bloggang.com mainmenu search
จะว่าไปแล้วธรรมะกับชีวิตการทำงานก็มีความเกี่ยวข้องกัน
คุณๆ ว่าจริงมั๊ย ถ้าไม่เชื่อ
มาๆ วันนี้มาเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมกันบ้างดีกว่า


วันนี้ว่าด้วย
หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ใช้สำหรับทำกิจการงานต่างๆ ให้สำเร็จ
เราท่านที่เคยเข้าวัดเข้าวาฟังเทศน์ฟังธรรมทั้งหลายคงรู้แล้วกระมังว่าหมายถึงหลักธรรมในหัวข้อใด


ให้เวลาคิด 10 วินาที
เอ 5 วินาทีแล้วกัน เดี๋ยวมันจะนานไป
สำหรับคนที่ห่างไกลวัด ยังไงก็คงไมรู้อยู่ดี*****
**********
***************
********************
1111111111111111111111111111111
*****
**********
***************
********************
2222222222222222222222222222222
*****
**********
***************
********************
3333333333333333333333333333333
*****
**********
***************
********************
4444444444444444444444444444444
*****
**********
***************
********************
5555555555555555555555555555555


หมดเวลา มาดูเฉลยกันดีกว่า
หัวข้อธรรมนั้นก็คือ อิทธิบาทสี่


สมัยเราเรียนหนังสือมีสอนวิชา หน้าที่พลเมือง และ ศีลธรรม ด้วยหละ
สมัยนี้เค้าเรียกว่าวิชาอะไรกันนะ
ชื่อฟังแล้วต้องแปล รู้สึกจะชื่อว่าวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตอะไรนี่แหละ
ที่นักวิชาเกินทั้งหลายเค้าพยายามตั้งกันให้มันฟังดูหรูๆ
แต่กลับฟังแล้วต้องแปลอีกทีหงะ

อิทธบาทสี่ ย่อมต้องประกอบด้วยธรรมะ 4 หัวข้อธรรมคือ
ฉันทะ - ความพอใจ
วิริยะ - ความเพียร
จิตตะ - ความเอาใจใส่
วิมังสสา - การไตร่ตรอง



ซึ่งอาจจะฟังดูแล้วเข้าใจยาก
ที่นี้เราลองมาแปลกันดูใหม่ให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ดังนี้ (ลอกคำพระมาอีกแหละ)

ฉันทะ - เต็มใจทำ
วิริยะ - แข็งใจทำ
จิตตะ - ตั้งใจทำ
วิมังสสา - ตรองตามสิ่งที่ทำนั้น


ผิดพลาดประการใดขออภัยท่านผู้รู้มากกว่าไว้นะที่นี้ด้วย
เนื่องจากเขียนจากความทรงจำ ไม่ได้พลิกตำรา

ว่ากันว่าจะประกอบกิจการงานใดก็ตามให้ประสบความสำเร็จ
เราต้องเต็มใจที่จะทำในสิ่งนั้น หรือมีความพอใจที่จะทำในสิ่งนั้นนั่นเอง

ที่นี้พอทำไปได้สักพัก เราอาจจะเกิดความเบื่อความเซ็ง
ในระหว่างที่ยังประกอบกิจการงานนั้นไม่สำเร็จเราก็ต้อง
แข็งใจทำสิ่งนั้นต่อไป เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ในภายภาคหน้าเมื่อกิจการงานนั้นๆ ประสบความสำเร็จ
ซึ่งก็คือความเพียรพยายามนั่นเอง

ที่นี้ไอ้การจะทำให้สำเร็จอย่างดี ผลงานออกมาปราณีต
ได้อย่างใจ มันก็ต้องมีความตั้งใจที่จะทำในสิ่งนั้นอย่างเต็มที่
นั่นคือเราต้องมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำนั้น

สุดท้ายเมื่อประกอบกิจการงานนั้นบรรลุผลสำเร็จ
ก็ต้องหมั่นตรวจสอบด้วยความละเอียดรอบคอบ
ด้วยการไตร่ตรอง และทบทวนว่าสิ่งที่ได้ทำนั้นดีสมบูรณ์อย่างที่ตั้งใจแล้วหรือยัง



เพียงแค่นี้ไม่ว่าคุณจะประกอบกิจการงานใดๆ
หากคุณได้นำหลักธรรมะในหัวข้อดังกล่าวมาใช้จริงในทางปฏิบัติ
งานนั้นก็จะประสบความสำเร็จสมดังที่ได้มุ่งหวังไว้อย่างแน่นอน
เนื่องจากหัวข้อธรรมะไม่ได้มีไว้ให้ท่องจำ แต่มีไว้ให้นำมาใช้งาน

เค้าว่ากันว่าคุยธรรมะ ไม่ให้คุยนาน
เดี๋ยวจะพาลง่วงเหงาหาวนอนกันไปเสียก่อน
ถ้าอย่างนั้น วันนี้คงพอแค่นี้แล้วกัน
วันข้างนึกอะไรดีๆ ออกอีก
ก็จะแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตมาบอกกันใหม่นะ

สำหรับวันนี้คงจบแค่นี้ดีกว่า bye bye


Create Date :15 มีนาคม 2550 Last Update :5 เมษายน 2550 7:47:25 น. Counter : Pageviews. Comments :15