bloggang.com mainmenu search
คอลัมน์ คนกับหนังสือ
โดย ดุษฎี สนเทศ
มติชน 3 พ.ย. 2555








"การนิยามคำว่า "ผู้ประกอบการ" ให้กว้างขึ้นกว่าเดิมจะช่วยให้เราเปลี่ยนลักษณะทุนนิยมได้อย่างสุดขั้วและแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่ยังแก้ไม่ได้ภายในกรอบของตลาดเสรี"

ในยุคปัจจุบันที่มีระบบทุนนิยมเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจทั่วโลก

ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างสูงในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการกำไรสูงสุด โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทของสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เสื่อมโทรมลงทุกขณะจากการประกอบธุรกิจเหล่านั้น ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม คนรวยเป็นกระจุก คนจนกระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหง จะมีใครสนใจปัญหาเหล่านี้หรือไม่?

มูฮัมหมัด ยูนุส ผู้เขียน นายธนาคารเพื่อคนจน และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2006 สนใจปัญหาเหล่านี้ เขาถ่ายทอดการถอดรหัสธุรกิจเพื่อสังคมและอนาคตของทุนนิยมผ่านหนังสือ สร้างโลกไร้จนŽ

แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล ความพยายามของยูนุสคือการหาทางแก้ปัญหาความจนให้หมดไปจากโลก เขาเชื่อว่าการคิดโมเดลธุรกิจใหม่ที่ไม่มองว่ากำไรเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดจะช่วยคนจนได้ นั่นคือกำเนิดของธุรกิจเพื่อสังคมŽ ที่ผสมผสานพลังของตลาดเสรี ศักยภาพของมนุษย์ กับจิตสำนึกของโลกที่เอื้ออาทร

เขาแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการต่อสู้กับความจนอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกรามีน (ธนาคารเพื่อคนจน) ที่เขาก่อตั้งขึ้นเจริญรุ่งเรืองทั้งในการพึ่งพาตัวเองด้านการเงิน คืนทุนให้ผู้ลงทุน และช่วยเหลือสังคมตามเป้าหมาย

สร้างโลกไร้จนŽ เป็นหนังสือที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ อีกทั้งยังกระตุ้นให้เรามองปัญหาความยากจนด้วยมุมมองที่แตกต่าง เมื่อเรามีความหวัง ความพยายาม และเครื่องมือที่พร้อม โลกไร้จนย่อมเป็นจริงได้อย่างแน่นอน



ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คอลัมน์ คนกับหนังสือ
คุณดุษฎี สนเทศ

สิริสวัสดิ์โสรวารค่ะ
Create Date :03 พฤศจิกายน 2555 Last Update :3 พฤศจิกายน 2555 13:44:47 น. Counter : 1367 Pageviews. Comments :0