ดูเหมือนต่างฝ่ายต่างดูชั้นเชิงก่อน ฌอนดูเครียด จนดูเหมือนว่าความเงียบก่อให้เกิด silence anxiety จนจบชั่วโมงการรักษา แลมเบอร์ถามฌอนว่าทำไมไม่คุยกัน (แล้วอย่างนี้จะเป็นการรักษาได้อย่างไร) ฌอนตอบว่าเขาจำเป็นต้องทำเช่นนี้ (คือไม่เป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อน) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ให้วิลล์เห็นว่าเขาไม่จำเป็นต้องพูด หากเขายังไม่พร้อมที่จะพูด จุดนี้เป็นการย้อนกลับไปพูดถึงปัญหาของวิลล์อีกครั้งหนึ่งในเรื่องของการต่อต้านกฎเกณฑ์ และ authority figures ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงเทคนิค และคุณสมบัติของนักจิตบำบัด คือ การยอมรับผู้ป่วยอย่างที่เขาเป็น (uncondition positive regards)

Sessionที่สี่ คราวนี้ฌอนกลับเป็นฝ่ายผ่อนคลายมากกว่าจนหลับ และวิลล์ทน silence anxiety10 ไม่ได้ ต้องเป็นฝ่ายเล่าเรื่องก่อน โดยเล่าเรื่องตลกว่าเขาอยู่ในเครื่องบินลำหนึ่ง ฌอนจึงถามในตอนท้ายว่าเขาเคยขึ้นเครื่องบินหรือไม่ วิลล์ปฏิเสธ จุดนี้ก็เป็นการย้ำกับวิลล์อีกครั้งหนึ่ง โดยฌอนต้องการ confront กับวิลล์ว่า ถึงที่สุดวิลล์ก็ยังคงเล่าเรื่องประสบการณ์ของเขาจากการอ่าน ไม่ใช่จากชีวิตจริงๆ

จุดนี้เราอาจมองได้ว่าวิลล์แสดงถึงสิ่งที่เราเรียกว่า การ guard หรืออาจรวมถึงภาวะของ resistance ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้รับการรักษาปฏิเสธ หรือพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเปิดเผยถึงสิ่งที่ตัวเองทุกข์ อาจเนื่องจาก therapeutic relationship ยังไม่เกิดขึ้นหากเป็นช่วงต้นของการรักษา หรือ หากเกิดในช่วงกลางของการรักษาอาจหมายถึงการที่ผู้ป่วยไม่อยากเผชิญกับอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกกดเก็บไว้ซึ่งอันนี้เป็นกลไกทางจิตเพื่อปกป้อง ego8-10

ในที่สุดวิลล์พูดถึงสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังสนทนากันอยู่ ซึ่งใน session ของการบำบัด สิ่งที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องมักจะเป็นสิ่งที่สำคัญและติดค้างอยู่ในใจของผู้ป่วย9,11 วิลล์พูดถึงสกายลาร์ว่า เขากำลังคบกับผู้หญิงคนหนึ่ง คนนี้พิเศษกว่าหลายๆ คนที่เขาเคยคบมา (ตรงนี้ส่วนหนึ่งวิลล์อาจต้องการแสดงว่าเขาก็มีประสบการณ์โดยตรงเหมือนกัน หรืออีกส่วนหนึ่งเขาไม่รู้จะทำอย่างไร ใจหนึ่งอยากที่จะสานความสัมพันธ์ต่อ แต่อีกใจหนึ่งก็ไม่กล้า กลัวว่าตนเองจะผิดหวัง เป็นภาวะที่เราอาจเรียกว่า ambivalence) ฌอนจึงถามว่าจะนัดไปเทื่ยวกันอีกเมื่อไหร่ คราวนี้วิลล์เริ่มเปิดมากขึ้น เขาพูดว่าสกายลาร์ดีกว่าทุกคนและเขากลัวว่าความสัมพันธ์ในครั้งนี้จะจบลงเหมือนหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ฌอนจึงกระตุ้นด้วยการบอกให้เขาโทรศัพท์ไปนัด คราวนี้วิลล์เริ่มมีอารมณ์พร้อมกับกล่าวว่าการทำเช่นนั้นอาจจะทำให้เขาเห็นความไม่สมบูรณ์ในตัวเธอ และจบลงด้วยการเลิกคบหากันเหมือนรายอื่นๆ ที่ผ่านมา ฌอนใช้วิธีการตั้งข้อสังเกตกลับไปว่า หรือการดำเนินความสัมพันธ์ต่อไปอาจทำให้วิลล์เห็นปัญหาและความไม่สมบูรณ์ในตัวของเขาเอง พูดอีกอย่างคือ ฌอนกำลังพยายามจัดการกับอุปสรรคประการแรกที่วิลล์มีกับทุกคน คือความไม่ไว้วางใจที่จะเปิดเผยตัวเองเพื่อมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับคนอื่น แต่วิธีการ confront ค่อนข้างจะนิ่มนวล คือถามความเป็นไปได้มากกว่าการบังคับให้วิลล์ยอมรับ

ฌอนตั้งข้อสังเกตต่อไปว่ามันเป็นความคิดเชิงปรัชญาซึ่งเป็นไปไม่ได้ หากคิดว่าเราสามารถดำเนินชีวิตของเราได้โดยปราศจากการเรียนรู้และรู้จักคนอื่น เขายกตัวอย่างถึงข้อบกพร่องของภรรยาของเขาให้วิลล์ฟัง จากนั้นฌอนก็ให้ทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงว่าไม่มีใครที่สมบูรณ์เพียบพร้อม แต่ละฝ่ายจะต้องรู้จักยอมรับความไม่สมบูรณ์หรือความบกพร่องของอีกฝ่ายหนึ่ง ในอีกด้านหนึ่งแต่ละฝ่ายก็ต้องพร้อมที่จะเปิดเผยจุดบกพร่องในตัวเองให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ และนั่นคือที่มาของความใกล้ชิดและผูกพัน (intimacy) ซึ่ง intimacy จะเกิดขึ้นได้ก็จากการเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงในความสัมพันธ์นั้น ฌอนให้ความมั่นใจ (reassure) กับวิลล์ว่า วิลล์เองมีจุดอ่อน และสาวคนที่วิลล์กำลังคบอยู่ก็มีจุดบกพร่องเช่นกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของการมีสัมพันธภาพ วิลล์สามารถเรียนรู้ชีวิตได้ก็ต่อเมื่อวิลล์ยอมลงไปใช้ชีวิตจริงๆ จุดนี้ในแง่ของเทคนิคการรักษา เราอาจมองว่าเป็นความจริงใจของผู้รักษา (genuinity) แสดงถึงความเป็นมนุษย์ปถุชน ไม่เสแสร้ง และไม่แสดงตัวเหนือกว่าผู้ป่วย (one up) ของฌอน12

