โนราไทยไปเวนิส






กู่ก้องฟ้าโนราไทย

 
๏จะกู่ก้องฟ้องโลกให้รู้เห็น

ว่าวัฒนธรรมไทยเป็นสง่าศรี

ให้ดังเกริกดังก้องฟ้าทั่วปฐพี

วัฒนธรรมงดงามนี้ยากใดเทียม


งดงามบนสายน้ำนามเวนิส

ดั่งลิขิตแห่งฟ้ามาสั่นเสียง

ให้ธำรงค์อนุรักษ์อยู่คู่ครองเคียง

ประกาศเสียงกึกก้องฟ้ากล้าท้าทาย๚


 
ประพันธ์โดย กรวี
จาก บล็อกคุณกรวี



เมื่อต้นปีนี้อัพบล็อก โขนไทยสร้างชื่อในปารีส ไม่กี่เดือนต่อมา เมื่อปลายเดือนที่แล้วต่อต้นเดือนนี้ (๒๘ พ.ค.-๒ มิ.ย.) โนรา ของคณะโนราธรรมนิตย์ ดำรงศิลป์ (สงวนศิลป์) ก็เหินฟ้าไปแสดงที่เวนิส อิตาลี ทีแรกก็คิดว่าไปแสดงเป็นครั้งแรก เข้าไปหารูปและข้อมูลในเพจ ศาสตร์โนรา ครูธรรมนิตย์ - Thumnanit Nikomrat ถึงได้ทราบว่าแสดงเป็นครั้งที่สองแล้ว แอบสงสัยคำว่า “โนรา” ทุกทีก็จะมี “ห์” ต่อท้าย ลองเข้าไปค้นข้อมูลดู ปรากฏว่าใช้ได้ทั้งสองคำเลย

ใน วิกิพีเดีย บอกว่า มโนราห์, มโนห์รา หรือโดยย่อว่า โนรา เป็นชื่อศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีรากศัพท์ที่มาจากคำว่า “นระ” เป็นภาษาบาลี – สันสกฤต แปลว่ามนุษย์ เพราะการร่ายรำแต่เดิมแล้ว การรำโนราจะรำให้เสมือนกับท่าร่ายรำของเทวดา มโนราห์มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่นอก หรือ ปี่ใน และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย


เวบนี้ให้ข้อมูลคำนี้แบบละเอียดเลยค่ะ
thai-notes.com

บทสัมภาษณ์ครูธรรมนิตย์ในเวบ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
bangkokbiznews.com

สารคดี “โนรามรดกโลก”
รายการสารตั้งต้น EP267


ในเพจศาสตร์โนรา ครูธรรมนิตย์ แปะคลิปการแสดงวันเปิดงานไว้
แต่แปะคลิปในบล็อกไม่ได้ คลิกลิงค์นี้เข้าไปชมแทนละกันค่ะ

คลิปการแสดงในพิธีเปิด Spirit of Nora ๒๕๖๕ เวนิซ อิตาลี โนราไทยไปเวนิส




เมื่อ ๑๗ ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๔๘) คณะโนราธรรมนิตย์ ดำรงศิลป์ (สงวนศิลป์) ได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่ศิลปะการแสดงโนรา ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นครั้งแรก ในเทศกาลวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกของยุโรป "Thai Festival" ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พ.ค. ถึง ๒ มิ.ย. ๒๕๔๘ ณ มิวสิก้า เพอร์ โรม่า พรีเซนส์ (Musica per Roma presents)




ในการเผยแพร่ศิลปะการแสดงโนราในครั้งนั้น คณะโนราธรรมนิตย์ ดำรงศิลป์ (สงวนศิลป์) ได้นำชุดการแสดงโนราไปเผยแพร่ในรูปแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น การแสดงโนราตัวอ่อน การรำแทงเข้ รำเฆี่ยนพราย-เหยียบลูกมะนาว โนราคล้องหงส์ รวมถึงการใช้ดนตรีพื้นบ้านโนรา หรือการใช้สาดคล้าเป็นพื้นที่ในการแสดงเพื่อตั้งใจเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติให้เห็นศิลปะการแสดงโนราได้อย่างเข้าใจและใกล้ชิด





ปีนี้ พ.ศ. ๒๕๖๕ ถือว่าเป็นครั้งที่ ๒ ของการเยือนอิตาลีอีกครั้ง "โนราไทยไปเวนิส" ที่คณะโนราธรรมนิตย์ ดำรงศิลป์ (สงวนศิลป์) ได้มีโอกาสไปเผยแพร่ศิลปะการแสดงโนราร่วมกับศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินชาวไทยในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านทัศนศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรม




เพจ ศาสตร์โนรา ครูธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ - Thummanit Nikomrat โพสต์เรื่องราว การเดินทาง และการแสดง ในพิธีเปิดนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยและกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๕ “มรดก โนรา : Spirit of NORA” หลังจากที่โนรา ได้รับการยกให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก “โนราไทยไปเวนิส”




