bloggang.com mainmenu search
คอลัมน์ บุ๊กสโตร์
ผู้สื่อข่าวหรรษา



101 คำถามสามก๊ก

อมตะ "วรรณคดีจีน"


"สามก๊ก" เป็นหนึ่งในสี่ของยอดวรรณคดีจีนระดับคลาสสิค ที่โด่งดังรู้จักกันทั่วโลก

เหตุการณ์และเรื่องราวในยุคสามก๊กของจีนได้ รับการชำระบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยนักปราชญ์จีน นามเฉินโซ่ว ในชื่อ "สามก๊กจี่" หรือ "จดหมายเหตุสามก๊ก" ต่อมาหลัวกว้านจงนำมาเรียบเรียงเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่คงความอมตะมาถึงวันนี้

ด้วยเหตุที่สามก๊กเป็นวรรณกรรมอิงประวัติ ศาสตร์ ส่งผลให้เกิดนักวิชาการศึกษาสามก๊กตามมามากมาย โดยเลือกเรื่องราวในสามก๊กมาวิเคราะห์ตีความในหลากหลายแง่มุม ทั้งผ่านตัวละครเด่น ฉากและเหตุการณ์ในท้องเรื่อง ในฉบับภาษาไทยของเราเองเชื่อว่ามีไม่ต่ำกว่าร้อยเล่ม

"101 คำถามสามก๊ก" ผลงานเขียนของหลี่ฉวน จวิน และคณะนักวิชาการศึกษาสามก๊กชาวจีน

หยิบฉาก, เหตุการณ์เด่นๆ ตลอดจนพฤติกรรม ภูมิหลังตัวละครสำคัญๆ ในเรื่องสามก๊กมาอธิบายใหม่ พร้อมเติมข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงจากพงศาวดารและบันทึกทางประวัติศาสตร์จีน มานำเสนอในรูปแบบคำถามรวม 101 คำถาม ตัวอย่างเช่น?

เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สาบานเป็นพี่น้องกันในสวนท้อจริงหรือ?
และในบรรดาพี่น้องร่วมสาบานทั้งสาม เล่าปี่เป็นพี่ใหญ่จริงหรือ?
อาวุธประจำตัวกวนอู คือ "ง้าวมังกรเขียวเสี้ยวจันทร์" จริงหรือ?

กวนอูปล่อยโจโฉด้วยคุณธรรมที่ตำบลฮัวหยงจริงหรือ?
ทำไมเล่าปี่ไม่ใช้จูล่งทำงานใหญ่?
ทำไมขงเบ้งเลือกไปอยู่กับเล่าปี่?

ตลอดจนคำถามสำคัญเกี่ยวกับฉากรบที่ปรากฏตลอดทั้งเรื่อง คือ ในยุคสามก๊ก เมื่อตั้งทัพประจัญบานกันแล้ว จริงหรือไม่ที่แม่ทัพต้องรบกันถึงสองร้อยเพลงเสียก่อน หลังจากนั้นฝ่ายชนะจึงจะบุกโจมตี?

ในคำตอบ ผู้เขียนยังให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการวางรูปขบวนการรบในยุคสามก๊กและสมัยจีนโบราณอย่างละเอียด

และอีกคำถามสำคัญ คือ แผ่นดินจีนในสมัยสามก๊ก วุ่ยก๊กจ๊กก๊ก และง่อก๊ก แคว้นใดมีพื้นที่ใหญ่ที่สุด?

ไม่ว่าจะอ่านสามก๊กมากี่รอบแล้วก็ตาม หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติม ผู้อ่านจะเข้าใจเหตุการณ์และอุปนิสัยใจคอของตัวละครเด่นๆ ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

และบางทีอาจจะต้องกลับไปอ่านสามก๊กอีก แม้จะอ่านมามากกว่าสามรอบแล้วก็ตาม
ผลงานแปล ถาวร สิกขโกศล

ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
คอลัมน์ บุ๊กสโตร์
ผู้สื่อข่าวหรรษา

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

Create Date :04 สิงหาคม 2556 Last Update :4 สิงหาคม 2556 14:37:55 น. Counter : 953 Pageviews. Comments :0