วิลล์ยอมรับว่าฌอนเป็น shrink (แสลงที่ใช้เรียกจิตแพทย์) ที่พูดมากที่สุดเท่าที่เขาเคยพบมา (และแน่นอนว่าเวลาเราชมภาพยนตร์เรื่องนี้เราก็อาจเกิดความรู้สึกว่านักจิตบำบัดคนนี้พูดมากเกินไปหรือไม่) วิลล์ถามถึงการแต่งงานใหม่ ฌอนตอบสั้นๆ ว่า “My wife is dead” เมื่อวิลล์พยายามถามซ้ำอีกครั้ง ฌอนก็ยังคงย้ำคำตอบเดิมว่า “She’s dead” ดูเหมือนว่าในอีกด้านหนึ่งของการจริงใจกับผู้ป่วย ฌอนก็ต้องเผชิญกับปัญหาของการที่ผู้ป่วยรู้เกี่ยวกับตัวเขามากเกินไป โดยวิลล์พยักหน้าเข้าใจพร้อมกับสวนกลับมาด้วยประโยคเดียวกับสิ่งที่ฌอนเพิ่งจะกล่าวกับเขาไปว่า มันเป็น superphilosophy ที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ (หลังจากภรรยาตาย) โดยไม่ยอมที่จะมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง (อีกครั้งหนึ่ง) ฌอนอึ้งไปพร้อมกับเอ่ยว่า “Time’s up”

เหตุการณ์นอก session การรักษาดำเนินไปคู่กับการรักษา เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัววิลล์ซึ่งเกิดจากการบำบัด วิลล์ตัดสินใจที่จะสานความสัมพันธ์กับสกายลาร์ให้ลึกซึ้งขึ้น ขณะเดียวกันเราก็ยังคงเห็นความไม่มั่นใจและลังเลใจที่จะเปิดเผยตัวเองให้สกายลาร์รู้จัก

ใน session ก่อนนี้ดูเหมือนว่าเราจะเข้าใจฌอนมากขึ้น ฌอนยังทำใจไม่ได้กับการสูญเสียภรรยาและภาพยนตร์แสดงให้เห็นชัดเจนขึ้นใน session ถัดมา ใน session นี้เริ่มต้นจากการที่วิลล์เป็นฝ่ายเริ่มพูดก่อน (ซึ่งน่าจะมีความหมายว่า therapeutic relationship มีความแข็งแรงมากขึ้น) วิลล์บอกกับฌอนว่าเขาอ่านหนังสือของฌอน และทราบว่าฌอนเป็นนักจิตบำบัดที่มีชื่อเสียง ฌอนเล่าให้วิลล์ฟังว่า เขาเลิกการเป็นนักจิตบำบัดเมื่อภรรยาเขาป่วยเมื่อ 6 ปีก่อน วิลล์จึงถามฌอนกลับไปว่าเขาเคยสงสัยว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรหรือไม่ หากเขาไม่ได้พบกับภรรยา (และแต่งงานกัน) ตรงจุดนี้ฌอนเองก็คงจะรู้สึกว่าชีวิตของเขาเปลี่ยนไปจากเดิม เขาจึงถามวิลล์กลับไปว่า วิลล์คงจะสงสัยว่าชีวิตเขาน่าจะดีกว่านี้หากไม่ได้แต่งงานกับภรรยา (แล้วภรรยาตาย) วิลล์เองก็รู้สึกได้ว่าเขาถามในเรื่องที่อ่อนไหวมากกับฌอน เขารีบปฏิเสธว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะหมายความว่าชีวิตของฌอนแย่ลงเป็นเพราะภรรยา เราอาจตั้งข้อสังเกตตรงจุดนี้ได้อีกครั้งหนึ่งว่า therapeutic relationship เกิดขึ้น จากการที่คนไข้ที่แต่เดิมมีลักษณะท้าทาย และพยายามเอาชนะผู้รักษา กลับแสดงความรู้สึกกังวลว่าตัวเองอาจพูดอะไรที่ทำให้ผู้รักษาไม่สบายใจ9,11 ฌอนยอมที่จะเปิดเผยตัวเองกับคนไข้ของเขามากขึ้น เขายอมรับว่าเขาทำใจได้ยากกับการสูญเสีย แต่ความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้เขาได้เห็นความสุขความงดงามในบางแง่มุมของชีวิตที่เรามักจะมองข้ามและไม่เคยให้ความสนใจ จุดนี้อาจจะใช้มุมมองแบบ cognitive therapy ก็ได้ว่า ปัญหาหรือความทุกข์ในชีวิตคนเราในหลายๆ กรณีเกิดจากการตีความ การให้คุณค่าประสบการณ์นั้นๆ ในเชิงบวก หรือลบ13 ขณะเดียวกัน ฌอนพยายามแตะไปที่ประเด็นที่เป็นปัญหามากที่สุดของวิลล์ และเป็นประเด็นพื้นฐานของความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการรักษา คือ การสร้างสัมพันธภาพ วิลล์ถามต่อไปว่าแล้วฌอนเคยนึกเสียใจหรือไม่ที่พบภรรยา (ภรรยาของฌอนน่าจะมีความหมายในเชิงความสัมพันธ์ที่ยาวนาน วิลล์กำลังหมายความว่าเขาจะต้องเสียใจหรือผิดหวังกับการที่จะมี long lasting relationship กับสกายลาร์ แล้วสูญเสียเธอไปในที่สุดหรือไม่) ฌอนตอบไปว่า “Why? ‘cause the pain I feel now?” “Oh, I get regrets; But I don’t regret a single day I spent with her”

วิลล์ถามถึงครั้งแรกที่ฌอนพบภรรยา ซึ่งฌอนสามารถตอบได้อย่างแม่นยำเพราะเป็นวันที่มีการแข่งขันเบสบอลล์นัดสำคัญ ผู้เขียนบทคือ Matt Daemon และ Ben Affleck ฉลาดมากในการเปรียบเปรย (analogy) ปฏิสัมพันธ์ในชั่วโมงของการรักษาระหว่างวิลล์กับฌอน กับปฏิสัมพันธ์ในสังคมภายนอกระหว่างวิลล์กับคนรอบข้างของเขา หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างฌอนกับภรรยาของเขา เทียบเคียงและเป็นแบบให้วิลล์ตัดสินใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเขากับสกายลาร์ ฌอนเปรียบเทียบสถานการณ์สองสถานการณ์ที่เดินคู่กันไป คือการที่จะต้องเลือกเอาระหว่างการทำความรู้จักผู้หญิงคนหนึ่งที่เขาเพิ่งพบในบาร์ กับการเข้าชมเบสบอล์ซึ่งทุกคนเชื่อว่ามันจะเป็นเกมส์การแข่งขันที่ยิ่งใหญ่มาก (และมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ) วิลล์ตื่นเต้นและแปลกใจมากที่ฌอนยอมทิ้งเพื่อน และบัตรเข้าชมที่กว่าจะได้มายากลำบากมาก ยอมทิ้งการแข่งขันนัดที่ยิ่งใหญ่มากเพียงเพื่อนั่งดื่มกับผู้หญิงคนหนึ่ง (“You missed Pudge Fish’s home run to have a fuckin’ drink with some lady you never meet?”) ฌอนชี้ให้วิลล์เห็นว่าในความสัมพันธ์ระหว่างกัน เมื่อเรารู้สึกว่า ”มันใช่” เราต้องยอมที่จะ ”เสี่ยง” เพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลังว่าทำไมเราจึงไม่ทำตามความรู้สึกความต้องการในขณะนั้น (Yeah, but you should have seen her, she was a stunner. …She lit up the room)

ฌอนให้เหตุผลกับเพื่อนๆ ว่าเขาไปดูเบสบอลไม่ได้เพราะ “I gotta see about a girl” เหตุผลง่ายๆ สั้นๆ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของฌอน และนี่ก็เป็นเหตุผลง่ายๆ สั้นๆ เช่นกันที่วิลล์เลือกในตอนท้ายของเรื่อง และเป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาทั้งชีวิต เป็นการตัดสินใจตามอารมณ์ความรู้สึกที่เขาต้องการจริงๆ

สิ่งที่วิลล์ได้รับฟังในครั้งนี้ คือ การที่ฌอนพูดถึงเหตุการณ์สำคัญในอดีตในชีวิตของเขา 2 เหตุการณ์ ที่เราต่างรู้ผลลัพธ์ของมันเรียบร้อยแล้ว เหตุการณ์แรกคือ เกมส์เบสบอลล์ที่ยิ่งใหญ่ที่ก่อนการแข่งขันทุกคนก็รู้ว่ามันจะต้องยิ่งใหญ่ ขนาดฌอนกว่าจะได้บัตรมายังต้องไปเข้าแถวรอ และเกมส์ก็จบลงอย่างยิ่งใหญ่จริงๆ จนกลายเป็นตำนาน ขนาดวิลล์ซึ่งยังไม่เกิดก็ยังทราบถึงรายละเอียดของเกมส์นี้ เหตุการณ์ที่สองคือ การที่ฌอนได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเขาเองก็รู้ว่า “คนคนนี้ใช่แน่” แต่เขาไม่มีทางรู้ว่าความสัมพันธ์จะจบลงอย่างไร สุขหรือทุกข์ แต่ที่สุดมันก็จบลงแบบทุกข์ในช่วง 6 ปีหลังที่ผู้หญิงคนนี้ป่วย ฌอนต้องทิ้งอาชีพที่รุ่งเรือง และอยู่กับความเจ็บปวดของการสูญเสียจนถึงปัจจุบัน ฌอนชี้ให้วิลล์เห็นว่า ถึงที่สุดแล้ว เมื่อเราเลือกทางหนึ่ง เราไม่มีทางรู้ว่าอีกทางหนึ่งที่เราเลือกจะดีกว่าหรือแย่กว่า เหมือนเกมส์เบสบอลในคืนนั้นอาจจะออกมาแย่ก็ได้ แต่เราต้องเลือก และฌอนเลือกอันหลัง ถ้าหากเขาจะมานั่งเสียใจในปัจจุบัน ก็คงจะเกิดจากการละโอกาสที่จะได้รู้จักผู้หญิงคนนั้น คนที่วิลล์ไม่ยอมทิ้งเกมส์เบสบอลเพื่อแลกกับการรู้จัก เขากล่าวว่า “I don’t care if Helen of Troy walks into the room” การไม่เลือกก็คือการเลือกแบบหนึ่ง

เหตุการณ์นอก session ตัดไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างวิลล์กับสกายลาร์ เธออยากจะรู้จักวิลล์มากขึ้น วิลล์ตัดสินใจที่จะเปิดตัวเองมากขึ้น จุดนี้อาจเทียบเคียงให้เห็นได้ว่าในกระบวนการของการบำบัดชีวิตทั้งในและนอกชั่วโมงการรักษาจะดำเนินเคียงคู่กันไป กระบวนการรักษาเริ่มก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยเรียนรู้จากใน session ว่า การที่เขาเสี่ยงที่จะไว้ใจผู้รักษา แล้วผลไม่ได้ออกมาในแง่ลบ เขาเป็นที่ยอมรับในชีวิตนอก session ของการรักษา เขาก็อาจจะเป็นที่ยอมรับเช่นกัน การเรียนรู้ และการเลียนแบบผู้รักษา (identification) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลง และเติบโตในจิตบำบัด9-12

แลมเบอร์พยายามหางานที่มั่นคงและก้าวหน้าให้วิลล์ แต่เขาก็ทราบว่าวิลล์คงจะปฏิเสธ เขาขอร้องให้ฌอนช่วยพูด ฌอนปฏิเสธโดยมองว่าการตัดสินใจเลือกทิศทางของชีวิตขึ้นกับความต้องการของวิลล์ เป็นการทำเพื่อตัวของเขาเอง แลมเบอร์มองว่าฌอนเอาความอิจฉาส่วนตัวมาเป็นอารมณ์ในเรื่องนี้

วิลล์ส่งเพื่อนไปสัมภาษณ์งานแทนในขณะที่เขาไปกับสกายลาร์ ในที่สุดความสัมพันธ์ของทั้งคู่ถึงจุดแตกหัก สกายลาร์ต้องการให้วิลล์เปิดโลกของเขามากขึ้น และชวนวิลล์ไปแคลิฟอเนียกับเธอ วิลล์ปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า สกายลาร์ไม่รู้ว่าตัวเธอทำอะไรลงไป หากไปอยู่ด้วยกันจริงๆ เธออาจจะรู้จักบางสิ่งในตัววิลล์ที่เธอไม่ชอบ แล้วเธออาจจะต้องมานั่งเสียใจว่าเธอน่าจะคิดให้รอบคอบกว่านี้ เธออาจต้องการเพียงความสัมพันธ์แบบชั่วคราวมากกว่าการอยู่ด้วยกัน

วิลล์ให้เหตุผลว่าเขาอยากอยู่ที่บอสตันต่อเพราะที่นี่เขามีงานและเพื่อน สกายลาร์ตั้งคำถามกลับไปว่า วิลล์กลัวอะไรจึงไม่กล้าตัดสินใจไปกับเธอ เราจะเห็นว่าสีหน้าของวิลล์แสดงความโกรธออกมา เขาถามกลับไปว่า แล้วเธอคิดว่าเขากลัวอะไร สกายลาร์จี้ไปตรงความกลัวของวิลล์ว่า เธอคิดว่าเขากลัวและไม่มั่นใจที่จะก้าวออกไปข้างนอก (“Well, what aren’t you scared of? You live in this safe little world when no one challenges you.”) คราวนี้วิลล์โกรธมาก (Don’t tell me about my world.) เขาคิดว่าสกายลาร์ไม่ได้คิดจะจริงจังอะไรกับเขา เธอต้องการเพียงคู่นอนชั่วคราว เมื่อเธอไป Standford เธอก็คงจะพบและแต่งงานกับหนุ่มรวยๆ สักคนหนึ่งที่พ่อแม่ของเธอพอใจ สกายลาร์ปฏิเสธ พร้อมกับว่าวิลล์ว่า ตัวเธอไม่เคยคิดถึงเรื่องเงินทอง ตัววิลล์เองต่างหากที่กลัวอะไรบางอย่างแต่กลับมาโทษว่าเป็นปัญหาของเธอ (“Don’t put your shit on me when you‘re the one that’s afraid.”) วิลล์ถามกลับไปว่าเธอคิดว่าเขากลัวอะไร (“You’re afraid of me, you ‘re afraid that I won’t love you back.”) เธอบอกกับวิลล์ว่า วิลล์อย่าคิดว่าเขากลัวคนเดียว เธอก็กลัวว่าเขาจะไม่รักเธอเช่นกัน เธอคิดว่าเขาปิดบังเธอเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวของเขา เธอและผู้ชมจึงได้ทราบความจริงในตอนนี้ว่าวิลล์เป็นเด็กกำพร้าเคยถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก สกายลาร์บอกว่าเธอรักเขาและต้องการช่วย จุดที่เปราะบางที่สุดของวิลล์ถูกเร้า เขาระเบิดอารมณ์ออกมาว่าเขาไม่ต้องการให้ใครช่วย และยุติความสัมพันธ์กับสกายลาร์ (“I won’t call you and I won’t be in your life, if you say you don’t love me.”) วิลล์ตอบ (“I don’t love you.”)

วิลล์แสดงถึงความรู้สึก inferior และ insecure ในความสัมพันธ์กับสกายลาร์ เขาไม่กล้าที่จะดำเนินความสัมพันธ์ต่อไปให้ลึกซึ้งขึ้น เขากลัวการ commitment กลัวในส่วนลึกว่าในที่สุดเขาจะไม่เป็นที่ต้องการของเธอ เหมือนกับที่เขาไม่เป็นที่ต้องการของพ่อแม่ รวมไปถึงการถูกทำร้ายจากพ่อแม่เลี้ยงในวัยเด็ก ตรงนี้อาจมองได้ว่า วิลล์ถูกรุกเข้าไปในความส่วนตัวของเขามากและเร็วเกินไป การปฏิเสธและการยุติความสัมพันธ์คือการหนี เพื่อจะได้ไม่ต้องเจ็บปวดในภายหลังจากการถูกทิ้ง ตรงนี้อาจเปรียบสกายลาร์เหมือนนักจิตบำบัดที่จับทางถูกว่าวิลล์กลัวอะไรบางอย่างในการมีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้ง แล้วพยายามที่จะ ”ขุด” ออกมาให้ได้ในครั้งเดียวอย่างที่บรรดา “นักจิตบำบัดมือใหม่” ทั้งหลายชอบทำ ว่ามันคืออะไร และมีจุดกำเนิดมาอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นคือ antitherapeutic technique การ interpretation conflict ที่ถูกต้อง จะต้องมี timing ที่เหมาะสม มีวิธีการที่ถูกต้อง และปริมาณที่ไม่มากเกินไป12 ผลที่ตามมาคือ วิลล์หนีออกจากความสัมพันธ์เหมือนที่ฌอนกล่าวกับแลมเบอร์ว่า การสร้างความกดดัน หรือการบังคับให้วิลล์ ”ต้องเลือก” จะเป็นผลเสียกับการรักษา และเป็นการทำลาย rapport นี่คือความต่างกันของการช่วยเหลือโดยเพื่อน หรือผู้รักษาที่ขาดประสบการณ์กับ veteran9

ใน session ต่อมา ฌอนเริ่มต้นด้วยการถามถึงความรู้สึกเหงาในตัววิลล์ (“You feel like you’re alone. Do you have a soul mate, somebody who challenges you.”) ชัคกี้ คือคำตอบที่วิลล์ให้ ฌอนไม่ยอมรับคำตอบนี้ “I’m talking about someone who opens up things for you, touches your soul.” คราวนี้วิลล์แสดงความรู้สึกอึดอัด แต่ก็ตอบว่ามี โดยบอกว่ามีมากและพยายามเลี่ยงที่จะให้รายละเอียด เมื่อถูกรุกมากขึ้นโดยฌอนให้บอกว่าเป็นใครบ้าง วิลล์ก็ยกบรรดานักเขียนทั้งหลาย Shakespear, Lock, Neiztche, Frost, Kant ฌอนแย้งไปว่า “They’re all dead” “Not to me” วิลล์แย้ง แต่ฌอนก็พูดต่อไปว่า “You don’t have a lot of dialogues with them. You can’t give back to them.”

เราเห็นว่าวิลล์ guard อีกเขาใช้ intellectualization และ rationalization

คราวนี้ฌอนเริ่มลงลึกขึ้นเมื่อเขามั่นใจว่า therapeutic relationship มั่นคง ฌอน clarify ถึงปัญหา interpersonal relationship ของวิลล์โดยเริ่มจากการที่วิลล์ไม่สามารถบอกชื่อคนเป็นๆ ที่เขาคบหาอย่างลึกซึ้งและกล้าที่จะเปิดเผยความในใจ “You’ll never have that kind of relationship in a world where you’re always afraid to take the first step. Because all you see is very negative thing ten miles down the road” วิลล์หนีจากประเด็นนี้ โดยเปลี่ยนไปพูดเรื่องงาน ว่าเขาไม่ต้องการงานที่แลมเบอร์หาให้

คราวนี้ดูเหมือนฌอนจะหลงตามวิลล์ไปคุยเรื่องงานแทน ฌอนกล่าวว่า มันไม่สำคัญว่าวิลล์จะทำงานกับรัฐบาลหรือไม่ วิลล์สามารถทำอะไรตามที่เขาต้องการก็ได้ อะไรที่เขาอยากทำ เพราะไม่มีใครบังคับเขาได้ (นอกจากตัวเขาเอง) สีหน้าของวิลล์มีแววครุ่นคิด แต่เมื่อฌอนกล่าวต่อว่ามีคนจำนวนมากที่ทำงานก่อสร้างตลอดชีวิตเพียงเพื่อให้ลูกมีโอกาสเลือกเหมือนอย่างที่วิลล์มี วิลล์ก็แย้งไปว่าเขาไม่ได้ร้องขอ และมันก็ไม่ได้ผิดตรงไหนที่เขาทำงานก่อสร้างและมันเป็นงานที่มีเกียรติเหมือนงานอื่นๆ วิลล์พยายามเอาชนะฌอนด้วยตรรกะ จนสุดท้ายฌอนต้องย้อนถามถึงการหลบๆ ซ่อนๆ ในการแก้โจทย์สมการบนกระดานที่มีเพียงไม่กี่คนในโลกทำได้ แล้วโกหกว่าไม่ได้ทำนั้นเป็นสิ่งที่มีเกียรติและเหมาะสมอย่างที่เขาว่าจริงหรือ และการที่ต้องนั่งรถไฟมาไกลถึง 45 นาทีเพียงเพื่อมาทำงานที่ MIT ทั้งๆ ที่งานภารโรงที่ทำอยู่หาที่ไหนก็ได้ การ confrontation ที่ฌอนทำอีกครั้งหนึ่ง เป็นการชี้ให้วิลล์เห็นถึงความไม่สมเหตุสมผลของการดำเนินชีวิตของเขา คราวนี้วิลล์อึ้งไม่พูดอะไร

ฌอนถามวิลล์อีกว่าวิลล์อยากทำอะไร วิลล์ตอบกวนว่าอยากเป็นคนเลี้ยงแกะ เพื่อที่จะได้มี sex กับมัน จุดนี้อาจเป็นการแสดง resistance ความไม่พอใจ และไม่ยอมรับ clarification เรื่องสัมพันธภาพกับคน และ confrontation เรื่องงาน ซึ่งหากปล่อยให้ฌอน ”ขุด” ต่อไป conflict และความเจ็บปวดในอดีตที่วิลล์กดเก็บไว้ก็จะกลับขึ้นมาทำร้ายเขาอีก