ในปีนี้ มรดกโลกของไทยไปประกาศความยิ่งใหญ่ จิตวิญญาณของโนราที่ถูกถ่ายทอดให้ชาวโลกได้รู้ถึงศิลปะการแสดงที่สวยงาม เรียบง่าย สวยงาม แสดงอัตลักษณ์ที่งดงามบนเรือกอนโดลา กลางเมืองแห่งสายน้ำ ณ เมืองเวนิส เมืองแห่งมรดกโลก งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ พ.ค. - ๓ ก.ค. ๒๕๖๕ ณ Palazzo Pisani Santa Marina นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี โดยเป็นรูปแบบเทศกาลศิลปะร่วมสมัยเบียนนาเล่ (Biennale)




ความสำเร็จครั้งนี้ เกิดขึ้นได้จากด้วยความร่วมมือของ มูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ มูลนิธิสงขลาเมืองเก่า สงขลาพาวิเลียน สภาวัฒนธรรมไทยแห่งสาธารณรัฐอิตาลี แห่งเมืองเวนิส ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงศิลปินชั้นครู และทีมงานทุกคน ที่ได้นำศิลปวัฒนธรรมไทยไปปรากฏสู่สายตาชาวโลก ณ เมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างเวนิส อวดความงามและมนต์ขลัง ด้วยจิตวิญญาณของโนรา ศิลปะการแสดงภาคใต้ของไทยโดย โนราธรรมนิตย์ หรือ ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ สงวนศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีและนาฏศิลป์ พาโนราไทยไปอวดสายตาชาวโลก




“โนรา” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ไทย ถูกนำไปแสดงที่เมืองเวนิส กำลังโด่งดัง เพราะเป็นศิลปวัฒนธรรมที่คนอิตาลีและคนทั่วโลกอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน นับเป็นครั้งแรก ที่มีการร่ายรำ “โนรา” บนเรือ “กอนโดลา” กลางสายน้ำของเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ด้วยการแสดงของ ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ปี ๒๕๖๔ เป็นการเบิกทาง พาศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ของไทยไปสู่สากล ด้วยการร่ายรำเปิดนิทรรศการ “มรดก โนรา : Spirit of NORA” ในงาน “Venice Biennale 2022” ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี หลังจาก “โนรา” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของคนภาคใต้ในประเทศไทย ได้รับการประกาศให้เป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จาก องค์การยูเนสโก (UNESCO, United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นับเป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ลำดับที่ ๓ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนต่อจาก โขน และ นวดไทย




“มรดกทางวัฒนธรรม” หมายถึง ผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ การประดิษฐ์ การคิดค้นในสิ่งที่ดีงาม ในรูปแบบที่จับต้องได้ (สัมผัสได้) และจับต้องไม่ได้ (สัมผัสไม่ได้) แล้วเรียนรู้สืบทอด ต่อกันมา รวมถึงสิ่งที่ยังคงเหลือเป็นหลักฐานให้เห็นในปัจจุบัน 

มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ได้แก่ ศิลปวัตถุในสาขาทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม อนุสาวรีย์ ที่ปรากฏรูปในทางกายภาพ

มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ คือ ขนบธรรมเนียมที่สืบทอดกันทางวาจา การแสดงออกทางมุขปาฐะ ศิลปะการแสดง ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานช่างฝีมือดั้งเดิม




เวนิส เบียนนาเล่ (Venice Biennale) เป็น เทศกาลงานศิลปะ ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีความสำคัญต่อวงการศิลปะ ในปีนี้ได้รับความร่วมมือจาก มูลนิธิสงขลาเมืองเก่า, สงขลา พาวิลเลียน, สภาวัฒนธรรมไทยแห่งสาธารณรัฐอิตาลี และฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร นำนิทรรศการ มรดก โนรา’ Spirit of NORA : Intangible Culture Heritage Of Thailand ศิลปะดั้งเดิมผสมผสานการตีความผ่านมุมมองจากหลากหลายศิลปินในรูปแบบศิลปะร่วมสมัย ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ไปแสดง ที่พิเศษกว่าทุกปีคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ศิลปินกิตติมศักดิ์ ทรงส่งผ้าไทยไปจัดแสดงภายในงาน ในนาม มูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล




อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) ในฐานะคิวเรเตอร์และศิลปิน  กล่าวถึงเหตุผลที่เลือก "โนรา" ไปแสดงว่า โนรา มีหลายสิ่งที่น่าสนใจ

“ครั้งนี้เราจะทำเรื่อง โนรา ถ้าอยู่ ๆ พูดเรื่อง โนรา ฝรั่งไม่เข้าใจแน่ ๆ เรามีโนราที่เป็นครู นี่คือรากของเรา เราจะมีครูโนราไปรำจริง ๆ ไปสาธิต ไปใช้ชีวิตกับพวกเราจริง ๆ ประกอบด้วย ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติปี ๖๔ อาจารย์ ควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ ศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และมีเวิร์กชอปโดยสภาวัฒนธรรมไทย”




