กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
10 กุมภาพันธ์ 2558
 

อดใจรอร่างพ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้ พ.ศ.….

อดใจรอร่างพ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้ พ.ศ.….

                                                                เตือนใจ เจริญพงษ์


เหินห่างการเขียนblog มาร่วม 3 ปี

เนื่องจากติดภาระกิจการงานมากมาย

ตอนนี้มีเวลาให้กับการสะสมองค์ความรู้ได้มากขึ้นแล้ว

..........................................................................................................

ท่านทราบหรือไม่ว่า.....

ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดของมาตราต่างๆที่จะจัดทำเป็นร่าง พ.ร.บ. โดยภาษีมรดก

มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ.....

........................................................................................................

 พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้ พ.ศ. .... ซึ่งมีเนื้อหาหลักๆ ดังนี้ คือ

........................................................................................................

- หมวดภาษีการรับมรดก

-หมวดภาษีการรับให้ โดยมีอัตราจัดเก็บเท่ากันคือ 10%

........................................................................................................

แบ่งการจำแนกผู้มีหน้าที่เสียภาษี มีรายละเอียดเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

.......................................................................................................

1.ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ 

ผู้รับมรดกหรือผู้รับทรัพย์สินในแต่ละคนเป็นผู้รับผิดชอบในการเสียภาษีในกรณีที่ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถให้ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี รับผิดชอบแทน

........................................................................................................

2.การเก็บภาษี คิดจากมรดกสุทธิ (ทรัพย์สินสุทธิ)ซึ่งมาจาก มรดก (ทรัพย์สิน) พึงประเมินหักภาระผูกพันและค่าลดหย่อน

........................................................................................................

3.ภาระผูกพันที่สามารถนำมาหักจากมรดก (ทรัพย์สิน)อาทิ หนี้ของเจ้าของมรดก (ทรัพย์) ภาษีอากรที่เจ้าของมรดก (ทรัพย์)ค้างชำระอันเนื่องมาจากมรดก (ทรัพย์สิน) นั้น

........................................................................................................

4.มรดก5ประเภทเข้าข่ายจัดเก็บ

........................................................................................................

มรดก (ทรัพย์สิน)ที่ต้องเสียภาษีต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียนมีทั้งหมด 5 ประเภท คือ

........................................................................................................

1.อสังหาริมทรัพย์

2.สังหาริมทรัพย์

3.ทรัพย์สิทธิต่างๆ

4.เงินสดในธนาคารและสถาบันการเงิน

........................................................................................................

5.ตราสารหนี้ พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นหรือตราสารลักษณะเดียวกันและ

สิทธิหรือประโยชน์ในกิจการค้าอุตสาหกรรมหรือวิชาชีพ

........................................................................................................

- เกณฑ์การประเมินมรดก

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินมรดก (ทรัพย์สิน)ไว้ดังนี้

........................................................................................................

1.หากเป็นที่ดินให้ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน

2.หากเป็นโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้ใช้ราคาประเมินทรัพย์สินประเภทโรงเรือนที่กรมธนารักษ์ประกาศใช้

3.หากเป็นใบหุ้น พันธบัตร และหลักทรัพย์อื่นๆในกรณีที่ไม่มีราคาตลาดในวันที่รับโอน ให้ใช้ราคาเฉลี่ย 30 วันย้อนหลัง

ในร่างกฎหมายกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำผิดกฎหมายทั้งการยื่นแบบแสดงรายการเท็จและไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยมีโทษทั้งปรับ และโทษจำคุก

........................................................................................................

- ภาษีมรดกมีผลย้อนหลัง

..........................................................................................................

นอกจากนี้ ในกฎหมายได้กล่าวถึงการให้ทรัพย์สิน (มรดก) ก่อนตาย เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีเพราะขณะนี้การให้ทรัพย์สินของพ่อแม่ไปถึงลูกจะไม่ถูกเก็บภาษีใดๆแต่หากกฎหมายภาษีมรดกมีผลบังคับใช้ถ้าพ่อแม่ที่ให้ทรัพย์สินเสียชีวิตหลังให้ทรัพย์สินก่อน 2 หรือ 5 ปี ลูกที่รับมรดกต้องมาเสียภาษีทันที ระยะเวลากี่ปีนั้นกำลังถกเถียงระหว่างกระทรวงการคลังที่เสนอไป2 ปี แต่ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาอยากให้เป็น 5 ปี

.........................................................................................................

ส่วนการลดหย่อนนั้นหากเป็นมรดก (ทรัพย์สิน) ไม่เกิน 50 ล้านบาทและทรัพย์สินของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และกลุ่มเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนรวมถึงสามี-ภรรยา ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

.........................................................................................................

- เจตนาลดช่องว่างคนรวย-จน

ถ้าผู้รับมรดกยังไม่มีเงินมาเสียภาษีกฎหมายเปิดช่องให้โอนมรดกไปอยู่ในรูปแบบของ?กองมรดก?เพราะภาษีจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการโอนไปยังผู้รับแล้วเท่านั้น

..........................................................................................................

การผลักดันกฎหมายนี้ มีเหตุผลสำคัญคือลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นการหารายได้เข้ารัฐโดยผู้ที่เกี่ยวข้องยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อคนยากจน และคนที่มีฐานะปานกลาง

.........................................................................................................

ทั้งนี้มีประเทศที่เก็บภาษีมรดกประมาณ 50 ประเทศส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกาในทวีปยุโรปเกือบทุกประเทศ โดยมีบางประเทศที่ยกเลิกการเก็บภาษี อาทิ สิงคโปร์สวีเดน ออสเตรเลีย และแคนาดาซึ่งสิงคโปร์ให้เหตุผลยกเลิกคือต้องการสร้างแรงจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาสะสมทุนแคนาดายกเลิกเพราะนำภาษีกำไรจากการขายทรัพย์สินมาใช้แทนส่วนออสเตรเลียให้เหตุผลคือภาษีมรดกกระทบต่อประชาชนในวงกว้างทำเกิดการเลี่ยงภาษีมากเพราะไม่เก็บภาษีการให้

..........................................................................................................

   เรารอกฎหมายฉบับกันมานาน ส่วนใหญ่เป็นแค่เริ่ม.... 

    แล้วก็....เฉา .....แห้ง.....ตายในชั้นของสภานิติบัญญัติ

.........................................................................................................

             OK คะ จารอๆๆๆต่อไป




Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2558 10:32:31 น. 0 comments
Counter : 1212 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com