ฌอนลุกไปเปิดประตูและให้วิลล์กลับ วิลล์ปฏิเสธโดยแย้งว่ายังไม่หมดเวลา ฌอนว่าวิลล์ไม่ได้ตั้งใจที่จะตอบคำถาม มันไม่ได้ประโยชน์ที่จะคุยกันต่อ

วิลล์กล่าวว่าเขาคิดว่าฌอนเป็นเพื่อนเขา แต่ทำไมฌอนกลับไล่เขาไป วิลล์โกรธ และทำร้ายฌอนเหมือนอย่างที่เขามักจะทำเวลาโกรธ แต่คราวนี้ไม่ใช่กำลัง แต่ด้วยคำพูด (verbal attack) “You’re lecturing me on life? Look at you! Your fuckin’ burnt out. What mind your clock?” ฌอนตอบ “Working with you” “Where’s your soul mate? You wanna talk about soul mates? Where is she?” ฌอนตอบสั้นๆ “Dead” วิลล์จึงวิจารณ์กลับถึงความไม่สมเหตุผลของฌอนบ้าง วิลล์เปรียบเทียบว่าพอภรรยาตาย ฌอนก็ขึ้นเงินและเลิกพนัน (ความหมายว่าหมดความหวังในชีวิต) ฌอนแย้งว่า อย่างน้อยเขาก็เคยลองที่จะสู้มาก่อน (ไม่เหมือนวิลล์ที่ไม่เคยพนัน ไม่เคยกล้าที่จะมี real relationship) วิลล์ confront บ้างว่า ใช่ที่ฌอนเคยสู้ แต่ฌอนก็แพ้และแพ้แบบหมดรูปไม่คิดที่จะลุกขึ้นมาสู้อีก ในขณะที่บางคนแพ้ขนาดนั้น (สูญเสียภรรยา) ก็ยังมีใจลุกขึ้นมาสู้ได้อีก

ฌอนสงบไม่โกรธ แล้วถามวิลล์กลับไปว่า “Look at me. What do you wanna do?” วิลล์อึ้ง

ฌอนจึงพูดต่อไปว่า “You got a bullshit answer for everybody but when I ask you a very simple question and you can’t give me a straight answer because you don’t know” ฌอนเปิดประตู และวิลล์เดินก้มหน้าออกไป

ใน session นี้ เราจะเห็นการแสดงออกของ transference ที่วิลล์มีต่อฌอน เมื่อวิลล์ทำผิด (โดยการตอบกวนๆ) ผู้รักษา (ฌอน) ไม่อดทนยอมรับความผิดนั้นและแสดงออกโดยการไล่ (อาจจะหมายถึงการลงโทษ หรือการยุติความสัมพันธ์) วิลล์รู้สึกถูกปฏิเสธและไม่ยอมรับจากบุคคลที่เขาคิดว่าเป็นเพื่อน สิ่งนี้อาจทำให้เขาหวนระลึกไปถึงสิ่งที่เขาถูกกระทำในวัยเด็ก เขาจึงมีปฏิกิริยาที่รุนแรงออกมา (acting out) ทางคำพูด9-11



ฌอนไล่วิลล์ออกจากการรักษาโดยบอกว่าหมดความอดทน จุดนี้เป็นความรู้สึกจริงๆ เทคนิคหรือ countertransference9,14 ในแง่ของ countertransference (ความรู้สึกเหมือนผู้ป่วยเป็นบุคคลสำคัญในอดีตของผู้รักษา) คงจะบอกไม่ได้เพราะในเรื่องไม่ได้ให้ภูมิหลังของฌอนไว้มากนัก แต่แน่นอนว่าสิ่งนี้ต้องคิดถึงเสมอหากผู้รักษามีปฏิกิริยาผิดไปจากที่ควรจะเป็น ถ้าหากมองในเชิงเทคนิค การกระทำดังกล่าวค่อนข้างเสี่ยงในแง่ของ case ที่มีปัญหาในเรื่องของการกลัวการ rejection อาจทำให้ผู้ป่วยคิดว่าผู้รักษาจะทิ้งเขาเหมือนกับอีกหลายๆ คนที่ผ่านมา แต่อาจมองได้ว่าผู้รักษามั่นใจใน therapeutic relationship การไล่อาจทำให้ผู้ป่วยมองเห็นว่าในสัมพันธภาพที่mature เรามีสิทธิที่จะแสดงความโกรธกับเพื่อนหรือคนที่เรารัก และนั่นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเลิกหรือยุติความสัมพันธ์ คราวหน้าก็มาคุยกันใหม่ มองในแง่ของความรู้สึกจริงๆ ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยบางรายอาจเร้าความรู้สึกบางอย่างให้เกิดขึ้นได้กับทุกๆ คนที่มีสัมพันธภาพกับเขา ฌอนอาจจะรู้สึกเหมือนหลายคนว่าถูกท้าทาย และไม่ให้เกียรติ การไล่ก็อาจเป็นปฏิกิริยาจริงๆ ที่เกิดขึ้น หากเราถูกใครบางคนแสดงความไม่ให้เกียรติออกมา อาจจะดูเป็นการเสแสร้งด้วยซ้ำหากฌอนเฉยๆ เพราะปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นสิ่งที่วิลล์น่าจะคาดเดาว่ามันจะเกิดขึ้น เมื่อเขาท้าทายฌอน

วิลล์โทรไปหาสกายลาร์บอกกับเธอว่าเขาสมัครงานใหม่ สกายลาร์ว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่เธอสนใจ เธอรักเขา วิลล์ยิ้มเมื่อเธอบอกรักเขา ดูเหมือนว่าวิลล์จะเริ่มมั่นใจว่าเขายังเป็นที่ต้องการของใครบางคน แต่เขาปฏิเสธที่จะบอกสกายลาร์ว่าเขารักเธอ โดยการเงียบ

Session ถัดมาวิลล์ไม่มาหาฌอนตามนัด วิลล์คุยกับชัค ชัคบอกให้วิลล์ตัดสินใจทำในสิ่งที่เป็นตัวของเขาเอง ไม่ใช่เกาะติดกับเพื่อน เราเห็นว่าวิลล์หลบอยู่ในเกราะ ในหมู่เพื่อนสนิทที่รักเขา และยอมตายแทนกัน (ตอนต้นเรื่องที่เพื่อนทั้งสามคนลงไปลุยกับอริเก่าของวิลล์) วิลล์ลังเลที่จะออกไปเผชิญโลกข้างนอก และซ่อนตัวอยู่ในโลกเล็กๆ ที่ปลอดภัยของเขาดังที่สกายลาร์รู้สึก

แลมเบอร์มาคุยกับฌอนอีก ฌอนวิเคราะห์ conflict ของวิลล์ การกลัวการถูกทอดทิ้ง จากประสบการณ์การถูกทำร้ายจากคนที่ควรจะรักเขา (fostered home) และวิลล์จะผลักคนออกไป ก่อนที่คนเหล่านั้นจะมีโอกาสทิ้งเขา แลมเบอร์ไม่ยอมให้ฌอนปล่อยวิลล์ให้เป็นอิสระในการเลือกทางเดินชีวิตของตน แต่ฌอนรู้ว่านี่เป็นช่วงสำคัญที่สุด เขาจะช่วยวิลล์ได้หากเขาไม่เร่งร้อนที่จะทำตามความต้องการของเขาหรือแลมเบอร์ แต่ให้วิลล์ค่อยๆ คิด และสำนึกถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา จุดนี้ชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายที่สำคัญของการทำจิตบำบัด คือ การให้ผู้ป่วยมี “อิสระ” ที่จะเลือกทางแก้ปัญหา และเลือกหนทางชีวิตที่เขาคิดว่าเหมาะสมกับตัวเขา อิสระในที่นี้นอกจากจะหมายถึงอิสระจากคนรอบข้างแล้ว ยังรวมถึงอิสระจากความขัดแย้งทางจิตใจในอดีต อิสระจากความกลัวที่เกิดจาก traumatic experience9

แลมเบอร์ดูถูกว่าฌอนล้มเหลว แต่ฌอนรู้จักตัวเขาดี เขารู้ว่าตัวเองทำอะไร และเขามีความภูมิใจในสิ่งที่เขาทำ เขาจะไม่ยอมให้แลมเบอร์ทำกับวิลล์ เหมือนกับที่แลมเบอร์ทำกับเขา ตรงนี้เราสามารถมองได้ในสองระนาบ ระนาบแรก คือ แลมเบอร์ทำให้ฌอนรู้สึกล้มเหลว และแลมเบอร์ก็กำลังจะทำอย่างนี้กับวิลล์เช่นกัน (ตามความเข้าใจของฌอน) ในอีกระนาบหนึ่ง แลมเบอร์กำลังจะบังคับให้ฌอนทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ (คือการทำให้วิลล์ทำตามความต้องการของแลมเบอร์ในเรื่องงาน) พร้อมๆ กับการที่แลมเบอร์ต้องการ (หรือบังคับ) ให้วิลล์ทำตามความต้องการของแลมเบอร์ ซึ่งทั้งสองระนาบนี้สัมพันธ์กับระนาบที่สาม ซึ่งเป็นระนาบในอดีตของทั้งวิลล์และฌอนคือ การตกอยู่ภายใต้การคุกคามบังคับของ tyrant, dominant และ abusive parents นั่นคือแลมเบอร์เปรียบเสมือน dominant abusive father figure ของทั้งสองคน การที่ฌอนพยายามปกป้องวิลล์นั้น ในส่วนหนึ่งเป็นการทำตาม countertransference ที่เขามีต่อวิลล์ เขาปกป้องวิลล์จาก abusive father เหมือนการที่เขาเคยปกป้องน้องชายและมารดาจาก alcoholic father ของเขา

วิลล์มาขัดจังหวะ ฌอนเอาแฟ้มรายงานของวิลล์ให้เขาดู ทั้งสองคุยกันถึงประสบการณ์การถูก abuse ในวัยเด็กของทั้งคู่ ของวิลล์จาก foster home และของฌอนจากพ่อขี้เมาของเขา จุดนี้ยิ่งเป็นการย้ำและทำให้เราทราบว่าฌอนซึ่งเลิกทำจิตบำบัดมาได้ 8 ปี รับทำจิตบำบัดวิลล์เพราะอะไร อาจจะเนื่องจาก rescue fantasy ที่เขามีต่อวิลล์ในลักษณะของ countertransference วิลล์เดาว่าในแฟ้มฉบับนั้นวิเคราะห์ว่าเขามีปัญหา attachment disorder และกลัวการถูกทอดทิ้ง นั่นจึงทำให้เขาจึงเลิกกับสกายลาร์ ในตอนนี้ฌอนพยายามให้วิลล์เข้าใจว่ามันไม่ใช่ความผิดของวิลล์เลย ครั้งแรกวิลล์รับแบบผ่านๆ เหมือนไม่ต้องการจะพูดถึง แต่ฌอนพยายามให้วิลล์เผชิญหน้ากับมันจริงจังโดยการกล่าวซ้ำ จนวิลล์เกิด abreaction8-12 ออกมาโดยการร้องไห้ และพูดว่าเสียใจ ฌอนกอดวิลล์ไว้และปลอบใจ แต่เราจะเห็นได้ว่าในสายตาของฌอนมีรอยยิ้ม เขาทำงานของเขาสำเร็จแล้วเขาไปถึงจุดที่ทำให้วิลล์เข้าใจ แสดงอารมณ์ความรู้สึกและยอมรับตัวเองได้

วิลล์ไปสมัครงานใหม่ ใน session ต่อมาเขาคุยให้ฌอนฟัง ฌอนถามว่านั่นเป็นสิ่งที่เขาอยากทำจริงๆ วิลล์รับและเสริมว่าฌอนก็รู้ เมื่อถึงตอนจบการรักษาฌอนบอกกับวิลล์ว่าหมดเวลาแล้ว วิลล์ทราบว่านี่เป็น session สุดท้าย ท่าทางของวิลล์อึดอัด “So that’s it, so we’ve done?”



ฌอนตอบ “Yeah, that’s it, you’ve done, you’re free man” ฌอนยืนยันว่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นความสำเร็จที่วิลล์กระทำด้วยตัวเขา เขาปลดปล่อยตัวเองออกจากอดีต และเป็นอิสระที่จะเลือกทางเดินชีวิต และสัมพันธภาพกับคนอื่น

วิลล์ขอบคุณฌอน และหวังว่าจะมีโอกาสแวะมาหาฌอนบ้าง ฌอนให้ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ พร้อมกับบอกว่าเขาจะลองกลับไปพนันดูใหม่ พร้อมกับอวยพรวิลล์ว่า “You do what ‘s in your heart, you’ll be fine”

ตรงนี้เราคงเห็นว่าในการรักษานี้วิลล์ก็ช่วยรักษาฌอนด้วย ดังที่ฌอนตอบวิลล์ว่าสิ่งที่ไขลานให้เขากลับมามีชีวิตชีวาภายหลังการสูญเสียภรรยา มีความกระตือรือล้นในงานคือ “working with you” และเมื่อการรักษาสิ้นสุด ฌอนก็อยากที่จะเข้าสู่ ”โต๊ะพนัน” อีกครั้งหนึ่ง (หมายความว่าฌอนจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ มีสัมพันธภาพใหม่)

เพื่อนๆ ทั้งสามคนให้ของขวัญวันเกิดเป็นรถยนต์เก่าๆ คันหนึ่ง ในวันรุ่งขึ้นวิลล์ก็ไปทิ้งจดหมายลาฌอน โดยบอกกับฌอนว่าเขาตัดสินใจทำในสิ่งที่หัวใจเขาเรียกร้อง โดยปฎิเสธงานที่สมัครไว้เพราะ “I gotta see about a girl”



ชัคและเพื่อนอีกสองคนไปรับวิลล์ที่บ้าน ครั้งนี้ชัครอเหมือนปกติ แต่ 10 วินาทีต่อมาเขาก็รู้ได้ว่าวิลล์ได้ทำในสิ่งที่เขาเคยบอกว่า วินาทีที่เขามีความสุขมากที่สุดคือ การไปรับวิลล์ไปทำงานในตอนเช้า แล้วพบว่าวิลล์จากไปเฉยๆ โดยไม่มีการร่ำลา วิลล์เป็นอิสระชนจากอดีตแล้ว เขาไม่ต้องกลัวการถูกทิ้ง หรือการทำร้ายจิตใจจากคนที่เขารัก เขาสามารถเดินออกจากโลกใบเล็กๆ ที่เขารู้สึกปลอดภัย แวดล้อมไปด้วยเพื่อนรัก ไปใช้ชีวิตในโลกกว้างที่เขาสามารถทำตามใจปรารถนาได้ รถยนต์ที่เป็นของขวัญจากเพื่อนจึงเป็นเสมือนสัญญลักษณ์ที่กล่าวย้ำถึงการเติบโตป็นผู้ใหญ่ (maturity) และการก้าวออกไปแสวงหาความสัมพันธ์ในแง่มุมอื่น

ฉากสุดท้ายจึงเป็นฉากที่วิลล์ขับรถออกจากบอสตัน ทิ้งอดีตอันเจ็บปวดเพื่อเดินทางไปหาหญิงที่ไม่ใช่ Helen of Troy แต่เป็นคนที่เขาสามารถแบ่งปันความสุขและความทุกข์ หญิงคนที่เขากล้าเปิดเผยความไม่สมบูรณ์ในตัวให้เธอทราบ เป็นแรงบันดาลใจในชีวิต และเป็นคนที่ทำให้เขาเห็นด้านบวก ด้านลบ ด้านทุกข์ และด้านที่เป็นสุขของชีวิต

ข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์

เขียนบทโดย Matt Daemon และ Ben Affleck

กำกับการแสดงโดย Gus Van Saunt

นำแสดงโดย Robin William

Matt Daemon

Mini Driver

Ben Affleck

รางวัล Oscar เขียนบทยอดเยี่ยม และรางวัลดาราประกอบชายยอดเยี่ยม (Robin William) ปีพ.ศ. 2541

บรรณานุกรม

Schneider I. The theory and practice of movie psychiatry. Am J Psychiatry 1987; 144:996-1002.
Schneider I. Images of the mind: psychiatry in the commercial film. Am J Psychiatry 1977; 134:613-20 .
Clara A. The image of the psychiatrist in motion pictures. Acta Psychiatr Belg 1995; 95:7-15
Dudley M. Images of psychiatry in recent Australian and New Zealand fiction. Aust NZ J Psychiatry 1994; 28:574-90.
Sancho-Aldridge J, Gunter B. Effects of a TV drama series upon public impressions about psychiatrists. Psychol Rep 1994; 74:163-78 .
Herschkopf IS. Dr. know-it-all in movie psychiatry. Am J Psychiatry 1988; 145:391.
Carter-lourensz JH, Johnson-Powell G. Physical abuse, sexual abuse, and neglect of child. In: Kaplan HI, Sadock BJ, eds. Comprehensive textbook of psychiatry. 6th ed. Baltimore: Williams & Wilkins, 1995.
Gabbard GO. Psychodynamic psychiatry in clinical practice. The DSM-IV edition. Washington: American Psychiatric Press, 1994.
Wolberg L. The technique of psychotherapy. 3rd ed. Grune & Stration, 1977.
Karasu TB. Wisdom in the practice of psychotherapy . Basic Book,1992.
Dewald PA. Psychotherapy: A dynamic approach. Oxford: Blackwell Scientific,1969.
สมพร บุษราทิจ. จิตบำบัดแบบอิงทฤษีจิตวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โครงการตำราศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2525.
Beck AT, Rush JA, Shaw BF, Emery G. Cognitive therapy of depression. New York: The Guilford Press, 1979.
Klar H, Frances A. Countertransference in focal psychotherapy. Psychother Psychosom 1984; 41:38-41 .



Source :จิตเวชบนแผ่นฟิล์ม : จิตบำบัดใน “Good Will Hunting”

เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา พ.บ.*

*ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร 10700



//www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/v4449.html

//en.wikipedia.org/wiki/Good_Will_Hunting

//movies.yahoo.com/movie/1800022106/photo/stills



Create Date : 20 กันยายน 2550
Last Update : 20 กันยายน 2550 13:59:53 น. 20 comments
Counter : 6186 Pageviews.

 
เด๋วเข้ามาอ่านเน้อ
มันเยอะ จัด ตาลายแล้ว
ได้เวลากลับบ้านแล้วจ้า ...เด๋ว มาอ่านนะจ๊ะ คนสวย..


โดย: haro_haro วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:16:05:31 น.  

 
ดูแล้วมีดาราเยอะดีนะเนียะ
แต่ตัวหนังสือก็เยอะตามไปด้วยง่ะ


โดย: haro_haro วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:16:09:12 น.  

 
เราแอบเอ้าท์อ่ะ

คือไม่เคยดูหนังเรื่องนี้เลย


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:16:18:20 น.  

 
เด๋วเข้ามาอ่านเน้อ
มันเยอะ จัด ตาลายแล้ว
ได้เวลากลับบ้านแล้วจ้า ...เด๋ว มาอ่านนะจ๊ะ คนสวย..



โดย: haro_haro วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:16:05:31 น.


ตอบ E TA BA ไม่ต้องมาชม ยิ่งบ้ายออยู่

จริงๆๆแล้ว เรื่องย่ออะ

คือ แม็ทเดมอนมี gift พรสวรรค์ เก่งม๊ากกอะ เรื่องแก้สมการคณิตศาสตร์ อะ สมการใหนมา กวาดเรียบ
อัจฉะริยะ แม้กระทั้ง ดูรูป ที่นักจิตวิทยา วาด บอกว่า คุณกะคือ แวนโก๊ะ สมัยนี้เลยอะ สามารถดูรูปทายนิสัย นักจิตวิทยาได้หมดเปลือกจากรูปที่วาดออกมาอะ

ประเด็นกะคือ แม็ทเดม่อน againts ตัวเอง ต่อต้าน ปิดกั้นตัวเอง กะคนอื่นๆๆ แต่สิ่งที่นักจิตวิทยาเห็นแม็ทเดม่อนคือ

เค้าเป็นคนดี ไม่อยากให้เป็นเครื่องมือของใคร อยากให้แม็ทเดม่อน เป็นในสิ่งที่ตัวเองเป็นอะ

เราชอบตรงนี้อะ


เอ่อ เผอิญ ไปเจอบทความวิชาการเข้า เลยยาวไปหน่อย


หาหนังดูเหอะ หุหุ


โดย: Bernadette วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:18:51:37 น.  

 
ดูแล้วมีดาราเยอะดีนะเนียะ
แต่ตัวหนังสือก็เยอะตามไปด้วยง่ะ



โดย: haro_haro วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:16:09:12 น.


ตอบ ดาราดัง เล่นเยอะม๊ากกกก ได้ออสการ์ บทภาพยนต์ยอดเยี่ยมด้วยยยยยยยยยยยยย


โดย: Bernadette วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:18:53:06 น.  

 
เราแอบเอ้าท์อ่ะ

คือไม่เคยดูหนังเรื่องนี้เลย



โดย: I will see U in the next life. วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:16:18:20 น.