โนรา มีหลายสิ่งที่น่าสนใจ มีเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธา มีทฤษฎี กว่าจะรำสักครั้งหนึ่ง ตั้งแต่แต่งตัวแต่งหน้าจนกระทั่งออกไปรำ มีขั้นตอนเยอะมาก ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีคนช่วย และการฝึกกว่าจะเป็น โนรา ท่าต่าง ๆ มีเวลามีขั้นตอนเหมือนฝึกวิทยายุทธ์ ไม่ใช่ของเล่น เป็นของที่มีความเชื่อ




ส่วนการถ่ายทอดของครูกับศิษย์ การรำ ท่าทางต่าง ๆ ที่ฝึก รวมทั้งการออกกำลังกายเหมือนกับนักกีฬา กว่าจะได้เป็น โนรา หรือกว่าจะได้รำ เป็นเรื่องของมีขนบและมีความเชื่อที่ซ้อนอยู่ ศิลปะคือภาษาสากล ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอักษร สามารถสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยเทคนิควิธีการ ไม่ว่าท่าทาง รูป หรืออะไรก็ตาม นี่คือความร่วมสมัย”

c10


ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ปี ๒๕๖๔ กล่าวว่า อยากให้หน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุน โนรา ต่อไป “ศิลปะ โนรา ของภาคใต้ เป็นที่ยอมรับว่ามีความงดงาม มีคุณค่า มีคุณประโยชน์กับคนทุกคน อยากให้กิจกรรมลักษณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนส่งเสริมให้กับศิลปิน โนรา คนต่อ ๆ ไปในโอกาสข้างหน้าด้วย




นี่เป็น ใบเบิกทาง ในการพัฒนาศิลปะที่เกิดจากการพัฒนาของตัวศิลปินเราต้องทำตัวเองให้เข้มแข็งก่อน ถ้าเขาเห็นว่าเรามีความเข้มแข็งเขาก็จะเข้ามาให้ความร่วมมือสนับสนุนเหมือน สงขลาพาวิลเลียน ที่มีความรักความผูกพันกับศิลปะทุกแขนงและสนับสนุนส่งเสริม เป็นสิ่งสำคัญช่วยให้มีการขับเคลื่อน โนรา ให้ไปพร้อมกับศิลปะแขนงอื่น คิดว่าใน เวนิส ครั้งต่อไปคงมีงานศิลปะแขนงอื่น ๆ เข้ามาแบบนี้ ความงดงามของศิลปะการแสดง โนรา เป็นความภาคภูมิใจว่าศิลปะพื้นบ้านโนรา ไม่ได้ถูกทอดทิ้งแล้ว”




หลังจากบอกเล่าความรู้สึก ที่ "โนรา" ได้ก้าวสู่เวทีโลก ด้วยความตื้นตันใจและภาคภูมิใจ ครูธรรมนิตย์ก็ขับร้องบทกลอนโนราให้ฟัง


“โนรา ภาคใต้ทุกคนได้สืบสาน 

คู่ถิ่นฐานพัฒนา  มาทุกยุคสมัย 

ยูเนสโกยกย่อง  ก้องสู่โลกไกล 

แสนภูมิใจในโนรา  สู่สากล

งามสู่สากล  ดังสู่สากล 

แสนภูมิใจในโนรา สู่สากล”










































































ภาพถ่าย ภาพวาด และข้อมูลจาก
เพจศาสตร์โนรา ครูธรรมนิตย์ - Thumnanit Nikomrat
เพจ Wittawat Shima Ansusingh
bangkokbiznews.com
เพจ Songkla Pavilion






บีจีจากคุณเนยสีฟ้า กรอบจากคุณ ebaemi ไลน์จากคุณญามี่





Create Date : 10 มิถุนายน 2565
Last Update : 10 มิถุนายน 2565 23:13:10 น.
Counter : 1223 Pageviews.

0 comments
กฎของธรรมชาติ ปัญญา Dh
(20 เม.ย. 2567 10:45:01 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
บันเทิงเริงจีน 449:เทพีมหาสงกรานต์ 67/หมีเซียะ&เซียะหลี/21ปีเลสลี่/Kowloon Walled City/บุปผารักอลวน ข้าน้อยคาราวะ
(12 เม.ย. 2567 20:34:55 น.)
เว็บระบายสีออนไลน์ ฟรี! ไม่ต้องโหลดแอป ฝึกสมาธิ ผ่อนคลาย สมาชิกหมายเลข 8002347
(25 มี.ค. 2567 03:00:46 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSweet_pills, คุณThe Kop Civil, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณกะว่าก๋า, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณหอมกร, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก, คุณtuk-tuk@korat, คุณtoor36, คุณนกสีเทา, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณปรศุราม, คุณกิ่งฟ้า, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณnewyorknurse, คุณmultiple, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณทนายอ้วน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณTui Laksi, คุณสองแผ่นดิน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณชีริว, คุณเริงฤดีนะ, คุณkae+aoe, คุณบูรพากรณ์, คุณร่มไม้เย็น, คุณ**mp5**, คุณInsignia_Museum, คุณnonnoiGiwGiw


Haiku.BlogGang.com

haiku
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]

บทความทั้งหมด