นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดตัวอักษร
นิทานตำนานกำเนิดตัวอักษร

แต่เริ่มเดิมที สิ่งมีชีวิตสื่อสารกันได้ด้วยการไม่ต้องมีคำพูดหรือตัวอักษร ใช้ธรรมชาติสื่อสารกันเองเช่น จิตสู่จิต คือ การที่เข้าใจกันเองในใจว่าอีกฝ่ายต้องการหรือไม่ต้องการอะไร ต่อมาจึงเริ่มมีตัวอักษร ซึ่งในไตรปิฎกได้กล่าวไว้ว่า “ภาษามคธ” คือ ภาษาแรกที่สิ่งมีชีวิตในโลกใช้สื่อสารกัน และเป็นภาษาที่สิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ เช่น เทวดา, พรหม ก็เข้าใจเช่นกันด้วย ต่อมา จึงเกิดภาษาต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น ภาษาบาลี, ภาษาสันสฤต โดยภาษาสันสฤตนี่เองที่พัฒนามาจากภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ แต่เมื่อทรงเผยแพร่ธรรมะต่างแดน คือ ในเขตชมพูทวีปแล้ว ชมพูทวีปสื่อสารกันด้วยภาษาบาลี ท่านจึงต้องศึกษาภาษาบาลีเพื่อใช้สื่อสารกับชาวชมพูทวีป ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ภาษาได้ถือกำเนิดเรียงลำดับกันตามนี้

๑) ภาษาจิต คือ การสื่อสารกันด้วยจิตอย่างเดียวไม่ต้องใช้การขยับร่างกาย
๒) ภาษากาย คือ การสื่อสารกันด้วยภาษาทางกาย เช่น การโบกไม้ โบกมือ
๓) ภาษามคธ คือ การสื่อสารผ่านภาษาครั้งแรกของมวลสัตว์ที่เข้าใจกันหมด
๔) ภาษาภาพ คือ การสื่อสารผ่านภาษาที่บันทึกได้ครั้งแรก ด้วยภาพแทนคำ
๕) ภาษาเสียง คือ การสื่อสารผ่านภาษาที่แยะแยะเสียงออกมา เป็นตัวอักษร

ปัจจุบัน มนุษย์สื่อสารกันด้วยภาษาจิตน้อยลง, ภาษากายบ้างในบางครั้ง, ภาษามคธไม่มีแล้ว ภาษาภาพยังมีอยู่แต่ได้พัฒนาไปเป็นภาษาภาพตระกูลต่างๆ และภาษาเสียงก็ได้พัฒนาไปเป็นตระกูลต่างๆ ดังนั้น ตัวอักษรในยุคปัจจุบัน จึงมีสองสายกำเนิดด้วยกัน คือ ๑) ตัวอักษรภาพ ๒) ตัวอักษรเสียง โดยตัวอักษรเหล่านี้ มีกำเนิดมาจาก “เทพอักษร” ผู้บำเพ็ญบารมีมาจากเทพนักษัตรตระกูลนก เช่น นกยูง เป็นต้น โดยเทพนกยูงจะเป็นสัตว์พาหนะทรงให้แก่ “พระสุรัสวดี” เพื่อก่อกำเนิดตัวอักษรให้แก่ชนชาติต่างๆ กัน ตามควร (พระสุรัสวดีไม่ได้ทรงเทพนกยูง แต่เมื่อใดทรงเทพนกยูงก็จะทรงกิจประดิษฐ์ตัวอักษร)
โดยตัวอักษรภาพนั้น จะเกิดจากการวาดภาพสิ่งต่างๆ ออกมา บันทึกไว้ เช่น ภาพวาดที่หน้าผาหรือในผนังถ้ำต่างๆ จากนั้น เพื่อให้สามารถสื่อสารด้วยการเขียนได้ง่ายขึ้น จึงย่อหรือกำหนดสัญลักษณ์ต่างๆ แทนภาพเหล่านั้น ทำให้ง่ายและเขียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดเป็นอักษรภาพตระกูลต่างๆ เช่น อักษรจีน, อักษรญี่ปุ่น, อักษรเกาหลี, อักษรเวียดนาม เช่น ตัวอักษรจีน ถือกำเนิดจากการบันทึกสัญลักษณ์ของธาตุต่างๆ ลงใน “ปากว้า” หรือเครื่องมือที่คล้ายเข็มทิศ แสดงทิศต่างๆ ที่สัมพันธ์กับธาตุ โดยใช้ขีดแนวนอนสามเส้น มีทั้งเส้นขาดและเส้นต่อเนื่อง ทำให้ได้สัญลักษณ์หลายตัว แทนธาตุต่างๆ ด้วยหลักการนี้เองจึงนำมาพัฒนาเป็นตัวอักษรโบราณของจีนต่างๆ โดยผู้คิดค้นปากว้าคือ ฝูซี ส่วนผู้ที่พัฒนามาเป็นตัวอักษร ได้ทำขึ้นในสมัยต่อมา ตัวอักษรเหล่านี้ เกิดแล้วใช้กันอย่างมากในบางยุค บางยุคก็เสื่อมสลายหายไป ไม่มีคนใช้ แล้วก็เกิดตัวอักษรใหม่ๆ มาแทนก็มี

ส่วนภาษาเสียงนั้น ทำได้โดยการสังเกตเสียงที่มนุษย์พูดกันและเข้าใจกันดีมาก่อนที่จะมีการบันทึก ซึ่งมาจาก ภาษามคธ นั่นเอง เมื่อมนุษย์ที่พูดภาษามคธกันนั้น ยังไม่เคยมีการบันทึกลงในเครื่องมือใดๆ เพื่อติดต่อกัน ต่อมา ได้คิดที่จะบันทึกลงในสิ่งต่างๆ เพื่อใช้สื่อสารกันขึ้น จึงได้ทำการแยกแยะคำพูดที่ออกมาจากเสียงคนว่ามีส่วนผสมของการออกเสียงอย่างไร เช่น คำว่า คน มาจาก ค บวก โ บวก น เป็น โคน ซึ่งสั้นกระชับลงเป็น “คน” ในที่สุด หรือคำว่า get มาจากเสียง g บวก e บวก t ผสมเสียงกันเป็น get นั่นเอง

สำหรับ “อักษรซู” เกิดจากเสียงที่วัยรุ่นไทยใช้กันโดยไม่ได้รับการยอมรับในมาตรฐานของภาษาไทย ซึ่งนักอักษรศาสตร์มองว่าเป็น “ภาษาวิบัติ” แต่ผู้เขียนมองว่านี่เป็นการเกิดใหม่ของภาษา ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ที่จะมีภาษาใหม่ๆ เกิดขึ้นหรือมีภาษาเก่าๆ หายไป ดังนั้น จึงได้รวบรวมเป็นภาษาภาพ ตั้งชื่อว่า “อักษรซู” สืบไป ซึ่งในปัจจุบันเราใช้ภาษาไทยร่วมกับภาษาอังกฤษอยู่แล้ว จึงไม่แปลกใช่ไหมถ้ามีภาษาซูอีก



Create Date : 06 สิงหาคม 2553
Last Update : 6 สิงหาคม 2553 9:17:25 น.
Counter : 392 Pageviews.

1 comments
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(11 เม.ย. 2567 08:25:45 น.)
  

น่าสนใจจริงๆ

โดย: โลกธรรม8 วันที่: 2 กันยายน 2553 เวลา:0:16:57 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Worldlingo.BlogGang.com

ฉันนะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด