นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดปีศาจ
นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดปีศาจ

“ปีศาจ” หมายถึง ผีร้ายที่มีฤทธิ์มาก รบกวนมนุษย์ในด้านต่างๆ ไม่ว่ามนุษย์จะรู้ตัวหรือ ไม่รู้ตัวก็ตาม อนึ่ง คำว่าปีศาจมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ภูติและผี” บ้าง จึงเรียกรวมกันว่า “ภูตผีปีศาจ” แท้แล้วทั้งสามคำมีความหมายต่างกัน โดยทั้งสามคำหมายถึง “จิตวิญญาณ” ทั้งสิ้น แต่คำว่าภูติหมายถึงจิตวิญญาณที่ประจำอยู่ในสังขารของมนุษย์ ยังไม่สิ้นอายุขัยจากร่ามนุษย์ แต่สามารถจรเข้าออกจากร่าง เพื่อปกป้องคุ้มครองร่างได้ คำว่า “ผี” คือ จิตวิญญาณที่สิ้นอายุขัยจากสังขารเดิมแล้ว สังขารเดิมล่วงไปแล้ว สิ้นไปแล้ว จึงนับว่าเป็นผีได้ ส่วนคำว่า “ปีศาจ” ก็คือ ผีที่ฝึกฤทธิ์จนกลายเป็นปีศาจ นั่นเอง

พัฒนาการของปีศาจ
แรกเริ่มเดิมทีปีศาจเป็นเพียงผีธรรมดา เมื่อตายใหม่ๆ จะอ่อนแอมาก หากเรียกกันในภพภูมิใหม่นั้นจะเรียกว่าเป็นเพียงเด็กอมมือเพราะเพิ่งเกิดในภพนั้นๆ ได้ไม่นานนั่นเอง ทว่า จิตวิญญาณทุกชนิดจะไม่มีการพัฒนาทางสังขารแบบมนุษย์ คือ ไม่ใช่ตัวเล็กแล้วค่อยๆ โต แต่จะเป็นไปตามวิบาก เมื่อตายแล้วจะมีสภาพเหมือนผู้ใหญ่เต็มตัว ยกเว้น ผีที่ตายในร่างเด็ก ก็จะมีร่างกุมารได้ (ที่เรียกว่าผีกุมาร) ผีที่ไม่ได้ไปผุดไปเกิดในช่วง ๑๐๐ ถึง ๒๐๐ ปีแรก จะยังไม่มีฤทธิ์มากนัก แต่จะสั่งสมประสบการณ์, บริวาร (จากผีที่ตายใหม่ๆ และมีฤทธิ์น้อย) และอิทธิฤทธิ์ไปเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ช่วง ๕๐๐ ปี ก็จะเริ่มมีฤทธิ์มากขึ้น ก่อกรรมทำเข็ญได้มากขึ้น เมื่อถึง ๑,๐๐๐ ปี ก็อาจมีฤทธิ์มากถึงขั้นแปลงกายให้เหมือนคนที่สมบูรณ์ได้ เช่น จากเดิมเป็นปีศาจปูที่ตัวเล็กๆ อาศัยดูดซับพลังปราณจากของเน่าไปวันๆ ผ่านไป ๑,๐๐๐ จะกลายเป็นปีศาจปูยักษ์ได้ ทั้งยังอาจสามารถแปลงร่างเป็นคนได้อีกด้วย บางทีก็แทรกสิงในร่างมนุษย์ที่มีวิบากกรรม แล้วสร้างสิ่งที่คล้ายตัวเองขึ้น เช่น รถถัง จากนั้นก็ใช้อิทธิฤทธิ์ก่อกรรมทำเข็ญเพื่อยึดครองแผ่นดิน แย่งกับจิตวิญญาณอื่นๆ ที่ตกค้างอยู่บนโลกมนุษย์ ปีศาจเหล่านี้เองทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในโลกมนุษย์ และมักทำกิจผ่านร่างมนุษย์ แทรกเข้าอาศัยในร่างมนุษย์ เพราะปีศาจทุกตัวรู้ว่ามนุษย์นั้น มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าปีศาจๆ จึงอยากจะเป็นอย่างมนุษย์ และหาทางแทรกเข้าร่างมนุษย์ดังกล่าว ในบางครั้ง ผีที่ต้องการเป็นปีศาจจะต้องสะสมพลังปราณของมนุษย์ให้ได้มากๆ แต่พวกเขายังเป็นจิตวิญญาณเล็กๆ เช่น ผียุง ซึ่งมีปริมาณมาก ก็พากันเข้ามารุมเกาะกินเลือดในร่างมนุษย์ ทำให้มนุษย์จำนวนมากป่วยเป็นโรคติดต่อทางเลือด หรือโรคเลือดที่เป็นพิษแบบต่างๆ เป็นต้น การเจ็บป่วยเป็นโรคระบาดของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับผีตัวเล็กที่มีปริมาณมากๆ ผีเหล่านี้จะจู่โจมพร้อมๆ กัน รวมกำลังกัน ผีบางตนอาจไม่รอด ถูกภูติที่อารักขามนุษย์เล่นงาน ตายไปบ้าง แต่ผีบางตัวก็รอดได้ แล้วค่อยๆ พัฒนาตัวเองขึ้นเป็นปีศาจที่มีฤทธิ์มากและดุร้ายขึ้นต่อไป อนึ่ง ภูติในร่างของมนุษย์นั้นมีอายุขัยไม่เท่ากัน ถ้าภูติมีอายุขัยไม่มากซึ่งยังสั่งสมฤทธิ์ได้ไม่มาก ทำให้ภูติอ่อนแอและอาจต่อสู้กับผีได้ยาก แต่ถ้าภูติมีอายุมาก เช่น เป็นพญานาคอายุเป็นพันปี มาคุ้มครองดูแลมนุษย์ในฐานะภูติ ก็จะมีฤทธิ์มากขึ้น แต่ถ้าภูติเกิดใหม่แบบโปปาติกะในร่างมนุษย์ ทำให้อายุขัยของร่างใหม่ ไม่มาก ฤทธิ์ก็จะน้อย ต้องเริ่มนับศูนย์ใหม่ ฝึกอิทธิฤทธิ์ใหม่อีก มนุษย์ผู้นั้นก็จะอ่อนแอ

การเพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์ของปีศาจในยุคปัจจุบัน
ปีศาจในยุคปัจจุบัน จะอาศัย “พลังจิต” ของมนุษย์เพื่อเพิ่มพูนอิทธิฤทธิ์ เมื่อมนุษย์กราบไหว้รูปเคารพ, รูปปั้น หรือแม้แต่คนด้วยกันที่ปีศาจแทรกสิงอยู่ ฯลฯ พลังจิตของมนุษย์ที่ไหว้นั้น จะส่งไปให้แก่ปีศาจเหล่านั้น แม้แต่การแผ่เมตตาหรือแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ถ้าไม่มีความรอบคอบ ก็กลายเป็นพลังงานสร้างอิทธิฤทธิ์ให้ปีศาจนั้นๆ ได้ทั้งสิ้น เช่น ญาติเราที่ตายไป หากมีจิตมืดมนเป็นปีศาจอยู่ เราไม่รู้ เราก็แผ่ไปรวมๆ ว่า “ญาติทั้งหลาย” ที่ดีได้ไปก็ไม่มีปัญหา ที่ไม่ดี ได้ไปก็ค่อยๆ สั่งสมพลังเป็นอิทธิฤทธิ์ และกลายเป็นปีศาจได้ในที่สุด ปัจจุบัน ปีศาจใช้วิธีครอบงำให้มนุษย์สร้างรูปเคารพ จำลองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้น แล้วดักรับพลังจิตเมื่อคนกราบไหว้รูปปั้นนั้นๆ จากนั้น มันจะให้สิ่งที่มนุษย์ต้องการ หรือแสดงฤทธิ์ให้ประจักษ์แก่ตาจนคนหลงใหล ปีศาจจำนวนมาก จึงได้อิทธิฤทธิ์ด้วยวิธีนี้



Create Date : 06 มกราคม 2554
Last Update : 6 มกราคม 2554 9:23:55 น.
Counter : 2076 Pageviews.

0 comments
กรอง ปัญญา Dh
(29 เม.ย. 2567 08:20:14 น.)
: รูปแบบของความปรารถนา : กะว่าก๋า
(29 เม.ย. 2567 05:52:35 น.)
: รูปแบบของค่าราคา : กะว่าก๋า
(27 เม.ย. 2567 06:04:43 น.)
: รูปแบบของความลวง : กะว่าก๋า
(25 เม.ย. 2567 03:38:29 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Worldlingo.BlogGang.com

ฉันนะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด