นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดแม่ทุรคา
นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดแม่ทุรคา

ในพรหมโลก จะมีแม่ “อุมา” เป็นต้นแบบของผู้หญิงขึ้นมาก่อน จากนั้น แม่อุมาจะได้พบกับพระศิวะซึ่งมีจิตที่ดีงามแต่เพราะเหตุจำเป็นทำให้มีภรรยามากกว่าหนึ่งคน จากนั้น ถ้าแม่อุมายอมรับได้ ซื่อตรง ภักดีต่อพระศิวะ ก็จะดำรงความเป็นอุมาที่ดีงามต่อไปได้ และสามารถเวียนว่ายตายเกิดบำเพ็ญบารมีตามๆ องค์ศิวะไปได้ แต่ถ้ายอมรับไม่ได้ก็จะเสื่อม สภาพจากเดิมลงไปเป็นแม่กาลีก่อนแล้วต้องไปเกิดเป็นแม่เลี้ยงของพระศิวะแทนจนเมื่อพระศิวะโปรดให้ยอมจำนนต่อผู้ชายในระดับหนึ่งแล้ว ก็จะลดละทิฐิมานะลงมาระดับหนึ่ง เมื่อบำเพ็ญบารมีถึงที่สุด จะไม่อาจกลับคืนสู่สถานะเดิมได้ (เดิมคือ อุมา) จะกลายเป็นแม่ธรณี, แม่คงคง, แม่วาโย และแม่เตโช ไป ก็แล้วแต่ว่าแม่กาลีองค์นั้นๆ จะบำเพ็ญไปทางธาตุใดเป็นสำคัญ เมื่อกลายเป็นแม่ธาตุแล้ว จะต้องอยู่ภาคพื้นพิภพต่อไป เพื่อดูแลรักษาเมืองใดเมืองหนึ่ง จนกว่าจะถึงวาระการล่มสลายของเมือง จึงจะได้กลับคืนสู่พรหมโลก หรือได้รับการโปรดจนหลุดพ้นในที่สุด เพราะหมดกิจสร้าง, รักษา และทำลายแล้ว