ตอบ ยุยุ ดูโลดดดด อ่า เราว่าคุณรีวิวจาดีกว่าอะ

บทความทางการแพทย์ กะน๊ะ เอาหน่อย


โดย: Bernadette วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:18:55:51 น.  

 
หวัดดีจ๊ะ
หนังเรื่องนี้ดาราคุ้นๆ ชื่อคุ้นๆ
แต่เชื่อว่าตนเองไม่ได้ดูแน่นอน
เพราะส่วนตัวแล้วชอบดูหนังเพื่อความบันเทิง
ไม่ชอบดูหนังหนักๆ อย่างหนังรางวัล
หรือหนังรวมดาราหงะ อิอิ



โดย: หอมกร วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:20:16:13 น.  

 
หวัดดีจ๊ะ
หนังเรื่องนี้ดาราคุ้นๆ ชื่อคุ้นๆ
แต่เชื่อว่าตนเองไม่ได้ดูแน่นอน
เพราะส่วนตัวแล้วชอบดูหนังเพื่อความบันเทิง
ไม่ชอบดูหนังหนักๆ อย่างหนังรางวัล
หรือหนังรวมดาราหงะ อิอิ





โดย: หอมกร วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:20:16:13 น.


ตอบ ก๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกก ขำอะคุณหอมกร แม่นาง น้ำหอมคนสวย

พวกดูหนักหนัก นี้แบกเหล็กดูอะ ก๊ากกกกกกกกกกก

ทำตัวมีสาระ ก๊ากกกกกกกก เจงเจงไร้สาระอะ


โดย: Bernadette วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:21:03:18 น.  

 
แต่กะดีน๊ะ

เหมือนกำลังจาบอกว่า หนัง ภาพยนต์ อิทธิพล

ไม่ได้มีแค่ คนรักหนัง คนวิจารณ์หนัง

มานรวมไปถึง สาขาวิชาชีพต่างๆๆอะ

อย่างหนังบางเรื่อง การวางระบบพวกISO กะเอาหนังมาตีความ ว่าได้อะไรจากหนัง

หรือ เรื่องนี้กะเช่นกัน ที่วงการแพทย์ เอามาตีความ

หรือหนังหลายๆๆเรื่อง นักประวัติศาสตร์ เอามาตีความ

อ่า ดูเรื่อง PHI เอามาตีความหุ้นนี้ หุหุ

เรากะว่าหนังได้ประโยชน์อะ อยู่ที่ มุมมองหยิบเอามาใช้งะ

เน๊อะเน๊อะ


อีกหน่อย เด็กๆๆมานดู การ์ตูน ดิสนีย์ ตีความออกมา เกินความคิดที่ผู้ใหญ่จะคิดได้นี้ โห ปรากฎการณ์ ใหม่เลยหุหุ


โดย: Bernadette วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:21:13:50 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:7:02:11 น.  

 
โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:7:02:11 น.

ตอบ แม่นางหอมกร หุหุ เอาวันนี้ เอายาจีน เป็งฟามรู้

แง๊บแง๊บบบ อยากกิน อยากกิน


โดย: Bernadette วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:9:57:20 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:11:21:15 น.  

 
โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:11:21:15 น.

ตอบ แม่นางหอมกร นี้น่ารักเจงเจง หาสมุนไพรจีนทำไรกินดีก่า


โดย: Bernadette วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:11:42:46 น.  

 

กินเป็นแกงจืดดีก่า น่อ อย่าประยุกต์เลยนะ


โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:14:04:51 น.  

 
กินเป็นแกงจืดดีก่า น่อ อย่าประยุกต์เลยนะ



โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:14:04:51 น.


ตอบ แกงจืดปลิงทะเลมีอะปะงะ จากินจากิน หุหุ



โดย: Bernadette วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:17:41:06 น.  

 
emoemoemo
ไม่รู้เหมือนกัน ยังมะเคยกิน
เอ หรืออาจจะเคยกินแล้วหว่า ตามโต๊ะจีนหนะ อิอิ


โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:18:10:07 น.  

 
ไม่รู้เหมือนกัน ยังมะเคยกิน
เอ หรืออาจจะเคยกินแล้วหว่า ตามโต๊ะจีนหนะ อิอิ



โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:18:10:07 น.

ตอบ อ่าเป็นไปได้แม่นางหอมกร


แม่นาง หอมกรจ๋า ทานอะไรมามะทราบบบ

วันนี้แม่นาง คึกม๊ากกกก อัพบล๊อค เพียบเลย ตามตอบมะทันนนนน อะ




โดย: Bernadette วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:19:49:38 น.  

 
อะโหล หวัดดีครับ กลับมาแล้ว

ซื้อแผ่นกลับมาเป็นตั้งเลย ไว้มีโอกาสจะทยอยดูแล้วเอามาเขียน

ปล.อะโหเขียนยาวได้ใจมาก เรื่องนี้ก็ชอบครับผม ชอบคุณมินนี่ ไดร์เวอร์ด้วย


โดย: BloodyMonday วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:10:28:37 น.  

 
อะโหล หวัดดีครับ กลับมาแล้ว

ซื้อแผ่นกลับมาเป็นตั้งเลย ไว้มีโอกาสจะทยอยดูแล้วเอามาเขียน

ปล.อะโหเขียนยาวได้ใจมาก เรื่องนี้ก็ชอบครับผม ชอบคุณมินนี่ ไดร์เวอร์ด้วย



โดย: BloodyMonday วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:10:28:37 น.


ตอบ อิจฉา คนมีแผ่น เสิ้นเจิ้น ว๊อยยยยยยยยยยย

เพราะมานมะตัดงะ


อ่า รอรอ อยากอ่าน อยากอ่าน จาได้ตามหาแผ่นนนน


โดย: Bernadette วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:11:55:17 น.  

 
โอว...กว่าจะอ่านจบ

แต่หนุกดีจัง อยากหามาดูอีกรอบเลย

หลงทางมาค่ะ

ยินดีที่หลงมา


โดย: HHG วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:18:58:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Bernadette
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit

The Ave Maria asks Mary to "pray for us sinners."

Amen

PaPa for all Father W e pray year of priests.



Card Michael Michai Kitbunchu, Archbishop of Bangkok, is the first member of the College of Cardinals from Thailand.

source :http://www.asianews.it/news-en/Michai-Kitbunchu,-first-cardinal-from-Thailand-3038.html

พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะเชนต์ปอล part1

ฺBishop ฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พิธีรับPallium Metropolitans Bangkok Thailand >

สารคดี เทศกาลแห่ดาว สกลนคร Welcome
Sakonnakorn Christmas Thailand
Metropolitans Tarae Sakornakorn Thailand


Orchestra and four vocal Choir - *Latin* Recorded for the Anniversary of the Pope Benedict XVI April 19 This is the Anthem of the Vatican City. The Songs are called Inno e Marcia Pontificale ...

We are Catholic.

หน้าเฟส อัพรูป หาที่อัพรูปใหม่อยู่ http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3


MusicPlaylist
MySpace Music Playlist at MixPod.com

Friends' blogs
[Add Bernadette's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.