อนึ่ง นอกจากทางเสื่อมแล้ว “แม่อุมา” ยังมีทางในการบำเพ็ญบารมีไปทางเจริญอีกด้วยโดยแม่อุมาจะได้พบสามีที่เจ้าชู้ เป็นเสือผู้หญิงแล้วสามารถปราบให้อยู่ในความสงบได้ หรือครองใจได้ ก็จะบำเพ็ญบารมีสำเร็จเป็น “แม่ทุรคา” ในที่สุด ซึ่งการบำเพ็ญจากแม่อุมาไปยังแม่ทุรคานี้ จะต้องไม่ดุร้าย ไม่ใช้พลังภาคดำ ถ้าใช้พลังภาคดำหรือดุร้ายต่อสามี ก็จะกลายสภาพ เสื่อมลงไปกลายเป็น “แม่กาลี” ทันที แล้วเมืองนั้นๆ ที่แม่อุมาดูแลอยู่ ก็จะถึงกาลล่มสลายไปในที่สุด (เพราะบำเพ็ญบารมีไม่สำเร็จ ผิดพลาดนั่นเอง) ในการ บำเพ็ญบารมีนี้ จะต้องบำเพ็ญบารมีเป็นคู่กันคือ “พระอุมา” กับ “เทพเสือ” ถ้าพระอุมาขี่เทพเสือได้ ก็จะสำเร็จเป็น “แม่ทุรคา” แล้วร่วมมือกันปราบอสูรมหิงสาได้ แต่ถ้าฝ่ายชายบารมีมากกว่าโดยบำเพ็ญบารมีจากเทพเสือ (เสือผู้หญิง) แล้วสำเร็จเป็นพระสมันตภัทร ก็จะไม่ยอมรับแม่อุมาเป็นภรรยา สุดท้าย แม่อุมาจะมีพลังภาคดำเข้าแทรกแล้วกลายเป็น “แม่คงคา” ในที่สุด ในกรณีนี้ ฝ่ายหญิงคุมฝ่ายชายไม่ได้และทำกิจประสานร่วมกันไม่ได้ เมืองนั้นจะเกิดปัญหา “น้ำท่วม” ได้ โดยแม่คงคาจะขี่สัตว์เลื้อยคลานที่ไม่มีขาแทน เพื่อใช้สัตว์นั้นพ่นน้ำให้ท่วมเมือง แต่ถ้าทั้งฝ่ายหญิงและชายบำเพ็ญบารมีได้เสมอกันดี ฝ่ายหญิงจะสำเร็จเป็นแม่พระคงคาและฝ่ายชายจะสำเร็จเป็นพระอิศวรก็จะแต่งงานกันและจะทำกิจภาครักษาร่วมกัน (แม่อุมามีสองภาค ยามใดอารมณ์ดี เป็นแม่อุมาผู้สร้างและรักษา ยามใดอารมณ์ร้ายจะกลายเป็นแม่กาลี, แม่คงคา, แม่ธรณี ฯลฯ จะทำกิจภาคทำลายล้างได้) หรือถ้าฝ่ายชายได้บารมีมากกว่าแต่ไม่มากเกินไป จะสำเร็จเป็นเมตตรัยโพธิสัตว์ ก็จะยอมแต่งงานกับแม่คงคาแล้วทำกิจร่วมกัน สามารถสร้างเมืองใหม่ได้ โดยฝ่ายชายจะได้เป็นถึงกษัตริย์ โดยแม่พระคงคาก็จะทำลายล้างเมืองเก่าให้ล่มสลายไปก่อน แล้วพระเมตตรัยจะสร้างขึ้นใหม่แทนที่ หรือถ้าฝ่ายชายได้เป็นพระราชาอยู่แล้ว แม่คงคาจะไม่ทำกิจภาคทำลายล้างแต่จะยอมตามสามีคือทำหน้าที่ภาครักษาต่อไป แต่ในกรณีที่ฝ่ายชายบำเพ็ญบารมีแล้วได้สมันตภัทร แต่ฝ่ายหญิงได้พระคงคา ทั้งสองจะทำกิจแยกกัน เพราะบารมีห่างกันเกินไป ฝ่ายชายมีบารมีสูงเกินไป โดยฝ่ายหญิงจะทำหน้าที่ภาคทำลายล้าง, ฝ่ายชายจะต้องทำหน้าที่กอบกู้ เช่น ในสมัยพระนเรศวร ท่านก็ต้องทำหน้าที่กอบกู้เอกราชของชาติ เช่นกัน (ปกติ ถ้าฝ่ายชายได้เมตตรัย เมืองมักไม่ล่ม แต่ถ้าได้สมันตภัทรจะล่มไปแล้วกอบกู้ขึ้นใหม่ได้ เนื่องจากบารมีของเมตตรัยโพธิสัตว์องค์เดียว กอบกู้ไม่ไหว ถ้าจะสร้างใหม่ก็ต้องอาศัยบารมีของพระกษิติครรภ์ร่วมด้วย) สรุป การบำเพ็ญบารมีของฝ่ายหญิงที่เริ่มต้นที่อุมามีบารมีสูงสุดไปได้ถึง “แม่ทุรคา” แต่ยากนักที่จะสำเร็จโดยง่าย

ในโลกนี้ มีชายและหญิงที่มีบุญบารมีมาก มาเกิดอยู่เสมอ ให้ท่านลองสังเกตดู ชายใดที่มีความสามารถมาก เป็นที่รักของอิสตรีทั้งหลายแต่มักเจ้าชู้ ชะรอยจะเป็นเทพเสือ (ปีนี้ คือ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีขาลเทพเสือดูแลเมือง แต่นักษัตรนี้ เป็นชุดเก่าจะหมดวาระแล้วให้เทพ... ดูแลแทน ส่งผลให้ซาตานมีอำนาจมาก ต้องใช้แพะรับบาปสังเวยแทน และชายที่เป็นเสือผู้หญิงย่อมจะสิ้นลาย เนื่องจากหมดวาระอำนาจของเทพเสือแล้วนั่นเอง)



Create Date : 11 ตุลาคม 2553
Last Update : 11 ตุลาคม 2553 9:39:24 น.
Counter : 356 Pageviews.

0 comments
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
อยาก อยากได้ กฎที่ถูกที่ดี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 05:37:27 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Worldlingo.BlogGang.com

ฉันนะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด